ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,717
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ข่าวเดลินิวส์ พิษไต้ฝุ่นซูลิกถล่มจีน ยอดผู้เสียชวิตและสูญหาย 295 คน
    วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม 2556 เวลา 19:11 น.
    image.jpg
    สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานจากกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 15 ก.ค.ว่า รัฐบาลจีน เปิดเผยเมื่อวันจันทร์ว่า อย่างน้อย 295 คนได้รับการยืนยันว่าเสียชีวิต หรือสูญหาย หลังจากฝนตกหนักและพายุไต้ฝุ่น “ซูลิก” พัดถล่มจีน ซึ่งทำให้เกิดน้ำท่วม ดินถล่ม และอาคารพังถล่ม โดยมีฝนตกหนักในมณฑลเสฉวน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนมาตั้งแต่เมื่อวันที่ 7 ก.ค.ที่ผ่านมา และมีผู้เสียชีวิต 68 คน สูญหาย 179 คน นอกจากนี้ ยังมีผู้เสียชีวิตอีก 40 คน และสูญหาย 2 คน ในพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศ ส่วนในมณฑลกวางตุ้ง มีผู้เสียชีวิต 3 คน และสูญหาย 2 คนหลังซูลิกถล่มเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา

    เจ้าหน้าที่ประเมินความเสียหายจากไต้ฝุ่นลูกนี้ เฉพาะเมืองเหวินโจว ของมณฑลเจ้อเจียง เมืองเดียวได้รับความเสียหายทางเศรษฐกิจโดยตรง 210 ล้านหยวน หรือ 34 ล้านดอลลาร์
     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,717
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ก้องภพ อยู่เย็น
    วันที่ 14 พลังงานจากปฏิกริยาดวงอาทิตย์วันที่ 9 ส่งผลให้เกิดพายุสนามแม่เหล็กระดับ 5 เริ่มในเวลา 24 UT ซึ่งมาช้ากว่าการคำนวณโดย นาซ่าและ NOAA ไปประมาณหนึ่งวัน 3-day Estimated Planetary Kp-index Monitor

    บนโลกพบปรากฏการณ์ธรรมชาติมากกว่าปกติเช่น
    - เกิดปฏิกริยาภูเขาไฟปะทุและระเบิดที่ประเทศ เอควาดอร์ Ecuador Volcano Tungurahua Erupts And Explodes
    - ลาวาไหวออกมาจากภูเขาไฟในกัวเตมาลา Fuego volcano (Guatemala): eruption and activity updates / 2 May - 14 Jul 2013
    - เกิดลมพายุแรงในประเทศออสเตรเลีย RSOE EDIS - Extreme Weather in Australia on Monday, 15 July, 2013 at 10:56 (10:56 AM) UTC. EDIS CODE: ST-20130715-40032-AUS
    - ช่วงนี้อากาศร้อนเป็นพิเศษในรัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา
    3-day Estimated Planetary Kp-index Monitor
    swpc.noaa.gov
     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,717
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ขอเพิ่มเติมของอาจารย์ปิยะชีพน่ะครับ เรื่อง "Little Ice Age"
    นักวิจัยเผย ปี 2014 โลกจะก้าวเข้าสู่ยุคน้ำแข็ง "Little Ice Age"จริงหรือเท็จ
    Earth-from-Space.jpg

    นักวิจัยเผย ปี 2014 โลกจะก้าวเข้าสู่ยุคน้ำแข็ง “Little Ice Age”

    ice_630x.jpg

    หลัง จากที่เกิดสัญญาณของภัยพิบัติที่เกิดขึ้นกับโลกตลอดหลายปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลก ซึ่งนั่น เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาโลกร้อน แต่นักวิทยาศาสตร์บางส่วนเชื่อว่า อีกไม่นานโลกของเรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคน้ำแข็ง หรือยุค “Little Ice Age”ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

    sunspot_numbers_400yr-500.jpg

    การเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว มีการคาดการณ์ว่า หลังจากที่จุดดับบนดวงอาทิตย์มีจำนวนถึงขีดสุดในปี 2042 จะส่งผลให้ปี 2014 เริ่มเป็นยุคน้ำแข็ง และจะเย็นถึงขีดสุดในปี 2055-2060

    20060121snow.jpg

    ดร.ฮา บิบูลโล แอ๊บดัซซามาโทฟ หัวหน้าทีมวิจัยอวกาศแห่งหอดูดาวและอวกาศ เซนต์ปีเตอร์เบิร์ก เคยกล่าวในการประชุมภาวะโลกร้อนนานาชาติ ที่จัดขึ้นในเดือนพฤษภาคมปีที่ผ่านมาว่า สาเหตุที่แท้จริงของภาวะโลกร้อนนั้นไม่ใช่การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์บน โลก แต่เกิดจากรังสีจากดวงอาทิตย์

    โดยมีการแสดงจุด ดับของดวงอาทิตย์ ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา เพื่อโต้แย้งงานวิจัยอื่น ๆ พร้อมทั้งแสดงหลักฐานสนับสนุนที่ว่า นักดาราศาสตร์ วอลเตอร์ มอนเดอร์ สรุปข้อมูลจุดดับของดวงอาทิตย์ตั้งแต่ปี 1645 – 1715 พบมีจำนวนเพิ่มขึ้น นั่นเป็นสาเหตุของอุณภูมิโลกที่ลดลง ในแวดวงวิทยาศาสตร์เรียกช่วงเวลานี้ว่า“Little Ice Age”นั่นเอง

    ดร.ฮา บิบูลโล ยังได้อธิบายเพิ่มเติมว่า จุดดับ หมายถึง พื้นที่ส่วนหนึ่งของดวงอาทิตย์ขนาดแตกต่างกันไป ตั้งแต่ 3,600 กิโลเมตรไปจนถึง 50,000 กิโลเมตร โดยมีอุณหภูมิต่ำกว่าบริเวณโดยรอบ หากมีจำนวนมากขึ้นแล้ว จะทำให้ห้รังสีจากดวงอาทิตย์มีปริมาณลดลง

    An Inconvenient Truth
     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,717
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สาเหตุการเกิดยุคน้ำแข็ง
    ประวัติศาสตร์ของโลกตั้งแต่สมัยอาณาจักร Sumeria เมื่อ 5,000 ปีก่อนคริสต์กาลถึงปัจจุบันได้ บันทึกสภาพดินฟ้าอากาศของโลกว่า ถึงแม้ในบางปีอากาศจะร้อนจัดมาก และบางปีอากาศจะหนาวเหน็บก็ตาม แต่ความแตกต่างของอุณหภูมิร้อนและเย็นก็ค่อนข้างจะน้อย แต่หากได้พิจารณาอุณหภูมิของอากาศในอดีตที่ผ่านมานานๆ เช่น เมื่อ 2 ล้านปีก่อนก็จะเห็นความแปรปรวนของอุณหภูมิสูงและตํ่าได้อย่างชัดเจนเพราะหลักฐานต่างๆ ชี้บ่งว่าอุณหภูมิของโลกได้ขึ้นสูงหลายครั้ง และลดตํ่าหลายหน เวลาอุณหภูมิลดตํ่ามาก ทวีปต่าง ๆ ของโลกจะถูกนํ้าแข็งที่มีความหนาเป็นกิโลเมตรปกคลุม นักวิทยาศาสตร์เรียกระยะเวลาเช่น นี้ว่า ยุคนํ้าแข็ง ยุคนํ้าแข็งยุคหนึ่งๆ กินเวลานานถึง 100,000 ปี และหลังจากนั้นโลกก็จะอบอุ่นขึ้น เวลา ของการพักหนาวครั้งหนึ่งๆ จะนานราว 20,000 ปี แล้วความหนาวจัดก็หวนกลับมาใหม่ เป็นวัฎจักรวนเวียนเช่นนี้ไปเรื่อยๆ

    M. Milankovitch ซึ่งเป็นทั้งนักคณิตศาสตร์ และนักดาราศาสตร์ชาวยูโกสลาเวีย ได้เคยอธิบายสาเหตุ
    การมาเยือนของยุคนํ้าแข็งเมื่อประมาณ 60 ปีก่อนนี้ว่า สาเหตุสำ คัญสองประการที่ทำ ให้เกิดยุคนํ้าแข็งบน
    โลกคอื ระยะหา่ งของโลกจากดวงอาทติ ยN และมุมเอียงที่แกนหมุนของโลกทาํ กบั ระนาบการโคจรของโลกรอบ ดวงอาทิตย์โดยเขาได้คำ นวณพบว่า หากโลกได้รับแสงอาทิตย์เพียงน้อยลงเพียง 1% โลกก็จะถูกนํ้าแข็งปกคลมุ ทันที ทฤษฎขี อง Milankovitch ยงั ไดท้ า ํ นายอกี ดว้ ยวา่ ในทุกๆ 23,000 ปี และ 41,000 ปี และ100,000 ปี ยุคนํ้าแข็งจะมาเยือนโลก หลักฐานทางธรณีวิทยาจากหินใต้ทะเลเท่าที่ผ่านมายืนยันว่ายุคนํ้าแข็งได้อุบัติบนโลก ตรงตามเวลาที่ Milankovitch ได้ทำ นายไว้ทุกประการ

    แต่ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์ได้พบหลักฐานเพิ่มเติมอีกมากมายที่กำ ลังส่อแสดงให้เห็นว่าทฤษฎีการเกิดยุคนํ้าแข็งของ Milankovitch ยังไม่สมบูรณ์ เช่น คณะนักสำรวจได้พบซากหมีขาวที่ได้ตายไปเมื่อ 40,000 ปี ก่อน โน้น ในถ้ำ แหง่ หนึ่ง ในบริเ วณทวีป ารก์ ติก ที่แ สดงให้เ หน็ ว่า ดิน แดนขั้ว โลกเหนือ ในอดตี นั้น เคยมี
    อากาศอบอุ่น หาได้ถูกปกคลุมด้วยนํ้าแข็งหนา ดังที่ Milankovitch ทำ นายไว้ไม่ และที่รัฐ Nevada ที่บริเวณถํ้า Devil Hole นักธรณีวิทยาได้พบหลักฐานที่บ่งบอกว่าช่วงเวลาที่โลกปลอดนํ้าแข็งนั้น ก็ไม่ได้ตรงตามคำ ทำ นายอีกเช่นกัน ในที่ประชุมของสมาคม America Geophysical Union ที่เมือง San Francisco เมื่อวันที่ 24
    ธันวาคม T. Hagelberg แห่งมหาวิทยาลัย Rhode Island ได้เสนอหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าความแปรปรวน
    ในการหมุนของโลกทำ ให้ยุคนํ้าแข็งเกิดขึ้นได้ทุกๆ 10,000 ปี หากคำ สรุปนี้เป็นจริง เราก็คงรู้สึกไม่มั่นใจเลยว่า ปัจจุบันนี้เรากำ ลังเผชิญยุคนํ้าแข็งหรือผ่านยุคนํ้าแข็งมาแล้ว หรือกำ ลังอยู่ในยุคนํ้าแข็งกันแน่ งานวิจัยของ A. Wilson แห่งมหาวิทยาลัย Arizona ก็ได้แสดงให้เห็นเหมือนกันว่า ในอดีตขณะที่โลกกำ ลังอยู่ในยุคนํ้าแข็งนั้น ปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศขณะนั้นมีมากกว่าที่ใครๆ เคยวัดไว้คือมีมากพอๆ กับปรมิ าณคารบ์ อนไดออกไซดใ์ นอากาศปจั จบุ นั และนนั่ กห็ มายความวา่ ถงึ แมว้ า่ อากาศจะรอ้ ย เพราะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทำ ให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจกก็ตาม แต่ยุคนํ้าแข็งก็ยังอุบัติได้ในโลก นักวิจัยหลายคนคิดว่าความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่ไม่คงที่มีส่วนทำ ให้เกิดยุคนํ้าแข็งบนโลกได้เช่นกัน แต่ทฤษฎีของMilankovitch ก็มิได้คำ นึงถึงความแปรปรวนประเด็นนี้

    สรุปว่า หากเราได้วิเคราะห์หลักฐานต่างๆ ทั้งบนฟ้า ในนํ้า และใต้ดินหมดทุกแง่ ทุกมุมแล้วเท่า
    นั้น เราจึงจะสามารถตอบคำ ถามที่ว่า ยุคนํ้าแข็งเกิดได้เพราะเหตุใด และเมื่อใด
     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,717
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ขอนำข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์ 11 กรกฎาคม 2549 06:27 น. หัวข้อข่าว คาด “ซูเปอร์ไต้ฝุ่นถล่มฮ่องกง” ไทยโชคดีมีแนวโน้มรอด มาคุยกันน่ะครับเพราะช่วงนี้ผมเห็นว่าเกิดพายุที่เรียกว่าซูเปอร์ไต้ฝุ่นกันหลายลูก และเนื้อหาของข่าวนี้เป็นการคาดการณ์ว่าอาจจะเกิด “ซูเปอร์ไต้ฝุ่นถล่มฮ่องกง” โดยไม่ได้ระบุวันเวลาที่จะเกิดน่ะครับ

    นักฟิสิกส์ ระบุ มีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิด “ซูเปอร์ไต้ฝุ่น” ความเร็ว 248 กม.ต่อชั่วโมง เผยอาจถล่มฮ่องกง และเกิดความสูญเสียอย่างใหญ่หลวง ขณะที่ไทยจะไม่ได้รับผลกระทบ เพราะมี พม่า เวียดนาม กัมพูชา เป็นกำแพงกั้นไว้

    ศ.จอห์นนี ชาน ศาสตราจารย์สาขาฟิสิกส์ประยุกต์ ผู้เชี่ยวชาญด้านอุตุนิยมวิทยา และพายุไซโคลนเขตร้อนจากฮ่องกง กล่าวระหว่างการเปิดตัวสารคดี Perfect Disaster ของสถานีโทรทัศน์ดิสคัฟเวอรี ชาแนล ว่า มีความเป็นไปได้ว่าจะเกิดพายุไต้ฝุ่นขนาดใหญ่ที่มีความเร็วลมมากกว่า 248 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือเรียกว่าซูเปอร์ไต้ฝุ่น ซึ่งพายุดังกล่าวอาจจะพัดเข้าหาเกาะฮ่องกง และเกิดความสูญเสียอย่างใหญ่หลวง เนื่องจากน่านน้ำบริเวณฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก และทะเลจีนใต้ เป็นน่านน้ำที่อุ่นที่สุดของโลก ซึ่งเป็นเหตุสำคัญให้เกิดอภิมหาไต้ฝุ่น ขณะนี้ยังไม่สามารถระบุเวลาเกิดที่ชัดเจนได้ หากปัจจัยต่างๆ มีความเหมาะสมก็จะเกิดขึ้นได้ แต่จะไม่กระทบต่อประเทศไทย

    อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดเหตุนี้คงจะมีฝนตกหนัก ภาวะน้ำท่วมฉับพลัน มีลมพายุแรง แต่อาคารสูงต่างๆ บนเกาะฮ่องกงได้ออกแบบโครงสร้างอย่างเข้มงวดและแข็งแรงเป็นพิเศษ คงจะไม่พังทลายด้วยแรงลมพายุ ซึ่งก่อนหน้านี้ เคยเกิดขึ้นแล้วเมื่อ 50 ปีก่อนจากไต้ฝุ่นวันดา ก่อให้เกิดคลื่นยักษ์พัดเข้าใส่อ่าวโทโล คร่าชีวิตผู้คนไป 127 ราย

    สำหรับประเทศไทย คิดว่า มีโอกาสน้อยมากที่จะเกิดซูเปอร์ไต้ฝุ่น เนื่องจากทางตอนเหนือมีประเทศพม่า เวียดนาม กัมพูชา เป็นเหมือนกำแพงกั้นไว้ ส่วนทางใต้บริเวณทะเลจีนใต้ใกล้ไทย มีพื้นที่ไม่ใหญ่พอสำหรับก่อตัวเป็นไต้ฝุ่นขนาดใหญ่ แต่ไทยก็ควรจะระวังรับมืออุทกภัย น้ำท่วมฉับพลัน น้ำเอ่อล้นตลิ่ง และควรมีระบบเตือนภัยล่วงหน้าที่มีประสิทธิภาพ


    โดย ผู้จัดการออนไลน์ 11 กรกฎาคม 2549 06:27 น.
    Quality of Life - Manager Online -
     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,717
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ไต้ฝุ่น 'ซูลิก' ซ้ำเติมจีน … ยอดตาย-สูญหายรวมเกือบ 300 ราย
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 16 กรกฎาคม 2556 17:36 น.
    image.jpg
    เอเยนซี - หลังจากหลายพื้นที่ของจีนประสบกับพายุฝนที่โหมกระหน่ำมาตั้งแต่ช่วงต้นเดือน ก.ค. ทำให้ประชาชนต้องเผชิญกับอุทกภัยและดินโคลนถล่ม สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมาก ทว่า ล่าสุดจีนเจอเคราะห์ซ้ำกรรมซัด พายุไต้ฝุ่น 'ซูลิก' (Soulik) พัดเข้าถล่มอีกระลอก ขณะเจ้าหน้าที่จีนประเมินยอดผู้เสียชีวิตและสูญหายจากพายุฝนสูงถึง 300 รายแล้ว

    รายงานข่าว (15 ก.ค.) กล่าวว่า สถานการณ์พายุไต้ฝุ่น ซูลิก (Soulik) พายุลูกที่ 7 ในปีนี้ที่เคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่ทางตอนใต้ของจีนตั้งแต่ช่วงเช้าวันเสาร์ (13 ก.ค.) หลังจากมันพัดถล่มหมู่เกาะไต้หวันในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา โดยพายุไต้ฝุ่นลูกนี้มีความเร็วลมกว่า 119 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขณะพัดขึ้นชายฝั่ง ทำให้เกิดฝนตกหนักและดินโคลนถล่มในหลายพื้นที่ทางตะวันออกและตอนใต้ของจีน

    สถานีวัดปริมาณน้ำฝน 2 แห่งในมณฑลก่วงตงรายงานว่า ฝนที่กระหน่ำตกลงมาเมื่อไต้ฝุ่นพัดเข้าสู่แผ่นดิน มีปริมาณเกิน 250 มิลลิเมตรภายใน 20 ชั่วโมง ส่งผลต่อระดับน้ำของแม่น้ำหลายสายในท้องถิ่นพุ่งสูงเกินระดับเตือนภัย ประชาชนกว่า 382,000 คนได้รับผลกระทบ บ้านเรือนใน 80 หมู่บ้านของสามเมืองสำคัญได้รับความเสียหายและพังทลายลงกว่า 1,076 หลัง

    ส่วนมณฑลฝูเจี้ยนและมณฑลเจ้อเจียง ซึ่งเป็นพื้นที่ริมทะเลของจีน โดยเฉพาะเมืองอี้ว์หวนของเจ้อเจียง ที่ทางการต้องออกเตือนประชาชนริมชายฝั่งให้ระมัดระวังคลื่นทะเลที่สูงกว่า 10 เมตร โดยฝนตกหนักและกระแสลมแรง ทำให้กระแสไฟฟ้าถูกตัดขาด เครื่องบินและรถไฟงดให้บริการทั้งหมด ซึ่งเจ้าหน้าที่เมืองเหวิ่นโจวของเจ้อเจียง ได้ประเมินความเสียหายทางเศรษฐกิจของเมืองจากพายุลูกนี้พุ่งสูงถึง 210 ล้านหยวน (ราว 1,050 ล้านบาท) เลยทีเดียว

    ทางการจีนได้สรุปตัวเลขยอดผู้เสียชีวิตและสูญหายจากพายุฝนที่พัดเข้าถล่มจีนในช่วงระยะที่ผ่านมาว่าอยู่ที่ 295 รายแล้ว โดยในมณฑลเสฉวนพบผู้เสียชีวิต 68 ราย สูญหาย 179 ราย มณฑลก่วงตงพบผู้เสียชีวิต 3 ราย สูญหาย 2 ราย และพบผู้เสียชีวิตอีก 41 ราย สูญหาย 2 รายในพื้นที่อื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบจากฝนตกหนักและดินโคลนถล่ม

    ทั้งนี้ กรมอุตุนิยมวิทยาของจีนรายงานว่า พายุไต้ฝุ่น 'ซูลิก' ลูกดังกล่าว ได้ลดความเร็วลงจนกลายเป็นพายุโซนร้อนในช่วงคืนวันเสาร์ที่ผ่านมาแล้ว
     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,717
    ค่าพลัง:
    +97,150
    พบลมบนเหนือ “อาร์กติก” เปลี่ยนกระแสน้ำอุ่นในมหาสมุทร

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 25 กันยายน 2555 17:00 น.

    นักวิจัยพบลมในบรรยากาศชั้นสูงที่หมุนวนเหนืออาร์กติก ส่งผลกระทบการไหลเวียนของกระแสน้ำอุ่นในมหาสมุทรได้ หากเกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิเพียงน้อยนิด นับเป็นงานวิจัยแรกที่ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบและความเชื่อมโยงระหว่างชั้นบรรยากาศและมหาสมุทร

    เป็นที่ทราบกันว่า กระบวนการภายในชั้นสตราโตสเฟียร์ (stratosphere) ซึ่งอยู่สูงจากพื้นโลก 10 กิโลเมตรขึ้นไปนั้น ส่งผลกระทบต่อชั้นโทรโพสเฟียร์ (troposphere) ชั้นบรรยากาศที่อยู่เหนือชั้นบริเวณที่มีการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ และในชั้นบรรยากาศที่เราอาศัยอยู่ และสภาพอากาศก็ส่งผลกระทบต่อกระแสน้ำในมหาสมุทร

    อย่างไรก็ดี รายงานของอาวเออร์อะเมซิงแพลเนต ระบุว่า รายงานวิชาการทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยยูทาห์ (University of Utah) สหรัฐฯ ที่ตีพิมพ์ลงวารสารเนเจอร์จีโอไซน์ (Nature Geoscience) นั้นเป็นหนึ่งในการศึกษาแรกๆ ที่แสดงให้เห็นถึงการส่งผลกระทบต่อกันอย่างรุนแรงระหว่างชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ และใต้มหาสมุทร

    โทมัส ไรเชลอร์ (Thomas Reichler) นักวิจัยและผู้เขียนรายงานหลักจากยูทาห์ กล่าวว่า เขาและทีมได้สาธิตให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความเชื่อมโยงทั้งหมด ระหว่างชั้นสตราโตสเฟียร์ ชั้นโทรโพสเฟียร์ และมหาสมุทร โดยอาศัยการสังเกตสภาพอากาศและแบบจำลองทางซูเปอร์คอมพิวเตอร์ของเงื่อนไขสภาพอากาศเป็นระยะ 4,000 ปี เพื่อแสดงให้เห็นว่า ลมระยะสูงที่อาร์กติกนั้น ส่งผลกระทบต่อความเร็วของกระแสน้ำอุ่นในมหาสมุทรแอตแลนติก (Gulf Stream)

    กระแสน้ำอุ่นดังกล่าวจะพาน้ำอุ่นบริเวณผิวน้ำจากที่ละติจูดต่ำๆ ขึ้นไปยังแอตแลนติกเหนือ ซึ่งหนาวเย็นแล้วจมลงก่อนไหลกลับไปทางใต้ ซึ่ง “แถบสายพาน” (conveyor belt) ของกระแสน้ำส่งผลกระทบต่อการไหลเวียนของมหาสมุทรและภูมิอากาศของทั้งโลก แต่แถบสายพานกระแสน้ำนี้ก็มีจุดที่กระแสน้ำอ่อนแรงในแอตแลนติกเหนือทางตอนใต้ของกรีนแลนด์ ซึ่งมีการจมลงของกระแสน้ำ

    ไรเชลอร์ กล่าวว่า บริเวณดังกล่าวของแถบสายพานนั้น ไวต่อความเย็นและความร้อนจากชั้นโทรโพสเฟียร์ ในระยะที่น้ำเริ่มหนักพอที่จมตัวลงนั้น ความร้อน หรือความเย็นเพียงเล็กน้อยที่เติมเข้ามาจากชันบรรยากาศดังกล่าวก็สามารถเร่งหรือชะลอกระบวนการดังกล่าวได้ การเปลี่ยนแปลงของลมระยะสูงเหนืออาร์กติกนั้น เรียกว่า “โพลาร์วอร์เทกซ์” (polar vortex) ซึ่งมีผลกระทบอย่างยิ่งต่อบริเวณเล็กๆ ดังกล่าว และเพราะความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลง เขาจึงเรียกมหาสมุทรทางตอนใต้ของกรีนแลนด์ ว่า “ส้นเท้าอคิลลิส*ของแอตแลนติกเหนือ” (the Achilles heel of the North Atlantic) *เทพเจ้ากรีกผู้มีจุดอ่อนอยู่ที่ส้นเท้า

    ลมที่ระยะสูงดังกล่าวหมุนวนตามเข็มนาฬิการอบขั้วโลกเหนือด้วยความเร็ว 130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ราวๆ ทุก 2 ปีระบบวัฏจักรดังกล่าวก็อ่อนลงจากอุณหภูมิที่ร้อนขึ้นอย่างฉับพลัน และบางครั้งก็เปลี่ยนทิศทางไปหมุนทวนเข็มนาฬิกา ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวจะอยู่นานถึง 60 วัน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่การเปลี่ยนแปลงทิศทางลมนี้ส่งอิทธิพลผ่านชั้นบรรยากาศลงไปถึงมหาสมุทร ไม่ว่าจะในรูปของการเร่งหรือลดความเร็วของกระแสน้ำอุ่น

    การศึกษานี้เป็นสัญญาณไปยังนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องภูมิอากาศโลกด้วยการแสดงให้เห็นถึงความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงอันไม่คาดฝัน และส่งผลกระทบในเชิงพื้นที่ได้อย่างไร โดย ไรเชลอร์ กล่าวว่า หากมนุษย์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อชั้นสตราโทสเฟียร์ ผลกระทบต่อเนื่องอันเป็นลูกโซ่ก็จะส่งต่อไปยังการไหลเวียนของกระแสน้ำในมหาสมุทร
    image.jpg
    ภาพวาดแสดงให้เห็นถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนของลมบนบนเหนืออาร์กติกที่เรียกว่า "โพลาร์วอร์เทกซ์" ต่อกระแสน้ำในมหาสมุทร (อาวเออร์อะเมซิงแพลเนต/มหาวิทยาลัยยูทาห์/โทมัส ไรเชลอร์)
     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,717
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สิ่งแวดล้อมโลกเปลี่ยนไปเร็วมากจึงแสดงผลต่างๆออกมาให้ปรากฏเป็นข่าว หากจะลองดูในลึกลงไปในแต่ละเรื่องที่ปรากฏเช่น
    image.jpg
    ภูเขาไฟระเบิด และเกิดแผ่นดินไหวถี่ขึ้นทั่วโลก...ใต้โลกมีพลังความร้อนอยู่แล้ว แต่ที่ผ่านมา 8 ปีเศษ โลกมีพลังงานเส้นแรงแม่เหล็กที่หนักและร้อน ลงมาหุ้มเปลือกโลก แทนที่จะไหลเข้าขั้วโลกเหนือตามปกติ ไปออกขั้วใต้ เนื่องจากที่ขั้วเหนือถูกอุดตันด้วยมลภาวะต่างๆจากมนุษย์สร้างขึ้น และเกิดภาวะเรือนกระจก อุ้มความร้อนสะสม หลังจากที่โลกรับจากดวงอาทิตย์ทุกๆวัน สะท้อนกลับไปสู่อวกาศไม่หมดในแต่ละวัน พลังเส้นแรงแม่เหล็กมีพลังงานมหาศาล พากันรวมตัวชอนไชเปลือกโลกสู่ชั้นใน ส่งผลให้แรงยึดเกาะของดินเสียไป เกิดการถล่มง่ายขึ้นเมื่อดินมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นหลังฝนตกหนัก ปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นทั่วโลก 8-9 ปีก่อนจะไม่ค่อยได้ยินข่าวดินถล่มหลังฝนหนักเช่นในปัจจุบัน
    สัตว์ต่างๆในทะเลเริ่มตายมากขึ้นอย่างผิดปกติ สัตว์เหล่านี้ต้องการออกซิเจน และต้องปลอดสารพิษ อะไรที่ทำลายสภาพแวดล้อมในทะเล ของเสียที่มนุษย์ทิ้งลงทะเล นั่นส่วนหนึ่ง กาซมีเทนและกาซกำมะถันจากภูเขาไฟใต้ทะเล ที่ผุดขึ้นอีกส่วนหนึ่ง ภูเขาไฟมากมายใต้ทะเล พ่นควันสีขาว ให้เราสังเกตได้จากภาพถ่ายดาวเทียม ที่ Google นำมาให้เราดูชัดๆ เมื่อ 2 วันที่แล้วปลาโลมาเพชรฆาต 20 กว่าตัวได้ขึ้นมาเกยตื้นที่หาดทรายบนเกาะภูเก็ต และปลาจำนวนมากตายที่ทะเลอันดามัน ลอยมาที่หาดจังหวัดตรังซึ่งชาวประมง ที่ดำน้ำหาปลาพบว่า มีกลุ่มความร้อนจำนวนมากผุดขึ้นจากก้นทะเล เป็นเหตุให้ปลาจำนวนมากเสียชีวิต แสดงออกของความผิดปกติของธรรมชาติในท้องทะเลอันดามัน ที่มีแรงดันใต้เปลือกโลก ดันกาซซึ่งอยู่ใกล้ก้นทะเลขึ้นมาก่อน แรงดันใต้เปลือกโลกส่วนนี้ อาจนำไปให้ภูเขาดินหลายลูกในทะเลอันดามัน เกิดการถล่มที่อาจนำมาซึ่งคลื่นสึนามิได้ ที่ดร.สมิทธ เคยกล่าวถึงความกังวลในข้อนี้
    การระเบิดของภูเขาไฟที่ไอซ์แลนด์ เพิ่มรอยแตกร้าวเปลือกโลกเพิ่มขึ้น อีก 300 กิโลเมตร รอยแตกร้าวเหล่านี้เป็นช่องทางให้แก่พลังเส้นแรงแม่เหล็กที่หุ้มห่อเปลือกโลก ไหลลงใต้เปลือกโลกได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ในอนาคตใกล้ๆนี้แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิดจะถี่ขึ้น รวมทั้งที่เดิมที่เคยระเบิดแล้วก็จะกลับมาระเบิดครั้งใหม่อย่างผิดปกติ ที่นักภูเขาไฟยุคเก่าออกมายืนยันว่าจะทิ้งเวลาออกไปอีกเป็นร้อยปี เช่นให้จับตารอยเลื่อนที่ริมเกาะสุมาตราที่เปลือกโลกมุดกันอยู่ จะไหวบ่อยๆ ไม่ใช่ครั้งเดียวแล้วเว้นไปนาน ยิ่งมีรอยเลื่อนใหม่ๆมากขึ้น พลังเส้นแรงแม่เหล็กยิ่งลงไปสะสมพลังความร้อนได้มากและรวดเร็ว แผ่นดินไหวครั้งใหญ่อาจเกิดอีกในไม่ช้า เนื่องจากพลังงานเส้นแรงแม่เหล็กมีมากสะสมขึ้นทุกวันจากดวงอาทิตย์และจักรวาล
     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,717
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ข้อมูลจากอาจารย์ปิยะชีพ ส วัชโรบล
    ความจริงหลังกึ่งพุทธกาล
    เกิดไฟใต้ดินในเยเมน ตรงตามคำทำนายวันโลกาวินาศของชาวอิสลาม
    image.jpg
    มีผู้เผยแพร่คลิปวิดีโอที่มีควันและวัตถุคล้ายลาวาเดือดสีแดงอยู่ใต้ดินในเยเมน จนเป็นที่ฮือฮาในวงการภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องกับคำทำนาย
    ไปตามลิ้งค์เพื่อชมวิดีโอ
    Underground Fires in Yemen- End of Days Fire - YouTube

    "มันเป็นสัญญาณที่ 10 ของวันโลกาวินาศตามที่กล่าวไว้โดยศาสดามูฮัมหมัดเมื่อ 1400 ปีที่ผ่านมา" ".. ไฟนี้จะแพร่กระจายไปทั่วเยเมน .."

    วาระแห่งการบังเกิดขึ้นของวันกิยามะฮฺ
    ข้อที่ 10.ไฟไล่ต้อนมวลมนุษย์ :
    ..ไฟที่จะออกมาในวันนั้นคือไฟกองใหญ่อันมหึมา ซึ่งจะออกจากทางทิศตะวันออกของประเทศยะมัน (เยเมน) จากก้นบึงของทะเลเอเดน มันเป็นสัญญาณสุดท้ายของวันกิยามะฮฺ และเป็นเครื่องหมายแรกที่อัลลอฮฺอนุมัติให้เหตุการณ์กิยามะฮฺบังเกิดขึ้น ไฟกองดังกล่าวมีจุดเริ่มต้นจากประเทศยะมันและจะลามไปทั่วโลกเพื่อไล่ตอนมวลมนุษย์สู่มะห์ชัร (แหล่งรวมตัวเพื่อการพิพากษา) ณ ดินแดนชาม
    สัญญาณแรกของกิยามะฮฺและความต่อเนื่อง [ محمد بن إبراهيم التويجري ] - บทความ - ไทย - PDF

    วิดีโอด้านล่าง บางคนว่า มันเริ่มต้นแล้วในสัปดาห์นี้
    (วิดีโอที่น่าตื่นตาตื่นใจของไฟไหม้ใต้ดินในเยเมน)
    Signs of Last Day-Part 12-14 - Fire out of Yemen.mp4 - YouTube
     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,717
    ค่าพลัง:
    +97,150
    วันที่ 17 กรกฎาคม 2556
    1057852_358586654268944_1435114749_n.jpg 1068820_356951091099167_322943486_n.jpg
    เวลา 06:41 แผ่นดินไหว 5.1 ลึก 10 กม ที่สุมาตราเหนือ รู้สึกได้ถึงภูเก็ต

    เมื่อ 06.41 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.3 บริเวณ Strait Malacca ที่ความลึก 29.20 กม.
     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,717
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Updated 07/16/2013 @ 17:10 UTC (วันที่ 17 กรกฎาคม 2556 เวลา 00.10 น.) เกิดการประทุของ filament และ cme และจากการประทุครั้งนี้ มีบางส่วนตรงมายังโลก ซึ่งคาดว่าจะมีผลกระทบกับโลกเล็กน้อย (จริงหรือ)
    Filament Eruption and CME
    A slow moving Corona...l Mass Ejection (CME) is seen leaving the Sun this morning in the latest STEREO Ahead COR2 imagery. The plasma cloud is the result of what looks to be a filament eruption. Early indications seem to show that it is heading mostly towards the north, however there could be a small Earth directed component. More updates later today.


    CME UPDATE: An update in regards to this mornings CME activity. While watching Lasco C3 video, there appears to be a pair of plasma clouds. The first and much weaker one is directed somewhat to the south, but does appear to have a slight Earthbound component. The second and much brighter CME is directed towards the north and west and should have little impact on our planet.

    The latest CME prediction model released by the Goddard Space Flight Center has been updated to include these events. Click HERE to watch
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,717
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Piyacheep S.Vatcharobol
    1016758_531092373624850_1499424006_n.jpg
    4 ชั่วโมงที่แล้ว.สิ่งที่กังวลว่ามันจะเกิดเมื่อไร ได้เกิดขึ้นแล้ว
    จากนี้ไปจะไม่กังวลอีกแล้ว ว่าจะนับหนึ่งเมื่อไหรในการประกาศเตือน อละคำนวนคาดการณ์ภัยพิบัติสำหรับภาคใต้ฝั่งตะวันตก

    การไหวที่ช่องแคบมะละกา ที่ไม่เคยเกิดมาก่อนในหลายสิบ หรือ ร้อยปีได้ปรากฏแล้ว

    เ...หตุการทำนองนี้เคยเกิดขึ้นก่อนที่การากาตั้วจะระเบิดปะทุใหญ่

    แต่การไหวคราวนี่ไปสัมพันธ์กับดานัวโทบา

    ดังนั้น การคาดการจากข้อมูลที่มี การสื่อสารที่ไม่สดวกที่เทือกเขาสันกาลาคีรี ที่ปัตตานี คาดการณ์ได้ว่า ดานัวโทบา นาาจะเกิดปฏิกิริยาโดยตรงอย่างเรา ๖ เดือน อย่างช้า ๑ ปี นะครับ
     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,717
    ค่าพลัง:
    +97,150
    17 กรกฎาคม 2556
    ข้อมูล Comment จากเฟส อาจารย์ปิยะชีพ
    untitled.jpg
     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,717
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ก้องภพ อยู่เย็น ได้แชร์ลิงก์
    5 ชั่วโมงที่แล้ว บริเวณ Arlington, VA.ในวันที่ 15-16 กรกฏาคม ที่ผ่านมาเกิดปฏิกริยาดวงอาทิตย์มากกว่าปกติอีกครั้ง โดยมีทิศทางตรงกับโลกและออกไปทางทิศตะวันตกทางด้านหลัง จากการคำนวณพบว่าคลื่นพลังงานจะเคลื่อนตัวผ่านมาในแนววงโคจรของโลกในวันที่ 18 กรกฏาคม เวลา 18 UT +/- 7 ชั่วโมง นอกจา...กนั้นในช่วงนี้ยังพบแนวสนามแม่เหล็กเปิดขนาดใหญ่ซี่งจะส่งผลให้เกิดลมสุริยะความเร็วสูงพัดมาที่โลกวันที่ 19-20 กรกฏาคม ดังนั้นผู้ที่สนใจการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ โดยติดตามสถานการณ์ถึงวันที่ 19 กรกฏาคม ครับ

    ข้อมูลเพิ่มเติมของเหตุการณ์ดังกล่าวมีดังนี้
    - แนวสนามแม่เหล็กเปิดที่ผิวดวงอาทิตย์ (พื้นที่สีดำที่ผิวขนาดใหญ่ทางทิศเหนือ) http://spaceweather.com/images2013/...lank.jpg?PHPSESSID=v4ivvigmm5lm135nfksskcama4
    - ภาพถ่ายดาวเทียมมุมกว้างที่ดวงอาทิตย์โดยโลกอยู่ทางด้านซ้ายมือของภาพ http://stereo.gsfc.nasa.gov/browse/2013/07/16/ahead_20130716_cor2_512.mpg
    - ภาพถ่ายดาวเทียมมุมกว้างที่ดวงอาทิตย์โดยโลกอยู่ทางด้านขวามือของภาพ http://stereo.gsfc.nasa.gov/browse/2013/07/16/behind_20130716_cor2_512.mpg
    - ภาพถ่ายมุมกว้างของดวงอาทิตย์มองสังเกตจากโลก http://www.sidc.oma.be/cactus/out/CME0015/CME.htmlดูเพิ่มเติม
    http://spaceweather.com/images2013/16jul13/coronalhole_sdo_blank.jpg?PHPSESSID=v4ivvigmm5lm135nfkssk
    spaceweather.com
     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,717
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เกิดโพรง Coronal Hole วัฏจักรสุริยะที่ 24 นี้เกิดโพรง Coronal Hole หลุมใหญ่บ่อยจัง
    AIA20130717_071842_0193_2048.jpg
    Coronal holes เป็นบริเวณที่มืดของชั้นโคโรนา ที่เกิดเป็นโคโรนาน้อยกว่าบริเวณอื่น หรือ บริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิของโคโรนาโดยทั่วไป และมีความหนาแน่นของก๊าซร้อนน้อยกว่าของโคโรนาโดยรอบ ซึ่งบริเวณนั้นจะมีเส้นสนามแม่เหล็กพุ่งออกและพุ่งเข้า ลักษณะของเส้นสนามแม่เหล็กที่พุ่งออกและพุ่งเข้านี้เราเรียกว่าเป็น วงสนามแม่เหล็ก (magnetic loops) แต่จะมาบางบริเวณที่มีเส้นสนามพุ่งออกไปไกลมากๆ ก่อนที่จะพุ่งกลับเข้ามา เราเรียกบริเวณนั้นว่าโคโรนาโฮลล์ (coronal holes)มักจะเกิดบริเวณขั้วเหนือและใต้ โพรงคอโรนา (coronal hole) ขนาดใหญ่ปรากฏอยู่ ซึ่งโพรงคอโรนาเป็นที่ ๆ มีลมสุริยะความเร็วสูงและรุนแรงพัดออกมาจากดวงอาทิตย์ในบริเวณนั้น
     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,717
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Updated 07/15/2013 @ 12:00 UTC
    Minor Geomagnetic Storm Recap
    Following an initial weak CME impact on July 13th, the Bz component of the interplanetary magnetic field (IMF) tipped sharply south at times for a long duration on Sunday (July 14) and this led directly to minor geomagnetic storming at high latitudes (Kp=5). The increase in geomagnetic activity also opened up the 6 meter (50 Mhz) amateur radio band with a flurry of aurora signals in both the United Kingdom, Scandinavia and northern parts of the United States and Canada. Visible aurora was spotted in many locations, including the northern USA and Canada. Minor geomagnetic activity could persist on Monday before eventually returning to quieter levels.

    Purple Aurora: The story of Sunday night (and very early Monday morning) were the displays of green, purple and in one case, blue aurora captured by many sky watchers. Below are many fine examples submitted to SolarHam of latest aurora event.

    Aurora from Maine, USA (Early Monday) - Mike Taylor
    taylor4.jpg

    แสงเหนือแสงใต้ (น่าอ่านครับ มีการอธิบายการเข้ามาของอนุภาคจากการเกิดพายุสุริยะตั้งแต่เริ่มต้น จนเข้ามาสู่โลก)
    เย็นวันที่ 13 มีนาคม ค.ศ.1989 มีแสงออโรราสว่างที่สุดเท่าที่เคยบันทึกมา เห็นกันได้เกือบทั่วโลกท้องฟ้ายามค่ำคืนมีชีวิตชีวาด้วยการแสดงแสงสีบ่งบอกกัมมันตภาพรุนแรง ธารสว่างของสีเขียวและสีแดงแวววับระยิบระยับพร้อมแสงแลบท่ามกลางม่านแสงกระเพื่อมไปมา การแสดงแสงสีเช่นนี้หาชมยาก เกิดขึ้นครั้งเดียวในรอบ 10 ปี

    ความงดงามของออโรราเป็นธรรมชาติน่าอัศจรรย์ใจ ฉงนกันมานานหลายพันปี และค่ำคืนเดือนมีนาคมนั้นช่วยให้เข้าใจได้ถึงความกลัวน่าขนลุกของคนในยุคโบราณที่ได้เห็นแสงสีเคลื่อนไปมาเหนือหัวอย่างนั้น เพิ่งเมื่อราว 100 ปีเองที่นักวิทยาศาสตร์รู้แล้วว่ามันไม่ได้เกิดที่ใดก็ได้ทั่วไป มันเป็นเรื่องเฉพาะแห่ง มีได้แถวขั้วโลกเท่านั้น แต่ความเข้าใจในตัวมันยังเป็นไปอย่างคลุมเครือ

    จากงานวิจัยความเกี่ยวข้องระหว่างดวงอาทิตย์และโลกที่ทำกันเรื่อยมานานหลายสิบปี ความเข้าใจการเกิดแสงออโรราก็เริ่มดีวันดีคืน เป็นที่รู้กันไปทั่วตอนนี้ว่า ฉากแรกต้องมี อิเล็กตรอนและไอออนหลุดจากดวงอาทิตย์ก่อน ออกจากดวงอาทิตย์ได้อนุภาคเหล่านี้ก็ได้ฉายาใหม่ว่าเป็น ลมสุริยะ (solar wind) มีลมพัดมายังโลกบ้าง แต่ไม่ได้มาชนเราหรือบรรยากาศทั่วโลกกันได้ง่ายๆ เพราะมีอุปสรรคใหญ่ขวางกั้นคือสนามแม่เหล็กโลกที่เสมือนเป็นด่านธรรมชาติมอบให้มาป้องกันโลกไว้ แม้มีการกีดกันไม่ให้มาโลก อนุภาคเหล่านี้เปลี่ยนเส้นทางเมื่อพบทางสะดวก พากันหมุนควงตามเส้นสนามแม่เหล็กมาถึงบรรยากาศโลกได้เฉพาะขั้วแม่เหล็กโลกเหนือและใต้ ถึงบรรยากาศโลกแล้วก็แจกจ่ายพลังงานแก่อะตอมและโมเลกุลตามทางที่มันเจอ อะตอมและโมเลกุลของบรรยากาศปลดปล่อยพลังงานเป็นแสงสีที่มีสีสัน กลายเป็นที่มาของแสงออโรราหรือแสงเหนือแสงใต้ให้คนใกล้ขั้วโลกทั้งเหนือและใต้ชื่นชมความงามที่บางครั้งแฝงความน่ากลัวที่อาจจะเป็นอันตรายได้ คนไกลขั้วโลกมากอย่างเราอดชมความงามแบบชวนขนลุกขนพองนี้ว่าเป็นอย่างไร?

    แต่นั่นเป็นเพียงหลักการเบื้องต้น รายละเอียดที่เล็ดลอดออกมาได้ยังเบาบาง
    เกี่ยวข้องกับดวงอาทิตย์ ค.ศ. 1896 นักฟิสิกส์ชาวนอรเวย์ชื่อคริสเตียน โอลาฟ เบิร์นฮาร์ด เบอร์กีแลนด์ให้เหตุผลว่าแสงออโรราปกติถูกกักในบริเวณวงกลมรอบขั้วโลกเพราะอิเล็กตรอนถูกสนามแม่เหล็กโลกนำทางไปโดยตรง และดวงอาทิตย์เป็นแหล่งที่มาของอิเล็กตรอนที่สำคัญ

    อีก 40 ปีต่อมา นักวิทยาศาสตร์ซิดนีย์ แชปแมนและวินเซนโซ เฟอราโรเห็นความซับซ้อนของกลไกเกิดแสงออโรรา มีไอออนออกจากดวงอาทิตย์เข้ามาในแมกนีโตสเฟียร์หรือทรงกลมแม่เหล็ก(บริเวณของอวกาศที่มีสนามแม่เหล็กควบคุม)ของโลก อนุภาคเหล่านี้คือลมสุริยะที่ค้นพบในค.ศ. 1960 จากยานรัสเซียลูนิก ll และ ลูนิก lll และจากยานเอกซพลอเรอร์ 10 ของอเมริกา

    ต่อมาดาวเทียมช่วยนักวิทยาศาสตร์ให้เข้าใจแสงออโรราอีกด้วย ค.ศ. 1963 ยืนยันว่าแสงออโรราไม่มีเสรีภาพที่จะไปแสดงที่ไหนก็ได้ แต่แสงออโรราอยู่ในที่จำกัดถูกกักบริเวณให้อยู่แต่ในเขตวงแหวนวงกลม แต่ละวงมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 4,000 กม. มีขั้วแม่เหล็กโลกเป็นใจกลาง รูปร่างแบบไข่เกิดในบริเวณที่สนามแม่เหล็กโลกตัดกับบรรยากาศโลก บริเวณรูปไข่มี 2 แห่งใกล้ขั้วโลกทั้งสอง นับเป็นหลักฐานเด่นชัดของการเกี่ยวดองลมสุริยะและสนามแม่เหล็กโลกอย่างที่เบอร์เคแลนด์สงสัยมานานเกือบ 70 ปีก่อน

    พื้นผิวของดวงอาทิตย์ชื่อโฟโตสเฟียร์มีอุณหภูมิ 5,800 องศาเคลวิน อุณหภูมิแค่นี้ไม่ร้อนสักเท่าไรหรอก ที่นี่มีแต่ไฮโดรเจน พื้นผิวล้อมรอบไปด้วยบรรยากาศเบาบางแต่ร้อนแรงไกลหลายล้านกิโลเมตร ชั้นแบบนี้เห็นตอนเกิดสุริยุปราคาที่ใครๆก็รู้จักกันว่านี่คือ โคโรนา ไฮโดรเจนหนีออกจากโฟโตสเฟียร์ที่เย็นมาเจอชั้นโคโรนาร้อนๆเข้าให้ อุณหภูมิที่แห่งใหม่ปาเข้าไปตั้ง 2 ล้านองศาเคลวิน รุ่มร้อนจนไฮโดรเจนรักษาสภาพอะตอมสะเทินแบบเก่าไม่ไหวต่อไป อิเล็กตรอนหนีออกจากอะตอมไปอย่างไม่กลับมาพบกันอีกแล้ว กาซตกในสภาพที่มีแต่อนุภาคประจุไฟฟ้าหรือปลาสมากันหมด สนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์เข้มกักพวกอนุภาคไว้กับตัวดวงได้ อนุภาคต้องออกแรงมากหน่อยเพื่อหลุดแล้วจะได้เป็นอิสระไปไหนได้ไกลๆกลายเป็นลมสุริยะที่ไม่เย็นชื่นใจแน่ แต่น่าจะเป็นแบบเจ็บแสบ ลมสุริยะมาถึงโลกด้วยความเร็วราว 400 กม./วินาทีเท่านั้นเอง จัดเป็นลมพัดช้าๆ ลมพัดแรงอย่างพายุมีบ้างไหม? จะร้ายแรงขนาดไหนและมาได้อย่างไร?มันจะแสบสันต์เจ็บปวดไหมหนอ?ทำร้ายแบบใดได้บ้าง? ก็ต้องมาดูกัน

    อะไรทำให้เป็นพายุสุริยะ รูหรือหลุมโคโรนา (coronal hole) แฟลร์หรือการประทุแสง (solar flare) และการขับมวลโคโรนา (coronal mass ejection) ต่างร่วมมือกันผลิตลมแรงๆเป็นพายุสุริยะได้สำเร็จ หลุมโคโรนาเป็นบริเวณที่มีแต่ค่าเล็กน้อยของความหนาแน่น อุณหภูมิและความเข้มสนามแม่เหล็ก แต่ใหญ่โตด้วยขนาด ค้นพบเมื่อค.ศ. 1957 สนามแม่เหล็กภายในหลุมโคโรนาจางกว่าที่ตัวดวงอาทิตย์ และยังเป็นแบบปลายเปิดที่ระยะทางไกลๆในระบบสุริยะ พลาสมาของโคโรนาพลังงานสูงหนีออกจากดวงอาทิตย์ไปตามเส้นสนามแม่เหล็กแบบนี้สบายๆไม่ต้องใช้แรง หากอยู่ในเส้นบ่วงสนามแม่เหล็กแบบปิดกักกันมันไว้ ก็จะหนียากมีอุปสรรคต้องใช้แรงมาก กว่าจะออกจากดวงอาทิตย์ได้ต้องเป็นไปอย่างลำบากลำบน

    หลุมโคโรนาผลิตลมสุริยะที่มีความเร็วได้ถึง 800 กม./วินาทีใกล้โลก มันเกิดที่ใดก็ได้ในโคโรนาและเมื่อได้เกิดก็อยู่ได้นานเป็นเดือนๆ หากเกิดแถวเส้นศูนย์สูตรดวงอาทิตย์ด้วย หลุมโคโรนาช่วยผลิตออโรราทุก 27 วันเมื่อดวงอาทิตย์หมุนรอบตัวเองนำหลุมแบบนี้กลับมาที่เดิม มายังแนวที่ชี้ตรงมายังโลกทุก 27 วัน

    แฟลร์ของดวงอาทิตย์ก็ช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ด้วย ช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกัน ดูความข้องเกี่ยวนี้ชัดๆได้จากลมสุริยะและแสงออโรรา แฟลร์เป็นการระเบิดที่ผิวเห็นการลุกจ้าช่วยส่งออกลมสุริยะด้วยความเร็ว 1,000 กม./วินาทีที่ระยะทางโลก แฟลร์ครั้งยิ่งใหญ่ครั้งเดียวปล่อยพลังงานออกไปมากในเวลาไม่กี่นาที ทำได้เท่ากับที่ดวงอาทิตย์ทั้งดวงปล่อยพลังงานในเวลา 1/10 วินาที หรือเท่ากับลูกระเบิด 2 พันล้านเมกาตัน

    แม้แฟลร์จะทำพลังงานมากมายขนาดนั้น แต่ก็ไม่มีวันเชื่อหรอกว่าแฟลร์เป็นสาเหตุใหญ่ของการเกิดออโรรา แม้แฟลร์เป็นแหล่งปลาสมาที่รู้จักกันมานานว่าน่าสนใจก็ตาม แต่ตำแหน่งและการเกิดชั่วครั้งชั่วคราวในช่วงเวลาสั้นๆลดโอกาสในการส่งความเสียหายมาให้โลกมากครั้ง

    ที่รับบทบาทเด่นเหนือแฟลร์คือซีเอ็มอี (CME:coronal mass ejection) จากการที่ได้เป็นต้นเหตุใหญ่ของปลาสมาพลังงานสูง เห็นครั้งแรกจากยานสกายแลบในค.ศ.1973 ซีเอ็มอีเป็นปรากฏการณ์ในบริเวณกว้างขวางที่ทิ้งขว้างมวลดวงอาทิตย์ออกจากตัวครั้งเดียวได้มากมาย ซีเอ็มอีนำมวลโคโรนา 1 ล้านล้านกิโลกรัม ( )ออกจากตัวดวงอาทิตย์ครั้งเดียว พาเอาพลังงานมหาศาลออกไปด้วยราว จูล มากเท่ากับที่เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูของโลกทำได้ใน 1 ล้านปี การระเบิดขนาดใหญ่แบบนี้ ทำลมสุริยะให้มีความเร็วเกือบ 2,000 กม./วินาทีใกล้โลก ซีเอ็มอีอาจเกิดได้หลายๆครั้งในวันเดียว มวลที่ออกมามีโอกาสปะทะโลกมากครั้งด้วย โลกเราก็มีความเสี่ยงภัยเพิ่มขึ้นอีกเรื่องหนึ่ง

    กฏของการกักกัน เมื่อซีเอ็มอีมาแล้ว ต้องเจอด่านป้องกันแรกสุดของโลกกั้นการโจมตีนั่นคือสนามแม่เหล็ก แม้เป็นแบบสนามแม่เหล็กสองขั้วแต่ก็ไม่เหมือนแบบแท่งแม่เหล็กหรอก ทางด้านใกล้ดวงอาทิตย์ สนามแม่เหล็กโลกถูกบีบอัดด้วยแรงจากลมสุริยะ แต่ด้านห่างไกลจากดวงอาทิตย์ สนามยืดยาวไกล 200 เท่าของรัศมีโลกจากลำอนุภาคที่พุ่งทะยานจากดวงอาทิตย์ไป ทรงกลมแม่เหล็กหรือแมกนีโตสเฟียร์มักช่วยหักเหลมสุริยะที่เป็นอันตราย อย่างไรก็ดี มี 2 สภาวะ ที่อนุภาคลมสุริยะจะทะลุผ่านแมกนีโตสเฟียร์ได้

    สภาวะแรกลมสุริยะต้องมีพลังงานมากพอ การเคลื่อนที่ต้องเร็วมากจากหลุมโคโรนา แฟลร์หรือซีเอ็มอี พอออกจากดวงอาทิตย์ได้ มาเจอปลาสมาที่ออกมาก่อนแต่ไปได้ไม่เท่าไหร่เพราะชักช้ากันอยู่ ลมแรงๆจึงช่วยกวาดได้มาเป็นกอง คลื่นช้อคออกจากความหนาแน่นมากกว่าปกตินี้ จะชนกับแมกนีโตสเฟียร์สุดแรงเกิด จนออโรรารูปไข่ขยายตัวและเข้าหาด้านมืดของโลก ออโรราจึงปรากฏที่เส้นรุ้งต่ำกว่าปกติได้

    สภาวะที่สอง ตรงจุดที่ลมสุริยะเผชิญหน้ากับแมกนีโตสเฟียร์ สนามแม่เหล็กระหว่างดาวเคราะห์หรือไอเอ็มเอฟ ( IMF: interplanetary magnetic field ) ต้องมีส่วนประกอบทางด้านใต้เข้ม ส่วนที่ตรงข้ามสนามแม่เหล็กโลกในระนาบของเส้นสุริยวิถี เมื่อเกิดขึ้น ไอเอ็มเอฟบางแห่งที่ถูกลมสุริยะลากดึงไปทางโลกจะรวมกับสนามแม่เหล็กโลก นีเวลล์ นักวิจัยออโรรากล่าวว่า เมื่อไอเอ็มเอฟไปทางใต้ ตรงข้ามกับสนามที่ชี้ตรงยังโลก และไอเอ็มเอฟ แตกหักเส้นสนามแม่เหล็กโลกให้เปิดออก สนามแม่เหล็กโลกจึงเชื่อมต่อกับไอเอ็มเอฟได้ แต่นั่นไม่ใช่จบเรื่องแล้ว ลมสุริยะพัดออกจากดวงอาทิตย์เสมอ เส้นสนามแม่เหล็กโลกที่ถูกดึงไปข้างหลังจนยืดยาวออกจะปิดกลับทันที ตอนนี้เกิดในกลางคืนไม่ใช่กลางวัน การรวมกันและการติดต่อกันอีกมีความสำคัญในการผลิตแสงออโรรา การติดต่อกันใหม่ปั้มพลังงานให้ปลาสมาที่อยู่ในแมกนีโตสเฟียร์

    แม้ในช่วงสงบของดวงอาทิตย์ ไอเอ็มเอฟด้านใต้ ช่วยส่งลมสุริยะที่พัดช้าๆ ให้เข้าหาแมกนีโตสเฟียร์และกีดกันไม่ให้ขบวนการติดต่อกันใหม่เกิดขึ้นได้ โดยปกติสภาวะอย่างนั้นผลิตพายุย่อย(substorm)อยู่แล้ว ไม่ได้ผลิตพายุออโรรา พายุย่อยเป็นความสว่างของแสงออโรราที่กระจายไปทั่วเส้นรุ้งเส้นแวงได้ระยะทางไกล มีออโรรามากมายเกิดจากออโรราย่อย แต่ถ้าออโรราใดที่แมกนีโตมิเตอร์อ่านได้หลายร้อยนาโนเทสลามันเป็นพายุออโรรา (เช่นเดือนมีนาคม ค.ศ.1989 เป็นพายุออโรรารุนแรง) พายุย่อยสามารถเกิดได้ทุกๆ 2 ถึง 3 ชั่วโมง ขณะที่พายุออโรราเกิดขึ้นราวครั้งเดียวต่อเดือน พายุย่อยน่าจะให้ความร้อนและความเร่งอนุภาคจนพายุใหญ่ต้องเกิดตามมา

    ตั้งยิงก่อนมาถึงขั้นสุดท้าย ก่อนแสงออโรราจะเกิดที่ความสูงจากผิวโลก 80,000 กม.-100,000 กม.ที่ๆมีลมสุริยะและสนามแม่เหล็กระหว่างดาวเคราะห์ชนแมกนีโตสเฟียร์ครั้งแรก ให้ปลาสมาลมสุริยะเข้ามา ลมสุริยะไม่ได้ไหลเป็นสายธารตรงลิ่วเข้าหาขั้วสนามแม่เหล็กโลกเพื่อให้เกิดแสงออโรราอย่างที่เคยคิดกัน แต่ปลาสมาลมสุริยะผสมกับอนุภาคประจุไฟฟ้าจากไอโอโนสเฟียร์โลกก่อน และส่วนผสมนี้เป็นแผ่นปลาสมาแบนมีประจุอยู่ บนด้านมืดของโลกที่เป็นเชื้อเพลิงออโรราทั้งหมด

    มวลมายังแผ่นพลาสมาได้อย่างไรยังคงเป็นที่ข้องใจกันมาก เอาจากความคิดของนีเวลล์ว่าดังนี้ อนุภาคภายในแผ่นปลาสมามีพลังงานมากกว่าปลาสมาดิบที่เอามาจากแมกนีโตสเฟียร์ภายนอก ทั้งลมสุริยะและพลาสมาไอโอโนสเฟียร์เย็นมากและพลังงานต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับพลังงานในออโรรา อิเล็กตรอนในออโรราอาจมีพลังงานจลน์ 10,000 อิเล้กตรอนโวลต์ ขณะอิเล็กตรอนของลมสุริยะอาจมีแค่ 2-3 อิเล็กตรอนโวลต์

    จะทำให้ 2 อิเล็กตรอนโวลต์ไปเป็น 10,000 โวลต์ได้อย่างไร? ตามความคิดของนีเวลล์ที่ให้มาอีกแล้วว่า สงสัยขบวนการการรวมและติดต่อกันใหม่เป็นต้นเหตุ ตามเส้นทางไปสู่แผ่นปลาสมา อิเล็กตรอนได้รับพลังงานมากเมื่อสนามแม่เหล็กเชื่อมต่อกันใหม่ ถ้าไม่ได้ความเร่งจากขบวนการนี้ พลาสมาลมสุริยะจะไม่มีพลังงานมากพอที่จะผลิตออโรรารุนแรงใดๆได้ ยิ่งกว่านั้น การรวมกันและการติดต่อกันใหม่ก็เหนี่ยวนำสนามไฟฟ้าเข้มมากภายในแมกนีโตสเฟียร์ สนามไฟฟ้าเหล่านี้ขับปลาสมาไปในบรรยากาศของโลก ร่วมด้วยช่วยกันผลิตแสงออโรราออกมาให้สวยงามด้วย



    กระโจนเข้าหากัน เมื่อแผ่นปลาสมาเต็มไปด้วยโปรตอนและอิเล็กตรอน เมื่อไหร่มันจะทำให้เป็นแสงออโรราได้เมื่อระเบิดของอนุภาคจากดวงอาทิตย์ชนแมกนีโตสเฟียร์ มันอัดแผ่นปลาสมา อนุภาคแผ่นปลาสมาพลังงานสูงมากพุ่งพรวดเข้าไปข้างในเข้าหารูปไข่ของออโรรา ความเร่งสุดท้ายของอิเล็กตรอนออโรราเกิดระหว่างความสูงราว 15,000 กม.และ 3,000 กม.

    อิเล็กตรอนและไอออนที่คายจากแผ่นปลาสมาหมุนควงเข้าไปข้างในเข้าหาขั้วแม่เหล็กโลก (ขั้วเหนือแม่เหล็กโลกอยู่ที่แคนาดาตะวันออกเฉียงเหนือที่เส้นแวง 105 องศาตะวันออก เส้นรุ้ง 79 องศาเหนือ ขณะที่ขั้วใต้แม่เหล็กอยู่ห่างจากฝั่งแอนตาร์กติกใต้ออสเตรเลียที่เส้นแวง 138 องศาตะวันออก 64 องศาใต้ ) เส้นสนามแม่เหล็กโลกเข้าใกล้กันมากขึ้นเมื่ออนุภาคเข้าใกล้ขั้วเหล่านี้ ความเข้มสนามแม่เหล็กก็เพิ่มขึ้น

    น่าสนใจเมื่ออนุภาคประจุไฟฟ้าเคลื่อนตามเส้นสนามแม่เหล็กที่ลู่เข้าหากัน อนุภาคบางตัวสะท้อนกลับไปมาตามเส้นสนามแม่เหล็ก ความลึกที่ซึ่งเสมือนมีกระจกแม่เหล็กนี้อยู่ที่ไหน? จะอยู่ที่ไหนก็ขึ้นกับพลังงานที่อนุภาคมี มุมที่เข้ามาและความเข้มสนามแม่เหล็กโลก ยิ่งอนุภาคเข้ามามีพลังงานมากขึ้น จุดที่สะท้อนกลับก็ยิ่งลึก ถ้าสามารถลงมาได้ลึกพอ อนุภาคจะชนกับบรรยากาศก่อนจะสะท้อนกลับ แสงออโรราเกิดในขบวนการใกล้ๆแถวนี้ โดยปกติมีเพียงอิเล็กตรอนที่พลังงานสูงลงมายังบรรยากาศได้ลึกใกล้ผิวโลก ไอออนและโปรตอนมีมวลมากเกินไปจนพลังงานจลน์ไม่มากพอ ส่วนใหญ่ก็ได้อิเล็กตรอนกระตุ้นอะตอมออกซิเจนและโมเลกุลไนโตรเจนในบรรยากาศโลกที่ให้แสงออโรราได้เท่านั้น มันยากที่จะเห็นแสงออโรราทำจากโปรตอน

    เมื่ออิเล็กตรอนเข้าสู่บรรยากาศได้แล้ว การผลิตแสงออโรราก็ทำได้เลย ออโรราเกิดขึ้นระหว่างความสูง 100 และ 1,000 กม. ที่ๆมีพลังงานอิเล็กตรอน ความหนาแน่นบรรยากาศและขบวนการเคมีกำหนดความเข้มและความถี่ของแสง ออโรราทั่วไปแสดงแสงสีที่ความสูงหลายร้อยกิโลเมตรและมีความหนาราว 1 กม.

    แสงสีออโรราที่บันทึกมากที่สุดคือเขียว ความยาวช่วงคลื่น 5577อังสตรอม เมื่ออะตอมออกซิเจนคายโฟตอนสีเขียวนี้ แต่บรรยากาศชั้นสูงเบาบางมากพอจนให้ไอออนออกซิเจนกลับมายังสภาวะต่ำสุดด้วยการคายสีแดง (ความยาวช่วงคลื่น 6300หรือ 6364 อังสตรอม) การคายสีแดงมีได้ถ้าอะตอมออกซิเจนมีอิเล็กตรอนพลังงานต่ำ

    แสงสีแดงปลายบนของแสงออโรราเกิดจากออกซิเจนตามที่ได้กล่าวมาแล้ว แสงสีแดงที่ปลายล่างเกิดยากกว่ามาจากไนโตรเจนที่ความสูงราว 90 กม. โมเลกุลไนโตรเจนที่มีอิเลกตรอนครบมีอยู่ทั่วไป ถ้าอิเล็กตรอนพลังงานสูงเป็น 1,000 เท่าของที่ผลิตออโรราสีเขียวมาถึงที่ความสูงนี้ มันสามารถชนกับโมเลกุลไนโตรเจนและมีระดับพลังงานสถานะกระตุ้นแรก เมื่อกลับมายังสถานะล่างสุด โมเลกุลไนโตรเจนอาจคายแสงสีแดงได้ 4 ระดับ อาจมีสีอื่นๆนอกจากสีแดงและเขียวได้ เช่น ออโรราสีแดงซ้อนทับสีเขียวได้สีเหลือง ที่ความสูง 1,000 กม.โมเลกุลไนโตรเจนเป็นไออนเพราะแสงเหนือม่วงจากดวงอาทิตย์มา มักสูญเสียอิเล็กตรอนไป 1 ตัว เมื่ออิเล็กตรอนจากลมสุริยะชนอะตอมไอออนเหล่านี้ ได้ออโรราสีม่วงหรือน้ำเงิน ปฎิกิริยาเหล่านี้มีพลังงานแสงสีสูงสุด ไอออนไนโตรเจนมีที่ความสูงจากผิวโลกไม่มากแค่ 80 หรือ 100 กม. ถ้าอิเล็กตรอนจากลมสุริยะสามารถทะลุได้ไกลไปถึงที่นั่น อนุภาค อาจถูกชนและแล้วก็คายสีม่วงออกมา เมื่อโมเลกุลไนโตรเจนที่ระยะสูง 80-100 กม.ถูกอิเล็กตรอนพลังงานสูงชนเอาจึง ได้ออโรราสีชมพู น่าเสียดายออโรราสีม่วง น้ำเงินและชมพูแสนสวยเหล่านี้มักจางเกินไปที่จะเห็นได้ด้วยตาเปล่า

    เห็นแสง
    หลังจากวิจัยออโรรามานาน 100 ปีมันก็ยังดูลึกลับ ทำไมสนามไฟฟ้าเข้มจึงพัฒนาไปตามเส้นสนามแม่เหล็กในพายุย่อยออโรรา สนามไฟฟ้าเหล่านี้ขับปลาสมาออโรราไปในบรรยากาศ นักวิทยาศาสตร์ประหลาดใจว่าอะไรกระตุ้นพายุย่อยและอนุภาคเข้าไปในแผ่นปลาสมาได้อย่างไร? ทฤษฎีที่อธิบายการถ่ายเทปลาสมาลมสุริยะเข้าไปในแมกนีโตสเฟียร์ขณะดวงอาทิตย์ยามสงบก็ยังโต้แย้งกันอยู่ นักวิจัยหวังพัฒนาการพยากรณ์อากาศอวกาศ ("space weather") สภาวะการเปลี่ยนแปลงเร็วในสภาพแวดล้อมแม่เหล็กไฟฟ้า การแก้ปัญหาความลี้ลับเหล่านี้ต้องใช้เวลานานอีกหลายปี

    ศตวรรษที่ 20 เราได้เห็นความน่ากลัวในความงามของออโรรา เมื่อหาทางเข้าใจและได้พบความเป็นออโรราบ้างแล้ว ต่างก็เห็นด้วยกับจินตนาการของบรรพบุรุษของเรา ที่ไม่ได้เกินความจริงไปเลย ที่ว่า “ออโรราเสมือนสภาวะสงคราม ลมสุริยะเป็นกองทัพที่บุก อิเล็กตรอนเป็นกระสุน บรรยากาศเป็นเป้า ขับแสงสว่างให้มีสีสันและมีชีวิตชีวา”

    “””””””””””””””””””””””””””

    ยุพา วานิชชัย

    Kimberly Burtnyk, Anatomy of an aurora, Sky and Telescope, March 2000, p35-40

    Kimberly Burtnyk, Anatomy of an aurora, Sky and Telescope, March 2000, p35-40
     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,717
    ค่าพลัง:
    +97,150
    จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวหรือเอพิเซนเตอร์ (Epicenter)

    จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวหรือเ.gif

    จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวหรือเอพิเซน เตอร์นี้ เป็นจุดที่อยู่บนผิวโลก โดยอยู่เหนือและตรงกับจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวที่อยู่ภายในโลก (ดูภาพประกอบ) จุดที่เป็นเอพิเซนเตอร์ของการเกิดแผ่นดินไหวแต่ละครั้ง สามารถหาตำแหน่งได้จากการหาค่าต่างของความเร็วคลื่น P และคลื่น S จากการที่เรารู้ว่า คลื่น P เคลื่อนที่ได้เร็วกว่าคลื่น S นั้น เมื่อเกิดการสั่นสะเทือนของแผ่นดิน และ ไซสโมแกรมก็จะบันทึกคลื่น P ได้ก่อนคลื่น S ช่วงห่างของคลื่น P แรก กับ คลื่น S แรก บ่งบอกถึงระยะห่างของจุดที่กำลังวัดค่ากับ เอพิเซนเตอร์

    S_wave_P_wave.jpg

    ข้อมูลที่รวบรวมได้จากไซสโมแกรมนี้ นักวิจัยสามารถพัฒนากราฟแสดงเวลาการเดินทาง (travel–time graph) ของคลื่นแผ่นดินไหวนี้ได้ และด้วยข้อมูลเวลานี้ ปัจจุบันนักวิจัยสามารถคำนวณระยะทางจากจุดที่วัดแผ่นดินไหวต่างๆ กับจุดเอพิเซนเตอร์ได้ โดยเริ่มจากการคำนวณหาเวลาที่ต่างกันระหว่างคลื่น P แรก และ คลื่น S แรก จากนั้นการใช้กราฟแสดงเวลาการเดินทาง (travel–time graph) ก็จะสามารถนำค่าเวลาที่ได้ในตอนแรกมาเทียบหาเป็นระยะทางได้ เมื่อทราบระยะทางระหว่างจุดเอพิเซนเตอร์ กับ จุดตรวจจับแผ่นดินไหวที่ติดตั้งไซสโมแกรมแล้ว ก็จะต้องคำนวณหาพิกัดตำแหน่งของจุดเอพิเซนเตอร์ได้ ทั้งนี้จะต้องมีจุดตรวจจับแผ่นดินไหวที่ติดตั้งไซสโมแกรมอย่างน้อย สามแห่ง (ดูภาพปะกอบ) บนโลกจะมีศูนย์ตรวจจับแผ่นดินไหว วงกลมที่ขีดขึ้นจะอยู่รอบศูนย์ฯ รัศมีของวงกลมแต่ละวงจะแสดงระยะทาง ระหว่าง ศูนย์ฯ แต่ละศูนย์ฯ กับจุดเอพิเซนเตอร์ จุดที่วงกลม สาม วงขึ้นไปนั้นตัดกันคือ จุดเอพิเซนเตอร์ของแผ่นดินไหวครั้งนั้นๆ นั่นเอง อย่างไรก็ดี จากที่เรารู้กันดีแล้วว่า 95% ของการปลดปล่อยพลังงานของโลกอยู่บริเวณแนวแคบ (narrow zone) ไม่กี่แห่งบนโลก ทำให้การคำนวณหาจุดเอพิเซนเตอร์ไม่ยากเท่าใดนัก
    จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวหรือเอพิเซนเตอร์ (Epicenter)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กรกฎาคม 2013
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,717
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ขอบคุณครับ คุณ มณีจำปาที่กด like ให้ผมและขอบทุกทุกท่านที่กด Like และกด อนุโมทนาให้ผมครับ
     
  19. มณีจำปา

    มณีจำปา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1,423
    ค่าพลัง:
    +9,369
    [​IMG]

    ยินดีค่ะ คุณสุกิจSukit เป็นกำลังใจให้กับคุณ และพี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ สมาชิกในเว็บพลังจิต ที่ post สถานการณ์ ความรู้ และอื่นๆ เพื่อส่วนรวม เสมอๆ และทุกๆ คนค่ะ
     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,717
    ค่าพลัง:
    +97,150
    วันที่ 17 กรกฎาคม 2556
    เมื่อ 22.08 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.6 บริเวณ หมู่เกาะมาเรียนา ที่ความลึก 70.20 กม

    1.jpg

    ผมว่ามีผลทำให้เกิดแผ่นดินไหวที่อินโดนีเซียตามมาน่ะครับ เพราะใกล้กับฟิลิปปินส์
    วันที่ 17 กรกฎาคม 2556

    2.jpg

    เมื่อ 23.10 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.6 บริเวณ เกาะฮัลมาเฮรา ประเทศอินโดนีเซีย ที่ความลึก 35.00 กม.
    เมื่อ 22.48 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.6 บริเวณ เกาะฮัลมาเฮรา ประเทศอินโดนีเซีย ที่ความลึก 31.40 กม.
    เมื่อ 22.27 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.8 บริเวณ เกาะฮัลมาเฮรา ประเทศอินโดนีเซีย ที่ความลึก 34.40 กม.

    ลองพิจารณาบทความข้างล่างประกอบครับ ข้อมูลเก่าที่เขาคาดการณ์กัน แต่ไม่เกิด แต่อาจเกิดล่าช้าออกไปจากตอนคาดการณ์ก็ได้ อาจแรงน้อยกว่า หรือมากกว่า ก็แล้วแต่วิบากกรรมครับ

    แผ่นมาเรียน่าเคลื่อนตัว
    http://www.ainews1.com/i
    ตามรายงานแผ่นดินไหวของ USGS เมื่อ 12 ธันวาคม 2554 มีแผ่นดินไหวบริเวณเกาะมาเรียน่า 4.4 ริกเตอร์ แต่ในรายละเอียดของแผ่นเปลือกโลกเกาะนี้มีรายงานโดยละเอียดจากคุณ Zeta ดังนี้
    Mariana Trench Collapse
    Is the trench collapsing? Certainly buoys 52402 and 52403 are are signaling that. The Philippine Plate lies to the east of the Philippine Islands, and the Mariana Plate lies to the east of the Mariana Islands, and the Mariana Trench lies to the east of the Mariana Plate.

    3.jpg

    Mariana Trench
    http://en.wikipedia.org/wiki/Mariana_Trench
    The Mariana Trench or Marianas Trench is the deepest part of the world's oceans. It is located in the western Pacific Ocean, to the east of the Mariana Islands.
    The Zetas predicted that the folding of the Mariana Trench would be sudden. The Zetas also stated that the folding of the Philippine and Mariana plates in 7 of 10 Scenario 3 is key to acceleration of the 7 of 10 scenarios.

    ZetaTalk Prediction 11/27/2010: The folding of the Pacific plates that accompany the sinking of Indonesia during the 7 of 10 scenarios involves, as we have explained, the Mariana and Philippine plates tilting and flattening westward. The Mariana Trench is a zone where the Pacific Plate is subducting under the Mariana Plate. The Pacific Plate curves down at this point, plunging under the Mariana Islands which ride on the Mariana Plate. The trench will be suddenly closed, so that rather than a trench there will be the Pacific Plate scraping along the Mariana Plate.

    ZetaTalk Prediction 9/17/2011: We have stated that the Sunda Plate will complete its sinking by the time the S American roll is at its peak, but not before. The folding of the Philippine and Mariana plates also must be almost complete before the S American roll can accelerate. Number 3 is likely to complete hand-in-hand with number 2 rather suddenly at a time when the Indo-Australia Plate lifts and plunges under the Himalayas.

    Buoy 52402 shows that something dramatic occurred on December 13, 2011. Buoy 52402 is at Latitude 11.74N Longitude 154E out in the Pacific, just east of the trench and approximately 1/3 of the way to Hawaii from the Philippine Islands. What would cause this buoy to show a sudden drop of 15 meters (45 feet) on December 13! ดังนั้นที่บริเวณเหวลึกที่ติดกับแผ่นมาเรียน่าควรจะมีผลเกิดขึ้นมากทีเดียว เมื่อแผ่นแปซิฟิกเลื่อนมาปิด เหวที่กว้างใหญ่ตามแนวขอบของแผ่นมาเรียน่า

    4.jpg

    A clue lies in the heaping waters shown by Buoy 52403, which lies along the trench to the SW of 52402. Water squirting out of a collapsing trench would end up in this vicinity, and it did! The waters on the Carolina Platelet are also not as deep as the deep Pacific, and would take more time to disburse a heap, thus. Per the Zetas, the trench did indeed collapse on December 13.

    5.jpg

    ZetaTalk Comment 12/31/2011: When the trench collapses, the Pacific Plate suddenly takes a sharper angle when subducting under the Mariana Plate, pushing the Mariana Plate to accelerate its tilt and fold, which then accelerates the Philippine Plate's tilt and fold. At the point of collapse there is suddenly more water just above the trench, moving in all directions. But such an adjustment is seldom smooth. Waves themselves have heaps and troughs as there is a tendency for water to move as a mass, cohesive. When the trench collapsed, it created a heap, but for buoy 52402 there was a trough reaction, the 15 meter drop on December 13, 2011. The water also moved south, along the deep trench, like along a funnel.
    The Mariana Islands, on the lifting eastern edge of the Philippine Plate just to the west of the Mariana Plate, have been beset with quakes since, even during lulls affecting the rest of the world.

    6.jpg

    03-JAN-2012 5.2 SOUTH OF MARIANA ISLANDS ลึก 35 กม.
    01-JAN-2012 5.1 SOUTH OF MARIANA ISLANDS ลึก 10 กม.
    01-JAN-2012 5.2 SOUTH OF MARIANA ISLANDS ลึก 18 กม.
    30-DEC-2011 4.6 SOUTH OF MARIANA ISLANDS ลึก 19 กม.
    16-DEC-2011 4.3 MARIANA ISLANDS REGION
    07-Jan-2012 4.7 ,, ,, ลึก 51 กม.
    17-Jan-2012 4.9 ,, ,, ลึก 63 กม.
    20-Jan-2012 4.7 ,, ,, ลึก 149.9 กม.
    และเมื่อวันที่ 12 ธ.ค. 2554 ไหว 4.4 ริกเตอร์ ที่ความลึก 25 กม.
    Have the heaping waters been noted by those nearby, on the Philippine Islands? Certainly the Mindanao tsunami on December 17 was caused by the disbursing waters. And just a quick end of the year snapshot for incidents in the Philippine Islands show continuing references to capsizing boats, "swelling seawater", and a "storm surge" without an accompanying storm.
    แรงแผ่นดินไหวเพิ่มขนาดขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อแผ่นเปลือกโลกของแผ่นแปซิฟิกมุดเข้าใต้แผ่นมาเรียน่า และมีชั้นหินแตกหักลึกมากขึ้นโดยลำดับ จึงต้องเฝ้าจับตาอาการเคลื่อนไหวของแผ่นนี้ต่อไป จนถึงขั้นไหวรุนแรงที่คุณ Zeta ได้พยากรณ์เอาไว้ว่าจะขึ้นไปถึง 7-8 ริกเตอร์ ซึ่งจะส่งผลให้แผ่นฟิลิบปินส์ตะแคง และเคลื่อนตัวไปดันใต้แผ่นญี่ปู่นที่เกาะใต้ตั้งอยู่
    สัญญานของภัยพิบัติขั้นร้ายแรงของประเทศอินโดนีเซีย และนาๆประเทศในย่านแหลมอินโดจีนทั้งหมดกำลังก่อตัวเข้าสู่ฉากสุดท้าย อันจะเกิดเหตุการณ์ช๊อคโลก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กรกฎาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...