ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,711
    ค่าพลัง:
    +97,150
    หน้ากากช่วยลดเชื้อ coronavirus ในละอองฝอยและจากการไอจามได้จริง

    ประเด็นการใส่หน้ากาก ช่วยหรือไม่ช่วยในการป้องกัน COVID-19 ถกเถียงกันมาตลอด ทั้งฝ่ายสนับสนุนที่แสดงข้อมูลว่าละอองฝอย (droplets) กระจายออกมาจากปากเราเท่าไหร่ และไปได้ไกลขนาดไหน แถมยังยกข้อมูลผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศแถบเอเชียที่ใส่หน้ากากกันแพร่หลายว่าต่ำกว่ายุโรปและอเมริกามาก ในขณะที่ฝ่ายคัดค้าน ยกคำแนะนำของ WHO ว่าไม่มีหลักฐานสนับสนุนใด ๆ ว่าหน้ากากช่วยป้องกันอะไรได้ แถมหน้ากากทั่วไปที่ใช้กัน (surgical mask) ไม่ได้ออกแบบมาให้กันไวรัสที่มีขนาดเล็กได้

    ผลงานวิจัยตีพิมพ์แบบ Brief Communication ใน Nature Medicine วันนี้เอง นักวิจัยจาก University of Hong Kong ทำการศึกษากลุ่มผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจที่พบบ่อย ๆ ได้แก่ หวัด และไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเกิดจากเชื้อก่อโรคหลายชนิด ทั้ง rhinovirus, influenza virus และไวรัสอีกหลายร้อยชนิด และสาเหตุหนึ่งในนั้นคือ coronavirus ตระกูลที่ก่อให้เกิดไข้หวัดธรรมดา ได้แก่ NL63, OC43, HKU1

    ทีมนักวิจัยทำ randomized study ในกลุ่มผู้ป่วยไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ 246 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ครึ่งหนึ่งใส่ surgical mask อีกครึ่งหนึ่งไม่ต้องใส่ จากนั้นทำการเก็บตัวอย่างไปตรวจเชื้อไวรัส ทั้งการเก็บ nasal swab, throat swab และลมหายใจออกจากผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม ในกลุ่มที่ใส่ surgical mask มีการเก็บลมหายใจทั้งก่อนและหลังใส่

    ในผู้ป่วย 246 รายนี้ เขาสามารถ identify ไวรัสได้จาก RT-PCR เพียง 123 ราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็น coronavirus (n=17), influenza virus (n=43) และ rhinovirus (n=54)

    ผลการตรวจไวรัสจาก samples ที่เก็บมาในลักษณะต่าง ๆ กันพบว่า viral shedding มีปริมาณสูงสุดจาก nasal swab ตามด้วย throat swab และลมหายใจตามลำดับ โดยลมหายใจจากผู้ป่วยขณะที่ไม่ได้ใส่หน้ากากนั้น ตรวจพบ viral RNA ใน droplets (particle size เกิน 5 micron) ราว 26-30% ของผู้ป่วยทั้งหมด แต่ตรวจพบ viral RNA ใน aerosols (particle size น้อยกว่า 5 micron) สูงกว่าคือ 35-56% ของผู้ป่วย

    ที่น่าสนใจคือ เมื่อเอาลมหายใจของผู้ป่วยที่ใส่หน้ากากมาวิเคราะห์ ‼️นักวิจัยตรวจไม่พบ viral RNA ของ coronavirus เลย ทั้งในส่วน droplets และ aerosols‼️ ในขณะที่ influenza virus ตรวจพบใน droplets เพียงรายเดียว แต่ยังพบได้พอสมควรใน aerosols และสำหรับ rhinovirus ยังตรวจพบได้ทั้งใน droplets และ aerosols แม้ว่าปริมาณจะต่ำกว่า

    แม้ว่าการศึกษานี้จะมี sample size เล็ก และปริมาณ corona viral RNA ที่ตรวจได้ใน droplets และ aerosols จะมีน้อย แถมยังไม่ใช่ SARS-CoV-2 แต่ข้อมูลนี้น่าจะช่วยสนับสนุนประโยชน์ของการใส่หน้ากากเพื่อลดการแพร่เชื้อได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่มีผู้ติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการสูงได้ถึง 86% การใส่หน้ากากน่าจะมีประโยชน์มากกว่าโทษครับ (ไม่นับว่าหายาก แถมราคาแพงเว่อ)

    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nature.com/articles/s41591-020-0843-2

    COVID Series


     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,711
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ทำไมเราต้องรออีกเป็นปีกว่าจะมี vaccine สำหรับ COVID-19

    วิธีที่ได้ผลดีที่สุดในการป้องกันการระบาดของ coronavirus หรือเชื้อโรคใด ๆ ก็ตาม คือการที่เราสร้างภูมิคุ้มกันให้กับประชาชนเป็นวงกว้างได้

    ในอดีตโรคระบาดใด ๆ ก็ตามมักสงบไปเองในที่สุด ซึ่งเป็นผลจากการที่คนส่วนใหญ่ในชุมชนติดเชื้อ และถ้าไม่เสียชีวิตก็จะหายจากโรคเอง จากนั้นร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกัน (immunity) ซึ่งป้องกันไม่ให้ร่างกายติดเชื้อเดิมนั้นอีก ปรากฏการณ์นี้เราเรียกว่า herd immunity (ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่หลายประเทศเคยตั้งใจจะทำ) พอวงการแพทย์มีความก้าวหน้าเรื่องการกระตุ้นภูมิคุ้มกันผ่านการสัมผัสเชื้ออย่างอ่อน ให้ร่างกายสร้าง immunity ต่อต้านเชื้อได้ (หลายคนยังจำ Edward Jenner กับการปลูกฝีเพื่อป้องกันฝีดาษได้) ทำให้เราสามารถพัฒนา vaccine ออกมาป้องกันโรคระบาดได้มากมาย

    ‼️แล้วทำไมเราต้องรอนานเป็นปี กว่าจะได้ vaccine ป้องกัน COVID-19?‼️

    ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้เราสามารถผลิต vaccine สำหรับเชื้อจุลชีพใด ๆ ก็ได้อย่างรวดเร็ว ทราบหรือไม่ว่า ทุกวันนี้แลปทั่วโลกมี vaccine สำหรับ coronavirus อยู่ในมือแล้วด้วยซ้ำ ต้องขอบคุณนักวิจัยจีน ที่ทำการถอดรหัสจีโนมของ SARS-Cov-2 เชื้อต้นเหตุของ COVID-19 และเผยแพร่แก่สาธารณะอย่างรวดเร็ว ทำให้ห้องแลปทั่วโลกสามารถพัฒนาวิธีตรวจได้ทันที และด้วยรหัสจีโนมนี้ นักวิจัยสามารถสร้างสาย RNA/DNA และจับใส่เข้าไปในแบคทีเรีย E.coli หรือยีสต์ ให้ผลิต RNA รวมถึงโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบของไวรัสออกมาได้ทันที และ purified ออกมาเป็น vaccine พร้อมใช้

    แม้ขั้นตอนการสร้าง vaccine จะทำได้เร็วมาก แต่ขั้นตอนการทดสอบในมนุษย์ไม่สามารถย่นระยะเวลาได้ corona vaccine ที่ผลิตออกมาต้องผ่านกระบวนการวิจัยทางคลินิกที่เรียกว่า phase 1, phase 2, phase 3 trials เพื่อดูว่าปลอดภัยแค่ไหน และสิ่งที่เราอยากเห็นก่อนเลยคือ กระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายได้จริงหรือไม่ ซึ่งการตอบสนองของร่างกายต่อ vaccine ที่ให้เข้าไปนั้นต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ หรือเป็นเดือน นอกจากนี้ เมื่อร่างกายสร้างภูมิ ซึ่งโดยมากเป็น antibody ขึ้นมาแล้ว นักวิจัยต้องสกัด antibody เหล่านั้นออกมาทดสอบอีกว่ามันมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ (neutralizing antibody) ไหม การติดเชื้อไวรัสหลายชนิด แม้ร่างกายสร้าง antibody ขึ้นมาได้แต่ไม่มีผลต่อเชื้อเลย เช่น anti-HIV หรือ anti-HBc ในการติดเชื้อ HIV หรือไวรัสตับอักเสบ บี เป็นต้น และใน phase หลัง ๆ จึงทดสอบ vaccine ว่าสามารถป้องกันหรือลดโอกาสติดเชื้อได้จริงหรือไม่

    และอีกประเด็นที่สำคัญคือ แม้ร่างกายจะผลิต antibody ออกมาได้แล้ว และอาจมีฤทธิ์เป็น neutralizing antibody ได้จริง แต่พอใช้จริงก็ต้องทดสอบต่อว่า จะไปมีผลทำให้คนที่ติดเชื้อมีอาการรุนแรงขึ้นหรือติดเชื้อได้ง่ายขึ้นหรือไม่ ซึ่งเราเห็นตัวอย่างของผลแบบนี้จาก Dengue vaccine มาแล้ว โดยพบว่าเด็กที่ฉีด Dengue vaccine หลายคนกลับเป็นไข้เลือดออกรุนแรงขึ้นกว่าเดิม

    ตอนนี้ทุกประเทศเร่งพัฒนาและทดสอบ vaccine อย่างเร่งด่วน สหรัฐอเมริกาเพิ่งเริ่ม phase 1 trial เมื่อ 2 วันก่อน ส่วนจีนก็น่าจะเริ่มไปแล้วเหมือนกัน แต่จากเหตุผลข้างต้นจะเห็นว่าหนทางการพัฒนา vaccine ยังใช้เวลาอีกซักพัก ผู้เชี่ยวชาญมองว่าอย่างเร็วที่สุดเราอาจได้เห็น COVID vaccine ในช่วง 12-18 เดือนข้างหน้าครับ

    การสู้กับ COVID-19 คือการวิ่งมาราธอน ‍♂️

    ช่วงนี้เราทุกคนต้องเน้น Social Distancing อย่างเข้มข้นไปก่อนครับ อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ ครับ

    COVID Series


     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,711
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ตามติดพฤติกรรมของ SARS-CoV-2 จากผู้ป่วย 9 รายในโรงพยาบาล เพื่อให้แพทย์ใช้รับมือกับ COVID-19

    วันนี้ Nature เผยแพร่ผลงานวิจัยแบบ early release จากทีมนักวิจัยเยอรมัน ซึ่งเขาติดตาม viral dynamics จากผู้ป่วย COVID-19 อาการไม่รุนแรงที่ admit ในโรงพยาบาลจำนวน 9 รายตั้งแต่ต้นจนจบ มีข้อมูลน่าสนใจหลายอย่างครับ

    เมื่อ SARS-CoV-2 เข้าสู่ร่างกายผู้ป่วยแล้ว มีการเพิ่มจำนวนออกลูกหลานอย่างมากในทางเดินหายใจส่วนต้นเป็นหลักโดยเฉพาะบริเวณคอหอย (pharynx) โดยเชื้อปลดปล่อยออกมามากที่สุดในช่วง 1 สัปดาห์แรก และมีปริมาณเชื้อสูงสุดในวันที่ 4 (ป้ายคอ 1 ครั้ง จะมีเชื้อราว 7 ร้อยล้าน copy เลยทีเดียว )

    เราสามารถตรวจพบ RNA ของเชื้อทั้งในคอหอย, ปอด และทางเดินอาหาร (อุจจาระ) แสดงว่ามีการติดเชื้อและเพิ่มจำนวนไวรัสในทางเดินอาหารด้วย แต่พบว่าเฉพาะคอหอยและปอดที่พบตัวเชื้อ (viral particles) ซึ่งติดต่อได้ (infectious virus) ส่วนอุจจาระไม่พบตัวเชื้อ แม้ว่าจะมีปริมาณ RNA สูงมาก

    ถ้าปริมาณ viral RNA ต่ำกว่า 1 ล้าน copy จะเพาะเชื้อไม่ขึ้น อาจแปลได้ว่า infectivity ต้องมีปริมาณเชื้อมากระดับนึง

    ผู้ป่วย 4 ใน 9 ราย รับรสและกลิ่นลดลงจริง ๆ

    แม้ผู้ป่วยจะมีเชื้อจำนวนมากในทางเดินหายใจ แต่ไม่เจอเชื้อในเลือดและปัสสาวะ แพทย์พยาบาล และคนทำแลปกับเลือดและปัสสาวะสบายใจได้

    ถึงผู้ป่วยจะหายสนิทแล้ว แต่ยังปล่อย RNA ออกมาได้อยู่ การติดตามระดับ antibody พบว่าผู้ป่วยครึ่งนึงตรวจพบใน 7 วัน และทุกรายตรวจพบใน 14 วัน .... และ antibody ของผู้ป่วยเป็น neutralizing antibody (เยส! )

    .. แต่ช้าก่อน ถึง antibody จะขึ้นแล้ว ระดับเชื้อ SARS-CoV-2 ก็ยังไม่ลงทันทีครับ โดยผู้ป่วย 6 รายใน 9 ราย ยังคงตรวจพบ viral RNA ในสัปดาห์ที่ 2 และ 3 และค่อยลดลงช้า ๆ ซึ่งนักวิจัยเสนอแนะว่า COVID-19 vaccine จะได้ผลดีต้องกระตุ้นให้ร่างกายสร้าง antibody ได้เร็ว ๆ และแรง ๆ ถึงจะป้องกันการติดเชื้อได้

    รายละเอียดเพิ่มเติมตามไปอ่านได้ที่ : https://www.nature.com/articles/s41586-020-2196-x

    COVID Series


     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,711
    ค่าพลัง:
    +97,150
    มารู้จักเทคนิคการตรวจ COVID-19 ใน 5 นาที‼️ Rapid test ที่แท้ทรู ตรวจดูเชื้อ ไม่ใช่ antibody‼️

    เมื่อวานนี้ US FDA อนุมัติชุดทดสอบเชื้อ SARS-CoV-2 ใหม่อีกรายคือ ระบบ ID Now ของบริษัท Abbott เป็นรายที่สองต่อจาก GeneXpert ของ Cephid

    แต่ที่น่าสนใจเกี่ยวกับชุดตรวจนี้คือ เป็นชุดตรวจเชื้อ SARS-CoV-2 ที่ใช้เวลาน้อยมากคือตรวจพบเชื้อภายใน 5 นาทีเท่านั้น และอันนี้เป็นการตรวจหาเชื้อโดยตรง คือหา viral genome ไม่ใช่การตรวจหา antibody

    เหตุผลที่ระบบ ID Now สามารถตรวจหาเชื้อได้ในเวลารวดเร็วมาก เป็นเพราะเขาใช้วิธีที่เรียกว่า isothermal amplification

    คนที่ทำแลปเกี่ยวกับ DNA ทุกคนจะต้องรู้จักเทคนิคการเพิ่มปริมาณ DNA สุดคลาสสิกที่เรียกว่า polymerase chain reaction หรือ PCR โดยอาศัยปฏิกิริยาที่เลียนแบบการสร้างสาย DNA ของเซลล์ทั่วไป คือมี DNA primer จับกับส่วน DNA ที่ต้องการเพิ่มจำนวน จากนั้นใช้เอ็นซัยม์ DNA polymerase ทำหน้าที่สร้างสาย DNA ใหม่ต่อจาก primer ที่จับอยู่ โดยอาศัย DNA สายเดิมเป็นต้นแบบ (template) เมื่อสิ้นสุดปฏิกิริยา 1 รอบเราจะได้ DNA จาก 1 เป็น 2 ชุด และถ้าปล่อยให้เกิดปฏิกิริยานี้ซ้ำไปเรื่อย ๆ เป็น chain reaction ปริมาณ DNA ที่สร้างขึ้นจะทวีคูณไปเรื่อย ๆ จาก 1 เป็น 2 เป็น 4 เป็น 8 เป็น 16 ... และเมื่อครบ 20 รอบ เราจะได้ปริมาณ DNA เพิ่มเป็น 1 ล้านชุด

    แต่กระบวนการนี้จะเกิดซ้ำ ๆ ได้ ต้องมีวิธีการแยกสาย DNA จากสายคู่ (double strand) เป็นสายเดี่ยว (single strand) ที่เรียกว่า denaturation จากนั้นจึงให้ DNA primer เข้ามาจับ (annealing) แล้วให้ DNA polymerase เข้ามาสร้างสาย DNA ต่อ (extension) เมื่อเสร็จก็ต้องมีการจับสาย DNA แยกใหม่อีกทีเป็นการเริ่มวงจร denaturation-annealing-extension รอบใหม่

    วิธีที่จะทำให้เกิดวงจรซ้ำ ๆ แบบนี้ได้ เขาใช้การเพิ่มลดอุณหภูมิเอา โดยเมื่อเพิ่มอุณหภูมิให้สูงขึ้น DNA สายคู่จะแยกจากกัน จากนั้นเมื่อลดอุณหภูมิลง DNA primer จึงเข้าไปจับได้ แล้วเพิ่มอุณหภูมิอีกนิด DNA polymerase จะเข้าไปสร้างสาย DNA ให้ ซึ่งเอ็นซัยม์ DNA polymerase ที่ทำให้ PCR เป็นจริงได้ ต้องมีคุณสมบัติทนความร้อนได้โดยไม่หมดสภาพไปซะก่อน คือ Taq polymerase จาก thermophilic bacteria ที่ชื่อ Thermus aquaticus ซี่งค้นพบเป็นครั้งแรกจากน้ำพุร้อน

    จะเห็นว่ากระบวนการ PCR นั้นต้องอาศัยเครื่องมือที่ปรับอุณหภูมิสูง ๆ ต่ำ ๆ ตามที่ต้องการได้ (เรียกว่า thermal cycler) และทำงานเป็นรอบ ๆ กว่าจะปล่อยให้ปฏิกิริยา PCR ดำเนินไปจนได้ปริมาณ DNA ที่เพียงพอก็เสียเวลาหลายชั่วโมง

    สำหรับการตรวจหา coronavirus อย่าง SARS-CoV-2 ซึ่งเป็น RNA virus ยังต้องเริ่มด้วยการเปลี่ยน RNA ให้เป็น DNA ก่อนด้วย reverse transcription เราจึงเรียกวิธีการตรวจหาเชื้อ SARS-CoV-2 ที่ใช้แพร่หลายในปัจจุบันว่า reverse transcription PCR หรือ RT-PCR

    แล้ว isothermal amplification มันทำได้เร็วกว่าได้ยังไง?

    เคล็ดลับสำคัญอยู่ที่ DNA polymerase ตัวหนึ่งซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษเรียกว่า strand displacement กล่าวคือ DNA polymerase ตัวนี้นอกจากจะสามารถสร้างสาย DNA ใหม่ได้แล้ว ยังมีคุณสมบัติจับสาย DNA แยกจากกันได้เอง ถ้าปลาย DNA ข้างหนึ่งเกิด heteroduplex loop ที่ปลาย ดังนั้นกระบวนการแยกสาย (denaturation) ต่อ primer (annealing) และสร้างสาย DNA ใหม่ (extension) สามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องมีการเพิ่มลดอุณหภูมิให้เกิดวงจรแบบ PCR ก็ได้

    นั่นแปลว่ากระบวนการเพิ่มจำนวน DNA สามารถเกิดขึ้นได้ต่อเนื่องที่อุณหภูมิเดิม (isothermal amplification) ไม่ต้องเสียเวลาเพิ่ม ๆ ลด ๆ อุณหภูมิเป็นรอบ ทำให้กระบวนการเพิ่มปริมาณ DNA ใช้เวลาสั้นลงมากเหลือเพียงไม่กี่นาทีก็ได้ถึงเป้าหมายที่ต้องการ

    พระเอกตัวจริงคือ DNA polymerase ที่มี strand displacement activity ด้วยได้แก่ Bst polymerase (จาก Bacillus stearothermophilus) ครับ

    เทคนิค isothermal amplification ที่นิยมใช้มากที่สุดคือ loop mediated isothermal amplification หรือ LAMP โดยใช้ primer สร้างพิเศษขึ้นมา 3 คู่ (ต่างจาก PCR ปกติที่ใช้ 1 คู่) เพื่อสร้าง DNA fragments ที่ปลายสามารถ form duplex loop ได้และกระตุ้นให้เกิด strand displacement

    LAMP เป็นเทคนิคที่เหมาะกับการตรวจหาชิ้นส่วน DNA (หรือ RNA โดยผ่าน reverse transcription ก่อน) ที่ต้องการความจำเพาะ และรวดเร็วมาก ๆ จึงถูกพัฒนากับการตรวจหาเชื้อจุลชีพก่อโรคเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นการตรวจหาไวรัสชนิดต่าง ๆ หรือเชื้อแบคทีเรียบางชนิดที่ต้องการผลด่วนและรอการเพาะเชื้อไม่ได้ครับ

    ข้อจำกัดคือ LAMP ออกแบบมากับการตรวจเฉพาะจุดหรือเฉพาะอย่าง ปรับแต่งได้ยาก เพราะการ design DNA primer 3 คู่ที่จำเพาะนั้นซับซ้อนมากครับ

    ผมไม่แน่ใจเหมือนกันว่าในเมืองไทยมี Abbott ID Now platform บ้างหรือไม่ครับ แต่หาเครื่องตอนนี้อาจไม่ยากเท่าหาชุดตรวจ COVID-19 ครับ เพราะเพิ่งออกจำหน่ายและน่าจะเป็นที่ต้องการอย่างมากโดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา

    ที่มา: https://abbott.mediaroom.com/2020-0...ovel-Coronavirus-in-as-Little-as-Five-Minutes

    VDO แสดงกระบวนการ LAMP:


    COVID Series


     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,711
    ค่าพลัง:
    +97,150
    กลยุทธ์การค้นหายารักษา COVID-19 ในปัจจุบัน

    ในเมื่อการจัดการกับ SARS-CoV-2 pandemic ที่ได้ผลดีที่สุด คือ vaccine ที่ได้ผล ยังต้องรออีกเป็นปี (อยากรู้ว่าทำไม อ่านได้ที่นี่ ) ดังนั้นการต่อสู้กับไวรัสนี้นอกจากการทำ Social Distancing อย่างเข้มข้นแล้ว เรายังต้องหาสูตรยาที่สามารถรักษาการติดเชื้อนี้ให้ได้

    ใครที่เคยผ่านเหตุการณ์เมื่อ 11 ปีก่อน ย้อนกลับไป 2009 ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ซึ่งกระจายเป็นวงกว้างกว่า COVID-19 ในขณะนี้มาก ตอนนั้นโลกเราเพิ่งมียาใหม่ในการรักษา influenza virus ที่ผลิตโดยบริษัท Roche ชื่อ Oseltamivir (Tamiflu) ช่วงนั้นเกิดปัญหาการผลิตยาตัวนี้ให้ได้ปริมาณเพียงพอในระยะเวลาอันสั้น เพราะมีผู้ป่วยติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่เป็นจำนวนมาก (คาดว่าสิ้นปี 2009 ทั้งโลกติดเชื้อไปถึง 70 ล้านคน) แต่ในที่สุดมนุษย์เราก็เอาไข้หวัดใหญ่ 2009 อยู่ ด้วยการเพิ่มกำลังการผลิต Oseltamivir อีกหลายเท่า พร้อม ๆ กับการพัฒนาวัคซีนใหม่ที่ครอบคลุม influenza virus สายพันธุ์นี้เข้าไปด้วย จนทุกวันนี้ก็ยังมีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ 2009 ทะยอยมาพบแพทย์อยู่เสมอ กลายเป็นโรคประจำปีในปัจจุบัน

    กาลเวลาผ่านไป เราเผชิญกับการระบาดของเชื้อใหม่อีกแล้ว แต่หนนี้ยากกว่า เนื่องจาก coronavirus ยังไม่เคยมียาที่ได้รับการศึกษา ทดสอบ และออกจำหน่ายในท้องตลาดแบบไข้หวัดใหญ่ สาเหตุก็เพราะว่ามนุษย์มีการติดเชื้อ coronavirus ก่อนหน้านี้มาแล้ว 6 ชนิด โดย 4 ชนิดได้แก่ OC43, HKU1, NL63 และ 229E ทำให้เป็นโรคหวัดธรรมดา ๆ ส่วนอีก 2 ชนิดคือ SARS-CoV และ MERS-CoV ซึ่งก่อให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง แต่หลังจากการควบคุมด้วยมาตรการ isolation เข้มข้น การแพร่ระบาดสงบไปและเชื้อหายไปจากมนุษย์เลย การพัฒนายาเพื่อรักษาไวรัสทั้ง 2 ตัวจึงหยุดชะงักไปด้วย

    ‼️มาถึงจุดนี้แล้ว โลกเราไม่มียารักษา coronavirus มาก่อน แล้วเราจะหายามารักษา COVID-19 ได้ยังไง‼️

    วิธีหลักในช่วงแรกนี้ เราเรียกว่า drug repurposing คือการหายาเก่าที่มีอยู่แล้วในท้องตลาด ซึ่งอาจใช้รักษาโรคอื่น ๆ อยู่ เอามาทดสอบว่ามีฤทธิ์ต้านเชื้อ SARS-CoV-2 หรือไม่ ที่ผ่านมาก็มีการศึกษาด้วย high throughput drug screening กับเชื้อโดยตรง โดยเอายาต่าง ๆ ที่มีอยู่ในคลัง และยาต้านไวรัสที่ใช้รักษาไวรัสตัวอื่น มาลองทดสอบกับเชื้อดู และอาจร่วมกับการทดลองใช้กับผู้ป่วยที่หน้างานจริง แบบที่แพทย์ในอู่ฮั่นใช้ในช่วงแรกของวิกฤติ เราจะได้ยินหรือคุ้นกับชื่อยาเหล่านี้แล้ว เช่น Favipiravir, Lopinavir/Ritonavir (LPV/r), Darunavir, Remdesivir ซึ่งเดิมมีข้อบ่งชี้กับไวรัสต่าง ๆ กัน เช่น HIV (LPV/r, Darunavir), influenza (Favipiravir) หรือแม้กระทั่ง Ebolavirus (Remdesivir)

    นอกจากนี้ยังมียาอื่นซึ่งไม่ได้ใช้เป็นยาต้านไวรัส แต่มีข้อมูลเบื้องต้นในแลป หรือมี anecdotal report ว่าใช้ได้ เช่น Chloroquine (CQ), Hydroxychloroquine (HCQ), Interferon (IFN), Camostat, Baricitinib เป็นต้น โดย CQ เป็นยารักษามาเลเรีย, HCQ ใช้รักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์, IFN ใช้รักษาไวรัสตับอักเสบ, Baricitinib เป็น JAK inhibitor และ camostat เป็นยา serine protease inhibitor ใช้รักษาตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง

    ส่วนยาที่อาจได้ผลในการรักษา COVID-19 ซึ่งไม่ได้ต้านไวรัสโดยตรง แต่มุ่งไปที่การรักษาผลการอักเสบรุนแรงและทำลายปอด มีการทดสอบในกลุ่มยาต้าน interleukin-6 เช่น Tocilizumab เป็นต้น

    ข้อดีของ drug repurposing คือยาเหล่านี้มีการผลิตอยู่แล้ว การเพิ่มกำลังการผลิตทำได้ไม่ยาก ยาหลายตัวมีราคาถูก และยาเหล่านี้ผ่านการใช้มานานพอสมควร จนเรารู้ผลข้างเคียงของยาแต่ละชนิดแล้ว การใช้ยาเหล่านี้จึงทำได้เร็ว และทำได้ปลอดภัย

    อย่างไรก็ดี drug repurposing ไม่ได้การันตีว่าจะพบยาที่ได้ผล นอกจากนี้ผลในห้องแลปอาจไม่ได้แปลว่าเมื่อใช้จริงแล้วจะดีแบบในแลป ดังที่เราเห็นข้อมูล LPV/r + Chloroquine ไม่ได้ช่วยอะไรในผู้ป่วย COVID-19 ที่เป็นหนัก จุดนี้คงต้องรอการวิจัยทางคลินิกที่กำลังตามออกมาอีกที

    กลยุทธ์ที่ 2 คือการสร้างยาใหม่ที่มีฤทธิ์ต้าน coronavirus ได้ จากข้อมูลในระยะหลัง โรคติดเชื้ออุบัติใหม่จากไวรัส 3 โรคหลังล้วนเป็น coronavirus ดังนั้นถ้าเราสามารถคิดค้นยาใหม่ที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อ coronaviridae ทั้งตระกูลได้ ก็สามารถใช้ยานั้นกับทั้ง SARS, MERS และ COVID-19 ได้

    แต่การวิจัยยาแบบนี้ไม่ง่าย นักวิจัยต้องทดสอบ compound library หลายแสนชนิดกับไวรัสเพื่อดูว่ามีตัวไหนที่มีฤทธิ์ต่อเชื้อ จากนั้นต้องนำมาศึกษาว่ายานั้นออกฤทธิ์ที่ส่วนไหนของไวรัส จึงจะเริ่มทดสอบกับสัตว์ทดลอง ทดสอบกับมนุษย์ใน phase 1, 2, 3 จนกว่าจะแสดงให้เห็นว่ายานั้นได้ผล จึงมีการใช้เป็นมาตรฐานต่อไป

    ตอนนี้โลกฝากความหวังไว้กับ drug repurposing อยู่ ผู้ป่วย COVID-19 บ้านเราก็มีแนวทางการใช้ยาหลายสูตร ไม่ว่าจะเป็น CQ + LPV/r, CQ + Darunavir หรือ CQ + Favipiravir อยู่แล้ว ในขณะที่ต่างประเทศเริ่มมีการศึกษายาสูตรต่าง ๆ นอกเหนือจากสูตรที่กล่าวไป เช่น HCQ, Remdesivir, HCQ + Remdesivir, HCQ + IFN เป็นต้น

    เท่าที่ทราบไม่มีทีมแพทย์ใดแนะนำสูตร CQ/HCQ + Azithromycin นะครับ และที่สำคัญ อย่าซื้อยาเหล่านี้กินเองเด็ดขาด ยามีผลข้างเคียงร้ายแรงถ้าใช้ไม่ถูกต้องครับ มีรายงานผู้เสียชีวิตมาแล้วเมื่อสองวันก่อนนี้เอง (https://edition.cnn.com/2020/03/23/health/arizona-coronavirus-chloroquine-death/index.html)

    Social Distancing เข้มข้นดีที่สุดครับ ปลอดภัย ไม่ติด ไม่แพร่ครับ ส่วนเรื่องการรักษาปล่อยเป็นหน้าที่หมอดีกว่า

    ข้อมูลเพิ่มเติม:
    CQ/HCQ : https://www.nature.com/articles/s41421-020-0156-0
    Camostat: https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0092867420302294?
    Favipiravir : https://www.medrxiv.org/content/10.1101/2020.03.17.20037432v1
    LPV/r : https://www.nejm.org/doi/pdf/10.1056/NEJMoa2001282

    COVID Series
    อ่านเรื่องกลยุทธ์การหายารักษา COVID-19 ที่นี่
    การค้นหา antibody รักษา COVID-19

    อ่านเหตุผลว่าทำไม COVID-19 vaccine ถึงรอนาน
    เทคนิค LAMP-Seq ตรวจ COVID-19 จำนวนมากและต้นทุนต่ำ

    อ่าน ตามติดชีวิต COVID-19 การศึกษา viral dynamics ของผู้ติดเชื้อ https://www.facebook.com/CAPrecisionMed/posts/3103038569714589/
    อ่านการตรวจเชื้อไวรัสแบบ rapid test ของ COVID-19 รู้ผลได้ใน 5 นาที https://www.facebook.com/CAPrecisionMed/posts/3093996593952120

    https://www.facebook.com/1179796695372129/posts/3084586251559821/
     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,711
    ค่าพลัง:
    +97,150
    โรงอาหารในเวียดนาม เนื่องจากโรงเรียนในเวียดนามเปิดแล้วพวกเขาได้ปรับปรุง รร หลายอย่างเพื่อรับมือการระบาดรวมถึงโต๊ะในโรงอาหาร

     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,711
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เริ่มแล้ว ร้านสุกี้นำแผ่นพลาสติกใส กั้นระหว่างที่นั่ง เว้นระยะ เตรียมเปิดร้านหลัง ‘คลายล็อก’

     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,711
    ค่าพลัง:
    +97,150
    พญามัจจุราชที่ชายหาด ฟลอริดา
    .
    เนื่องจากเตือนแล้วก็ไม่ฟังยังคงมีผู้คนลงไปใช้หาดในหลายๆเมืองของอเมริกาหนึ่งในนั้นที่รัฐฟลอริดาด้วย
    คงถึงเวลาที่มัจจุราชต้องมาเตือนด้วยตัวเอง
    .
    มัจจุราชท่านนี้เป็นทนายความชื่อ Daniel Uhlfelder เขาได้แต่งตัวเป็นพญามัจจุราชไปอยู่ประจำที่ชายหาด เพื่อไล่ให้ผู้คนกลับไปกักตัวที่บ้าน
    .
    โดยปัจจุบันมหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกิ้นส์ระบุว่ามีผู้ป่วยอย่างน้อย 34,728 รายในรัฐฟลอริดาและมีผู้เสียชีวิตแล้ว 1,314 คน แต่ก็นั่นแหละคนก็ยังมารวมตัวกันอยู่ที่ชายหาดอยู่ดี……….

     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,711
    ค่าพลัง:
    +97,150
    คำเตือนด่วนมาจาก NHS ของฝั่งอังกฤษ เกี่ยวกับ COVID-19 ในเด็ก (ภาคต่อ)

    ข่าวเพิ่มเติมจากสำนักพิมพ์ The Guardian กับ BBC news นะคะ มีข้อมูลมากขึ้นจากโพสเมื่อวานค่ะ

    ขอบคุณคุณ @Kanoot ที่ส่งลิงก์ข่าวของ The Guardian มาให้นะคะ

    ✨ประกาศจากทาง NHS

    แพทย์ที่อังกฤษสังเกตว่าช่วงนี้ มีเคสเด็กทุกช่วงวัยเข้าไอซียูมากขึ้นจนผิดปกติ (อย่างน้อย 12-20 ราย)

    และมี 1 รายที่ต้องใส่ ECMO (เครื่องปอดและหัวใจเทียม เป็นเครื่องทางการแพทย์ที่ใช้ในกรณีการหายใจ หรือหัวใจล้มเหลวอย่างหนักค่ะ) แต่ยังไม่มีเคสที่เสียชีวิต

    โดยเด็กเหล่านั้น มีอาการผสมกันระหว่าง toxic shock syndrome และ Kawasaki disease คือ มีไข้เรื้อรังหลายวัน (persistent fever) ปวดท้องรุนแรง ความดันต่ำ และบางรายมีผื่นตามตัว

    โดยผลเลือดที่บ่งบอกการอักเสบขึ้นสูง ค่าเลือดมีลักษณะใกล้เคียงกับคนไข้ผู้ใหญ่ที่เป็น COVID-19 แบบรุนแรง

    ซึ่งจากใน The Guardian ที่ระบุว่าอ้างอิงจาก NHS source บอกว่า เด็กส่วนใหญ่ที่มีปัญหา มีโรค Kawasaki (เป็นโรคการอักเสบทั่วร่างกายอย่างหนึ่ง เด่นตรงที่มักอักเสบตรงเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจ) ร่วมด้วยค่ะ

    “เคสแบบนี้เกิดขึ้น เมื่อเด็กที่เป็นคาวาซากิติด COVID-19 และมีภาวะแทรกซ้อนขึ้นมา”

    (งานเข้าหมอหัวใจเด็กเต็มๆ )

    ซึ่งในจดหมายจาก NHS อธิบายอาการว่า

    “อาการปวดท้องและอาการของระบบทางเดินอาหาร เป็นอาการที่พบได้บ่อย รวมถึงการอักเสบของหัวใจ (cardiac inflammation) ด้วย

    ***แต่ว่า เคสวิกฤตดังกล่าว มีทั้งที่ตรวจ PCR เชื้อ COVID-19 เป็นบวก ➕ และ ลบ ➖ ”

    ซึ่งอาจเกิดจาก 2 กรณี คือ

    1. เด็กที่ไม่ติด COVID-19 ก็เกิดภาวะนี้ได้
    หรือ
    2. ผลลบลวง (false negative) คือมีเชื้อ แต่ตรวจไม่พบ

    และอีกข้อ ที่ไม่ได้ลิสต์เป็นข้อไว้ในข่าว แต่แกะความออกมาจากเนื้อหา คือ คนไข้อาจจะติดเชื้อแล้ว และหาย จนตรวจ PCR ไม่พบ แต่เกิด post-infection inflammatory response (การอักเสบตามหลังการติดเชื้อ) ค่ะ

    (น่ากลัวทั้งหมดเลยแฮะ)

    ก็แนะนำให้สังเกตอาการตาม RCPCH's guidance ซึ่งที่ดูแล้วคล้ายๆ กับที่โพสไปเมื่อวาน มีเพิ่มเติมคือ

    - อาการปวดอัณฑะ โดยเฉพาะเด็กวัยรุ่นชาย (อันนี้แปลกดีค่ะ อาจมีการอักเสบลามไปด้วยได้)
    - ตัวสั่นอย่างรุนแรง หรือปวดกล้ามเนื้อ
    - อาเจียนไม่หยุด หรือปวดท้องรุนแรงไม่หาย
    - มีเลือดปนในอุจจาระหรือปัสสาวะ

    แต่ก็แปลก ที่ประเทศอื่นก่อนหน้านี้ที่ระบาดหนักๆ ไม่มีรายงานกัน เพิ่งจะมาที่อังกฤษ

    คงต้องติดตามกันต่อไปค่ะ ฤดู Kawasaki ก็ใกล้จะมาแล้ว โรคนี้ยังไว้ใจอะไรไม่ได้เลยจริงๆ

    #หมอเด็กนอกคอก

    References:
    https://www.google.com/amp/s/amp.th...new-illness-that-may-be-linked-to-coronavirus

    https://www.bbc.com/news/health-52439005

     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,711
    ค่าพลัง:
    +97,150
    คาดการณ์วันที่ COVID-19 จะสิ้นสุดการระบาด รอบโลกและรายประเทศ โดยการคำนวณจากสิงคโปร์

    หัวข้อวันนี้ มาจากงานวิจัยชื่อ Predictive monitoring of COVID-19 (update on May 1)
    เป็นงานวิจัยโดย Jianxi Luo จาก Singapore University of Technology and design

    ช่วง COVID-19 ระบาด ก็มีหลายสำนักออกมาพยายามทำนายทายทักด้วยวิธีต่างๆ งานวิจัยชิ้นนี้ก็เป็นหนึ่งในนั้นค่ะ

    *เขาคำนวณโดย SIR (susceptible-infected-recovered) model เพื่อประมาณการณ์วงจรการระบาด และเวลาที่จะสิ้นสุดการระบาดค่ะ

    โดยมีตัวแปรสำคัญคือ
    1. จำนวนคนที่เสี่ยงติดเชื้อ (susceptible)
    2. จำนวนผู้ติดเชื้อ (infected)
    3. จำนวนคนที่หาย/เสียชีวิต/มีภูมิ (recovered)

    นำมาคำนวณกับ จำนวนวันที่ไวรัสสามารถแพร่ได้ และคุณสมบัติอื่นๆ ของเชื้อค่ะ

    เส้นกราฟสีส้ม คือการคาดการณ์
    แท่งสีน้ำเงิน คือจำนวนผู้ป่วย (active cases) ของจริงที่ผ่านมาค่ะ

    ข้อมูล update ถึงวันที่ 1 พฤษภาคม เรียกว่าร้อนฉ่าไฟลุกกันเลยทีเดียว

    ซึ่งเท่าที่นั่งดู ค่อนข้างจะเป็นการคาดการณ์ที่ให้ความหวังมากเชียวนะคะ

    *แต่อย่าลืมว่านี่เป็นเพียงตัวเลขบนแผ่นกระดาษ ของจริงมีปัจจัยมากมายที่พร้อมจะเซอร์ไพรส์เราตลอด อย่างที่เราเห็นว่า หลายประเทศเหมือนจะคุมได้ พอ second wave โผล่มาทีก็พังยับมานักต่อนักค่ะ

    ดังนั้น ก็อ่านเอาสนุกๆ และมาลุ้นไปด้วยกันค่ะ ว่าที่คาดการณ์ไว้จะตรงไหม

    *ข้อมูลมีเพียงบางประเทศเท่านั้น ของไทยคงดูสถานการณ์จะไม่น่าห่วงเท่าไหร่ เขาเลยไม่ทำกราฟให้ดูนะคะ

    *ขอบคุณคุณ @Supawat สำหรับข้อมูลงานวิจัยค่ะ

    ปล. ไล่ทยอยอ่าน + ตอบ inbox อยู่นะคะ ช่วงนี้อาจจะยุ่งๆ หน่อย อ่านไม่ทันค่า 55 ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ค่ะ

    ❤️ ขอบคุณทุกคนที่ติดตามนะคะ ❤️

    #หมอเด็กนอกคอก
    References
    https://ddi.sutd.edu.sg/

     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,711
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students

    FB_IMG_1588486622102.jpg

    (May 3) ธปท. สำรวจผลกระทบ COVID-19 ต่อภาคธุรกิจไทยพบเป็นวงกว้าง : ธปท. ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่และ กลุ่ม SMEs ระหว่างวันที่ 10-24 เมษายน 2563 จำนวน 299 ราย พบว่า ไวรัส COVID-19 ส่งผลกระทบทางลบต่อภาคธุรกิจ เป็นวงกว้างผ่านช่องทางการขนส่ง เป็นสำคัญ

    COVID-19 ยังส่งผลต่อเนื่องไปยัง การจ้างงาน โดยธุรกิจใช้นโยบายให้สลับกันมาทำงานและลดชั่วโมงการทำงาน เพิ่มขึ้นเพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายโดยเฉพาะในภาคที่มิใช่การผลิต

    ทั้งนี้ ธุรกิจ ส่วนใหญ่มองว่ามาตรการช่วยเหลือที่เร่งด่วนที่สุด คือ การพักชาระหนี้ เพื่อเสริมสภาพคล่องของธุรกิจให้ดำเนินไปได้จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายในปีหน้า

    Source: ฝ่ายนโยบายโครงสร้างเศรษฐกิจ
    สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย
    Chitkasem Pornprapunt

    เพิ่มเติม
    - มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้และข้อมูลสถาบันการเงินในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ COVID-19
    https://www.bot.or.th/Thai/FinancialInstitutions/COVID19/Pages/default.aspx
     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,711
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students

    PSX_20200503_132005.jpg

    (May 3) มุมมองระบบ 'ธนาคารไทย' ภายใต้สถานการณ์ Covid : ภาคธุรกิจธนาคาร อีกหนึ่งเซ็กเตอร์ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 ผลกระทบที่เกิดขึ้น ได้แก่ รายได้จากดอกเบี้ยลดลง ทิศทางการเติบโตของสินเชื่อที่ลดลง จากความต้องการเพื่อขยายธุรกิจและการบริโภคที่ลดลง รวมถึงมีภาระการบริหารความเสี่ยงของสินทรัพย์ด้วย

    สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 เป็นที่แน่นอนว่าส่งกระทบเป็นวงกว้างกับทุกภาคธุรกิจในประเทศ ภาคธุรกิจธนาคารเองก็ได้รับผลกระทบไม่ต่างกัน วันนี้ผมจึงขอมาเล่าให้ท่านผู้อ่านได้ฟังกันครับ ว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หดหายไปอันเป็นผลมาจากการระบาดของไวรัส และการปิดเมือง ส่งผลต่อภาคธุรกิจธนาคารพาณิชย์ไทยอย่างไร และข้อมูลเบื้องต้นในช่วง 3 เดือนแรกแสดงให้เราเห็นข้อมูลอะไรบ้างที่น่าสนใจ

    เมื่อนึกถึงสภาพการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ ผู้อ่านหลายท่านคงนึกถึงผลกระทบต่อรายได้หลักของธนาคาร นั่นคือรายได้จากดอกเบี้ย ซึ่งรายได้ในส่วนนี้ของธนาคาร เป็นที่แน่นอนว่าถูกกระทบด้วยหลายๆ ปัจจัย ทั้งการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง ดังเช่นการปรับลดดอกเบี้ย MLR เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการภาคธุรกิจ ที่โดยเฉลี่ยแล้วธนาคารขนาดใหญ่ ในปีนี้ได้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.5-0.7 % และการลดดอกเบี้ยให้กับลูกค้ารายย่อย

    อีกส่วนหนึ่งคือ ทิศทางการเติบโตของสินเชื่อที่ลดลงเช่นกันในช่วงวิกฤติ Covid-19 อันเป็นผลมาจากการลดลงของความต้องการสินเชื่อ เพื่อขยายธุรกิจหรือเพื่อเพิ่มการบริโภคในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ ดังที่เราเคยเห็นในช่วงปี 2009 ที่ประเทศไทยประสบปัญหาวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์และวิกฤติทางการเมือง ทำให้การเติบโตของสินเชื่อในช่วงสิ้นปีตกลงมาอยู่ในระดับติดลบ 1.7% ทั้งๆ ที่ในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า สามารถเติบโตได้สูงถึง 11%

    ข้อมูลเบื้องต้นจากรายงานผลประกอบการธนาคารขนาดใหญ่ในไตรมาสแรก แสดงให้เห็นภาพเบื้องต้นของทิศทางการเติบโตของสินเชื่อที่ลดลง โดยยอดรวมสินเชื่อของธนาคารใหญ่อยู่ที่ 11.6 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.7% จากไตรมาสที่ 4 ของปี 2562 ที่มียอดเดิมที่ 11.4 ล้านล้านบาท และเพิ่มขึ้น 3.8% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ที่มียอดรวมสินเชื่ออยู่ที่ 11.2 ล้านล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงไตรมาสแรกของปี 2562 ที่มียอดการเติบโตของสินเชื่อในระบบธนาคารพาณิชย์ที่ 5.6% ก็ถือได้ว่าทิศทางการเติบโตของสินเชื่อมีแนวโน้มลดลง เนื่องมาจากผลกระทบของ Covid-19

    แต่ผลกระทบของไวรัสอีกประเด็นหนึ่งที่มีต่อการดำเนินงานในระบบธนาคารที่ผู้อ่านหลายท่านอาจไม่ทราบถึง คือ การเพิ่มภาระการบริหาร ความเสี่ยงของสินทรัพย์ที่ธนาคารมีอยู่ ต้นทุนส่วนหนึ่งของธนาคารที่หลายท่านอาจไม่ทราบ คือต้นทุนความเสี่ยง (Risk cost) ที่มีโอกาสเพิ่มสูงขึ้นจากการตั้งสำรองที่เพิ่มมากขึ้น โดยทั่วไปแล้ว เพื่อให้ธนาคารสามารถรองรับความเสี่ยงด้านเครดิตได้ ธนาคารจำเป็นต้องมีการตั้งสำรองหนี้สูญ เพื่อรองรับในกรณีที่สินเชื่อที่ปล่อยกู้ไปไม่สามารถเรียกคืนมาได้

    เนื่องจากในช่วงการระบาดของ Covid-19 ลูกหนี้ของธนาคาร ไม่ว่าจะเป็นภาคประชาชนหรือภาคธุรกิจ มีความสามารถในการชำระหนี้ลดลง สินเชื่อที่ธนาคารปล่อยกู้จึงมีคุณภาพที่ด้อยลง ข้อมูลเบื้องต้นในไตรมาสแรกจากการรวบรวมข้อมูลผ่านรายงานผลประกอบการ ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2563 ของธนาคารขนาดใหญ่ พบว่าทุกแห่งล้วนมีปริมาณสินเชื่อไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) หรือหนี้เสียเพิ่มมากขึ้น โดยในภาพรวมยอด NPL พุ่งสูงขึ้น 12% ในไตรมาสแรกของปีนี้ โดยมียอดรวมอยู่ที่ 4.64 แสนล้านบาท

    ดังนั้นสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อเนื่อง เมื่อยอดสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มมากขึ้น คือระบบธนาคารพาณิชย์จำเป็นต้องมีการกันเงินสำรองที่เพิ่มสูงขึ้น เพื่อรองรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ข้อมูลการตั้งสำรองที่วัดจากข้อมูลการคำนวณความเสียหายทางเครดิตจากธนาคารขนาดใหญ่ในไตรมาสแรกนี้ แสดงให้เห็นการตั้งสำรองที่เพิ่มสูงขึ้นว่า 4.95 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้ เมื่อนำข้อมูลการตั้งสำรองของแต่ละธนาคารมาเทียบกับมูลค่ากำไรก่อนการตั้งสำรอง เราพบว่าโดยเฉลี่ยมีสัดส่วนการตั้งสำรองสูงถึง 49% ของมูลค่ากำไรก่อนการตั้งสำรอง

    จากข้อมูลเบื้องต้น จะเห็นได้ว่าระบบธนาคารพาณิชย์ได้รับผลกระทบจาก Covid-19 ไม่ต่างจากธุรกิจอื่น

    แต่สิ่งสำคัญที่อยากเน้นย้ำให้ท่านผู้อ่านได้มั่นใจ คือระบบธนาคารพาณิชย์ไทยมีความแข็งแกร่งอย่างมากในปัจจุบัน ทั้งยอดเงินกองทุนในระบบธนาคารพาณิชย์รวมที่ 2.85 ล้านล้านบาท และสภาพคล่องในระบบที่มีมากกว่า 3.7 ล้านล้านบาท ที่สามารถพร้อมช่วยเหลือและสนับสนุนทุกท่านผ่านพ้นวิกฤติ Covid-19 ไปด้วยกันครับ

    โดย นริศ สถาผลเดชา | คอลัมน์ เงินทอง มองต่างมุม

    Soure: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

    https://www.bangkokbiznews.com/news...medium=internal_referral&utm_campaign=topnews
     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,711
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สมาชิกนาโต้เล่นกันถึงตาย....

    จากการที่ตุรกีพยายามส่งผู้ลี้ภัยชาวซีเรียเข้ายุโรปผ่านทางพรมแดนกรีซ แต่ทางสหภาพยุโรปได้สั่งกรีซซึ่งมีพรมแดนติดกับตุรกี ปิดพรมแดนไม่ให้ผู้ลี้ภัยเข้าสหภาพยุโรป กรีซเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป และสมาชิกนาโต้ ส่วนตุรกีเป็นสมาชิกนาโต้อย่างเดียว ไม่ได้เป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ตุรกีเขาฝันว่าคนของเขาจะสามารถไปเดินในยุโรปโดยไม่ต้องขอวีซ่า และใช้เงินยูโร มาหลายสิบปี แต่ก็ได้แต่ฝัน ไม่เป็นจริงเสียที ในยุคของประธานาธิบดี Recep Tayyip Erdogan เขาได้แสดงให้เห็นว่า ตุรกีไม่ยอมถูกหลอกฟรีๆ แน่นอน การข่มขู่สหภาพยุโรปครั้งแรกได้ผลดี ตุรกีสามารถส่งผู้ลี้ภัยซีเรียเข้าไปในสหภาพยุโรปได้จำนวนมาก แต่ครั้งนี้สหภาพยุโรปสั่งกรีซลั่นกลอนประตูแน่นหนา และมีเจ้าหน้าที่ของสหภาพยุโรปหมุนเวียนกันเข้ามาตรวจชายแดนกรีซอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นยังมี หน่วยตรวจชายแดนร่วม กรีซ-เยอรมัน ( joint Greek-German observer patrol) ร่วมกันกันตรวจตราชายแดนอย่างเข้มงวด

    เมื่อวันพฤหัส โฆษกกระทรวงมหาดไทยเยอรมันแถลงว่า เมื่อเย็นวันอังคารทหารตุรกีได้ยิงปืนเข้าใส่หน่วยตรวจชายแดนร่วม กรีซ-เยอรมัน ที่กำลังข้ามแม่น้ำ Evros River ในเขตแดนของกรีซ ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเยอรมันตาย 1 คน ซึ่งเรื่องนี้ทางเยอรมันได้ส่งเรื่องให้ สำนักงานใหญ่ของหน่วยตรวจร่วม ในกรุงวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์ ดำเนินการสอบสวนแล้ว

    https://www.almasdarnews.com/articl...dead-german-officer-along-greek-border-reort/

     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,711
    ค่าพลัง:
    +97,150
    3 พฤษภาคม อัปเดตสถานการณ์โลก #โควิด19⁣

    ▪️ ไทย : พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 3 ราย ผู้ติดเชื้อสะสม 2,969 ราย รักษาหายเพิ่ม 7 ราย รักษาหายสะสม 2,739 ราย ⁣⁣⁣เสียชีวิตสะสม 54 ศพ⁣

    ▪️ ญี่ปุ่น : เตรียมขยายช่วงระยะเวลาบังคับใช้มาตรการฉุกเฉินทั่วประเทศออกไปอีก 1 เดือน จากเดิมที่จะสิ้นสุดผลบังคับใช้ในวันที่ 6 พฤษภาคมนี้ หลังญี่ปุ่นมีรายงานยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 261 ราย และเสียชีวิต 26 ศพ ภายในหนึ่งวัน ⁣

    ▪️ สเปน : ออกมาตรการบังคับให้ประชาชนที่เดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะสวมใส่หน้ากากอนามัย ทั้งในรถไฟและรถบัส ควบคู่ไปกับการรักษาระยะห่างทางสังคม⁣

    ติดตามอัปเดตข่าว #โควิด_19 ได้ที่
    https://www.thairath.co.th/event_corona
    ⁣⁣
    ⁣#โควิด_19 #COVIDー19 #COVID19 ⁣⁣
    กดติดตาม @THAIRATH #ไทยรัฐ #Thairath⁣

     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,711
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เบี้ยชราภาพ บัตรสวัสดิการรัฐ ไม่พอยาไส้ ยายวัย84ต้องอยู่ลำเค็ญพึ่งตัวเอง(มีคลิป)

    บริเวณถนนสายอภัยบริรักษ์ ต.คูหาสรรค์ อ.เมือง จ.พัทลุง นางชูศรี หรือป้าเล็ก วัย 84 ปี อาศัยอยู่ในเพิงสังกะสีเก่าๆ ริมทาง ซึ่งข้าวของเครื่องใช้ที่มีล้วนเก็บสะสม มาจากเพื่อนบ้าน ที่ไม่ใช้แล้ว อีกทั้งน้ำ ไฟ เพื่อนบ้านเวทนาช่วยต่อพ่วงให้ใช้

    ป้าเล็ก เล่าว่า หลังจากที่สามีของป้า เสียชีวิตไปเมื่อ 15 ปี ทิ้งป้าไว้เพียงลำพัง เพราะขณะอยู่กินกันไม่มีลูก ชีวิตเสมือนไร้ญาติ จะกลับไปอยู่บ้านเกิดในพื้นที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ก็ไม่มีที่อยู่ เพราะออกจากบ้านมาตั้งแต่ยังเล็ก ๆ จะไปเช่าบ้านอยู่ก็ไม่มีปัญญา เพราะไม่มีรายได้

    ทุกวันนี้ป้าเล็กอาศัยเพียงเงินเดือนของผู้สูงอายุ เดือนละ 800 บาท และเงินบัตรสวัสดิการคนจน เดือนละ 300บาท ซึ่งต้องเจียดจ่ายให้เพียงพอในแต่ละเดือน ซึ่งก่อนหน้านี้ได้รับจ้างนวดเพื่อคลายเส้นได้เงินมาครั้งละ 100 – 200 บาท แต่เมื่อเกิดการระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้ไม่สามารถออกไปรับจ้างนวดได้อีกรายได้ส่วนนี้จึงไม่มี ส่วนเงินเยียวยาของรัฐ 5,000 บาท ตัวเองไม่รู้เรื่องและไม่มีความหวังเพราะไม่มีโทรศัพท์ที่จะใช้ลงทะเบียน

    ป้าเล็ก เล่าต่อว่า วันนี้ป้ามีเงิน ในกระเป๋า 80 บาท แบ่งไปซื้อปลาทู มา 60 บาท นำมาย่างกับเตาถ่าน เพื่อเก็บปลาไว้กินให้ได้หลายวัน ส่วนข้าวสาร ได้รับบริจาคมาจากเพื่อนบ้านวันก่อน 1 ถุง 5 กก.ยังคงเหลือเล็กน้อย ป้าเล็กอยู่ตัวคนเดียว เวลาเจ็บไข้ได้ป่วยก็ลำบาก ไม่มีลูก ไม่มีญาติ

    “เราใช้ชีวิตแบบรอวันตาย ไม่รู้จะตายวันไหน บางทีก็รู้สึกท้อแท้กับโชคชะตาชีวิตของตัวเองแต่ไม่รู้จะทำอย่างไร บั้นปลายชีวิตหวังได้มีเงินเก็บสำรองไว้เป็นค่าทำศพ โดยไม่ต้องลำบากเพื่อนบ้านก็พอ”ป้าเล็กกล่าว

    ท่านใดมีจิตเมตตา ประสงค์ที่จะให้การช่วยเหลือป้าเล็ก สามารถช่วยเหลือได้ที่ บัญชี ธนาคารออมสิน สาขาพัทลุง หมายเลขบัญชี 020 0688 04051 ชื่อ นางชูศรี รัตนพันธ์

    The post เบี้ยชราภาพ บัตรสวัสดิการรัฐ ไม่พอยาไส้ ยายวัย84ต้องอยู่ลำเค็ญพึ่งตัวเอง(มีคลิป) appeared first on SpringNews.

    Source : #Springnews #สปริงนิวส์

     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,711
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ปลัดมหาดไทยแจงเหตุผลต้องปล่อย 3,600 คนออกจากภูเก็ต

    วันนี้ (3 พ.ค. 63) นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้แถลงที่ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ ศบค. ทำเนียบรัฐบาล ถึงเหตุผลของการปล่อยให้ประชาชนออกจากจังหวัดภูเก็ตว่า ขอทำความเข้าใจกรณีที่จังหวัดภูเก็ตอนุญาตให้ประชาชนกลับภูมิลำเนาได้บางส่วน เพราะมีประชาชนที่ไม่ใช่เป็นคนในพื้นที่ภูเก็ตรวมประมาณ 1 แสนคน แต่เข้าไปทำงาน

    เมื่อเกิดสถานการณ์การระบาด จังหวัดจึงมีมาตรการห้ามเข้า-ออกจังหวัด พบว่าในจำนวนนี้มีกว่า 5 หมื่นคนที่ตกงาน ไม่มีงานทำ มีความจำเป็นด้านเศรษฐกิต แต่จังหวัดยังไม่อนุญาตให้ออก จึงได้จัดทำทะเบียนแสดงความประสงค์ที่จะเดินทางออก

    “แต่ไม่ใช่อนุญาตให้ออกได้ทั้งหมด จะอนุญาตเฉพาะ 14 ตำบล ให้ออก อีก 3 ตำบล ที่ยังต้องคุมเข้มไม่ให้อออก” ปลัดมหาดไทย ย้ำ

    นายฉัตรชัย กล่าวอีกว่า ผู้ที่ได้รับการอนุญาติให้ออก ต้องมีการรับรองจากพื้นที่ สาธารณสุขและผู้ว่าราชการจังหวัด มีการแจ้งไปยังจังหวัดปลายทางต่างๆ 56 จังหวัด ว่ามี 3,600 คน จากภูเก็ตออกไปแล้ว ส่วนใหญ่อยู่ใน 11 จังหวัดทางภาคใต้ 2 พันกว่าคน ส่วนจังหวัดอื่นๆทางผู้ว่าราชการจังหวัดปลายทางจะทราบข้อมูลแล้วว่าจะมีคนมาจากภูเก็ตกี่ เพื่อดำเนินการต่อไป

    ส่วนด่านระหว่างทางก็มีการประสานแจ้งด้วยเช่นกัน ว่ามีคนจากภูเก็ตที่ผ่านกระบวนการรับรองตามขั้นตอนแล้ว เพื่อความสบายใจ ในการคัดกรองเป็นที่ยอมรับแล้ว

    #โควิด19 #Covid_19 #COVID19 #ข่าวจริง #สปริงนิวส์ #Springnews #COVID2019 #coronavirus #ไวรัสโคโรนา #โควิท19

    The post ปลัดมหาดไทยแจงเหตุผลต้องปล่อย 3,600 คนออกจากภูเก็ต appeared first on SpringNews.

    Source : #Springnews #สปริงนิวส์

     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,711
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สเปนเริ่มคลายล็อกดาวน์คุมโควิด แต่ยังต้องใส่หน้ากากอนามัยบนรถไฟ รถบัส
    สเปนเริ่มผ่อนปรนมาตรการล็อกดาวน์ แต่ยังบังคับประชาชนใส่หน้ากากอนามัยในรถไฟและรถบัสป้องกันโควิด-19 หวนกลับมาระบาดหนักซ้ำ
    Source : #ไทยรัฐ #ไทยรัฐทีวี #Thairath #ThairathOnline

     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,711
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ข้อมูลวันที่ 3 เมษายนเวลา13.42 สเปนมีผู้ติดเชื้อใหม่ 2588 รายเสียชีวิตใหม่ 276 ราย แต่เริ่มคลายล็อกดาวน์คุมโควิด
    Screenshot_20200503-134218.png
    สเปนเริ่มคลายล็อกดาวน์คุมโควิด แต่ยังต้องใส่หน้ากากอนามัยบนรถไฟ รถบัส
    สเปนเริ่มผ่อนปรนมาตรการล็อกดาวน์ แต่ยังบังคับประชาชนใส่หน้ากากอนามัยในรถไฟและรถบัสป้องกันโควิด-19 หวนกลับมาระบาดหนักซ้ำ
    Source : #ไทยรัฐ #ไทยรัฐทีวี #Thairath #ThairathOnline

     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,711
    ค่าพลัง:
    +97,150
    หลังจากก่อนหน้านี้ ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ และชาวคณะออกมาปูพรมถล่มจีนถึงกรณีอ้างว่าจีนปกปิดการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในช่วงแรก ทั้งที่ควรออกมาบอกประเทศอื่น และยังจงใจปิดบังยอดผู้เสียชีวิต จนนำไปสู่การขู่ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากจีน
    .
    ล่าสุดหนังสือพิมพ์พีเพิลเดลีของทางการจีน ออกมาตั้งคำถามเกี่ยวกับนักการเมือง และ ส.ส. ของสหรัฐฯ เกี่ยวกับสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 จำนวน 10 ข้อ โดยระบุว่า
    .
    ผู้ป่วยโควิด-19 ในสหรัฐฯ ที่ได้รับการยืนยันแล้วมีจำนวนเกิน 1 ล้านคนแล้ว คิดเป็นหนึ่งในสามของทั้งโลก ในเวลาไม่ถึง 100 วันหลังพบผู้ป่วยคนแรกเมื่อวันที่ 20 มกราคม ขณะที่ผู้เสียชีวิตเกิน 60,000 คนแล้ว สหรัฐฯ รับมือการระบาดได้ย่ำแย่ด้วยการโยนความรับผิดชอบ ตามด้วยการกระทำที่ไร้สติ นักการเมืองในสหรัฐฯ จะต้องตอบคำถาม 10 ข้อดังต่อไปนี้เพื่อคลายความกังวลของประชาคมโลก และบอกความจริงกับพลเมืองอเมริกัน
    ...

    1. เหตุใดรัฐบาลสหรัฐจึงไม่จัดหาอุปกรณ์ป้องกันอย่างครอบคลุมให้แก่บุคลากรทางกรแพทย์ ซ้ำยังไล่ออกบุคลากรที่ออกมาเปิดเผยเรื่องนี้
    .
    2. สหรัฐฯ แจ้งว่ามีผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่กว่า 20,000 คนตั้งแต่เดือนกันยายนปีก่อน ในจำนวนนี้มีกี่รายที่เสียชีวิตเพราะโควิด-19 แต่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นไข้หวัดใหญ่
    .
    3. หตุใดสหรัฐจึงรีบปิดห้องทดลองปฏิบัติการอาวุธชีวภาพในเมืองฟอร์ตเดทริค รัฐแมริแลนด์เมื่อเดือนกรกฎาคมปีก่อน เพราะหลังจากนั้นมีคนป่วยและคนต้องสงสัยป่วยเป็นปอดอักเสบหลายราย อีกทั้งมีโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์H1N1 ระบาดในเวลาไล่เลี่ยกัน
    .
    4. เหตุใดวุฒิสมาชิกสหรัฐหลายคนจึงเทขายหุ้น ทั้งที่ประธานคณะกรรมการข่าวกรองในวุฒิสภากล่าวเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ว่าโควิด-19 เป็นโรคที่ควบคุมได้
    .
    5. เหตุใดสหรัฐฯ จึงไม่ให้ความสำคัญกับโรคนี้และเตรียมตัวแต่เนิ่น ๆ ทั้งที่อ้างว่ารู้อยู่แล้วว่าจะแพร่ระบาด
    .
    6. สหรัฐฯ มีผู้เสียชีวิตรายแรกตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ เป็นผู้ที่ไม่ได้เดินทางไปต่างประเทศ แต่เหตุใดจึงเพิ่งเผยแพร่ผลการชันสูตรพลิกศพหลังจากนั้นสองเดือน
    .
    7. เหตุใดสหรัฐฯ จึงไม่เคยปริปากเรื่องห้องทดลองปฏิบัติการชีวภาพที่ตั้งขึ้นตามรัฐอดีตบริวารสหภาพโซเวียต ทั้งที่ชาวบ้านและประเทศใกล้เคียงกังวลอย่างยิ่ง
    .
    8. เหตุใดนาวาเอกเบรตต์ โครเซียร์ จึงถูกปลดโทษฐานไม่เป็นมืออาชีพ หลังส่งหนังสือเมื่อปลายเดือนมีนาคม แจ้งขอให้นำลูกเรือยูเอสเอสทีโอดอร์รูสเวลต์ขึ้นฝั่ง ช่วยให้ลูกเรือ 2,700 ชีวิตได้รับการนำตัวไปกักโรค
    .
    9. สหรัฐฯ จะเปิดเผยเส้นเวลาหรือไทม์ไลน์การควบคุมการระบาดหรือไม่ หลังจากกล่าวโทษจีนและองค์การอนามัยโลกว่าปกปิดข้อมูล แต่วารสารแลนเซ็ตแจกแจงเมื่อไม่นานมานี้ว่าสหรัฐฯ ได้ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกตั้งแต่ต้นแล้ว
    .
    10. สหรัฐฯ ได้ทำอะไรบ้างในช่วงวันที่ 31 มกราคมถึง 13 มีนาคม นอกจากห้ามการเดินทางมาจากจีน หลังจากสภาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ เตือนตั้งแต่ปลายเดือนมกราคมแล้วว่า โควิด-19 เสี่ยงระบาดในประเทศ

    -------------------------------
    แหล่งข่าว

    http://en.people.cn/n3/2020/0501/c90000-9686382.html

    https://www.mcot.net/viewtna/5ead0282e3f8e40af1436a6c

    -------------------------------
    ติดตามข้อมูลข่าวสาร รู้ไทย รู้โลก กับ Thailand Vision ได้ที่
    Facebook : https://www.facebook.com/thvi5ion
    Twitter : https://twitter.com/Thailand_vision

     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,711
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เงินทองคือมายา สุราคือของจริง
    ห้างร้านแน่นขนัดหลังเปิดขายเหล้าวันแรก
    เรียกร้องหามาตรการจัดระเบียบด่วน
    -----------------
    วันนี้ (3 พ.ค.) รายงานข่าวแจ้งว่า หลังจากที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ออกมาตรการผ่อนปรน ประเภทกิจการและกิจกรรม 6 ประเภท อาทิ 1. ตลาด 2. ร้านจำหน่ายอาหาร 3. กิจการค้าปลีก-ส่ง 4. กีฬา สันทนาการ 5. ร้านตัดผม เสริมสวย และ 6. อื่นๆ ได้แก่ ร้านตัดขนสัตว์ ร้านรับเลี้ยงรับฝากสัตว์ เริ่มตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป อีกทั้งยังผ่อนปรนร้านอาหารและเครื่องดื่มซึ่งจำหน่ายสุรา ให้เปิดได้แต่ห้ามการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้าน ทำให้มีประชาชนแห่ไปยังห้างค้าปลีกและค้าส่ง เพื่อรอซื้อสุรา เบียร์ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นำไปบริโภคเป็นจำนวนมาก หลังจากที่ไม่ได้ขายมาตั้งแต่ก่อนช่วงเทศกาลสงกรานต์ เนื่องจากแต่ละจังหวัดออกมาตรการห้ามจำหน่ายสุราไปก่อนหน้านี้
    .
    อย่างไรก็ตาม ในโซเชียลมีเดียมีภาพและวีดีโอคลิปที่ประชาชนจำนวนมาก ทั้งที่ผู้บริโภคโดยตรงและร้านค้าปลีก แห่รอซื้อสุรา เบียร์ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ห้างค้าส่งแห่งหนึ่งอย่างคึกคัก เมื่อพนักงานนำสินค้ามาลงก็พบว่ามีประชาชนแห่แย่งชิงลังเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กันอย่างชุลมุน ก่อนแบกกล่องกันไปคนละลัง สองลัง กลายเป็นที่วิจารณ์ในโลกโซเชียลว่า คนเหล่านี้ไม่สนใจหลักการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ที่ต้องเว้นระยะห่างระหว่างกัน 1-2 เมตรเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากการไอ จาม และสารคัดหลั่ง พร้อมเรียกร้องให้ทางห้างฯ ออกมาจัดระเบียบการซื้อให้มากกว่านี้
    .
    นอกจากนี้ แม้จะมีมาตรการผ่อนปรน แต่กําหนดเวลาห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยังคงบังคับใช้ตามปกติ ได้แก่ ช่วงเวลา 11.00-14.00 น. และ 17.00-24.00 น. ซึ่งปัจจุบันมีมาตรการเคอร์ฟิว หรือห้ามออกนอกเคหะสถานตั้งแต่เวลา 22.00-04.00 น. เท่ากับว่าจะซื้อได้ก่อนที่ร้านจะปิดตามมาตรการเคอร์ฟิวเท่านั้น ซึ่ง นพ.นิพนธ์ ชินานนท์เวช ผอ.สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ยืนยันว่ายังคงกำหนดให้ขายตามเวลาเดิม หากฝ่าฝืนมีความผิดฐานจำหน่ายสุราก่อนเวลา มีโทษจำคุก 6 เดือน ปรับ 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากมีการโพสต์ภาพและข้อความในลักษณะจงใจโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อจำหน่าย มีโทษจำคุก 1 ปี ปรับ 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
    .
    รายงานข่าวเพิ่มเติมระบุว่า มี 1 จังหวัดที่ยังคงห้ามร้านค้าหรือสถานประกอบการขายสุรา ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งมีคำสั่งจังหวัดบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1-31 พ.ค. 2563
    -------------------------------
    แหล่งข่าว
    - https://mgronline.com/onlinesection/detail/9630000046217
    -
    -------------------------------
    ติดตามข้อมูลข่าวสาร รู้ไทย รู้โลก กับ Thailand Vision ได้ที่
    Facebook : https://www.facebook.com/thvi5ion
    Twitter : https://twitter.com/Thailand_vision

     

แชร์หน้านี้

Loading...