สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,454
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +70,477
    กิจกรรม "ปฏิบัติธรรม ศุกร์-อาทิตย์"

    [​IMG]
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,454
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +70,477
    กามทั้งหลายเป็นดังเปือกตม เป็นเครื่องให้จมลง และเป็นเครื่องนำไปซึ่งน้ำใจสัตว์ ข้ามได้ยาก เป็นที่ตั้งแห่งมฤตยู สัตว์ทั้งหลาย ผู้ข้องอยู่ในกามอันเป็นดังเปือกตม เป็นเครื่องให้จมลงนี้ เป็นสัตว์มีจิตเลวทราม ย่อมข้ามถึงฝั่งไม่ได้
    เมื่อครั้งก่อน อัตภาพของพระองค์นี้ ได้กระทำกรรมอันหยาบช้า ผลแห่งกรรมนั้นข้าพระองค์ถือไว้มั่นแล้ว ข้าพระองค์จะพ้นไปจากผลแห่งกรรมนี้ไม่ได้เลย ข้าพระองค์จักปิดกั้นรักษาอัตภาพนั้นอย่างรอบคอบ ขออัตภาพนี้อย่าได้ทำกรรมอันหยาบช้าอีกเลย

    พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๗
    สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑ หน้าที่ ๓๙๕ ข้อที่ ๒๒๕๐9




    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,454
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +70,477
    ความมุ่งมั่นและพยายามที่มากพอ สามารถเปลี่ยนแปลงโชคชะตาได้



    [​IMG]
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,454
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +70,477
    [​IMG]
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,454
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +70,477
    ผลของกรรมนั้นแน่นอน ไม่มีข้อยกเว้น
    เมื่อใดมีความคิดว่าเราทำดีไม่ได้ดี
    หรือเขาทำดีไม่ได้ดี ก็พึงรู้ว่าเมื่อนั้น
    กำลังหลงคิดผิดจากความจริง
    กำลังเข้าใจผิดจากความจริง
    ทำดีต้องได้ดีเสมอ
    ไม่มียกเว้นด้วยเหตุผลใดทั้งสิ้น
    เมื่อใดเรามีความคิดว่า
    เราทำไม่ดีแต่กลับได้ดี
    หรือเขาทำไม่ดีแต่กลับได้ดี
    ก็พึงรู้ว่าเมื่อนั้น...เรากำลังหลงคิดผิดจากความจริง
    กำลังเข้าใจผิดจากความจริง
    ทำไม่ดีต้องได้ไม่ดีเสมอ
    ไม่มียกเว้นด้วยเหตุผลใดทั้งสิ้น




    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,454
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +70,477
    อุบายวิธีกำหนด "บริกรรมนิมิต"
    ต้องยกอารมณ์ขึ้นสู่ ...
    วิตก,วิจาร (ตรึกตรองประคองนิมิต) ให้ได้
    ตรึกนึกให้เห็น "ดวงแก้วกลมใส"
    'ใจ' อยู่ตรงกลางดวงที่ใสให้ได้
    พยายามเข้า
    แต่ความพยายามนี้ อย่าบังคับใจนะ
    ใจบังคับไม่ได้
    ยิ่งบังคับ ... ยิ่งไปใหญ่
    ยิ่งหงุดหงิด ยิ่งไม่ได้
    ยิ่งเสียใจ ยิ่งไม่สบายใจ ยิ่งไปกันใหญ่
    เพราะฉะนั้น "เคล็ดลับ" จึงมีอยู่ว่า ...
    ทำใจสบายๆ
    ให้นึกถึง "บุญกุศล" ที่เราได้เคยสร้างสมอบรมมา
    ด้วยทานกุศลก็ดี ศีลกุศลก็ดี ภาวนากุศลก็ดี
    นี้เป็น "ธรรมในธรรม"
    พอพิจารณา ...
    อ้อ! เราทำแล้ว เราสบายใจ
    เรากำลังจะทำ เราก็สบายใจ
    นี่อันหนึ่ง !
    เมื่อความสบายใจเกิดขึ้น ... ใจมันก็เริ่มสงบ
    เราก็ "นึกให้เห็น"
    โดยยกอารมณ์ขึ้นสู่ วิตก,วิจาร ให้ได้
    ด้วยการ "นึกให้เห็นนิมิต" (ดวงแก้วกลมใส) นี้ก่อน
    'ดวงแก้วกลมใส' นี่
    เป็นผลของ "อาโลกกสิณ" (กสิณแสงสว่าง)
    เป็นทางนำให้เกิด 'อุคคหนิมิต'
    ไปจนถึง 'ปฏิภาคนิมิต'
    ใจจะได้รวมเป็นจุดเดียวกันได้ดี
    แต่ส่วนที่ก่อนจะถึง 'อุคคหนิมิต' นั่น
    มันต้องเป็น "บริกรรมนิมิต" ก่อน
    คือการนึกให้เห็นด้วย "ใจ"
    อันนี้จำไว้ !
    อย่าใช้สายตาเนื้อ ข้อนี้สำคัญ.
    * พระเทพญาณมงคล (เสริมชัย ชยมงฺคโล)
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี




    [​IMG]
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,454
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +70,477
    ๑๑. อุบาลีเถรคาถา
    สุภาษิตสอนพระบวชใหม่




    [๓๑๗] ภิกษุผู้ออกบวชด้วยศรัทธา ยังเป็นผู้ใหม่ต่อการศึกษา พึงคบหากัลยาณมิตรผู้มีอาชีพบริสุทธิ์ ไม่เกียจคร้าน
    ภิกษุผู้ออกบวชด้วยศรัทธายังเป็นผู้ใหม่ต่อการศึกษา พึงเป็นผู้ฉลาดอยู่ในสงฆ์ ศึกษาวินัยด้วยอำนาจการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติให้บริบูรณ์
    ภิกษุผู้ออกบวชด้วยศรัทธา ยังเป็นผู้ใหม่ต่อการศึกษา พึงเป็นผู้ฉลาดในสิ่งควร และไม่ควร ไม่ควรถูกตัณหาครอบงำเที่ยวไป


    พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๖

    สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
    หน้าที่ ๒๖๒ ข้อที่ ๓๑๗



    [​IMG]
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,454
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +70,477
    [​IMG]



    แรงบันดาลใจเกี่ยวกับการพิทักษ์รักษาวิชชาธรรมกายที่บริสุทธิ์



    ในข้อนี้มีความสำคัญอยู่ถึง 2 ประการด้วยกัน
    ประการแรก:ก็คือว่า หลวงพ่อพระภาวนาโกศลเถร(ปัจจุบัน พระราชพรหมเถระ) รองเจ้าอาวาสและพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ องค์ปัจจุบัน ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของอาตมภาพนี้ ท่านได้เป็นศิษย์ผู้หนึ่งที่ได้รับการถ่ายทอดวิชชาธรรมกาย ทั้งเบื้องต้น เบื้องกลาง และวิชชาธรรมกายชั้นสูง จากพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) มาเองโดยตรง ตั้งแต่สมัยที่หลวงพ่อพระภาวนาโกศลเถรยังเป็นฆราวาส แล้วภายหลังต่อมา ก็ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ โดยพระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำเป็นองค์อุปัชฌาย์ และก็ได้รับการฝึกทำวิชชาธรรมกายชั้นสูงกับหลวงพ่อมาอย่างใกล้ชิดโดยตลอด จนกระทั่งพระเดชพระคุณหลวงพ่อได้มรณภาพลง แล้วภายหลังจากนั้น ก็ได้อบรมสั่งสอนถ่ายทอดวิชชาธรรมกายนี้แก่ศิษยานุศิษย์ สืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้ นับว่าหลวงพ่อพระภาวนาโกศลเถร เป็นศูนย์รวมหรือคลังแห่งวิชชาธรรมกาย ที่ได้รับถ่ายทอดมาจากพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำโดยตรง และยังเป็นที่รวมวิชชาธรรมกายชั้นสูง ที่ศิษย์ในพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ ที่เป็นพระเถระรุ่นพี่ ได้จดทำบันทึกไว้ ก็ยังได้มารวมตกแก่หลวงพ่อพระภาวนาโกศลเถร องค์ปัจจุบันนี้อีกด้วย

    จึงเห็นว่าวิชชาธรรมกายทุกระดับทั้งเบื้องต้น เบื้องกลาง และวิชชาธรรมกายชั้นสูง ควรจะต้องมีการรวบรวมขึ้น เป็นหลักฐานอ้างอิงที่สำคัญต่อไป เพื่อประโยชน์แก่อนุชนรุ่นหลัง จะได้ศึกษาและปฏิบัติต่อไปอย่างถูกทางและสมบูรณ์ ตามที่พระเดช พระคุณหลวงพ่อได้ถ่ายทอดไว้

    ในประการที่สอง: หากจะพิจารณาในเหตุผลและจากประสบการณ์ที่อาตมาเคยได้รับได้รู้เห็นมากพอสมควรแล้ว ก็จะพบว่า อาจจะมีผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดวิชชาธรรมกายในสมัยพระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านยังมีชีวิตอยู่ ที่มีภูมิรู้ไม่เท่ากัน และทั้งอาจได้ยินได้ฟังมาไม่เท่ากัน ก็ย่อมจะได้รับวิชชาความรู้ไปได้ไม่เท่ากัน และอาจจะมีบางท่านที่สำคัญผิดและรับรู้ไปผิดเพี้ยนบ้างก็ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในรายที่มีพื้นความรู้ทางปริยัติมาน้อย ก็อาจจะมีความสำคัญในธรรมะที่ได้ยินได้ฟังมาผิดๆ และก็อาจถ่ายทอดสืบต่อๆ กันไปผิดๆ ได้ นอกจากนี้ยังอาจจะมีผู้ที่ค้นคว้าวิชชาไปเอง โดยที่ยังมิได้ผ่านการกลั่นกรองและอนุมัติจากพระเดชพระคุณหลวงพ่อเสียก่อน แล้วนำออกใช้และเผยแพร่สืบทอดต่อๆ กัน ไปอย่างผิดๆ เพี้ยนๆ เพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ไปบ้าง ซึ่งก็อาจจะมีได้เป็นได้ ตราบใดที่อวิชชายังไม่หมดสิ้นโดยเด็ดขาดเป็นสมุจเฉทปหาน ก็ยังอาจจะถูกอภิสังขารมาร ได้แก่ ลาภสักการะและฐานะอันสูงส่ง หรือแม้โลกิยวิชชานั้นเองหลอกลวงได้โดยง่าย ผู้ที่มีสมาธิดีที่มิใช่พระอริยะ ซึ่งสามารถเจริญโลกิยวิชชาที่อาจจะใช้ได้ผลดีในบางครั้งบางคราว ก็ยังอาจจะหลง เพราะถูกมารเขาหลอกให้เห็นผิดเป็นชอบได้ อย่างเช่นพระเทวทัต ซึ่งเคยมีโลกิยวิชชา ถึงขั้นเหาะเหินเดินอากาศได้ในสมัยพุทธกาลนั้น เมื่อกิเลสคือ โลภะ โทสะ และโมหะเข้าครอบงำ ก็ถึงกับทำสังฆเภท ยุยงพระสงฆ์ให้แตกแยกกัน และกระทำโลหิตุปบาทแก่พระพุทธเจ้า เป็นอนันตริยกรรมได้ จึงต้องไปเสวยวิบากกรรมในอเวจีมหานรก นั่นแหละ เพราะอย่างนี้ผู้ที่มิใช่อริยบุคคลแต่เจริญโลกิยวิชชาได้ หากหลงในอภิสังขารมารหรือโลกิยวิชชาเมื่อใด ก็อาจจะถูกมารเขาหลอกให้เห็นผิด จึงรู้ผิดคิดผิด พูดผิดทำผิดและแนะนำผู้อื่นผิดๆ ต่อไปเป็นโทษทุกข์ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่นได้มาก

    หลักการศึกษาและปฏิบัติธรรมของอาตมาและศิษยานุศิษย์ ในสำนักนี้ จึงต้องอิงหลักปริยัติตำรับตำรา และครูอาจารย์ที่เชื่อถือได้ และที่เป็นกัลยาณมิตรจริงๆ จนกว่าจะได้บรรลุมรรคผลนิพพานแล้ว นั่นแหละจึงจะวางใจได้ ความจำเป็นที่จะต้องรวบรวมวิชชาธรรมกายทุกระดับ ออกมาเป็นเอกสารหลักฐานสำคัญที่เชื่อถือได้ เพื่อไว้อ้างอิงเป็นตำรับตำราแก่อนุชนรุ่นหลัง จึงเป็นแรงบันดาลใจให้คณะผู้บริหาร โครงการธรรมปฏิบัติเพื่อประชาชน วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ และ โครงการพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร ได้จัดตั้งสถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกายแห่งนี้ขึ้น เพื่อให้เป็นองค์กร หรือ แหล่งที่รวบรวมสรรพตำราตามแนววิชชาธรรมกาย ที่ถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะสามารถกระทำได้ โดยคณะบุคคลผู้ซึ่งได้รับถ่ายทอดวิชชาธรรมกาย จากพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำโดยตรงที่เชื่อถือได้ และศิษยานุศิษย์ผู้มีทั้งในหลักธรรมปฏิบัติและในหลักปริยัติสัทธรรมมาดีพอสมควร เพื่อพิทักษ์รักษาวิชชาธรรมกายอันบริสุทธิ์นี้ไว้ให้แก่อนุชนรุ่นหลัง ได้รู้จักวิชชาธรรมกายที่ถูกต้องตรงตามที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำท่านได้ถ่ายทอดเอาไว้ และก็เหตุนี้แหละที่องค์กรนี้ได้ชื่อว่า “สถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย”(วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม)




    พระเทพญาณมงคล(หลวงป๋า)
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,454
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +70,477
    เมื่อถึง "ธรรมกาย" แล้ว
    ตรงนี้แหละ !
    ผู้ปฏิบัติพึงเจริญ “ฌานสมาบัติ”
    เพื่อพิจารณา “อริยสัจ”
    ในกายมนุษย์, ทิพย์, พรหม, อรูปพรหม
    ... ให้เห็นตามที่เป็นจริง
    ซึ่งจะครอบคลุมทั้ง ...
    การพิจารณาสภาวะของ “สังขารธรรม”
    ให้รู้แจ้งแทงตลอดใน “พระไตรลักษณ์”
    แล้วก็ “ทำนิโรธ ดับสมุทัย”
    ปหานอกุศลจิตของ กายในภพสาม
    เป็น “ธรรมกาย” ที่บริสุทธิ์
    ทับทวีต่อไปจนสุดละเอียด ฯลฯ
    แล้วก็จะได้เห็น “วิสังขาร” คือ “พระนิพพาน”
    ให้สามารถ "เจริญปัญญา"
    ได้จากการที่ "ทั้งรู้" และ "ทั้งเห็น"



    * หลวงป๋า
    (พระเทพญาณมงคล)
    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี




    [​IMG]
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,454
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +70,477
    พระสัทธรรมเป็นวิทยาศาสตร์แท้

    [​IMG]

    ธรรมบรรยายโดย พระเทพญาณมงคล
    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี

    คติธรรมโดย พระเทพญาณมงคล ขอบคุณหนังสือ "๑๐๘ มงคลธรรม ๔๓ "



    พระสัทธรรมเป็นวิทยาศาสตร์แท้
    : พระราชญาณวิสิฐ - พระสัทธรรมเป็นวิทยาศาสตร์แท้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 กรกฎาคม 2016
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,454
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +70,477
    คำเทศน์ของหลวงพ่อวัดปากน้ำมาเป็นหลักฐาน คำเทศน์ที่ว่าคือ เรื่อง “อาทิตตปริยายสูตร” เทศน์เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2496 เรื่องกิเลสหมดไปจากกายต่างๆ ดังนี้


    หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั่นแหละ พอถูกส่วนเข้าก็จะเห็นกายมนุษย์ละเอียด อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ ของกายมนุษย์หยาบหายไปหมด เหลือของมนุษย์ละเอียด


    ใจก็หยุดอย่างนั้นแหละ ในศูนย์กลางกายมนุษย์ละเอียดก็เห็นแบบเดียวกันอย่างนี้แหละ ก็ถึงกายทิพย์ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ หายไปหมด


    พอเข้าถึงกายทิพย์แล้ว หยุดอยู่ในกลางกายทิพย์อย่างนี้แหละ จะเข้าถึงกายทิพย์ละเอียด


    หยุดอยู่กลาง กายทิพย์ละเอียดอย่างนี้แหละก็จะเข้าถึงกายรูปพรหมนี่ โลภะ โทสะ โมหะ หายไปหมดแล้วเหลือแต่ ราคะ โทสะ โมหะ
    หยุดดังนี้ในกายรูปพรหมทั้งหยาบทั้งละเอียดจะเข้า ถึงกายอรูปพรหมนี่ ราคะ โทสะ โมหะ หายไปหมดอีกแล้ว


    หยุดอยู่ดังนี้แหละ ในกายอรูปพรหมทั้งหยาบทั้งละเอียดเข้าถึงกายธรรมพอเข้า ถึงกายธรรมเท่านั้น กามราคานุสัย อวิชชานุสัย ปฏิฆานุสัย ก็หายไปหมด
    กายธรรมเป็นวิราคธาตุวิราคธรรม ส่วนหยาบส่วนย่อยเป็นวิราคธาตุ


    วิราคธรรมที่ยังเจือปนระคนอยู่ด้วยฝ่ายหยาบยังไม่เป็นวิราคธาตุวิราคธรรมแท้สิ้นเชิงทีเดียว แต่เข้าเขตวิราคธาตุวิราคธรรมแล้ว


    ก็หยุดอยู่ในกายธรรมทั้งหยาบทั้งละเอียด อย่างนี้แหละจะเข้าถึงกายโสดาทั้งหยาบทั้งละเอียดนี่หมด สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส เข้าถึงพระโสดาไป


    แล้วหยุดอยู่ที่พระโสดาดังนี้ พอถูกส่วนเข้าจะเข้าถึงพระสกทาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด กามราคะ พยาบาท อย่างหยาบหมด
    หยุดอยู่ในพระสกทาคาอย่างนี้ทั้งหยาบทั้งละเอียดถูกส่วนดังนี้ จะเข้าถึงพระอนาคา กามราคะพยาบาทอย่างละเอียด หมด
    เหลือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชาหยุดอยู่ในกายพระอนาคาอย่างนี้แหละ จะเข้าถึงกายพระอรหัตทั้งหยาบทั้งละเอียด รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา หลุดหมด


    พอเข้าถึงกายพระอรหัตทั้งหยาบทั้งละเอียดนี้ เป็นวิราคธาตุวิราคธรรมแท้ นี้เสร็จกิจใน พระพุทธศาสนา


    แต่ให้รู้จักหลักอย่างนี้ทางเป็นจริงของพุทธศาสนาเป็นอย่างนี้ เมื่อเรารู้จักหลักจริงดังนี้แล้ว ให้ปฏิบัติไปตามแนวนี้ ถ้าผิดแนวนี้จะผิดทางมรรคผลนิพพาน



    ---------------------------------------


    จากคำเทศน์สอนหลวงปู่สด ถ้าผู้ปฏิบัติสามารถดับกิเลส อาสวะ สังโยชน์ ฯลฯ ได้ชั่วคราวที่เข้าถึงกายต่างๆ ก็เป็นวิกขัมภนวิมุตติ
    หรือ ตทังควิมุตติ แล้วแต่กรณี แล้วแต่เหตปัจจัยของแต่ละท่าน

    เมื่อมีญาณปัญญาจากการเจริญสมถและวิปัสสนา เจริญขึ้น ก็ใช้โอกาสขณะที่
    จิตพ้นกิเลสชั่วคราวนี้ เจริญมรรคต่อไป จนประหารกิเลส อาสวะ สังโยชน์
    เครื่องร้อยรัดได้หมด


    และเมื่อใดก็ตาม ตัดขาดเป็นสมุทเฉทวิมุตติ ก็จบกิจ


    ----------------------------------------
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,454
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +70,477
    การกลั่นเครื่องไทยทาน ถวายพระพุทธเจ้าในพระนิพพาน ได้บุญจริงหรือ?

    การไปทำบุญที่วัดแห่งหนึ่ง เขาจะกลั่นเครื่องไทยทาน ดอกไม้ ธูป เทียน อาหาร หวานคาว ของสาธุชนทุกท่านขึ้นไปถวายพระพุทธเจ้าบนนิพพาน แล้วสาธุชนก็จะได้บุญใหญ่มหาศาล กล่าวคือ เราทำบุญตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย โดยไม่เคยเว้นแม้เพียงวันเดียว ก็ยังไม่ได้บุญใหญ่เท่านั้นเลย จริงหรือไม่ครับ ? และวัดปากน้ำกับวัดสระเกศเคยทำไหมครับ ? กรุณาชี้แจงให้สว่างด้วยครับ ?



    -------------------------------------------------------------



    ตอบ:





    เรื่องนี้อาตมาขอแยกตอบเป็น 3 ประเด็น ดังต่อไปนี้คือ



    1.ประเด็นที่ว่า กลั่นเครื่องไทยทานแล้ว นำไปถวายพระพุทธเจ้าในนิพพานนั้น จะถึงหรือไม่ ?

    2.แล้วสาธุชนผู้มาร่วมในการถวายเครื่องไทยทานนั้น จะได้บุญมหาศาล กล่าวคือ แม้จะเคยได้ทำบุญตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย โดยไม่มีเว้นเลยสักวันเดียว ก็ยังไม่ได้บุญใหญ่เท่านั้น จริงหรือไม่ ?

    3.ที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพฯ และที่วัดสระเกศ เคยทำอย่างนี้บ้างหรือไม่ ?

    อาตมาขอเจริญพรว่า เครื่องไทยทานนั้นไม่ถึงพระพุทธเจ้าในอายตนะนิพพานที่แท้จริงแต่ประการใด แม้จะมีผู้ติดตามดูและเห็นตามได้ก็ตาม ทั้งนี้เพราะ



    ธรรมชาติทุกอย่างในอายตนะนิพพานนั้น เป็นแต่ธาตุล้วนธรรมล้วน ซึ่งไม่ประกอบด้วยปัจจัย (เช่น ธาตุน้ำ ดิน ไฟ ลม) ปรุงแต่ง ที่พระท่านเรียกว่า อสังขตธาตุ อสังขตธรรม หรือเรียกว่า “สังขาร” ในภพ 3 นี้แต่ประการใดเลย เพราะฉะนั้น ธรรมชาติใดๆ ที่ เป็นสังขารกล่าวคือที่มีปัจจัยปรุงแต่ง ย่อมเข้าไม่ถึงอายตนะนิพพานอย่างแน่นอน



    ธรรมชาติในอายตนะนิพพานที่ว่าเป็นอสังขตธาตุ อสังขตธรรม อันไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง แม้ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ก็ไม่มีในอายตนะนิพพานนั้น มีหลักฐานในพระไตรปิฎก ในนิพพานสูตรที่ 3 ว่า “ภิกษุทั้งหลาย อายตนะ (นิพพาน) นั้น มีอยู่, ที่ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่มีแล, อากาสานัญจายตนะก็ไม่ใช่ วิญญานัญจายตนะก็ไม่ใช่ อากิญจัญญายตนะก็ไม่ใช่ เนวสัญญานาสัญญายตนะก็ไม่ใช่ ...” และ “ภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติที่ไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้แล้ว มีอยู่..”



    แต่เครื่องไทยทาน (อันได้แก่ดอกไม้ ธูป เทียน อาหารหวานคาว) ซึ่งถ้าผู้ทรงวิชชานั้น ยังเป็นแค่โคตรภูบุคคล มิใช่พระอริยบุคคลวิชชานั้น ก็เป็นแต่เพียงโลกิยวิชชา แม้จะกลั่น (เครื่องไทยทานนั้น) ให้เห็นใสละเอียดยิ่งกว่าของหยาบที่มีผู้นำมาถวายก็เป็นได้เพียงแค่ของทิพย์ ซึ่งยังจัดเป็น “สังขาร” อันเป็นส่วนประกอบของธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม อยู่



    เพราะฉะนั้นเครื่องไทยทานนั้น แม้จะกลั่นให้ดูเป็นของทิพย์ ดูเห็นใสละเอียด ก็ตาม ย่อมจะเข้าไม่ถึงอายตนะนิพพานที่แท้จริงได้เลย



    แม้กายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหมของผู้กลั่น และผู้นำเครื่องไทยทานไปถวายพระพุทธเจ้านั้น ก็ถึงอายตนะนิพพานที่แท้จริงไม่ได้ เพราะยังเป็นสังขารที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งอยู่อีกเช่นกัน



    แต่มูลเหตุที่ทั้งผู้ทำวิชชาเช่นนั้น และผู้ติดตามดู สามารถเห็นสมจริงได้ว่า เห็นท่านผู้นั้นๆ นำเครื่องไทยทานที่กลั่นใสละเอียดแล้วไปถวายพระพุทธเจ้าในอายตนะนิพพานได้ ก็เพราะเหตุผล 2 ประการคือ



    1.จิตของผู้ทรงโลกิยวิชชา “ปรุงแต่ง” ขึ้น เป็นมโนมยิทธิ คือ อิทธิฤทธิ์ทางใจ ที่นึกจะ “ให้เห็น” อะไร หรือ “ให้มี” อะไร ที่ไหน ก็จะ “เห็น” หรือ “มี” สิ่งนั้น ด้วยใจที่กำลังทรงโลกิยวิชชานั้นอยู่ได้

    ท่านที่ปฏิบัติได้ถึงธรรมกายแล้ว ลองคิดให้เห็น “ด้วยใจ” เป็นอะไร ณ ที่ใด ก็จะสามารถเห็นได้ นี้เป็นข้อพิสูจน์เบื้องต้น โลกิยวิชชานี้แหละที่ยังจัดเป็น “อภิสังขารมาร” กล่าวคือเป็นคุณธรรมที่ให้มีความสามารถเหนือผู้อื่นในหมู่ชาวโลกด้วยกัน แต่ยังต้องตกอยู่ในอาณัติแห่งไตรลักษณ์ คือ ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตาอยู่ มีคุณค่าเหมือนโลกิยทรัพย์ที่มีคุณอนันต์หากรู้จักธรรมชาติของมันและรู้จักใช้ให้เกิดแต่ประโยชน์อันปราศจากโทษ แต่มีโทษมหันต์ถ้าไปหลงติดด้วยตัณหาและทิฏฐิคือความหลงผิดเข้า

    โดยเหตุนี้ ผู้มีปัญญาเขาจึงอาศัยอภิสังขารมารนั้นแหละเป็นฐานของการบำเพ็ญบารมีเจริญภาวนา ทำนิโรธดับสมุทัยไปให้ใสละเอียดเป็นประจำ เพื่อแยกพระแยกมาร กล่าวคือ ใช้ประโยชน์ของโลกิยวิชชานี้แหละเป็นพื้นฐานในการทำวิชชาไปสู่โลกุตตรวิชชาเพื่อความเข้าถึงและเป็นธาตุล้วนธรรมล้วนของพระพุทธเจ้าต้นธาตุต้นธรรมที่บริสุทธิ์ที่สุด

    หลวงพ่อ พระภาวนาโกศลเถร ท่านจึงได้กล่าวกับศิษยานุศิษย์ของท่านเสมอๆ ว่า “เพียงแต่ปฏิบัติได้ธรรมกายในระดับโคตรภูบุคคลนั้น ยังไม่อาจวางใจได้ว่าจะเอาตัวรอดได้”



    2.อายตนะภายใน (กล่าวคือเครื่องรู้เห็นและสัมผัส) ของกายในกาย ณ ภายใน จากสุดหยาบของกายมนุษย์ ไปจนสุดละเอียดของกายธรรม ของท่านผู้กลั่นเครื่องไทยทานไปถวายพระพุทธเจ้าและของผู้ติดตามดูนั้น มีศูนย์กลางตรงกันหมดทุกกาย แม้กายในกาย ณ ภายในในระดับโลกิยะ (กายมนุษย์ มนุษย์ ละเอียด, ทิพย์ ทิพย์ละเอียด, รูปพรหม รูปพรหม ละเอียด และอรูปพรหม อรูปพรหมละเอียด) จะเข้าไม่ถึงอายตนะนิพพานที่แท้จริงได้ แต่ก็อาศัยที่ว่าอายตนะภายในของกายเหล่านี้ไปตรงกับของ “ธรรมกาย” ที่สุดละเอียด ซึ่งสามารถเข้าไปถึงอายตนะนิพพาน และไปรู้เห็นและสัมผัสอายตนะนิพพานได้ โดยการให้ใจของธรรมกายเจริญภาวนาดับหยาบไปหาละเอียดจนสุดละเอียดเสมอกับอายตนะนิพพาน และอวิชชาทำอะไรไม่ได้ชั่วคราว เรียกว่า “ตทังคนิโรธ” หรือ “วิกขัมภนนิโรธ” กล่าวคือ หลุดพ้นด้วยการข่มกิเลส (ชั่วคราว) ภาพที่เห็นด้วยอายตนะภายในของธรรมกายที่สุดละเอียด ซึ่งเข้าถึงและเห็นความเป็นไปในอายตนะนิพพานนั้น จึงเป็นภาพเชิงซ้อนกับเครื่องไทยทานและอาหารที่นำไปถวายที่เป็นทิพย์ จึงให้เห็นสมจริงว่า กลั่นเครื่องไทยทานนำไปถวายพระพุทธเจ้าในอายตนะนิพพานได้

    อาตมายืนยันโดยหลักฐานในทางปริยัติและหลักปฏิบัติว่า สิ่งที่เป็นสังขารไม่อาจจะเข้าถึงหรือไปสัมผัสถึงอายตนะนิพพานซึ่งเป็นธาตุล้วนธรรมล้วนที่สุดละเอียดนั้นได้เลย เพียงแต่ว่าความรู้เห็นและสัมผัสของธรรมกายที่สุดละเอียดนั้น มีศูนย์กลางตรงกันกับของกายในภพ 3 อันให้สามารถเชื่อมต่อหรือสื่อถึงกันได้โดยอัตโนมัติเท่านั้น

    ผู้ปฏิบัติภาวนาที่ยังไม่บรรลุมรรคผลนิพพาน จึงต้องพึงสังวรระวังไว้ให้เข้าใจทั้งหลักปริยัติและหลักปฏิบัติให้ถ่องแท้แน่นอน มิฉะนั้นจะถูกอภิสังขารมารหลอกเอาให้เข้าใจไขว้เขวผิดไปได้ จงระลึกไว้เสมอว่าวิชชาในระดับโลกิยะของผู้ที่ไม่บรรลุมรรคผลนิพพาน ยังจัดเป็นอภิสังขารมาร ซึ่งเป็นความปรุงแต่งให้มีดีเหนือผู้อื่นในระดับโลก แต่ยังมีสภาวะที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ผู้ใดหลงยึดมั่นถือมั่นด้วยตัณหาและทิฏฐิแล้วเป็นทุกข์

    อานิสงส์ของผู้ไปร่วมถวายเครื่องไทยทานแด่พระพุทธเจ้าเช่นนั้น มีคล้ายๆ กับการถวายข้าวพระพุทธหรือบูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้ธูปเทียนธรรมดา ในฐานะของผู้ที่ระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าโดยทั่วไป แต่มิใช่ว่าจะได้บุญใหญ่มหาศาลยิ่งกว่าการที่เราทำบุญตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย โดยไม่เคยเว้นแม้เพียงวันเดียวแต่ประการใด เพราะ



    1.จากประเด็นแรก เครื่องไทยทานที่กลั่นเป็นของทิพย์ (โดยผู้ทรงโลกิยวิชชา) ซึ่งจัดเป็นสังขารธรรมนั้น ไม่ถึงพระนิพพาน คือธรรมกายที่บรรลุอรหัตตผลแล้ว ของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ขีณาสพ ซึ่งเข้าอนุปาทิเสสนิพพานและไปปรากฏอยู่ในอายตนะนิพพานแล้วนั้น อย่างแน่นอน

    2.การทำบุญ (ทานกุศล) กับพระพุทธเจ้า พระอรหันต์สาวกของพระพุทธเจ้า และพระภิกษุสงฆ์ ฯลฯ กายเนื้อ เป็นมหากุศลหรือบุญกุศลตามส่วน ก็เพราะท่านได้บริโภคขบฉันใช้สอยหรือทำประโยชน์จากเครื่องไทยทานนั้นเพื่อยังชีวิต (กายเนื้อ) ของท่านให้เป็นไป หรือดำเนินไปได้

    ส่วนพระนิพพานนั้นมิได้ปรารถนาที่จะบริโภคขบฉันใช้สอยหรือทำประโยชน์ จากเครื่องไทยทานทิพย์เช่นนั้น เพื่อหล่อเลี้ยงชีวิตของพระองค์ท่านแต่ประการใดเลย เครื่องไทยทานทิพย์เช่นนั้นจึงมีค่าไม่แตกต่างอะไรจากเครื่องไทยทานธรรมดา ซึ่งมีผู้นำไปบูชาพระพุทธรูปโดยทั่วไป แล้วจะไปเอาหรือได้บุญมหาศาลจากไหน ? และหากหลงผิดคิดว่า ได้บุญมหาศาลเช่นนั้น ก็ยังกลับจะได้ “โมหะ” บาปอกุศลติดตนเป็นของแถมเสียอีก

    จึงขอเจริญพรเพื่อทราบว่า สิ่งที่หล่อเลี้ยงธรรมกายจากสุดหยาบไปจนถึงพระนิพพานที่สุดละเอียดในอายตนะนิพพานถอดกายและอายตนะนิพพานเป็นนั้น มิใช่เครื่องไทยทานอันเป็นอามิสทานของหยาบ ซึ่งจัดเป็นสังขารธรรม (สังขตธาตุ สังขตธรรม) แต่ประการใด หากแต่เป็น “บุญ” ซึ่งได้กลั่นตัวจนแก่กล้าแล้ว เป็นบารมี อุปบารมี ปรมัตถบารมี รัศมี กำลัง ฤทธิ์ อำนาจ (ในการปกครองธาตุธรรม) สิทธิ สิทธิเฉียบขาด ฯลฯ ซึ่งเป็นอสังขตธาตุ อสังขตธรรม คือธาตุล้วนธรรมล้วนไปจนถึงธาตุธรรมที่สุดละเอียดของอายตนะนิพพานเป็น นั้นแล

    ผู้ทำนิโรธดับสมุทัยและเจริญภาวนาวิชชาธรรมกายชั้นสูงอยู่เสมอ เขาทราบเรื่องนี้ดีว่า การทำนิโรธให้แจ้ง และการทำมรรคให้เจริญเท่านั้นจึงเป็นธรรมปฏิบัติที่จะสามารถกำจัดอวิชชา อันเป็นเหตุเป็นปัจจัยของสังขาร-วิญญาณ-นามรูป-ตัณหา-อุปทาน-และภพ-ชาติ-ชรา-มรณะ-ทุกข์ ให้ถึงพระนิพพาน (อสังขตธาตุ อสังขตธรรม) ที่แท้จริงได้

    3.มีปรากฏหลักฐานเอกสารในที่มากแห่งในพระไตรปิฎกว่า บุคคลผู้ทำบุญด้วยใจศรัทธากับพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ขีณาสพผู้มีอาสวะกิเลสสิ้นแล้ว และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในขณะที่ท่านเพิ่งออกจากนิโรธสมาบัติใหม่ๆ นั้น ได้รับผลบุญในปัจจุบันทันตาเห็นมากมาย... นี่ว่าแต่เฉพาะที่ทำบุญกับพระพุทธเจ้าองค์เดียว กับพระอรหันต์จำนวนหนึ่งเท่านั้น... แล้วถ้าทำบุญกับพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ขีณาสพเจ้าเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ซึ่งประทับเข้านิโรธสมาบัติมาโดยตลอดเช่นนั้นได้ถึงจริงละก็ ป่านนี้ผู้ที่ไปร่วมพิธีถวายเครื่องไทยทานทั้งหลายจะมิได้รับผลบุญในปัจจุบัน และกลายเป็นเศรษฐีมหาเศรษฐีทันตาเห็นกันไปหมดหรือแทบจะหมดทุกคน ยิ่งกว่าตัวอย่างของบุคคลผู้ทำบุญ (ทานมัย) กับพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ขีณาสพเจ้าในสมัยพุทธกาล ละหรือ ?

    ท่านลองถามตัวเองดูซิว่า ตั้งแต่มีการทำบุญเช่นนั้นเป็นต้นมา มีใครร่ำรวยเป็นเศรษฐีมหาเศรษฐีขึ้นมาทันตาเห็นบ้าง ? (แม้ผู้ทำบุญไม่ปรารถนาผลบุญเช่นนั้นตอบแทน บุญก็ทำหน้าที่ของเขา เป็นทั้งโลกิยสมบัติและโลกุตตรสมบัติเองอยู่ดีแหละ)

    วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นสถานที่ต้นธาตุต้นธรรมของวิชชาธรรมกาย เขาจึงไม่ได้ทำเช่นนั้น ที่วัดสระเกศ ซึ่งผู้ให้การอบรมพระกัมมัฏฐานผู้เป็นศิษย์ผู้ได้รับการถ่ายทอดวิชชาธรรมกายมา ก็มิได้ทำเช่นนั้น เพราะพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ซึ่งเป็นต้นวิชชาธรรมกายก็มิได้เคยสั่งสอน หรือแนะนำให้ศิษยานุศิษย์คนใดให้ทำเช่นนั้น และท่านก็ไม่เคยรับรองหรืออนุมัติวิชชาถวายเครื่องไทยทาน โดยการถือว่ากลั่นเป็นของทิพย์นำขึ้นถวายพระพุทธเจ้าในอายตนะนิพพาน แล้วมีผลเป็นกุศล มหาศาลยิ่งใหญ่กว่าการทำบุญตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย โดยไม่เคยเว้นแม้เพียงวันเดียว แต่ประการใดเลย



    แต่ถ้าใครอยากทำ ก็ไม่มีใครเขาห้าม และก็เป็นความดีส่วนหนึ่ง เพียงแต่ความจริงมีอยู่ว่า



    1.ไม่ถึงพระพุทธเจ้าในอายตนะนิพพานที่แท้จริง

    2.ไม่ใช่จะได้บุญใหญ่มหาศาลเช่นนั้น และ

    3.ถ้าทำไปเพราะหลงเข้าใจผิดจะได้ “โมหะ” เป็นบาปอกุศลแถมติดตัวติดใจไปด้วยตามส่วน

    4.ใจ “หยุด” ใจ “นิ่ง” ที่ตรงศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมของกาย ทุกกาย สุดหยาบสุดละเอียด ซึ่งตรงกับศูนย์กลางของพระนิพพาน และอายตนะนิพพานนั้นแหละที่ เป็น บุญใหญ่ กุศลใหญ่ จริงๆ

    5.การทำมรรคให้เจริญ และทำนิโรธให้แจ้งอยู่เสมอ (เท่าที่จะทำได้) นั้นแหละ ที่ดับ “สมุทัย” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อวิชชา ซึ่งเป็นเหตุแห่งสังขาร-วิญญาณ-นามรูป-สฬายตนะ-ผัสสะ-เวทนา-ตัณหา-อุปาทาน-ภพ-ชาติ-ชรา-มรณะ-ทุกข์ได้จริง และจะสามารถเข้าถึงธาตุล้วน ธรรมล้วน (อสังขตธาตุ อสังขตธรรม) ของพระพุทธเจ้าต้นธาตุต้นธรรมที่บริสุทธิ์ที่สุดได้ และ ให้สามารถรู้ว่าอะไรคือของปลอม ของจริง ตามที่เป็นจริงได้แล







    (ผู้ถาม: สมาชิกชมรมผู้ปฏิบัติธรรม "ลานโพธิ์" วัดบึงบวรสถิตย์ ชลบุรี ในการอบรมพระกัมมัฏฐานแด่พระสงฆ์ รุ่นที่ 10 พฤษภาคม 2529 ณ สถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย(วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม) อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี)
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,454
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +70,477
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,454
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +70,477
    
    ผู้ที่ฝึก 18 กายเมื่อเห็นจริงแล้ว เป็นพระอริยบุคคล เข้าโลกุตตระ เห็นพระนิพพานตามความหมายของพระพุทธศาสนาแล้วใช่ไหม ? ถ้าไม่ใช่ จะอุปมาการเห็นนั้นให้เข้าใจได้อย่างไร ?

    --------------------------------------------------------------------------------

    ตอบ:


    ถ้าเพียงแต่เข้าถึงรู้เห็นชั่วคราว ชื่อว่าโคตรภูบุคคล เมื่อใดที่จิตจรดอยู่ในความรู้สึกเป็นธรรมกายอยู่ จิตจรดที่ใสละเอียดอยู่ ก็ปราศจากกิเลส ตามระดับของความบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ ที่จิตจรดอยู่อย่างนั้น แต่ขณะใดที่จิตออกจากที่สุดละเอียดของธรรมกาย กิเลสก็สามารถทำอะไรได้ เช่นเดียวกับปุถุชนทั่วไป

    เพราะฉะนั้นกระผมถึงกล่าวเสมอว่า ผู้ที่ถึงธรรมกายแล้วอย่าเหิมเกริม ต้องมีสติพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิต และเห็นธรรมในธรรมอยู่เสมอ อย่างน้อยต้องคอยพิจารณาดูว่า จิตใจเราขุ่นมัวหรือผ่องใส ถ้าขุ่นมัวก็รีบดับหยาบไปหาละเอียดไปสู่สุดละเอียดถึงความเป็นธรรมกายพระอรหัตในพระอรหัตๆ ๆ หรือถึงธรรมกายในเบื้องต้นก็ดีแล้ว นี้เป็นวัตถุประสงค์สำคัญของการเจริญสติปัฏฐาน 4 ไม่ใช่พิจารณาเห็นเฉย ๆ แต่ให้พิจารณาสภาวธรรมทั้งที่เป็นสังขารและวิสังขาร ให้เจริญปัญญารู้แจ้งในสภาวธรรม ให้เห็นแจ้งในอริยสัจ 4 ไปตามระดับภูมิธรรม แล้วดับหยาบไปหาละเอียด ถึงธรรมกายที่สุดละเอียด ถึงพระนิพพาน จิตยึดหน่วงพระนิพพานเป็นอารมณ์ด้วยญาณของธรรมกาย ดำรงอยู่ในที่สุดละเอียดนั้นเสมอ จิตใจก็จะบริสุทธิ์ผ่องใส โลกุตตรธรรมคือมรรคผลนิพพานก็จะปรากฏมีขึ้นได้เสมือนหนึ่งชาวนาที่ทำหน้าที่ของชาวนาดีที่สุด ปลูกข้าวไขน้ำเข้านาใส่ปุ๋ย ถอนวัชพืชศัตรูข้าว ฯลฯเป็นต้นดีแล้ว เมื่อถึงเวลา ข้าวก็ออกรวงเอง นี้เป็นพระพุทธดำรัสของพระพุทธเจ้าเช่นเดียวกัน

    ธาตุธรรมเมื่อแก่กล้า บุญบารมีเต็ม ก็จะสามารถเจริญปัญญารู้แจ้งและกำจัดกิเลสอวิชชา ตัณหา อุปาทาน ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้

    แต่ว่าผู้ปฏิบัติได้ถึงธรรมกายไม่แน่เสมอไปว่าจะเป็นพระอริยบุคคลหรือไม่ เพราะการอธิษฐานจิตบำเพ็ญบารมีไม่เหมือนกัน เช่นบางคนตั้งใจบำเพ็ญบารมีเป็นผู้บรรลุมรรคผลนิพพานในระดับปกติสาวก ก็ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ค่อนข้างจะง่ายกว่าเร็วกว่าผู้ที่บำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์เพราะพระโพธิสัตว์ต้องบำเพ็ญบารมีจนถึงปรมัตถบารมีตามส่วนของท่านแล้ว จึงจะบรรลุมรรคผลนิพพาน และพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณได้

    ถ้าบำเพ็ญบารมีถึงธรรมกายที่ยังไม่ได้บรรลุมรรคผล เป็นพระอริยบุคคล แล้วกลับประมาทขาดสติสัมปชัญญะ ไม่มีศีลสังวรเมื่อใดหรือขาดอินทรีย์สังวร ญาณสังวรก็เป็นอันเสร็จ คือจิตตกต่ำไปด้วยอำนาจของกิเลสได้เหมือนกัน

    เพราะฉะนั้น กระผมจึงกล่าวเสมอ แม้เมื่อเช้านี้ก็กล่าวกับพระให้ท่านรับคำว่า ต่อแต่นี้ไปผู้ถึงธรรมกายแล้วพึงจะมีอินทรีย์สังวร ศีลสังวร ญาณสังวร เพื่อรักษาตนไปจนถึงธาตุธรรมแก่กล้าบุญบารมีเต็ม สามารถตัดสัญโญชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกได้แล้วโดยสิ้นเชิงนั่นแหละจึงวางใจได้

    แต่ว่าท่านผู้ใดถึงธรรมกายแล้วเจริญภาวนาให้เกิดปัญญาแจ้งชัดในสภาวธรรมด้วยสมถะและวิปัสสนา มีกำลังเสมอกัน จิตยึดหน่วงพระนิพพานเป็นอารมณ์

    โลกุตตร มรรคจิต มรรคปัญญา เกิดและเจริญขึ้นให้สามารถตัดสัญโญชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกได้ก็บรรลุมรรค ผล นิพพาน ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้ ข้อนี้ไม่มีประมาณ

    เพราะฉะนั้น ผู้ถึงธรรมกายที่ยังไม่บรรลุโลกุตตรธรรมอาจจะกลับไปเป็นปุถุชนได้ชั่วพริบตาในเพียงไม่กี่ชั่วโมง ไม่กี่นาที ถ้าประมาทขาดสติสัมปชัญญะไม่สำรวมระวังศีลและอินทรีย์ แล้วลุแก่อำนาจของกิเลส โลภะ ราคะ โทสะ โมหะ ตัณหา อุปาทาน

    ส่วนธรรมกายที่บรรลุมรรคผลนิพพานเพราะกำจัดสัญโญชน์ได้หมดโดยเด็ดขาดแล้ว เป็นวิสุทธิขันธ์เป็นวิราคธาตุ วิราคธรรม แล้วย่อมไม่ดับ ไม่มัวหมอง เพราะธาตุธรรมนั้นไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งแล้ว แต่สำหรับผู้ถึงธรรมกายที่ยังตัดสัญโญชน์เบื้องต่ำอย่างน้อย 3 ประการยังไม่ได้ ก็ยังเห็น ๆ หาย ๆยังไม่ใช่ธรรมกายมรรค ผล นิพพานที่บริสุทธิ์แท้ ๆ ยังประกอบด้วยเครื่องปรุงแต่งทั้งธรรมที่เป็นบาปอกุศลและทั้งกุศล มีศีล สมาธิ ปัญญาอยู่ มีส่วนประกอบอยู่ แต่ว่ากุศลธรรมที่บริสุทธิ์ มีมากยิ่งกว่าฝ่ายบาปอกุศล จึงสามารถปฏิบัติธรรมเข้าถึงธรรมกายได้ชั่วขณะที่จิตใจยังบริสุทธิ์ ผ่องใส ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ถึงธรรมกายโคตรภูบุคคล ฯลฯ ได้เป็นต้น

    ธรรมกายที่บรรลุมรรค ผล นิพพานแล้ว คือกำจัดสังโยชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกอย่างน้อย 3 ประการ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสได้แล้ว นั่นแหละแน่นอนไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ไม่ถอยคืนกลับมามีแต่จะเจริญงอกงามจนถึงที่สุด คือ ธรรมกายที่บรรลุอรหัตตผลแล้ว ชื่อว่าพระนิพพาน นั่นแหละเป็นวิสังขารแท้ ๆ เป็นพระนิพพาน เป็นวิราคธาตุ วิราคธรรมแท้ ๆ ไม่ประกอบด้วยปัจจัยอะไร ๆ ปรุงแต่งเลย


    ---------------------------------------------------------------



    ผู้ถึงธรรมกายที่ยังไม่บรรลุโลกุตตรธรรม

    ไม่อาศัยญาณพระธรรมกายเพื่อการตัดสังโยชน์ ชำระกิเลส อาสวะ ฯลฯไปจนดับอวิชชาได้เด็ดขาด อาจจะกลับไปเป็นปุถุชนได้ชั่วพริบตาในเพียงไม่กี่ชั่วโมง ไม่กี่นาที ถ้าประมาทขาดสติสัมปชัญญะไม่สำรวมระวังศีลและอินทรีย์ แล้วลุแก่อำนาจของกิเลส โลภะ ราคะ โทสะ โมหะ ตัณหา อุปาทาน
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,454
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +70,477
    มีผู้สงสัยว่า ...
    การเจริญภาวนาตามแนว "วิชชาธรรมกาย" นี้
    เป็น สมถกรรมฐาน ?
    หรือ วิปัสสนากรรมฐาน ?

    ก็ขอเรียนว่า ...
    ในเบื้องต้น เป็น "สมถะ"

    'เบื้องกลาง'
    การมีสติพิจารณา ...
    กายในกาย
    เวทนาในเวทนา
    จิตในจิต
    และธรรมในธรรม
    เป็นทั้ง "สมถะ และ วิปัสสนา"
    แต่เป็นเพียง 'อนุวิปัสสนา'

    เมื่อถึง "ธรรมกาย"
    แล้วพิจารณาถึง "อริยสัจ ๔"
    และถ้า 'มรรคจิต' เจริญขึ้น
    ปหาน "สัญโญชน์" เครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกได้
    ตอนนี้เป็น "โลกุตตรวิปัสสนา"

    และการเจริญภาวนาในช่วงนี้ มีสภาวะที่เป็นทั้ง
    "สมถะ และ วิปัสสนากรรมฐาน" คู่กัน
    มีนิโรธ เป็นโคจร
    อันนี้ก็มีอยู่ใน "พระไตรปิฏก"

    * พระเทพญาณมงคล (เสริมชัย ชยมงฺคโล)
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุ



    [​IMG]
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,454
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +70,477
    เวลาที่พวกเราเจริญภาวนา หรือปฏิบัติธรรม
    เวลาที่ครูอาจารย์แสดงธรรม
    ตามพระสัทธรรมของพระพุทธเจ้าที่ตรัสไว้ดีแล้ว
    และเวลาที่พระกระทำอนุโมทนา
    หรือ "แผ่เมตตาอุทิศส่วนกุศล"
    สำหรับผู้ถึง “ธรรมกาย”
    ให้ท่านขยายข่ายของ “ญาณ”
    แล้วให้ท่านสังเกตดูจะเห็นว่า ...
    “เทวดา” โดยรอบมีเท่าไหร่ที่เขามา "อนุโมทนา"
    “เทวดา” นี่แหละ
    เขาก็ "อนุโมทนาบุญ" กับมนุษย์
    หรือคณะบุคคลที่ทำความดี
    แล้วก็ 'ติดตามรักษา' ผู้ประพฤติปฏิบัติธรรมด้วย
    ... อย่าสงสัยเลย !




    * พระเทพญาณมงคล (เสริมชัย ชยมงฺคโล)
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี




    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 กรกฎาคม 2016
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,454
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +70,477
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,454
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +70,477
    เจริญสมาบัติ เพื่อให้สภาวะจิตใจเหมาะสม แล้วพิจารณาอริยสัจจ์

    การปฏิบัติธรรม อย่าคิดว่าเป็นของทำได้ง่าย

    ต้องมีปณิธานมั่นคงและทำจริง ธรรมจะไม่ปรากฏแก่บุคคล

    เพียงแต่ใช้คำพูด เพียงคิดนึก
    -------------------------------------




    วิธีเดินสมาบัติในวิชชาธรรมกายอาจทำได้สองวิธี


    วิธีแรกเป็นวิธีสำหรับผู้มีสมาธิแก่กล้า เมื่อได้ปฐมฌาน

    แล้ว ก็อธิษฐานจิตให้ได้ฌานที่ละเอียดกว่าขึ้นไป แล้วย้อนลง

    มา



    อีกวิธีหนึ่ง

    เริ่มด้วยการดูดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ หรือ ปฐมมรรค
    ที่ศูนย์กลางกายมนุษย์ ให้เห็นเป็นดวงใส
    แล้วขยายให้กว้างออกไป วัดเส้นผ่าศูนย์กลางด้วยฌาน

    ได้ 2 วา หนา 1 คืบ วัดโดยรอบ 6 วา สัณฐานกลมใส

    เหมือนกระจกส่องหน้า นี่เป็นปฐมฌาน



    แล้วธรรมกายนั่งบนนั้น ดังนี้เรียกว่าธรรมกายเข้าปฐมฌาน ล้วเอาตาธรรมกายที่

    นั่งบนฌานนั้น เพ่งดูดวงธรรมที่ศูนย์กลางกายทิพย์ ให้เห็นเป็น

    ดวงใส แล้วขยายส่วนให้เท่ากัน นี่เป็นทุติยฌาน เอา

    ธรรมกายน้อมเข้าฌานที่ได้จากศูนย์กลางกายรูปพรหม และ

    อรูปพรหม จะได้ตติยฌานและจตุตถฌานตามลำดับ แล้วเอา

    ธรรมกายเข้าฌาน คือ นั่งอยู่บนฌานนั้น เหล่านี้เป็นรูปฌาน

    ต่อจากนี้ไป ให้ใจธรรมกายน้อมไปในเหตุว่าง หรือ ตรงกลาง

    ของปฐมฌาน จะเห็นเป็นดวงใสเท่าจตุตถฌาน ธรรมกายก็นั่ง

    บนดวงนั้น เมื่อธรรมกายนั่งอยู่บนอากาสานัญจายตนฌานดัง

    นี้แล้ว ใจธรรมกายน้อมไปในรู้ ในเหตุว่างของ ทุติยฌาน

    อากาสานัญจายตนฌานก็จางหายไป เกิด วิญญาณัญจา

    ยตนฌาน ธรรมกายนั่งอยู่บนวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ใจ

    ธรรมกายน้อมไปในรู้ละเอียด ในเหตุ ว่างของ ตติยฌาน วิญ

    ญาณัญจายตนฌานก็จางหายไป เกิดอากิญจัญญายตนฌาน

    ธรรมกายนิ่งอยู่บนอากิญจัญญายตนฌานนั้น ใจธรรมกายน้อม

    ไปใน รู้ก็ใช่ ไม่รู้ก็ใช่ ในเหตุว่างของจตุตถฌาน อา

    กิญจัญญายตฌานก็จางหายไป เกิดเนวสัญญานาสัญญายตน

    ฌานขึ้นมาแทน ขณะนี้ จะมีฌานรู้สึกว่าละเอียดจริง ประณีต

    จริง เอา ธรรมกายนั่งอยู่บนเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน

    นั้น ถ้าเข้าฌานตั้งแต่ 1 ถึง 8 เรียกว่า อนุโลม การเดิน

    ฌานในวิชชาธรรมกาย กระทำได้ง่ายกว่าที่เข้าใจกันโดยทั่ว

    ไปมากนัก



    อันที่จริงนั้น เมื่อเห็นปฏิจจสมุปบาทธรรมแล้ว ย่อม

    ถือได้ว่า ได้เห็นอริยสัจ 4 ด้วย


    แต่ในด้านการปฏิบัติ เราจะต้องเดินฌานแทงตลอดอริยสัจ 4 ทุกระยะ
    มิฉะนั้นแล้ว วิปัสสนาญาณจะไม่เกิดขึ้น
    ดวงอริยสัจ 4 นี้ ซ้อนอยู่ที่ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั้นเอง



    ดวงอริยสัจชั้นแรกมี 4 ดวง เป็นดวงเกิด แก่ เจ็บ ตาย

    ซึ่งรวมเรียกว่าทุกข์ มีขนาดอย่างใหญ่เท่าดวงจันทร์ ขนาดเล็ก

    เท่าไข่แดงของไก่



    -ดวงเกิด มีสีขาวใส

    -ดวงแก่ มีสีดำแต่ไม่ใส ถ้าดวงยังเล็กก็เริ่มแก่ ถ้า

    ใหญ่ก็แก่มาก

    -ดวงเจ็บ สีดำเข้มยิ่งกว่าดวงแก่ ถ้าดวงเจ็บมาจรด

    เข้าในศูนย์กลางดวงแก่ ผู้นั้นจะเจ็บไข้ได้ป่วยทันที

    -ดวงตาย เป็นสีดำใสประดุจนิลทีเดียว ดวงตายนี้ถ้า

    มาจรดตรงกลางดวงเจ็บ แล้วมาจรดตรงหัวต่อของกายมนุษย์

    กับกายทิพย์ พอมาจรดเข้าเท่านั้น หัวต่อของกายมนุษย์กับ

    กายทิพย์ก็จะขาดจากกัน เมื่อใดกายมนุษย์ไม่ต่อเนื่องกับกาย

    ทิพย์ เมื่อนั้นกายมนุษย์ก็ตายทันที



    ดวงเกิด แก่ เจ็บ ตายของแต่ละคนไม่เท่ากัน

    อย่างเล็กขนาดไข่แดงของไก่ขนาดกลาง อย่างใหญ่เท่าดวง

    พระจันทร์ ทั้งนี้แล้วแต่ว่าเกิดมามีบุญบาปติดตัวมามากน้อย

    เท่าใด แก่เจ็บจวนจะตายเร็วช้ากว่ากันเท่าใด



    ดวงอริยสัจชั้นที่สองมี 3 ดวง รวมเรียกว่า ดวง

    สมุทัย มีขนาดอย่างใหญ่เท่าดวงจันทร์ อย่างเล็กเท่าเมล็ด

    โพธิ์เมล็ดไทร ดวงแรกสีดำเข้ม ดวงต่อไปมีความ

    ละเอียด และเข้มมากขึ้น ดวงทั้ง 3 ดวงนี้ คือ ดวงกาม

    ตัณหา ดวงภวตัณหา และดวงวิภวตัณหา



    ขั้นต่อไป เป็นดวงกลมใหญ่ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์

    กลางวัดด้วยญาณได้ 5 วา มีสีขาวใสเรียกว่า ดวงนิโรธ

    เมื่อเข้าถึงดวงนิโรธ ความใสสว่างของนิโรธจะดับ ดวง

    สมุทัย ให้หายวับไป เสมือนแสงตะวัน ขจัดความมืดให้มลาย

    ไปฉะนั้น



    ขั้นต่อไป เป็น ดวงมรรค มีอยู่ 3 ดวง เป็นดวงศีล

    ดวงหนึ่ง สมาธิดวงหนึ่ง ปัญญาดวงหนึ่ง แต่ละดวงมีขนาด

    5 วา มีสัณฐานกลม ใสบริสุทธิ์ยิ่งนัก



    การแทงตลอดอริยสัจ ทำให้มีปัญญารู้ญาณ 3 ญาณ คือ



    มีปัญญารู้ว่า การเกิด แก่ เจ็บ ตายนี้ ไม่เที่ยง ไม่แน่

    นอนจริง รู้ว่าสมุทัยทำให้ทุกข์เกิดจริง นิโรธสามารถดับทุกข์

    ได้จริง มรรคเป็นทางหลุดพ้นได้จริง เรียกว่า สัจจญาณ



    มีปัญญารู้ว่า การเกิด แก่ เจ็บ ตาย นี้เป็นทุกข์จริง

    เป็นสิ่งควรรู้ รู้ว่าสมุทัยเป็นสิ่งควรละ รู้ว่านิโรธเป็นสิ่งที่ควร

    ทำให้แจ้ง และ รู้ว่ามรรคเป็นทางที่ควรเจริญ เรียกว่า กิจจญาณ



    มีปัญญารู้ว่า ได้รู้ทุกข์ชัดเจนแล้ว ละสมุทัยได้ขาด

    แล้ว สามารถทำนิโรธให้แจ้งได้แล้ว และสามารถทำมรรคให้

    เจริญได้แล้ว เรียกว่า กตญาณ



    สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ ตามที่เขียน

    อย่างข้างบนนี้ เขียนเพื่อให้อ่านเข้าใจได้ง่าย ในด้านการ

    ปฏิบัติจริงๆ เมื่อปฏิบัติถึงดวงทุกข์ก็จะกำหนด รู้ทุกข์ทั้งในแง่

    สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ เมื่อถึงสมุทัย นิโรธ

    มรรค ก็จะกำหนดรู้ได้เช่นเดียวกัน



    ญาณทั้งสามนี้เป็นปัญญาที่ผุดขึ้นมาเอง ในระหว่าง

    การปฏิบัติ ไม่ได้เป็นวิปัสสนึก เป็นปัญญาที่ทำให้รู้ว่าสัจ

    จธรรมนั้นมีจริง ถ้าเพียรปฏิบัติอย่างถูกทางไม่ท้อถอยก็จะพ้น

    จากทุกข์ได้ ญาณทั้งสามกลุ่มรวม 12 ญาณของอริยสัจ

    (4x3=12) ในตอนนี้ เปรียบเหมือนจอบเสียมที่นำมาใช้ใน

    การขุดพื้นดิน เพื่อกระแสธารปัญญาจะสามารถไหลไปสู่ นิพพิ

    ทาญาณ ที่นั้น ฐานทั้ง 12 ญาณของอริยสัจ จะวิวัฒนาการ

    เป็น ปฏิจจสมุปบาทธรรม 12 (โปรดดูปฏิสัมภิทามัคค์ มหา

    วรรคญาณกถา ข้อ 10 ถึงข้อ 29 ) ทำให้สามารถกำหนดรู้

    อนิจจัง และ สมุทัย ซึ่งเป็นต้นทางให้กำหนดรู้ อริยสัจ และ

    พระไตรลักษณ์ขั้นละเอียด ซึ่งเป็นธรรมาวุธ อันคมกล้า

    ประหารสังโยชน์พินาศไปในพริบตา



    ญาณทั้งสามกลุ่ม คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และกตญาณ หรืออริยสัจ 12 นี้
    จะเห็นและกำหนดรู้ได้ ก็โดยการปฏิบัติทางเจโตสมาธิประการหนึ่ง หรือวิชชาธรรมกาย
    ประการหนึ่งเท่านั้น



    (ในพระไตรปิฎกมีระบุอย่างชัดแจ้งไว้ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

    ปฐมเทศนา พระวินัยปิฎกข้อ 15 และ 16 ว่า เป็นญาณทัสสนะ มีรอบ 3 มีอาการ 12)



    ผู้ที่ปฏิบัติวิปัสสนาแบบไตรลักษณ์ ที่เคยปฏิบัติสมถะมาก่อน กำหนดรู้ญาณทั้งสามนี้ได้
    เมื่ออุทยัพพยญาณเกิด จะต้องแทงตลอดอริยสัจขั้นหยาบนี้ก่อน ภังคญาณจึงจะเกิด
    ตามมา
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,454
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +70,477
    พระพุทธดำรัสว่าด้วยปฏิจจสมุปบาท

    สมัยหนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐี พระนครสาวัตถี ได้ตรัส
    “ปฏิจจสมุปบาทธรรม” คือ ธรรมอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น ๑๒ ประการ ดังต่อไปนี้

    (ม.มู.๑๒/๔๔๘, ๔๕๐/๔๘๒-๔๘๓, ๔๘๕)


    ตรัสนัยอันเป็นปัจจัยเกิด และ ดับ
    ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กล่าวนั้น ถูกละ พวกเธอกล่าวอย่างนั้น แม้เราก็กล่าวอย่างนั้น

    เมื่อมีสิ่งนี้ สิ่งนี้ก็มี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้ก็เกิดขึ้น คือ

    เพราะ อวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี

    เพราะ สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี

    เพราะ วิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี

    เพราะ นามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี

    เพราะ สฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี

    เพราะ ผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี

    เพราะ เวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี

    เพราะ ตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี

    เพราะ อุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี

    เพราะ ภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี

    เพราะ ชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงมี

    ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้
    เพราะ อวิชชาดับหมดมิได้เหลือ
    สังขารก็ดับ

    เพราะ สังขารดับ วิญญาณจึงดับ

    เพราะ วิญญาณดับ นามรูปจึงดับ

    เพราะ นามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ

    เพราะ สฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ

    เพราะ ผัสสะดับ เวทนาจึงดับ

    เพราะ เวทนาดับ ตัณหาจึงดับ

    เพราะ ตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ

    เพราะ อุปาทานดับ ภพจึงดับ

    เพราะ ภพดับ ชาติจึงดับ

    เพราะ ชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงดับ

    ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้

    ตรัสนัยแห่งความดับ
    ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กล่าวนั้น ถูกละ พวกเธอกล่าวอย่างนั้น แม้เราก็กล่าวอย่างนั้น

    เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ คือ
    เพราะ อวิชชาดับ สังขารจึงดับ

    เพราะ สังขารดับ วิญญาณจึงดับ

    เพราะ วิญญาณดับ นามรูปจึงดับ

    เพราะ นามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ

    เพราะ สฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ

    เพราะ ผัสสะดับ เวทนาจึงดับ

    เพราะ เวทนาดับ ตัณหาจึงดับ

    เพราะ ตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ

    เพราะ อุปาทานดับ ภพจึงดับ

    เพราะ ภพดับ ชาติจึงดับ

    เพราะ ชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงดับ

    ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้




    -------------------------------------------------------------------------


    วิธีเจริญภาวนาพิจารณาปฏิจจสมุปบาทธรรม ๑๒ ที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ท่านสอนไว้ มีความว่าดังนี้
    “ที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาทธรรมนั้น หมายถึงธรรมที่เกี่ยวเนื่องกันเป็นลูกโซ่ เป็นปัจจัยติดต่อกันไม่ขาดสาย คือ อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส” (พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร), วิชชามรรคผลพิสดาร เล่มที่ ๑: หจก.พริ้นติ้ง (ไทยแลนด์), พ.ศ.๒๕๒๘, หน้า ๓๗-๓๘.)

    มีวิธีเจริญภาวนาพิจารณาเห็นได้ดังต่อไปนี้
    ขณะเมื่อพระโยคาวจรเจริญฌานสมาบัติ พิจารณาอริยสัจ ๔ ซึ่งเป็นไปในญาณทัสสนะ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อยู่นั้น ย่อมจะสามารถพัฒนาไปเป็นปฏิจจสมุปบาทธรรม ๑๒ ได้ กล่าวคือ ในขณะที่พิจารณาเห็นทุกขอริยสัจ สมุทัยอริยสัจ ในกายมนุษย์ ทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหม ทั้งหยาบและละเอียดอยู่นั้น หากเพ่งพิจารณาด้วย “ตา” หรือ “ญาณ” พระธรรมกาย ลงไปที่กลางทุกขสมุทัยอริยสัจ ก็จะเห็นว่า
    “อวิชชา มีลักษณะสัณฐานกลม สีดำขุ่นมัว ไม่ผ่องใส เล็กประมาณเท่าเมล็ดโพธิ์หรือเมล็ดไทร เป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร

    สังขาร มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของอวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ

    วิญญาณ มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของสังขาร เป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป

    นามรูป มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของวิญญาณ เป็นปัจจัยให้เกิดสฬายตนะ

    สฬายตนะ มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของนามรูป เป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ

    ผัสสะ มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของสฬายตนะ เป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา

    เวทนา มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของผัสสะ เป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา

    ตัณหา มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของเวทนา เป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน

    อุปาทาน มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของตัณหา เป็นปัจจัยให้เกิดภพ

    ภพ มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของอุปาทาน เป็นปัจจัยให้เกิดชาติ

    ชาติ มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของภพ เป็นปัจจัยให้เกิดชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ อุปายาส
    ธรรมเหล่านี้เกิดขึ้นเกี่ยวเนื่องกัน ประสานติดต่อกันเป็นปัจจัย อุดหนุนกันไม่ขาดสาย เหมือนลูกโซ่ จึงเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท เกิดขึ้นเพราะเป็นปัจจัยติดต่ออาศัยซึ่งกันและกันเกิด เมื่อจะดับธรรมเหล่านี้ ก็ต้องดับเบื้องต้น คือ อวิชชาดับมาก่อน แล้วธรรมอื่นๆ ก็ดับมาเป็นลำดับจนถึงเบื้องปลาย คือ ชาติดับ แต่นั่นธรรมเหล่านี้จึงจะดับขาดสายไปทุกประการ” (อ้างแล้ว. หน้า ๓๘-๓๙)

    อนึ่ง ในปฏิจจสมุปบาทธรรมแต่ละดวงนี้ ก็มีเห็น จำ คิด รู้ เจืออยู่ด้วยทุกดวง และดังที่จะได้แนะนำวิธีพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา และ จิตในจิต โดยละเอียดในลำดับต่อๆ ไปว่า ใน เห็น จำ คิด รู้ ก็มี “อนุสัย” ได้แก่ ปฏิฆานุสัย กามราคานุสัย และ อวิชชานุสัย หุ้มซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อวิชชานุสัยนั้น หุ้มซ้อนดวงรู้ของกายโลกิยะทั้ง ๘ อยู่ แต่หยาบละเอียดกว่ากันไปตามความหยาบละเอียดของกายเข้าไป เห็น จำ คิด รู้ ของกายโลกิยะทั้ง ๘ จึงไม่ขยายโตเต็มส่วนเหมือนธรรมกาย
    ต่อเมื่อเจริญภาวนาถึงธรรมกายแล้ว อนุสัยกิเลสทั้งหลาย จึงถูกถอดออกเป็นชั้นๆ จนกระทั่งหมดไปเมื่อถึงธรรมกาย อวิชชาเครื่องหุ้มรู้ เมื่อถูกถอดมาถึงกายธรรม จึงกลับเป็นวิชชา ให้รู้แจ้งเห็นจริงในสัจจธรรมขึ้นมาทันที วิชชาเครื่องหุ้มนั้นก็ใสละเอียดสะอาดบริสุทธิ์ และดวงรู้ก็เบิกบานขยายโตเต็มส่วน มีขนาดวัดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับหน้าตักและความสูงของพระธรรมกาย และ กลับเป็นญาณรัตนะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นอาสวักขยญาณคือความหยั่งรู้วิธีทำอาสวะให้สิ้นเชื้อไม่เหลือเศษ ได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน ตามคุณธรรมที่ปฏิบัติได้ต่อไป
    จึงเห็นแจ้งด้วยตาพระธรรมกายว่า ปฏิจจสมุปบาทธรรมนั้นคงมีอยู่แต่เฉพาะในกายโลกิยะทั้ง 8 เท่านั้น หาได้มีในพระธรรมกายด้วยไม่ และรู้แจ้งแทงตลอดในพระไตรลักษณ์ส่วนละเอียดด้วยญาณพระธรรมกายว่า กายโลกิยะทั้ง 8 นั้นเอง ที่ต้องตกอยู่ในอาณัติแห่งพระไตรลักษณ์ คือ ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา เพราะมีอวิชชาเป็นรากเหง้าแห่งกิเลส ตัณหา อุปาทาน อันเป็นเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง ถ้าดับอวิชชาได้ ทุกข์ก็ดับหมด หรือส่วนหนึ่งส่วนใดดับหรือขาดลง ทุกข์ก็ดับ เพราะความเป็นเหตุและผลของทุกข์ ที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาทธรรม” นั้นขาดหมดตลอดทั้งสาย
    เมื่อเห็นแจ้ง รู้แจ้ง ด้วยตา และ ญาณพระธรรมกายว่า กายโลกิยะทั้ง ๘ นั้น ตกอยู่ในอาณัติแห่งพระไตรลักษณ์อย่างไรแล้ว ก็ย่อมเห็นแจ้งด้วยตาพระธรรมกาย และ รู้แจ้งด้วยญาณพระธรรมกาย ว่า พระธรรมกายมรรค ผล นิพพาน ชื่อว่า “พระนิพพานธาตุ” อันพระอริยเจ้า พระอรหันตเจ้าท่านได้บรรลุแล้ว ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งนี้เอง ที่กลับเป็นกาย นิจฺจํ สุขํ และ อตฺตา (แท้) ที่วิมุตติหลุดพ้น หรือ ว่าง (สูญ) จากกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ที่ว่างจากอัตตาโลกิยะและสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตาโลกิยะนั้น หรือที่ว่างจากสังขาร จึงชื่อว่า “ว่างอย่างยิ่ง-ปรมํ สุญฺญํ” ด้วยประการฉะนี้
    ที่กล่าวข้างต้นนี้ เป็นวิธีพิจารณาปฏิจจสมุปบาทธรรม ในส่วนที่เป็นธาตุละเอียด ที่ตั้งซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ กัน เข้าไปข้างใน ถัดจากธาตุละเอียดของอริยสัจ ๔ ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม
    สำหรับผู้ปฏิบัติภาวนาที่ได้ถึงธรรมกายแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และ ธรรมในธรรม ทั้งของตนเองและของผู้อื่น และทั้ง ณ ภายนอก (ส่วนหยาบ) และ ณ ภายใน (ส่วนละเอียด) จากสุดหยาบ (กายมนุษย์) ไปถึงสุดกายละเอียด
    โดยความเป็นธรรมอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น (ปฏิจจสมุปบาทธรรม ๑๒) และ ดับไป เป็นปัจจุบันธรรม ได้ ดังเช่นต่อไปนี้
    สำหรับผู้ปฏิบัติได้ถึงธรรมกายที่เจริญฌานสมาบัติให้จิตสงัดจากกิเลสนิวรณ์เครื่องกั้นปัญญา และทำนิโรธ (ไม่ใช่นิโรธสมาบัติ) ดับสมุทัยคือปหานอกุศลจิตของกายในภพ ๓ มีสติสัมปชัญญะ มีศีลสังวรและอินทรีย์สังวรอยู่เสมอ ย่อมสามารถพิจารณาเห็นเป็นปัจจุบันธรรม ทั้งที่ยังเป็นๆ อยู่ ตามสายปฏิจจสมุปบาทธรรม ดังต่อไปนี้
    กายมนุษย์ละเอียด ซึ่ง เป็นกาย ณ ภายใน ของผู้ที่ปฏิบัติกายทุจจริต วจีทุจจริต มโนทุจจริต ซอมซ่อ เศร้าหมอง ไม่ผ่องใส พลอยให้กายมนุษย์หยาบ อันเป็นกาย ณ ภายนอก เศร้าหมองด้วย
    ย่อมเห็น เวทนาในเวทนา และ จิตในจิต ทั้ง ณ ภายนอก และ ทั้ง ณ ภายใน คือ ดวงเห็น-จำ-คิด-รู้ ของกายมนุษย์หยาบ และ ของกายมนุษย์ละเอียด เศร้าหมอง ไม่ผ่องใส และ
    ย่อมเห็น ธรรมในธรรม อันมี “ดวงธรรม” ที่ทำให้เป็นกาย ๑ “ดวงศีล” ๑ ธาตุละเอียดของ “ทุกขสัจ” ๑ “สมุทัย” (ตัณหา) ๑ และ ภพภูมิ (ตามสายปฏิจจสมุปบาทธรรม) ๑ อันมี เห็น-จำ-คิด-รู้ คือ “ใจ” ซ้อนอยู่ตรงกลางของกลางดวงธรรมในธรรมดังกล่าวทุกดวง มัวหมอง ไม่ผ่องใส เป็น “ทุคคติภพ” พลอยให้การดำเนินชีวิตของผู้นั้นเป็นไปไม่ดี คือ เป็น “ทุกข์” ไม่เป็น “สันติสุข” และ
    ย่อมสามารถพิจารณาเห็น กายมนุษย์ละเอียด ซึ่งเป็นกายในกาย ณ ภายใน ของผู้งดเว้น คือ ไม่ประกอบกายทุจจริต วจีทุจจริต และ มโนทุจจริต เป็นผู้มีศีลมีธรรม ประกอบด้วยทานกุศล ศีลกุศล ภาวนากุศล เป็นต้น ผ่องใส ตามระดับภูมิธรรม เช่น
    ผู้ทรงคุณธรรมในระดับ “มนุษยธรรม” กายมนุษย์ละเอียดก็ปรากฏผ่องใส
    ผู้ทรงคุณธรรมในระดับ “เทวธรรม” คือประกอบด้วยหิริ โอตตัปปะ กายทิพย์ก็ปรากฏผ่องใส
    ผู้ทรงคุณธรรมในระดับ “พรหมธรรม” คือประกอบด้วยพรหมวิหารธรรม และรูปฌาน/อรูปฌาน กายรูปพรหม/อรูปพรหม ก็ปรากฏผ่องใส
    ผู้ทรงคุณธรรมในระดับ “พุทธธรรม” ตั้งแต่โคตรภูจิตขึ้นไป “ธรรมกาย” ก็ปรากฏผ่องใสตามระดับภูมิจิต
    ธรรมในธรรมของผู้นั้น รวมทั้งเวทนาในเวทนา และ จิตในจิต ทั้ง ณ ภายนอก (ส่วนหยาบ) และ ทั้ง ณ ภายใน (ส่วนละเอียด) ของผู้นั้น ย่อมบริสุทธิ์ผ่องใส และ มีรัศมีปรากฏ เป็นสุคติภพ (ภูมิจิต) และสูงขึ้นไปเป็นโลกุตตรภูมิ ตามระดับภูมิธรรมและบุญบารมีของแต่ละท่าน
    พลอยให้การดำเนินชีวิตของท่านผู้นั้นเป็นไปด้วยดี มี “สันติสุข”
    แต่มีข้อพึงสังเกตว่า ผู้มีภูมิจิตสูงกว่า ย่อมสามารถเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม เป็น ณ ภายใน ของผู้มีภูมิจิตต่ำกว่าได้ชัดเจน
    โดยนัยนี้ จึงกล่าวได้ว่า การเจริญสมถวิปัสสนาภาวนาถึงธรรมกาย ที่ พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ท่านปฏิบัติ และได้สั่งสอนไว้ จึงมีสติปัฏฐาน ๔ คือ การมีสติพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ทั้ง ณ ภายนอก (ส่วนหยาบ) และ ทั้ง ณ ภายใน (ส่วนละเอียด) อย่างครบถ้วน อยู่ในตัวพร้อมเสร็จ ด้วยประการฉะนี้
    __________________
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,454
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +70,477
    รายละเอียดที่บุคคลควรทราบเกี่ยวกับเรื่องกรรม
    -บาลี ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๕๘/๓๓๔.
    ภิกษุทั้งหลาย ! กรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, นิทานสัมภวะแห่งกรรมเป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, เวมัตตตาแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, วิบากแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, กัมมนิโรธ เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ
    คำที่เรากล่าวแล้วดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวเล่า ?
    ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวซึ่งเจตนาว่าเป็นกรรม เพราะว่าบุคคลเจตนาแล้ว ย่อมกระทำซึ่งกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ
    ภิกษุทั้งหลาย ! นิทานสัมภวะ (เหตุเป็นแดนเกิดพร้อม) แห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุทั้งหลาย ! นิทานสัมภวะแห่งกรรมทั้งหลาย คือ ผัสสะ
    ภิกษุทั้งหลาย ! เวมัตตตา (ความมีประมาณต่างๆ) แห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในนรกมีอยู่ , กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในกำเนิดเดรัจฉานมีอยู่ , กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในเปรตวิสัยมีอยู่ , กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในมนุษย์โลกมีอยู่ , กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในเทวโลกมีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรากล่าวว่า เวมัตตตาแห่งกรรมทั้งหลาย
    ภิกษุทั้งหลาย ! วิบาก (ผลแห่งการกระทำ) แห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าววิบากแห่งกรรมทั้งหลายว่ามีอยู่ ๓ อย่าง คือ วิบากในทิฏฐธรรม (คือทันควัน) หรือว่า วิบากในอุปปัชชะ (คือในเวลาต่อมา) หรือว่า วิบากในอปรปริยายะ (คือในเวลาต่อมาอีก) ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรากล่าวว่า วิบากแห่งกรรมทั้งหลาย
    ภิกษุทั้งหลาย ! กัมมนิโรธ (ความดับไม่เหลือแห่งกรรม) เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ความดับแห่งกรรมทั้งหลาย ย่อมมีเพราะความดับแห่งผัสสะ
    ภิกษุทั้งหลาย ! กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งกรรม) เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! อริยอัฏฐังคิกมรรค (อริยมรรคมีองค์แปด) นี้นั่นเอง คือ กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา ;
    ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ :-
    สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) , สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ) , สัมมาวาจา (การพูดจาชอบ) , สัมมากัมมันตะ (การทำการงานชอบ) , สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตชอบ) , สัมมาวายามะ (ความพากเพียรชอบ), สัมมาสติ (ความระลึกชอบ) , สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ)
    ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อใดอริยสาวก ย่อมรู้ชัดซึ่งกรรม อย่างนี้ , รู้ชัดซึ่ง นิทานสัมภวะแห่งกรรม อย่างนี้ , รู้ชัดซึ่ง เวมัตตตาแห่งกรรม อย่างนี้ , รู้ชัดซึ่ง วิบากแห่งกรรม อย่างนี้ , รู้ชัดซึ่ง กัมมนิโรธ อย่างนี้ , รู้ชัดซึ่ง กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา อย่างนี้
    อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดซึ่งพรหมจรรย์นี้ ว่าเป็นเครื่องเจาะแทงกิเลส เป็นที่ดับไม่เหลือแห่งกรรม.
    ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า
    “กรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ , นิทานสัมภวะแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ , เวมัตตตาแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ , วิบากแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ , กัมมนิโรธ เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ , กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ” ดังนี้นั้น เราอาศัยความข้อนี้กล่าวแล้ว
    พุทธวจน-หมวดธรรม เล่มที่ ๕ พุทธวจน แก้กรรม หน้าที่ ๒



    [​IMG]
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...