เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๖๔

ในห้อง 'หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน' ตั้งกระทู้โดย iamfu, 29 เมษายน 2021.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,540
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,538
    ค่าพลัง:
    +26,373
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๖๔







    picture091.png
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 เมษายน 2021
  2. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,540
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,538
    ค่าพลัง:
    +26,373
    เมื่อสักครู่นี้ฟังการสวดมนต์ของพวกเรา นับว่ามีการแก้ไขในด้านที่ดีขึ้น อย่างเช่นว่า ทิฏฐิง เป็น ทิฏฐิง ไม่ใช่ ถิฏฐิง ระมัดระวังขึ้น แต่ไปพลาดสิ่งที่ง่าย ๆ เวสสะ ภุสสะ ไม่ใช่ เวสสะ ผุสสะ ภ.สำเภาครับ ไม่ใช่ ผ.ผึ้ง และโดยเฉพาะ พะหู เทวา มะนุสสา ฯ ควรจะได้กันหมดแล้ว เพราะว่าหลายเดือนเต็มทีแล้ว แต่ปรากฏว่าพวกเราไม่ได้ให้ความสนใจ พอถึงเวลาคนนำขึ้นมา คนรับก็เงียบ แปลว่าไม่มีการพัฒนาตัวเอง

    ผมเองถ้าหากว่าไปที่ไหน เจอเขาสวดอะไรที่ไม่เหมือนของเรา หรือว่าผมยังสวดไม่ได้ ผมจะรีบมาปรับปรุง รีบสวดให้ได้เหมือนเขา แต่พวกเราไม่เป็นอย่างนั้น กลายเป็นว่าปล่อยเวลา วันแล้ววันเล่า อาทิตย์แล้วอาทิตย์เล่า ให้เลยไปเฉย ๆ

    แล้วที่พวกเราสวด "วันคืนล่วงไป ๆ เราทั้งหลายทำอะไรกันอยู่" ก็เท่ากับสักแต่ว่าสวดเท่านั้น เพราะไม่ได้คิดที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี อย่าไปคิดว่าโอกาสที่ใช้มีน้อย อะไรก็ตามถ้าเราเป็นแล้ว โบราณว่า รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม ถึงเวลาจำเป็นขึ้นมา ถ้าเราเป็นแล้ว ทุกอย่างก็จะเข้ากับคนอื่นได้ ไปกับคนอื่นได้ แต่ถ้าเราไม่เป็น ตามเขาไม่ได้ ให้ไปอ้าปากงับ ๆ อย่างเดียว ผมอายเขา..!

    เพราะฉะนั้น...ตรงส่วนนี้เราต้องปรับทัศนคติเสียใหม่ว่า ทุกอย่างสำคัญหมด และพยายามศึกษารูปแบบที่ถูกต้องเข้าไว้ ก็จะช่วยได้มาก ไม่อย่างนั้นถึงเวลาถ้าหากว่าไปเจอ แทนที่เขาจะลงใน ขีณัง ปุราณัง ของรัตนสูตร เขากลับขึ้น ยะถินทะขีโล ต่อ เราก็ตาย เพราะว่ายังเหลืออีกหลายบทกว่าจะจบ

    อะไรที่ยังไม่เป็น ต้องรีบซักซ้อมให้เป็นเข้าไว้ เพราะว่าพวกเราส่วนหนึ่งเน้นในเรื่องของการสวดมนต์ภาวนา แต่อีกส่วนหนึ่งไปเน้นในการเจริญกรรมฐาน ใครก็ตามถ้าเน้นในการเจริญกรรมฐาน ถ้าอยู่ถึงสองพรรษาไปแล้วจะสวดมนต์ได้ยาก เพราะว่าใจเริ่มไม่เอาแล้ว
     
  3. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,540
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,538
    ค่าพลัง:
    +26,373
    ผมเองในสองพรรษาแรก ผมออกงานกิจนิมนต์ทุกงานที่มี เพราะว่าพระวัดท่าซุงส่วนใหญ่แล้วเน้นเจริญกรรมฐาน ทำให้สวดมนต์ไม่ได้ ส่วนผมสวดได้หมดตั้งแต่ตอนที่ไปเป็นนาคอยู่ที่วัด ถึงเวลาหลวงพี่ท่านโน้น หลวงตาท่านนี้ ขอให้ไปทำหน้าที่แทน ก็สามารถที่จะไปได้เลย ผมไปอยู่ ๒ ปีเต็ม ๆ ครับ พูดง่าย ๆ ว่าออกกิจนิมนต์เกือบทุกวัน ทั้งคิวของตัวเอง แล้วก็ที่ไปแทนคนอื่น

    ไปเพื่อศึกษาดูว่าแต่ละงานเขาสวดบทอะไรกันบ้าง ? พิธีกรรมและขั้นตอนในงานเป็นอย่างไรบ้าง ? ผ่านไป ๒ ปี ผมมั่นใจว่าผมรู้ครบแล้ว ผมก็เริ่มให้รุ่นน้องที่เห็นแววออกแทนบ้าง เพราะว่าส่วนใหญ่แล้วกำลังใจของญาติโยมนั้นยังอยู่แค่ในระดับพิธีกรรม จะให้จับมานั่งรักษาศีล เจริญภาวนา ก็เป็นไปได้ยาก เราจึงต้องเอาพิธีกรรมที่ถูกต้องไปให้เขา

    ทำไมทำบุญ ๗ วันจึงสวดอนัตตลักขณสูตร ? ทำบุญ ๕๐ วันจึงสวดอาทิตตปริยายสูตร ? ทำบุญครบ ๑๐๐ วันถึงสวดธัมมนิยาม ?

    นอกจากรู้ว่าธรรมเนียมเขาสวดอะไรแล้ว ควรจะรู้ด้วยว่าทำไมถึงต้องใช้บทนั้น โยมขี้สงสัยเขามีอยู่ ไม่ใช่ถึงเวลาเขาถามแล้วเราตอบไม่ได้
     
  4. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,540
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,538
    ค่าพลัง:
    +26,373
    ฉะนั้น..ในเรื่องของพระพุทธศาสนาเราต้องเรียนให้รู้จริงทั้งปริยัติและปฏิบัติ ถ้ามีด้านเดียวมักจะไปไม่รอด ในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ ทรงมีพระราชปุจฉา ถามกรรมการมหาเถรสมาคมว่า เรียนบาลีอย่างไรจะให้เข้าถึงพระไตรปิฎกอย่างแท้จริง ?

    พวกคุณควรจะทราบนะครับว่า ปัญหาแบบนี้เอากันตายไปข้างหนึ่งเลย..! เพราะว่าการเรียนบาลีในปัจจุบันของเรา เสียหายมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เพราะพระองค์ท่านเห็นว่าความสามารถของผู้คนลดน้อยถอยลง จึงแยกปริยัติกับปฏิบัติออกจากกัน พอแยกออกจากกันนี่แหละครับ เสียหายใหญ่หลวงเลย แล้วทุกวันนี้ก็ยังไม่มีการรวมกลับเข้าไป

    การปฏิบัติช่วยสนับสนุนการเรียนปริยัติได้ดียิ่ง เพราะว่ากำลังใจที่เข้มแข็ง ทำให้ไม่ท้อถอยง่าย ๆ และขณะเดียวกัน สิ่งที่เราเรียน ยิ่งปฏิบัติได้มาก ลึกซึ้งเท่าไร จะตีความได้มากเท่านั้น ในเมื่อตีความได้มาก ตีความได้ถูกต้อง โอกาสที่ปฏิบัติแล้วจะได้ถึงมรรคถึงผลก็มีมาก

    ก็แปลว่าทั้งปริยัติและปฏิบัติจะต้องไปด้วยกัน เหมือนอย่างกับเท้าสองข้างของเรา ถ้าโดนเขาล่ามติดกันอยู่ ก็ต้องผลัดกันเดิน อะไรที่ไม่แม่น ก็ปริยัตินำหน้า หาตำรามาดู อะไรที่ต้องการความก้าวหน้าของ กาย วาจา ใจ ก็ต้องเข้าสู่การปฏิบัติ
     
  5. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,540
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,538
    ค่าพลัง:
    +26,373
    ปัจจุบันนี้การเรียนปริยัติของเรา โดยเฉพาะบาลี เรียนแล้วแปล มักจะแปลโดยพยัญชนะเท่านั้น แปลตามตัวหนังสือ โอกาสที่จะแปลโดยอรรถมีน้อยมากครับ เพราะว่าการแปลโดยอรรถนั้น ถ้าหากว่าเข้าไม่ถึงความหมายที่แท้จริง แปลอย่างไรก็ผิด แล้วถ้าไปเจอกรรมการที่มากด้วยทิฐิ กระทบกระทั่งกันเอง ผู้แปลก็เสียประโยชน์ ตัวอย่างชัด ๆ มีมาแล้วครับ

    ฉะนั้น....คุณอาจจะสงสัยว่าทำไมสัตตมีวิภัตติ ถึงได้แปลว่า ใน ใกล้ ที่ ครั้นเมื่อ ในเพราะ เหนือ บน ณ แปดความหมายด้วยกัน ต้องดูบริบทด้วยว่าในตอนนั้นเขาต้องการความหมายว่าอะไร สิ่งแวดล้อมเป็นอย่างไร ถึงจะได้แปลได้ถูกตามความหมายนั้น ไม่เช่นนั้นก็จะขัดแย้งกัน

    อาสะเน นิสินโน ในเมื่อ อาสะเน นิสินโน ลูกศิษย์ก็แปลว่า อันว่านั่งเหนืออาสนะ กรรมการท่านหนึ่งให้ผ่าน อีกท่านหนึ่งบอกว่าไม่ได้ ถ้านั่งเหนืออาสนะ ก้นต้องลอยพ้นพื้น ความซวยก็ตกอยู่กับลูกศิษย์ ต้องแปลใหม่

    อาสะเน นิสินโน อันว่านั่งในอาสนะ ท่านที่คัดค้านตอนแรกบอกว่าผ่าน แต่อีกท่านหนึ่งไม่ให้ ในเมื่อมึงค้านกู กูต้องค้านกลับ ท่านบอกว่าถ้านั่งในอาสนะ ต้องฉีกผ้าแล้วมุดเข้าไป...! สรุปว่าลูกศิษย์สอบตก ท้ายสุดก็เลยต้องมาแปลกันใหม่ เพื่อให้ถูกใจกรรมการทั้งสองท่านว่า อาสะเน นิสินโน อันว่านั่งบนอาสนะ
     
  6. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,540
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,538
    ค่าพลัง:
    +26,373
    ท่านที่เรียนบาลีจะซาบซึ้งเลยว่า ความหมายโดยอรรถกับโดยพยัญชนะต่างกันราวฟ้ากับเหว เพราะว่าโดยอรรถนั้น หมายเอาความเป็นปัจจัตตังของหลักธรรม ก็คือการที่รู้เฉพาะตน รู้อยู่กับใจของตนเอง ไม่สามารถจะบอกกล่าวเป็นคำพูดได้ เพราะว่าหลักการปฏิบัติธรรมนั้น ละเอียดเกินกว่าที่คำพูดและตัวหนังสือจะอธิบายออกมาได้

    ดังนั้น...ถ้าหากว่าจะเรียนบาลีเพื่อให้เข้าถึงพระไตรปิฎกจริง ๆ จะทิ้งการปฏิบัติธรรมไม่ได้ ต้องควบคู่กันไปทั้งปริยัติธรรมและปฏิบัติธรรม โดยเฉพาะเมื่อแปลออกมาถูกต้อง แล้วน้อมนำมาปฏิบัติ ก็จะได้เกิดประโยชน์ที่แท้จริงกับตนเอง และถ้าปฏิบัติได้แล้ว นำสิ่งที่ถูกต้องไปเผยแผ่ต่อ ไปสั่งสอนต่อ ก็จะเกิดประโยชน์กับคนหมู่มาก เป็นการอนุเคราะห์แก่โลก

    ฉะนั้น...ผมเห็นว่าการที่ในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ ทรงมีพระราชปุจฉาออกมา เป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุด เป็นการกระตุ้นพระผู้ใหญ่ในระดับมหาเถรสมาคม ซึ่งมีธรรมเนียมว่าต้องเป็นพระราชาคณะชั้นธรรมขึ้นไปเท่านั้น ถึงจะได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการมหาเถรสมาคม ให้พระผู้ใหญ่ระดับนั้นได้คิด ได้ปรับปรุงแนวทางการศึกษาทั้งบาลีและนักธรรม

    ไม่ใช่ทำไปโดยความเคารพว่าสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงนิพนธ์ตำราไว้แล้ว ร้อยกว่าปีผ่านไป กูก็ว่าไปตามนี้ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ถ้าลักษณะนั้นก็เป็นแค่ไดโนเสาร์..รอวันสูญพันธ์ุ เพราะว่าไม่สามารถที่จะปรับตัวเองให้เข้ากับโลกในสมัยใหม่ได้ แล้วก็ไม่มีโอกาสได้ใช้ประโยชน์อย่างแท้จริงจากหลักธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
     
  7. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,540
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,538
    ค่าพลัง:
    +26,373
    ฉะนั้น..ที่ผมมาเน้นพวกเราในเรื่องของการสวดมนต์ให้ถูกต้อง โอกาสที่จะถูกต้องจริง ๆ นั้นยาก เพราะว่าเราไม่ใช่คนอินเดีย ออกเสียงตามเขาแล้วจะให้ตรงเหมือนต้นฉบับนั้นเป็นไปไม่ได้ แต่ว่าต้องให้ดีที่สุด ให้ชัดที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ ถ้าหากว่าดีที่สุด ชัดที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ ส่วนอื่น ๆ ก็จะเป็นแค่ส่วนประกอบเท่านั้น และเราจะเป็นตัวอย่างที่คนอื่นเขาเลียนแบบและทำตามอีกด้วย

    เพราะฉะนั้น..ถ้าหากว่าเราเป็นพระปฏิบัติแล้วไปดูถูกพระปริยัติ ก็จะเหมือนกับที่หลวงพ่อฤๅษีฯ บอกกับผมว่า "ถ้าแกมีเวลาก็ไปเรียนเสียหน่อย" ผมเองเป็นคนกล้าพูดนะครับ ผมกราบเรียนหลวงพ่อท่านว่า "ผมจะเรียนไปทำไมครับ ? ก็ในเมื่อแค่นักธรรมชั้นตรี เขาก็ปฏิเสธพรหมเทวดาแล้ว"

    ในพุทธประวัติกล่าวว่า ฆฎิการพรหมนำเอาบริขาร ๘ มาถวายเจ้าชายสิทธัตถะตอนออกมหาภิเนษกรมณ์ เขาถามว่าฆฎิการพรหมเป็นใคร ? ถ้าคุณตอบว่าเป็นพรหม...สอบตกครับ เขาให้ตอบว่าพรหมเป็นคุณสมบัติของผู้ทรงฌานสมาบัติ อาจจะมีนักบวชหรือเจ้าลัทธิจากลัทธิใดลัทธิหนึ่งที่ทรงฌานสมาบัติ เลื่อมใสการออกบวชของเจ้าชายสิทธัตถะ จึงนำบริขาร ๘ มาถวาย

    ผมกราบเรียนหลวงพ่อท่านว่า "ในเมื่อนักธรรมตรีปฏิเสธพรหมเทวดา แล้วผมจะเรียนไปทำไมครับ ?" ท่านบอกว่า "เรียนเอาไว้เป็นไม้กันหมา พระปริยัติมักจะดูถูกว่าพระปฏิบัติโง่ เพราะว่าไม่ได้ศึกษาตำรา แกไปเรียนให้พวกนั้นรู้ว่าแกเก่งกว่า"

    แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่ครับ ความหมายอีกอย่างหนึ่งของหลวงพ่อท่านก็คือ ปริยัติกับปฏิบัตินั้นต้องไปด้วยกัน ปริยัติเหมือนกับแผนที่ ปฏิบัติเหมือนกับการเดินทางจริง ถ้าหากว่ามีแผนที่อยู่ เราจะเดินทางพลาดได้ยาก แต่ถ้ายึดติดแผนที่มากจนเกินไป คุณก็จะไปได้ไม่ถึงไหน เพราะแผนที่เป็นแค่เส้นขีดเท่านั้น แล้วถ้าหากว่าคุณไปแล้วไม่มีเส้นขีดถนน เป็นภูเขา เป็นแม่น้ำ เป็นป่าไม้ขึ้นมา ก็ไม่กล้าเดินต่อ เพราะว่าไม่ใช่เส้นที่ขีดเอาไว้
     
  8. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,540
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,538
    ค่าพลัง:
    +26,373
    ฉะนั้น...สิ่งทั้งหลายเหล่านี้สำคัญตรงที่ว่า เรียนแล้วอย่าแบกมานะเอาไว้ เรียนเพื่อเป็นแนวทางที่เราจะได้รู้ว่า การที่เราจะเดินทางข้ามวัฏสงสารนั้น ต้องไปทางไหน ? ไปอย่างไร ? เมื่อรู้แล้วก็รีบเร่งปฏิบัติให้เกิดผล แล้วถึงเวลาช่วยนำไปบอกต่อคนอื่น ถ้าใครต้องการแค่ตำรา บอกกล่าวไปตามตำรา ถ้าใครต้องการมรรค ต้องการผลจริง ๆ ก็บอกกล่าวอารมณ์ที่เป็นปัจจัตตังให้กับเขา ถ้าอย่างนั้นการเรียนพระไตรปิฎกของเราก็จะเป็นการเข้าถึงอย่างแท้จริง ตามที่ในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ ได้ตรัสปุจฉาเอาไว้


    วันนี้ก็เป็นวันพฤหัสบดีที่ ๒๙ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๔ ต้องบอกว่าแม้ว่าจะอยู่ในช่วงของเชื้อไวรัสโควิด-๑๙ แพร่ระบาด ผมก็ยังมีงานที่ต้องไปโน่นไปนี่อยู่เสมอ เสียงธรรมที่จะส่งมอบให้กับคณะญาติโยมที่อยู่ทางบ้าน หรืออยู่ต่างประเทศตามที่ตั้งใจไว้ ถ้าวาระงานบีบคั้น ก็อาจจะขาดหายไปบ้าง พระภิกษุสามเณรของเราที่รอฟังสิ่งที่ผมจะพูดจะบอกกล่าว เพื่อปรับทัศคติ ปรับแนวการปฏิบัติของตนเอง ก็อาจจะผิดหวัง เพราะว่าขาดหายไปบ้าง แต่ว่าก็ให้เป็นตามเหตุ ตามปัจจัยไปก็แล้วกัน วันนี้ก็ขอให้แนวคิดไว้แต่เพียงเท่านี้


    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน
    วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๔
    (ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย เผือกน้อย)
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...