ชั่วโมงเซียน - ออกไซด์ในพระเนื้อโลหะตืออะไร

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย อดุลย์ เมธีกุล, 3 มีนาคม 2008.

  1. อดุลย์ เมธีกุล

    อดุลย์ เมธีกุล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2007
    โพสต์:
    7,363
    ค่าพลัง:
    +11,795
    ชั่วโมงเซียน : ออกไซด์ในพระเนื้อโลหะคืออะไร ?


    [​IMG] พระเครื่อง หรือ พระบูชา ถ้าหากสร้างจากเนื้อโลหะแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเนื้อชินเงิน เนื้อตะกั่ว หรือเนื้อสำริด ก็ตาม เมื่อวันเวลาผ่านไป โลหะนั้นจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงสภาพ ตามสภาวะแวดล้อมของสถานที่และ ระยะเวลาของอายุการสร้าง
    สิ่งที่เป็นตัวนำ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเนื้อและ ผิวของพระเครื่องนั้น เกิดจากออกซิเจนใน อากาศทำปฏิกิริยากับโลหะ ศัพท์ทางวิทยาศาสตร์เรียกว่า ออกไซด์ ซึ่งแปลว่า สนิม นั่นเอง
    พระเครื่องที่สร้างจากเนื้อชินเงิน เมื่อระยะเวลาผ่านไป ออกไซด์ก็จะเกาะกินผิวพระ อาจเกาะกินบางส่วน หรือกินทั่วทั้งองค์ สนิมที่เกาะกินผิวพระเนื้อชินเงินนั้น จะเป็นสนิมสีค่อนข้างดำ ซึ่งเรียกว่า สนิมตีนกา ส่วนสนิมออกไซด์ที่เกาะกินผิวพระจนลึกลงไปในเนื้อขององค์พระ ซึ่งจะมีสีค่อนข้างดำเช่นกัน
    เนื้อของพระจะมีลักษณะเป็นชั้นขุยเกล็ดๆ นั้นเราเรียกกันว่า สนิมพระเกล็ดกระดี่ พระบางองค์สนิมก็กินเข้าไปลึก จนทำให้เนื้อพระปะทุและระเบิดเลยก็มี ขึ้นอยู่กับสภาวะแต่ละกรุ แต่ละพื้นที่ที่บรรจุพระนั้นๆ
    พระที่สร้างจากเนื้อชินตะกั่ว พบส่วนมากเป็นพระที่มีอายุการสร้างในยุคลึกๆ เช่น ยุคลพบุรี เชียงแสน สุโขทัย และอู่ทอง เป็นต้น มีทั้งที่สร้างจากเนื้อชินแก่ตะกั่ว และที่สร้างจากเนื้อ ตะกั่วแก่ชิน
    [​IMG]พระที่สร้างเนื้อตะกั่วแก่ชิน นั้น เมื่อเปิดกรุส่วนใหญ่องค์พระ จะคงอยู่ในสภาพสวยสมบูรณ์มากกว่าชำรุด น่าจะเกิดจากการผสมผสานเนื้อพระได้เข้ากันพอดิบพอดี ทำให้เนื้อพระเกิดความคงทนขึ้น สนิมแดงจะเกิดขึ้นค่อนข้างน้อยหรือเกิดขึ้นบางส่วนเท่านั้น
    พระที่สร้างจากเนื้อชินแก่ตะกั่ว นั้น ส่วนใหญ่เนื้อพระจะเกิดสนิมแดงเกาะทั่วองค์ บางองค์สนิมแดงจัดมากจนกินเข้าถึงเนื้อในของพระ ทำให้เนื้อตะกั่วเสื่อมสภาพลง ผิวพระเกิดรอยลั่นร้าวปริแยกคล้ายใยแมงมุม
    สนิมแดงของพระเนื้อชินตะกั่วนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายสี ขึ้นอยู่ที่การผสม ของเนื้อพระหรือสภาวะภายในกรุนั้นๆ พระที่เกิดสนิมแดงเกาะขึ้นบางๆ เราเรียกว่า สนิมลูกหว้า
    ถ้าสนิมแดงเกาะค่อนข้างหนา สีสนิมออกแดงม่วงผสมดำ เราเรียกกันว่า สนิมเปลือกมังคุด ส่วนพระองค์ที่มีสนิมแดงเกาะค่อนข้างหนาและเป็นสีค่อนข้างแดงจัด เหมือนสีเลือด เราเรียกว่า สนิมเลือดนก เช่น พระกรุบ้านหัวเกาะ สุพรรณบุรี เป็นต้น
    ส่วนพระที่ทำจากเนื้อสำริดนั้น จะมีสภาพคงทน เสื่อมสภาพได้ยากมาก เช่นพระในสมัยศรีวิชัย เชียงแสน หรือลพบุรี เป็นต้น ซึ่งบางองค์มีอายุเป็น ๑,๐๐๐ ปี ยังมีสภาพสวยสมบูรณ์อยู่เลย
    พระเนื้อสำริดนั้น จะมีสนิมออกไซด์เกาะกินเช่นกัน ส่วนจะมากหรือน้อย ก็คงอยู่กับสภาวะที่เก็บ บวกกับระยะเวลาในการสร้างเช่นกัน สนิมที่เกาะในเนื้อสำริด มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด หลายสี เช่น สนิมขุม สนิมสีเขียว สนิมสีแดง สนิมสีดำ และสนิมน้ำเงิน เป็นต้น
    สนิมขุมนั้นเป็นสนิมอย่างเดียวที่ต้องขึ้นกับพระเนื้อสำริด ที่มีอายุการสร้างมากๆ ทุกองค์ ซึ่งถือว่าเป็นตัวชี้ขาดในการพิจารณาความแท้-ปลอมของพระเครื่อง พระบูชาเนื้อสำริดได้เลย ไม่ว่าพระเนื้อสำริดองค์นั้นจะลงกรุหรือไม่ก็ตาม
    [​IMG]ลักษณะของสนิมขุมพบเห็นด้วยกัน ๒ ลักษณะ คือ สนิมที่เกาะนูนขึ้นมาจากผิวพระ และที่เกาะกินจนเนื้อพระทรุดตัว เป็นหลุม เป็นร่อง ตัวสนิมส่วนมากจะมีสีแดง และสีเขียว ผิวมัน แบบช้ำๆ เกาะติดแน่นจนเป็นเนื้อเดียวกับผิวพระ
    ส่วนสีของเนื้อพระที่ถูกสนิมออกไซด์เกาะคลุมผิว ไม่ว่าจะเป็นสนิมสีเขียว สีแดง สีดำ หรือสีน้ำเงิน ส่วนใหญ่จะเป็นพระที่ผ่านการลงกรุแทบทั้งสิ้น สีของสนิมนั้นจะเป็นสีอะไร ก็คงขึ้นอยู่กับสภาวะภายในกรุนั้นๆ
    พระเนื้อสำริดโบราณ ที่มีอายุการสร้างมานาน เนื้อโลหะจะต้องมีลักษณะแห้ง สีจืด ซีด น้ำหนักเบาลงมาก เรียกกันว่า เนื้อหมดยาง การเคลื่อนย้ายต้องระมัดระวัง หากตกก็จะแตกหักง่าย
    เนื้อสำริดที่เห็นทั่วไป ส่วนมากก็เป็นพระบูชา มีทั้งที่บรรจุภายในกรุ ในเจดีย์ และตั้งเก็บไว้เฉยๆ ในวัดวาอาราม หรือในปราสาทราชวัง จึงทำให้สีของสนิมต่างกันไป สนิมที่มีสีดำหรือสีแดง ส่วนมากจะเป็นพระที่ตั้งบูชาเอาไว้เฉยๆ ไม่ได้บรรจุเอาไว้ในกรุ
    [​IMG]ถ้าเป็นพระที่บรรจุไว้ภายในกรุ ในเจดีย์ หรือถูกฝังอยู่ใต้ดินนั้น จะมีสนิมเกาะค่อนข้างมาก เรียกว่า สนิมจัด ส่วนใหญ่สนิมจะเป็น สีแดงจัด หรือ เขียวจัด ที่เรียกกันว่า สนิมเขียวหยก
    ส่วนสนิมสีน้ำเงินนั้น เป็นสนิมที่พบเจอน้อยมาก จะขึ้นอยู่เหนือสนิมเขียว สนิมแดงอีกชั้นหนึ่ง พูดได้ว่าถ้าพบเจอสนิมสีน้ำเงินในพระนั้น ก็สันนิษฐานได้เลยว่าเป็นพระแท้แน่นอน
    อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นสนิมสีอะไรก็ตาม เทคโนโลยีพัฒนา ได้ใกล้เคียงมาก ต้องใจเย็นๆ ค่อยๆ ดูให้ดี จะได้ไม่พลาด ไม่ยากเกินไปหรอกครับ
    สำหรับพระบูชาหรือเทวรูป ถ้าเป็นเนื้อสำริด ให้ดูที่เนื้อโลหะก่อนว่าแห้งสนิทไหม ไม่ดูสดตา น้ำหนักต้องเบา (โลหะเซตตัวแล้ว) สนิมสีต่างๆ ต้องกินตัวเข้าไปในเนื้อพระ (ไม่ใช่เหมือนเอาสีย้อมมาทา)
    ถ้ามีดินใต้ฐาน ดินต้องแห้งสนิท มีฝ้าคราบขาวเกาะหน้าดินแบบธรรมชาติ เมื่อใช้น้ำหยดลงไป ดินต้องดูดน้ำเข้าไปทันที (ของเก๊จะใช้ดินผสมกาวไม่ค่อยดูดน้ำ)
    แต่ที่สำคัญที่สุด คือ พระเนื้อสำริดจำเป็นต้องมีสนิมขุมทุกองค์ จะมากหรือน้อยก็ต้องมีเพราะนี่คือ ธรรมชาติของเนื้อพระโลหะสำริดที่มีอายุเก่าแก่
    ที่มา - คม ชัด ลึก
     
  2. มันตรัย

    มันตรัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    8,346
    ค่าพลัง:
    +8,190
    ขอบคุณมากเลยครับ นี่ถือว่าเป็นความรู้ที่ดีมากครับ จะได้เป็นประโยชน์สำหรับคนที่อยากศึกษาพระเนื้อชินเก่า รวมไปถึงจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของคนขายพระเนื้อตะกั่วปลอมด้วยครับ
     
  3. อดุลย์ เมธีกุล

    อดุลย์ เมธีกุล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2007
    โพสต์:
    7,363
    ค่าพลัง:
    +11,795
    ช่วยๆกันครับคนละนิดคนละหน่อยศึกษากันครับเพื่อนๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 พฤษภาคม 2008
  4. อดุลย์ เมธีกุล

    อดุลย์ เมธีกุล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2007
    โพสต์:
    7,363
    ค่าพลัง:
    +11,795
    อยากให้อ่านไม่อยากให้ตกหน้า ข้อมูลดีๆสำหรับผู้ศึกษาอย่างพวกเรา
     
  5. อดุลย์ เมธีกุล

    อดุลย์ เมธีกุล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2007
    โพสต์:
    7,363
    ค่าพลัง:
    +11,795
    ...........สร้าง - พระท่ากระดาน เป็นพระเครื่องเนื้อตะกั่วสนิมแดง จากพุทธศิลป์แล้วน่าจะเป็นพระเครื่องที่สร้างในสมัยอู่ทอง หรือเมื่อประมาณปี พ.ศ.1800 ถึงปี พ.ศ.2031 คนยุคก่อนๆสันนิษฐานกันว่า ผู้สร้างคือ ฤาษีตาไฟ

    พุทธคุณ - "พระท่ากระดาน" จัดเป็นพระเครื่องที่ทรงไว้ด้วย พุทธธานุภาพ ด้านอิทธิฤทธิ์เป็นอย่างยิ่ง ยากที่จะหาพระเครื่องใดมาเทียบได้ จะมีก็แต่ พระร่วงรางปืน สวรรคโลก หรือพระหูยาน ลพบุรี เท่านั้นที่มีพุทธคุณพอวัดพอเหวี่ยงกันได้ พุทธคุณของพระท่ากระดานเป็นที่ประจักษ์ชัดเจนด้านมหาอุด และคงกระพันชาตรี เป็นเลิศ สภาพสวยๆเช่าหากันหลักแสนปลายๆครับ

    ระดับความเก๊ - สุดแสนที่จะเจ็บปวด เก๊ได้ดีจริงๆ ระบาดกลาดเกลื่อนมากมายเต็มไปหมด ควรระวังให้มากเนื่องจากมีการทำเก๊กันมานานแล้ว ควรพิจารณา ความเก่าของตะกั่วสนิมแดงให้เป็น ดูความเก่าของรักทองเป็นสำคัญ เป็นหลักการง่ายๆในการเช่าหาครับ <!--TEMPLATE: skin_topic, Template Part: Show_attachments_img-->

    ภาพที่มาด้วย
    [​IMG]


    ที่มา ศึกษาก่อนสะสม เพื่อการศึกษาของผู้เริ่มต้น
    <!--TEMPLATE: skin_global, Template Part: signature_separator-->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มีนาคม 2008
  6. อดุลย์ เมธีกุล

    อดุลย์ เมธีกุล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2007
    โพสต์:
    7,363
    ค่าพลัง:
    +11,795
    สาระดีไม่อยากให้ตกหน้า
     
  7. อดุลย์ เมธีกุล

    อดุลย์ เมธีกุล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2007
    โพสต์:
    7,363
    ค่าพลัง:
    +11,795
    ศึกษากันนะครับ ไปหามาเพื่อเพื่อนๆทุกคนครับ แบ่งปันกันศึกษาด้วยกันครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 พฤษภาคม 2008
  8. Starsophere

    Starsophere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    168
    ค่าพลัง:
    +437
    แนะนำพระสัมฤทธิ์ที่งดงามครับ

    เป็นของลพบุรีครับ เหมาะที่จะดูสนิม และผิวสัมฤทธิ์อย่างมาก อยากชมองค์จริงก็ที่พิพิธภัณฑ์ได้ครับ ลพบุรีห่างกรุงเทพไม่เท่าไหร่เองครับ ขับรถมาเอง สองชั่วโมงก็ถึงครับ หรือจะขึ้นรถตู้ที่อนุสาวรีย์มาก็ได้วิ่งผ่านหน้าวังนารายณ์เลยครับ ไปกลับ กทม ก็ประมาณแค่สองร้อยนิด ๆ ครับ
    เข้าไปชมได้ตาม Linkครับ
    http://www.thailandmuseum.com/narayana/hilight.htm

    [​IMG][​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2008
  9. อดุลย์ เมธีกุล

    อดุลย์ เมธีกุล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2007
    โพสต์:
    7,363
    ค่าพลัง:
    +11,795
    ค้นมาให้ศึกษากันครับ สาระดีๆครับ ไม่อยากให้ดองไม่เกิดประโยชน์ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...