สำนักวัดนาป่าพงคึกฤทธิ์และสาวกพลาด! สร้าง" พุทธวจน " ปลอม

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย เสขะปฎิสัมภิทา, 7 กรกฎาคม 2015.

  1. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    392
    ค่าพลัง:
    +30
  2. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    392
    ค่าพลัง:
    +30
    FD45253B-6F79-4372-BCA6-00C64404CB97.jpeg 4826F87E-2762-45AB-93B0-8CBA3A77CE17.jpeg 2F147172-111C-49C9-AAB2-4F369400465D.jpeg ECCC7C16-47D7-441D-AFDD-F0262C5C1974.jpeg FA7237E8-F86A-4E2A-89B1-1B6C8E449785.jpeg 248AF1E9-08B0-454E-B629-21A8BD5C1A6A.jpeg 81463CD0-2723-4E70-ACEA-29B9A03208A1.jpeg

    อัพเดททุกสัปดาห์
     
  3. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    392
    ค่าพลัง:
    +30


    พึ่งจะเริ่มอดบ้าง ไปซะแล้ว ตำนาน! ขนออกมาทยอยร่วงไปที่ละเจ้า2เจ้า เสียดาย!

    มันแปลกตั้งแต่ไฟลุกไหม้จนต้องสบัดหนีเพราะร้อน
    นั่นแล้วน่ะนะ!
     
  4. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    392
    ค่าพลัง:
    +30
    เหตุแห่งอภินิหาร (เหตุให้ได้บรรลุเป็นพระอริยสาวก)
    **************
    ...และแก่พระโพธิสัตว์ผู้เป็นสาวกผู้ตั้งปณิธานไว้ด้วยสามารถแห่งความปรารถนาอันประกอบแล้วด้วยองค์ ๒ คือ อธิการ ๑ ความเป็นผู้มีฉันทะ ๑ ก็ฉันนั้น

    เพราะเหตุใด ? เพราะญาณยังไม่สุกเต็มที่.

    อธิบายว่า ปัญญาบารมีที่ส่งเสริมเพิ่มเติมด้วยบารมีทั้งหลายมีทานบารมีเป็นต้น ของพระมหาโพธิสัตว์ทั้งหลายแม้เหล่านี้ ย่อมตั้งท้อง ถึงความสุกงอม ยังพระพุทธญาณให้บริบูรณ์โดยลำดับฉันใด ปัญญาบารมีที่ส่งเสริมเพิ่มเติมด้วยบารมีทั้งหลายมีทานบารมีเป็นต้น (ของพระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลาย) ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมตั้งท้อง ถึงความสุกงอม ยังพระปัจเจกโพธิญาณและสาวกโพธิญาณให้บริบูรณ์ตามสมควรโดยลำดับ.

    แท้จริง โดยการสั่งสมทานไว้ ท่านเหล่านี้จึงเป็นผู้มีใจไม่ข้องอยู่ในกิเลสทั้งปวง เป็นผู้มีจิตไม่เพ่งเล็ง เพราะมีอัธยาศัยไม่ละโมบในภพนั้นๆ โดยการสั่งสมศีลไว้ จึงเป็นผู้มีกายวาจาและการงานบริสุทธิ์ด้วยดี เพราะมีกายวาจาสำรวมดีแล้ว มีอาชีพบริสุทธิ์ มีทวารอันคุ้มครองแล้ว ในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ ย่อมตั้งจิตมั่นด้วยชาคริยานุโยค การประกอบความเพียรของท่านเหล่านั้น

    นี้พึงทราบด้วยสามารถแห่งปัจจาคติกวัตรที่ทำไว้แล้ว.

    ก็สมาบัติ ๘ อภิญญา ๕ อภิญญา ๖ และบุพภาควิปัสสนาอันเป็นอธิษฐานธรรม ย่อมอยู่ในเงื้อมมือ ของท่านผู้ปฏิบัติอยู่เช่นนี้ได้โดยไม่ยากทีเดียว ส่วนคุณธรรมมีความเพียรเป็นต้น ก็หยั่งลงสู่ภายในแห่งบุพภาควิปัสสนานั้นทีเดียว.

    ก็ความอดทนอย่างยิ่ง ในการบำเพ็ญบุญมีทานเป็นต้น เพื่อปัจเจกโพธิญาณ หรือสาวกโพธิญาณ นี้ชื่อว่าวิริยะ. ความอดทนต่อความโกรธนั้นใด นี้ชื่อว่าขันติ. การให้ทาน การสมาทานศีลเป็นต้น และการไม่กล่าวให้คลาดเคลื่อน (จากความเป็นจริง) อันใด นี้ชื่อว่าสัจจะ. การอธิษฐานใจที่ไม่หวั่นไหวแน่วแน่ อันให้สำเร็จประโยชน์ในที่ทั่วไปนั่นแหละ ชื่อว่าอธิษฐาน. การมุ่งประโยชน์ในหมู่สัตว์ อันเป็นพื้นฐานของความเป็นไปแห่งทานและศีลเป็นต้น นี้ชื่อว่าเมตตา. การวางเฉยในประการที่ไม่เหมาะสมที่สัตว์ทั้งหลายกระทำแล้ว ชื่อว่าอุเบกขา.

    ดังนั้น เมื่อทาน ศีล ภาวนา และศีล สมาธิ ปัญญา มีอยู่ บารมีทั้งหลายมีวิริยบารมีเป็นต้น ย่อมชื่อว่าสำเร็จแล้วทีเดียว ด้วยอาการอย่างนี้.

    ปฏิปทามีทานเป็นต้นเพื่อประโยชน์แก่ปัจเจกโพธิญาณก็ดี เพื่อประโยชน์แก่สาวกโพธิญาณก็ดี นั้นแหละชื่อว่าภาวนา เพราะอบรมคือบ่มสันดานของพระโพธิสัตว์เหล่านั้น.

    ปฏิปทาอันเนื่องด้วยสมถะและวิปัสสนา ที่เป็นไปแล้วในสันดานอันทานและศีลปรุงแต่งดีแล้วโดยพิเศษ เป็นเหตุให้พระโพธิสัตว์เหล่านั้นสมบูรณ์ด้วยธรรมเป็นที่ประชุมแห่งการบำเพ็ญเพียรในเบื้องต้น.

    ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

    ดูก่อนอานนท์ อานิสงส์ ๕ ประการเหล่านี้ย่อมมี
    ในการบำเพ็ญเพียรเบื้องต้น ๕ ประการคืออะไรบ้าง?
    ดูก่อนอานนท์ คือผู้บำเพียรเบื้องต้นในพระธรรมวินัย
    นี้ ย่อมชื่นชมพระอรหัตผลในปัจจุบันนี้แหละ พลันที
    เดียว ๑ ถ้ายังไม่ได้ชื่นชมอรหัตผลในทิฏฐธรรม โดย
    พลัน ต่อมาในมรณสมัย จะได้ชื่นชมพระอรหัตผล ๑
    ต่อไปเป็นเทพบุตร จะได้ชื่นชมพระอรหัตผล ๑ ต่อไป
    จะได้เป็นผู้ตรัสรู้โดยฉับพลัน ในที่เฉพาะพระพักตร์
    พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ๑ ดังนี้

    ด้วยประการดังพรรณนามานี้ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและสาวกของพระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้มีอัตภาพอันอบรมแล้ว ด้วยการอบรมธรรมเป็นเครื่องถึงซึ่งฝั่ง อันเป็นข้อปฏิบัติเบื้องต้น ด้วยสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา และด้วยมรรคภาวนา กล่าวคือการตรัสรู้อันเป็นนิโรธคามินีปฏิปทา ย่อมได้ชื่อว่ามีตนอันอบรมแล้ว.
    ในวิเศษบุคคลเหล่านั้น สาวกของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ท่านประสงค์เอาในที่นี้.
    ............
    ข้อความบางตอนใน นิทานกถาวรรณนา อรรถกถาขุททกนิกาย เถรคาถา เอกกนิบาต http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26.0&i=137&p=2
     
  5. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    392
    ค่าพลัง:
    +30
    AC9C5514-D776-4182-8A74-69343527D014.jpeg

    การตรัสรู้ สัจจะนี้มี ๒ อย่าง คือ โดยการตรัสรู้ ๑ และโดยอรรถแห่งสัจจะนั้น ๑.
    ส่วนสัมโพธินั้นมี ๓ อย่าง คือ สัมมาสัมโพธิญาณ ๑ ปัจเจกสัมโพธิญาณ ๑ สาวกสัมโพธิญาณ ๑.
    ในบรรดาสัมโพธิ ๓ อย่างนั้น ชื่อว่า สัมมาสัมโพธิ เพราะรู้ คือตรัสรู้ธรรมทั้งปวง โดยชอบด้วยพระองค์เอง. มรรคญาณที่เป็นปทัฎฐานของสัพพัญญุตญาณ และสัพพัญญุตญาณที่เป็นปทัฏฐานของมรรคญาณ ท่านเรียกว่าสัมมาสัมโพธิญาณ
    ด้วยเหตุนั้น ท่านพระอานนทเถระจึงกล่าวว่า พระนามว่า พุทฺโธ ได้แก่ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระสัพพัญญู ไม่มีอาจารย์ ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งสัจจะทั้งหลายเอง ในธรรมทั้งหลายที่พระองค์ไม่เคยได้ยินมาในกาลก่อน เป็นผู้ถึงแล้วซึ่งความเป็นพระสัพพัญญูในธรรมเหล่านั้น และถึงแล้วซึ่งความเป็นผู้ชำนาญในพลธรรมทั้งหลาย ดังนี้.
    แท้จริง ความเป็นผู้ชำนาญในพลธรรมทั้งหลาย มีการตรัสรู้ธรรมที่ควรตรัสรู้เป็นอรรถ. ชื่อว่าปัจเจกสัมโพธิ เพราะตรัสรู้ด้วยตนเองทีเดียวเป็นส่วนตัว. อธิบายว่า ไม่ได้ตรัสรู้ตามใคร ได้แก่ ตรัสรู้สัจจธรรมด้วยสยัมภูญาณ.
    ความจริง การตรัสรู้สัจจธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย แม้เป็นไปอยู่ด้วยพระองค์เองทีเดียว โดยเป็นสยัมภูญาณ ชื่อว่ามีผู้ตรัสรู้ตาม เพราะเป็นเหตุแห่งการตรัสรู้สัจจธรรมของสัตว์ทั้งหลายหาประมาณไม่ได้.
    ก็การบรรลุสัจจะนั้นของเหล่าสัตว์ผู้หาประมาณมิได้เหล่านี้ ย่อมไม่เป็นเหตุแห่งการตรัสรู้สัจจธรรมของสัตว์แม้คนเดียว. ชื่อว่าสาวก เพราะเกิดในที่สุดแห่งการฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา. การตรัสรู้สัจจธรรมของพระสาวกทั้งหลาย ชื่อว่า สาวกสัมโพธิ.
    ก็การตรัสรู้ ๓ อย่างแม้นี้ของพระโพธิสัตว์ ๓ จำพวก พึงทราบว่า ยังการเจริญโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการมีสติปัฏฐานเป็นต้นให้บริบูรณ์ เพื่อถึงที่สุดแห่งปฏิปทาที่จะมาถึงตามลำดับของตน (รอความบริบูรณ์แห่งบารมีของตน) เพราะเว้นโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการนั้น การตรัสรู้นอกนี้จะมีไม่ได้.


    “อ่านอรรถกถาแปลไทย ต้องทำใจ เหมือน อาณิสูตร คำแปลแท้จริง กับคำแปลเบื้องต้น แตกต่างกันมาก “เยเตฯ

    จนทำให้สำนักอ้างอาณิสูตร หงายท้อง! ไปเลยทีเดียว

    ถ้าพึ่งแต่ปริยัติก็ดูท่านพระโปฐิละเป็นตัวอย่าง!

    ปริยัติ3 จึงควรทำให้แจ้งแล้วจึงวิสัชนา!
     
  6. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    392
    ค่าพลัง:
    +30
    D596D627-B0D1-420A-AB79-B617F4D81FCA.png



    “ความหมายดี เป็นกำลังใจให้หลายๆท่าน”
     
  7. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    392
    ค่าพลัง:
    +30
    F25114C5-CAF0-4833-BE95-A3318D801689.jpeg
    1C1027D5-962F-4D6C-9488-C158B53AFD14.jpeg 233B0524-57F4-4471-AA2A-0D0995B97215.jpeg 3FFF5B6F-F3AC-4490-9CC9-E1781067885B.jpeg 226A6B3F-E67E-4FF2-870C-65C6F1B22CB9.jpeg A312DF32-377B-4C4C-AAF2-968C62BACCC3.jpeg 780414FD-8AD8-4B00-88BE-6FC88956937A.jpeg

    เสียงระฆังทิพย์ ปรากฎคืนวันที่17 หนึ่งครั้งเวลา 02:30
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มกราคม 2024
  8. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    392
    ค่าพลัง:
    +30
    ผลผลิตที่เกิดขึ้น อย่างต่อเนื่อง กำลังงอกเงย!

    แนวทางเดิม แต่เปลี่ยนแปลงบุคคล


    หายนะมาแน่!

    IMG_4633.jpeg IMG_4637.jpeg
     
  9. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    392
    ค่าพลัง:
    +30
    นึกออกไหม! ว่าผู้จะเข้าถึงฝั่งพุทธภูมิเป็นเช่นไร?

    IMG_5082.jpeg
     
  10. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    392
    ค่าพลัง:
    +30
    บันทึก

    #ขอน้อมนำเรื่องราวอัญเชิญเสด็จเนื่องในวันมหาปวารณา

    #ประกาศพระมหาปกรณ์ให้เป็นที่ประจักษ์

    #ปฏิจฉันนสูตร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๓ อย่างนี้ ปิดบังไว้จึงเจริญ เปิดเผยไม่เจริญ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ มาตุคาม ปิดบังเอาไว้จึงจะงดงาม เปิดเผยไม่งดงาม ๑ มนต์ของพราหมณ์ ปิดบังเข้าไว้จึงรุ่งเรือง เปิดเผยไม่รุ่งเรือง ๑มิจฉาทิฐิ ปิดบังไว้จึงเจริญ เปิดเผยไม่เจริญ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๓ อย่าง
    นี้แล ปิดบังไว้จึงเจริญ เปิดเผยไม่เจริญ

    #ดูกรภิกษุทั้งหลาย #สิ่ง ๓ #อย่างนี้เปิดเผยจึงรุ่งเรือง #ปิดบังไม่รุ่งเรือง ๓ #อย่างเป็นไฉน คือ #ดวงจันทร์ #เปิดเผยจึงรุ่งเรือง #ปิดบังไม่รุ่งเรือง ๑

    #ดวงอาทิตย์ #เปิดเผยจึงรุ่งเรือง #ปิดบังไม่รุ่งเรือง ๑

    #ธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศไว้แล้ว #เปิดเผยจึงรุ่งเรือง #ปิดบังไม่รุ่งเรือง ๑

    #ดูกรภิกษุทั้งหลาย #สิ่ง ๓ #อย่างนี้แล #เปิดเผยจึงรุ่งเรือง #ปิดบังไม่รุ่งเรือง ฯ

    ขอให้ท่านพุทธบริษัททั้งหลายเจริญในพระสัทธรรม

    และเป็นผู้เจริญในปฎิสัมภิทาญานผู้ปกป้องพระสัทธรรม

    #พระไตรปิฎกพระปริยัติสัทธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งหลายฯ

    ทรงมี

    #ทิพยอักษร ของ #องค์พระสัทธรรม #พระมหาปกรณ์ ทรงนามตามลักษณะคือ “#ทองอณู” หรือ “#ทิพย์สุวรรณ”#สุทธิมาคธี เป็นแม่พิมพ์แม่บทของภาษาบาลี คือ #มาคธี

    {ทิพยวิเศษบริสุทธิธรรม}

    ข้าพเจ้าขอแสดงมุฑิตาจิต
    [เวลารวบรวมความกล้าหาญถึง ๑๐ปีเพื่อที่จะบอก]

    #เหตุปัจจัยได้ปรากฏแล้ว #สักวันหนึ่งผู้ปกป้องพระสัทธรรมจะเห็นได้เอง

    ขอธรรมบุตรทั้งหลายฯจงมีความเพียร

    #เสขะปฎิสัมภิทา

    “ปฎิสัมภิทามรรค”

    https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=0&p=1
    IMG_5757.jpeg
     
  11. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    392
    ค่าพลัง:
    +30
    IMG_5921.jpeg IMG_5921.jpeg #ความสำคัญของอรรถกถาของอรหันต์พระปฎิสัมภิทาปฐมสังคายนา ทุติยะ,ตะติยะฯ

    #ย่อให้สั้นโดยพิสดาร
    [จักเกิดความเข้าใจในทันที]
    [เห็นหายนะของเหล่าโมฆะบุรุษอลัชชีได้ชัดเจนในทันที]

    #ญานในพระนิพพานคืออรรถปฎิสัมภิทา
    #{พระสัทธรรม}พระธรรมราชาทรงตรัสรู้ทรงเปิดประตูพระนิพพาน
    #กล่าวพระปริยัติสัทธรรมสู่การรู้แจ้ง
    #เมื่อรู้แจ้งจึงได้พระนิพพาน

    #พระสัทธรรม
    #ญานในพระนิพพาน
    #ญานมีวิมุตติรสเป็นสภาวะเป็นวิมุตติญานทัสสนะ
    #วิมุตติญานทัสสนะสู่นิรุตติญานทัสสนะ
    #นิรุตติญานทัสสนะสู่อรรถกถาญานทัสสนะ
    #อรรถกถาญานทัสสนะสู่ธรรมฐิติญานทัสสนะ
    #ธรรมฐิติญานทัสสนะสู่ผัสสนญานทัสสนะ

    เมื่อผัสสนญานทัสสนะกระทบสฬายตนะด้วยอายตนะ๑๒

    การฟังพระธรรม จนเป็นสัญญาที่มั่นคง คือ ทรงจำ พร้อมดัวยปัญญา ความเข้าใจ จนเป็นปัจจัย ให้สติปัฏฐานเกิด

    ——————————

    #สมเด็จพระญานสังวรฯ
    การให้ธรรมะ ชนะการให้ทั้งปวง


    พุทธศาสนสุภาษิตบทหนึ่ง ซึ่งเป็นที่คุ้นหูคุ้นใจคนจำนวนมาก คือบทที่ว่า...

    "สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ แปลความว่า การให้ธรรมย่อมชนะ การให้ทั้งปวง

    เพราะพุทธศาสนิกชนจำนวนไม่น้อยมี ศรัทธาเชื่อในคุณแห่งการให้ธรรมเป็นทาน จึงแม้สามารถก็จะพากันพิมพ์หนังสือธรรมะแจกเป็นธรรมทาน ซึ่งเชื่อว่าเหนือการให้ทั้งปวง ซึ่งจักเป็นบุญเป็นกุศลยิ่งกว่าบุญกุศลที่เกิดจากการให้ทานอื่นทั้งปวง

    นี้เป็นการถูก เป็นการดี เพราะการเผยแพร่ธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นความดีอย่างยิ่ง ยิ่งผู้ได้รับนำไปปฏิบัติก็จะยิ่งเป็นการดีที่สุดเพราะการปฏิบัติธรรมทาง ธรรม ตั้งอยู่ในธรรมเป็นการนำให้ถึงความสวัสดีอย่างแท้จริง และไม่เพียงเป็นความสวัสดีเฉพาะตนเองเท่านั้น ยังสามารถแผ่ความสวัสดีให้กว้างไกลไปถึงผู้เกี่ยวข้องได้มากมาย

    กล่าวได้ว่า ผู้มีธรรมเพียงคนเดียว ย่อมยังความเย็นความสุขให้เกิดได้เป็นอันมาก ตรงกันข้ามกับผู้ไม่มีธรรม แม้เพียงคนเดียวก็ย่อมยังความร้อนความทุกข์ให้เกิดได้เป็นอันมาก

    การให้ธรรมที่แท้จริง หมายถึงการทำตนเองของคนให้มีธรรม พิจารณาจากความจริงที่ว่า ผู้มีธรรมเป็นผู้ให้ความเย็น ความสุขแก่ผู้อื่นได้ เช่น เดียวกับกับที่ให้ความเย็นความสุขแก่ตนเอง อาจเห็นได้ว่า การให้ธรรมไม่หมายถึงเพียงการพิมพ์หนังสือธรรมแจก หรือการอบรมสั่งสอนด้วยวาจา ให้รู้ให้เห็นธรรมเท่านั้น แต่การให้ธรรมที่แท้จริง ย่อมหมายถึงการทำตนเองของทุกคนให้มีธรรม ให้ธรรมในตนปรากฏแก่คนทั้งหลายโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องมีการแสดงออกเป็นการสั่งสอนด้วยวาจา หรือเช่นด้วยการแสดงธรรมแบบพระธรรมเทศนาของพระ

    การสั่งสอนธรรมหรือให้ธรรม ด้วยความประพฤติปฏิบัติธรรมด้วยตนเองนั้น มีความสำคัญเหนือกว่าการแจกหนังสือธรรมเป็นอันมากด้วยซ้ำ เพราะการประพฤติปฏิบัติธรรมด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอจนธรรมนั้นเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกับกายกับใจ นั่นแหละเป็นการแสดงธรรมให้ปรากฏแก่ผู้รู้ผู้เห็นทั้งหลายทั้งปวง และจะต้องได้ผลมากกว่าการให้ธรรมที่เป็นข้อเขียนในหน้าหนังสือ

    ความสูงต่ำ ห่างไกลของธรรมที่ดีและชั่วนั้นมีมากมายยิ่งนัก

    อันคำว่าธรรมนั้น ที่แท้จริงมีความหมายเป็นสองอย่าง คือทั้งที่ดีและที่ชั่ว หนังสือธรรมมิได้แสดงแต่ธรรมที่ดี แต่แสดงธรรมที่ชั่วด้วย เพียงแต่แสดงธรรมที่ดีว่าให้ประพฤติปฏิบัติ แสดงธรรมที่ชั่วว่าไม่ควรประพฤติ และผู้ประพฤติธรรมหรือผู้มีธรรมนั้นก็คือ ผู้ประพฤติธรรมที่ดี ไม่ประพฤติธรรมที่ชั่ว

    ผู้ประพฤติธรรมที่ดีเรียกได้ว่าเป็น สัตบุรุษ ผู้ประพฤติธรรมที่ชั่วเรียกได้ว่าเป็นอสัตบุรุษ ความสูงต่ำห่างไกลของธรรมที่ดีและที่ชั่วนั้นมากมายนัก มีพุทธศาสนสุภาษิตกล่าวไว้ว่า "ฟ้ากับดินไกลกัน และฝั่งทะเลก็ไกลกัน แต่นักปราชญ์กล่าวว่า ธรรมของสัตบุรุษกับของอสัตบุรุษไกลกันยิ่งกว่านั้น"

    การทำตนที่ชั่ว ให้เป็นตนที่ดีได้ เป็นกุศลที่สูงที่สุด

    ผู้ให้ธรรมทั้งด้วยการให้หนังสือธรรม และทั้งการปฏิบัติด้วยตนเองให้ปรากฏเป็นแบบอย่างที่ดีงาม เป็นแบบอย่างของสัตบุรุษ กล่าวว่าเป็นผู้ให้เหนือการให้ทั้งปวง เพราะการพยายามช่วยให้คนเป็นผู้มีธรรมของสัตบุรุษ ละธรรมของอสัตบุรุษนั้น ก็เท่ากับพยามยามช่วยให้คนบนดินคือต่ำเตี้ยได้เข้าใกล้ฟ้าคือสูงส่ง หรือช่วยให้คนชั่วเป็นคนดีนั่นเอง

    การช่วยให้คนชั่วเป็นคนดีนั้น ผู้ใดทำได้จักได้กุศลสูงยิ่ง การช่วยตนเองที่ประพฤติไม่ดีให้เป็นคนประพฤตินั้น ก็เป็นการช่วยคนชั่วให้เป็นคนดีเช่นกัน และจะเป็นกุศลที่สูงที่สุดเสียด้วยซ้ำเพราะนอกจากตนเองจะช่วยตนเองแล้ว คนอื่นยากจักช่วยได้

    นี้หมายความว่า... อย่างน้อยตนเองต้องยอมรับฟังการแนะนำช่วยเหลือของผู้อื่น ยอมปฏิบัติตามผู้อื่นที่ปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีให้ปรากฏอยู่ คือทำตนเองให้เป็นผู้ประพฤติธรรมของสัตบุรุษละการประพฤติปฏิบัติธรรมของอ สัตบุรุษให้หมดสิ้น

    พึงอบรมปัญญา เพื่อเป็นแสงสว่างขับไล่โมหะ

    ผู้มาบริหารจิตทั้งนั้น พึงดูจิตตนเองให้เห็นชัดเจนว่า มีความปรารถนาต้องการจะก่อทุกข์โทษภัยให้แก่ตนเองหรือไม่ ถ้าไม่มีความปรารถนานั้น ก็พึงรู้ว่าจำเป็นต้องอบรมปัญญา เพื่อให้ปัญญาเป็นแสงสว่างขับไล่ความมืดมิดของโมหะ ให้บรรเทาเบาบางถึงหมดสิ้นไป

    ปัญญาจะช่วยให้เห็นถูกเห็นผิดความเป็น จริง และเมื่อเห็นตรงตามความจริงแล้ว การปฏิบัติย่อมไม่เป็นเหตุแห่งทุกข์โทษภัยของตนเองและของผู้ใดทั้งสิ้น ทุกข์โทษภัยย่อมไม่มีแก่ตนอาจมีปัญหาว่าแม้ตนเองไม่ก่อทุกข์โทษภัยแก่ตนเอง ด้วยกระทำที่ไม่ถูกไม่ชอบทั้งหลาย แต่เมื่อยังมีผู้อื่นอีกเป็นอันมากที่ก่อทุกข์โทษภัยอยู่ แล้วเราจะพ้นจากทุกข์โทษภัยนั้นได้อย่างไร

    ปัญหานี้แม้พิจารณาเพียงผิวเผิน ก็น่าจะเป็นปัญหาที่ต้องยอมจำนน คือต้องรับว่าถูกต้อง แต่ถ้าพิจารณาให้ลึกซึ้ง อย่างประกอบด้วยปัญญาแท้จริง ย่อมจะได้รับคำตอบแก้ปัญหาให้ตกไปได้อย่างสิ้นเชิง เพราะผู้มีความเห็นชอบ ปราศจากโมหะ ย่อมเห็นได้ว่าไม่มีทุกข์โทษภัยใดจะเกิดแก่ตน ถ้าตนสามารถวางความคิดไว้ได้ชอบ เพราะความทุกข์ทั้งปวงเกิดจากความคิด

    ผู้มุ่งปฏิบัติธรรม ต้องรู้จักพิจารณาเลือกเฟ้นธรรม

    ผู้มุ่งมาบริหารจิต มุ่งปฏิบัติธรรมเพื่อความพ้นจากกิเลส ต้องพิจารณาใจตนในขณะอ่านหนังสือหรือฟัง เรียกว่าเป็นการเลือกเฟ้นธรรม ธรรมใดกระทบใจว่าตรงกับที่ตนเป็นอยู่ พึงปฏิบัติน้อมนำธรรมนั้นเข้าสู่ใจตน เพื่อแก้ไขให้เรียบร้อย

    ที่ท่านกล่าวว่า "เห็นบัณฑิตใด ผู้มีปกติชี้ความผิดให้ ดุจผู้บอกขุมทรัพย์ให้ ซึ่งมีปกติกล่าวกำราบ มีปัญญา พึงคบบัณฑิตเช่นนั้นเมื่อคบท่านเช่นนั้น ย่อมประเสริฐ ไม่เลวเลย "บัณฑิต" นั้นคือ "คนดีผู้มีธรรม หรือ ผู้รู้ธรรมปฏิบัติธรรมที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนนั่นเอง" การกล่าวธรรมของบัณฑิตคือ การกล่าวตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ และบัณฑิตนั้นมีพุทธภาษิตกล่าวไว้ด้วยว่า..."บุรุษจะเป็นบัณฑิตในที่ทั้งปวง ก็หาไม่แม้สตรีมีปัญญาเฉียบแหลมในที่นั้นๆ ก็เป็นบัณฑิตได้เหมือนกัน"

    สามารถหนีไกลจากกิเลสได้มากเพียงไร ก็สามารถแลเห็นพระพุทธเจ้าได้ใกล้ชิดเพียงนั้น

    คนดีมีปัญญาคือคนมีกิเลสบางเบา โลภน้อย โกรธน้อย หลงน้อย กิเลสนั้นมีมากเพียงไร ก็ทำให้เหลือน้อยได้ ทำให้หมดจดอย่างสิ้นเชิงก็ได้ สำคัญที่ผู้มีกิเลสต้องมีปัญญา แม้พอสมควรที่จะทำให้เชื่อว่า กิเลสเป็นโทษอย่างยิ่ง ควรหนีให้ไกล สามารถหนีไกลกิเลสได้มากเพียงไร ก็สามารถเป็นคนดี เป็นบัณฑิตได้เพียงนั้น ทั้งยังจะสามารถแลเห็นพระพุทธเจ้าได้ใกล้ชิดเพียงนั้นด้วย

    พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    __________________________

    #ทำลายอรรถกถาญานชื่อว่าทำลายพระนิพพาน
    #ไม่มีมรรคผลไม่มีนิพพานแก่เหล่าโมฆะบุรุษอลัชชีผู้เห็นด้วยและผู้ตั้งจิตไว้ผิดถือเลวทำตามผู้ทำลายอรรถกถาธรรม

    ”กินบุญในพระรัตนตรัยหลายภพชาติจนได้มาเกิดเป็นมนุษย์ชาติเพื่อบำเพ็ญธรรม สร้างบารมีแต่กรรมจัดสรร ไม่พึ่งตนพึ่งธรรมอย่างแท้จริง ไปพึ่งพาโมฆะบุรุษอลัชชี เห็นกงจักรเป็นดอกบัว น่าเวทนา“

    ท่านทั้งหลายฯ พึงรักษา อรรถกถาญานในพระไตรปิฎกมีอานิสงส์มากเหลือคณานับ

    #เสขะปฎิสัมภิทา
    IMG_5921.jpeg
     
  12. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    392
    ค่าพลัง:
    +30
    #พระสัทธรรมเจ้า พระองค์ทรงสถิตอยู่ ผู้ศรัทธา ผู้มีจักษุ ผู้มีสมาธิฯ ผู้มีวาสนาเข้าถึงได้ ขอเพียงตั้งใจจริง “คำสอนของพระพุทธเจ้าพุทธสมัยเมื่อครัังอดีตสมัยสู่พุทธสมัยปัจจุบันพระพุทธเจ้าและส่งผ่านต่อไปถึงพระพุทธเจ้าทั้งหลายในอนาคตวงศ์พระพุทธเจ้า”

    #ผู้เห็นธรรม เห็นทั้งผู้เห็นธรรมและผู้ไม่เห็นธรรม
    #สัตบุรุษ เห็นทั้งสัตบุรุษและอสัตบุรุษ
    #ความใกล้ชิดและความห่างไกล
    #พึ่งสำเร็จผลได้ด้วยความเพียร

    อุปมาเปรียบเสมือนในพระราชธานีหนึ่ง มีเรือนยอดของพระราชา คือพระปราสาทที่ทรงพระกรณียกิจ ซึ่งสภา ที่จะมีเหล่าเสนาบดีอำมาตย์ปุโรหิต ราชเลขาองครักษ์และข้าราชบริพารฝ่ายในที่สามารถเข้าออกมีส่วนร่วมห้อมล้อมในชั้นในพระราชฐานนี้ได้ ได้พบพระพักตร์พระเจ้าแผ่นดินเฝ้ากราบทูลถวายสักการะอย่างใกล้ชิดอยู่เสมอ

    ถัดออกมาก็เป็นพระราชฐานทรงงานชั้นกลางที่ทรงประทับที่มีผู้อาศัยดูแลวนอุทยานตลอดจนเครื่องต้นทรงเสวยและเจ้าหน้าที่ไพร่พลผู้เฝ้าเวรยาม ก็จะสามารถมองเห็นพระพักตร์พระราชาได้จากในที่ไกลๆ

    ถัดออกมาคือชั้นนอกสุดข้าพระบาทเฝ้าประตูเมืองจนถึงเมืองคามอาณาประชาราษฎร์ หากพระราชาไม่ทรงเสด็จออกนอกพระราชฐานเองเพื่อประกอบพระราชกรณียกิจนอกเมืองก็จะไม่ได้เห็น

    และปราการด่านเมืองเมื่อมีภัยสงครามอันจักเกิดแก่บ้านเมืองแว่นแคว้นของพระองค์ พระองค์จะทรงนำทัพทำสงครามเพื่อประกาศชัยชนะให้เป็นประจักษ์ตาแก่มหาชนทั้งหลายดั่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายทรงแสดงพระยมกปาฎิหาริย์

    แม้มีเพียง ๑ บุคคลที่เข้าใจใคร่ครวญดีแล้ว พึงเริ่มสร้างวาสนาที่จะเข้าถึงองค์พระสัทธรรมก็จะสามารถช่วยถวายงานปกป้ององค์พระสัทธรรมได้ในกาลสมัยต่อไป

    #เสขะปฎิสัมภิทา

    IMG_5582.jpeg
     
  13. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    392
    ค่าพลัง:
    +30
    บันทึก

    #กระทู้สุดท้ายขอส่งท้ายยืนยันตัวบุคคล ว่า
    ข้าพเจ้าขอเป็นพยานในการกล่าวพระสัทธรรมที่แสดงมาแล้วด้วยตนเองการเข้าถึงของตนเองด้วยความสัจจริง
    #และมีหลักฐานอ้างอิงสามารถพิสูจน์ได้ ทั้งพระสูตรรองรับและสภาวะทั้งนีตัตถะและเนยยัตถะ

    #ผู้ใดเข้าถึงผู้นั้นจักเข้าใจตามปฎิสัมภิทา๑๖ ที่เราแสดงไว้แล้วนี้ และผู้นั้นจะช่วยเรายืนยันอรรถและพยัญชนะอันเป็นทิพย์และแสดงธรรมยังบทธรรมจากพระไตรปิฎกพระธรรมคำภีร์ธรรมแม่บท ประกอบสัททะของสังคีตอันเป็นทิพย์โดยสกานิรุตติที่สามารถเข้าถึงได้เป็นขวัญหูขวัญตาแก่ชาวโลก

    เหมือนดั่ง

    #อภยปริตร ทำนองทิพย์ ที่ถูกทำลายว่าเป็นคำแต่งใหม่ อันพระสาวกแก้วได้สวดสาธยายแก่พระเจ้าปเสนธิโกศล มหาสุบิน ๑๖ ซึ่งข้าพเจ้าได้แสดงเอาไว้แล้ว

    ภิกษุ ท.! โลกธรรม มีอยู่ในโลก. ตถาคต ย่อมตรัสรู้ ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งโลกธรรมนั้น; ครั้นตรัสรู้แล้ว รู้พร้อมเฉพาะแล้ว ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ.

    ภิกษุ ท.! ก็อะไรเล่า เป็นโลกธรรมในโลก?

    ภิกษุ ท.! รูป เป็นโลกธรรมในโลก. ตถาคต ย่อมตรัสรู้ ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งรูปอันเป็นโลกธรรมนั้น; ครั้นตรัสรู้แล้ว รู้พร้อมเฉพาะแล้วย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ.

    ภิกษุ ท.! บุคคลบางคน แม้เราตถาคตบอก แสดง บัญญัติ ตั้งขึ้นไว้เปิดเผย จำแนกแจกแจง ทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ อยู่อย่างนี้ เขาก็ยังไม่รู้ไม่เห็น. #ภิกษุ ท.! #กะบุคคลที่เป็นพาล #เป็นปุถุชน #คนมืด #คนไม่มีจักษุคนไม่รู้ไม่เห็น เช่นนี้ #เราจะกระทำอะไรกะเขาได้.

    ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือน ดอกอุบล หรือดอกปทุม หรือดอกบัวบุณฑริกก็ดี เกิดแล้วเจริญแล้วในน้ำ พ้นจากน้ำแล้วดำรงอยู่ได้โดยไม่เปื้อนน้ำ, ฉันใด; ภิกษุ ท.! ตถาคตก็ฉันนั้นเหมือนกัน เกิดแล้วเจริญแล้ว ในโลกครอบงำโลกแล้วอยู่อย่างไม่แปดเปื้อนด้วยโลก.

    #ด้วยวิสัยแห่งสัตว์ใช้ความคิดตรึกนึกเอาเองไม่ได้ !

    ****#ข้อพิสูจน์การเข้าถึงพระมหาปกรณ์ การเปลี่ยนแปลงของพยัญชนะปฎิรูป #ทิพยอักษรสีทองในการแปลเปลี่ยนภาษา

    ****จาก{สุทธิมาคธี}มาเป็น {มาคธี}จากองค์พระสัทธรรม พระไตรปิฎกพระธรรมคำภีร์ธรรมแม่บทฉบับทิพย์ ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงตรัสรู้เห็น

    ในเรื่องนี้ ต่อให้เป็นนักวิชาการระดับสูงของโลกในด้านบาลีไวยากรณ์ในทางพระพุทธศาสนา แต่ไม่ได้ไม่มีไม่รู้ไม่เห็นไม่เข้าถึงในปฎิสัมภิทาจะไม่มีทางได้เข้าใจ

    ถ้าหากว่ามีใครสัก กล่าวว่า ภาษาบาลีไม่ใช่ภาษา

    มี "พระมหาปกรณ์" อยู่ครับ แต่ ต้องพิจารณาขอบเขต ๒๕๐+ ๓๐๐=๙๐๐ โยชน์ มัชฌิมประเทศที่พระโพธิสัตว์ทั้งหลายมาจุติ และภาษาอื่นที่ทรงเสด็จไปทรงโปรดด้วย จึงจำเป็นต้องถ่ายทอดลงมาเป็นสุทธมาคธี-มาคธี พระมหาปกรณ์นั้น ถ้าเห็นสภาพการเปลี่ยนแปลงก็จะเข้าใจครับ และในกาลอื่นๆที่ทรงเสด็จไปโปรด ภาษาที่รักษาไว้ซึ่งพระพุทธวจนะก็ทรงถ่ายทอดลงมาเป็นภาษาอื่นๆเมื่อทรงเสด็จไปโปรดสัตว์ในโลกธาตุที่มีภาษาอื่นอีกด้วยครับ ถ้าเขากล่าวว่า" ไม่ใช่ภาษา" แล้วเขาไม่รู้จัก "ปฎิสัมภิทา มัคโค" วิศิษฐปาฐะ หรือการเปลี่ยนแปลงของพยัญชนะปฎิรูป คือการเปลี่ยนแปลงของภาษาธรรม ที่แม้แต่จะถามด้วยใจก็สามารถตอบด้วยวาจา ถามด้วยความรู้สึกเช่นนั้นเป็นภาษาใด

    ขอให้สหายบัณฑิตผู้เจริญของข้าพเจ้าพิจารณาดูให้ดีนะครับ สิ่งที่ข้าพเจ้ากล่าวเป็นทั้ง ปริยัติ ปฎิบัติและปฎิเวธ ของ ผู้เสกขภูมิอยู่ ฉนั้นเมื่อเขาไม่รู้จักการเปลี่ยนแปลงนี้ ไม่รู้จักปฎิสัมภิทาญาน หากเขาใช้คำพูดแบบนั้น เขากล่าวไม่ถูกต้องครับ และถ้าเขารู้จัก พระมหาปกรณ์อันละเอียด ที่มีอัตลักษณ์ ที่ไม่หยั่งลงสู่ความตรึกนี้ แต่สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นภาษาที่เราท่านสามารถเข้าใจทั้ง รูป พยัญชนะ สำเนียง ของอรรถ ในทันที ที่แม้จะไม่เคยได้รู้ได้เรียนมาก่อนเลย โดยในนามปฎิสัมภิทา เขาถือทิฏฐินั้นได้ ฉนั้นการที่จะเอา ภาษาบาลีหรือพยัญชนะเหล่าใดก็ตาม มาตรวจสอบกับแท่นพิมพ์ ถ้าแท่นพิมพ์หรือแม่แบบ นั้นแปลงสภาพให้ เป็น อักษรนั้นๆ ก็เห็นควรอยู่ ที่จะเป็นหรือเรียกว่า บาลี แต่ถ้าแม่แบบไม่เปลี่ยนให้ หรือเปลี่ยนเป็นภาษาอื่นๆ ท่านก็จะคิดจะรู้ทันทีว่า เห็นที่จะไม่ใช่ ภาษานี้โดยตรง เพราะฉนั้น การที่จะเอา ภาษาใดๆก็ตามมาตรวจสอบกับแท่นพิมพ์ว่า เป็นภาษาที่ตรงกันหรือไม่ ไม่ใช่ฐานะที่จะกระทำได้หรือระบุได้ตายตัว

    ข้าพเจ้าจึงใช้คำว่า ไม่ใช่ พระพุทธวจนะตรงๆจาก พระสัทธรรม แต่เป็นภาษาที่ทรงโปรดนำมาแสดงไว้ ตามความเหมาะสมของเชื้อชาติประเทศราชและท้องถิ่นนั้นๆครับ ก็เพื่อจะให้ชนส่วนใหญ่ได้ล่วงรู้โดยง่าย ถ้านำลงมาแสดงไว้ด้วยภาษาอื่นๆก็จะต้องตีความแล้วตีความเล่า เพราะยิ่งด้วยผู้มีปฎิสัมภิทาแล้ว เห็นประโยคเดียว ออกเป็นร้อยนัยพันนัยเลยที่เดียวตามกระแสสกานิรุตติ และเพ่งจิตด้วยวิมุตติญานทัสสนะตามธรรมที่เสวยวิมุตติสุขนั้นๆ ภาษาใจ ภาษาธรรมชาติ ที่เป็น "สัจธรรมมหาปกรณ์" ข้าพเจ้าไม่สามารถจะทำให้ท่านได้รู้เห็นได้ ท่านต้องเห็นเอง ขอให้เจริญในปฎิสัมภิทาเถิดครับ ด้วยสติปัญญาของบัณฑิต ผู้สั่งสมสุตตะอย่างท่านทั้งหลาย โดยเฉพาะท่านที่ได้อ่านในตอนนี้เมื่อใดที่ท่านได้เข้าสู่ทิพย์ภูมิของพระอริยะ ในปฎิสัมภิทา

    ท่านจะทราบเลยว่า ขนาดที่มีธรรมละเอียดที่จะทรงสามารถแสดงได้ขนาดนี้เพื่อให้สัตว์โลกได้เข้าใจถึงสภาวะธรรม แต่กลมลสันดานของสัตว์โลกที่ไม่ได้สั่งสมสุตตะมาก่อนไม่เหมาะที่จะตรัสรู้และเข้าใจธรรมอันประเสริฐนี้ จนทรงท้อพระทัยที่จะทรงตรัสสอน จึงแสดงเพื่อเป็นพลวปัจจัยเป็นอันมาก จึงทรงกล่าวธรรมแม้บทเดียวโดยที่เขาเข้าใจก็เป็นสุขแก่สัมปราภพของสัตว์นั้นอย่างยาวนานจวบจนพระนิพพาน และโดยเฉพาะฐานะที่ท่านทำอยู่ในการปกป้องรักษาพระไตรปิฏกด้วยความบริสุทธิ์ใจเหล่าใดก็ตามในกาลนี้ก็ตามกาลอดีตที่แล้วมาจนถึงกาลอนาคตก็ตาม พวกท่านทั้งหลายเหล่านั้นฯ ย่อมได้บรรลุสู่ ปฎิสัมภิทาญาน อย่างแน่นอนครับ พระอรหันต์๔หมวด มีคุณความสามารถที่แตกต่างกันตามบทบาทและหน้าที่ วันนั้นเมื่อท่านได้เห็น พระมหาปกรณ์ จาก พระสัทธรรม พระธรรมราชา แล้ว ท่านจะเข้าใจ อรรถพยัญชนะที่ข้าพเจ้าแสดงไว้แล้วนี้ สาธุธรรมครับ

    #ด้วยอานุภาพแห่งสัจจะของนิรุตติญานทัสสนะใดใด

    #เผื่อมีผู้หนึ่งผู้ใดอยากได้ข้าพเจ้าไปเป็นขี้ข้ากินเดนเพิ่ม
    #หรืออยากสาปส่งลงนรกหมกไหม้
    #ก็แสดงความคิดเห็นได้ตามสบาย
    #ตำหนิเชิงว่าข้าพเจ้าเป็นมารพระศาสนา
    ฯลฯ

    #นี่เป็นการส่งเสริมและให้โอกาส ที่ข้าพเจ้าให้ท่านได้

    #อภูตวาที นิรยํ อุเปติ "#คนพูดไม่จริง #ย่อมเข้าถึงนรก"

    #ยังหวังใจในพุทธภูมิอยู่

    #อนึ่งเพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นให้ผู้สั่งสมสุตตะ และหว่านแหตาถี่ กวาดเสี้ยนหนามในพระศาสนา #ด้วยคุณวิเศษ

    “ผู้ที่มีจิตใจบริสุทธิ์ย่อมพ้นได้
    ”ผู้มีจิตใจไม่บริสุทธิ์ย่อมเป็นไปตามกรรม

    “เกวียนพระไตรปิฎกเคลื่อนไปเมื่อไหร่ ด้วยพระดาบสผู้บำเพ็ญขั้นอุกฤษฏ์ ตายจากภพภูมินี้เมื่อไหร่อย่างน้อยก็ระลึกได้1ชาติแล้วเราค่อยมารื้อฟื้นความทรงจำของตนเองกัน”

    #จับเสือมือเปล่า ท่านหรือเราพึงพิจารณา

    #หากตัวสั่นมือสั่น แม้เพียงปลายนิ้ว ใจหวิวตั้งแต่หัวจรดเท้า ธาตุ ๔ แปรปรวนเมื่ออ่านท่านพึงพิจารณาตนเองให้ดีในภาษิตที่แสดงไว้แล้วนี้

    #มิคสาลาสูตร
    ดูกรอานนท์ในสองคนนั้น บุคคลใดเป็นผู้ฟุ้งซ่าน แต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความฟุ้งซ่านของเขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ #ย่อมได้วิมุติแม้อันเกิดในสมัย บุคคลนี้ดีกว่า และประณีตกว่าบุคคลที่กล่าวข้างต้นโน้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร #เพราะกระแสแห่งธรรมย่อมถูกต้องบุคคลนี้ #ใครเล่าจะพึงรู้เหตุนั้นได้นอกจากตถาคต

    #ดูกรอานนท์ เพราะเหตุนั้นแหละ #เธอทั้งหลายอย่าประมาณในบุคคล #และอย่าได้ถือประมาณในบุคคลเพราะผู้ถือประมาณในบุคคล #ย่อมทำลายคุณวิเศษของตน #เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ

    โปรดพิจารณา

    #อธิษฐานธรรม
    (ธรรมเป็นที่มั่น, ธรรมอันเป็นฐานที่มั่นคงของบุคคล, ธรรมที่ควรใช้เป็นที่ประดิษฐานตน เพื่อให้สามารถยึดเอาผลสำเร็จสูงสุดอันเป็นที่หมายไว้ได้ โดยไม่เกิดความสำคัญตนผิด และไม่เกิดสิ่งมัวหมอง หมักหมมทับถมตน

    สัจจะ (ความจริง คือ ดำรงมั่นในความจริงที่รู้ชัดด้วยปัญญา เริ่มแต่จริงวาจาจนถึงปรมัตถสัจจะ

    #ในยุคปัจจุบัน มีผู้แสดง เรื่อง ปฎิสัมภิทา เพียงผู้เดียว โดยมีเนื้อหาสาระที่ตรงขนาดนี้ ไม่ได้กล่าวตามเพียงแค่ว่าเป็นปริยัติหรือมุขปาฐะเลย นี่ระดับสภาวะ รู้แจ้งเห็นจริง ไม่เชื่อ! ยังดูหมิ่นเพราะกลัว! เพราะเกลียด โดยอคติ๔ ก็รับบท ขี้ข้าไป! (สภาวะตาข่ายดักจับ ทำผิดต่อธรรมขั้นสูงของผู้ใด ก็รับผลจากผู้นั้น)

    #เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่ ฯ

    สุดท้ายนี้ จริงๆแล้วก็ไม่ได้อยากผูกกรรมผูกเวรกับใครไว้หรอกนะ แต่ถ้าไม่ปรามไว้ก่อน จะมาโทษกันในภายหลังไม่ได้ สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ส่งผลตั้งแต่ปัจจุบันกาล จนถึงอนาคตกาล จนกว่า พระธรรมที่ชื่อว่า ปฎิสัมภิทา ที่เราจักแสดงเป็นเรื่องราวกล่าวขานจนกว่า จะหายไปจากการรู้เห็นของสัตว์โลก (ลอดหลุดตะแกรงเพียบ และก็ไม่รอด)

    “หากเห็นว่าควรศึกษา ควรพิจารณา” ผู้ไม่มีความเพียร มีความเพียรน้อยอย่างเรา ไม่ได้เป็นพหูสูต ไม่มีครูอื่นสอนตนเองในเรื่องปฎิสัมภิทานี้ เราช่างอาภัพนักที่ต้องมาค้นหาพิจารณาด้วยตนเอง ผู้เบื้องล่าง ๑/๑๖ นี้อยู่ฯ

    นับแต่วันออกพรรษา ปี ๕๔ ในเพศภิกษุจนถึงปัจจุบันกาลในเพศฆราวาสจนถึงอนาคตกาลในเพศพระดาบสก็ขออธิษฐานจิตไว้ ดังนี้ ด้วยอานิสงส์แห่งสัจจะวาจาและบุญกุศลความซื่อสัตย์ซื่อตรงที่ได้กระทำมาแก่พระธรรม หากแม้นข้าพเจ้าเป็นผู้กระทำสัตย์จริง ด้วยการยกพระสัทธรรมโดยปฎิสัมภิทาญานขึ้นแสดงด้วยเหตุปัจจัยอันเข้าถึงสภาวะ๑ ในข่ายปฎิสัมภิทา๑๖อย่างแท้จริง ในการอัญเชิญพระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บท ๑ และแสดงได้ถูกต้องเสมอปัญญาความรู้ของตนในปัจจุบัน ณ กาล๑ การแสดงธรรมในการคัดแยกตามลำดับโดยวิมุตติเป็นจริงแท้ไม่วิปริต ๑ ขอให้ข้าพเจ้ามีสุขสมหวังในรสพระธรรม ตั้งแต่ปัจจุบัน ณ กาลนี้ตลอดจนเข้าสู่พระนิพพาน

    หากผู้ใดก็ตามกล่าววาจาก็ตาม กระทำการด้วยกายและใจ หรือแสดงอรรถอักษรล่วงเกินดูหมิ่นพระธรรมอันเที่ยงแท้ ที่ข้าพเจ้าได้น้อมนำมาแสดงไว้โดยกล่าวว่า ข้าพเจ้าได้แสดงธรรมโดยปฎิสัมภิทาอันเป็นเท็จ ว่าการเข้าถึงสภาวะเบื้องหน้าพระไตรปิฏกองค์แท้ดั้งเดิมโดยข้าพเจ้านั้นเป็นการเท็จไม่จริง ว่าการแสดงธรรมและบิดเบือนและไม่ถูกต้องตามสภาวะโดยปฎิสัมภิทาญาน กล่าวว่าการเข้าถึงบทธรรม อภยปริตร ของข้าพเจ้าเป็นเท็จไม่จริง ข้าพเจ้าขอให้บุคคลเหล่านั้นได้เสวยชาติเกิดเป็นมนุษย์ก็ดีเป็นสัตว์ติรัจฉานก็ดีภพภูมิอื่นใดก็ดี จงเกิดเป็นขี้ข้าบริวารทาสเลียแข้งเลียขากินเดนของข้าพเจ้า เป็นเหตุให้ต้องได้รับโทษทนทุกข์ทรมาน ตามเหตุและปัจจัยที่กล่าวจาบจ้วงพระธรรมโดยปฎิสัมภิทาที่ข้าพเจ้าได้แสดงไว้ และจงอย่าได้เกิดทันในยุคพระศรีอารยเมตไตรย

    หากแม้นข้าพเจ้าได้กล่าวเท็จในการแสดงธรรมที่แล้วมาโดยอ้างปฎิสัมภิทาญานก็ดี โดยอ้างการเข้าถึงบทธรรม อภยปริตร จากพระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ทิพย์วิเศษบริสุทธิธรรมอันเป็นเท็จ แม้แต่ประการนั้นๆขอให้ข้าพเจ้าจงได้ไปเกิดเป็นขี้ข้าบริวารให้บุคคลเหล่านั้นลงโทษทรมานทรกรรมตลอดจนถึงการหลงทำการกาละ ทุกชาติภพไป ตายไปก็ตกอยู่ในอเวจีมหานรกและอย่าได้เกิดทันยุคพระศรีอารยเมตไตรยตลอดจนกาลสมัยพระพุทธเจ้าองค์อื่นๆ หลงเวียนว่ายตายเกิดในวัฎสงสาร ในอบายภูมิ นานนับเป็นอจินไตยที่ยากจะคำนวนนับได้

    ส่วนบุคคลเหล่าใดหรือผู้ใดเป็นผู้มีใจตั้งมั่น มีวาสนาและปัญญาธรรม เชื่อในการแสดงธรรมโดยปฎิสัมภิทาของข้าพเจ้าในทุกๆกระทู้ธรรมอันแสดงตามเหตุและปัจจัยเอาไว้ ว่าเป็นจริงตามจริง มิได้เป็นเท็จบิดเบือนหลอกลวง ขอให้ท่านทั้งหลายเหล่านั้น หากมิได้บรรลุธรรมในพุทธสมัยที่ ๔ ในภัทรกัปป์นี้ ขอจง ได้ไปเกิดในยุคสมัยของพระศรีอารยเมตไตรย นั้นเทอญฯ

    เอเตนะ สัจจะ วัชเชนะ

    สาธุ สาธุ สาธุ

    #เสขะปฎิสัมภิทา
    {ธรรมบุตรดาบส}
    IMG_5574.jpeg
     
  14. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    392
    ค่าพลัง:
    +30
    บันทึก

    #ไม่รู้จักปฎิสัมภิทา ทุกสรรพศาสตร์เริ่มต้นที่หนึ่ง! แล้วบอกว่าเรียนZEN

    #พระไตรปิฎกสังคายนามาด้วยพระปฎิสัมภิทาแต่ไม่เอาปฎิสัมภิทา

    #กรรมจัดสรร

    #กรรมบังธรรม #กรรมบังตา

    แม้พระพุทธทาสยังรู้จักZEN บัญญัติปฎิสัมภิทาในอภิธรรมชั้นที่๕ จาก จาก ๗ ชั้น สูงสุดว่าด้วยสุญญตา แม้ท่านพระพุทธทาสยังกล่าว ! อานาปานสติที่สมบูรณ์อยู่ในปฎิสัมภิทา

    ไม่เอาปฎิสัมภิทา จะเอาวิมุตติ จะเอาพิจารณาตามจิตที่วิมุตติ จะเอาดวงตาเห็นธรรม ด้วยธรรมจักษุ มาจากไหน
    ก็ญานในพระนิพพานคืออรรถปฎิสัมภิทา คือต้องได้ ๑ใดในบทธรรมในพระไตรปิฎกพระสัทธรรมเจ้าในการตรัสรู้สัจจะโดยนวังคสัตถุศาสตร์

    จะเอาบรรลุธรรม แต่ไม่ปรากฎวิมุตติ ๕ ไม่ปรากฎธรรมใดๆ โดยสกานิรุตติ ที่สามารถระบุอรรถพยัญชนะได้ในคำสอนพระศาสดามีองค์ ๙ สัททะสังคีตอันเป็นทิพย์ไม่ปรากฎ ไม่มีอุทานธรรมบทไม่ปรากฎมโนมยิทธิก็บอกว่าบันทะลุธรรม บรรลัยแน่นอน!

    #ถ้าได้ปฎิสัมภิทาระดับสูงแหล่งโบราณคดีกินเรียบ! ภาษา อะไรที่สาปสูญ ฯลฯเจาะไม่เหลือ!

    แม้อสัทธรรมในลัทธิศาสนาอื่นหรือคัมภีร์ของพญามารก็เรียกตัวดั้งเดิมมาได้เจาะทะลุหมด ยังพิชัยสงครามของศาสนาพุทธ #พรหมชาลสูตร ทิฐิ ๖๒ มีไม่เกินนี้ทั่วสหโลกธาตุ
    ทรงตรัสไว้ดีแล้ว

    ชี้แนะเสินกวงฝ่าซือ

    ย้อนกล่าวถึง พระอาจารย์ตั๊กม๊อ ได้เดินทางมาถึงวัดใหญ่แห่งหนึ่ง มีท่านเจ้าอาวาสนามว่า "เสินกวง" ท่านเจ้าอาวาสรูปนี้เป็นผู้ที่มีปัญญาหลักแหลมมาก และความจำล้ำเลิศชนิดที่ว่า คนทั่วไปอ่านหนังสือกันทีละแถว แต่ท่านสามารถอ่านได้ทีละ ๑๐ แถวท่านสามารถฟังคนร้อยคนพูดในเวลาเดียวกัน ไม่เพียงเท่านั้นท่านสามารถแยกแยะเรื่องราวจากเจ้าของเสียงได้อย่างถูกต้อง นับว่าท่านเสินกวงฝ่าชือ เป็นพระสงฆ์อัจฉริยะองค์หนึ่ง แต่ทว่าอีกด้านหนึ่งท่านก็เป็นนักบวชที่มีอารมณ์ฉุนเฉียวมากด้วยเช่นกัน ในด้านการเทศนาธรรม ท่านเจ้าอาวาสเสินกวง นับเป็นนักเทศน์ชั้นเยี่ยมยอดแห่งยุคนั้น เพราะท่านสามารถเทศน์จนศรัทธาสาธุชนที่มานั่งฟังสามารถมองเห็นภาพสวรรค์ภาพนรกขึ้นมาได้

    วันนั้นขณะพระอาจารย์ตั๊กม๊อมาถึง ท่านเสินกวง กำลังแสดงธรรมเทศนา มีสานุศิษย์ชุมนุมอยู่เป็นจำนวนมาก พระอาจารย์ตั๊กม๊อจึงเข้าไปปะปนนั่งนิ่งฟังอยู่แถวหลังสุด ตอนไหนที่ถูกท่านก็ยิ้มๆ แล้วผงกศีรษะหน่อยๆ ตอนไหนที่เทศน์ผิดความหมาย..ท่านก็จะส่ายหน้าหน่อยๆ ฝ่ายท่านเสินกวง ผู้ซึ่งกำลังแสดงธรรมอยู่บนแทนธรรมมาสน์ เมื่อมองเห็นพระภิกษุอินเดียแปลกหน้ามาแสดงกิริยาเช่นนั้น เหมือนกับว่าเป็นการตำหนิตน ก็รู้สึกไม่สบอารมณ์บ้างแล้ว

    ครั้นการเทศนาธรรมจบลง ผู้คนเริ่มทะยอยกันกลับ พระอาจารย์ตั๊กม๊อจึงถือโอกาสเข้าไปสนทนาเพื่อหวังชี้แนะ ด้วย เห็นว่าเป็นผู้มีภูมิธรรมปัญญาเป็นฐานอยู่แล้ว
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อ "ท่านอยู่ที่นี่ทำอะไร? "
    ท่านเสินกวง "อ้าว!...ข้าก็เทศน์ธรรมอยู่ที่นี่น่ะซิ!"
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อ "ท่านเทศน์ธรรมเพื่ออะไร?"
    ท่านเสินกวง "เทศน์เพื่อให้ผู้คนหลุดพ้น!"
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อ "จะช่วยคนให้พ้น เกิดตายได้อย่างไร...ในเมื่อธรรมที่ท่านเทศน์ ก็คือ ตัวหนังสือบนคัมภีร์ ตัวหนังสือดำ ก็เป็นสีดำ กระดาษขาว ก็เป็นสีขาว เทศน์ไปเทศน์มา ก็คือเทศน์ตามตัวหนังสือดำๆ บนกระดาษขาวๆ
    เมื่อถูกจู่โจมด้วยคำถามชนิดไม่ทันให้ตั้งตัว ท่านเจ้าอาวาสเสินกวงได้แต่อึกอักอ้าปากค้าง ไม่รู้จะตอบอย่างไร จากความอายกลายเป็นโกรธจัด แม้ว่ายามปกติท่านจะเป็นนักเทศน์ที่เยี่ยมยอดก็ตาม แต่คราวอารมณ์โกรธปะทุ ขึ้นมาก็จะรุนแรงราวฟ้าผ่า พระอาจารย์ตั๊กม๊อ เห็นท่านเสินกวงไม่อาจตอบก็พูดย้ำเข้าไปอีกว่า "#นี่แหละน๊า...#แผ่นดิน จีน #ในยุคนี้ #มีธรรมะ #ก็เหมือนไม่มี #หากจะว่าไม่มี #ก็มีคนพูดธรรมะกันทั้งเมือง"

    ถึงตอนนี้ ท่านเสินกวงสุดจะกันความโกรธเอาไว้ได้ จึงเหวี่ยงสายประคำฟาดไปที่หน้าของพระอาจารย์ตั๊กม๊ออย่างสุดแรงพร้อมกับตะโกนด่าว่า "นี่แน่ะ!....แกกล้าดีอย่างไร ถึงมาเป็นตัวบ่อนทำลายศาสนาที่นี่"

    ทดสอบภูมิธรรม คัดศิษย์สืบทอดภารกิจ
    ปีพุทธศักราช ๑๐๗๙ อยู่มาวันหนึ่งพระอาจารย์ตั๊กม๊อได้เรียกสานุศิษย์คนสำคัญๆ เข้ามาพบเพื่อที่จะทดสอบภูมิธรรมของแต่ละคนว่าใครจะเข้าถึง "อนุตตรธรรมวิถี"ที่ท่านสั่งสอนอบรมไว้ว่าลึกตื้นมากน้อยกว่ากันเพียงไร
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อ ตั้งคำถามว่า "ธรรมที่แท้จริง คือ อะไร? "
    ศิษย์ชั้นอาวุโสองค์แรก นามว่า "เต๋าหู๋" ได้ลุกขึ้นยืนแล้วตอบว่า "ไม่ยึดติดตัวอักษรคัมภีร์ แต่ก็ไม่ทิ้งตัวอักษรคัมภีร์ อยู่เหนือการยอมรับ และเหนือการปฏิเสธ นั่นแหละ คือ ธรรมะที่แท้จรง ขอรับ"
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อ จึงพูดว่า "เอาล่ะ...เธอได้หนังของฉันไป"
    ศิษย์องค์ที่สองเป็นภิกษุณี นามว่า "จิ้งที้" ได้ลุกขึ้นยืนแล้วตอบว่า "ธรรมที่แท้จริง เหมือนดังที่พระอานนท์ได้เห็น พุทธภูมิของพระอักโษภยาพุทธเจ้า แว็บหนึ่งแล้วไม่เห็นอีกเลยเจ้าค่ะ"
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อ จึงพูดว่า "ถูก....เธอได้เนื้อของฉันไป"
    ศิษย์องค์ที่สาม นามว่า "เต๋ายก" ลุกขึ้นยืนแล้วตอบว่า "มหาภูตรูปทั้ง 4 นั้นเดิมว่าง ขันธ์ 5 ก็ไม่ใช่ตัวตนไม่มีแม้แต่ธรรมใดๆ นั่นแหละคือ ธรรมะ ที่แท้จริงขอรับ"
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อ จึงพูดว่า "เอ้า!...ถูก....เธอได้กระดูกของฉันไป"
    ศิษย์องค์ที่สี่ นับเป็นศิษย์ก้นกุฏิ คือ ฮุ่ยเข่อ หรือท่านเสินกวงนั่นเองท่านได้ลุกขึ้นนมัสการพระอาจารย์ตั๊กม๊อ แล้วหุบปากนั่งนิ่ง แล้วยังเม้มลึกเข้าไปอีก ความหมายก็คือ ไม่มีภาษาและเสียงใด มาอธิบายสภาวะสัจจธรรมได้เลย เป็น "ปัจจัตตัง" คือ รู้ได้เฉพาะตนเท่าที่ตนเองได้บรรลุถึงเท่านั้น
    ถึงตอนนี้ พระอาจารย์ตั๊กม๊อ จึงหัวเราะแล้วพูดว่า "ดี! ดี!.....เธอได้ไขในกระดูกของฉันไป"
    ดังนั้นพระอาจารย์ตั๊กม๊อ จึงได้ส่งมอบ บาตร จึวร สังฆาฏิธรรมะทั้งหมด ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้แก่ ท่านฮุ่ยเข่อสืบทอด เป็นพระสังปรินายกองค์ที่ ๒ ของนิกายฌานเพื่อดำรงอายุพระพุทธศาสนา ถ่ายทอดหลักจิตญาณต่อไป

    องค์สังฆปรินายกองค์ที่ ๒๘แห่งอินเดียก็ได้ถ่ายทอดธรรมให้แก่ท่านเสินกวงด้วยวิถีแห่ง"จิตสู่จิต"เมื่อนั้นท่านเสินกวงก็ได้บรรลุธรรมโดยฉับพลัน
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อจึงกล่าวว่า "ฉันได้วางจิตของเธอในที่ถูกต้อง และทำให้มันสงบแล้ว"พระอาจารย์ตั๊กม๊อได้รับท่านเสินกวงเป็นศิษย์ และตั้งสมณฉายาให้ใหม่ว่า "ฮุ่ยเข่อ" พร้อมกับได้กล่าวโศลกธรรมว่า "สรรพศาสตร์ทั้งหลายอยู่ที่ "หนึ่ง" " หนึ่ง" นั้นอยู่ที่ใดเล่า เพราะไม่รู้ "จุดหนึ่ง" เสินกวงจึงต้องคุกเข่า รอ ๙ ปี เพื่อขอ "หนึ่งจุด".....หลุดพ้นยมบาล

    #ปฎิสัมภิทา

    IMG_5923.jpeg
     
  15. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    392
    ค่าพลัง:
    +30
    “สร้างเหตุและปัจจัย”

    #เหล่ามหาคุรุกูรูผู้สูงส่งย่อมมีการถ่ายทอดความรู้ที่สูงที่สุดคือให้ความรู้แก่ลูกศิษย์หรือผู้ที่มีโอกาสฟังและรับปฎิบัติมา จนรู้ถ้วนถ่องแท้แก่ใจตามจนแม้ผู้เป็นครูบาอาจารย์ก็ไม่สามารถหลอกลูกศิษย์ได้ ในแนวทางคำสอนนั้นเพราะภูมิธรรมได้รับมาดีแล้ว รู้ทันกันตามฐานะธรรมอันสมควรแก่ตน นี่เรียกว่าการแนะนำสั่งสอนอย่างสูงสุดของกัลยาณมิตรธรรม โดยไม่ตระหนี่ธรรม

    #อวสานแผ่นพับบัญญัติ10ประการของมั่วเศษ /ไม่ใช่ของ(โมเสส)

    #ต้นกำเนิดสัทธรรมปฎิรูป

    #หายนะของผู้ไม่รู้จักพระสัทธรรม
    ขอท่านผู้เจริญ ฌาน อภิญญา สมาธิฯร่วมพิจารณา

    ข้อมูลจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนไตร่ตรองเห็นชัด!

    สมาธินิมิตคืออะไร?

    เกี่ยวข้องอะไรกับ สุญญตสมาธิ?
    เกี่ยวข้องอะไรกับธรรมเอก?
    เกี่ยวข้องอะไรกับสัญญาสูตร?
    เกี่ยวข้องอะไรกับปฎิสัมภิทา?
    เกี่ยวข้องอะไรกับการพิจารณาตามจิตที่วิมุตติ?
    เกี่ยวข้องอะไรกับพระสัทธรรมเจ้า?

    ท่านผู้เจริญข้อนี้ผิดตรงไหน?

    #เหล่าปฎิสัมภิทาย่อมรู้ชัด

    #สำคัญ{ สูตรใดที่ปรากฏบ้าง๑ สังคีตอันเป็นทิพย์ที่ปรากฎ๑ ทำนองที่ปรากฎ๑ควบคุมได้กี่ร่าง๑ เวลาที่เข้าถึงเวลาที่ออก๑ }

    คำตอบนี้เฉพาะเหล่าปฎิสัมภิทา!รู้ชัด!เจนดีเยี่ยม!

    #สุญญตธรรม/สุญญตาธรรมฯ“การปล่อยวางความรู้อันสูงสุด เกิดจากความรู้ความเข้าใจ

    #อารมณ์เดียวกันแต่วิเศษกว่าละเอียดกว่าเป็นระดับเสวยวิมุตติสุข

    #อ๋อ!เข้าใจแล้วแบบทางโลกียะธรรม! กับ อุทานธรรมบทเป็นของโลกุตตระธรรม

    #ญานในพระนิพพานคืออรรถปฎิสัมภิทา อรรถปฎิสัมภิทาอยู่ในสุญญสมาบัติอันยอดเยี่ยม! เมื่อทลวงยกระดับเข้าสู่อรหัตมรรคไปอรหัตผลได้ย่อมได้เข้าสู่พระนิพพาน {ปล่อยวางแพคือพระสัทธรรม๓ เพราะเป็นผลอันจบกิจแล้ว

    #พึงพิจารณา ท่านสนทนาอันใดกัน บทและพยัญชนะอันใด มีกี่นัยยะ!
    สมัยหนึ่ง ท่านพระโคทัตตะอยู่ที่อัมพาฏกวัน ใกล้ราวป่ามัจฉิกาสณฑ์ ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีได้เข้าไปหาท่านพระโคทัตตะถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระโคทัตตะได้ถามจิตตคฤหบดีว่า

    ดูกรคฤหบดี ธรรมเหล่านี้ คือ อัปปมาณาเจโตวิมุติ อากิญจัญญาเจโตวิมุติ สุญญตาเจโตวิมุติ และอนิมิตตาเจโตวิมุติ มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะต่างกัน หรือว่ามีอรรถเหมือนกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น

    จิตตคฤหบดีตอบว่า

    ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ปริยายที่เป็นเหตุให้ธรรมเหล่านี้อาศัยแล้ว เป็นธรรมมีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะต่างกัน มีอยู่ และปริยายที่เป็นเหตุให้ธรรมเหล่านี้อาศัยแล้ว เป็นธรรมมีอรรถเหมือนกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น มีอยู่

    ก็ปริยายที่เป็นเหตุให้ธรรมเหล่านี้อาศัยแล้ว เป็นธรรมมีอรรถต่างกัน และมีพยัญชนะต่างกันเป็นไฉน

    ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีใจประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจอันประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่

    มีใจประกอบด้วยกรุณา...

    มีใจประกอบด้วยมุทิตา...

    มีใจประกอบด้วยอุเบกขาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจอันประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวรไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นี้เรียกว่า อัปปมาณาเจโตวิมุติ

    ก็อากิญจัญญาเจโตวิมุติเป็นไฉน

    ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าอากิญจัญญายตนฌาน ด้วยมนสิการว่า "อะไร ๆ หน่อยหนึ่งไม่มี" ดังนี้อยู่ นี้เรียกว่า อากิญจัญญาเจโตวิมุติ

    ก็สุญญตาเจโตวิมุติเป็นไฉน

    ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ตาม อยู่โคนต้นไม้ก็ตาม อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ตาม ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า "นี้ว่างเปล่าจากตนหรือจากสิ่งที่เนื่องในตน" นี้เรียกว่า สุญญตาเจโตวิมุติ

    ก็อนิมิตตาเจโตวิมุติเป็นไฉน

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเข้าถึงอนิมิตตาเจโตสมาธิ เพราะไม่มนสิการถึงนิมิตทั้งปวงอยู่ นี้เรียกว่าอนิมิตตาเจโตวิมุติ

    ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นี้คือปริยายที่เป็นเหตุให้ธรรมเหล่านี้อาศัยแล้ว มีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน

    #ก็ปริยายที่เป็นเหตุให้ธรรมเหล่านี้อาศัยแล้ว มีอรรถเป็นอันเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้นเป็นไฉน

    ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ราคะ โทสะ โมหะ ชื่อว่ากิเลสกระทำประมาณ กิเลสเหล่านั้นอันภิกษุผู้ขีณาสพละได้แล้ว ตัดมูลรากขาดแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา อัปปมาณาเจโตวิมุติมีประมาณเท่าใด เจโตวิมุติอันไม่กำเริบบัณฑิตกล่าวว่า เป็นเลิศกว่าอัปปมาณาเจโตวิมุติเหล่านั้น

    ก็เจโตวิมุติอันไม่กำเริบนั้นว่างเปล่าจากราคะ โทสะ โมหะ ราคะ โทสะ โมหะ ชื่อว่าเป็นกิเลสเครื่องกังวล กิเลสเหล่านั้นอันภิกษุผู้ขีณาสพละได้แล้ว ตัดมูลรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา

    อากิญจัญญาเจโตวิมุติมีประมาณเท่าใด เจโตวิมุติอันไม่กำเริบบัณฑิตกล่าวว่า เป็นเลิศกว่าอากิญจัญญาเจโตวิมุติเหล่านั้น

    ก็เจโตวิมุติอันไม่กำเริบนั้นว่างเปล่าจากราคะโทสะ โมหะ ราคะ โทสะ โมหะ ชื่อว่าเป็นกิเลสเครื่องกระทำนิมิต (เครื่องหมาย) กิเลสเหล่านั้นอันภิกษุผู้ขีณาสพ ละได้แล้ว ตัดมูลรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา

    อนิมิตตาเจโตวิมุติมีประมาณเท่าใด เจโตวิมุติอันไม่กำเริบบัณฑิตกล่าวว่า เป็นเลิศกว่าอนิมิตตาเจโตวิมุติเหล่านั้น

    ก็เจโตวิมุติอันไม่กำเริบนั้นว่างเปล่าจากราคะ โทสะ โมหะ

    #ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ปริยายนี้เป็นเหตุให้ธรรมเหล่านี้อาศัยแล้ว มีอรรถเป็นอันเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น

    ท่านพระโคทัตตะกล่าวว่า

    #ดูกรคฤหบดี การที่ปัญญาจักษุของท่านหยั่งทราบในพระพุทธพจน์ที่ลึกซึ้ง ชื่อว่าเป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว

    ไม่เอาปฎิสัมภิทา ไม่เอาวิมุตติ๕ ไม่พิจารณาตามจิตที่วิมุตติ

    (เข้าใจมากขึ้นแล้วนะ สำหรับท่านผู้เจริญผู้พิจารณาตาม)

    สุญญตสมาธิ หมายถึง สมาธิ หรือ เอกัคคตาเจตสิก ที่เป็นความตั้งมั่น ที่เกิดกับปัญญา ขั้นวิปัสสนา หรือ ขั้นมรรคจิต ที่เห็นโดยความไม่ใช่ สัตว์ บุคคล คือ สุญญตะที่ว่างเปล่า จากความเป็น สัตว์ บุคคล เพราะฉะนั้น จะต้องเป็นสมาธิ ที่เกิดพร้อมกับปัญญาขั้นวิปัสสนาญาณหรือมรรคจิต ที่เห็นตามความเป็นจริงว่าไม่มี สัตว์ บุคคล มีแต่ธรรม จึงเป็น สุญญตสมาธิ ที่สามารถละราคะได้จริงๆ

    และอีกนัยหนึ่ง มรรคจิตที่เกิดขึ้นพร้อมกับสมาธิ เป็นสุญญตะ ว่างเปล่าจากราคะ ในขณะนั้น

    อนิมิตตสมาธิ อนิมิตตะ หมายถึง สภาพธรรม ที่ไม่มีนิมิต คือ ไม่มีนิมิตที่เที่ยง เพราะฉะนั้น จึงเป็นสมาธิที่เกิดพร้อมกับปัญญา ที่เห็นว่าไม่เที่ยงเพราะอนิมิต เว้นจากนิมิตว่าเที่ยงนั่นเองครับ จึงเป็นปัญญาที่เกิดกับวิปัสสนาญาณและมรรคจิตที่มีสมาธิ คือเอกัคคตาเจตสิกเกิดร่วมด้วย อันมีปัญญาเห็นความไม่เที่ยงในขณะนั้น ทำให้เว้นจากนิมิตว่าเที่ยงในขณะนั้น ครับ

    อัปปณิหิตสมาธิ ปัญญา ขั้นวิปัสสนาญาณและมรรคจิตที่เกิดพร้อมกับสมาธิ อันเห็นตามความเป็นจริงของสภาพธรรมที่เป็นทุกข์ หาที่ตั้งไม่ได้ ชื่อว่า อัปปณิหิตสมาธิ

    ดูกรสารีบุตร คติ ๕ ประการ
    เหล่านี้แล ดูกรสารีบุตร ผู้ใดแลพึงว่าซึ่งเราผู้รู้อย่างนี้ ผู้เห็นอยู่อย่างนี้ว่า ธรรมอันยิ่งของมนุษย์ที่เป็นญาณทัสสนะอันวิเศษพอแก่ความเป็นอริยะของพระสมณโคดมไม่มี #พระสมณโคดมทรงแสดงธรรมที่ประมวลมาด้วยความตรึก
    ที่ไตร่ตรองด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง

    ดูกรสารีบุตรผู้นั้นไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเสีย ก็เที่ยงที่จะตกนรกดังนำมาฝังไว้ ดูกรสารีบุตร เปรียบเหมือนภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิถึงพร้อมด้วยปัญญา พึงกระหยิ่มอรหัตผลในปัจจุบันทีเดียว แม้ฉันใด เรากล่าวข้ออุปไมยนี้ก็ฉันนั้น ผู้นั้นไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเสีย ก็เที่ยงที่จะตกนรกดังถูกนำมาฝังไว้.

    #คุณลักษณะของพระโสดาบันขึ้นไป ฯ

    {คุณสมบัติ ๕ ข้อแรกพระอริยะเจ้า/อริยบุคคลก็เรียกมีทุกท่านฯ}

    สากัจฉสูตร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นผู้ควรสนทนาของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภสีลสัมปทาได้ ๑
    ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภสมาธิสัมปทาได้ ๑
    ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภปัญญาสัมปทาได้ ๑
    ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภวิมุตติสัมปทาได้ ๑
    ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภวิมุตติญาณทัสสนสัมปทาได้ ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรสนทนาของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ฯ
    จบสูตรที่ ๕

    [พระโพธิสัตว์และมหาโพธิสัตว์มีโปร]ไม่ลาพุทธภูมิ

    ทีฆนขปริพาชกแสดงตนเป็นอุบาสก
    ลำดับนั้น #ทีฆนขปริพาชกมีธรรมอันเห็นแล้ว #มีธรรมอันถึงแล้ว #มีธรรมอันทราบแล้ว #มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว #ข้ามความสงสัยได้แล้ว #ปราศจากความเคลือบแคลง #ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า #ไม่ต้องเชื่อต่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่าข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางให้แก่คนหลงทางหรือตามประทีปในที่มืด ด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุเห็นรูป ดังนี้ ฉันใด ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ดังนี้แล.
    จบ ทีฆนขสูตร ที่ ๔.

    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ทรงมีพระสัทธรรมเป็นที่เคารพพึ่งพิงเป็นพระปริยัติ ไม่ใช่นั่งสมาธินึกคิดประมวลผลเอาเองอย่างสุนักขัตตะกล่าว
    ถาม: พระสัทธรรมเจ้า ผู้อกาลิโก
    มีอยู่หรือไม่มี! ถ้าก้าวล่วงถือดีแอบอ้าง!
    ชนเหล่านั้นจักเป็นเช่นไรในสัมปรายภพ

    #เธอทรงจำมาดีแล้วหรือ?

    ปฎิสัมภิทา, สมาบัติภายใน, ธรรมเอก, สุญญตวิหารธรรม

    ๒ พระสูตรนี้ จะเกี่ยวข้องกับ สัญญาสูตร อรรถพยัญชนะ ที่ตรงกันของพระศาสดา

    จุฬสุญญตสูตร การแสดง สุญญตวิหารธรรม ของพระพุทธเจ้า แก่พระอานนท์ เธอทรงจำไว้ดีหรือไม่อานนท์ เรื่องก็ประมาณนี้ กล่าวถึง สัญญาสูตร

    ทั้ง ๒ พระสูตรนี้มีนัยยะเดียวที่บ่งชี้ชัดคือ สถานะ ของการมีอยู่และ การเข้าถึง พระสัทธรรม

    ไม่ต้องสงสัยเลยว่า สุญญตธรรม ที่นอบน้อมยกลงมาแสดง ก็มีอยู่ในพระสูตรหลักของสุญญตธรรมนี้ ซึ่งจะแตกต่างจากความเห็นของที่อื่น คือ การยืนยันสถานะการมีอยู่ ของพระสัทธรรม การเคารพพึ่งพิงพระสัทธรรม

    ดูกรอานนท์ ก็วิหารธรรมอันตถาคตตรัสรู้ในที่นั้นๆ นี้แล คือ
    ตถาคตบรรลุสุญญตสมาบัติภายใน เพราะไม่ใส่ใจนิมิตทั้งปวงอยู่ ดูกรอานนท์ถ้าภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชาเดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์เข้าไปหาตถาคตผู้มีโชค อยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ในที่นั้นๆ

    ตถาคตย่อมมีจิตน้อมไปในวิเวก โน้มไปในวิเวก โอนไปในวิเวก หลีกออกแล้วยินดียิ่งแล้วในเนกขัมมะ มีภายในปราศจากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการทั้งปวง จะเป็นผู้ทำการเจรจาแต่ที่ชักชวนให้ออกเท่านั้น ในบริษัทนั้นๆ โดยแท้

    ดูกรอานนท์ เพราะฉะนั้นแล ภิกษุถ้าแม้หวังว่า จะบรรลุสุญญตสมาบัติภายในอยู่เธอพึงดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นตั้งจิตภายในให้มั่นเถิด ฯ
    ดูกรอานนท์ ก็ภิกษุจะดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในมั่นได้อย่างไร

    ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    (๑) สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌานมีวิตก มีวิจารมีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ฯ
    (๒) เข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ฯ
    (๓) เป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌาน ที่พระอริยะเรียกเธอได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติ อยู่เป็นสุข อยู่ ฯ
    (๔) เข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ฯ

    ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าย่อมดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในมั่น ฯ

    ดูกรอานนท์ บัดนี้เราอยู่มากด้วยสุญญตวิหารธรรม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนี้ข้าพระองค์ได้สดับดีแล้ว รับมาดีแล้ว ใส่ใจดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้วหรือ ฯ

    พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ดูกรอานนท์ แน่นอน นั่นเธอสดับดีแล้ว รับมาดีแล้ว ใส่ใจดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว ดูกรอานนท์ ทั้งเมื่อก่อนและบัดนี้ เราอยู่มากด้วยสุญญตวิหารธรรม เปรียบเหมือนปราสาทของมิคารมารดาหลังนี้ ว่างเปล่าจากช้าง โค ม้า และลา ว่างเปล่าจากทองและเงิน ว่างจากการชุมนุมของสตรีและบุรุษ มีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียวเฉพาะภิกษุสงฆ์เท่านั้น ฉันใด

    ดูกรอานนท์ ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ไม่ใส่ใจสัญญาว่าบ้าน ไม่ใส่ใจสัญญาว่ามนุษย์ ใส่ใจแต่สิ่งเดียว เฉพาะสัญญาว่าป่า จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใสตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในสัญญาว่าป่า เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในสัญญาว่าป่านี้ไม่มีความกระวนกระวายชนิดที่อาศัยสัญญาว่าบ้าน และชนิดที่อาศัยสัญญาว่ามนุษย์เลย มีอยู่ก็แต่เพียงความกระวนกระวายคือภาวะเดียวเฉพาะสัญญาว่าป่าเท่านั้น
    เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่าบ้าน สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่ามนุษย์ และรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียวเฉพาะสัญญาว่าป่าเท่านั้น ด้วยอาการนี้แหละ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในสัญญานั้นเลย และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในสัญญานั้นอันยังมีอยู่ว่ามี ดูกรอานนท์ แม้อย่างนี้ ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่างตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น ฯ

    ดูกรอานนท์ สมณะหรือพราหมณ์ในอดีตกาลไม่ว่าพวกใดๆ ที่บรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ทั้งหมดนั้น ก็ได้บรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดนี้เองอยู่ สมณะหรือพราหมณ์ในอนาคตกาลไม่ว่าพวกใดๆ ที่จะบรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ทั้งหมดนั้น ก็จักบรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดนี้เองอยู่ สมณะหรือพราหมณ์ในบัดนี้

    ไม่ว่าพวกใดๆ ที่บรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ทั้งหมดนั้นย่อมบรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดนี้เองอยู่ ดูกรอานนท์ เพราะฉะนั้นแล พวกเธอพึงศึกษาไว้อย่างนี้เถิดว่า เราจักบรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
    จบ จูฬสุญญตสูตร ที่ ๑

    พยสนสูตร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดด่าบริภาษเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายกล่าวโทษพระอริยะ ภิกษุนั้นจะไม่พึงถึงความฉิบหาย ๑๐ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง
    ข้อนี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ความฉิบหาย ๑๐ อย่างเป็นไฉน คือ ภิกษุนั้นไม่บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ ๑ เสื่อมจากธรรมที่บรรลุแล้ว ๑ สัทธรรมของภิกษุนั้นย่อมไม่ผ่องแผ้ว ๑ เป็นผู้เข้าใจว่าตนได้บรรลุในสัทธรรมทั้งหลาย ๑ เป็นผู้ไม่
    ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ ๑ ต้องอาบัติเศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง ๑ ย่อมถูกโรคอย่างหนัก ๑ ถึงความเป็นบ้า มีจิตฟุ้งซ่าน ๑ เป็นผู้หลงใหลกระทำกาละ ๑ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดด่าบริภาษเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย กล่าวโทษพระอริยะ ภิกษุนั้นจะไม่พึงถึงความฉิบหาย ๑๐ อย่างนี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง ข้อนี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ฯ
    จบสูตรที่ ๘

    #เตือนใจ

    พาลวรรค ๕ว่าด้วยคนพาลร้ายกว่าทุกอย่าง

    [๑๕] ๑. ราตรีของคนผู้ตื่นอยู่ นาน โยชน์ของคนล้าแล้ว ไกล สงสารของคนพาลทั้งหลาย ผู้ไม่รู้อยู่ซึ่งสัทธรรม ย่อมยาว.

    ๒. ถ้าบุคคลเมื่อเที่ยวไป ไม่พึงประสบสหาย ผู้ประเสริฐกว่า ผู้เช่นกับ (ด้วยคุณ) ของตนไซร้ พึงทำความเที่ยวไปคนเดียวให้มั่น เพราะว่า คุณเครื่องเป็นสหาย ย่อมไม่มีในเพราะคนพาล.

    ๓. คนพาลย่อมเดือดร้อนว่า บุตรทั้งหลายของเรามีอยู่ ทรัพย์ (ของเรา) มีอยู่ ตนแลย่อมไม่มีแก่ตน บุตรทั้งหลายจักมีแต่ที่ไหน ทรัพย์จักมีแต่ที่ไหน.

    ๔. บุคคลใดโง่ ย่อมสำคัญความที่ตนเป็นคนโง่ บุคคลนั้นจะเป็นบัณฑิต เพราะเหตุนั้นได้บ้าง ส่วนบุคคลใดเป็นคนโง่ มีความสำคัญว่าตนเป็นบัณฑิต บุคคลนั้นแล เราเรียกว่าคนโง่.

    ๕. ถ้าคนพาล เข้าไปนั่งใกล้บัณฑิตอยู่ แม้จนตลอดชีวิต เขาย่อมไม่รู้ธรรม เหมือนทัพพีไม่รู้รสแกง ฉะนั้น.

    ๖. ถ้าวิญญูชน เข้าไปนั่งใกล้บัณฑิต แม้ครู่เดียว เขาย่อมรู้แจ้งธรรมได้ฉับพลัน เหมือนลิ้นรู้รสแกง ฉะนั้น.

    ๗. ชนพาลทั้งหลาย มีปัญญาทราม มีตนเป็นดังข้าศึก เที่ยวทำกรรมลามกซึ่งมีผลเผ็ดร้อนอยู่.

    ๘. บุคคลทำกรรมใดแล้ว ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง เป็นผู้มีหน้าชุ่มด้วยน้ำตา ร้องไห้เสวยผลของกรรมใดอยู่ กรรมนั้น อันบุคคลกระทำแล้วไม่ดีเลย.

    ๙. บุคคลทำกรรมใดแล้ว ย่อมไม่เดือดร้อนในภายหลังเป็นผู้เอิบอิ่ม มีใจดี ย่อมเสวยผลของกรรมใด กรรมนั้นแล อันบุคคลทำแล้วเป็นกรรมดี.

    ๑๐. คนพาล ย่อมสำคัญบาปประดุจน้ำผึ้ง ตราบเท่าที่บาปยังไม่ให้ผล ก็เมื่อใดบาปให้ผล เมื่อนั้น คนพาลย่อมประสบทุกข์.

    ๑๑. คนพาล พึงบริโภคโภชนะด้วยปลายหญ้าคาทุกๆ เดือน เขาย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งท่านผู้มีธรรมอันนับได้แล้ว.

    ๑๒. ก็กรรมชั่วอันบุคคลทำแล้วยังไม่ให้ผล เหมือนน้ำนมที่รีดในขณะนั้นยังไม่แปรไป ฉะนั้น บาปกรรมย่อมตามเผาคนพาล เหมือนไฟอันเถ้ากลบไว้ ฉะนั้น.

    ๑๓. ความรู้ย่อมเกิดแก่คนพาล เพียงเพื่อความฉิบหายเท่านั้น ความรู้นั้นยังหัวคิดของเขาให้ตกไป ย่อมฆ่าส่วนสุกกธรรมของคนพาลเสีย.

    ๑๔. ภิกษุผู้พาล พึงปรารถนาความยกย่องอันไม่มีอยู่ ความแวดล้อมในภิกษุทั้งหลาย ความเป็นใหญ่ในอาวาส และการบูชาในตระกูลแห่งชนอื่น ความดำริย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้พาลว่า คฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งสองจงสำคัญกรรมอันเขาทำเสร็จแล้ว เพราะอาศัยเราผู้เดียว จงเป็นไปในอำนาจของเราเท่านั้น ในกิจน้อยใหญ่กิจไรๆ ริษยาและมานะย่อมเจริญ (แก่เธอ).

    ๑๕. ก็ข้อปฏิบัติอันเข้าไปอาศัยลาภ เป็นอย่างอื่น ข้อปฏิบัติอันยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพาน เป็นอย่างอื่น (คนละอย่าง) ภิกษุผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าทราบเนื้อความนั้นอย่างนี้แล้ว ไม่พึงเพลิดเพลินสักการะ พึงตามเจริญวิเวก.

    จบพาลวรรคที่ ๕.

    #ผนวก

    พระพุทธศาสนาแสดงวิมุตติ คือความหลุดพ้นจากกิเลสไว้ ๕ อย่างคือ
    ๑. วิกขัมภนวิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยการข่มไว้ด้วยอำนาจของฌาน เพียงปฐมฌานก็สามารถข่มธรรมอันเป็นข้าศึก คือนิวรณ์ ๕ มีกามฉันทะนิวรณ์ได้แล้ว แต่ไม่อาจละนิวรณ์ ๕ ให้ขาดไปจากใจได้ หมดอำนาจฌาน กิเลสคือนิวรณ์ก็เกิดได้อีก
    ๒. ตทังควิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยองค์นั้น ด้วยอำนาจของวิปัสสนาญาณ เพียงได้นามรูปปริจเฉทญาณ ปัญญาที่แยกนามกับรูปว่าเป็นคนละอย่าง ก็สามารถละความเห็นผิดว่านามรูป เป็นตัวตนได้ชั่วคราว
    ๓. สมุจเฉทวิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลส ด้วยการตัดขาด ด้วยมรรคญาณ กิเลสที่ถูกตัดขาดไปแล้วย่อมไม่กลับมาเกิดได้อีก
    ๔. ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลส เพราะกิเลสทั้งหลายสงบระงับไปในขณะแห่งผลจิต
    ๕. นิสสรณวิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยการสลัดออกจากธรรมอันเป็นข้าศึกคือกิเลส ด้วยนิพพาน
    ในวิมุตติ ๕ อย่างนี้ วิมุตติ ๒ อย่างแรกเป็นโลกียะ ส่วนวิมุตติ ๓ อย่างหลังเป็นโลกุตตระ ปัญญาคือความรู้ในวิมุตติ ๕ อย่างนั้น เรียกว่าวิมุตติญาณ
    ในอังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต กล่าวถึงวิมุตติ ๒ อย่างคือ เจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ ว่า
    [๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะ ย่อมไม่หลุดพ้น หรือปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชา ย่อมไม่เจริญด้วยประการฉะนี้แล
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่าเจโตวิมุติ เพราะสำรอกอวิชชาได้จึงชื่อว่าปัญญาวิมุติฯ

    ขยายความ โดยปริยายหนึ่งๆ ว่า :-
    เจโตวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยใจ ได้แก่ ผลสมาธิ คือสมาธิที่ประกอบกับอรหัตตผลจิต
    ปัญญาวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยปัญญา ได้แก่ ผลปัญญา คือปัญญาที่ประกอบกับอรหัตตผลจิต
    เพราะฉะนั้น เมื่อว่าโดยพระอภิธรรมแล้ว เจโตวิมุตติกับปัญญาวิมุตติ จึงเกิดขึ้นพร้อมกันกับอรหัตตผลจิต ก็เจโตวิมุตตินั้น ได้แก่เอกัคคตาหรือสัมมาสมาธิ ปัญญาวิมุตติ ได้แก่ปัญญาหรือสัมมาทิฐิ ที่ประกอบด้วยอรหัตตผลจิต
    อริยมรรค ชื่อว่ากำลังหลุดพ้นจากกิเลส
    อริยผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้วจากกิเลส
    อริยมรรคนั้นเป็นกุศลจิตมี ๔ คือโสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรคและอรหัตตมรรค
    อริยผลเป็นผลของมรรคเป็นวิบากจิต ก็มี ๔ เท่ากับอริยมรรค คือโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผลและอรหัตตผล
    ในขณะที่มรรคจิตอันเป็นกุศลเกิดขึ้น ทำลายกิเลสให้ขาดเป็นสมุจเฉทแล้วดับไป ผลจิตอันเป็นวิบากจะเกิดขึ้นสืบต่อจากมรรคจิตทันที โดยไม่มีจิตอื่นมาเกิดคั่นในระหว่างนั้น นั่นคือเมื่อมรรคอันเป็นเหตุเกิดขึ้นแล้วดับลง ผลของมรรคจะเกิดต่อทันที โดยไม่มีจิตอื่นมาคั่น
    การที่มรรคจิตอันเป็นกุศลเกิดขึ้นแล้วดับไปผลจิตอันเป็นวิบากก็เกิดขึ้นทันที โดยไม่ต้องรอเวลา นี้แหละชื่อว่าอกาลิโก เพราะไม่มีกาลเวลาในการให้ผลกุศลอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นมหากุศลหรือฌานกุศลเมื่อเกิดขึ้นและดับไปแล้วที่จะให้ผลทันทีเหมือนมรรคจิตหามีไม่ ต้องรอเวลาที่จะให้ผลทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นมรรคจิตเท่านั้นจึงชื่อว่าอกาลิโก กุศลอื่นๆ ไม่ชื่อว่าอกาลิโก

    ในอรรถกถา ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ สัททสูตร กล่าวว่า สมาธิชื่อว่า เจโตวิมุตติ เป็นผลของสมถะ และที่สมาธิได้ชื่อว่าเจโตวิมุตติเพราะพ้นจากราคะ
    ปัญญาชื่อว่าปัญญาวิมุตติ เป็นผลของวิปัสสนา และที่ปัญญาได้ชื่อว่าปัญญาวิมุตติ เพราะพ้นจากอวิชชา

    ในคัมภีร์บุคคลบัญญัติ แสดงวิมุตติของพระอรหันต์ ๒ อย่าง คือ อุภโตภาควิมุตติ และปัญญาวิมุตติ ไม่มีเจโตวิมุตติ
    อุภโตภาควิมุตติ ได้แก่ บุคคลที่ได้สมาบัติ ๘ คือได้ทั้งรูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ ออกจากสมาบัติแล้วเจริญวิปัสสนา เห็นความเสื่อมไปสิ้นไปของสังขารทั้งหลายด้วยวิปัสสนาปัญญา เห็นอริยสัจ ๔ ด้วยมรรคปัญญา กล่าวคือบุคคลประเภทอุภโตภาควิมุตตินี้พ้นจากรูปกายคือรูปฌานด้วยอรูปฌานหรืออรูปสมาบัติ และเพราะเจริญฌานที่มีอรูปเป็นอารมณ์ จึงชื่อว่าพ้นจากรูปกายด้วยอรูปสมาบัติก่อนเป็นครั้งแรก จากนั้นจึงพ้นจากนามกาย คือกิเลสด้วยอริยมรรคเป็นครั้งที่สอง เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าอุภโตภาควิมุตตบุคคล เพราะหลุดพ้นจากส่วนสองคือ ๒ ครั้ง ครั้งแรกพ้นจากรูปกายด้วยอรูปสมาบัติ ครั้งที่ ๒ พ้นจากกิเลสด้วยอริยมรรค
    ท่านจัดบุคคลที่ชื่อว่าอุภโตภาควิมุตติไว้ ๕ พวกคือบุคคลที่ได้อรูปสมาบัติ ๔ ออกจากอรูปสมาบัติแต่ละสมาบัติแล้ว พิจารณาสังขารทั้งหลายแล้วจึงบรรลุพระอรหัตต์จัดเป็น ๔ พวก กับพระอนาคามีผู้ออกจากนิโรธสมาบัติแล้ว บรรลุพระอรหัตต์อีกพวกหนึ่ง จึงเป็น ๕ พวก
    สรุปว่า บุคคลที่ได้ชื่อว่าอุภโตภาควิมุตตินั้น ได้แก่พระอรหันต์ผู้ได้สมาบัติ ๘ เท่านั้น

    ปัญญาวิมุตติ ได้แก่บุคคลผู้มิได้ถูกต้องสมาบัติ ๘ ด้วยกาย แต่หลุดพ้นจากกิเลสเพราะเห็นด้วยปัญญา ท่านจัดปัญญาวิมุตติบุคคลไว้ ๕ พวก คือพระอรหันต์ผู้สุกขวิปัสสก คือเจริญวิปัสสนาล้วนๆ พวกหนึ่ง และบุคคลผู้ออกจากรูปฌาน ๔ แต่ละฌานแล้วเจริญวิปัสสนา แล้วบรรลุพระอรหันต์อีก ๔ พวกคือ
    ออกจากปฐมฌานแล้วบรรลุพระอรหัตต์ ๑ ออกจากทุติยฌานแล้วบรรลุพระอรหัตต์ ๑
    ออกจากตติยฌานแล้วบรรลุพระอรหัตต์ ๑ ออกจากจตุตถฌานแล้วบรรลุพระอรหัตต์อีก ๑ จึงรวมเป็น ๕ พวก ซึ่งพระอรหันต์ทั้ง ๕ พวกนี้ไม่มีท่านใดเลยที่ได้สมาบัติ ๘ อย่างมากก็ได้เพียงรูปฌาน ๔ เท่านั้น
    ถึงกระนั้น บุคคลทั้งสองพวกนี้ คือทั้งอุภโตภาควิมุตติและปัญญาวิมุตติต่าง ก็ได้ชื่อว่าพระอรหันต์ผู้หลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงเป็นสมุจเฉทวิมุตติด้วยกันทั้งสิ้น

    หมายเหตุ
    สมาบัติ ๘ นั้นได้แก่ รูปฌาน ๔ คือปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌานและจตุตถฌาน และอรูปฌาน ๔ คืออากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌานและเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
    นิโรธสมาบัติหรือสัญญาเวทยิตนิโรธ คือการเข้าสมาบัติด้วยการดับสัญญาและเวทนา ซึ่งรวมไปถึงการดับจิตและเจตสิกอื่นๆ พร้อมทั้งรูปที่เกิดจากจิตด้วย แต่รูปที่เกิดจากกรรม จากอุตุและอาหารยังคงเป็นไปอยู่ เพราะฉะนั้นผู้ที่เข้านิโรธสมาบัติจึงยังมีชีวิตอยู่ ผู้ที่เข้านิโรธสมาบัติได้นั้นมี ๒ พวก คือพระอนาคามีหรือพระอรหันต์ผู้ได้สมาบัติ ๘ เท่านั้น พระอริยบุคคลนอกจากนั้นเข้าไม่ได้ และท่านจะเข้านิโรธสมาบัติกันอย่างมาก ๗ วัน ก่อนเข้าท่านจะต้องทำบุพกิจ ๔ อย่าง คือ
    ๑. อธิษฐานไม่ให้บริขารและร่างกายของท่านเป็นอันตราย
    ๒. อธิษฐานขอให้ออกจากฌานได้โดยไม่ต้องมีใครมาเรียก เมื่อสงฆ์ต้องการพบท่าน
    ๓. อธิษฐานขอให้ออกจากฌานได้โดยไม่ต้องมีใครมาเรียก เมื่อพระพุทธองค์ทรงมีพระประสงค์จะพบท่าน
    ๔. พิจารณาอายุของท่านว่าจะอยู่ได้ครบ ๗ วันหรือไม่ ถ้าอยู่ครบ ท่านก็อธิษฐานกำหนดเวลาเข้า ถ้าอยู่ไม่ครบ ๗ วัน ท่านก็กำหนดเวลาเข้าให้น้อยกว่า ๗ วัน

    "#เราเป็นผู้เลิศแห่งโลก เราเป็นผู้เจริญที่สุดแห่งโลก เราเป็นผู้ประเสริฐสุดในโลก ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ย่อมไม่มี"
    จงเข้าใจว่าคำว่า บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน คือจะต้องรู้เป็นที่สุดแล้ว คือยกเว้นคนนอกศาสนา คนในฟังอ่านพิจารณาแล้วถูกหมด
    ถ้าไม่สามารถอย่าคิดเอง อย่าเอาหัวข้อธรรมใดธรรมหนึ่งไปประมวลว่าเป็นที่สุด ทั้งๆก็ไม่ถึงที่สุด

    "มหาบพิตร ตถาคตอุบัติขึ้นมาในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค ตถาคตรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ด้วยตนเองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน"

    ตอบตรงตามหลักธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าพระบรมมหาศาสดาเป็นใหญ่ ให้กว้างขวางลึกซึ้ง
    ไม่เอาบุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นที่ตั้งมากกว่าพระองค์ ถ้าจะสอนธรรมของพระองค์ จะยกพระดำรัสวาจาของพระองค์มาสอน เพราะทรงตรัสไว้ดีแล้วด้วยพระปรีชาญาณ ควรอธิบายเนื้อหาธรรมนั้นอย่างเต็มความสามารถ

    IMG_5924.jpeg
     
  16. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    392
    ค่าพลัง:
    +30
    " ผู้ที่มีจิตไม่มั่นคง ไม่ทราบพระสัทธรรม
    มีความเลื่อมใสรวนเร ย่อมมีปัญญาบริบูรณ์
    ไม่ได้"

    #การตรัสรู้ธรรม
    #การตรัสรู้สัจจะ

    " พระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บทดั้งเดิม "

    ปฏิจฉันนสูตร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๓ อย่างนี้ ปิดบังไว้จึงเจริญ เปิดเผยไม่เจริญ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ มาตุคาม ปิดบังเอาไว้จึงจะงดงาม เปิดเผยไม่งดงาม ๑ มนต์ของพราหมณ์ ปิดบังเข้าไว้จึงรุ่งเรือง เปิดเผยไม่รุ่งเรือง ๑มิจฉาทิฐิ ปิดบังไว้จึงเจริญ เปิดเผยไม่เจริญ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๓ อย่าง
    นี้แล ปิดบังไว้จึงเจริญ เปิดเผยไม่เจริญ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๓ อย่างนี้เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไม่รุ่งเรือง ๓ อย่างเป็นไฉน คือ ดวงจันทร์ เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไม่รุ่งเรือง ๑ ดวงอาทิตย์ เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไม่รุ่งเรือง ๑ธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศไว้แล้ว เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไม่รุ่งเรือง ๑

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๓ อย่างนี้แล เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไม่รุ่งเรือง ฯ

    ปฏิสัมภิทามรรคปกรณ์นี้นั้นสมบูรณ์ด้วยอรรถะ, พยัญชนะ, ลึกซึ้ง, มีอรรถลึกซึ้ง, ประกาศโลกุตระ, ประกอบด้วยสุญญตา, ให้ สำเร็จผลวิเศษในการปฏิบัติ, ห้ามอกุศลอันเป็นปฏิปักษ์, เป็นรตนากร บ่อเกิดแห่งญาณอันประเสริฐของพระโยคาวจร, เป็นเหตุอันวิเศษในการเยื้องกรายธรรมกถาของพระธรรมกถึกทั้งหลาย, เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ของผู้กลัวภัยในสังสารวัฏ, มีประโยชน์ในการยังความชุ่มชื่นให้เกิดเพราะเห็นอุบายในการออกจากทุกข์นั้น, และมีประโยชน์ในการทำลายอกุศลธรรมอันเป็นปฏิปักษ์ต่อนิสสรณธรรม๔ นั้น

    และมีประโยชน์ให้เกิดความยินดีในหทัยแก่กัลยาณชน โดยการเปิดเผยอรรถแห่งบทพระสูตรมีเนื้อความอันลึกซึ้งมิใช่น้อย อันท่านพระสารีบุตรผู้ธรรมเสนาบดีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ธรรมราชาภาษิตแล้ว เมื่อประทีปดวงใหญ่กล่าวคือพระสัทธรรม รุ่งเรืองแล้วด้วยแสงประทีปดวงใหญ่คือพระสัพพัญญุตญาณที่พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วโดยไม่ขัดข้อง ส่องสว่างกระจ่างไปทั่วทุกสถาน มีพระทัยสนิทเสน่หา ประกอบไปด้วยพระมหากรุณาแผ่กว้างไปในปวงชน เพื่อกำจัดความมืดมนอนธการกล่าวคือกิเลส ด้วยพระมหากรุณาในเวไนยชน ด้วยการยกพระสัทธรรมนั้นขึ้นอธิบายให้กระจ่างแจ้งแก่ปวงชน ด้วยความเสน่หา ปรารถนาความรุ่งเรืองแห่งพระสัทธรรมไปตราบเท่า ๕,๐๐๐ พระพรรษา ผู้มีเจตจำนงค้ำจุนโลกตามเยี่ยงอย่างพระศาสดา อันท่านพระอานันทเถระสดับภาษิตนั้นแล้วยกขึ้นรวบรวมไว้ในคราวทำปฐมมหาสังคีติ ตามที่ได้สดับมาแล้วนั่นแล.

    เทสนาประเภทต่างๆ ย่อมให้เกิดประเภทแห่งปฏิสัมภิทาญาณ แก่พระอริยบุคคลทั้งหลายผู้สดับฟัง และเป็นปัจจัยแก่การแตกฉานในปฏิสัมภิทาญาณแก่ปุถุชนต่อไปในอนาคต

    “ธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้ เป็นคุณอันลึก เห็นได้ยาก
    รู้ตามได้ยาก เป็นธรรมสงบ ประณีต ไม่หยั่งลง สู่ความตรึก
    ละเอียดเป็นวิสัยของบัณฑิตจะพึงรู้แจ้ง
    ฐานะคือความที่อวิชชาเป็นปัจจัยแห่งสังขารเป็นต้นนี้
    เป็นสภาพอาศัยปัจจัยเกิดขึ้นนี้ แม้ฐานะคือธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง
    เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ดับสนิท
    หากิเลสเครื่องร้อยรัดมิได้ นี้ก็แสนยากที่จะเห็นได้
    ก็ถ้าเราจะพึงแสดงธรรม สัตว์เหล่าอื่นก็จะไม่พึงรู้ทั่วถึงธรรมของเรา
    ข้อนั้นจะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยเปล่าแก่เรา
    จะพึงเป็นความลำบากเปล่าแก่เรา”

    {O} ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต {O}
    ๑) มังสจักษุ ๑) ทิพยจักษุ ๒) ปัญญาจักษุ ๔) พุทธจักษุ ๕) สมันตจักษุ

    จักษุมี ๒ อย่าง คือ มังสจักษุ ๑ ปัญญาจักษุ ๑.

    ฝ่ายมังสจักษุ มี ๒ อย่าง คือ สสัมภารจักษุ ๑, ปสาทจักษุ ๑.
    ก้อนเนื้ออันใดตั้งอยู่ที่เบ้าตา พร้อมด้วยหนังหุ้มลูกตาภายนอกทั้ง ๒ ข้าง เบื้องต่ำกำหนดด้วยกระดูกเบ้าตา เบื้องบนกำหนดด้วยกระดูกคิ้ว ผูกด้วยเส้นเอ็นอันออกจากท่ามกลางเบ้าตาโยงติดไปถึงสมองศีรษะ วิจิตรด้วยมณฑลแห่งตาดำล้อมรอบด้วยตาขาว ก้อนเนื้อนี้ชื่อว่าสสัมภารจักษุ.

    ส่วนความใสอันใดเกี่ยวในสสัมภารจักษุนี้ เนื่องในสสัมภารจักษุนี้ อาศัยมหาภูตรูป ๔ มีอยู่, ความใสนี้ ชื่อว่าปสาทจักษุ.

    ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาปสาทจักษุ นี้. ปสาทจักษุนี้นั้น โดยประมาณก็สักเท่าศีรษะเล็นอาศัยธาตุทั้ง ๔ อาบเยื่อตาทั้ง ๗ ชั้น ดุจน้ำมันที่ราดลงที่ปุยนุ่น ๗ ชั้น อาบปุยนุ่นทุกชั้นอยู่ฉะนั้น ให้สำเร็จความเป็นวัตถุและทวารตามสมควรแก่จิตในวิถีมีจักขุวิญญาณจิตเป็นต้น ตั้งอยู่ ณ ตำแหน่ง เป็นที่เกิดขึ้นแห่งสรีรสัณฐาน ที่อยู่ตรงหน้าในท่ามกลางแววตาดำที่แวดล้อมด้วยมณฑลตาขาว แห่งสสัมภารจักษุนั้น.

    ในจักษุทั้ง ๒ นั้น ปัญญาจักษุมี ๕ อย่าง คือ พุทธจักษุ ๑, สมันตจักษุ ๑, ญาณจักษุ ๑, ทิพยจักษุ ๑, ธรรมจักษุ ๑.
    คำนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเมื่อตรวจดูสัตวโลก ได้เห็นแล้วแลด้วยพุทธจักษุ๑- ดังนี้ ชื่อว่าพุทธจักษุ.

    คำนี้ว่า สัพพัญญุตญาณ เรียกว่าสมันตจักษุ๒- ดังนี้ ชื่อว่าสมันตจักษุ.

    คำนี้ว่า ดวงตาเห็นธรรมเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว๓- ดังนี้ ชื่อว่าญาณจักษุ.

    คำนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ เราได้เห็นแล้วแล ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ๔- ดังนี้ ชื่อว่าทิพยจักษุ.

    มรรคญาณเบื้องต่ำ ๓ นี้มาในคำว่า ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ไม่มีมลทิน เกิดขึ้นแล้ว๕- ดังนี้ ชื่อว่าธรรมจักษุ.

    “สร้างเหตุและปัจจัย”

    #เธอทรงจำมาดีแล้วหรือ?

    ปฎิสัมภิทา, สมาบัติภายใน, ธรรมเอก, สุญญตวิหารธรรม

    ๒ พระสูตรนี้ จะเกี่ยวข้องกับ สัญญาสูตร อรรถพยัญชนะ ที่ตรงกันของพระศาสดา

    จุฬสุญญตสูตร การแสดง สุญญตวิหารธรรม ของพระพุทธเจ้า แก่พระอานนท์ เธอทรงจำไว้ดีหรือไม่อานนท์ เรื่องก็ประมาณนี้ กล่าวถึง สัญญาสูตร

    ทั้ง ๒ พระสูตรนี้มีนัยยะเดียวที่บ่งชี้ชัดคือ สถานะ ของการมีอยู่และ การเข้าถึง พระสัทธรรม

    ไม่ต้องสงสัยเลยว่า สุญญตธรรม ที่เรานอบน้อมยกลงมาแสดง ก็มีอยู่ในพระสูตรหลักของสุญญตธรรมนี้ ซึ่งจะแตกต่างจากความเห็นของที่อื่น คือ การยืนยันสถานะการมีอยู่ ของพระสัทธรรม การเคารพพึ่งพิงพระสัทธรรม

    ดูกรอานนท์ ก็วิหารธรรมอันตถาคตตรัสรู้ในที่นั้นๆ นี้แล คือ
    ตถาคตบรรลุสุญญตสมาบัติภายใน เพราะไม่ใส่ใจนิมิตทั้งปวงอยู่ ดูกรอานนท์ถ้าภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชาเดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์เข้าไปหาตถาคตผู้มีโชค อยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ในที่นั้นๆ

    ตถาคตย่อมมีจิตน้อมไปในวิเวก โน้มไปในวิเวก โอนไปในวิเวก หลีกออกแล้วยินดียิ่งแล้วในเนกขัมมะ มีภายในปราศจากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการทั้งปวง จะเป็นผู้ทำการเจรจาแต่ที่ชักชวนให้ออกเท่านั้น ในบริษัทนั้นๆ โดยแท้

    ดูกรอานนท์ เพราะฉะนั้นแล ภิกษุถ้าแม้หวังว่า จะบรรลุสุญญตสมาบัติภายในอยู่เธอพึงดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นตั้งจิตภายในให้มั่นเถิด ฯ
    ดูกรอานนท์ ก็ภิกษุจะดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในมั่นได้อย่างไร

    ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    (๑) สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌานมีวิตก มีวิจารมีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ฯ
    (๒) เข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ฯ
    (๓) เป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌาน ที่พระอริยะเรียกเธอได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติ อยู่เป็นสุข อยู่ ฯ
    (๔) เข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ฯ

    ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าย่อมดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในมั่น ฯ

    ดูกรอานนท์ บัดนี้เราอยู่มากด้วยสุญญตวิหารธรรม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนี้ข้าพระองค์ได้สดับดีแล้ว รับมาดีแล้ว ใส่ใจดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้วหรือ ฯ

    พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ดูกรอานนท์ แน่นอน นั่นเธอสดับดีแล้ว รับมาดีแล้ว ใส่ใจดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว ดูกรอานนท์ ทั้งเมื่อก่อนและบัดนี้ เราอยู่มากด้วยสุญญตวิหารธรรม เปรียบเหมือนปราสาทของมิคารมารดาหลังนี้ ว่างเปล่าจากช้าง โค ม้า และลา ว่างเปล่าจากทองและเงิน ว่างจากการชุมนุมของสตรีและบุรุษ มีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียวเฉพาะภิกษุสงฆ์เท่านั้น ฉันใด

    ดูกรอานนท์ ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ไม่ใส่ใจสัญญาว่าบ้าน ไม่ใส่ใจสัญญาว่ามนุษย์ ใส่ใจแต่สิ่งเดียว เฉพาะสัญญาว่าป่า จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใสตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในสัญญาว่าป่า เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในสัญญาว่าป่านี้ไม่มีความกระวนกระวายชนิดที่อาศัยสัญญาว่าบ้าน และชนิดที่อาศัยสัญญาว่ามนุษย์เลย มีอยู่ก็แต่เพียงความกระวนกระวายคือภาวะเดียวเฉพาะสัญญาว่าป่าเท่านั้น
    เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่าบ้าน สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่ามนุษย์ และรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียวเฉพาะสัญญาว่าป่าเท่านั้น ด้วยอาการนี้แหละ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในสัญญานั้นเลย และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในสัญญานั้นอันยังมีอยู่ว่ามี ดูกรอานนท์ แม้อย่างนี้ ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่างตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น ฯ

    ดูกรอานนท์ สมณะหรือพราหมณ์ในอดีตกาลไม่ว่าพวกใดๆ ที่บรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ทั้งหมดนั้น ก็ได้บรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดนี้เองอยู่ สมณะหรือพราหมณ์ในอนาคตกาลไม่ว่าพวกใดๆ ที่จะบรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ทั้งหมดนั้น ก็จักบรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดนี้เองอยู่ สมณะหรือพราหมณ์ในบัดนี้

    ไม่ว่าพวกใดๆ ที่บรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ทั้งหมดนั้นย่อมบรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดนี้เองอยู่ ดูกรอานนท์ เพราะฉะนั้นแล พวกเธอพึงศึกษาไว้อย่างนี้เถิดว่า เราจักบรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
    จบ จูฬสุญญตสูตร ที่ ๑

    องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรสนทนาด้วย
    อุ. ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล
    พระพุทธเจ้าข้า?
    พ. ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕. องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:
    ๑. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยกองศีล ของพระอเสขะ
    ๒. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยกองสมาธิ ของพระอเสขะ
    ๓. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยกองปัญญา ของพระอเสขะ
    ๔. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยกองวิมุตติ ของพระอเสขะ
    ๕. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ ของพระอเสขะ

    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล.

    องค์ของภิกษุผู้ควรสนทนาด้วย

    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายพึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕. องค์ ๕ อะไรบ้าง?คือ:
    ๑. เป็นผู้ประกอบด้วยกองศีล ของพระอเสขะ
    ๒. เป็นผู้ประกอบด้วยกองสมาธิ ของพระอเสขะ
    ๓. เป็นผู้ประกอบด้วยกองปัญญา ของพระอเสขะ
    ๔. เป็นผู้ประกอบด้วยกองวิมุตติ ของพระอเสขะ
    ๕. เป็นผู้ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ ของพระอเสขะ

    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายพึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล.

    องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรสนทนาอีกนัยหนึ่ง

    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕. องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:
    ๑. ไม่เป็นผู้บรรลุอรรถปฏิสัมภิทา
    ๒. ไม่เป็นผู้บรรลุธรรมปฏิสัมภิทา
    ๓. ไม่เป็นผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา
    ๔. ไม่เป็นผู้บรรลุปฏิภาณปฏิสัมภิทา
    ๕. ไม่พิจารณาจิตตามที่วิมุติ

    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล.
    องค์ของภิกษุผู้ควรสนทนาด้วย

    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายพึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕. องค์ ๕ อะไรบ้าง?คือ:
    ๑. เป็นผู้บรรลุอรรถปฏิสัมภิทา
    ๒. เป็นผู้บรรลุธรรมปฏิสัมภิทา
    ๓. เป็นผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา
    ๔. เป็นผู้บรรลุปฏิภาณปฏิสัมภิทา
    ๕. พิจารณาจิตตามที่วิมุติ

    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายพึงสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล.
    ภิกขุนีโอวาทวรรค ที่ ๘ จบ

    พระสูตรใดที่ปรากฏ๑ สังคีตอันเป็นทิพย์ที่ปรากฎ๑ ทำนองที่ปรากฎ๑ควบคุมได้กี่ร่าง๑ เวลาที่เข้าถึงเวลาที่ออก๑

    คำตอบนี้เฉพาะเหล่าปฎิสัมภิทา! แต่สามารถเผยที่มาได้

    #สุญญตธรรม #สุญญตสมาธิ #สมาธินิมิต

    IMG_5920.jpeg
     
  17. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    392
    ค่าพลัง:
    +30
    #ทำนองที่แท้จริงของอภยปริตร{ยันทุน}

    #อ้างเนื้อความ

    ผู้ปกป้องรักษา อภยปริตร มหาสุบิน ๑๖ (รอบกึ่งพุทธกาล)

    ที่ถูกโมฆะบุรุษอลัชชีผู้สร้างสัทธรรมปฎิรูป โดยกล่าวหาว่าเป็นคำแต่งใหม่เผยแผ่ออกสู่มหาชน

    #อกุศลในครั้งนี้ มิได้รอดพ้นพระเนตรฯ
    #อกุศลกรรมในครั้งนี้ มิได้รอดพ้นสายตา ปวงเทพพรหม และผู้มีบุญบารมี

    พระสาวกแก้วได้สาธยายมนต์นี้แด่ พระเจ้าปเสนธิโกศล

    ทำนองอันแท้จริง มีสังคีตอันเป็นทิพย์ประกอบ

    จากพระไตรปิฎกพระสัทธรรมดั้งเดิม(เขิงขำ)

    #เหล่า ปฎิสัมภิทา หากได้ยินเสียงก็จะรู้ชัด ว่าเป็นสภาวะ สกานิรุตติ

    #คำว่า ตตฺร ธมฺมนิรุตฺตาภิลาเป ญาณํ ความว่า ความรู้แตกฉานในคำพูด คำกล่าว คำที่เปล่งถึงสภาวนิรุตติอันเป็นโวหารที่ไม่ผิดเพี้ยนทั้งในอรรถและในธรรมนั้น, ในคำพูดอันเป็นสภาวนิรุตติของพระอริยบุคคลผู้ทำสภาวนิรุตติศัพท์ที่เขาพูดแล้ว กล่าวแล้ว เปล่งออกแล้ว ให้เป็นอารมณ์แล้ว พิจารณาอยู่, ในมาคธีมูลภาษาของสัตว์ทั้งหลายอันเป็นสภาวนิรุตติ เพราะสภาวนิรุตตินั้น บัณฑิตรับรองว่าเป็นธรรมนิรุตติอย่างนี้ว่า #นี้เป็นสภาวนิรุตติ, #นี้มิใช่สภาวนิรุตติ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา.
    ด้วยประการฉะนี้ นิรุตติปฏิสัมภิทานี้ ชื่อว่ามีสัททะคือเสียงเป็นอารมณ์ มิได้มีบัญญัติเป็นอารมณ์. เพราะเหตุไร? เพราะพระอริยบุคคลได้ยินเสียงแล้วย่อมรู้ว่า #นี้เป็นสภาวนิรุตติ, #นี้มิใช่สภาวนิรุตติ.
    จริงอยู่ พระอริยบุคคลผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา ครั้นเขาพูดว่า ผสฺโส ก็ย่อมรู้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ, ครั้นเขาพูดว่า ผสฺสา หรือ ผสฺสํ ก็ย่อมรู้ว่า นี้มิใช่สภาวนิรุตติ.
    แม้ในสภาวธรรมทั้งหลายมีเวทนาเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน.
    ถามว่า ก็พระอริยบุคคลผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทานี้จะรู้หรือไม่ รู้คำอื่นคือเสียงแห่งพยัญชนะอันกล่าวถึงนาม, อาขยาต, อุปสัค, และนิบาต.
    ตอบว่า พระอริยบุคคลผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทานั้น ครั้นได้ยินเสียงแล้วก็รู้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ, นี้มิใช่สภาวนิรุตติ ด้วยเหตุสำคัญอันใด, ก็จักรู้คำนั้นด้วยเหตุสำคัญอันนั้น.

    #หมากหินฟู น้ำเต้าจมได้มาถึงแล้ว!

    ผู้มี ฌาน อภิญญา สมาธิฯ มีปัญญาธรรม สามารถเข้าวสี ๕ ตรวจสอบดูได้ ถึงบทธรรมใน สภาวะสุญญตธรรมในสกานิรุตตินี้

    ขอจงพิจารณาอย่างรอบคอบ ถี่ถ้วน!

    #ต้นเหตุ เกิดจากขุยไผ่ ฆ่าต้นไผ่ โมฆะบุรุษอลัชชี อามิสทายาท!

    #พาลวรรค
    ภิกษุผู้เป็นพาล พึงปรารถนาความสรรเสริญอันไม่มีอยู่ ความห้อมล้อมในภิกษุทั้งหลาย ความเป็นใหญ่ในอาวาส และการบูชาในสกุลของชนเหล่าอื่น ความดำริย่อมบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุพาลว่า คฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งสองฝ่าย จงสำคัญกรรมที่บุคคลทำแล้วว่า เพราะอาศัยเราผู้เดียว
    คฤหัสถ์และบรรพชิตเหล่านั้นจงเป็นไปในอำนาจของเราผู้เดียว ใบรรดากิจน้อยและกิจใหญ่ทั้งหลาย กิจอะไรๆ อิจฉา [ความริษยา]มานะ [ความถือตัว] ย่อมเจริญแก่ภิกษุพาลนั้น

    #พุทธทำนายโดยย่อ!

    ครั้งนั้นแล พระนางมัลลิกาเทวีทรงทราบเหตุนั้น ก็เข้าเฝ้าพระราชา กราบทูลถามว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พวกพราหมณ์พากันเที่ยวขวักไขว่ไปมา มีเรื่องอะไรหรือเพคะ? พระราชาตรัสว่า แน่ะนางผู้เจริญ เธอมัวแต่สุขสบายจึงไม่รู้ว่า อสรพิษมันสัญจรอยู่ใกล้ๆ หูของพวกเรา. พระนางทูลถามว่า ข้าแต่มหาราช เรื่องนั้นคืออะไรเพคะ? พระราชารับสั่งว่า เราฝันร้ายถึงปานนี้ พวกพราหมณ์พากันทำนายว่า อันตรายใน ๓ อย่างไม่อย่างใดอย่างหนึ่งก็จักปรากฏ เพื่อบำบัดอันตรายเหล่านั้น ต้องบูชายัญ จึงต้องสัญจรไปมาอยู่บ่อยๆ
    พระนางมัลลิกากราบทูลถามว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ก็ผู้ที่เป็นยอดพราหมณ์ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ทูลกระหม่อมได้ทูลถามถึงการแก้ไขพระสุบินแล้วหรือเพคะ? ทรงรับสั่งถามว่า นางผู้เจริญ พระผู้เป็นยอดพราหมณ์ในโลกพร้อมทั้งเทวโลกนั้น เป็นใครกันเล่า?
    พระนางกราบทูลว่า ทูลกระหม่อมไม่ทรงรู้จัก มหาพราหมณ์โคดมผู้ตถาคต หมดกิเลสบริสุทธิ์แล้ว เป็นสัพพัญญู เป็นบุคคลผู้เลิศในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ดอกหรือเพคะ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นคงทรงทราบเหตุในพระสุบินแน่นอน ขอเชิญทูลกระหม่อม เสด็จพระราชดำเนินไปกราบทูลถามเถิด เพคะ. พระราชาทรงรับสั่งว่า ดีละ เทวีแล้วเสด็จไปยังพระวิหาร ถวายบังคมพระบรมศาสดา แล้วประทับนั่งอยู่.
    พระศาสดาทรงเปล่งพระสุรเสียงอันไพเราะ ตรัสถามว่า มหาบพิตร เหตุไรเล่า บพิตรจึงเสด็จมา ดุจมีราชกิจด่วน. พระราชากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อใกล้รุ่ง หม่อมฉันเห็นมหาสุบิน ๑๖ ข้อ สะดุ้งกลัว บอกเล่าแก่พวกพราหมณ์ พวกพราหมณ์ทำนายว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระสุบินร้ายแรงนัก เพื่อระงับสุบินเหล่านั้นต้องบูชายัญ ด้วยยัญญวัตถุ อย่างละ ๔ ครบทุกอย่าง แล้วพากันเตรียมบูชายัญ ฝูงสัตว์เป็นอันมากถูกมรณภัยคุกคาม ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์เป็นบุคคลผู้เลิศในโลก ทั้งเทวโลก เญยยธรรมที่เข้าไปกำหนดอดีต อนาคต ปัจจุบัน ที่ยังไม่มาถึงซึ่งคัลลองในญาณมุขของพระองค์นั้นมิได้มีเลย ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดทำนายผลแห่งสุบินของหม่อมฉันเหล่านั้นเถิด พระเจ้าข้า.
    พระศาสดาตรัสว่า ขอถวายพระพร เป็นเช่นนั้นทีเดียวมหาบพิตร ในโลกทั้งเทวโลก เว้นตถาคตเสียแล้ว ผู้อื่นที่จะได้ชื่อว่าสามารถรู้เหตุ หรือผลของพระสุบินเหล่านี้ ไม่มีเลย ตถาคตจักทำนายให้มหาบพิตร ก็แต่ว่ามหาบพิตรจงตรัสบอกพระสุบิน ตามทำนองที่ทรงเห็นนั้นเถิด.
    พระราชาทรงรับพระพุทธดำรัสว่า ดีละ พระพุทธเจ้าข้า เริ่มกราบทูลพระสุบิน ตามทำนองที่ทรงเห็นอย่างถี่ถ้วน โดยทรงวางหัวข้อไว้ดังนี้ ว่า
    โคอุสุภราชทั้งหลาย ๑ ต้นไม้ทั้งหลาย ๑ แม่โคทั้งหลาย ๑ โคทั้งหลาย ๑ ม้า ๑ ถาดทอง ๑ สุนัขจิ้งจอก ๑ หม้อน้ำ ๑ สระโบกขรณี ๑ ข้าวไม่สุก ๑ แก่นจันทน์ ๑ น้ำเต้าจม ๑ ศิลาลอย ๑ เขียดขยอกงู ๑ หงส์ทองล้อมกา ๑ เสือกลัวแพะ ๑

    ภัย แม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ยังไม่มีแก่มหาบพิตร ด้วยสุบินนี้ที่มหาบพิตรเห็นแล้ว ปรารภอนาคตทั้งนั้น แต่พวกพราหมณ์มิได้ทำนายสุบินนั้น ด้วยความจงรักภักดีในพระองค์ โดยถูกต้องเท่าที่ถูกที่ควร ทำนายไปเพราะอาศัยการเลี้ยงชีพ เพราะเห็นแก่อามิสว่า พวกเราจักได้ทรัพย์กันมากๆ
    ครั้นทรงทำนายผลแห่งสุบินใหญ่ๆ ๑๖ ข้อ อย่างนี้แล้ว ตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่บพิตรได้เห็นสุบินเหล่านี้ แม้พระราชาทั้งหลายแต่ก่อนๆ ก็ได้ทรงเห็นแล้วเหมือนกัน แม้พวกพราหมณ์ก็ถือเอาสุบินเหล่านี้ นับเข้าในยอดยัญพิธีอย่างนี้เหมือนกัน ภายหลังอาศัยคำแนะนำที่พวกเป็นบัณฑิตพากันกราบทูล จึงถามพระโพธิสัตว์ แม้ท่านโบราณกบัณฑิตทั้งหลาย เมื่อทำนายสุบินเหล่านี้แก่พระราชาเหล่านั้น ก็พากันทำนายทำนองนี้แหละ
    อันพระเจ้าปเสนทิโกศลทูลอาราธนา จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้

    ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์กำเนิดในตระกูลอุทิจจพราหมณ์ เจริญวัยแล้วบวชเป็นฤๅษี ให้อภิญญาสมาบัติเกิดแล้ว ได้ประลองฌานอยู่ในหิมวันตประเทศ

    ในครั้งนั้น ณ พระนครพาราณสี พระเจ้าพรหมทัตทรงเห็นพระสุบินเหล่านี้ โดยทำนองนี้เหมือนกัน มีพระดำรัสถามพวกพราหมณ์ พวกพราหมณ์ปรารภจะบูชายัญอย่างนี้เหมือนกัน บรรดาพราหมณ์เหล่านั้น ท่านปุโรหิตมีศิษย์เป็นบัณฑิตฉลาด กล่าวกะอาจารย์ว่า ท่านอาจารย์ครับ คัมภีร์พระเวทย์ทั้ง ๓ ท่านอาจารย์ให้ผมเรียนจบแล้ว ในพระเวทย์ทั้ง ๓ คัมภีร์นั้น ข้อที่ว่า การฆ่าคนหนึ่งแล้ว ทำให้เกิดความสวัสดีแก่อีกคนหนึ่ง ไม่มีเลยมิใช่หรือ ขอรับ?
    ท่านอาจารย์ตอบว่า พ่อคุณ ด้วยอุบายนี้ทรัพย์จำนวนมากจักเกิดแก่พวกเรา ส่วนเจ้าชะรอยอยากจะรักษาพระราชทรัพย์กระมัง?
    มาณพกล่าวว่า ท่านอาจารย์ครับ ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงกระทำงานของพวกท่านไปเถิด กระผมจักกระทำอะไรในสำนักของพวกท่านได้. แล้วเดินเรื่อยไปจนถึงพระราชอุทยาน.
    ในวันนั้นเอง แม้พระบรมโพธิสัตว์ก็รู้เหตุนั้น คิดว่า วันนี้ เมื่อเราไปถึงถิ่นมนุษย์ ความพ้นจากการจองจำจักมีแก่มหาชน ดังนี้แล้ว จึงเหาะมาทางอากาศ ลงที่อุทยานนั่งเหนือแผ่นศิลาอันเป็นมงคล ประหนึ่งรูปที่หล่อด้วยทองฉะนั้น มาณพเข้าไปหาพระโพธิสัตว์ ไหว้แล้ว นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง ได้ทำการต้อนรับพระโพธิสัตว์ แม้พระโพธิสัตว์ก็ได้ทำการปฏิสันถารอย่างไพเราะกับเขาแล้ว ถามว่า เป็นอย่างไรเล่าหนอ พ่อมาณพ พระราชายังจะเสวยราชสมบัติโดยธรรมอยู่หรือ?
    มาณพกราบเรียนว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ พระราชายังได้พระนามว่า ธรรมิกราชอยู่ดอกครับ ก็แต่ว่า พวกพราหมณ์กำลังชักจูงพระองค์ให้วิ่งไปผิดทาง พระราชาทรงเห็นพระสุบิน ๑๖ ข้อ ตรัสบอกแก่พวกพราหมณ์ พวกพราหมณ์กล่าวว่า พวกเราจักต้องบูชายัญ แล้วเตรียมการทันที พระคุณเจ้าผู้เจริญขอรับ การที่พระคุณเจ้าทำให้พระราชาทรงเข้าพระทัยว่า ขึ้นชื่อว่าผลแห่งสุบินนี้เป็นอย่างนี้ แล้วช่วยให้มหาชนพ้นจากภัย จะมิควรหรือขอรับ?
    พระโพธิสัตว์กล่าวว่า พ่อมาณพ เราเองก็ไม่รู้จักพระราชา พระราชาเล่าก็มิได้ทรงรู้จักเรา ถ้าพระองค์เสด็จมาถาม ณ ที่นี้ เราพึงบอกแก่พระองค์ได้.
    มาณพกราบเรียนว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ กระผมจักนำพระองค์เสด็จมา ขอพระคุณเจ้าได้โปรดนั่งรอการมาของกระผม สักครู่หนึ่งนะขอรับ ขอให้พระโพธิสัตว์ปฏิญญาแล้ว ก็ไปสู่พระราชสำนัก กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ดาบสผู้เที่ยวไปในอากาศได้องค์หนึ่ง ลงมาในอุทยานของพระองค์ กล่าวว่า จักทำนายผลของพระสุบินที่พระองค์ทรงเห็น กำลังรอพระองค์อยู่. พระราชาทรงสดับคำของมาณพนั้น ก็รีบเสด็จไปพระอุทยาน ด้วยบริวารเป็นอันมากทันที ทรงไหว้พระดาบสแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง มีพระดำรัสถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ได้ยินว่า พระคุณเจ้าทราบผลแห่งสุบินที่กระผมเห็นหรือ?
    พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร อาตมภาพทราบ.
    พระราชาตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น นิมนต์พระคุณเจ้าทำนายเถิด.
    พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร อาตมภาพจะทำนายถวาย เชิญมหาบพิตรตรัสเล่าพระสุบินตามที่ทรงเห็นให้อาตมภาพฟังก่อนเถิด.
    พระราชาตรัสว่า ดีละ พระคุณเจ้าผู้เจริญ พลางตรัสว่า :-
    โคอุสุภราช ๑ ต้นไม้ทั้งหลาย ๑ แม่โคทั้งหลาย ๑ โคทั้งหลาย ๑ ม้า ๑ ถาดทอง ๑ นางสุนัขจิ้งจอก ๑ ตุ่มน้ำ ๑ โบกขรณี ๑ ข้าวไม่สุก ๑ จันทน์แดง ๑ น้ำเต้าจม ๑ ศิลาลอย ๑ เขียดขยอกงู ๑ หงษ์ทองล้อมกา ๑ เสือดาว เสือโคร่งกลัวแพะจริงๆ ๑ ดังนี้.
    แล้วตรัสบอกสุบิน ตามนิยมที่พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสบอก นั่นเอง
    แม้พระโพธิสัตว์ก็ทำนายผลแห่งสุบินเหล่านั้นโดยพิสดาร ตามทำนองที่พระศาสดาทรงทำนายในบัดนี้แหละ ในที่สุดถวายพระพรดังนี้ ด้วยตนเองว่า
    จะเป็นไปต่อเมื่อโลกถึงจุดเสื่อม ยังไม่มีในยุคนี้.

     
  18. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    392
    ค่าพลัง:
    +30
    ขออนุญาตถามท่านผู้เจริญ

    หากจะมีเหล่ามีโมฆะบุรุษอลัชชีเหล่าหนึ่งเหล่าใดของมหาโจร ๕ ลักขโมยธรรมแอบอ้างว่าตนเป็นผู้เข้าถึงเองโดยพุทธวจนะและตลอดจนผู้ที่ส่งเสริมเห็นดีเห็นงามนั้นด้วยในการตัด ญาน ๗๓ และ ปฎิสัมภิทาออกจากพระไตรปิฎก สร้างสัทธรรมปฎิรูปขึ้นมาใหม่โดยไม่รู้คุณของปฎิสัมภิทาญาน ญานอันเป็นคุณสมบัติที่สมบูรณ์บริสุทธิคุณในการสังคายนาพระไตรปิฎก

    #ซึ่งเป็นพฤติกรรมย้อนแย้งอันมิใช่ฐานะ แท้จริงพฤติกรรมอันต้องอกุศลกรรมนี้คืออฐานะ!

    #ในเบื้องต้นนี้

    ท่านเห็นดีเห็นงามด้วยหรือไม่๑
    ท่านหวังว่าชนเหล่านั้นจะสามารถกลับตัวกลับใจได้หรือไม่๑
    ท่านเป็นห่วงสหธรรมกัลยาณมิตรสหชาติในชาตินี้หรือไม่๑
    ท่านเป็นห่วงสหธรรมกัลยาณมิตรผู้มาแห่งหนหลังหรือไม่๑
    ท่านพอที่จะเข้าใจในผลแห่งอกุศลกรรมนี้หรือไม่๑

    #หากว่าท่านสามารถ ท่านจงเมตตากล่าวเพื่อยกเขาออกจาก สัทธรรมปฎิรูป และ อสัทธรรม

    พลานิสงส์ผลบุญอันมากจะเป็นเหตุเป็นพลวปัจจัยในการหนุนนำบุญบารมีของท่านในการปกป้องรักษาพระธรรมและวินัยในพระพุทธศาสนานี้ให้ยั่งยืนต่อไปจวบจนสิ้นกำลังแห่งพระวัสสา

    ข้าพเจ้าขออนุโมทนาในมหาผลบุญที่ท่านได้ประกอบดีแล้วด้วยกายวาจาใจ

    สาธุฯ

    #แนวทางเอื้อเฟื้อ
    เกสีสูตร
    ครั้งนั้นแล สารถีผู้ฝึกม้าชื่อเกสี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
    ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า ดูกรเกสี ท่านอันใครๆ ก็รู้กันดีแล้วว่าเป็นสารถีผู้ฝึกม้า ก็ท่านฝึกหัดม้าที่ควรฝึกอย่างไร สารถีผู้ฝึกม้าชื่อเกสีกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ฝึกหัดม้าที่ควรฝึกด้วยวิธีละม่อมบ้าง รุนแรงบ้างทั้งละม่อมทั้งรุนแรงบ้าง ฯ

    พ. ดูกรเกสี ถ้าม้าที่ควรฝึกของท่านไม่เข้าถึงการฝึกหัดด้วยวิธีละม่อมด้วยวิธีรุนแรง ด้วยวิธีทั้งละม่อมทั้งรุนแรง ท่านจะทำอย่างไรกะมัน ฯ
    เก. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าม้าที่ควรฝึกของข้าพระองค์ ไม่เข้าถึงการฝึกหัดด้วยวิธีละม่อม ด้วยวิธีรุนแรง ด้วยวิธีทั้งละม่อมทั้งรุนแรง ก็ฆ่ามันเสียเลยข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคิดว่าโทษมิใช่คุณอย่าได้มีแก่สกุลอาจารย์ของเราเลย
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระผู้มีพระภาคเป็นสารถีฝึกบุรุษชั้นเยี่ยม ก็พระผู้มีพระภาคทรงฝึกบุรุษที่ควรฝึกอย่างไร ฯ

    พ. ดูกรเกสี เราแล ย่อมฝึกบุรุษที่ควรฝึกด้วยวิธีละม่อมบ้าง รุนแรงบ้างทั้งละม่อมทั้งรุนแรงบ้าง ดูกรเกสี ในวิธีทั้ง ๓ นั้น การฝึกดังต่อไปนี้ เป็นวิธีละม่อม คือ กายสุจริตเป็นดังนี้ วิบากแห่งกายสุจริตเป็นดังนี้ วจีสุจริตเป็นดังนี้
    วิบากแห่งวจีสุจริตเป็นดังนี้ มโนสุจริตเป็นดังนี้
    วิบากแห่งมโนสุจริตเป็นดังนี้

    เทวดาเป็นดังนี้ มนุษย์เป็นดังนี้ การฝึกดังต่อไปนี้เป็นวิธีรุนแรง คือกายทุจริตเป็นดังนี้ วิบากแห่งกายทุจริตเป็นดังนี้ วจีทุจริตเป็นดังนี้ วิบากแห่งวจีทุจริตเป็นดังนี้ มโนทุจริตเป็นดังนี้ วิบากแห่งมโนทุจริตเป็นดังนี้ นรกเป็นดังนี้ กำเนิดสัตว์
    ดิรัจฉานเป็นดังนี้ ปิตติวิสัยเป็นดังนี้

    การฝึกดังต่อไปนี้ เป็นวิธีทั้งละม่อมทั้งรุนแรง คือ กายสุจริตเป็นดังนี้ วิบากแห่งกายสุจริตเป็นดังนี้ กายทุจริตเป็นดังนี้
    วิบากแห่งกายทุจริตเป็นดังนี้ วจีสุจริตเป็นดังนี้ วิบากแห่งวจีสุจริตเป็นดังนี้วจีทุจริตเป็นดังนี้ วิบากแห่งวจีทุจริตเป็นดังนี้ มโนสุจริตเป็นดังนี้ วิบากแห่งมโนสุจริตเป็นดังนี้ มโนทุจริตเป็นดังนี้ วิบากแห่งมโนทุจริตเป็นดังนี้ เทวดาเป็นดังนี้ มนุษย์เป็นดังนี้ นรกเป็นดังนี้ กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานเป็นดังนี้ ปิตติวิสัย
    เป็นดังนี้ ฯ

    เก. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าบุรุษที่ควรฝึกของพระองค์ไม่เข้าถึงการฝึกด้วยวิธีละม่อม ด้วยวิธีรุนแรง ด้วยวิธีทั้งละม่อมทั้งรุนแรง พระผู้มีพระภาคจะทำอย่างไรกะเขา ฯ

    พ. ดูกรเกสี ถ้าบุรุษที่ควรฝึกของเราไม่เข้าถึงการฝึกด้วยวิธีละม่อมด้วยวิธีรุนแรง ด้วยวิธีทั้งละม่อมทั้งรุนแรง เราก็ฆ่าเขาเสียเลย ฯ

    เก. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปาณาติบาตไม่สมควรแก่พระผู้มีพระภาคเลยก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ไฉนพระผู้มีพระภาคจึงตรัสอย่างนี้ว่า ฆ่าเขาเสีย ฯ

    พ. จริง เกสี ปาณาติบาตไม่สมควรแก่ตถาคต ก็แต่ว่าบุรุษที่ควรฝึกใด ย่อมไม่เข้าถึงการฝึกด้วยวิธีละม่อม ด้วยวิธีรุนแรง ด้วยวิธีทั้งละม่อมทั้งรุนแรง ตถาคตไม่สำคัญบุรุษที่ควรฝึกนั้นว่า ควรว่ากล่าว ควรสั่งสอน แม้พรหมจารีผู้เป็นวิญญูชนก็ย่อมไม่สำคัญว่า ควรว่ากล่าว ควรสั่งสอน

    ดูกรเกสีข้อที่ตถาคต ไม่สำคัญบุรุษที่ควรฝึกว่า ควรว่ากล่าว ควรสั่งสอน แม้สพรหมจารีผู้เป็นวิญญูชนทั้งหลายก็ไม่สำคัญว่า ควรว่ากล่าว ควรสั่งสอน นี้เป็นการฆ่าอย่างดีในวินัยของพระอริยะ ฯ

    เก. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่พระตถาคตไม่สำคัญบุรุษที่ควรฝึกว่า ควรว่ากล่าว ควรสั่งสอน แม้สพรหมจารีผู้วิญญูชนก็ไม่สำคัญว่า ควรว่ากล่าว ควรสั่งสอน นั้นเป็นการฆ่าอย่างดีแน่นอน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก
    พระผู้มีพระภาค ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยหวังว่าคนมีจักษุจักเห็นรูปฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค
    กับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรสารีบุตร เรื่องก็จะพึงเป็นเช่นนั้น แต่ว่าโมฆบุรุษบางพวกในธรรมวินัยนี้ เมื่อถูกกล่าวสอน ย่อมไม่รับโดยเคารพ ฯ
    สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเหล่าใด ไม่มีศรัทธา ต้องการเลี้ยงชีวิต มิใช่ออกบวชด้วยศรัทธา เป็นผู้โอ้อวด มีมารยา เกเร ฟุ้งซ่าน เย่อหยิ่งเหลาะแหละ ปากกล้า พูดพล่าม ไม่สำรวมทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จัก
    ประมาณในโภชนะ ไม่ประกอบความเพียร ไม่เพ่งถึงความเป็นสมณะ ไม่มีความเคารพกล้าในสิกขา มักมาก ย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการล่วงละเมิดทอดธุระในวิเวก เกียจคร้าน มีความเพียรทราม มีสติเลอะเลือน ไม่มีสัมปชัญญะ ไม่มีจิตมั่นคง มีจิตฟุ้งซ่าน มีปัญญาทราม คล้ายคนบ้าน้ำลาย คน
    เหล่านั้น เมื่อถูกข้าพระองค์กล่าวสอนอย่างนี้ ย่อมไม่รับโดยเคารพ

    ส่วนกุลบุตรเหล่าใด มีศรัทธาออกบวช ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา ไม่เกเร ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เย่อหยิ่ง ไม่เหลาะแหละ ไม่ปากกล้า ไม่พูดพล่าม สำรวมทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณในโภชนะ ประกอบความเพียร เพ่งถึงความเป็นสมณะ มีความเคารพกล้าในสิกขา ไม่มักมาก ไม่ย่อหย่อน ทอดธุระในการล่วงละเมิดเป็นหัวหน้าในวิเวก ปรารภความเพียร อบรมตน มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะมีจิตมั่นคง มีจิตเป็นหนึ่ง มีปัญญา มิใช่คล้ายคนบ้าน้ำลาย กุลบุตรเหล่านั้น
    เมื่อถูกข้าพระองค์กล่าวสอนอย่างนี้ย่อมรับโดยเคารพ ฯ

    พ. ดูกรสารีบุตร บุคคลเหล่าใด ไม่มีศรัทธา ต้องการเลี้ยงชีวิต มีปัญญาทราม คล้ายคนบ้าน้ำลาย จงยกไว้ (ยกเว้น) ส่วนกุลบุตรเหล่าใด มีศรัทธาออกบวช มีปัญญา มิใช่คล้ายคนบ้าน้ำลาย ดูกรสารีบุตร เธอพึงว่า
    กล่าวกุลบุตรเหล่านั้น จงกล่าวสอนเพื่อนพรหมจรรย์ จงพร่ำสอนเพื่อนพรหมจรรย์ ด้วยหวังว่าเราจักยกเพื่อนพรหมจรรย์จากอสัทธรรม ให้ตั้งอยู่ในสัทธรรม เธอพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้แล สารีบุตร ฯ

    #เหล่าปฎิสัมภิทารู้ชัดในพระสัทธรรมเจ้า/รู้ชัดในสัทธรรมปฎิรูป/รู้ชัดในอสัทธรรมทัังหลายฯ

    #หากตัดผู้รู้ชัดออกทำลายผู้รู้ชัดย่อมไม่มีสิ่งใดหลงเหลือ

    #เพราะปฎิสัมภิทาคือองค์คุณแห่งการตรัสรู้สัจจะทั้งมวลฯ

    #โปรดจงรักษาปฎิสัมภิทา

    อรรถกถา เจือด้วย วิมุตติญานทัสสนะของพระอรหันตสาวกที่เพ่งวิมุตติ และ เจือด้วย วิมุตติญานทัสสนะ พระอริยะสาวกจนถึงพระอรหันตสาวกผู้ทรงปฎิสัมภิทาญาน นี่เป็นภูมิที่พระเสขะต้องรู้ว่า ปัญญาธรรมนี้ ไม่สามารถจะแสดงได้เทียบเท่าผู้ต้องวิมุตติญานทัสสนะของพระอริยะและพระอเสขะได้เลย

    ไล่ตั้งแต่ เสกขปฎิสัมภิทา จนถึง อเสกขปฎิสัมภิทา

    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านเป็นผู้ทรงปฎิสัมภิทาญานขั้นสูงสุด รู้แม้คำสอนของศาสนาอื่น ทั้งคติที่ไป จนทรงบัญญัติ ทิฏฐิ ๖๒ ในพรหมชาลสูตร พิชัยสงครามอันยอดเยี่ยมของศาสนาพุทธ ส่วนองค์คุณประโยชน์ของ พิชัยสงครามนี้ มีแต่บัณฑิตที่พึงรู้ ท่านใดปรารถนาจะทราบ พึงพิจารณาลำดับญานที่ทรงบรรลุตรัสรู้พร้อม ปฎิสัมภิทาญาน องค์กำเนิดพระสัทธรรม เป็นหนึ่งในนั้น ด้วยเหตุนี้ การทำสังคายนาจึงต้องพึ่งพระผู้ทรงปฎิสัมภิทาญานเป็นหลัก

    ว่าด้วยนักพูด ๔ จำพวก
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นักพูด ๔ จำพวกนี้ ๔ จำพวกเป็นไฉน ?
    นักพูดย่อมจำนนโดยอรรถ แต่ไม่จำนนโดยพยัญชนะก็มี
    นักพูดจำนนโดยพยัญชนะแต่ไม่จำนนโดยอรรถก็มี
    นักพูดจำนนทั้งโดยอรรถทั้งโดยพยัญชนะก็มี
    นักพูดไม่จำนนทั้งโดยอรรถทั้งโดยพยัญชนะก็มี
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลายนักพูด ๔ จำพวกนี้แล

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุผู้ประกอบด้วยปฏิสัมภิทา ๔
    พึงถึงความจำนนโดยอรรถหรือโดยพยัญชนะ
    นี้ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส.
    จบวาทีสูตรที่ ๑๐
    จบปุคคลวรรคที่ ๔

    ฉนั้นผู้ได้บรรลุปฎิสัมภิทาญานจึงเป็นเลิศสุดในการ ปุจฉาและวิสัชนากถาต่างๆทั้งแนวนอกและแนวใน ไม่ว่าจะเป็น ว่าโดยเรื่อง พระสัทธรรม หรือ อสัทธรรม ก็ตาม

    ด้วยเหตุนี้จึงทรงได้รับการขนานพระนามว่าเป็น"ศาสดาเอกของโลก"

    ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
    มาติกา
    ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว เป็นสุตมยญาณ [ญาณอันสำเร็จมาแต่การฟัง] ๑
    ปัญญาในการฟังธรรมแล้ว สังวรไว้ เป็นสีลมยญาณ [ญาณ
    อันสำเร็จมาแต่ศีล] ๑
    ปัญญาในการสำรวมแล้วตั้งไว้ดี เป็นภาวนามยญาณ
    [ญาณอันสำเร็จมาแต่การเจริญสมาธิ] ๑
    ปัญญาในการกำหนดปัจจัย เป็นธรรมฐิติญาณ [ญาณในเหตุธรรม] ๑
    ปัญญาในการย่อธรรมทั้งหลาย ทั้งส่วนอดีตส่วนอนาคตและส่วนปัจจุบันแล้วกำหนดไว้ เป็นสัมมสนญาณ [ญาณในการ
    พิจารณา] ๑
    ปัญญาในการพิจารณาเห็นความแปรปรวนแห่งธรรมส่วนปัจจุบันเป็นอุทยัพพยานุปัสนาญาณ [ญาณในการพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อม]๑
    ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็นความแตกไป เป็นวิปัสสนาญาณ[ญาณในความเห็นแจ้ง] ๑
    ปัญญาในการปรากฏโดยความเป็นภัย เป็นอาทีนวญาณ
    [ญาณในการเห็นโทษ] ๑
    ปัญญาในความปรารถนาจะพ้นไปทั้งพิจารณาและวางเฉย
    อยู่ เป็นสังขารุเบกขาญาณ ๑
    ปัญญาในการออกและหลีกไปจากสังขารนิมิตภายนอก เป็นโคตรภูญาณ ๑
    ปัญญาในการออกและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ ๑
    ปัญญาในการระงับประโยคเป็นผลญาณ ๑
    ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้นๆ อันอริยมรรคนั้นๆ
    ตัดเสียแล้ว เป็นวิมุติญาณ ๑
    ปัญญาในการพิจารณาเห็นธรรมที่เข้ามาประชุมในขณะนั้น เป็นปัจจเวกขณญาณ ๑
    ปัญญาในการกำหนดธรรมภายใน เป็นวัตถุนานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งวัตถุ] ๑
    ปัญญาในการกำหนดธรรมภายนอก เป็นโคจรนานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งโคจร] ๑
    ปัญญาในการกำหนดจริยา เป็นจริยานานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งจริยา] ๑
    ปัญญาในการกำหนดธรรม ๔ เป็นภูมินานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งภูมิ] ๑
    ปัญญาในการกำหนดธรรม ๙ เป็นธรรมนานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งธรรม]๑
    ปัญญาที่รู้ยิ่ง เป็นญาตัฏฐญาณ [ญาณในความว่ารู้] ๑ ปัญญาเครื่องกำหนดรู้เป็นตีรณัฏฐญาณ [ญาณในความว่าพิจารณา] ๑
    ปัญญาในการละ เป็นปริจจาคัฏฐญาณ [ญาณในความว่าสละ] ๑
    ปัญญาเครื่องเจริญ เป็นเอกรสัฏฐญาณ[ญาณในความว่ามีกิจเป็นอันเดียว] ๑
    ปัญญาเครื่องทำให้แจ้ง เป็นผัสสนัฏฐญาณ[ญาณในความว่าถูกต้อง] ๑
    ปัญญาในความต่างแห่งอรรถ เป็นอัตถปฏิสัมภิทาญาณ ๑ ปัญญาในความต่างแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ๑ ปัญญาในความต่างแห่งนิรุติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ๑ ปัญญาในความต่างแห่งปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ๑
    ปัญญาในความต่างแห่งวิหารธรรม เป็นวิหารัฏฐญาณ [ญาณในความว่าธรรมเครื่องอยู่] ๑
    ปัญญาในความต่างแห่งสมาบัติเป็นสมาปัตตัฏฐญาณ [ญาณในความว่าสมาบัติ] ๑
    ปัญญาในความต่างแห่งวิหารสมาบัติ เป็นวิหารสมาปัตตัฏฐญาณ [ญาณในความว่าวิหารสมาบัติ] ๑
    ปัญญาในการตัดอาสวะขาด เพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ให้ฟุ้งซ่าน เป็นอานันตริกสมาธิญาณ [ญาณในสมาธิอันมีในลำดับ] ๑
    ทัสนาธิปไตย ทัสนะมีความเป็นอธิบดี วิหาราธิคม คุณเครื่องบรรลุ คือวิหารธรรมอันสงบ และปัญญาในความที่จิตเป็นธรรมชาติน้อมไปในผลสมาบัติอันประณีต เป็นอรณวิหารญาณ[ญาณในวิหารธรรมอันไม่มีกิเลสเป็นข้าศึก] ๑
    ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญด้วยความเป็นผู้ประกอบด้วยพละ ๒ ด้วยความระงับสังขาร ๓ ด้วยญาณจริยา ๑๖และด้วยสมาธิจริยา ๙ เป็นนิโรธสมาปัตติญาณ [ญาณในนิโรธสมาบัติ] ๑
    ปัญญาในความสิ้นไปแห่งความเป็นไปแห่งกิเลสและขันธ์ของบุคคลผู้รู้สึกตัว เป็นปรินิพพานญาณ ๑
    ปัญญาในความไม่ปรากฏแห่งธรรมทั้งปวง ในการตัดขาด
    โดยชอบและในนิโรธ เป็นสมสีสัฏฐญาณ [ญาณในความว่าธรรมอันสงบและธรรมอันเป็นประธาน] ๑
    ปัญญาในความสิ้นไปแห่งกิเลสอันหนา สภาพต่างๆ และเดช
    เป็นสัลเลขัฏฐญาณ [ญาณในความว่าธรรมเครื่องขัดเกลา] ๑ ปัญญาในความประคองไว้ซึ่งจิตอันไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป เป็นวิริยารัมภญาณ ๑
    ปัญญาในการประกาศธรรมต่างๆ เป็นอรรถสันทัสนญาณ [ญาณในการเห็นชัดซึ่งอรรถธรรม] ๑
    ปัญญาในการสงเคราะห์ธรรมทั้งปวงเป็นหมวดเดียวกันในการแทงตลอดธรรมต่างกันและธรรมเป็นอันเดียวกัน เป็นทัสนวิสุทธิญาณ ๑
    ปัญญาในความที่ธรรมปรากฏโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น เป็นขันติญาณ ๑
    ปัญญาในความถูกต้องธรรมเป็นปริโยคาหนญาณ [ญาณในความย่างเข้าไป] ๑
    ปัญญาในการรวมธรรมเป็นปเทสวิหารญาณ [ญาณในวิหารธรรมส่วนหนึ่ง] ๑
    ปัญญาในความมีกุศลธรรมเป็นอธิบดีเป็นสัญญาวิวัฏฏญาณ [ญาณในความหลีกไปด้วยปัญญาที่รู้ดี] ๑
    ปัญญาในธรรมเป็นเหตุละความเป็นต่างๆ เป็นเจโตวิวัฏฏญาณ [ญาณในการหลีกออกจากนิวรณ์ด้วยใจ] ๑
    ปัญญาในการอธิษฐาน เป็นจิตตวิวัฏฏญาณ [ญาณในความ
    หลีกไปแห่งจิต] ๑
    ปัญญาในธรรมอันว่างเปล่า เป็นญาณวิวัฏฏญาณ [ญาณใน
    ความหลีกไปด้วยญาณ] ๑
    ปัญญาในความสลัดออก เป็นวิโมกขวิวัฏฏญาณ[ญาณในความหลีกไปแห่งจิตด้วยวิโมกข์] ๑
    ปัญญาในความว่าธรรมจริงเป็นสัจจวิวัฏฏญาณ [ญาณในความหลีกไปด้วยสัจจะ] ๑
    ปัญญาในความสำเร็จด้วยการกำหนดกาย [รูปกายของตน] และจิต [จิตมีฌานเป็นบาท]เข้าด้วยกัน และด้วยสามารถแห่งความตั้งไว้ซึ่งสุขสัญญา [สัญญาประกอบด้วยอุเบกขาในจตุตถฌานเป็นสุขละเอียด] และลหุสัญญา [สัญญาเบาเพราะพ้นจากนิวรณ์และปฏิปักขธรรม] เป็นอิทธิวิธญาณ [ญาณในการแสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ]๑
    ปัญญาในการกำหนดเสียงเป็นนิมิตหลายอย่างหรืออย่างเดียวด้วยสามารถการแผ่วิตกไป เป็นโสตธาตุวิสุทธิญาณ [ญาณอันหมดจดแห่งโสตธาตุ] ๑
    ปัญญาในการกำหนดจริยาคือ วิญญาณหลายอย่างหรืออย่างเดียว ด้วยความแผ่ไปแห่งจิต๓ ประเภท และด้วยสามารถแห่งความผ่องใสแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย เป็น
    เจโตปริยญาณ [ญาณในความกำหนดรู้จิตผู้อื่นด้วยจิตของตน] ๑
    ปัญญาในการกำหนดธรรมทั้งหลายอันเป็นไปตามปัจจัย ด้วยสามารถความแผ่ไปแห่งกรรมหลายอย่างหรืออย่างเดียว เป็นบุพเพนิวาสานุสสติญาณ [ญาณเป็นเครื่อง
    ระลึกถึงชาติก่อนๆ ได้] ๑
    ปัญญาในความเห็นรูปเป็นนิมิตหลายอย่างหรืออย่างเดียว ด้วยสามารถแสงสว่าง เป็นทิพจักขุญาณ ๑
    ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญในอินทรีย์ ๓ ประการ โดยอาการ ๖๔ เป็นอาสวักขยญาณ[ญาณในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย] ๑
    ปัญญาในความกำหนดรู้ เป็นทุกขญาณ ๑
    ปัญญาในความละ เป็นสมุทยญาณ ๑
    ปัญญาในความทำให้แจ้ง เป็นนิโรธญาณ ๑
    ปัญญาในความเจริญ เป็นมรรคญาณ ๑
    ทุกขญาณ [ญาณในทุกข์] ๑
    ทุกขสมุทยญาณ [ญาณในเหตุให้เกิดทุกข์] ๑
    ทุกขนิโรธญาณ[ญาณในความดับทุกข์] ๑
    ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ [ญาณในข้อปฏิบัติ
    เครื่องให้ถึงความดับทุกข์] ๑
    อรรถปฏิสัมภิทาญาณ ๑
    ธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ๑
    นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ๑
    ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ๑
    อินทริยปโรปริยัติญาณ[ญาณในความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย] ๑
    อาสยานุสยญาณ[ญาณในฉันทะเป็นที่มานอนและกิเลสอันนอนเนื่องของสัตว์ทั้งหลาย] ๑
    ยมกปาฏิหิรญาณ [ญาณในยมกปาฏิหาริย์] ๑
    มหากรุณาสมาปัตติญาณ ๑
    สัพพัญญุตญาณ ๑
    อนาวรณญาณ ๑
    ญาณเหล่านี้รวมเป็น ๗๓ ญาณ ในญาณทั้ง ๗๓ นี้ ญาณ ๖๗[ข้างต้น] ทั่วไปแก่พระสาวก ญาณ ๖ [ในที่สุด] ไม่ทั่วไปด้วยพระสาวกเป็นญาณเฉพาะพระตถาคตเท่านั้น ฉะนี้แล ฯ
    จบมาติกา

    ผู้ปฎิสัมภิทามี ๑๖ ระดับความสามารถ

    บุคคลผู้ประกอบด้วยปัญญา ๑๖ ประการนี้ เป็นผู้บรรลุปฏิสัมภิทา บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ คือ ผู้หนึ่งถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อน
    ผู้หนึ่งไม่ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อน ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อน เป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อน และมีญาณแตกฉาน

    บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ ดังนี้ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนก็มี ๒คือ ผู้หนึ่งเป็นพหูสูต ผู้หนึ่งไม่เป็นพหูสูต ผู้เป็นพหูสูตเป็นผู้ประเสริฐ ยิ่งวิเศษกว่าผู้ไม่เป็นพหูสูต และมีญาณแตกฉาน

    บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ ดังนี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนมี ๒ แม้ผู้เป็นพหูสูตก็มี ๒ คือ ผู้หนึ่งมากด้วยเทศนา ผู้หนึ่งไม่มากด้วยเทศนา ผู้มากด้วยเทศนา เป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้ไม่มากด้วยเทศนา และมีญาณแตกฉาน

    บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ ดังนี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทาผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนมี ๒ ผู้เป็นพหูสูตมี ๒ และผู้มากด้วยเทศนาก็
    มี ๒ คือ ผู้หนึ่งอาศัยครู ผู้หนึ่งไม่อาศัยครู ผู้อาศัยครูเป็นผู้ประเสริฐ ยิ่งวิเศษกว่าผู้ไม่อาศัยครู และมีญาณแตกฉาน

    บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ ดังนี้บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนมี ๒ ผู้เป็นพหูสูต
    มี ๒ ผู้มากด้วยเทศนามี ๒ และผู้อาศัยครูก็มี ๒ คือ ผู้หนึ่งมีวิหารธรรมมากผู้หนึ่งไม่มีวิหารธรรมมาก ผู้มีวิหารธรรมมากเป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้ไม่มีวิหารธรรมมาก และมีญาณแตกฉาน

    บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ ดังนี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนมี ๒ ผู้เป็นพหูสูตมี ๒ ผู้มากด้วยเทศนามี ๒ ผู้อาศัยครูมี ๒ และผู้มีวิหารธรรมมากก็มี ๒ คือ ผู้หนึ่งมีความพิจารณามาก ผู้หนึ่งไม่มีความพิจารณามาก ผู้มีความพิจารณามากเป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้ไม่มีความพิจารณามาก และมีญาณแตกฉาน

    บุคคลบรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ ดังนี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนมี ๒ ผู้เป็นพหูสูตมี ๒ ผู้มากด้วยเทศนามี ๒ ผู้อาศัยครูมี ๒ ผู้มีวิหารธรรมมากมี ๒ และผู้มีความพิจารณามากก็มี ๒ คือ ผู้หนึ่งเป็นพระเสขะบรรลุปฏิสัมภิทา ผู้หนึ่งเป็นพระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทา ผู้เป็นพระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทา ผู้เป็นพระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทาเป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้เป็นพระเสขะบรรลุปฏิสัมภิทา และมีญาณแตกฉาน

    บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ดังนี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนมี ๒ ผู้เป็นพหูสูตมี ๒ ผู้มากด้วยเทศนามี ๒ ผู้อาศัยครูมี ๒ ผู้มีวิหารธรรมมากมี ๒ ผู้มีความพิจารณามากมี ๒ และผู้เป็นพระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทาก็มี ๒ คือ ผู้หนึ่งบรรลุถึงสาวกบารมี ผู้หนึ่งไม่บรรลุถึงสาวกบารมี ผู้บรรลุถึงสาวกบารมีเป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้ไม่บรรลุถึงสาวกบารมี และมีญาณแตกฉาน

    บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ ดังนี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนมี ๒ ผู้เป็นพหูสูตมี ๒ ผู้มากด้วยเทศนามี ๒ ผู้อาศัยครูมี ๒ ผู้มีวิหารธรรมมากมี ๒ ผู้มีความพิจารณามากมี ๒ และผู้เป็นพระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทาก็มี ๒ คือ ผู้หนึ่งบรรลุถึงสาวกบารมี ผู้หนึ่งเป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าผู้เป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้บรรลุถึงสาวกบารมีและมีญาณแตกฉาน เมื่อเทียบกับพระปัจเจกพุทธเจ้า และโลก พร้อมทั้งเทวโลก ดังนี้

    พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นผู้เลิศ ทรงบรรลุปฏิสัมภิทา ทรงเป็นผู้ฉลาดในประเภทแห่งปัญญา มีพระญาณแตกฉาน ทรงได้ปฏิสัมภิทา ทรงบรรลุถึงเวสารัชชญาณ ทรงพละ ๑๐ ทรงเป็นบุรุษองอาจ ทรงเป็นบุรุษสีหะ ฯลฯ บรรดากษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี สมณะ ผู้เป็นบัณฑิต มีปัญญาละเอียด แต่งวาทะโต้ตอบ มีปัญญาเปรียบด้วยนายขมังธนูผู้สามารถยิงขนทราย เที่ยวทำลายปัญญาและทิฐิด้วยปัญญา บัณฑิตเหล่านั้นแต่งปัญหาแล้วพากันเข้ามาหาพระตถาคต ถามปัญหาทั้งลี้ลับและเปิดเผย ปัญหาเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคตรัสบอกและทรงแก้แล้ว มีเหตุที่ทรงแสดงไขให้เห็นชัด ปรากฏแก่พระผู้มีพระภาค ความจริง พระผู้มีพระภาคย่อมทรงรุ่งเรืองยิ่งด้วยพระปัญญา เพราะทรงแก้ปัญหาเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงเป็นผู้เลิศ ทรงบรรลุปฏิสัมภิทา ฉะนี้แล ฯ
    จบมหาปัญญากถา

    IMG_5262.jpeg
     
  19. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    392
    ค่าพลัง:
    +30
    ถาม: ท่านทั้งหลายมี เชื่อหรือไม่ว่า มีญานเล็งเห็นหรือไม่ว่า ในอนาคตกาลรอบกึ่งพุทธกาลนี้ จะมีเหล่าผู้บรรลุธรรมโดยปฎิสัมภิทาญาน{เขิงคำ} บ้าง และเหล่าอริยะบุคคลพระโพธิสัตว์บ้างมาช่วยปกป้องพระธรรมคำสั่งสอนและทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา ในกาลต่อไป

    ท่านทั้งหลายฯเหล่านั้น จะมาจริงหรือไม่ ?

    ท่านผู้มีญานหยั่งรู้พอบอกเล่าสู่กันฟังได้บ้างไหมหนอ?

    "ในท่ามกลางอายุพระพุทธศาสนา จะมีภิกษุอลัชชีใจบาปนำลัทธิลามกเข้ามาแทรกปะปน ด้วยเห็นแก่ลาภสักการะ และยศศักดิ์เอากิเลสมาเป็นบ่อนทำลายพระพุทธศาสนา จะลุกลามไปตามอารามต่างๆทำให้พระภิกษุที่ดีต้องเดือดร้อนระส่ำระสาย พลอยแปดเปื้อนมลทินไปด้วย เหล่าภิกษุอลัชชีจักกล่าวร้ายป้ายสีพระภิกษุดีๆด้วยประการต่างๆนานา เพื่อทำลายศรัทธาของสาธุชน แต่ด้วยบาปอกุศลบันดาลเขาจักทำการอันน่าบัดสียิ่งขึ้น จนประชาชนรู้ทันกลมารยาของเขาจักนั้นเขาจะพินาศไปตามๆกัน"

    ยังมีอีก

    ในความหมายของหลวงปู่มั่น ว่าช้างเผือกหนุ่มมีอภินิหารนั้น หมายถึงอภินิหาร ๓ อย่าง

    อิทธิปาฏิหารย์ แสดงฤทธิ์ได้นานาประการ
    อาเทสนาปาฏิหารย์ มีญาณรู้วาระจิตคนอื่น แล้วพูดดักใจคนอื่นได้
    อนุสาสนีปาฏิหารย์ มีความสามารถแสดงธรรมได้อย่างมีเหตุผล ทำให้คนที่ฟังเข้าใจในความหมายได้อธิบายธรรมหมวดที่คนเข้าใจได้ยาก มาอธิบายให้คนเข้าใจง่าย อธิบายธรรมหมวดยาว สามารถย่นย่อธรรมที่ยาว มาอธิบายโดยย่อให้คนเข้าใจได้

    #ช้างเผือกตนใดหนอ?

    #ขอท่านจงบรรลุธรรมเร็วๆนั้นเถิด

    สืบเนื่องมาจากครั้งหนึ่ง ปี พ.ศ. ๒๔๘๗ ท่านฤาษีสันตจิต(ลูกศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็นพระอริยคุณาธาร ปุสฺโส เส็ง และเป็นผู้ตรวจการผู้ช่วยภาค ๔ ท่านมีธุระที่ต้องเดินทางไปยังนครจำปาศักดิ์ ซึ่งเมื่อก่อนยังเป็นดินแดนของไทย แต่ปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศลาว หลังจากที่ท่านเสร็จธุระแล้ว พร้อมกับถือโอกาสพักอยู่ที่นั่น 1 เดือน วันหนึ่งท่านมีโอกาสได้สนทนาธรรมกับเจ้าคณะจังหวัด ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับวิปัสสนาธุระ และความเป็นไปของพระสงฆ์ที่นั่นที่มีการปฏิบัติย่อหย่อน ซึ่งพระอริยคุณาธาร ปุสฺโส เส็ง ก็ได้แนะวิธีตรวจสอบพระอรหันต์หรือบุคคลที่แอบอ้างว่าตนเองสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้วตามวิธีของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยวิธีพระปรมาภิเษก ซึ่งพระพุทธองค์มักใช้วิธีละมุนละไมนี้กับพระสาวกทุกองค์ แม้แต่หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านก็เคยทดสอบตัวท่านเองและคณะศิษย์ของท่านมาแล้วหลายองค์ ด้วยวิธีของพระพุทธองค์ 5 วิธี คือ

    1.ประเภทยอ พระองค์จะทรงสรรเสริญบุคคลที่สำคัญตนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ว่า มีคุณธรรมอย่างนั้นอย่างนี้เท่าที่มีจริงตามจริง จะทรงเปรียบเทียบว่าดีกว่าผู้นั้นผู้นี้ หรือดีกว่าใครๆ เพื่อจะหยั่งดูจิตใจว่า เขายินดีในคำสรรเสริญหรือไม่

    2.ประเภทยวน จะทรงเนรมิตภาพวิสภาคารมณ์(อารมณ์ที่ทำให้เกิดกำหนัด) มาให้เห็นหรือทรงดนตรีโลกุตระให้ฟัง เพื่อหยั่งดูว่าจะกำหนัดยินดีในวิสภาคารมณ์ หรือเสียงดนตรีหรือไม่

    3.ประเภทยั่วโทสะ จะทรงเนรมิตภาพศัตรูคู่เวรให้ปรากฏและทำการยั่วโทสะด้วยประการต่างๆ เพื่อหยั่งดูว่า จะมีโทสะหรือไม่

    4.ประเภทหลอก จะทรงเนรมิตภาพบุคคลเจ้าทิฐิมาถามปัญหาธรรมที่สุขุมคัมภีรภาพ หรือพูดแนะนำในทางปฏิบัติ ซึ่งเป็นปัญหา เพื่อหยั่งดูภูมิปัญญาว่า จะรู้จักเหตุผลเพียงไร

    5.ประเภทขู่ จะทรงเนรมิต ภาพบุคคลผู้มีอำนาจเหนือมาขู่ว่ามีความผิดร้ายแรงเป็นชนิดอุกฤษฎ์ มหันตโทษจะต้องประหารชีวิตแล้วทำการประหาร เพื่อหยั่งดูว่า จะเกิดความหวาดสะดุ้ง มีความอาลัยในชีวิตหรือไม่

    หลังจากสนทนากับเจ้าคณะจังหวัดมาถึงช่วงนี้ พระพรหมนารอด(นารกะ)ก็มาปรากฏองค์ในลักษณะทรงเจ้าคณะจังหวัด อย่างไม่คาดฝัน ท่านว่า “ข้าพเจ้าพระพรหมเป็นผู้ทำนาย มิใช่เจ้าคณะจังหวัด ข้าพเจ้ารู้จักคัมภีร์บ้าง รู้ด้วยตนเองบ้าง จึงทำนายให้ฟังเรื่องพระพุทธศาสนาเพื่อให้ท่านได้สังเกตการณ์ต่อไป” พร้อมกับกล่าวต่อไปว่า “เรามิใช่พุทธศาสนิกชนแต่เป็นฤาษีชีไพร สำเร็จณานสมาบัติ(เป็นผู้มุ่งดี) ตายแล้วได้อุบัติในพรหมโลก ไม่เป็นปฏิปักษ์กัน

    ฉะนั้นข้าพเจ้าสนใจในบวรพระพุทธศาสนาและได้สนับสนุนเสมอมา ข้าพเจ้าห่วงใยภัยอันตรายในพระศาสนา ในท่ามกลางอายุพระพุทธศาสนา จะมีภิกษุอลัชชีใจบาปนำลัทธิลามกเข้ามาแทรกปะปน ด้วยเห็นแก่ลาภสักการะ และยศศักดิ์เอากิเลสมาเป็นบ่อนทำลายพระพุทธศาสนา จะลุกลามไปตามอารามต่างๆทำให้พระภิกษุที่ดีต้องเดือดร้อนระส่ำระสาย พลอยแปดเปื้อนมลทินไปด้วย เหล่าภิกษุอลัชชีจักกล่าวร้ายป้ายสีพระภิกษุดีๆด้วยประการต่างๆนานา เพื่อทำลายศรัทธาของสาธุชน แต่ด้วยบาปอกุศลบันดาลเขาจักทำการอันน่าบัดสียิ่งขึ้น จนประชาชนรู้ทันกลมารยาของเขาจักนั้นเขาจะพินาศไปตามๆกัน

    ที่นั้นจักมีพระภิกษุผู้วิเศษรู้เหตุการณ์ดีมีความรู้เชี่ยวชาญทางอภิญญา ชำระสะสางพระภิกษุอลัชชีออกจากคณะสงฆ์ทำให้คณะสงฆ์บริสุทธิ์สะอาดปราศจากคนชั่วปะปน พระพุทธศาสนาจักเจริญรุ่งเรืองและแผ่ไพศาลมากจนถึงนานาประเทศอย่างกว้างขวาง จักมีผู้เข้ามาทำนุบำรุงฟื้นฟูไปจนถึงอายุของพระพุทธศาสนา ซึ่งมีกำหนด ๕,๐๐๐พระวัสสะ”

    พระอริยคุณาธาร ท่านสงสัยจึงถามไปว่า “พระภิกษุผู้วิเศษนั้นเป็นใคร”

    พระพรหมนารอดไม่ยอมตอบชื่อเพียงแต่กล่าวเป็นนัยว่า “ผู้ใดรู้จักเห็นพระพุทธเจ้าได้ ผู้นั้นเป็นผู้วิเศษ ท่านผู้นั้นรู้เหตุการณ์ดีกว่าใครๆในยุคเดียวกัน”

    (คำทำนายนี้มีมาเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๘๗ ณ นครจำปาศักดิ์) จากนิตยสาร
    โลกทิพย์ ฉบับที่ ๒๕ ปีที่ ๓ เดือนมกราคม(ฉบับหลัง) พ.ศ.๒๕๒๗ หน้า ๑๐๕-๑๐๗

    หลวงปู่ขาวท่านได้กล่าวว่า "ในสมัยเฮาอยู่กับหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นเคยประกาศให้คณะสงฆ์ทั้งหลาย ได้รับรู้ไว้ว่า เมื่อเราได้ตายไปแล้ว จะมีช้างเผือกหนุ่มตัวหนึ่ง เหาะไปมา แสดงอภินิหาร ให้คนทั้งหลายได้รู้เห็นในความสามารถต่างๆ มากมาย พระเถระทั้งหลายได้ฟังแล้ว ก็มีความเข้าใจความหมายว่า ในยุคต่อไป จะมีพระอรหันต์หนุ่มเกิดขึ้น จะได้แสดงความรู้ึความสามารถ เผยแผ่ธรรมให้คนทั้งหลายได้รับรู้ความจริงในสัจธรรม จะมีผู้ปฏิบัติตามได้รับผลมากทีเดียว"

    ข้าพเจ้าก็ถามหลวงปู่ขาวว่า ขอโอกาสหลวงปู่ ช้างเผือกหนุ่มเชือกนั้นเกิดขึ้นหรือยัง หลวงปู่ก็พูดว่า

    "เกิดขึ้นแล้ว"

    ข้าพเจ้าก็ถามหลวงปู่ต่อไปว่า ช้างเผือกหนุ่มนั้นอยู่ที่ไหน กระผมอยากรู้ อยากไปกราบท่าน หลวงปู่ยิ้มๆแล้วพูดว่า "ไม่บอก หาเอาเองแล้วกัน" เรื่องช้างเผือกหนุ่มนั้น พระอาจารย์วัน อุตฺตโม และพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ก็เคยพูดในเรื่องช้างเผือกหนุ่มนี้ให้ข้าพเจ้าฟังเช่นกัน เมื่อถามท่านว่าเป็นอาจารย์องค์ใด ท่านก็ไม่บอกเช่นกัน

    หากมีคำถามข้าพเจ้าว่า ช้างเผือกหนุ่มเชือกนั้นเกิดขึ้นหรือยัง ข้าพเจ้าก็จะตอบว่าเกิดขึ้นแล้วเช่นกัน แต่ไม่รู้ว่าช้างเผือกเชือกนั้นอยู่ที่ไหน หรือท่านอาจจะเห็นอยู่แ่ต่ไม่รู้ว่าเป็นช้างเผือก เพราะช้างเผือกนั้นอาจใช้สีดำทาเพื่ออำพรางตัวเอาไว้จึงไม่มีใครรู้ ขอให้พวกเราค้นหาช้างเผือกหนุ่มนั้นให้พบ เมื่อพบแล้ว กรุณามาบอกข้าพเจ้าก็แล้วกัน เพื่อจะได้ไปกราบคารวะและฟังธรรมจากช้างเผือกหนุ่มเชือกนั้นให้สมใจ การทำนายของหลวงปู่มั่นนั้น หลวงปู่ขาวพูดว่า "มีความแม่นยำมาก พูดคำใดคำนั้น เพราะหลวงปู่มั่นมีความชำนาญด้วยญาณ อตีตังสญาณ ท่านรู้ในเรื่องอดีตที่ผ่านมาแล้ว อนาคตังสญาณ ท่านรู้ในเรื่องอนาคต"

    อภินิหาร ๓ อย่าง

    ที่หลวงปู่มั่นว่าช้างเผือกหนุ่มมีอภินิหารนั้น หลายคนอาจตีความหมาย ไม่ตรงตามหลวงปู่มั่นก็อาจเป็นได้ เพราะคนส่วนใหญ่ได้อ่านในตำรา หรือได้ฟังจากครูอาจารย์มามากว่า อภินิหารต้องเป็นผู้มีฤทธิ์ สามารถดำดินเหาะเหินไปบนอากาศได้ เช่นได้อ่านเรื่องอภิญญา มีจักขุญาณ มีญาณทางตาที่เรียกว่าตาทิพย์ กำหนดจิตให้เห็นรูปเทวดา นรก และสิ่งอื่นๆได้ โสตญาณ มีญาณทางหู เรียกว่าหูทิพย์ กำหนดจิตฟังเสียงในหมู่เทวดาและสัตว์นรก และกำหนดฟังเสียงอื่นๆได้ เจโตปริยญาณ เป็นญาณรู้ทางใจ กำหนดจิตรู้ในความคิดความเห็นของคนอื่นได้ มโนมอิทธิญาณ เป็นฤทธิ์ทางใจ กำหนดจิตให้เป็นนั่นเป็นนี่ หรือเป็นหลายคนได้ อิืทธิวิธี เป็นอภินิหารทางใจ สามารถเหาะเหินไปมาที่ไหนได้ คนส่วนใหญ่จะมาเข้าใจว่า อภินิหารต้องเป็นอย่างนี้

    ในความหมายของหลวงปู่มั่น ว่าช้างเผือกหนุ่มมีอภินิหารนั้น หมายถึงอภินิหาร ๓ อย่าง

    อิทธิปาฏิหารย์ แสดงฤทธิ์ได้นานาประการ
    อาเทสนาปาฏิหารย์ มีญาณรู้วาระจิตคนอื่น แล้วพูดดักใจคนอื่นได้
    อนุสาสนีปาฏิหารย์ มีความสามารถแสดงธรรมได้อย่างมีเหตุผล ทำให้คนที่ฟังเข้าใจในความหมายได้อธิบายธรรมหมวดที่คนเข้าใจได้ยาก มาอธิบายให้คนเข้าใจง่าย อธิบายธรรมหมวดยาว สามารถย่นย่อธรรมที่ยาว มาอธิบายโดยย่อให้คนเข้าใจได้
    อภินิหาร ๓ ข้อนี้ ข้อ ๑ ข้อ ๒ ที่ทำให้เกิดขึ้นได้ แต่พระุพุทธเจ้าไม่สรรเสริญ แต่พระพุทธเจ้ามาสรรเสริญ อนุสาสนีปาฏิหารย์ ในข้อ ๓ เพราะเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและมรรคผลนิพพาน ฉะนั้นหลวงปู่มั่นว่ามีช้างเผือกหนุ่มมีอภินิหารนั้น หมายถึง อนุสาสนีปาฏิหารย์ เป็นผู้มีความสามารถแสดงธรรม ให้เป็นไปในคำสอนของพระพุทธเจ้าได้อย่างถูกต้อง ทำให้คนมีสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ ตามแนวทางที่เป็นจริง แสดงธรรมให้คนเข้าใจในอุบายการปฏิบัติ เพื่อเป็นไปในมรรคผลนิพพาน หลวงปู่มั่นมีความหมายเป็นอย่างนี้ ขอให้พวกเราได้เข้าใจ เพื่อจะได้ค้นหาช้างเผือกหนุ่มได้ง่ายขึ้น มิใช่ว่าคอยไปดู เมื่อไรหนอท่านจะเหาะขึ้นสู่อากาศ เมื่ิอไหร่หนอท่านจะดำดินและหายตัวให้ดู ถ้าจะหาในวิธีนี้ รับรองได้ว่า จะไม่พบช้างเผือกหนุ่มอย่างแน่นอน เพราะตีความหมายในอภินิหารผิดไป จึงทำความเข้าใจแก่ท่านดังนี้

    ช้างเผือกกับคำทำนายของหลวงปู่มั่น

    #ไปกันต่อ

    พระธรรมจะเริ่มเปล่งรัศมีฉายแสงส่องโลกอีกวาระหนึ่งก็ต่อเมื่อมีธรรมิกราชโพธิญาณบังเกิดขึ้น อยู่ในความอุปถัมภ์ของพระเถระผู้ทรงธรรมฤทธิ์ทั้งสองพระองค์สถิตย์ ณ เบื้องต้นตะวันออกของมัชฌิมประเทศจะเสด็จมาเสริมสร้างศาสนาของตถาคต ให้รุ่งเรืองสืบไปถึง ๕,๐๐๐ พระวัสสา

    อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๑. พุทธวรรค ๑. พุทธาปทาน
    อวิทูเรนิทานกถา

    พระมหาสัตว์ก็มองเห็นกาลว่า เป็นกาลที่ควรบังเกิด.
    จากนั้น เมื่อจะตรวจดูทวีป ได้ตรวจดูทวีปทั้ง ๔ พร้อมทั้งทวีปบริวาร จึงเห็นทวีปหนึ่งว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่บังเกิดในทวีปทั้งสามบังเกิดเฉพาะในชมพูทวีปเท่านั้น.
    จากนั้นก็คิดว่า ขึ้นชื่อว่าชมพูทวีปเป็นทวีปใหญ่ มีประมาณหมื่นโยชน์ พระพุทธเจ้าทั้งหลายบังเกิดในประเทศไหนหนอ จึงตรวจดูโอกาสก็ได้เห็นมัชฌิมประเทศ.
    ชื่อว่ามัชฌิมประเทศ คือประเทศที่ท่านกล่าวไว้ในวินัยอย่างนี้ว่า ในทิศตะวันออก มีนิคมชื่อกชังคละ ถัดจากนั้นไปเป็นมหาสาลประเทศ ถัดจากมหาสาลประเทศนั้นไปเป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเข้ามาเป็นมัชฌิมประเทศ. ในทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีแม่น้ำชื่อว่าสัลลวดี ถัดจากแม่น้ำสัลลวดีนั้นไปเป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเข้ามาเป็นมัชฌิมประเทศ. ในทิศใต้ มีนิคมชื่อว่าเสตกัณณิกะ ถัดจากเสตกัณณิกนิคมนั้นไปเป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเข้ามาเป็นมัชฌิมประเทศ. ในทิศตะวันตก มีพราหมณคามชื่อว่าถูนะ ถัดจากนั้นไปเป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเข้ามาเป็นมัชฌิมประเทศ. ในทิศเหนือ มีภูเขาชื่อว่าอุสีรธชะ ถัดจากนั้นออกไปเป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเข้ามาเป็นมัชฌิมประเทศ.
    มัชฌิมประเทศนั้นยาวสามร้อยโยชน์ กว้างสองร้อยห้าสิบโยชน์ วัดโดยรอบได้เก้าร้อยโยชน์ ดังนั้น ในประเทศนั้น พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอัครสาวก พระอสีติมหาสาวก พระเจ้าจักรพรรดิและขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาลและคหบดีมหาศาล ผู้มเหสักข์เหล่าอื่นย่อมเกิดขึ้น และนครชื่อว่ากบิลพัสดุ์นี้ก็ตั้งอยู่ในมัชฌิมประเทศนี้ พระโพธิสัตว์จึงได้ถึงความตกลงใจว่า เราควรบังเกิดในนครนั้น.

    ชมพูทวีปเป็นทวีปใหญ่ มีประมาณหมื่นโยชน์

    มัชฌิมประเทศนั้นยาวสามร้อยโยชน์ กว้างสองร้อยห้าสิบโยชน์ วัดโดยรอบได้เก้าร้อยโยชน์

    ลองคิดลองแล้วตีเส้นพิจารณาโดยประมาณดูครับ

    อินเดีย 3,287,000 ตร.กม.
    ศรีลังกา 65,610 ตร.กม.
    เนปาล 147,181 ตร.กม.
    ภูฏาน 38,394 ตร.กม.
    ปากีสถาน 796,095 ตร.กม.
    มองโกลเลีย 1,566,000 ตร.กม.
    จีน 9,597,000 ตร.กม
    ไทย 513,120 ตร.กม.
    บังกลาเทศ 147,570 ตร.กม.
    พม่า 676,578 ตร.กม.
    ลาว 236,800 ตร.กม.
    กัมพูชา 181,035 ตร.กม.
    เวียดนาม 331,210 ตร.กม.
    ฯลฯ

    พระอุปคุตมหาเถระ
    "พระอรหันต์หลังพุทธกาล...ที่ครูบาอาจารย์หลายท่านและชาวพุทธเชื่อว่าท่านยังมีชีวิตอยู่ ใต้ท้องสะดือทะเล เพื่อคอยอยู่ปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนาขององค์พระสัมมาสัมพุธเจ้าสมณโคดม ให้ครบ ๕,๐๐๐ ปี"

    คำทำนายของ...พระมหาโมคคัลลีบุตรติสสะเถระ

    เมื่อสมเด็จองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานล่วงแล้วได้ประมาณ 236 ปี พระมหาโมคคัลลีบุตรติสสะเถระ เล็งญาณดูกาลอนาคตของพระพุทธศาสนาเห็นว่าต่อไปชมพูทวีปซึ่งเป็นที่ตั้งของพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาจะไปเจริญรุ่งเรืองในทวีปอื่น จึงได้ถวายพระพรพระเจ้าอโศกมหาราช ขอความอุปถัมภ์ เพื่อจัดส่งพระเถรานุเถระเป็นคณะไปเผยแพร่พระพุทธศาสนายังนานาประเทศนอกชมพูทวีป ด้านใต้ถึงเกาะลังกา ด้านตะวันตกถึงเปอร์เซีย ด้านเหนือถึงประเทศแถบเชิงเขาหิมาลัย ด้านตะวันออกถึงสุวรรณภูมิ เหตุการณ์ก็จริงดังคาด พอพระพุทธศักราช ประมาณ 1100 ปีเศษ พระพุทธศาสนาก็อันตรธานจากชมพูทวีป ไปเจริญรุ่งเรืองยังนานาประเทศจริงๆ สุวรรณภูมิ ก็คือแหลมทอง ซึ่งหมายถึงผืนแผ่นดินตั้งแต่อ่างเบงกอลมาจนถึงทะเลญวณ ได้เป็นที่รองรับพระพุทธศาสนา มาตั้งแต่พระพุทธศักราชประมาณ 236 ปีเศษ มีโบราณวัตถุสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เป็นสักขีพยานในโบราณสถานนั้นๆ เช่นพระปฐมเจดีย์ที่จังหวัดนครปฐม มีวงล้อธรรมจักรทำด้วยศิลาขนาดใหญ่โตมาก ซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยนั้น เพราะยังไม่เกิดประเพณีสร้างพระพุทธรูปที่เมืองเสมา (ร้าง) ในจังหวัดนครราชสีมา ก็มีวงล้อธรรมจักรทำด้วยศิลาขนาดเดียวกันกับที่นครปฐม และที่ตำบลฟ้าแดดสูงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์ มีภาพแกะสลักศิลาเป็นเรื่องพุทธประวัติ ซึ่งเป็นพยานว่าพระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรือง ณ. แหลมทอง โดยเฉพาะที่นครปฐมและนครราชสีมาในสมัยเดียวกัน ประมาณว่าในราวพุทธศตวรรตที่ 4 การที่พระโมคคัลลีบุตรติสสะเถระ สามารถคาดการณ์ได้ถูกต้องเป็นระยะไกลถึงเกือบพันปีเช่นนี้ ย่อมต้องมีทิพยจักขุญาณแจ่มใสจริงๆ แน่นอน เมื่อทราบแล้ว ท่านก็ดำเนินการแก้วิกฤตการณ์ไว้ล่วงหน้าทันที

    ผลดีที่เกิดขึ้นคือ พระพุทธศาสนาแพร่หลายและดำรงอยู่ได้ในนานาประเทศนอกชมพูทวีปมาจนถึงปัจจุบัน ชมพูทวีปคือ ประเทศอินเดียซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดของพระพุทธศาสนา ได้ว่างเปล่าจากพระพุทธศาสนามานานประมาณพันปีแล้ว พึ่งจะมีพระภิกษุจากลังกา พม่า และอาหม เข้าไปทำการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในชมพูทวีปอีกเมื่อประมาณ 60 ปีมานี่เท่านั้น ถึงกระนั้นก็ยังหวังความเจริญรุ่งเรืองเหมือนในสมัยพุทธกาลได้ยาก เพราะสภาพการณ์ของบ้านเมืองและประชาชนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ลัทธิศาสนาอื่นได้ฝักรกรากแทนที่พระพุทธศาสนามานาน บุคคลผู้จะนำพระพุทธศาสนาไปปลูกฝังลงยังอินเดีย ได้อีกจะต้องเป็นผู้มีบุญญาภิสมภารและอิทธิภินิหารเป็นอัศจรรย์ยิ่งกว่าเจ้าลัทธิคณาจารย์ในถิ่นเป็นอย่างมาก

    มีคำทำนายโบราณชิ้นหนึ่งได้เป็นที่ตื่นเต้นสนใจกัน เมื่อประมาณ 60 ปีกว่ามานี้ มีว่า เมื่อพระพุทธศาสนาอายุถึงกึ่ง 5,000 ปีนับแต่พุทธปรินิพพาน พระพุทธศาสนาจะกลับมาเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสูงสุดคล้ายสมัยพุทธกาล แลจักมีผู้บรรลุมรรคผลนิพพานถึงภูมิพระอรหันต์ เชี่ยวชาญทางอภิญญา พระมหาเถระโพธิสัตว์ ผู้มีบุญญาภิสมภาร แลถึงพร้อมด้วยบุญญฤทธิ์อิทธาภินิหาร ในสุวรรณภูมิแคว้นประเทศ จักได้เป็นประธานาธิบดีสงฆ์ทำการเผยแพร่พระพุทธศาสนาไปทั่วโลก โดยเริ่มต้นที่อินเดียไปยุโรปและอเมริกา ประชาชนชาวโลกจะหันกลับมานับถือพระพุทธศาสนามากมาย คนทั้งหลายจะนิยมในการฝึกฝนอบรมจิตในทางพระพุทธศาสนา ประเทศชาติบ้านเมืองก็จะร่มเย็นเป็นสุข ด้วยร่มเงาของพระพุทธศาสนา เงาเจริญแห่งพระศาสนาเริ่มปรากฏแล้ว ชาวอัศดงประเทศกำลังหันมาสนใจในพระพุทธศาสนามากขึ้น แต่ใครเป็นตัวการตามทำนายนั้น ยังมิได้ปรากฏแก่วงการพระพุทธศาสนา ขอให้คอยดูกันต่อไปว่า จะจริงเท็จแค่ไหน ถ้าคำทำนายเป็นจริงขึ้นก็แปลว่า ชาวพุทธผู้ให้คำทำนายไว้นั้น มีทิพยจักขุญาณวิเศษที่สุดได้แน่ๆ ทีเดียว และตัวการในคำทำนายนั้น จะเป็นบุคคลที่น่าอัศจรรย์ที่สุดของโลกสมัยใหม่ด้วย ข้าพเจ้าได้เรียนถามพระอาจารย์ภูริทัตตเถระ (มั่น) ว่า คำทำนายโบราณนี้จะเป็นจริงไหม ท่านว่าเจ้าพระคุณพระอุบาลีปมาจารย์ (สิริจันทเถระ จันทร์) บอกว่าจริง เมื่อข้าพเจ้าถามถึงความเห็นเฉพาะตัวของท่าน ท่านก็บอกว่าเป็นจริง เวลานี้ก็จวนถึงเวลาแล้ว เราคอยดูกันต่อไป เอวัง.............

    ที่มาจากหนังสือ ทิพยอำนาจ แต่งโดยพระอาจารย์ เส็ง ปุสโส ป.ธ.6

    /ใน ช่วงระยะเวลาระหว่างพุทธศาสนา ๕ พันปีนั้น จะมีพญาธรรมมิกราชเกิดมาจำนวน ๕ องค์โดยมีช่วงเวลาครั้งละ ๑ พันปื สำหรับพญาธรรมมิกราชองค์ที่ ๓ ที่จะเกิดมาในระหว่างพุทธศาสนาได้ ๓ พันปีนั้น(พ.ศ.๒๐๐๑-๓๐๐๐) จะเกิดมาในขณะที่บ้านเมืองเดือดร้อนวุ่นวาย ผู้คนไม่มีศีลธรรม เกิดมีการรบพุ่งฆ่าฟันกันไปทั่ว

    ก่อนที่จะมีพญาธรรมมิกราชปรากฏกายลักษณะขึ้นนั้น ท้องฟ้าจะมืดมิดเป็นเวลา ๗ วัน ครั้นถึงวันที่ ๘ ท้องฟ้าจึงจะสว่างสดใส เทวบุตรจะนำเอาเครื่องสูง ๕ ประการมาทำพิธีราชาภิเษกโดยมีนางฟ้าและพระฤาษีมาร่วมพิธีด้วย รวมทั้งข้าทาสบาทบริจาริกาจำนวนหนึ่งหมื่นหกพันนางจากอุตรกุรุทวีป

    เมื่อเสร็จพิธีราชภิเษก แล้ว ปราสาท ๓ หลังจะผุดขึ้นมาจากพื้นดิน แต่ละหลังทำด้วยทองคำ แก้วและเงิน พญาธรรมมิกราชองค์นั้นได้เสวยราชสมบัติในเมืองฝาง ในราชสำนักจะมีบุรุษผู้ประเสริฐ จำนวน ๖ คน พญาธรรมมิกราชจะขุดเอาข้าวของเงินทองจากพื้นดินมาบูรณะบ้านเมืองและแจกจ่าย เป็นทานแก่คนทั่วไป หลังจากนั้นจึงได้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้มีความเจริญรุ่งเรืองสืบต่อไป
     
  20. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    392
    ค่าพลัง:
    +30
    “สร้างเหตุและปัจจัย”

    การตรัสรู้ธรรม { องค์พระสัทธรรม }

    พระผู้มีพระภาคมีพระจักษุ
    ด้วยจักษุ ๕ ประการ คือ

    มีพระจักษุแม้ด้วย มังสจักษุ ๑
    มีพระจักษุแม้ด้วย ทิพยจักษุ ๑
    มีพระจักษุแม้ด้วย ปัญญาจักษุ ๑
    มีพระจักษุแม้ด้วย พุทธจักษุ ๑
    มีพระจักษุแม้ด้วย สมันตจักษุ ๑

    ดวงตาเห็นธรรม

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕
    ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก

    ทีปังกรพุทธวงศ์ที่ ๑
    ว่าด้วยพระประวัติพระทีปังกรพุทธเจ้า

    วันนี้เราพยากรณ์ผู้ใดว่าจักได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลก ผู้นั้นพิจารณา #เห็นธรรมที่พระพิชิตมารทรงเสพมาก่อน เมื่อผู้นั้นพิจารณาธรรมอันเป็นพุทธภูมิโดยไม่เหลือ เพราะเหตุนั้น ปฐพีในหมื่นโลกธาตุพร้อมทั้งในเทวโลก จึงหวั่นไหว ขณะนั้น มหาชนได้ฟังพระพุทธดำรัสแล้ว เย็นใจ ทุกคนพากันมาหาเราแล้ว ก็กราบไหว้อีก

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓

    สุญญตสมาธิ สุญญตธรรม

    เป็นเรื่องที่เหล่าปฎิสัมภิทานั้นมีความเข้าใจ

    “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู่ ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อน เป็นบุพนิมิตฉันใด ความมีกัลยาณมิตรก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิต แห่งการเกิดขึ้นของอารยอัษฎางคิกมรรค แก่ภิกษุ ฉันนั้น”

    “ความมีกัลยาณมิตร เท่ากับเป็นพรหมจรรย์ (การครองชีวิตประเสริฐ) ทั้งหมดทีเดียว เพราะว่า ผู้มีกัลยาณมิตรพึงหวังสิ่งนี้ได้ คือ จักเจริญ จักทำให้มากซึ่งอารยอัษฎางคิกมรรค”

    “อาศัยเราผู้เป็นกัลยาณมิตร เหล่าสัตว์ผู้มีชาติเป็นธรรมดา ก็พ้นจากชาติผู้มีชราเป็นธรรมดา ก็พ้นจากชรา ผู้มีมรณะเป็นธรรมดา ก็พ้นจากมรณะ ผู้มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสเป็นธรรมดา ก็พ้นจากโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส”

    “เราไม่เล็งเห็นองค์ประกอบภายนอกอื่นแม้สักอย่างเดียว ที่มีประโยชน์มากสำหรับภิกษุผู้เป็นเสขะ เหมือนความมีกัลยาณมิตร, ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตร ย่อมกำจัดอกุศลได้ และย่อมยังกุศลให้เกิดขึ้น”

    “ความมีกัลยาณมิตร ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่, เพื่อความดำรงมั่นไม่เสื่อมสูญ ไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม” ฯลฯ

    “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู่ ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อน เป็นบุพนิมิต ฉันใด ความถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ ก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิต แห่งการเกิดขึ้นของอารยอัษฎางคิกมรรค แก่ภิกษุ ฉันนั้น”

    “เราไม่เล็งเห็นองค์ประกอบภายในอื่นแม้สักอย่างเดียว ที่มีประโยชน์มากสำหรับภิกษุผู้เป็นเสขะ เหมือนโยนิโสมนสิการ ภิกษุผู้มีโยนิโสมนสิการ ย่อมกำจัดอกุศลได้ และย่อมยังกุศลให้เกิดขึ้น”

    “เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่น แม้สักข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้สัมมาทิฏฐิที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็เจริญยิ่งขึ้น เหมือนโยนิโสมนสิการเลย”

    “เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่น แม้สักข้อหนึ่ง ซึ่งจะเป็นเหตุให้ความสงสัยที่ยังไม่เกิด ก็ไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ถูกขจัดเสียได้ เหมือนโยนิโสมนสิการเลย”

    “โยนิโสมนสิการ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่, เพื่อความดำรงมั่นไม่เสื่อมสูญ ไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม” ฯลฯ

    ทิฏฐธัมมิกัตถะ
    และ
    สัมปรายิกัตถะ

    “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู่ ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อนเป็นบุพนิมิต ฉันใด ความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท ก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิตแห่งการเกิดขึ้นของอารยอัษฎางคิกมรรค แก่ภิกษุ ฉันนั้น”
    “ธรรมเอก ที่มีอุปการะมาก เพื่อการเกิดขึ้นแห่งอารยอัษฎางคิกมรรคที่ยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็เจริญบริบูรณ์ เหมือนอย่างความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทนี้เลย”

    “รอยเท้าของสัตว์บกทั้งหลาย ชนิดใด ๆ ก็ตาม ย่อมลงในรอยเท้าช้างได้ทั้งหมด, รอยเท้าช้าง เรียกว่าเป็นยอดของรอยเท้าเหล่านั้น โดยความใหญ่ ฉันใด กุศลธรรมทั้งหลายอย่างใดๆ ก็ตาม ย่อมมีความไม่ประมาทเป็นมูล ประชุมลงในความไม่ประมาทได้ทั้งหมด ความไม่ประมาท เรียกได้ว่าเป็นยอดของธรรมเหล่านั้นฉันนั้น”

    “ผู้มีกัลยาณมิตร พึงเป็นอยู่โดยอาศัยธรรมเอกข้อนี้ คือ ความไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย”

    “ธรรมเอกอันจะทำให้ยึดเอาประโยชน์ไว้ได้ทั้ง ๒ อย่าง คือ ทั้งทิฏฐธัมมิกัตถะ (ประโยชน์ปัจจุบัน ประโยชน์เฉพาะหน้า หรือประโยชน์สามัญของชีวิต เช่น ทรัพย์ ยศ กามสุข เป็นต้น) และสัมปรายิกัตถะ (ประโยชน์เบื้องหน้าหรือประโยชน์ขั้นสูงขึ้นไปทางจิตใจหรือคุณธรรม) ก็คือความไม่ประมาท”

    “สังขาร (สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น) ทั้งหลาย มีความเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังประโยชน์ที่มุ่งหมายให้สำเร็จ ด้วยความไม่ประมาทเถิด”

    “ความไม่ประมาท ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่, เพื่อความดำรงมั่นไม่เสื่อมสูญ ไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม” ฯลฯ

    ถาม: ท่านผู้มีฌาน อภิญญา สมาธิตามแบบพระพุทธเจ้าทั้งหลายฯ ท่านคิดว่าท่านพระสารีบุตรเห็นอรรถและพยัญชนะในพระธรรมคำสั่งสอน(พระปริยัติธรรม) ได้อย่างไร?

    สัญญาสูตร
    ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
    ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พึงมีหรือหนอแล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ไม่พึงมีความสำคัญในอาโปธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเตโชธาตุว่าเป็นเตโชธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวาโยธาตุว่าเป็นวาโยธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากาสานัญจายตนะว่าเป็นอากาสานัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวิญญาณัญจายตนะ ว่าเป็นวิญญาณัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากิญจัญญายตนะว่าเป็น
    อากิญจัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเนวสัญญานาสัญญายตนะว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พึงมีได้อานนท์ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พึงมีได้อย่างไรเล่า การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    พ. ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีสัญญาอย่างนี้ว่าธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั้นประณีต คือ ความสงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน
    ดูกรอานนท์ พึงมีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมี
    ความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอาโปธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเตโชธาตุว่าเป็นเตโชธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวาโยธาตุว่าเป็นวาโยธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึง
    มีความสำคัญในอากาสานัญจายตนะว่าเป็นอากาสนัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวิญญาณัญจายตนะว่าเป็นวิญญาณัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากิญจัญญายตนะว่าเป็นอากิญจัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเนวสัญญานาสัญญายตนะ ว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็นเสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้ว เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ พึงมีได้หรือหนอแล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็น
    อารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกรท่านอานนท์ผู้มีอายุ พึงมีได้ การที่ภิกษุได้สมาธิ โดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุ ว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ
    ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    อา. ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ พึงมีได้อย่างไรเล่า การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ
    ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ #ธรรมที่รู้แจ้งที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    สา. ดูกรท่านอานนท์ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีสัญญาอย่างนี้ว่า ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ความสงบสังขารทั้งปวงความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน

    ดูกรท่านอานนท์ผู้มีอายุ พึงมีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญ
    ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    #อา. ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว การที่#อรรถกับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะ ของพระศาสดาและของสาวก เปรียบเทียบได้กัน เสมอกัน ไม่ผิดกัน ในบทที่เลิศ

    ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ เมื่อกี้นี้กระผมเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ได้ทูลถามเนื้อความอันนี้ แม้พระผู้มีพระภาค
    ก็ทรงพยากรณ์เนื้อความอันนี้ ด้วยบทเหล่านี้ ด้วยพยัญชนะเหล่านี้ แก่กระผมเหมือนที่ท่านพระสารีบุตรพยากรณ์ ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว การที่อรรถกับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะ ของพระศาสดาและของ
    พระสาวก เปรียบเทียบกันได้ เสมอกัน ไม่ผิดกัน ในบทที่เลิศนี้ ฯ
    จบสูตรที่ ๗

    #ภาคพิเศษแบบพิศดาร

    ผู้ที่มีสิทธิ์เปลี่ยนแปลงแก้ไข พระไตรปิฏก อย่างชัดเจนคือผู้มีปฎิสัมภิทาญานเท่านั้น สำหรับพระไตรปิฎกที่ตีพิมพ์ในโลกมนุษย์ อย่างที่เราเห็นกันทุกๆวันนี้ โดยลอกแบบออกมาจากพระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บท (ทิพย์) เป็นแบบตรวจทานแก้ไข ต่อให้ไม่ครบบุบสลายเพียงไร?ไปก็ตาม ใครจะเปลี่ยนอย่างไร? เขียนอย่างไร? สุดท้ายก็จะมีผู้มาทะนุบำรุงรักษา เหมือนเดิมจนกว่าจะสิ้นอายุพระศาสนานี่คือความพิเศษ วิเศษ ของพระธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา คือ ไม่ว่าใครก็ไม่สามารถทำลายได้ ถึงกาลเวลาอันสมควร พระธรรมอันบริสุทธิ์คุณนั้นก็จะปรากฎขึ้นมาดังเดิม และแน่นอน ท่านผู้นั้น ย่อมแสดง สถานะการมีอยู่ ของพระสัทธรรม ให้ผู้มีบุญได้เห็นเป็นขวัญตา ในที่นี้ยังหมายถึง การสาธุการของเหล่าเวไนยสัตว์ที่จะปรากฎตนขึ้นด้วย เพราะอานุภาพใหญ่

    ธรรมทั้งมวลนั้นฯ เราท่านต้องเข้าใจว่า เราต้องอ่านให้ออก และพยายามเข้าใจความหมายให้ละเอียดที่สุด เพราะสภาวะธรรมนั้นละเอียดอ่อนมาก จนไม่สามารถจะอธิบายเป็นคำพูดได้ แค่เพียงพุทธภาษิตเดียวขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่มีใครสามารถอธิบายได้อย่างแจ่มแจ้งเลยในยุคสมัยนี อัตตาหิ อัตตาโน นาโถ นี้ แม้ได้วิมุตติแล้วในภาษิตนี้ ก็ยังจนปัญญา จะอธิบายให้เท่าที่เห็นที่รู้ได้ ฉนั้นอรรถาธิบายที่เป็นสัจฉิกัฐถปรมัตถ์ จึงจำเป็นมากในการเรียนรู้และศึกษา ไม่ควรถูกทำลาย

    คำสอนของพระศาสดามีองค์ 9 หมายถึง คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมดซึ่งแบ่งเป็นส่วนย่อยตามลักษณะที่เหมือนกันได้ 9 อย่าง คือ

    สุตตะ ได้แก่ พระสูตรต่างๆ และวินัย
    เคยยะ ได้แก่ พระสูตรที่มีคาถาผสม
    เวยยากรณะ ได้แก่ ข้อความร้อยแก้วล้วนๆ เช่นอภิธรรมปิฎก
    คาถา ได้แก่ ข้อความร้อยกรองที่เป็นคาถาล้วนๆ เช่น ธรรมบท เถรคาถา
    อุทาน ได้แก่ ข้อความที่เป็นพุทธอุทาน
    อิติวุตตกะ ได้แก่ ข้อความที่ตรัสอุเทศแล้วแสดงนิเทศจบลงด้วยบทสรุป (นิคม)
    ชาตกะ ได้แก่ ชาดกทั้งหมด
    อัพภูติธรรม ได้แก่ พระสูตรว่าด้วยเรื่องอัศจรรย์ต่างๆ
    เวทัลละ ได้แก่ ข้อความที่ถามตอบกันไปมา
    ดังนั้น นวังคสัตถุศาสน์ จึงหมายถึง พระพุทธพจน์ หรือ พระธรรมวินัย ก็ได้ ปฎิสัมภิทาญาน จะส่งผล เห็นท่วงทำนองและภาษาตลอดจนตัวอักษรที่เปลี่ยนแปลงได้ทั้งหมด รู้ทุกภาษา ทั้งภาษามุนุษย์ และภาษาอื่นๆทั้งหมด

    ในครั้งปฐมสังคายนานั้นประกอบด้วยพระอริยเจ้าล้วนสำเร็จอรหันตปฏิสัมภิทาญาณ ๔ เท่านั้นที่จะมีส่วนในการทรงจำ กำหนด เรียบเรียง ถือเอามติสงฆ์เป็นใหญ่ ตรวจทานพระไตรปิฎก ปฎิสัมภิทาญาน คือการ เห็นดังนี้ ปฏิสัมภิทัปปัตตะ ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔ คือ

    ๑) อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถหรือปรีชาแจ้งเจนในความหมาย

    ๒) ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม หรือปรีชาแจ้งเจนในหลัก

    ๓) นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุตติ หรือปรีชาแจ้งเจนในภาษา

    ๔) ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ หรือปรีชาแจ้งเจนในความคิดทันการ

    ผู้ที่ได้ปฎิสัมภิทาญานคือเป็นผู้เห็นยังพระไตรปิฏกโดยขอให้คำจำกัดความตามจริงว่า ได้เห็นจริงตรองตามนี้ได้

    ๑.รู้และเข้าได้ทันที่ว่า ตีมุมกลับ "พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้ทรงปฏิสัมภิทารู้แจ้งเห็นธรรมอันเดียวกัน ซึ่งแสดงให้เห็นซึ่งรูปแบบหนึ่งเดียว

    ๒.รู้แล้วเข้าใจได้ทันทีว่า ในช่วงที่ว่างเว้นคือ ว่างจากการเสด็จมาตรัสรู้ในพุทธันดรนั้น พระสัทธรรมนี้ก็ยังคงอยู่ ไม่ได้เลือนหายไปไหน

    ๓.รู้และเข้าใจได้ทันที่ว่า เพราะเหตุใดพระพุทธเจ้าทั้งหลายจึงทรงสรรเสริญพระธรรม นั้นเพราะการตรัสรู้พระธรรมนั้นทำให้พระองค์เป็นพระพุทธเจ้า

    ๔.เข้าใจในสิ่งที่ไม่มีจารึกเลยว่า ที่พระองค์จะสั่งหรือเคยบอกการใดใด เลยว่าพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้เห็นนั้น เป็นพระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ฉบับดั้งเดิม เพราะเป็นสิ่งที่เกินวิสัยสามัญมนุษย์ธรรมดาจะพึงเห็นได้

    ๕.เข้าใจในสิ่งที่ไม่มีจารึกเลยว่า ในพระปัจฉิมโอวาททรงเน้นย้ำให้ถือว่า พระธรรมคำสั่งสอนและพระธรรมวินัยเป็นศาสดา และจงพึ่งพาตนเอง พร้อมตรัสปลอบให้กำลังใจ ในหลายต่อหลายครั้งในเรื่องการปฎิบัติ เช่นในเรื่อง หากยังมีผู้ปฎิบัติตามธรรมนี้อยู่ โลกจะไม่ว่างจากพระอรหันต์ แต่ไม่ทรงถือตัวพระองค์เองเลยว่า หากขาดพระองค์ไปแล้ว ย่อมขาดผู้หยั่งสภาวะธรรมด้วยพระทศพลญาณ๑๐ อันเป็นกำลังแห่งพระพุทธเจ้า ที่จะสามารถแก้ไขข้อติดขัดในการพิจารณาธรรมของพระสงฆ์สาวกได้อย่างดีที่สุด ฉนั้นการที่ไม่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั่นก็คือ ความวิบัติ ขาดสูญ ในการสำเร็จธรรมของเหล่าพระสงฆ์สาวกโดยแท้ เพราะไม่มีผู้ใดจะปรีชาญาณเทียมเท่าพระองค์อีกแล้ว

    {O}ผู้เห็นธรรมมีเพียง ๓ สถานะ{O}เท่านั้น

    (เป็นเรื่องอจินไตยหากจะกล่าวถึงการกำเนิดของพระธรรมคัมภีร์)

    " ผู้เห็นธรรม๑ คือเห็นธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์,พระปัจเจกพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้เห็นโดยตรง" ซึ่ง"พระธรรมแม่บท"โดยปฎิสัมภิทาญาน"

    " ผู้เห็นธรรม๒ คือผู้บรรลุธรรมการพิจารณาธรรมตามพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยตรงหรือด้วยพระประสงค์ให้เห็นตามด้วยพระทศพลญานมีพุทธเวไนยเป็นต้นฯ

    " ผู้เห็นธรรม๓ คือการพิจารณาธรรมตามพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่สืบทอดจารึก ท่องจำมุขปาฐะตีพิมพ์กันมาด้วยความเพียรพยายาม ด้วยสภาวะบุญอันเข้าถึงในอดีตชาติที่สั่งสมการพิจารณาใคร่ครวญปฎิบัติมาดีแล้ว

    "จงพิจารณาให้เห็นความเป็นจริงเถิดว่า"

    องค์สมเด็จพระบรมมหาศาสดาทรงจำแนกพระธรรมคำภีร์คำสั่งสอนออกมาเป็นทางสายกลางสายเดียวไม่มีแปลกแยกเป็นอื่น ผู้ที่ถือพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บทโดยปฎิสัมภิทาญานได้ "เปรียบเสมือนผู้ถือแท่งทองชมพูนุช"เป็นแม่แบบ เป็น"รัตนมหาธาตุ"ย่อมสามารถมองล่วงรู้เห็นว่า ทองคำแท่งใดปลอมปน วัสดุอื่นตามได้อย่างละเอียด ว่ามีเหล็กบ้าง ตะกั่วบ้าง เป็นต้น ถ้าถึงกาลเวลานั้น คือมีผู้สามารถรวมรวมการแตกแยกของนิกายทั้งหมดมารวมกันเป็นหนึ่งเดียวได้เมื่อไร ด้วย ปาฎิหาริย์ ๓ ตอนนั้นจักรวรรดิธรรม ก็จะพร้อมเรียกชื่อ นิกาย อันมีนามแท้"ดั้งเดิม" อันเป็นนามที่แท้จริงของพระศาสนา เหมือนกับสมัยพุทธันดรก่อนๆ นั้นแล

    #ชื่อนิกายของพระพุทธศาสนาสมัยพุทธกาล คือ{ธรรมวินัย }

    สักวันหนึ่งเมื่อเขารำลึกได้ว่า ถ้าไม่มีพระธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนาที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายกมาแสดง เขาก็จะไม่มีวันนี้ เมื่อเขาไม่มีผู้แนะนำธรรมทั้งปวง เขาก็จะไม่มีทางเข้าใจและไม่รู้อะไรในธรรมนี้ ไม่คิดอะไรอันเป็นเหตุที่มาแห่งธรรมนี้ แต่สักวันหนึ่งเขาปราถนาจะฟังภาษิตใดสักเรื่องจากสัตบุรษผู้รู้จริงสักคน เขาก็จะตั้งใจฟังภาษิตนั้น ฟังอย่างเคารพ ฟังแล้วนำไปพิจารณาเนื้อความนั้น เสวยเวทนานั้น เมื่อรู้และเห็นคุณค่า เห็นทางเดิน เขาก็จะพยายามตน และพยายามเพื่อผู้อื่นนั้นด้วย ถ้าเขาดื้อรั้นไม่ใส่ใจ ในสภาวะหนึ่งในกาลข้างหน้า เขาอยากมีเมตตาต่อผู้อื่น ปราถนาดีต่อบุคคลที่เขารัก เขาย่อมรู้ว่าเป็นการยาก ที่จะทำให้บุคคลที่เขารักและหวงแหนรู้เห็นธรรมอันพ้นทุกข์ตามได้ เพราะเขาย่อมไม่สามารถจะเอาอาการใดในตนไปบอก ไปสอนบุคคลเหล่านั้น ให้เห็นดีเห็นงามได้ตามกับตัวเขา ย่อมพร่าเสียซึ่งประโยชน์ส่วนตนและส่วนอื่นไปด้วย

    ฉนั้นแล้วเมื่อเขาหยุดการเพ่งโทษ เพ่งธรรมอันผู้อื่นน้อมนำมาแสดงด้วยสำนึกดีระลึกรู้ในตนแล้ว เขาย่อมเจริญยินดีในธรรมอันยิ่งขึ้นไป ในการสั่งสมปัญญาในการเจริญเข้าสู่พระสัทธรรม

    {O}จำเป็นต่อการพยากรณ์ปรารภกถาต่างๆ{O}

    ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชามีอาวุธอันสั่งสมไว้เป็นอันมาก ทั้งชนิดที่ใช้ประหารใกล้ตัว และประหารไกลตัวสำหรับคุ้มภัยในภายในและป้องกันในภายนอก, นี้ฉันใด.
    ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกก็มีสุตะอันตนสดับแล้วมาก ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ, ธรรมเหล่าใดงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในสุด ที่เป็นการประกาศพรหมจรรย์ อันบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ, ธรรมมีรูปเห็นปานนั้น อันเขาสดับแล้วมาก ทรงไว้ คล่องปากขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ. การสั่งสมสุตตะมาก เปรียบเหมือนการสั่งสมอาวุธไว้มาก
    ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกผู้ มีสุตะเป็นอาวุธ ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมอันมีโทษ เจริญกรรมอันไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจดอยู่ ฉันนั้นเหมือนกัน นี้ชื่อว่า ผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่สี่.
    - สตฺตก. อํ. ๒๓/๑๐๙/๑๑๓/๖๔

    IMG_5504.jpeg IMG_5168.jpeg IMG_5154.jpeg IMG_5024.jpeg
     

แชร์หน้านี้

Loading...