การปฏิบัติธรรม "ด้วยการปฏิเสธฌานสมาธิ" จะสำเร็จได้อย่างไร.?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 5 มกราคม 2020.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +70,497
    หมายเหตุ จากโพสข้างต้น

    ข้อ( ๘ ) การเพ่งพินิจธรรม อาจสามารถแยกออกมาได้คือ สมถะ-วิปัสสนา การเข้าฌาณแล้วถอยจิตออกมาอยู่ในสภาวะที่มีสติสัมปชัญญะละเอียดเหมาะสมต่อการใช้ความคิดพิจารณาธรรมให้แตกฉาน หรือ การเพ่งด้วยลักขณูปนิชฌาณ เพียรกำหนดรู้เห็นจริงในลักษณะความเป็นไตรลักษณ์ของอารมณ์ที่ถูกกำหนดรู้ นั้น
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +70,497
    ?temp_hash=8d2f26ef4414432d2ed5367dcb0f78a4.jpg




    ขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อบรรลุความเป็นพระอรหันต์
    ***************
    ...ส่วนในกายานุปัสสนานี้ ภิกษุผู้บรรลุจตุตถฌานแล้วอย่างนั้น มีความประสงค์ที่จะเจริญกรรมฐาน ด้วยอำนาจการกำหนดและการเปลี่ยนแปลง แล้วบรรลุความหมดจด กระทำฌานนั้นนั่นแล ให้ถึงความชำนิชำนาญ (วสี) ด้วยอาการ ๕ อย่าง กล่าวคือ อาวัชชนะ การรำพึง สมาปัชชนะ การเข้า อธิฏฐานะ การตั้งใจ วุฏฐานะ การออก และ ปัจจเวกขณะ การพิจารณา แล้ว กำหนด รูปและอรูปว่า รูป มีอรูปเป็นหัวหน้า หรืออรูป มีรูปเป็นหัวหน้าแล้ว เริ่มตั้งวิปัสสนา.
    ถามว่า เริ่มตั้งวิปัสสนาอย่างไร ?
    แก้ว่า จริงอยู่ พระโยคีนั้น ครั้นออกจากฌานแล้วกำหนดองค์ฌาน ย่อมเห็นหทัยวัตถุ ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งองค์ฌานเหล่านั้น ย่อมเห็นภูตรูป ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งหทัยวัตถุนั้น และย่อมเห็นกรัชกายแม้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งภูตรูปเหล่านั้น. ในลำดับแห่งการเห็นนั้น เธอย่อมกำหนดรูปและอรูปว่า องค์ฌานจัดเป็นอรูป, (หทัย) วัตถุเป็นต้นจัดเป็นรูป.
    อีกอย่างหนึ่ง เธอนั้นครั้นออกจากสมาบัติแล้ว กำหนดภูตรูปทั้ง ๔ ด้วยอำนาจปฐวีธาตุเป็นต้น ในบรรดาส่วนทั้งหลายมีผมเป็นอาทิ และรูปซึ่งอาศัยภูตรูปนั้น ย่อมเห็นวิญญาณ พร้อมทั้งสัมปยุตธรรมซึ่งมีรูปตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์ หรือมีรูปวัตถุและทวารตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์. ลำดับนั้น เธอย่อมกำหนดว่า ภูตรูปเป็นต้น จัดเป็นรูป, วิญญาณที่มีสัมปยุตธรรม จัดเป็นอรูป.
    อีกอย่างหนึ่ง เธอครั้นออกจากสมาบัติแล้ว ย่อมเห็นว่า กรัชกายและจิตเป็นที่เกิดขึ้นแห่งลมอัสสาสะและปัสสาสะ. เหมือนอย่างว่า เมื่อสูบของช่างทองยังสูบอยู่ ลมย่อมสัญจรไปมา เพราะอาศัยการสูบ และความพยายามอันเกิดจากการสูบนั้นของบุรุษ ฉันใด, ลมหายใจเข้าและหายใจออก ย่อมเข้าออก เพราะอาศัยกายและจิตฉันนั้นเหมือนกันแล. ลำดับนั้น เธอกำหนดลมหายใจเข้าหายใจออกและกายว่า เป็นรูป, กำหนดจิตนั้นและธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตว่า เป็นอรูป.
    ครั้น เธอกำหนดนามรูปด้วยอาการอย่างนั้นแล้ว ย่อมแสวงหาปัจจัยแห่งนามรูปนั้น. และเธอเมื่อแสวงหาอยู่ ก็ได้เห็นปัจจัยมีอวิชชาและตัณหาเป็นต้นนั้นแล้ว ย่อมข้ามความสงสัยปรารภความเป็นไปแห่งนามรูปในกาลทั้ง ๓ เสียได้.
    เธอนั้น ข้ามความสงสัยได้แล้ว ยกไตรลักษณ์ขึ้นด้วยอำนาจพิจารณากลาป ละวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ อย่าง มีโอภาสเป็นต้น ซึ่งเกิดขึ้นแล้วในส่วนเบื้องต้น ด้วยอุทยัพพยานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความเกิดและความดับ) กำหนดปฏิปทาญาณที่พ้นจากอุปกิเลสว่า เป็นมรรค ละความเกิดเสีย ถึงภังคานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความดับ) เบื่อหน่ายคลายกำหนัดพ้นไปในสรรพสังขาร ซึ่งปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว ด้วยพิจารณาเห็นความดับติดต่อกันไป ได้บรรลุอริยมรรคทั้ง ๔ ตามลำดับ แล้วตั้งอยู่ในพระอรหัตผล ถึงที่สุดแห่งปัจจเวกขณญาณ ๑๙ อย่าง เป็นอัครทักขิไณยแห่งโลก พร้อมทั้ง
    เทวดา. ก็การเจริญอานาปานัสสติสมาธิ ของภิกษุผู้ประกอบในอานาปานกรรมฐานนั้น ตั้งต้นแต่การนับ จนถึงมรรคผลเป็นที่สุด จบบริบูรณ์เพียงเท่านี้แล.
    ................
    สมันตปาสาทิกา มหาวิภังคอรรถกถา
    วิ.มหา.อ. (ไทย) ๒/๓๗๐-๓๗๑ มหามกุฏ ฯ https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=01.0&i=176&p=2
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +70,497
    หลักการปฏิบัติตามลำดับจากต่ำไปหาสูง
    ********************
    คณกโมคคัลลานพราหมณ์เข้าไปสนทนาธรรมกับพระผู้มีพระภาคในบุพพาราม ว่า ปราสาทของนางวิสาขามิคารมาตาก็ดี พราหมณ์ก็ดี นักรบก็ดี แม้คณกโมคคัลลานพราหมณ์เองก็ดี ต่างก็มีการศึกษาตามลำดับ มีการกระทำตามลำดับ มีการปฏิบัติตามลำดับ,
    คณกโมคคัลลานพราหมณ์ ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ทรงสามารถบัญญัติการศึกษาตามลำดับได้บ้างไหม, พระผู้มีพระภาคตรัสตอบ ว่า ทรงสามารถบัญญัติการศึกษาตามลำดับได้ คือ
    ลำดับที่ ๑ เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจร เป็นผู้เห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย
    ลำดับที่ ๒ เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
    ลำดับที่ ๓ เป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร
    ลำดับที่ ๔ เป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอย่างต่อเนื่อง
    ลำดับที่ ๕ เป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ
    ลำดับที่ ๖ เป็นผู้อยู่ในเสนาสนะอันสงัด เพื่อกำจัดนิวรณ์ ๕
    ลำดับที่ ๗ เป็นผู้เข้าฌานที่ ๑ (ปฐมฌาน) ฌานที่ ๒ (ทุติยฌาน) ฌานที่ ๓ (ตติยฌาน) ฌานที่ ๔ (จตุตถฌาน)
    พระผู้มีพระภาคทรงสรุปว่า ลำดับการปฏิบัติเหล่านี้ ทรงบัญญัติไว้สำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ ถ้าผู้เป็นพระอรหันต์ปฏิบัติตามลำดับเหล่านี้ ก็เพื่ออยู่เป็นสุข (มิใช่เพื่อกำจัดกิเลสอย่างปุถุชน)
    ................
    ดูรายละเอียดใน คณกโมคคัลลานสูตร มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔
    พระไตรปิฎก ภาษาไทย ฉบับมหาจุฬา ฯ http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=14&siri=7
    พระไตรปิฎก ภาษาบาลี ฉบับสยามรัฐ http://www.84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=14&A=1602
    อรรถกถาคณกโมคคัลลานสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=93
    -wIgu1G1kUB7lEnQsFexgVqMJmgB1DLfyG6giyyXWcIY&_nc_ohc=q72mejMf0jQAX_NXT-8&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +70,497
    upload_2020-11-20_10-0-1.png
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +70,497
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +70,497
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +70,497
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +70,497

    ?temp_hash=5cb61a8adcdbb987522458ee3a6c08f8.jpg




    อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา

    ********
    [๔๖] คำว่า เพราะฉะนั้นแล สัตว์ผู้เกิดมาพึงศึกษาในศาสนานี้แหละ มีความว่า คำว่า เพราะฉะนั้น เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะนิทานนั้น คือ เพราะเห็น
    โทษนั้นในกามทั้งหลาย. คำว่าพึงศึกษา มีความว่า พึงศึกษาสิกขาทั้ง ๓ คือ อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑.
    อธิศีลสิกขา เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วด้วยการสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร เห็นภัยในโทษมีประมาณเล็กน้อย สมาทานศึกษา
    อยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ศีลขันธ์น้อย ศีลขันธ์ใหญ่ ศีล ที่ตั้ง เบื้องต้น เบื้องบาท ความสำรวม ความระวัง ปาก ประธาน แห่งความถึงพร้อมด้วยกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิศีลสิกขา.
    อธิจิตตสิกขา เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน มีวิตกมีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่. เพราะวิตกและวิจารสงบไป
    จึงบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่. เพราะปีติสิ้นไป จึงมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุข
    ด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข. เพราะละสุขและทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ จึงบรรลุจตุตถฌานไม่
    มีทุกข์ ไม่มีสุข มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้เรียกว่าอธิจิตตสิกขา.
    อธิปัญญาสิกขา เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาอันให้ถึงความเกิดและความดับ อันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ภิกษุ
    นั้น ย่อมรู้ชัด ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุให้เกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ
    นี้เรียกว่าอธิปัญญาสิกขา.
    สัตว์ผู้เกิดมา เมื่อนึกถึงสิกขาทั้ง ๓ นี้ เมื่อรู้ เมื่อเห็น เมื่อพิจารณา เมื่ออธิษฐานจิต เมื่อน้อมใจไปด้วยความเชื่อ เมื่อประคองความเพียร เมื่อตั้งสติ เมื่อตั้งจิต เมื่อรู้ชัดด้วย
    ปัญญา เมื่อรู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง เมื่อกำหนดรู้ซึ่งธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อละธรรมที่ควรละ เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ เมื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง พึงศึกษา พึงประพฤติเอื้อเฟื้อประพฤติเอื้อเฟื้อโดยชอบสมาทานประพฤติ. คำว่า ในศาสนานี้ คือ ในความเห็นนี้ ในความควรนี้ ในความชอบใจนี้ ในความยึดถือนี้ ในธรรมนี้ ในวินัยนี้ ในธรรมวินัยนี้ ในปาพจน์นี้ ในพรหมจรรย์นี้ ในสัตถุศาสน์นี้ ในอัตภาพนี้ ในมนุษย์โลกนี้. คำว่า สัตว์ผู้เกิดมา คือ สัตว์ นระ ฯลฯ มนุษย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะฉะนั้นแล สัตว์ผู้เกิดมาพึงศึกษาในศาสนานี้
    แหละ.
    ……….
    ข้อความบางตอนใน คุหัฏฐกสุตตนิทเทส ขุททกนิกาย มหานิทเทส พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ http://www.84000.org/tipitaka/read/r.php?B=29&A=487
    **************
    อธิบายศีลก่อน ได้แก่ ศีล ๕ ศีล ๑๐ นั่นเอง. เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ยังมิได้เสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ศีลนั้นก็เป็นไปอยู่ในโลก เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นแล้ว ทั้งพระพุทธเจ้า ทั้งเหล่าพระสาวก ก็ให้มหาชนสมาทานในศีลนั้น เมื่อพระพุทธเจ้ายังมิได้เสด็จอุบัติขึ้น พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายด้วย สมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ผู้เป็นกรรมวาทีด้วย พระเจ้าจักรพรรดิมหาราชด้วย พระมหาโพธิสัตว์ทั้งหลายด้วย ให้มหาชนสมาทาน. สมณพราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตก็สมาทานแม้ด้วยตนเอง. พวกเขาเหล่านั้นบำเพ็ญกุศลธรรมนั้นแล้วย่อมเสวยราชสมบัติในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.
    ก็ศีลคือความสำรวมในพระปาติโมกข์ ท่านเรียกว่า อธิศีล. อธิศีลนั้น ยิ่งด้วย สูงสุดด้วยของโลกิยศีลทั้งหมด ดุจดวงอาทิตย์เป็นยอดยิ่งของแสงสว่างทั้งหลาย ดุจเขาสิเนรุสูงสุดของภูเขาทั้งหลายฉะนั้น ย่อมเป็นไปในพุทธุปาทกาลเท่านั้น นอกจากพุทธุปาทกาล ย่อมไม่เป็นไป.
    ด้วยว่า สัตว์อื่นย่อมไม่อาจที่จะยกบัญญัตินั้นขึ้นตั้งไว้ได้ แต่พระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้นทรงตัดกระแสแห่งอัชฌาจารทางกายทวารและวจีทวารโดยประการทั้งปวง ทรงบัญญัติศีลสังวรนั้น ซึ่งสมควรแก่การละเมิดนั้นๆ .
    ศีลแม้ของผู้สำรวมในปาติโมกข์ ซึ่งสัมปยุตด้วยมรรคผลนั่นแล ก็ชื่อว่าอธิศีล.
    กุศลจิต ๘ ดวงอันเป็นกามาพจร และจิตที่สัมปยุตด้วยสมาบัติ ๘ ดวงอันเป็นโลกิยะ พึงทราบว่า จิตนั่นเอง เพราะทำร่วมกัน.
    ก็ความเป็นไปของจิตนั้นด้วย การชักชวนให้สมาทานและการสมาทานด้วย ในกาลที่พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นและมิได้เสด็จอุบัติขึ้น พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในศีลนั่นเทียว. จิตที่สัมปยุตด้วยสมาบัติ ๘ ซึ่งเป็นบาทแห่งวิปัสสนา ท่านเรียกว่า อธิจิต.
    อธิจิตนั้นยิ่งด้วย สูงสุดด้วยของโลกิยจิตทั้งหลาย เหมือนอธิศีลยิ่งด้วยสูงสุดด้วยของศีลทั้งหลายฉะนั้น และมีในพุทธุปาทกาลเท่านั้น นอกจากพุทธุปาทกาลหามีไม่. อนึ่ง มรรคจิตและผลจิตที่ยิ่งกว่านั้นแล ชื่อว่าอธิจิต.
    กัมมัสสกตาญาณที่เป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล ดังนี้ ชื่อว่าปัญญา. ปัญญานั้น เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม มิได้เสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ย่อมเป็นไปอยู่ในโลก เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นแล้ว ทั้งพระพุทธเจ้า ทั้งเหล่าพระสาวก ก็ให้มหาชนสมาทานในปัญญานั้น. เมื่อพระพุทธเจ้ายังมิได้เสด็จอุบัติขึ้น พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายด้วย สมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ผู้เป็นกรรมวาทีด้วย พระเจ้าจักรพรรดิมหาราชด้วย พระมหาโพธิสัตว์ทั้งหลายด้วย ให้มหาชนสมาทาน. บัณฑิตทั้งหลายก็สมาทานแม้ด้วยตนเอง.
    จริงอย่างนั้น อังกุรเทพบุตรได้ในมหาทานสองหมื่นปี. เวลามพราหมณ์ พระเวสสันดร และมนุษย์ผู้เป็นบัณฑิตอื่นๆ เป็นอันมากได้ให้มหาทานทั้งหลาย. เขาเหล่านั้นบำเพ็ญกุศลธรรมนั้นแล้วได้เสวยสมบัติในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.
    ก็วิปัสสนาญาณที่กำหนดไตรลักษณาการ ท่านเรียกว่า อธิปัญญา.
    อธิปัญญานั้นยิ่งด้วย สูงสุดด้วย ของโลกิยปัญญาทั้งหมด เหมือนอธิศีลและอธิจิต ยิ่งด้วยสูงสุดด้วยของศีลและจิตทั้งหลาย และนอกจากพุทธุปาทกาล ย่อมไม่เป็นไปในโลก. อนึ่ง ปัญญาที่สัมปยุตด้วยมรรคผลที่ยิ่งกว่านั้นนั่นแล ชื่อว่าอธิปัญญา.
    …………
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาคุหัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๒ https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29.0&i=30&p=2
    #สิกขา #อธิศีล #อธิจิต #อธิปัญญา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +70,497
    อธิจิตตสิกขา เป็นไฉน
    ********
    อธิจิตตสิกขา เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน มีวิตกมีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่. เพราะวิตกและวิจารสงบไป จึงบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่. เพราะปีติสิ้นไป จึงมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข. เพราะละสุขและทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ จึงบรรลุจตุตถฌานไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้เรียกว่าอธิจิตตสิกขา.
    ……….
    ข้อความบางตอนใน คุหัฏฐกสุตตนิทเทส ขุททกนิกาย มหานิทเทส พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ http://www.84000.org/tipitaka/read/r.php?B=29&A=487
    **************
    กุศลจิต ๘ ดวงอันเป็นกามาพจร และจิตที่สัมปยุตด้วยสมาบัติ ๘ ดวงอันเป็นโลกิยะ พึงทราบว่า จิตนั่นเอง เพราะทำร่วมกัน.
    ก็ความเป็นไปของจิตนั้นด้วย การชักชวนให้สมาทานและการสมาทานด้วย ในกาลที่พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นและมิได้เสด็จอุบัติขึ้น พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในศีลนั่นเทียว.
    จิตที่สัมปยุตด้วยสมาบัติ ๘ ซึ่งเป็นบาทแห่งวิปัสสนา ท่านเรียกว่า อธิจิต.
    อธิจิตนั้นยิ่งด้วย สูงสุดด้วยของโลกิยจิตทั้งหลาย เหมือนอธิศีลยิ่งด้วยสูงสุดด้วยของศีลทั้งหลายฉะนั้น และมีในพุทธุปาทกาลเท่านั้น นอกจากพุทธุปาทกาลหามีไม่.
    อนึ่ง มรรคจิตและผลจิตที่ยิ่งกว่านั้นแล ชื่อว่า อธิจิต.
    …………
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาคุหัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๒ https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29.0&i=30&p=2
    #สิกขา #อธิจิตตสิกขา
    UV-Q-E7K5eu2344Lu9CIZ9T4il_C-jQ47sJSN7k6RhAB&_nc_ohc=oyYiyUDH3vQAX8lb1yU&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +70,497
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +70,497
    พระสารีบุตรกล่าวว่า

    ภิกษุพึงได้สมาธิโดยไม่สำคัญ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้งที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ เป็นอารมณ์

    แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ด้วยการเป็นผู้มีความสำคัญอย่างนี้ว่า

    ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน




    อ่าน สมาธิสูตร ๔
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +70,497
    สมาธิสัมโพชฌงค์เกิดเพราะเหตุปัจจัย
    ********************
    สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดได้ โดยนัยมาแล้วในบาลี (สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) อย่างนี้ว่า
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมถนิมิต (บาลีว่า สมาธินิมิต) อัพยัคคนิมิตมีอยู่ การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในนิมิตทั้งสองนั้น นี้เป็นอาหาร (ย่อมเป็นไป) เพื่อความเกิดแห่งสมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด หรือเป็นทางเพื่อความไพบูลย์ เจริญบริบูรณ์เต็มที่แห่งสมาธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดแล้ว ดังนี้.
    ในนิมิตเหล่านั้น สมถะนั่นแล ชื่อว่าสมถนิมิตและอัพยัคคนิมิต เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน.
    ธรรมเป็นเหตุเกิดสมาธิสัมโพชฌงค์
    อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๑๑ ประการย่อมเป็นทางเกิดสมาธิสัมโพชฌงค์ คือ
    ๑. ทำวัตถุให้สละสลวย
    ๒. การปรับปรุงอินทรีย์ให้สม่ำเสมอ
    ๓. ฉลาดในนิมิต
    ๔. ประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง
    ๕. ข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม
    ๖. ทำจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริง
    ๗. เพ่งเฉยในสมัยที่ควรเพ่งเฉย
    ๘. เว้นบุคคลผู้มีจิตไม่เป็นสมาธิ
    ๙. คบหาบุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิ
    ๑๐. พิจารณาและวิโมกข์
    ๑๑. น้อมจิตไปในสมาธิสัมโพชฌงค์นั้น.
    อธิบายธรรม ๑๑ ประการ
    ในธรรม ๑๑ ประการนั้น เฉพาะการทำวัตถุให้สละสลวย และการปรับปรุงอินทรีย์ให้สม่ำเสมอ พึงทราบตามนัยที่กล่าวมาแล้วนั่นแล.
    ความฉลาดในการกำหนดกสิณนิมิตเป็นอารมณ์ ชื่อว่าฉลาดในนิมิต. การประคองจิตไว้ ด้วยการตั้งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์และปีติสัมโพชฌงค์ในสมัยที่จิตหดหู่ เพราะมีความเพียรย่อหย่อนเกินไปเป็นต้น ชื่อว่าประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง.
    การข่มจิตไว้ ด้วยการตั้งปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์และอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ในสมัยที่จิตฟุ้งซ่าน เพราะปรารภความเพียรมากเกินไปเป็นต้น ชื่อว่าข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม.
    คำว่า ทำจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรร่าเริง อธิบายว่า สมัยใด จิตไม่แช่มชื่นเพราะมีปัญญาและความเพียรอ่อนไป หรือเพราะไม่บรรลุสุขที่เกิดแต่ความสงบ สมัยนั้น ก็ทำจิตให้สลดด้วยพิจารณาสังเวควัตถุเรื่องอันเป็นที่ตั้งแห่งความสลด ๘ ประการ.
    เรื่องอันเป็นที่ตั้งแห่งความสลด ๘ ประการ คือ
    ๑. ชาติ ๒. ชรา ๓. พยาธิ ๔. มรณะ
    ๕. ทุกข์ในอบาย
    ๖. ทุกข์ในอดีตมีวัฏฏะเป็นมูล
    ๗. ทุกข์ในอนาคตมีวัฏฏะเป็นมูล
    ๘. ทุกข์ในปัจจุบันมีการแสวงหาอาหารเป็นมูล.
    อนึ่ง การทำความเลื่อมใสให้เกิด ด้วยมาระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย อันนี้ก็เรียกว่าการทำจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริง.
    ชื่อว่า เพ่งเฉยในสมัยที่ควรเพ่งเฉย อธิบายว่า สมัยใด จิตอาศัยการปฏิบัติชอบ ไม่หดหู่ ไม่ฟุ้งซ่าน แช่มชื่น เป็นไปสม่ำเสมอในอารมณ์ ดำเนินในสมถวิถี สมัยนั้นไม่ต้องขวยขวายในการประคอง ข่มและทำจิตให้ร่าเริง เหมือนสารถีไม่ต้องขวนขวาย ในเมื่อม้าวิ่งเรียบฉะนั้น อันนี้เรียกว่าเพ่งเฉยในสมัยที่ควรเพ่งเฉย.
    การเว้นบุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ไม่บรรลุอุปจาระหรืออัปปนา ให้ห่างไกล ชื่อว่าเว้นบุคคลผู้มีจิตไม่เป็นสมาธิ.
    การเสพ คบหา เข้าไปนั่งใกล้บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิด้วยอุปจารภาวนา หรืออัปปนาภาวนา ชื่อว่าคบหาบุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิ.
    ความเป็นผู้มีจิตน้อมโน้มโอนไปเพื่อให้เกิดสมาธิ ในอิริยาบถทั้งหลายมียืนนั่งเป็นต้น ชื่อว่าน้อมจิตไปในสมาธิสัมโพชฌงค์.
    ด้วยว่า เมื่อปฏิบัติอยู่อย่างนี้ สมาธิสัมโพชฌงค์นั้นย่อมเกิดได้.
    เมื่อภิกษุรู้ชัดว่า ก็สมาธิสัมโพชฌงค์นั้น อันเกิดแล้วด้วยอาการอย่างนี้ ย่อมเจริญบริบูรณ์ด้วยอรหัตตมรรค.
    ……………
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=273&p=5
    #สมาธิสัมโพชฌงค์
    64r1HN1XeyeAkd6Y4u28HFqkd9OY7zBgqB7Bt2iIkAgY&_nc_ohc=q_HCLdwuvkEAX9y_jOL&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +70,497
    วิธีปฏิบัติในฌาน (สมาธิ) ที่พระบรมศาสดาทรงแสดงไว้ ๑๑ วิธีคือ
    (๑) การตั้งจิตมั่น (๒) การเข้า (๓) การตั้งอยู่ (๔) การออก (๕) ความพร้อม (๖) อารมณ์ (๗) โคจร (๘) อภินิหาร (๙) การทำโดยเคารพ (๑๐) การทำความเพียรต่อเนื่อง และ (๑๑) การทำสัปปายะ
    ……………
    ดูรายละเอียดใน ฌานสังยุต สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=17...
    #ฌาน #สมาธิ #วิธีปฏิบัติ
    w2WQHfd2X6-w7lmCwjOVWM3okiKBbuQydPxliYxZGBxE&_nc_ohc=GjzjhH0ubjUAX-Xn-r5&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +70,497
    ?temp_hash=209be269e58c1657554dc13c2d0230c5.jpg

    ผู้ขวนขวยในฌาน และกาลแห่งสมถะ กาลแห่งวิปัสสนา

    "เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบ ความว่าเมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ฯลฯ

    สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบ"

    ว่าด้วยผู้ขวนขวายในฌาน

    [๙๗๑] คำว่า พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน ในคำว่า พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน เป็น
    ผู้ตื่นอยู่มาก ความว่า เป็นผู้ขวนขวายในฌานด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือ เป็นผู้ประกอบ ประกอบ
    ทั่ว ประกอบโดยเอื้อเฟื้อ มาประกอบด้วยดี เพื่อความเกิดขึ้นแห่งปฐมฌานที่ยังไม่เกิดขึ้น เพื่อ
    ความเกิดขึ้นแห่งทุติยฌานที่ยังไม่เกิดขึ้น เพื่อความเกิดขึ้นแห่งตติยฌานที่ยังไม่เกิดขึ้น หรือเพื่อ
    ความเกิดขึ้นแห่งจตุตถฌานที่ยังไม่เกิดขึ้น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า เป็นผู้ขวนขวาย
    ในฌาน. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุซ่องเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งปฐมฌานที่เกิดขึ้นแล้ว ทุติยฌานที่
    เกิดขึ้นแล้ว ตติยฌานที่เกิดขึ้นแล้ว หรือจตุตถฌานที่เกิดขึ้นแล้ว แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึง
    ชื่อว่า เป็นผู้ขวนขวายในฌาน. คำว่า เป็นผู้ตื่นอยู่มาก ความว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ชำระ
    จิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเป็นเครื่องกั้น ด้วยการเดินจงกรมและการนั่งตลอดวัน ชำระจิตให้บริสุทธิ์
    จากธรรมเป็นเครื่องกั้น ด้วยการเดินจงกรมและการนั่ง ตลอดปฐมยามแห่งราตรี ย่อมสำเร็จสีห-
    *ไสยา (นอนอย่างราชสีห์) โดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ ใส่ใจถึง
    สัญญาในการลุกขึ้น ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี กลับลุกขึ้นแล้ว ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรม
    เป็นเครื่องกั้น ด้วยการเดินจงกรมและการนั่ง ตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
    พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน เป็นผู้ตื่นอยู่มาก.

    ว่าด้วยอุเบกขา

    [๙๗๒] ความเพิกเฉย กิริยาที่เพิกเฉย กิริยาที่เพิกเฉยยิ่ง ความที่จิตสงบ ความที่
    จิตระงับ ความที่จิตเป็นกลาง ในจตุตถฌาน ชื่อว่า อุเบกขา ในคำว่า พึงเป็นผู้ปรารภอุเบกขา
    มีจิตตั้งมั่น. ความหยุด ความนิ่ง ความแน่วแน่ ความไม่กวัดแกว่ง ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต
    ความที่ใจไม่กวัดแกว่ง ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ ชื่อว่า ความเป็นผู้
    มีจิตตั้งมั่น. คำว่า พึงเป็นผู้ปรารภอุเบกขามีจิตตั้งมั่น ความว่า ปรารภอุเบกขาในจตุตถฌาน
    เป็นผู้มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน มีใจอันอะไรๆ ไม่ให้กวัดแกว่งได้ เพราะฉะนั้น
    จึงชื่อว่า พึงเป็นผู้ปรารภอุเบกขามีจิตตั้งมั่น.

    ว่าด้วยจิตที่เป็นกาลของสมถะและวิปัสสนา

    [๙๘๖] คำว่า ตามกาล ในคำว่า ภิกษุนั้น เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบตาม
    กาล ความว่า เมื่อจิตไม่ฟุ้งซ่านเป็นกาลของสมถะ เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นกาลของวิปัสสนา.
    สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
    โยคีผู้ใด ย่อมประคองจิตในกาล ย่อมข่มจิตในกาลอื่น ย่อมให้จิต
    รื่นเริงโดยกาล ย่อมตั้งจิตไว้ในกาล ย่อมวางเฉยในกาล โยคีผู้นั้น
    ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในกาล ความประคองจิตควรมีในกาลไหน? ความข่ม
    จิตควรมีในกาลไหน? กาลเป็นที่ให้จิตรื่นเริงควรมีในกาลไหน? และ
    กาลของสมถะเป็นกาลเช่นไร? บัณฑิตย่อมแสดงกาลเป็นที่วางเฉย
    แห่งจิตของโยคีบุคคลอย่างไร? เมื่อจิตของโยคีบุคคลย่อหย่อน เป็นกาล
    ที่ควรประคองไว้ เมื่อจิตของโยคีบุคคลฟุ้งซ่านเป็นกาลที่ควรข่มไว้ โยคี
    บุคคลพึงยังจิตที่ถึงความไม่แช่มชื่นให้รื่นเริงในกาลนั้น จิตเป็น
    ธรรมชาติรื่นเริงไม่ย่อหย่อน ไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมมีในกาลใด กาลนั้นเป็น
    กาลของสมถะ ใจพึงยินดีในภายใน โดยอุบายนั้นนั่นแหละ จิตเป็น
    ธรรมชาติตั้งมั่น ย่อมมีในกาลใด ในกาลนั้น โยคีบุคคลพึงวางเฉย
    ไว้ซึ่งจิตที่ตั้งมั่นแล้วด้วยปัญญา ธีรชนผู้รู้แจ้งกาล ทราบกาล ฉลาด
    ในกาลพึงกำหนดอารมณ์อันเป็นนิมิตของจิต ตลอดกาล ตามกาล อย่างนี้.
    เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุนั้น ... ตามกาล. คำว่า เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบ ความว่า
    เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวง
    เป็นอนัตตา ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับไปเป็น
    ธรรมดา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบ.
    [๙๘๗] คำว่า มีจิตเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ในคำว่า เป็นผู้มีจิตเป็นธรรมเอกผุดขึ้น พึง
    กำจัดความมืด พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดังนี้ ความว่า เป็นผู้มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน
    มีใจไม่กวัดแกว่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเป็นผู้มีจิตเป็นธรรมเอกผุดขึ้น. คำว่า ภิกษุนั้นพึงกำจัด
    ความมืด ความว่า พึงขจัด กำจัด ละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความมืดคือ
    ราคะ ความมืดคือโทสะ ความมืดคือโมหะ ความมืดคือมานะ ความมืดคือทิฏฐิ ความมืดคือกิเลส
    ความมืดคือทุจริต อันทำให้บอด ทำให้ไม่มีจักษุ ทำให้ไม่มีญาณ ดับปัญญา เป็นฝักฝ่ายความลำบาก
    ไม่ให้เป็นไปเพื่อนิพพาน. คำว่า ภควา เป็นเครื่องกล่าวด้วยความเคารพ. อีกอย่างหนึ่ง. ชื่อว่า
    ภควา เพราะอรรถว่า ผู้ทำลายราคะ ทำลายโทสะ ทำลายโมหะ ทำลายมานะ ทำลายทิฏฐิ ทำลาย
    เสี้ยนหนาม ทำลายกิเลส. เพราะอรรถว่า ทรงจำแนก ทรงแจกแจง ทรงจำแนกเฉพาะซึ่ง
    ธรรมรัตนะ. เพราะอรรถว่า ทรงทำที่สุดแห่งภพทั้งหลาย. เพราะอรรถว่า มีพระกายอันทรง
    อบรมแล้ว มีศีลอันอบรมแล้ว มีจิตอันอบรมแล้ว มีปัญญาอันอบรมแล้ว. อนึ่ง พระผู้มี
    พระภาคทรงซ่องเสพเสนาสนะอันเป็นป่าละเมาะและป่าทึบอันสงัด มีเสียงน้อย ปราศจากเสียง
    กึกก้อง ปราศจากชนผู้สัญจรไปมา เป็นที่ควรทำกรรมลับของมนุษย์ สมควรแก่การหลีกออก
    เร้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งจีวร บิณฑบาต
    เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มี
    พระภาคทรงมีส่วนแห่งอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา อันมีอรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส เพราะ
    ฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งฌาน ๔ อัปปมัญญา ๔ อรูป
    สมาบัติ ๔ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งวิโมกข์ ๘
    อภิภายตนะ ๘ อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาค
    ทรงมีส่วนแห่งสัญญาภาวนา ๑๐ กสิณสมาบัติ ๑๐ อานาปาณสติสมาธิ อสุภสมาบัติ เพราะ
    ฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔
    อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
    ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งตถาคตพลญาณ ๑๐ เวสารัชญาณ ๔ ปฏิสัมภิทา ๔
    อภิญญา ๖ พุทธธรรม ๖ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. พระนามว่า ภควา นี้ พระมารดา
    พระบิดา พระภาดา พระภคินี มิตร อำมาตย์ พระญาติสาโลหิต สมณพราหมณ์ เทวดา มิได้
    เฉลิมให้ พระนามว่า ภควา นี้ เป็นวิโมกขันติกนาม (พระนามมีในอรหัตผลในลำดับแห่ง
    อรหัตมรรค) เป็นสัจฉิกาบัญญัติ พร้อมด้วยการทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ณ ควงโพธิพฤกษ์
    ของพระผู้มีพระภาคทั้งหลายผู้ตรัสรู้แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้มีจิตเป็นธรรมเอกผุดขึ้น
    พึงกำจัดความมืด พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดังนี้. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
    ภิกษุเป็นผู้มีสติ มีจิตพ้นวิเศษแล้ว พึงกำจัดฉันทะในธรรมเหล่านั้น
    ภิกษุนั้น เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบตามกาล เป็นผู้มีจิตเป็น
    ธรรมเอกผุดขึ้น พึงกำจัดความมืด พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดังนี้
    ฉะนี้แล.

    สารีปุตตนิทเทสที่ ๑๖.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +70,497
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +70,497
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +70,497
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +70,497
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +70,497
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +70,497
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...