ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,710
    ค่าพลัง:
    +97,150
    การฝึกลมหายใจ แบบโยคะ ง่ายแค่นี้เองเหรอ…หลงฝึกผิดอยู่ตั้งนาน!!!

    การฝึกโยคะ ส่วนใหญ่แล้ว เราจะให้ความสนใจ หรือ ให้ความสำคัญกับ ท่าของโยคะต่างๆ ยิ่งท่าที่ยาก ยิ่งรู้สึกว่าท้าทายตัวเอง บางทีก็ถ่ายรูป เก็บเอาไว้ เพื่อ ดูพัฒนาการว่า ดีขึ้น หรือ ต้องแก้ไขเพิ่มเติมอย่างไรบ้าง แต่มีอีกหนึ่งสิ่งที่เราเผลอลืม หรือ มองข้าม ไป คือ “ลมหายใจ” หรือ ปราณ (Prana) ซึ่ง ความสัมพันธ์ ของ ลมหายใจ กับ การฝึกโยคะ นั่นคือ การฝึกควบคุมลมหายใจ

    การควบคุมลมหายใจ (Breath control) หรือเรียก อีกชื่อว่า ปราณายามะ (Pranayama) ซึ่งความหมายของ ปราณายามะ (Pranayama) ได้แบ่งแยก ตามรากศัพท์ คือ ปราณะ หมายถึง ลมหายใจ ส่วนคําว่า อยามะ หมายถึง การควบคุม
    ถ้าแปลตามศัพท์ ปราณายามะ คือ การฝึกควบคุมลมหายใจ ในระหว่างการฝึกโยคะ โดยร่างกายจะควบคุมระบบประสาทอัตโนมัติ เพื่อไปควบคุมอารมณ์ ควบคุมการทำงานของจิต จนกระทั่งสามารถควบคุมการลมหายใจให้ นิ่ง สงบ และหายใจ ได้ช้าลง พร้อมทั้งอยู่ในท่าอาสนะต่างๆ ได้นานโดยไม่รู้สึกอึดอัด ซึ่งการฝึกควบคุมลมหายใจแบบนี้ ไปเรื่อยๆ ทำให้ร่างกายมีสภาวะที่พร้อมกับการฝึกเทคนิคโยคะขั้นสูงต่อไปได้นั่นคือ การทำสมาธิ

    breath-ujjayi.jpg
    Photo by : yogasimple.net

    การฝึกควบคุมลมหายใจ แบบ อุชชายี (Ujjayi Pranayama) เป็นวิธีปรับลมหายใจ จากหายใจปกติ ให้มาหายใจแบบการฝึกโยคะ ทำให้สมองและร่างกายของเรา รู้สึกสงบลง และ กระตุ้นความร้อนจากภายในเพิ่มขึ้น เพื่อให้พร้อมแก่การฝึกโยคะต่อไป
    วิธีการฝึกหายใจแบบอุชชายี คือ หายใจเข้าและออกทางจมูก เหมือนปกติ แต่ในขณะหายใจออกนั้น เราจะยังคงปิดปาก โดยให้รู้สึกรับรู้ว่า มีลมวิ่งผ่านลำคอ และ ได้ยินเสียงเครือๆ ซึ่งเสียงนั้นคล้ายๆ กับเสียงคลื่นในทะเล (The Ocean Breath) และความยาว ของลมหายใจ เข้า-ออกนี้ เราจะเริ่มต้นฝึกนับจาก 1-4 และพัฒนา เพิ่มขึ้น เป็น 5 หรือ 6 ต่อไปได้ จนมีชำนาญ และสามารถทำให้ ลมหายใจของเรา เชื่อต่อกับการเคลื่อนไหวในการฝึก ท่าโยคะนั้นๆ ได้

    การฝึกควบคุมลมหายใจ แบบ อนุโลมา วิโลมา (Anuloma Viloma) ซึ่งทุกวันนี้ เราหายใจผ่านทางจมูกของเราไม่เท่ากัน มักจะมีด้านใดด้านหนึ่งที่โดดเด่นมากกว่า ดังนั้นการฝึก หายใจแบบ Anuloma Viloma นี้ จะช่วยในการชำระล้าง ช่องพลังงานของร่างกาย ให้สามารถไหลผ่านในตัวเราได้ง่ายขึ้น ซึ่งการหายใจนี้จะช่วยทำให้ใจเราสงบ และ ลดความตึงเครียด พร้อม ฝึกโยคะ หรือ ทำสมาธิต่อไปได้ โดยมีวิธีการฝึกหายใจ มีดังนี้

    1. นั่งหลับตา หรือนั่ง ขัดสมาธิ โดยวางเท้าซ้ายอยู่ด้านใน และ เท้าขวาอยู่ด้านนอก ส้นเท้าทั้งสองข้างตรงกันกับแกนกลางลำตัว
    2. หงายฝ่ามือข้างซ้ายที่เข่าซ้าย และ ใช้นิ้วนางขวาปิดรูจมูกซ้าย และหายใจออกที่รูจมูกขวา
    3. หายใจเข้าที่รูจมูกขวา และใช้นิ้วหัวแม่มือปิดรูจมูกขวา
    4. เปิดรูจมูกซ้ายพร้อมกับหายใจออก และ หายใจเข้ารูจมูกซ้ายอีกครั้ง
    5. ทำสลับกันประมาณ 5 – 8 ครั้งแล้วพักในจังหวะหายใจออก
    breath-anuloma-viloma.jpg
    Photo by : Yogashelter.com

    การฝึกควบคุมลมหายใจแบบนี้ ทำให้เราสามารถ สังเกต ลมหายใจของเราได้ว่า ดูว่าติดขัดที่ตำแหน่งใด ด้านซ้ายหรือด้านขวา

    • ถ้าหายใจ ข้างขวาคล่องกว่าซ้าย แปลว่า ร่างกายสูญเสียพลังเย็น ตัวเราจะร้อน อาจจะมีสาเหตุมาจาก การพักผ่อนไม่พอ เครียด ดื่มน้ำน้อย ทำงานมากไป ทานอาหารที่ให้พลังร้อนมากไป หรือออกกำลังกายมากเกิน
    • ถ้าหายใจ ข้างซ้ายคล่องกว่าขวา แปลว่า ร่างกายสูญเสียพลังร้อน ธาตุไฟไม่พอดี ตัวจะหนักๆ ตึงๆ รู้สึก อืด แน่น ไม่กระตือรือร้น ขี้เกียจ ซึ่งบางที เกิดจากการทานอาหารที่ให้พลังความเย็นมากเกินไป เช่น แตงกวา เต้าหู้ หรือ นอนมากเกินไป

    การฝึกควบคุมลมหายใจ แบบกปาลภาติ (Kapalabhati) เป็นการฝึกควบคุมลมหายใจที่ ที่สามารถทำความสะอาดรูจมูก และล้างของเสียออกจากปอดของเราได้เป็นอย่างดี ซึ่งมีวิธีการฝึกง่ายๆ ดังนี้

    • นั่งขัดสมาธิ และ หลับตา ผ่อนคลายกล้ามเนื้อหน้าท้อง
    • ค่อยๆสูดลมหายใจเข้า-ออก ลึกๆ เพียงหนึ่งครั้ง
    • ต่อจากนั้น ให้หายใจเข้าอีกครั้ง เพียงครึ่งทาง และ เริ่มหายใจออกอย่างรวดเร็วออกจากทางจมูกอย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกัน ก็จะเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องส่วนบน ให้รู้สึกว่ามีการขยับ เข้าออก
    • ให้รับรู้ ถึงความรู้สึก มุ่งเน้นไปที่หายใจออก ออกอย่างรวดเร็ว เรื่อยๆ และร่างกายของเราจะหายใจเข้า โดยอัตโนมัติ
    • เมื่อหมดรอบของการฝึกหายใจแบบนี้ ให้หายใจออกให้หมด จนสุดลมหายใจของเรา หลังจากนั้นปรับลมหายใจของเรา ให้หายใจเข้า-ออก แบบปกติ และค่อยๆ ผ่อนคลาย


    สามารถฝึก หายใจแบบ กปาลภาติ ประมาณ 20 รอบ ต่อ 1 เซต และจากนั้นเมื่อมีความชำนาญ จะเพิ่มจำนวนรอบของการหายใจ เช่น จาก 20 รอบ และ พัฒนา ไปเป็น 50 ถึง 60 ครั้ง ต่อ 1 เซตก็ได้

    หากเราเป็น คนส่วนใหญ่ที่มีความคิดว่า กระโดดโลดแล่น หรือ คิดไปเรื่อยๆ ไม่อยู่กับปัจจุบัน หรือบางที ก็จะนำเรื่องราวในอดีตที่ผ่านมามาคิด ในขณะ ที่ฝึกโยคะ อยากให้นึกถึง “ลมหายใจ” ของเรา ก็เป็นเครื่องมือที่เรียกสติของเรา ให้อยู่กับปัจจุบัน ดึงเรา ให้มีสติอยู่ที่เสื่อ และ ได้รู้สึกว่า ผ่อนคลาย ก่อให้เกิดประโยชน์กับร่างกายจริงๆ อยากให้ลองดูนะคะ ขอให้ฝึกโยคะ อย่างมีสติและ มีความสุข ค่ะ ….. นมัสเต…../\

    http://www.kruyoga.com/การฝึกลมหายใจ-แบบโยคะ-ง่/
     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,710
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ปราณยามะ (๑)
    โพสโดย Fon เมื่อ 1 พฤษภาคม 2546 00:00
    ปราณยามะ (๑)


    หมอชาวบ้านได้ลงบทความโยคะต่อเนื่องมาเป็นเวลา ๔ ปีแล้ว และที่ผ่านมาเนื้อหาส่วนใหญ่จะเน้นที่เทคนิคอาสนะ ซึ่งเป็นเทคนิคเด่นมากของโยคะ (ขอย้ำว่าเทคนิคที่เด่น ไม่ได้แปลว่าเป็นเทคนิคที่สำคัญสูงสุด) หากแต่ฉบับนี้ไป ขอนำผู้อ่านไปพบเทคนิคใหม่ปราณยามะ หรือเทคนิคการควบคุมลมหายใจ

    ตำราแม่บทโยคะสูตร ระบุถึงปราณยามะ ว่าเป็นมรรคขั้นที่ ๔ ของวิถีโยคะโดยอาสนะ เป็นมรรคขั้นที่ ๓ หมายความว่าปราณยามะอยู่สูงกว่าโยคะ หรือกล่าวได้ว่าเมื่อฝึกอาสนะแล้ว โยคีก็จะฝึกปราณยามะต่อไป ด้วยข้อมูลนี้เอง เราจะเห็นได้ว่าบุคคลผู้สนใจโยคะ ผู้ฝึกฝนโยคะมากขึ้นๆ จะไปฝึกหายใจมากขึ้น ไม่ใช่ไปฝึกท่าอาสนะที่ยากขึ้นอย่างที่หลายคนเข้าใจ เพื่อทำความเข้าใจกับลมหายใจในมุมมองของโยคะ เรามาอ่านนิทานกันสักเรื่อง ชื่อว่ายักษ์ปีนต้นไม้

    ..เรื่อง "ยักษ์ปีนต้นไม้"...
    กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีชายตัดฟืนอาศัยอยู่ในป่า ทำมาหากินด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และแน่นอน จนกระทั่งวันหนึ่งจึงปรากฏเทวดาตรงหน้าชายตัดฟืน

    "เราจะมอบของล้ำค่า เพื่อเป็นรางวัลตอบแทนที่เจ้าเป็นคนดี มันคือยักษ์วิเศษ" เทวดากล่าว และบรรยายสรรพคุณต่อ "เจ้ายักษ์ตนนี้มีความสามารถสูงมาก มันเกิดมาเพื่อทำงาน มันสามารถทำงานให้เจ้าได้ทุกสิ่ง ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ และที่สำคัญมันทำงานได้เร็วมากๆ เลย" "แต่..." เทวดาเว้นวรรคเล็กน้อย แล้วจึงกล่าวต่อ "เจ้าต้องระวัง หากเจ้าไม่สามารถหางานให้มันทำได้ละก็...มันจะกลับมาเล่นงานเจ้าเอง มันจะเล่นงานเจ้าถึงตายเชียวนะ"

    ชายตัดฟืนตัดสินใจรับยักษ์วิเศษไว้ เขาพามันกลับบ้าน ทันทีที่เข้าบ้าน ยักษ์ตนนั้นก็เริ่มกล่าวว่า "นายๆ มีอะไรให้ข้าฯ ทำบ้าง"
    ชายตัดฟืนมอบหมายให้ยักษ์ไปทำความสะอาดบ้านที่รกรุงรัง ตัวเองก็กระหยิ่มใจที่จะได้พัก ขณะที่เขากำลังจะเอนตัวลงงีบ ก็ได้ยินเสียงดังชัดเจนข้างหูว่า "นายๆ ข้าฯ ทำความสะอาดบ้านเสร็จแล้ว มีอะไรให้ข้าฯ ทำอีก"

    ชายตัดฟืนมองกวาดไปรอบๆ บ้านอย่างไม่เชื่อสายตาตนเอง บ้านสะอาดหมดจด ไม่มีที่ติ เหงื่อ เม็ดโป้งผุดขึ้นเต็มหน้าผาก เขาแก้ปัญหาเฉพาะหน้า สั่งให้ยักษ์ไปผ่าฟืนที่เขาทำค้างไว้ มันเป็นงานชิ้น ใหญ่ที่ทำให้เขาพอมีเวลา จากนั้นชายตัดฟืนรีบไปปรึกษาท่านผู้รู้ประจำหมู่บ้าน หลังฟังคำแนะนำ ชายตัดฟืนกลับถึงบ้าน เจ้ายักษ์ก็เสร็จงานผ่าฟืนพอดี

    "นายๆ ผมผ่าฟืนเสร็จแล้ว มีอะไรให้ผมทำอีก" น้ำเสียงของเจ้ายักษ์นั้นส่อเลศนัยว่ามันคงจะได้กินชายตัดฟืนเป็นอาหารแน่ๆ

    ชายตัดฟืนเริ่มทำตามแผนทันที เขาสั่งยักษ์ให้พาตนไปยังต้นไม้สูงกลางป่า ณ ตรงต้นไม้นั้น เขาสั่งเจ้ายักษ์ให้ลิดกิ่ง ลิดใบออกจนหมด ต้นไม้สูงต้นนี้จึงดูเหมือนเสาโล้นๆ ต้นหนึ่ง "นับจากนี้ไป" ชายตัดฟืนกล่าว "เมื่อใดที่เจ้ายืนอยู่ที่โคนต้น งานของเจ้าคือให้ปีนขึ้นไปจนสุดปลาย ยอดไม้" เขาเว้นเล็กน้อยก่อนจะกล่าวต่อ "และเมื่อใดที่เจ้าอยู่ที่ปลายยอดไม้ งานของเจ้าคือ ให้ปีนลงมายังโคนต้นไม้"

    คำสั่ง ๒ คำสั่งนี้ ทำให้เจ้ายักษ์ทำงานเป็นวงจรอันไม่รู้จบ ผลก็คือ เมื่อใดที่ชายตัดฟืนมีงานให้ทำ เขาก็เรียกเจ้ายักษ์มาใช้ ครั้นเมื่องานเสร็จสิ้นลง เขาก็ใช้เจ้ายักษ์ไปปีนต้นไม้...

    ยักษ์วิเศษตนนี้ก็คือความคิดของมนุษย์นั่นเอง ใช่หรือไม่ที่ความคิดของมนุษย์เป็นสิ่งที่มีความสามารถสูง เป็นสิ่งที่เร็วยิ่ง มนุษย์มีเทคโนโลยีอันทันสมัย เดินทางไปถึงดวงจันทร์ได้ ก็เพราะความคิดนี่เอง แต่...บ่อยครั้งที่เราพบว่าความคิดนี่แหละ กลับมาเล่นงานมนุษย์เสียเอง บางคนคิดมากจนบั่นทอนสุขภาพ บ้างถึงกับต้องจบชีวิตตนเองลงด้วยซ้ำ ก็เพราะเจ้าความคิดนี่เอง ต้นไม้ในนิทานก็คือลมหายใจในตัวเรานั่นเอง ซึ่งจะเดินทางขึ้นลง จากปอดขึ้นสู่จมูก จากจมูกลงสู่ปอดเท่านั้น

    นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่าผู้มีปัญญาย่อมรู้จักที่จะใช้ความคิดของตนให้เกิดประโยชน์ ครั้นเมื่อว่างจากการคิด ก็ควรหมั่นฝึกนำจิตของตนมารู้อยู่กับลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ผู้ที่ทำได้เช่นนี้ ก็จะยังชีวิตที่เป็นประโยชน์และเป็นสุข

    โยคีหาได้มองลมหายใจเป็นเพียงเรื่องของกายภาพ เรื่องของการเปลี่ยนถ่ายก๊าซออกซิเจน-คาร์บอนไดออกไซด์ไม่ สำหรับโยคะแล้ว ลมหายใจมีนัยสำคัญที่ลึกซึ้งกว่านั้นมาก ลมหายใจเป็นเครื่องมือสำคัญยิ่งต่อการควบคุมตนเอง หากพูดว่าอาสนะนั้นช่วยให้มนุษย์ควบคุมกายได้ดีขึ้น ก็ไม่เป็นการกล่าวที่เกินเลยแต่อย่างใด ถ้าจะพูดว่าปราณยามะนั้นช่วยให้มนุษย์ควบคุมจิตของตนให้ได้ดีขึ้น การฝึกโยคะที่ขอฝากไว้สำหรับฉบับนี้คือ เมื่อไหร่ที่ว่าง เมื่อไหร่ที่ระลึกขึ้นมาได้ อย่าลืมจับยักษ์ของเรามาปีนต้นไม้ซะ

    ปราณยามะ (๒) สรีรวิทยาของการหายใจ
    โพสโดย Fon เมื่อ 1 มิถุนายน 2546 00:00
    ปราณยามะ (๒) สรีรวิทยาของการหายใจ


    ผู้ที่ได้ทำการบ้านมา ๑ เดือนแล้วก็จะเริ่ม "รู้จัก" ลมหายใจของตนเอง ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้ (ใครยังไม่ได้ทำ ให้ลองทำ ณ ขณะนี้เลย)

    ระบบหายใจของมนุษย์ทำงานได้เองโดยอัตโนมัติ หมายความว่า ในหลายๆ ห้วงขณะที่เราไม่ได้ใส่ใจอยู่กับการหายใจ เช่น ตอนหลับ ตอนที่เราทำอะไรเพลินๆ จนไม่ได้คิดถึงลมหายใจก็สามารถทำงานได้ด้วยตัวของมันเอง

    ในทำนองเดียวกัน มนุษย์ก็พอจะควบคุมลมหายใจของตนเองได้บ้าง กล่าวคือ มนุษย์สามารถบังคับลมหายใจของตนเองได้ตามปรารถนาว่าจะให้มันหายใจเข้า จะให้มันหายใจออก หรือจะกลั้นลมหายใจ เช่น การที่เราพูด ร้องเพลง ว่ายน้ำ เป็นต้น โดยมีข้อจำกัดว่า ช่วงที่ควบคุมนี้ทำได้ไม่นาน คือ ไม่เกิน ๑-๓ นาทีเท่านั้น

    จากทั้ง ๒ ข้อข้างต้น เราสรุปได้ว่า ระบบหายใจของคนเราเป็นแบบกึ่งอัตโนมัติ คือ ทำการหายใจได้เอง โดยเมื่อไหร่ที่ต้องการจะควบคุมก็สามารถทำได้ แต่ไม่นานนัก และด้วยคุณสมบัติข้อนี้นี่เองที่เป็นสาเหตุให้โยคะสนใจกับการฝึกลมหายใจเป็นอย่างมาก เพื่อทำความเข้าใจถึงความสำคัญในการฝึกลมหายใจของโยคะ ขออนุญาตย้อนกลับไปเล็กน้อย ดังที่ได้กล่าวมาตลอดว่า โยคะเป็นเรื่องของการที่มนุษย์คนหนึ่งตั้งใจจะพัฒนาตนเองไปสู่สภาวะสูงสุดทั้งกาย-ใจ ความใฝ่ฝันของโยคี คือ เป็นผู้มีร่างกายที่สมบูรณ์ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ อันได้มาโดยการฝึกท่าอาสนะ และเป็นผู้มีจิตใจสมบูรณ์ ปลอดจากความเครียด ความกังวล ความขุ่นข้องทั้งปวง อันได้มาโดยการฝึกจิต (ซึ่งตำราโยคะขั้นสูงระบุวิธีการฝึกจิตไว้ ๔ ขั้นตอน)

    290-003-pic1.jpg
    ในการฝึกให้ร่างกายสมบูรณ์ด้วยท่าอาสนะนั้นเป็นเรื่องไม่ยากนัก เพราะอิริยาบถกล้ามเนื้อต่างๆ ทำงานภายใต้การกำกับควบคุมของตนเองอยู่แล้ว แต่ในทางตรงกันข้าม จิตทำงานโดยอัตโนมัติ การกำหนดควบคุมจิตให้ได้ตามประสงค์นั้นเป็นเรื่องยาก ที่น่าสังเกตคือ ระบบหายใจของมนุษย์ที่เป็นแบบกึ่งอัตโนมัติ โยคีตระหนักในธรรมชาติของกลไกมนุษย์เหล่านี้ และเชื่อว่าหากมนุษย์ฝึกควบคุมลมหายใจตนเองไปเรื่อยๆ สักวันหนึ่งผู้ฝึกก็จะสามารถควบคุมจิตของตนเองได้ ดังนั้นสำหรับโยคะแล้ว ลมหายใจคือประตูสำหรับโยคี ที่จะก้าวเข้าไปควบคุมจิตของตนนั่นเอง

    กลับมายังเรื่องของการรู้จักลมหายใจจากการเฝ้าดูลมหายใจตนเอง นอกจากรู้ว่าลมหายใจมนุษย์เป็นระบบกึ่งอัตโนมัติแล้ว เรายังพบว่า ตลอดเวลาที่เราหายใจนั้น

    ทรวงอกกระเพื่อมขึ้น-ลง ซึ่งเกิดจากกล้ามเนื้อ บริเวณซี่โครงเกร็งยกขึ้นสูง ทำให้ช่องทรวงอกขยายขึ้น ด้านบนและขยายออกด้านข้าง ส่งผลให้ลมหายใจเข้าสู่ปอด จากนั้นกล้ามเนื้อบริเวณซี่โครงคลายตัวตกลง ทำให้ช่องทรวงอกคืนตัวตกลง ปิดแคบ ส่งผลให้ลมหายใจออกจากปอด

    ช่องท้องพอง-ยุบซึ่งเกิดจากกล้ามเนื้อกะบังลม (อยู่ภายในช่องท้อง) เกร็ง ลดต่ำลง ทำให้ช่องทรวงอก ขยายตัวลงทางด้านล่างด้วย ส่งผลให้ลมหายใจเข้าสู่ปอด (การที่กะบังลมลดต่ำลงช่องท้องนี่เอง ที่ทำให้เรารู้สึกว่าท้องพองออกมาด้านหน้า) จากนั้นกล้ามเนื้อกะบังลมคลายตัวคืนกลับบน ทำให้ช่องทรวงอกหดตัวลง ส่งผลให้ลมหายใจออกจากปอด พร้อมๆ กับที่เรารู้สึกว่าท้องแฟบลง

    กล่าวคือ ในการหายใจโดยอัตโนมัติของมนุษย์นั้น กล้ามเนื้อที่รับผิดชอบเป็นหลักมีอยู่ ๒ ส่วน คือ กล้ามเนื้อซี่โครงและกล้ามเนื้อกะบังลม

    เทคนิคที่ฝากเป็นการบ้านสำหรับฉบับนี้ นอกจากคอยเฝ้าดูลมหายใจของตนเองในชีวิตประจำวันอย่างสม่ำเสมอแล้ว คือ

    290-003-pic2.jpg
    ๑. ช่วงที่เรามีเวลา เช่น ยามเช้าหลังฝึกอาสนะเสร็จ ช่วงกลางคืนก่อนนอน ให้นั่งในท่าอาสนะเพื่อสมาธิที่ตนถนัด แล้วมานั่งดูลมหายใจตนเองเป็นการเฉพาะเจาะจงเลย อาจใช้เวลา ๕ นาที ไปจนถึง ๑ ชั่วโมง ตามแต่เวลาจะเอื้ออำนวย ทำสม่ำเสมอทุกวัน

    ๒. ตลอดเวลาที่นั่งดู คอยสังเกตการเคลื่อนไหวของร่างกายขณะกำลังหายใจด้วย ซึ่งก็คือทั้งที่บริเวณทรวงอกกระเพื่อม และที่บริเวณช่องท้องพองยุบ

    ๓. เมื่อเฝ้าสังเกตไปเรื่อยๆ เราอาจจะจับความรู้สึกได้ละเอียดลง คือรู้สึกได้ถึงการทำงานของกล้ามเนื้อ ซี่โครง และกล้ามเนื้อกะบังลม

    ๔. เมื่อเราเฝ้าสังเกตจนชำนาญขึ้น ยิ่งสามารถรับรู้ได้ละเอียดลงไปอีก บางคนอาจจะรับรู้ได้ถึงเสี้ยววินาทีที่ร่างกายรู้สึกขาดอากาศก่อนที่จะเกิดการหายใจเข้าและเสี้ยววินาทีที่ร่างกายรู้สึกอิ่มอากาศก่อนที่จะหายใจออก

    ๕. ผู้ที่สังเกตได้ลึกลง อาจรับรู้ได้ถึงสัญญาณประสาทอัตโนมัติของร่างกาย รับรู้สัญญาณประสาทที่เริ่มทำงาน ส่งจากสมองไปยังกล้ามเนื้อซี่โครงและกะบังลม (ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัว หายใจเข้า) และรับรู้ช่วงที่สัญญาณประสาทหยุดการทำงาน (ทำให้กล้ามเนื้อทั้ง ๒ คลายตัว หายใจออก)

    ๖. ตลอดเวลาที่ฝึกและหลังจากฝึกเสร็จ อย่าลืมสังเกตผลที่เกิดขึ้นต่อจิตของเรา สังเกตดูว่าจิต-อารมณ์ของตนสงบลง นิ่งลง ว่างลงหรือไม่ อย่าลืมว่า สุดท้ายแล้วโยคะนำเราไปสู่การมีจิตที่สมบูรณ์ ปลอดจากความเครียด ความกังวล ความขุ่นข้องทั้งปวง

    290-003-pic3.jpg




    ปราณยามะ (3) การควบคุมหายใจ
    โพสโดย Fon เมื่อ 1 กรกฎาคม 2546 00:00
    ปราณยามะ (3) การควบคุมหายใจ


    การหายใจด้วยทรวงอก คือ รูปแบบของการควบคุมลมหายใจ โดยมุ่งเน้นไปที่กล้ามเนื้อซี่โครง มุ่งเน้นไปที่การหายใจเข้า

    วิธีฝึก

    291-010-pic1.jpg
    1. จัดเวลาสำหรับฝึกเป็นการเฉพาะ เช่น ช่วงเช้า หลังจากฝึกเทคนิคอาสนะ ช่วงบ่ายหลังอาหาร หรือช่วงเวลาก่อนนอน เป็นต้น

    2. นั่งในท่าอาสนะเพื่อสมาธิ ท่าไหนก็ได้ที่เราถนัด นั่งให้นิ่ง นั่งให้สงบ เฝ้าดูลมหายใจของเราไป สักครู่

    3. เริ่มควบคุมลมหายใจโดยตั้งใจหายใจเข้า พร้อมๆ กับแอ่นอก ยืดอก

    4. จากนั้นพัก ผ่อนคลาย ผ่อนลม ปล่อยลมหายใจออกตามธรรมชาติ ถือเป็น 1 รอบของการหายใจด้วยทรวงอก

    5. ทำซ้ำรอบใหม่ ตั้งใจหายใจเข้า แอ่นอกขยาย ช่องทรวงอก แล้วพักคลาย ทำต่อเนื่องประมาณ 1 นาที

    6. กลับไปหายใจตามปกติ

    ตลอดเวลาที่ฝึก ลองพยายามคงช่องท้องไว้ให้อยู่นิ่งๆ บางคนใช้วิธีแขม่วช่องท้องไว้เล็กน้อย สังเกตผลที่ได้รับจากการฝึกหายใจด้วยทรวงอก
    291-010-pic2.jpg

    การหายใจด้วยหน้าท้อง คือ รูปแบบของการควบคุมลมหายใจ โดยมุ่งเน้นไปที่บริเวณหน้าท้อง และกล้ามเนื้อกะบังลม มุ่งไปที่การหายใจออก

    วิธีฝึก

    291-010-pic3.jpg
    1. นั่งในท่าอาสนะเพื่อสมาธิที่เราถนัด หรือฝึกในท่านอนหงาย โดยชันเข่าทั้ง 2 ขึ้น เฝ้าดูลมหายใจของเราสักครู่

    2. เริ่มควบคุมลมหายใจโดยตั้งใจหายใจออก พร้อมๆ กับที่ช่องท้องแฟบลง ยุบตัวลง เว้าเข้าด้านใน

    3. จากนั้นปล่อยให้ร่างกายทำการหายใจเข้าเองโดยอัตโนมัติ ถือเป็น 1 รอบ ของการหายใจด้วยหน้าท้อง

    4. ทำซ้ำรอบใหม่ เน้นที่ลมหายใจออก ท้องแฟบ แล้วหายใจเข้าโดยอัตโนมัติ ทำต่อเนื่องประมาณ 2 นาที

    5. แล้วจึงกลับไปหายใจตามปกติ

    ตลอดเวลาที่ฝึก พยายามคงทรวงอกให้อยู่นิ่งๆ

    291-010-pic4.jpg

    สังเกตผลที่ได้รับจากการฝึกหายใจด้วยหน้าท้อง
    เราจะพบว่า ความรู้สึกที่เกิดขึ้นขณะหายใจด้วยทรวงอก คือ ตื่นตัว (บางคนฝึกหายใจด้วยทรวงอกแล้ว ถึงกับรู้สึกเหนื่อย) ขณะที่พอฝึกหายใจด้วยหน้าท้อง จะพบว่าเกิดความผ่อนคลาย ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของการหายใจแต่ละแบบ จากลักษณะเฉพาะเช่นนี้เอง เราจึงนำเทคนิคการหายใจด้วยหน้าท้อง มาทำการผ่อนคลายร่างกาย ซึ่งเมื่อทำตามลำดับขั้นตอนที่กำหนด เราเรียกว่าเทคนิคการผ่อนคลายอย่างเร็ว

    ขั้นตอนเทคนิคการผ่อนคลายอย่างเร็ว

    1. นอนหงาย ชันเข่าทั้ง 2 ขึ้น เฝ้าดูลมหายใจสักครู่

    2. ทำการหายใจด้วยหน้าท้อง ตั้งใจหายใจออก ท้องแฟบ หายใจเข้าโดยอัตโนมัติ ทำต่อเนื่อง 1 นาที แล้วพักสักครู่

    3. กลับมาหายใจด้วยหน้าท้องใหม่ ในรอบนี้ไม่เพียงเน้นการหายใจออก ลองหายใจออกโดยใช้เวลานานกว่าตอนหายใจเข้า อัตราส่วน คือ ลมหายใจออก 2 ส่วน ต่อลมหายใจเข้า 1 ส่วน เช่น ถ้าหายใจออก 4 วินาที ก็หายใจเข้า 2 วินาที ทำต่อเนื่อง 1 นาที แล้วพักสักครู่

    4. กลับมาหายใจด้วยหน้าท้องใหม่ คราวนี้ให้สังเกตห้วงขณะที่เรา "ไม่หายใจ" (ไม่ใช่การกลั้นลมหายใจ) ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากที่เราหายใจออก ก่อนที่เราหายใจเข้าห้วงขณะนี้ ทางโยคะถือว่าเป็นช่วงเวลาที่เราสงบนิ่งอย่างแท้จริง ทำต่อเนื่อง 1 นาที แล้วพัก

    สังเกตผลที่ได้รับจากการทำเทคนิคการผ่อนคลายอย่างเร็ว หลายคนพบว่า เทคนิคการผ่อนคลายอย่างเร็ว ทำให้ลมหายใจช้าลง ลมหายใจเบาลง ยิ่งลมหายใจ ละเอียดลงเท่าใด ผู้ฝึกก็ยิ่งพบว่าจิตของตนสงบลงเท่านั้น กล่าวคือ ทั้งกาย-ลมหายใจ-จิตสงบลง

    การบ้านของฉบับนี้ ให้หาโอกาสฝึกหายใจด้วยหน้าท้องทุกวันอย่างสม่ำเสมอ (ทำจนเป็นนิสัย) จะฝึกในท่านอนหงายก็ดี จะฝึกในท่านั่งก็ได้ สำหรับผู้ที่ไม่ค่อยมีเวลา จะฝึกหายใจด้วยหน้าท้องในท่ายืน หรือในขณะกำลังเดินก็ได้ (ดีกว่าไม่ได้ฝึกเลย)


    ปราณยามะ (4) ในโลกนี้ ไม่มีใครหายใจผิด
    โพสโดย Fon เมื่อ 1 สิงหาคม 2546 00:00
    ปราณยามะ (4) ในโลกนี้ ไม่มีใครหายใจผิด


    ช่วงหลังนี้ ผมเริ่มสอนเรื่องลมหายใจ คำถามที่เจอทุกครั้งก็คือ "ดิฉัน/ผมหายใจผิด ทำอย่างไรดี" ก่อนที่บทความเรื่องปราณยามะนี้จะว่ายาวต่อไป ฉบับนี้ขออนุญาตทำความเข้าใจประเด็น "การหายใจผิด" เสียก่อน ในโยคะเบื้องต้นเวลาสอนการหายใจ ครูมักแนะนำให้นักเรียนรู้จักลมหายใจโดยอัตโนมัติของตนเอง การหายใจโดยอัตโนมัตินี้ ถ้าพูดตามทฤษฎี ร่างกายทำการหายใจเอง โดยใช้ทั้งกล้ามเนื้อซี่โครงและกล้ามเนื้อกะบังลมทำการหายใจ เมื่อไรที่เราเฝ้าดูลมหายใจอัตโนมัติของตนเอง เราก็จะรู้สึกทรวงอกกระเพื่อมเบาๆ ช่องท้องพอง-ยุบน้อยๆ ตลอดเวลา อย่างไรก็ตาม นักเรียนบางคนขณะเฝ้าดูตัวเองที่กำลังหายใจโดยอัตโนมัติ อาจรู้สึกเพียงส่วนเดียว เช่น รู้สึกชัดเฉพาะทรวงอกกระเพื่อม หรือรู้สึกชัดเฉพาะช่องท้องพอง-ยุบ กล่าวคือ ร่างกายกำลังใช้กล้ามเนื้อส่วนใด ส่วนเดียวในการหายใจก็เป็นกังวลว่า ตัวเองหายใจผิด

    292-008-pic1_1.jpg
    เรามาทำความเข้าใจกันตรงนี้ก่อน คือ การหายใจผิดไม่มี ถ้ามีจริงคนที่หายใจผิดก็จะเสียชีวิตไปแล้ว ทรรศนะของคำว่า "ผิด" นั้นไม่ดีเลย เพราะนอกจากไม่เป็นความจริงแล้ว ยังบั่นทอนความรู้สึกของตนเองด้วย จำได้ไหมว่าโยคะแนะให้เรามองในเชิงบวก การที่ระบบอัตโนมัติของเราใช้กล้ามเนื้อเพียงส่วนเดียวในการหายใจ ขึ้นกับปัจจัยตั้งหลายอย่าง ปัจจัยที่เห็นได้ง่ายคือ อารมณ์ เช่น ถ้าขณะนั้นเรากำลังผ่อนคลาย เราอาจรู้สึกท้องพอง-ยุบค่อนข้างชัด ถ้าขณะนั้นเรากำลังตื่นเต้น เราอาจรู้สึกทรวงอกกระเพื่อมชัดกว่า เป็นต้น ซึ่งเมื่ออารมณ์เราเปลี่ยนไป รูปแบบของการหายใจอัตโนมัติเราก็จะเปลี่ยนไปด้วย (ไปลองสังเกตดู) ดังนั้น แทนที่จะมัวกังวลว่าตนเองหายใจถูกหรือผิด เราน่าจะหมั่นสังเกตลมหายใจของเรา ทำความรู้จักลมหายใจของเรา และศึกษาทำความเข้าใจลมหายใจของเราจะดีกว่า (หมั่นศึกษาก็เป็นคุณสมบัติของโยคีด้วยเช่นกัน) เมื่อเรารู้จักลมหายใจของตนเองดีพอ เวลาใครมาแนะนำเกี่ยวกับเรื่องลมหายใจ เราก็จะสามารถไตร่ตรองวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้นได้ดีขึ้น (ขอย้ำว่าให้ศึกษาโยคะตามหลักกาลามสูตร คือ ไตร่ตรองเสียก่อนแล้วจึงเชื่อ)

    ส่วนอีกประเภทหนึ่ง นักเรียนบางคนแทบจะไม่รับรู้ความรู้สึกการหายใจอัตโนมัติของตนเองเลย(แล้วก็กังวลว่าตนหายใจผิด) ข้อมูลอีกประการที่เราควรรู้ คือ การหายใจโดยอัตโนมัติของมนุษย์นั้นเบา เพราะว่าโดยปกติเราก็ไม่ได้ต้องการอากาศมากมายแต่อย่างใด ปริมาตรลมหายใจตามอัตโนมัตินี้ เป็นเพียง ๑ ใน ๖ เท่านั้นเอง คือประมาณ ๕๐๐ ซีซี (เรียกว่า ไทดอล -วอลุ่ม) เมื่อเทียบกับตอนสูดหายใจเต็มที่ ซึ่งจะได้อากาศ ประมาณ ๓,๐๐๐-๓,๕๐๐ ซีซี

    โดยสรุป ก่อนที่เราจะเรียนรู้เทคนิคปราณยามะ เราควรจะเริ่มจากการมีทัศนคติที่เหมาะสม คือ การมีทัศนคติต่อตนเองว่า มนุษย์นั้นมีศักยภาพที่จะจัดปรับระบบหายใจตนเองให้เป็นปกติสมดุล ทุกวันนี้โลกเราเต็มไปด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ซึ่งก็คอยให้คำแนะนำให้ข้อมูลมากมาย จนบางทีเล่นเอาเราคนรับข้อมูลถึงกับเขว ถึงกับดูแคลนสัญชาตญาณของชีวิตของตนเองลง ซึ่งตรงกันข้ามกับหลักแห่งโยคะ ที่เชื่อมั่นในศักยภาพภายในตนเองของมนุษย์เป็นสำคัญ คราวนี้เรามาดูเรื่องการควบคุมลมหายใจ หรือปราณยามะ หลังจากครูแนะนำให้นักเรียนรู้จักระบบหายใจอัตโนมัติแล้ว ครูก็จะให้นักเรียนลองควบคุมลมหายใจของตน เช่น เทคนิคการหายใจด้วยหน้าท้อง อันเป็นการที่เราตั้งใจใช้กล้ามเนื้อกะบังลมเป็นหลัก นักเรียนบางคน พอได้ฝึกหายใจด้วยหน้าท้อง เกิดความรู้สึกดี (การหายใจด้วยหน้าท้องทำให้ผู้ฝึกเกิดความรู้สึกผ่อนคลายได้ทันที) เกิดความชอบ แล้วก็คิดเลยเถิดไปว่า ที่ผ่านมาตนหายใจผิดมาโดยตลอด ในกรณีนี้ผู้เขียนมองว่าความคิดแบบนี้เป็นความสับสน เอาเรื่อง ๒ เรื่องมาปนกัน
    292-008-pic2.jpg

    การหายใจโดยอัตโนมัติกับการควบคุมลมหายใจ มีบทบาทที่ต่างกัน มีวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน กลไกการหายใจอัตโนมัตินั้นคอยทำหน้าที่หายใจให้กับเราตลอดเวลา โดยเฉพาะตลอดช่วงเวลาที่เราไม่ได้ใส่ใจกับการหายใจ และระบบอัตโนมัตินี้ทำงานไปตามปัจจัยแวดล้อมต่างๆตามธรรมชาติไม่ได้ขึ้นกับเรา สิ่งที่เราทำได้เป็นเพียงการเฝ้าสังเกต ส่วนการควบคุมลมหายใจ เป็นการที่เราตั้งใจหายใจในรูปแบบที่กำหนดไว้ เช่น จะต้องใช้กล้ามเนื้อชิ้นไหน จะต้องฝึกในท่าใด จะต้องฝึกในเวลาใด รวมถึงการ คาดหวังผลอย่างเจาะจง ในอีกกรณีหนึ่ง นักเรียนบางคนอาจควบคุมการหายใจตามที่กำหนดไม่ได้ หรือทำได้ไม่ถนัด เช่น ในเทคนิคการหายใจด้วยหน้าท้อง บางคนรู้สึกอึดอัดเมื่อต้องหายใจเข้าท้องพอง หายใจออกท้องแฟบ บ้างถึงกับทำตรงกันข้ามเลย หายใจเข้าท้องแฟบ หายใจออกท้องพอง นักเรียนกลุ่มนี้ก็กังวลว่าตนหายใจผิด ซึ่งไม่ใช่เช่นนั้น

    คนที่ฝึกหายใจด้วยหน้าท้องไม่ได้ อาจเกิดเพราะ กล้ามเนื้อกะบังลมของตนเองไม่แข็งแรง พอให้มาฝึกจึงทำไม่ได้ แต่เราควรสรุปว่า กล้ามเนื้อกะบังลมไม่แข็งแรง เป็นความผิดหรือ สำหรับคนกลุ่มนี้ก็เพียงแต่หมั่นฝึก (เพราะโยคะเป็นศาสตร์แห่งการปฏิบัติฝึกฝน) และเมื่อฝึกกล้ามเนื้อกะบังลมก็จะพัฒนาขึ้นเอง บางคนหายใจด้วยหน้าท้องไม่ได้ เพราะเคยชินอยู่กับการใช้กล้ามเนื้อซี่โครงหายใจเช่นกัน ก็หาใช่เรื่องของการหายใจผิดไม่ ครั้นเมื่อเรียนรู้เรื่องการใช้กล้ามเนื้อกะบังลมหายใจ เราก็ฝึกเพิ่ม ก็เพียงเท่านั้น โยคะเป็นศาสตร์แห่งการเรียนรู้ตนเอง ฝึกฝนตนเอง อันนำมาซึ่งการเปล่งศักยภาพที่มีอยู่ภายใน ยิ่งรู้จักโยคะ จะยิ่งเข้าใจตนเอง ยิ่งรักตนเองมากขึ้น

    ปราณยามะ 5
    โพสโดย Fon เมื่อ 1 กันยายน 2547 00:00
    ปราณยามะ 5


    เราได้อธิบายเรื่องพื้นฐานเกี่ยวกับลมหายใจกันมาหลายฉบับแล้ว ไม่ว่าจะเป็นกลไกการหายใจอัตโนมัติ การทำความรู้จักกับการหายใจด้วยทรวงอก (ใช้กล้ามเนื้อซี่โครงหายใจ) การหายใจด้วยหน้าท้อง (ใช้กล้ามเนื้อกะบังลมหายใจ) คราวนี้เรามาเข้าเรื่องปราณยามะกันเสียที ปราณ หมายถึง ลมหายใจ ยามะ หมายถึง การควบคุม ดังนั้น ปราณยามะ หมายถึง การควบคุมลมหายใจ คำถามที่เราควรทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ก็คือ โยคะควบคุมลมหายใจไปเพื่ออะไร? แม้ได้เคยกล่าวไว้แล้วในฉบับที่ 290 แต่ก็ขอกล่าวย้ำอีกครั้ง โยคีฝึกปราณยามะไปเพื่อหวังที่จะควบคุม "จิต" (ซึ่งควบคุมได้ยาก) ของตนเองให้ได้ ดังนั้น ปราณยามะไม่ใช่การฝึกเพื่อเติมอากาศ เติมออกซิเจนให้กับร่างกาย

    ในทางตรงกันข้าม ปราณยามะเป็นการฝึกเพื่อลดอากาศที่จะเข้าสู่ร่างกาย ดังที่ปตัญชลีโยคะสูตร (PYS)1 อธิบายว่า "ปราณยามะ คือ ช่องว่าง ระหว่างลมหายใจเข้า และลมหายใจออก หรือก็คือการหยุดลมหายใจ" (PYS 2.49) เพราะโยคะเชื่อว่า ณ ที่ช่องว่างตรงนี้นี่เอง ร่างกายของเราสงบนิ่ง (เพราะเราฝึกอาสนะมาจนร่างกายนั่งนิ่งได้ดี) ลมหายใจของเราสงบนิ่ง (ขณะที่เรากำลังฝึกปราณยามะ) ผลที่ได้คือ จิตสงบนิ่ง (เราฝึกจิตตรงๆ ไม่ได้ เราจึงต้องอาศัยผ่านทางการควบคุมลมหายใจ) ดังอธิบายในโยคะสูตรว่า "โดยการฝึกปราณยามะ ควบคุมลมหายใจเข้า-ออก ควบคุมการหยุดลมหายใจ จิตก็จะปีติ และ สงบ" "(หลังจากนั้น) จิตก็พร้อม ที่จะเข้าสู่ สมาธิ" (PYS 2.53)

    เทคนิคการฝึกปราณยามะมีอยู่หลายชนิด แม้มีรายละเอียดแตกต่างกัน แต่ก็มีหลักการทำนองเดียวกันคือ เป็นการหายใจช้า การหายใจที่ช้านี้ เกิดขึ้นจากการควบคุม ซึ่งทำได้ 2 กรณี คือ

    1. ควบคุมอัตราส่วนของการหายใจ

    2. สร้างอุปสรรคกีดขวางทางเดินหายใจ

    ในการสร้างอุปสรรคกีดขวาง นิยมทำกัน 2 จุด คือ

    1. ที่บริเวณปลายจมูก

    2. ที่บริเวณหลอดคอ (ฝา กล่องเสียง)


    293-p.50-pic-1.gif

    ปตัญชลียังได้กล่าวถึงวิธีการฝึกปราณยามะด้วย ว่า "ปราณยามะมี ๓ ขั้นตอน หายใจเข้า หายใจออก หยุดหายใจ ทั้งหมดทำด้วยจังหวะที่แน่นอน จังหวะที่สม่ำเสมอ เป็นไปอย่างช้าๆ ค่อยๆ นานขึ้น ค่อยๆ เพิ่มจำนวนรอบมากขึ้น" (PYS 2.50) ก่อนจะเริ่มฝึกปราณยามะพึงระลึกว่า การควบคุมลมหายใจเป็นเทคนิคที่ละเอียดอ่อนกว่าท่าอาสนะ ท่าอาสนะนั้น เป็นเรื่องของกลุ่มระบบประสาทส่วนกลาง central nervous system ที่เราสามารถกำหนดควบคุมได้ ส่วนปราณยามะนั้นเชื่อมโยงกับกลุ่มระบบประสาทอัตโนมัติที่สลับซับซ้อนกว่ามาก คำแนะนำของเราก็คือ ให้ฝึกปราณยามะด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง ให้ฝึกทีละขั้น ค่อยเป็นค่อยไป ที่สำคัญ หากรู้สึกอึดอัดติดขัดต้องหยุดทันที ห้ามฝืนตนเองโดยเด็ดขาด พึงระลึกรู้ว่า เรากำลังฝึกปราณยามะไปเพื่อทำให้ตนเองดีขึ้น มิใช่ทำให้ตนเองแย่ลง หรือถึงขนาดทำอันตรายต่อตนเอง ที่สำคัญ ฝึกปราณยามะในสถานที่และเวลาที่กำหนดไว้เท่านั้น ตำราโยคะ หฐปฏิปิกะ (HP)2 ระบุว่า "ให้ฝึกปราณยามะได้ (ไม่เกิน) วันละ 4 เวลาคือ เช้า เที่ยงวัน เย็น และเที่ยงคืน" (PH 2.11) กล่าวคือ ฝึกปราณยามะเฉพาะในสถานที่ที่เรากำหนดเอาไว้ใช้ฝึกเท่านั้น ฝึกปราณยามะเฉพาะเวลาที่กำหนดเท่านั้น ไม่ฝึกพร่ำเพรื่อ ไม่ใช่คิดอยากจะฝึกก็ฝึก เพราะอาจจะส่งผลเสียต่อตัวผู้ฝึก (ในเวลาปกติ มนุษย์ควรจะหายใจตามธรรมชาติ หายใจโดยอัตโนมัติ) การบ้านของฉบับนี้ เมื่อเรารู้แล้วว่า รูปแบบของการฝึกปราณยามะวิธีหนึ่ง คือ การควบคุมอัตราส่วนของลมหายใจ ในเบื้องต้น สำหรับผู้สนใจปราณยามะให้ลองฝึก ดังนี้

    1. กำหนดเวลาฝึกปราณยามะที่แน่นอน เช่น ตอนเช้า หลังจากที่เราฝึกอาสนะเสร็จ และผ่อนคลายในท่าศพ ๑๐ นาทีเรียบร้อยแล้ว หรือบางคนอาจกำหนดเวลาฝึกปราณยามะตอนค่ำ ก่อนนอน

    2. ฝึกจากท่าอาสนะเพื่อสมาธิ ฝึกหายใจด้วยหน้าท้อง (หายใจเข้าท้องพอง หายใจออกท้องแฟบ) หรือหายใจด้วยทรวงอก (หายใจเข้าทรวงอกแอ่น หายใจออกทรวงอกปิด) โดยให้ควบคุมอัตราส่วนลมหายใจของตนเอง เริ่มจากอัตราส่วน 1 ต่อ 1 (หายใจเข้าใช้เวลาเท่าใด หายใจออกใช้เวลาเท่ากัน)

    3. พึงระลึกถึงความปลอดภัยเป็นหลัก ไม่ฝืนโดยเด็ดขาด หลักในการสังเกตว่าเราฝืนตัวเองเกินไปหรือไม่ คือให้ดูว่าเราฝึกทำ 10 ครั้งต่อเนื่องกันได้โดยไม่รู้สึกอึดอัด ถ้าทำได้ไม่ถึง 10 ครั้ง หมายความว่าการฝึกนั้นมากไปสำหรับเรา

    4. ไม่คำนึงถึงปริมาณมากเกินไป ฝึกไม่เกินครั้งละ ๑๐ นาทีก็เพียงพอ กุญแจสำคัญที่เราจะได้ประโยชน์จากการฝึกปราณยามะ (และทุกเทคนิคของโยคะ) คือ ความสม่ำเสมอ ต่อเนื่องเป็นเวลานานโดยไม่หยุด และด้วยความจริงใจ

    5. ค่อยๆ เพิ่มปริมาณ โดยดูจากตาราง ดังนี้
    293-p.50-pic-2.gif

    1 PYS = หนังสือโยคะสูตร ซึ่งรวบรวมโดยมหาฤษีปตัญชลี (ตัวอย่าง PYS 2.49 = บาที่ 2 ประโยคะที่ 49)
    2 PYS = หนังสือโยคะ หฐปฏิปิกะ (ตัวอย่าง HP 2.11 = บที่ 2 ประโยคที่ 11)


    ปราณยามะ (6) ประโยชน์ของปราณยามะ
    โพสโดย Fon เมื่อ 1 ตุลาคม 2547 00:00
    ปราณยามะ (6) ประโยชน์ของปราณยามะ


    จากที่ได้คุยกันว่า ปราณยามะ ไม่ใช่การฝึกเพิ่มออกซิเจนให้กับร่างกาย แต่เป็นการทำให้หายใจช้าลง หายใจน้อยลง จึงอาจมีคนสงสัยว่า ถ้าไม่ใช่เพื่อออกซิเจน งั้นเราจะฝึกปราณยามะไปทำไม หรือเราได้ประโยชน์อะไรจากการฝึก ตำรา Pranyama เขียนโดย สวามีกุลวัลยนันท์ ของสถาบัน ไกวัลยธรรม อธิบายไว้ว่า ประโยชน์ทางด้านกายภาพที่ได้จากการฝึกควบคุมลมหายใจ คือ เพิ่มความยืดหยุ่นของปอด และพัฒนากล้ามเนื้อ ระบบหายใจ ให้มีความแข็งแรง ไม่เพียงเท่านั้น ตำรายังได้อธิบายประโยชน์ของปราณยามะต่อร่างกายในระบบอื่นๆ ได้แก่

    1. ระบบขับถ่าย
    - เป็นการนวดไต (ปัสสาวะ)
    - เป็นการนวดลำไส้ (อุจจาระ) คล้ายอาการท้องผูก
    - เสริมประสาทที่กระตุ้นกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องในการขับถ่าย

    2. ระบบย่อยอาหาร
    - เป็นการนวดกระเพาะ
    - นวดคลายปัญหาของระบบ เช่น ความผิดปกติของกรดในกระเพาะ gastric disorder
    - เป็นการนวดตับอ่อน
    - เป็นการนวดตับ

    3. ระบบหัวใจ
    - ช่วยนวดหัวใจให้แข็งแรง
    - ทำให้เลือดไหลเวียน หล่อเลี้ยงได้เพิ่มขึ้น

    4. ระบบต่อมไร้ท่อ
    เมื่อเลือดไหลเวียนดีขึ้น ระบบต่อมไร้ท่อก็จะสามารถทำงานได้ดีขึ้นตามไปด้วย

    5. ระบบประสาท
    - ปราณยามะช่วยให้รากของ spinal nerve แข็งแรง
    - ปราณยามะช่วยพัฒนาประสาท sympathetic

    6. จิตวิทยา
    เมื่อระบบต่อมไร้ท่อ และระบบประสาทดี ก็ย่อมส่งผลให้จิดและอารมณ์ดีขึ้น

    ที่เป็นเช่นนี้ เพราะการฝึกปราณยามะเกี่ยวเนื่องกับการทำงานของกล้ามเนื้อซี่โครง กล้ามเนื้อกะบังลม และกล้ามเนื้อหน้าท้อง ซึ่งส่งผลทางด้านการกดนวด อวัยวะต่างๆภายใน ทั้งช่องทรวงอกและช่องท้อง ทำให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย การฝึกปราณยามะตอนเช้าเพียง 10 นาที จะส่งผลดีต่อสุขภาพไปตลอดทั้งวัน ตำราถึงกับสรุปว่า การฝึกปราณยามะนั้น ให้ประโยชน์กว่าการออกกำลังกายอื่นๆ ถึงร้อยเท่าทีเดียว

    เทคนิคการฝึกปราณยามะ ครั้งนี้ กะปาละบาติ
    คำว่า “กะปาละ” มาจากคำว่า กบาล หมายถึง ศีรษะ ส่วนบาติ หมายถึง ส่องสว่าง เป็นประกาย กะปาละบาติ จึงหมายถึง ความโปร่งโล่งทั่วบริเวณศีรษะ ซึ่งเป็นผลที่ได้จากการฝึกหายใจแบบนี้ กะปาละบาติ ไม่ใช่ปราณยามะซะทีเดียว ตามตำรามันเป็นเทคนิคเพื่อชำระล้างระบบหายใจให้บริสุทธิ์ (เรียกว่า กริยา) เป็นการเตรียมร่างกายเพื่อไปฝึกปราณยามะ
    294-p.62-pic-01.gif

    หลักการฝึก
    เป็นการหายใจด้วยหน้าท้องเท่านั้น ไม่ใช้กล้ามเนื้อซี่ดครงแต่อย่างใด ผู้ฝึกทำการหายใจออกโดยเร็ว ทำต่อเนื่องเป็นจังหวะ ทำสม่ำเสมอ ไม่สนใจกับลมหายใจเข้า ลมหายใจเข้าจะเป็นไปเอง โดยอัตโนมัติ โดยเราไม่ต้องตั้งใจหายใจเข้า

    วิธีทำ

    • ฝึกจากท่านั่งสมาธิ ท่าใดก็ได้ แต่หายฝึกจากท่า วัชระอาสนะ หรือท่าปทุมอาสนะ ได้ก็ยิ่งดี
    • หายใจออกหน้าท้องยุบแล้วพัก (ลมหายใจเช้าเกิดขึ้นเอง) ใช้เวลาประมาณ 1 วินาที
    • เน้นเฉพาะการหายใจออก รู้สึกเหมือนว่าเราระเบิดลมหายใจออก




    294-p.62-pic-02.gif


    ปราณยามะ ๗ ความเชื่อ VS ข้อเท็จจริง
    โพสโดย Fon เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2547 00:00
    ปราณยามะ 7 ความเชื่อ VS ข้อเท็จจริง


    เราได้พูดถึงรายละเอียดของปราณยามะมาพอสมควรแล้ว ฉบับนี้ เราลงตารางเปรียบเทียบ ระหว่าง ปราณยามะกับการหายใจทั่วไป เพื่อให้เราเข้าใจปราณยามะได้ดียิ่งขึ้นไปอีก

    295-p.50-pic-1.gif

    เมื่อทำความเข้าใจกับหลักต่างๆในการฝึกปราณยามะแล้ว จะเห็นได้ว่า ปราณยามะไม่ใช่การเพิ่มออกซิเจนให้กับร่างกายอย่างที่หลายคนเข้าใจ ตรงกันข้ามเลย ปราณยามะเป็นการลดอากาศ เพื่อลดการหายใจ อันเป็นการนำผู้ฝึกไปสู่สภาวะความสงบของจิต

    เทคนิคการฝึก อุจจัย Ujjai

    ลักษณะเด่น เป็นการหายใจเข้า ออกช้าๆ โดยทำให้มีเสียงเกิดขึ้นในลำคอ

    วิธีทำ นั่งในท่าขัดสมาธิ ท่าไหนก็ได้ที่เราถนัด เก็บคางลงชิดทรวงอกพอประมาณ เกร็งตึงบริเวณลำคอเล็กน้อย หายใจเข้า ทำให้ลมไหลผ่านบริเวณลำคอไม่สะดวก เพราะลมไหลผ่านไม่สะดวกนี่เอง ทำให้ลมหายใจของเราช้าลงกว่าปกติ นอกจากนั้น ยังเกิดเสียงซือออเบาๆ ในลำคอด้วย หายใจออกก็เช่นกัน หายใจช้า พร้อมๆกับการเกิดเสียงซือออเบาๆ ในลำคอ ใน ๑ ครั้งของการฝึก ทำประมาณ 10 รอบ นอกจากนี้ อุจจัยยังสามารถฝึกทำได้ตลอดเวลา ในวิถีชีวิตประจำวัน เช่น ระหว่างขับรถขณะรถติด ฯลฯ

    สิ่งสำคัญ เป็นการหายใจที่ช้า ซึ่งเอื้อต่อความสงบของอารมณ์ ความนิ่งของจิต ผู้ฝึกต้องใส่ใจอยู่กับเสียงเบาๆ ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ทำให้เกิดสมาธิขึ้นทันทีที่เริ่มปฏิบัติ

    ข้อพึงระวัง อย่าเกร็งจนเกินไป พึงระลึกว่า ทุกเทคนิคของโยคะต้องทำอย่างสบายๆ พอเหมาะพอดี อย่าไปใส่ใจว่าทำถูกหรือยัง สิ่งที่เราต้องการคือ เสียงที่สม่ำเสมอ เป็นเวลานาน ขอเพียงแค่นี้เอง ในตอนฝึกทำใหม่ๆ ไม่ชำนาญ เสียงอาจดังไป (ทำได้ไม่นาน) หรือเสียงอาจเบาไป (เสียงขาดหายเป็นช่วงๆ) เมื่อฝึกมากขึ้น ก็ค่อยๆ ดีขึ้นเอง

    ประโยชน์ เป็นการทำให้เกิดสมาธิ หลายคนนิยมทำอุจจัย เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนฝึกสมาธิ เป็นเครื่องมือในการควบคุมอารมณ์ที่มีประสิทธิภาพ ฝึกทำขณะเริ่มมีอารมณ์ขุ่นมัว หงุดหงิด โมโห จะช่วยลดความรุนแรงของอารมณ์ลงได้ หากฝึกสม่ำเสมอ นอกจากจะลดความรุนแรงของอารมณ์แล้ว ผู้ฝึกจะสังเกตพบว่าตนเองเริ่มสามารถป้องกันตัวเองจากอารมณ์ขุ่นมัว ก่อนที่มันจะเกิดได้ ซึ่งเป็นการยืนยันว่า เป้าหมายของเทคนิคปราณยามะนั้น อยู่ที่การควบคุมอารมณ์ อยู่ที่การควบคุมจิต

    ชื่ออุจจัย หมายถึง ชัยชนะอันยิ่งใหญ่ กล่าวคือ สำหรับโยคะแล้ว ชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของมนุษย์ ก็คือ การควบคุมอารมณ์ตนเองให้ได้นั่นเอง

    295-p.50%20pic-02.gif

    ปราณยามะ (8)
    โพสโดย Fon เมื่อ 1 ธันวาคม 2546 00:00
    ปราณยามะ (8)


    เมื่ออ่าน เมื่อฝึกมาถึงฉบับนี้ เราคงเห็นความแตกต่างระหว่างเทคนิคโยคะ ๒ ชนิด อาสนะกับปราณยามะ การฝึกอาสนะนั้น เป็นรูปธรรมค่อนข้างชัดเจน ให้ประโยชน์กับผู้ฝึกในระดับหนึ่ง ส่วนการฝึกปราณยามะเป็นนามธรรม เรียนรู้ และฝึกได้ยากกว่า ปราณยามะมีประโยชน์มาก โดยเฉพาะการพาผู้ฝึกไปสู่สมาธิ อันเป็นเป้าหมายแห่งโยคะ เมื่อเข้าใจดังนี้ ผู้ฝึกก็จะมีความพิถีพิถันในการฝึกเทคนิคโยคะทั้ง ๒ ประเภทนี้มากขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อให้การฝึกโยคะของเราเกิดแต่ประโยชน์ หลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดโทษนั่นเอง

    เราได้ทำความเข้าใจกับปราณยามะมาในแง่มุมต่างๆ ทั้งลักษณะทางสรีรวิทยาของปราณยามะ ทั้งคำอธิบายตามตำราดั้งเดิม นอกจากนั้นเราก็ได้แนะนำเทคนิคต่างๆ เพื่อให้เราเข้าใจระบบหายใจของตนเอง และเริ่มรู้จักการควบคุมลมหายใจของตนเองในลักษณะ เฉพาะเจาะจงตามแบบฉบับโยคะ ที่สำคัญเราให้ความสำคัญกับการฝึกอย่างช้าๆ ค่อยๆ ขยับไปทีละขั้นๆ เพื่อให้มั่นใจว่า เราทำไปตามศักยภาพของตนเองโดยไม่ฝืน จะเห็นได้ว่า การควบคุมลมหายใจของโยคีนั้น ล้วนค่อยๆ ทำให้เราหายใจช้าลงๆ เช่น การจำกัดช่องทางเดินของอากาศให้แคบลง ทำให้เราใช้เวลาในการหายใจนานขึ้น หรือการกำหนดอัตราส่วนของลมหายใจ ออกให้ยาวเป็น ๒ เท่าของลมหายใจเข้า ก็ล้วนแต่เป็นไปเพื่อทำให้เราหายใจช้าลงๆ นั่นเอง

    296-008-pic1.jpg

    296-008-pic2.jpg


    ปราณยามะ (9)
    โพสโดย Fon เมื่อ 1 มกราคม 2547 00:00

    ปราณยามะ (9) ตอนสุดท้ายของปราณยามะ


    297-008-pic1.jpg

    ในบทสรุปนี้ ขอย้ำว่าแก่นของปราณยามะ คือ "ช่องว่างระหว่างลมหายใจเข้าและลมหายใจออก หรือก็คือ การหยุดลมหายใจ" ถ้าจะฟันธงลงไป เราก็กล่าวได้ว่า การฝึกควบคุมลมหายใจต่างๆ ของโยคะ ท้ายที่สุดก็เพื่อสร้างสภาวะของการไม่หายใจเป็นเวลานานๆ นั่นเอง เพราะโยคะถือว่า การที่ร่างกายนั่งได้สงบลมหายใจหยุด จิตก็จะสงบนิ่งลงเป็นสมาธิ อันเป็นเป้าหมายของโยคะ จะเห็นได้ว่าธรรมชาติของปราณยามะ คือ การหายใจช้าลง การที่มีอากาศน้อยลง (ขอย้ำอีกครั้งว่า ปราณยามะไม่ใช่การเพิ่มออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายมากๆ อย่างที่หลายคนเข้าใจ) บางคนอาจมีความวิตกว่า ปราณยามะอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อระบบหายใจเพราะเราหายใจน้อย หรือไม่ ในข้อนี้ไม่ต้องกังวล เนื่องจากเทคนิคปราณยามะทั้งหลายไม่ได้ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจนถึงขั้นที่เป็นอันตราย (การปีนยอดเขาสูงๆ อาจได้รับอันตรายเนื่องจากขาดออกซิเจน ได้มากกว่าการฝึกปราณยามะซะอีก)

    แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะฝึกปราณยามะโดยพลการ ดังที่ทราบกันว่า เทคนิคของโยคะมีหลายๆ ระดับ ในเบื้องต้นเราฝึกอาสนะซึ่งเป็นรูปธรรม จากนั้นเราก็มาฝึกปราณยามะ ซึ่งมีลักษณะเป็นนามธรรม ความเป็นนามธรรมจับต้องไม่ได้ของปราณยามะนี่เอง ที่ทำให้เราต้องฝึกด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ ยกตัวอย่างเช่น ในการฝึกอาสนะ หากเราทำมากเกินไปจะทำให้รู้สึกปวดกล้ามเนื้อ และหยุดทำทันที ก่อนที่จะเกิดอันตราย แต่ในการฝึกปราณยามะ หากเราทำไม่ถูกต้อง เราก็อาจไม่รับรู้ และก่อให้เกิดอันตรายภายหลังได้ นั่นหมายความว่า ผู้อ่านที่สนใจปฏิบัติ ควรฝึกตามตำราโดยเคร่งครัด ด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ ตำราหฐโยคะ ถึงกับเตือนว่า หากฝึกไม่ถูกต้องเหมาะสม อาจทำให้ผู้ฝึกวิกลจริตได้เลยทีเดียว!

    เราได้ทำความรู้จักกับการฝึกลมหายใจหลายๆ วิธีเริ่มจากการหมั่นเฝ้าดูลมหายใจตนเองในชีวิตประจำวัน การหายใจด้วยหน้าท้อง การหายใจด้วยทรวงอก การหายใจออกให้นานเป็น ๒ เท่าของลมหายใจเข้า เทคนิคปราณยามะแบบอุจจัย อนุโลมาวิโลมา เทคนิคเหล่านี้ ล้วนทำให้เราหายใจช้าลงๆ โดยในที่สุด ก็จะทำให้เรามาสู่เป้าหมายสุดท้าย คือ ปราณยามะ หรือสภาวะของช่องว่างระหว่างลมหายใจ ซึ่งบางตำราเรียกว่า กุมภกะ



    297-008-pic2.jpg



    https://www.doctor.or.th/article/detail/1625

    https://www.doctor.or.th/article/detail/1645

    https://www.doctor.or.th/article/detail/1673

    https://www.doctor.or.th/article/detail/1696

    https://www.doctor.or.th/article/detail/1970

    https://www.doctor.or.th/article/detail/2062

    https://www.doctor.or.th/article/detail/2041

    https://www.doctor.or.th/article/detail/1735

    https://www.doctor.or.th/article/detail/1758
     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,710
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra
    เคนยามีนักเรียนอย่างน้อย 7 คนเสียชีวิตและมากกว่า 4 คนได้รับบาดเจ็บหลังจากการล่มสลายของห้องเรียนที่โรงเรียนPrecious Talent ในเมือง Ngando ในไนโรบี

    c_oc=AQmnbrlgg1YQh5r6VmFEw0gYyJ3L6lvviryTT-vqYrHlMFoUAranAiR9FEub2RLhBHU&_nc_ht=scontent.fbkk7-2.jpg

    c_oc=AQmnDk2ttSAqGSIMPIHczd80ueyW8PS6iHsDv5yiP0wa0oxCuNOBAC7O4a-2UnqxziY&_nc_ht=scontent.fbkk7-3.jpg

    c_oc=AQnmMkHe4vQXAlULPVFsKqWv6k1FGwC5gQ-9V1ynhortGtBk2ydX98GI9Sb4WvI-U7s&_nc_ht=scontent.fbkk7-2.jpg

    c_oc=AQkPWyNvmTzaZXAIpcrb8ZqQnLi5H-22rF2qXnN4ZUOfZbt5E6kJBZLxCqhMRpwdPVA&_nc_ht=scontent.fbkk7-2.jpg

    c_oc=AQk7evRl08YiXEMYqRcD7yuv89hdCMOPNX1zPnvXjDSiuuNa7_b-STLfIF48I7bRf7s&_nc_ht=scontent.fbkk7-3.jpg
     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,710
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    การแจ้งเตือนของเปอร์โตริโกโดยพายุเขตร้อนคาเรนซึ่งสามารถทิ้งน้ำท่วมบนเกาะได้ ผู้ว่า wanda vasquez ได้ประกาศหยุดการเรียนการสอนและปิดหน่วยงาน เขายังได้ร้องขอให้ประชากรของพื้นที่ที่ประสบภัยน้ำท่วมแสวงหาที่หลบภัย

     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,710
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    นี่คือแผ่นดินไหวของขนาด 6.0 mw รู้สึกในเปอร์โตริโก ไม่มีการบันทึกความเสียหาย





    c_oc=AQldzYMu7CfVna_7EKF32EahOlmAzAjRRsjbL3a0DLgWl-LgVLTfK5O1NccUiQivlcI&_nc_ht=scontent.fbkk7-2.jpg
     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,710
    ค่าพลัง:
    +97,150
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,710
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    แผ่นดินไหวสร้างความเสียหายให้กับแหล่งน้ำหลักในMayagüez ทางฝั่งตะวันตกของเปอร์โตริโก

     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,710
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    แรงสั่นสะเทือนรุนแรงตลอดทั่วเปอร์โตริโก เบื้องต้นขนาด 6.0 ทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ







     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,710
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    แผ่นดินไหว M6.0 วันนี้เกิดขึ้นใน Mona Passage ระหว่างเปอร์โตริโกและสาธารณรัฐโดมินิกันซึ่งเป็นพื้นที่ขยายที่ใช้งานอยู่ภายใน arco แผ่นดินไหว M7.2 (beachball) เกิดขึ้นในบริเวณนี้ในปี 1912 คำอธิบายการแปรสัณฐานที่ดี

    c_oc=AQlo6WMINJeqWHQ_Qrmn_g3_A6Awfk_SnmVjtwAV9Km8Sz7ECybUjEwObBAUrsxOn3c&_nc_ht=scontent.fbkk7-2.jpg

     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,710
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    นาทีสุดท้าย: ตอนนี้มีแผ่นดินไหวถึง 4 ครั้งที่จะเขย่าเปอร์โตริโกในคืนนี้:
    4.6 (จำลอง)
    4.6 (จำลอง)
    4.7 (จำลอง)
    6.0 (ต้นฉบับ)

    Última Hora: Ahora ha habido 4 terremotos para sacudir a Puerto Rico esta noche:
    4.6 (réplica)
    4.6 (réplica)
    4.7 (réplica)
    6.0 (el original)

    upload_2019-9-24_11-53-38.png
     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,710
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ทุกๆ ปี ทั่วทั้งโลกกำลังสูญเสียพื้นที่ป่าขนาดเท่าประเทศอังกฤษ โดยเฉพาะพื้นที่ป่าฝนเขตร้อน ซึ่งจะส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสภาพอากาศและสัตว์ป่า
    .
    อัตราการสูญเสียพื้นที่ป่าเพิ่มมากขึ้นถึง 26 ล้านเฮกตาร์ (64 ล้านเอเคอร์) ต่อปี โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาพบว่าอัตราการสูญเสียพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าอดีต แม้ว่าผู้นำประเทศทั่วโลกได้ร่วมปฏิญญาที่จะลดอัตราการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้กันไปแล้วในปี 2557

     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,710
    ค่าพลัง:
    +97,150
    แผ่นดินไหว ขนาด ถึง 6.3
    คำเตือนสึนามิที่เป็นไปได้

    แผ่นดินไหว ขนาด M6.0 - 62km NNW ของ San Antonio, Puerto Rico - Tue, 24 กันยายน 2019 เวลา 03:23:35 UTC (23:23 EDT)
    IMG_4503.JPG
    Up to 6.3
    POSSIBLE TSUNAMI WARNING

    Earthquake M6.0 - 62km NNW of San Antonio, Puerto Rico - Tue, 24 Sep 2019 03:23:35 UTC (23:23 EDT) - 1 hour ago
    more info: https://www.volcanodiscovery.com/earthquakes/quake-info/2527777/info.html
    via Volcanoes & Erthquakes App - https://play.google.com/store/apps/details?id=com.volcanodiscovery.volcanodiscovery

     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,710
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    พายุฝุ่นที่แอฟริกาใต้ ใน delmas mpumalanga #23 ก. ย.


     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,710
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    แผ่นดินไหวที่รุนแรง ขนาด 6.0 ใน mayagues เปอร์โตริโก #23 ก. ย.


     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,710
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    เปอร์โตริโกเริ่มรายงานความเสียหายและเหตุการณ์หลังจากแผ่นดินไหว ในกรณีนี้มันเป็นท่อที่แตกใน mayagüez เพื่อนบ้านอยู่โดยไม่มีการบริการน้ำประปา


     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,710
    ค่าพลัง:
    +97,150
    “เครื่องบินฝนหลวง”โหม่งโลกขณะฝึกบิน“ครูฝึก-นักบิน”ดับ2ศพ“ธรรมนัส”บอกเสียใจชี้เครื่องเก่ามาก

    #ข่าวเจาะลึกทันเหตุการณ์ #เครื่องบินฝนหลวงโหม่งโลก #ครูฝึกนักบินดับ2ศพ #ธรรมนัสเสียใจชี้เครื่องเก่ามากแล้ว #ภูมิภาค

     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,710
    ค่าพลัง:
    +97,150
    John Traczyk

    อิเล็กตรอนพุ่งออกมาพร้อมกับการสั่นสะเทือน ความหนาแน่นของโปรตอน กระทบที่ 138 ในวันที่ 21 ข้อมูลสภาพอากาศในอวกาศของ ISWA นั้นหยุดชะงักตั้งแต่วันที่ 18 โดยไม่มีการอัปเดต อีกสองดาวเทียมก็ออฟไลน์ในวันที่ 20 เช่นกัน เครื่องมืออวกาศกำลังหายไปอย่างรวดเร็ว Secchi เพิ่งลบการเข้าถึงข้อมูลที่ผ่านมา





    Electrons spike same time as quake swarm. Proton density hit 138 on the 21st. ISWA space weather data has been frozen since the 18th with no updates. Two other satellites went offline on the 20th as well. Space instruments are disappearing quickly. Secchi has recently removed access to past data well.


     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,710
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ซานดิเอโก..... แคลิฟอร์เนีย..
    29 สิงหาคม 2019

     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,710
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Michael DiFato

    Schumann Resonance charts 6 วันล่าสุด ..
    IMG_4507.JPG
    Schumann Resonance charts last 6 days..


     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,710
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ภาพยนตร์ GEOSPACE MAGNETOSPHERE 24 กันยายน 2019

    ภาพแรก ความเร็ว (Velocity)
    IMG_4504.PNG
    ภาพ 2 ความหนาแน่น
    IMG_4505.PNG
    ภาพที่ 3 ความดัน ( Pressure)
    IMG_4506.PNG
    ภาพยนตร์อวกาศ Geometry Magnetosphere แสดงภาพตัดสนามแม่เหล็กโลก 2 มิติจากแบบจำลองการบินอวกาศสำหรับพารามิเตอร์พลาสมา 3 แบบ (ความเร็ว ความหนาแน่นและความดัน) สำหรับพารามิเตอร์พลาสม่าแต่ละเส้น equatorial (ระนาบ x-y) และnoon-midnight magnetic meridian (ระนาบ x-z) จะถูกพล็อตในพิกัด GSM ภาพเคลื่อนไหวแสดงการพยากรณ์โมเดลซึ่งเวลานำขึ้นอยู่กับความเร็วลมสุริยะเช่นเดียวกับสองชั่วโมงก่อนหน้านี้สำหรับบริบท

    ระนาบการตัดแบบสองมิติของสนามแม่เหล็กนั้นมีประโยชน์ในการจัดทำกิจกรรมระดับโลกในสภาพแวดล้อมใกล้โลก แผนการเหล่านี้ช่วยนักพยากรณ์ในการพัฒนาความตระหนักในสถานการณ์และเป็นประโยชน์สำหรับการประเมินความถูกต้องของแบบจำลองการบินและอวกาศ

    สำหรับผลิตภัณฑ์สภาพอากาศอวกาศเพิ่มเติมที่สร้างโดยใช้เอาต์พุตจากโมเดล Geospace ดูหน้าต่อไปนี้:

    GEOSPACE MAGNETOSPHERE MOVIES
    VELOCITY
    Geospace 2d Cut Planes - Velocity

    DENSITY
    Geospace 2d Cut Planes - Density

    PRESSURE
    Geospace 2d Cut Planes - Pressure

    UsageImpactsDetailsHistoryData
    The Geospace Magnetosphere Movies display 2d cut planes of Earth's magnetosphere from the Geospace model output for three different plasma parameters (velocity, density, and pressure). For each plasma parameter, equatorial (x-y plane) and noon-midnight magnetic meridian (x-z plane) cut planes are plotted in GSM coordinates. The animations show the model forecast, where the lead time depends on the solar wind speed, as well as the previous two hours for context.

    2D cut planes of the magnetosphere are useful for providing a large-scale, global context of activity in the near-Earth environment. These plots assist forecasters in developing situational awareness and are useful for assessing the validity of the Geospace model.

    For additional space weather products generated using output from the Geospace model, see the following pages:

    https://www.swpc.noaa.gov/products/geospace-magnetosphere-movies
     

แชร์หน้านี้

Loading...