ชั่วโมงเซียน - "พระสมเด็จ"กรุ...ขุนอินทประมูลจ.อ่างทอง ของดีที่สมเด็จโตเสก

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 20 มีนาคม 2009.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    ชั่วโมงเซียน - " พระสมเด็จ"กรุ...ขุนอินทประมูลจ.อ่างทอง

    [​IMG]
    เมื่อเร็วๆนี้ ผมได้มีโอกาสไปกราบนมัสการท่านพระครูวิเศษชัยวัฒน์หรือหลวงพี่เสวยเจ้าอาวาสวัดชัยมงคลและ รักษาการเจ้าอาวาสวัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง

    ท่านพระครูหลวงพี่เสวยได้ถามถึง พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล ซึ่งขุดขึ้นมาจากกรุใต้ฐานของพระพุทธไสยาสน์ขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์ที่ใหญ่ที่สุด และเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และสิ่งที่ผมจะกล่าวถึงก็เป็นเพียงเฉพาะ พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูลเท่านั้น

    และด้วยปรัชญาการวินิจฉัยพระเครื่องพระบูชานั้นไม่ควรจะใช้หูฟัง ไม่ควรจะเชื่อ หรืออ่านจากพุทธประวัติทั้งสิ้น ให้ใช้ตา พิจารณาถึงความเป็นไปได้ขององค์พระพุทธปฏิมากรรม คือ พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล เท่านั้น

    พระสมเด็จอันล้ำค่ากรุขุนอินทประมูล เป็นพระผงสีขาว ที่มีมวลสารตามทฤษฎีของพระสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆังโฆสิตารามเป็นพระรูปทรงสี่เหลี่ยม และมีขนาดเท่าๆ กับ พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม พุทธศิลป์ใกล้เคียงกับพระสมเด็จวัดระฆังมาก แต่ก็มีพุทธพิมพ์ในรายละเอียดที่แตกต่างกันบ้าง อันเป็นเอกลักษณ์แม่พิมพ์ของ พระสมเด็จ กรุขุนอินทประมูล โดยเฉพาะ

    พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล นั้น ท่านผู้รู้ใน จ.อ่างทอง แบ่งออกเป็น ๔ พิมพ์ คือ ๑.พระพิมพ์พระประธาน ๒. พระพิมพ์ใหญ่ ๓. พระพิมพ์ทรงเจดีย์ และ๔.พระพิมพ์คะแนน

    ส่วนแต่ละพิมพ์จะมีพิมพ์ย่อยเหมือนพระสมเด็จวัดระฆังอีกหรือไม่ ผมยังไม่ทราบ เพราะยังไม่ได้ไปวิเคราะห์ หรือเห็นพระให้ทั่วถึงทั้งหมด

    พิมพ์พระประธานเอกลักษณ์ของพระประธานนั้น เป็นพระพิมพ์ ๓ ชั้น มีเส้นแซมใต้ตักที่มีขนาดค่อนข้างหนา อย่างเห็นได้ชัด ซุ้มเรือนแก้วเป็นซุ้มผ่าหวายที่เส้นใหญ่และคมลึกมาก องค์พระประธานมีพุทธศิลป์ที่ล่ำสันสง่างามมาก มีความลึกมากกว่าพิมพ์อื่นเล็กน้อยเศียรขององค์พระเป็นรูปกลมรี ในพุทธลักษณะของศิลปะสุโขทัย คือ มีคางเล็กลง และเชื่อมลงมายังต้นพระศอขององค์พระ ซึ่งเห็นอยู่ในทีเท่านั้น มิได้เป็นรูปแท่งของลำคอเหมือนพระรุ่นใหม่ทั่วไป

    พุทธศิลป์ที่แตกต่างกับพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ คือ ไม่ปรากฏมีหูอยู่รำไรพระพักตร์ไม่ปรากฏมีหน้าตาชัด พระเกศเป็นกรวยยาวแหลมขึ้นไปจรดครอบแก้ว

    พระพุทธศิลป์ที่คล้ายคลึงกับพระสมเด็จวัดระฆังคือ ที่รักแร้ขององค์พระประธานด้านซ้ายมือจะลึกสูงกว่า ซอกรักแร้ด้านขวามือขององค์พระประธาน หน้าตักซ้ายขององค์พระประธานจะสูงขึ้นกว่าหน้าตักทางขวามือขององค์พระประธาน เป็นเหตุให้พุทธลักษณะขององค์พระประธานจะนั่งเอียงจากฐานเล็กน้อย ซึ่งเหมือนกับพุทธศิลป์ของพระสมเด็จ วัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ ฐานทั้ง ๓ ชั้นใหญ่และลึก มีฐานสิงห์ปรากฏที่ฐานชั้นสองทั้ง ๒ ข้าง

    พุทธศิลป์พิมพ์หลังองค์พระเรียบทั้ง๓ พิมพ์เหมือนกัน การตัดพิมพ์ขององค์พระนั้น เมื่อปั๊มแม่พิมพ์แล้วน่าจะตัดด้วยตอกจากด้านหลังขององค์พระ เสร็จแล้วจึงถอดองค์พระออกจากแม่พิมพ์ เหมือนพระสมเด็จ วัดระฆัง จึงไม่ปรากฏมีเนื้อปลิ้นบนขอบตัดด้านหน้า แตกต่างจากพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม ซึ่งตัดจากด้านหน้าไปยังด้านหลัง จึงปรากฏขอบตัดที่ปลิ้นขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

    การตัดแม่พิมพ์นั้นถึงจะเป็นการตัดแม่พิมพ์จากด้านหลังมาสู่ด้านหน้า แต่ก็ใช้กรรมวิธีตัดขอบที่ไม่เหมือนกัน จึงไม่ปรากฏรอยปูไต่บนพิมพ์ด้านหลังทั้ง ๔ ขอบ สันนิษฐานได้ว่าอาจจะใช้ตอกตัดตรงทั้ง ๔ ด้านทุกองค์

    มวลสารขององค์พระนั้นมีเอกลักษณ์ของสมเด็จ วัดระฆัง ค่อนข้างจะครบสูตร คือ มีรอยพรุนบนองค์พระทั่วๆ ไป จึงสันนิษฐานได้ว่า น่าจะมีส่วนผสมของผงธูปที่บูชาพระ เมื่อพระได้อายุนานปี ผงธูปได้หดตัวและเสื่อมหายไป จึงเกิดรอยรูพรุน หรือรอยเข็มทั่วไป

    รอยบุ้งไต่หรือ รอยหนอนด้น ซึ่งเกิดจากมวลสารที่เป็นดอกไม้ พืชผักหรือเนื้อสัตว์ที่เป็นเศษอาหาร เมื่อสลายตัวแล้วจึงปรากฏร่องรอยที่เหลืออยู่เป็นรอยคล้ายบุ้งไต่ หรือหนอนด้น คล้ายกับพระสมเด็จ วัดระฆัง

    เม็ดพระธาตุซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของพระสมเด็จ วัดระฆัง คือ เป็นมวลสารที่ผสมด้วยเศษปูนเก่าที่ตำละเอียด ผสมอยู่ในมวลสารของการสร้างพระ เมื่อพระสมเด็จมีอายุเป็นร้อยปี เศษปูนเก่าและส่วนผสมของปูนใหม่มีการหดตัว และมีรอยแยกกันเป็นธรรมชาติ

    สำหรับไม้ก้านธูปหรือเศษมวลสารอื่นๆ ซึ่งมีในพระสมเด็จ วัดระฆังนั้น ยังไม่พบ อาจจะมี หรือไม่มีก็ได้

    พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ ซุ้มครอบแก้วจะเล็กลงอย่างเห็นได้ชัด พุทธลักษณะของพระประธานจะไม่ล่ำสันเหมือนพิมพ์พระประธาน แต่พุทธศิลป์ยังคงรักษาเอกลักษณ์เหมือน หรือคล้ายกับพิมพ์พระประธาน เส้นแซมใต้ตักมีขนาดเล็กลงบ้างเท่านั้น

    พระสมเด็จพิมพ์ทรงเจดีย์ พุทธศิลป์ดูจะล่ำสันกว่าพระสมเด็จพิมพ์ใหญ่เสียอีก แต่ก็ไม่เท่ากับพระสมเด็จพิมพ์พระประธาน เส้นแซมใต้ตักเป็นเส้นเล็ก และแหลมคม นอกนั้นพุทธศิลป์จะเหมือนและคล้ายกับพระสมเด็จพิมพ์พระประธาน และพิมพ์ใหญ่

    ทำไมจึงขนานพระนามเป็น"พระสมเด็จ" ในความเป็นจริงนั้น พระพุทธปฏิมากรรม หรือพระเครื่องที่สร้างขึ้นโดยพระคณาจารย์ที่มีตำแหน่งระดับ พระสมเด็จเช่นสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) หรือสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) คนไทยจะขนานพระนามว่าเป็น พระสมเด็จ วัดระฆัง พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พระสมเด็จอรหัง เป็นต้น แต่ถ้าเป็นพระเครื่องที่สร้างโดยพระคณาจารย์ที่ไม่มีตำแหน่งชั้นสมเด็จพระเครื่องเหล่านั้นจะไม่ขนานพระนามว่าเป็น พระสมเด็จ เช่น พระวัดรังษีพระวัดพลับ พระหลวงปู่ภู เป็นต้น

    อย่างไรก็ตามปัจจุบันแนวทางการขนานพระนามของพระเครื่องในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ที่มีพุทธลักษณะคล้ายๆ พระสมเด็จ วัดระฆัง ได้มีการขนานพระนามเป็น พระสมเด็จเช่นกัน เช่น พระสมเด็จ วัดไชโย เป็นต้น

    สำหรับ พระสมเด็จ กรุขุนอินทประมูลนั้น เนื่องจากมีพุทธลักษณะคล้ายคลึงกับ พระสมเด็จ วัดระฆัง ทั้งพุทธศิลป์และมวลสารทั้งหมด อีกทั้งตามประวัติ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้มากราบนมัสการพระพุทธไสยาสน์ขุนอินทประมูลเหมือนเช่น วัดไชโย พระสมเด็จกรุวัดขุนอินทประมูล จึงอาจจะได้รับความเมตตาจากท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) เป็นผู้สร้างหรือร่วมสร้าง และบรรจุในใต้ฐานของพระพุทธไสยาสน์ขุนอินทประมูล

    หรืออย่างน้อยที่สุดก็อาจจะได้รับบารมีจากท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) คณะกรรมการจึงขนานพระนามเป็นพระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล

    หมายเหตุ
    ที่วัดมีให้บูชาอยู่ประมาณสองร้อยองค์ องค์ละ 40000บาท 20000บาท 5000บาท iรายได้สร้างพระอุโบสถวัดขุนอินทประมูล เป้นพระกรุที่สมเด็จโตท่านสร้างจริงเสกจริง เซียนพระรับรองและสมเด็จพระพุฒาจารย์วัดสระเกศท่านก็รับรองครับ
    ติดต่อสอบถามได้ที่ พระครูวิเศษชัยวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดชัยมงคล รักษาการเจ้าอาวาสวัดขุนอินทประมูล โทร 081 852 4981
    ผศ.รังสรรค์ ต่อสุวรรณ

    ที่มา http://www.buddhakun.com/buddha/bbs/viewthread.php?tid=2674&extra=page=1
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • PIC_0093.JPG
      PIC_0093.JPG
      ขนาดไฟล์:
      79.3 KB
      เปิดดู:
      457
    • PIC_0092.JPG
      PIC_0092.JPG
      ขนาดไฟล์:
      89.8 KB
      เปิดดู:
      713
  2. นักรบเเห่งสยาม

    นักรบเเห่งสยาม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    882
    ค่าพลัง:
    +607
    ลดน่อยนะ555
     
  3. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    ลดคงต้องคุยกับหลวงพ่อเสวยครับ แต่รายได้ทั้งหมดเข้าบัญชีการสร้างพระอุโบสถและพร้อมใบการันตีว่าท่านเป็นเจ้าของพระองค์ที่เท่าไรด้วยครับ
    สมเด็จที่ทันสมเด็จโตเสกราคาหลักหมื่นไม่แพงครับ ดีกว่าไปเจอพระเก๊แอบอ้างมือผีครับ สมเด็จกรุขุนอินทประมูลนี่วงการยอมรับนะครับดีกว่าไปเล่นพระที่วงการเขาส่ายหน้าสร้างนิยายมาหลอกชาวบ้าน
     
  4. มันตรัย

    มันตรัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    8,346
    ค่าพลัง:
    +8,190
    ขออนุโมทนาด้วยครับ สำหรับบทความดีๆ ถือว่าได้ช่วยทำบุญสรางวัดครับ แต่ถ้าเช่าจากที่อื่นไม่แนะนำครับ
     
  5. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    ปีฉลูเอกศก จุลศักราช ๑๑๙๑ ปี ทูลกระหม่อมองค์ใหญ่ไม่สำราญพระหฤทัยในวัดมหาธาตุ จึงทรงกลับมาประทับ ณ พระตำหนักเดิมวัดถมอราย ฯ · ในศกนี้พระมหาโตมีอายุ ๕๔ ปี พรรษา ๓๒ ยังรอรักอยู่วัดมหาธาตุ มีผู้บอกข่าวว่าโยมผู้หญิงอยู่ทางเหนือป่วยหนัก ท่านขี่เรือเสาขึ้นไป พร้อมกับนำเรือสีไปด้วยเพื่อจะพายอวดโยมของท่าน แต่โยมก็ถึงแก่อนิจจกรรมเสียก่อน ท่านก็ทำฌาปนกิจเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงแบ่งทรัพย์มรดกของโยมแก่บรรดาญาติและหลานๆ ทั่วกันแล้ว ที่ยังเหลือเป็นเงินทองก็นำมาถึงอำเภอป่าโมกข์ จังหวัดอ่างทอง ณ ที่วัดขุนอินทร์ประมูล ท่านก็เอาทรัพย์นั้นออกสร้างพระนอนไว้ มีลักษณะงดงามองค์หนึ่งยาวมาก สร้างอยู่หลายปีจึงสำเร็จ ต่อนั้นท่านก็เป็นพระสงบมีจิตแน่วแน่ ต่อญาณคติมีวิถีจิตแน่วไปในโลกกุตตรภูมิ ไม่ฟุ้งซ่านโอ่อ่า เจียมตัวเจียมตนเทศน์ได้ปัจจัยมาสร้างพระนอนนั้นจนหมด ท่านทำซอมซ่อเงียบๆ สงบปากเสียงมา ๒๕ ปี ตลอดรัชสมัยของแผ่นดินพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ฯประวัติสมเด็จโตกับวัดขุนอินทประมูล
     

แชร์หน้านี้

Loading...