ขุนแผนพรายเรียกทรัพย์หลวงปู่แขกรูปหล่อท่านพ่อใยวัดมะขามจันทบุรีเหรียญลพ.รักษ์วัดน้อยแสงจันทร์

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Jumbo A, 17 สิงหาคม 2022.

  1. subo

    subo สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +21
    จองพระผงรูปเหมือนฯหลวงปู่เย็นวัดสระเปรียญครับ
     
  2. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,812
    ค่าพลัง:
    +21,353
    รับทราบครับ ขอบคุณครับ
     
  3. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,812
    ค่าพลัง:
    +21,353
    วันนี้ จัดส่งเคอรี่
    PEX114100000903 บางกรวย
    ขอบคุณครับ
     
  4. Karoonsur

    Karoonsur Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2018
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +228
    จองครับ
     
  5. Karoonsur

    Karoonsur Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2018
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +228
    จองครับ
     
  6. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,812
    ค่าพลัง:
    +21,353
    รับทราบครับ ขอบคุณครับ
     
  7. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,812
    ค่าพลัง:
    +21,353
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มีนาคม 2023
  8. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,812
    ค่าพลัง:
    +21,353
    1342358-50a4e.jpg
    เหรียญสมเด็จพุทธโฆษาจารย์ฟื้นวัดสามพระยาให้บูชา 100 บาทค่าจัดส่งด่วน30บาทครับ(ปิดรายการ)

    IMG_20230321_122710.jpg IMG_20230321_122721.jpg
     
  9. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,812
    ค่าพลัง:
    +21,353
    พระสมเด็จสายรุ้ง วัดศีลขันธ์ สร้างขึ้นโดยท่านเจ้าคุณพระศีลขันธ์โสภณ (สนิท ทองสีนวล) เจ้าอาวาสวัดศีลขันธาราม อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง
    โดยท่านเจ้าคุณสนิท เกิดและอุปสมบทที่จังหวัดชลบุรี หลังจากนั้นท่านได้เข้ามาจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพ โดยมีท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯ ธัมมวิตกโก เป็นเจ้าอาวาสอยู่ในขณะนั้น ท่านเจ้าคุณสนิทมีความเคารพเลื่อมใสศรัทธาท่านเจ้าคุณนรฯ เป็นอย่างมาก และท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพศิรินทร์เป็นเวลาทั้งสิ้น 11 พรรษา
    จากนั้นท่านเจ้าคุณนรฯ ได้ให้ท่านไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดศีลขันธ์ ซึ่งขณะนั้นวัดศีลขันธ์ ชำรุดทรุดโทรมเป็นอย่างมาก ละท่านเจ้าคุณสนิท จึงต้องเร่งหาทุนทรัพย์เพื่อมาทำนุบำรุงเสนาสนะต่าง ๆ ภายในวัด รวมทั้งก่อสร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ เพิ่มเติม และก็มีผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคทำบุญจนสำเร็จลุล่วง ท่านเจ้าคุณสนิท จึงสร้างวัตถุมงคลขึ้นเพื่อแจกจ่ายให้แก่ผู้ที่ร่วมทำบุญ รวมทั้งพุทธศาสนิกชนทั่วไป โดยมิได้คิดมูลค่าใด ๆ ทั้งสิ้น นอกจากนี้ ท่านเจ้าคุณสนิท ยังได้มอบวัตถุมงคลชุดนี้แก่วัดต่าง ๆ ที่ขาดแคลนต้องการทุนทรัพย์ในการบูรณะหรือก่อสร้างศาสนสถานต่าง ๆ ภายในวัดเพื่อเป็นการพัฒนาวัดอีกด้วย
    วัตถุมงคลชุดนี้ สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2513 ประกอบด้วย พระสมเด็จสายรุ้ง วัดศีลขันธ์ เป็นหลัก และยังมีพระเนื้อผง และโลหะอีกมากมายนับสิบพิมพ์ โดยวัตถุมงคลชุดนี้ เจ้าคุณนรฯ วัดเทพศิรินทร์ ได้อธิษฐานจิตให้เมื่อปลายปี พ.ศ.2513 ซึ่งเป็นวัตถุมงคลชุดสุดท้ายที่ท่านอธิษฐานจิตก่อนที่จะมรณภาพ
    วัตถุมงคลชุดนี้ มีหลายสิบพิมพ์ เช่น
    พระสมเด็จดำ พระสมเด็จขาว หลังยันต์นูน (ยันต์น้ำเต้า)
    พระสมเด็จสายรุ้ง วัดศีลขันธ์ หลังยันต์นูน (ยันต์น้ำเต้า)
    พระสมเด็จสายรุ้ง หลังเสือ หลังยันต์นูน (ยันต์น้ำเต้า)
    พระสมเด็จนาคปรก 7 เศียร หลังยันต์นูน (ยันต์น้ำเต้า)
    พระสมเด็จปรกโพธิ์ หลังยันต์นูน (ยันต์น้ำเต้า)
    พระผงรูปเหมือน ธัมมวิตกโก หลังยันต์นูน (ยันต์น้ำเต้า)
    เหรียญ ธัมมวิตกโก เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง หลังยันต์น้ำเต้า
    ฯลฯ
    พระสมเด็จสายรุ้ง วัดศีลขันธ์ ที่สร้างในปี พ.ศ.2513 นี้ถือเป็น พระสมเด็จรุ่นแรก ของวัดศีลขันธ์ และทันท่านเจ้าคุณนรฯ อธิษฐานจิต ซึ่งทางวัดศีลขันธ์ ได้มีพระสมเด็จรุ่นสอง รุ่นสามออกตามมาด้วย ในปี พ.ศ.2514 และ พ.ศ.2517 โดยที่สร้างขึ้นหลังกาลมรณะของท่านเจ้าคุณนรฯ แต่ใช้มวลสารที่ท่านเจ้าคุณนรฯได้อธิษฐานจิตไว้ให้เมื่อครั้งสร้าง พระสมเด็จสายรุ้ง รุ่นแรก ปี 2513
    หลักการพิจารณา พระสมเด็จสายรุ้ง วัดศีลขันธ์ รุ่นแรก จะสังเกตเบื้องต้นได้ง่าย ๆ จากความสวยงามขององค์พระ โดยพระรุ่นแรก พิมพ์ทรงจะไม่สวยงาม เมื่อเทียบกับ รุ่นสอง รุ่นสาม ซึ่งมีพิมพ์ที่สวยงามเป็นมาตรฐาน รวมทั้งสีของลายสายรุ้ง พระสมเด็นสายรุ้ง รุ่นแรกก็จะไม่มีสีและลายไม่ค่อยจะสวยงามมากนัก สีจะซีดกว่า ไม่ชัดมากนัก
    พระสมเด็จสายรุ้ง รุ่นแรก พระจะบางกว่า ไม่หนาเหมือนพระรุ่นสอง และ รุ่นสาม นอกจากนี้ พระสมเด็จสายรุ้ง วัดศีลขันธ์ รุ่นแรก จะไม่มีการอุดผงใด ๆ ที่ขอบบนและล่างขององค์พระจะไม่มีรอยอุดผง
    และจุดสังเกตที่สำคัญคือยันต์หลังองค์พระ พระสมเด็จสายรุ้ง รุ่นแรก จะต้องเป็นยันต์นูนเท่านั้น ส่วน รุ่นสอง และรุ่นสาม จะเป็นแบบยันต์จม
    ขอขอบคุณเจ้าของบทความที่มาอย่างสูงครับ
    พระสมเด็จสายรุ้งยันต์นูน ให้บูชา 250 บาท ค่าจัดส่งด่วน30บาทครับ

    IMG_20230321_124951.jpg IMG_20230321_125001.jpg
     
  10. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,812
    ค่าพลัง:
    +21,353
    12829690-3.jpg
    [​IMG]
    หลวงปู่หลอด ปโมทิโต

    วัดสิริกมลาวาส (วัดใหม่เสนา)
    ลาดพร้าว บางกะปิกรุงเทพฯ (2458 – ปัจจุบัน)

    ที่มา : http:
    นามเดิม หลอด ขุริมน

    เกิด วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2458 ปีเถาะ จ.ศ. 1277 กำเนิด ณ บ้านขาม ต.หัวนา อ.หนองบัวลำภู จ. อุดรธานี

    โยมบิดา คุณพ่อบัวลา ขุริมน

    โยมมารดา คุณแม่แหล้ (แร่ ขุริมน) มีพี่น้องร่วมอุทรเดียวกัน 3 คน คือ

    1. นายเกิ่ง ขุริมน (ถึงแก่กรรม)

    2. นางประสงค์ ขุริมน (ถึงแก่กรรม)

    3. พระครูปราโมทย์ธรรมธาดา (หลวงปู่หลอด ปโมทิโต)

    การศึกษา

    เมื่อพระเดชพระคุณหลวงปู่ มีอายุครบเกณฑ์ที่จะเข้าศึกษาเล่าเรียนในชั้นประถมศึกษา คุณพ่อบัวลาจึงได้พาไปฝากเรียนที่โรงเรียนประชาบาลวัดบ้านหิน ตำบลหัวนา อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำหมู่บ้าน จนกระทั่งท่านได้จบการศึกษาตามหลักสูตรในสมัยนั้น คือชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พออ่านออกเขียนได้ ซึ่งขณะนั้นหลวงปู่อายุได้ 16 ปี ก็เรียกได้ว่ากำลังหนุ่มแน่น มีกำลังแรงงานดี จึงเป็นแรงสำคัญของทางบ้านในการทำเรือกสวนไร่นา แต่ก็เป็นอันต้องมีเหตุให้เกิดความเศร้าเสียใจเป็นอย่างมาก เมื่อคุณแม่แหล้ผู้เป็นมารดาล้มป่วยอย่างหนัก และถึงแก่กรรมในที่สุด พระเดชพระคุณหลวงปู่ท่านตั้งใจไว้ว่าจะบรรพชา เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่มารดาเมื่อถึงเวลาอันสมควร

    บรรพชา

    เมื่อหลวงปู่อายุได้ 18 ปี ก็ได้มีโอกาสเข้าบรรพชาเป็นสามเณรสมดังใจตั้งมั่นที่วัดศรีบุญเรือง ตำบลหัวนา อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี โดยมีพระอธิการคูณ เจ้าอาวาส เป็นพระอุปัชฌาย์ และเมื่อบวชเณรอยู่ได้ไม่นาน บิดาก็มาเสียชีวิตไป เมื่อคุณพ่อบัวลามาด่วนจากไปเสียอีกคน หลวงปู่ท่านจึงต้องลาสิกขาออกมาเพื่อช่วยพี่ ๆ ทำเรือกสวนไร่นาต่อไป

    อุปสมบท

    เมื่อความคิดอยากจะบวชอีกครั้งยังมีอยู่ ยังไม่ลบเลือนไปจากจิตใจ สองปีต่อมาหลวงปู่จึงได้หาโอกาสที่จะปล่อยวางงานและภาระทางบ้าน เพื่อมาบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุในบวรพระพุทธศาสนา

    พระเดชพระคุณหลวงปู่ได้ก้าวเข้าสู่ร่มผ้ากาสาวพัสตร์ สังกัดมหานิกาย ณ พัทธสีมาวัดธาตุหันเทาว์ ตำบลบ้านขาม บ้านเกิดของหลวงปู่นั่นเอง เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2479 ตรงกับวันจันทร์ขึ้น 15 ค่ำ เดือนสาม ปีจอ โดยมีพระอาจารย์ชาลีวัดโพธิ์ชัยสะอาด บ้านจิก อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระอาจารย์ขาน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และได้พำนักที่วัดธาตุหันเทาว์ ในขณะนั้นมีพระอาจารย์มหาตัน สุตตาโนเป็นเจ้าอาวาส

    เมื่อหลวงปู่บวชได้แล้วประมาณ 3 เดือน พอขึ้นเดือนมิถุนายน หลวงปู่ก็ได้มีโอกาสพบกับพระอาจารย์มณฑา ซึ่งท่านเดินทางมาจากวัดบ้านโกทา จังหวัดขอนแก่น และก็ได้ปรึกษากันว่าจะพากันไปศึกษาเล่าเรียนอยู่ที่วัดโพธิสมภรณ์ ในตัวจังหวัดอุดรธานี ซึ่งมีพระเดชพระคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เป็นเจ้าอาวาสปกครองดูแลอยู่ นับว่าเป็นสำนักเรียนที่มีชื่อเสียงที่สุดในภาคอีสานในขณะนั้นก็ว่าได้

    พรรษาที่ 1-3 (พ.ศ.2479-2482) หลวงปู่ได้เดินทางมาถึงวัดโพธิสมภรณ์ อุดรธานี ในเดือนกรกฎาคม ปี พ.ศ.2479 เมื่อหลวงปู่ได้พำนักอยู่ที่วัดโพธิสมภรณ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ท่านจึงได้สมัครเรียนนักธรรม และพระบาลีตามประกาศของสำนักเรียนในวัดโพธิ์ฯ เมื่อเปิดเรียนไม่นาน หลวงปู่ก็ลาออกจากการเรียนพระบาลี เหลือแต่นักธรรมอย่างเดียว

    แปรญัตติเป็นธรรมยุติ

    เนื่องจากการที่ท่านเป็นพระมหานิกาย จึงทำให้เกิดความไม่สะดวกต่อการทำสังฆกรรม เช่นการลงประชุมฟังพระปาติโมกข์ หลวงปู่ก็มิได้ลงร่วมฟังสังฆกรรมดังกล่าว เมื่อเป็นเช่นนั้น หลวงปู่ท่านรู้สึกไม่ค่อยสะดวกและสบายใจเท่าไรนัก จึงได้ตัดสินใจที่จะขอแปรญัตติเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2479 โดยมีท่านเจ้าคุณพระเทพกวี (จูม พนฺธโล) ภายหลังได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ที่พระธรรมเจดีย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านพระครูศาสนูปกรณ์ วัดโพธิสมภรณ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และท่านพระครูประสาทคณานุกิจ วัดโพธิสมภรณ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ปโมทิโต” หมายถึง ผู้มีความบันเทิง ผู้ปลื้มใจ ผู้มีใจอันเบิกบาน ซึ่งขณะนั้นหลวงปู่มีอายุ 21 ปี

    การอยู่ที่วัดโพธิสมภรณ์ในยุคโน้น นับว่าเป็นโชคดีแก่ชีวิตหลายอย่าง เพราะนอกจากจะเป็นสำนักเรียนที่มีชื่อเสียงแล้ว ยังมีพระเถระผู้ใหญ่ ผู้มีบทบาท และมีชื่อเสียงโด่งดังในด้านการปกครอง ด้านการเผยแผ่ ตลอดทั้งด้านสมถะและวิปัสสนามาพำนักอยู่ที่วัดโพธิสมภรณ์อยู่เรื่อยมา จึงทำให้หลวงปู่ได้มีโอกาสได้พบเห็นและฟังการอบรมจากพระเถระเหล่านั้นมากท่านและหลายครั้ง และมีหลักในการปฏิบัติกับตนได้เป็นอย่างดี

    หลวงปู่ได้อยู่วัดโพธิสมภรณ์ไปถึงเดือนมิถุนายน 2481 หลวงปู่ได้เดินทางกลับไปวัดธาตุหันเทาว์ และก็ได้ถูกมอบหมายหน้าที่ให้เป็นครูสอนนักธรรมตรี ซึ่งขณะนั้นกำลังขาดแคลนครูสอน ท่านเจ้าคุณพิศาลเถระ เจ้าคณะหนองบัวลำภู จึงได้ขอร้องให้หลวงปู่อยู่จำพรรษาที่วัดธาตุหันเทาว์ เพื่อเป็นครูสอนนักธรรม หลวงปู่ท่านเลยรับคำอยู่ช่วยสอนนักธรรมตรีจนออกพรรษาและสอบธรรมสนามหลวงประจำปี 2481 แล้วเสร็จ ท่านจึงได้เดินทางกลับมาที่วัดโพธิสมภรณ์เหมือนเดิม เพื่อมาศึกษานักธรรมโทต่อที่วัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี และสอบได้ในปีนั้นเอง จากนั้นก็สมัครสอบนักธรรมเอกในปีต่อมา

    พรรษาที่ 4 (พ.ศ.2483) ในพรรษาที่ 3 ปี พ.ศ. 2482 หลังจากออกพรรษาและสอบนักธรรมเสร็จ หลวงปู่ท่านได้มีโอกาสพบกับเพื่อภิกษุรูปหนึ่ง ชื่อพระอาจารย์วิฤทธิ์ ปุญฺญมาโน ซึ่งท่านเคยอยู่วัดโพธิสมภรณ์มาก่อน และก็ได้ชวนหลวงปู่ให้ออกธุดงค์ปฏิบัติธรรมด้วยกัน ก็เป็นอันตกลง และในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ.2482 จึงได้พากันออกเดินธุดงค์โดยมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตก ตั้งจุดหมายปลายทางคือ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งต้องผ่านไปทางบ้านปากดง บ้านหนองขุ่ม บ้านนาแอ่ง การเดินธุดงค์ครั้งนี้ หลวงปู่มีความประทับใจไม่รู้ลืม ที่ได้สัมผัสกับธรรมชาติ เสียงของสัตว์นานาชนิด ป่าดงพงไพรยังอุดมสมบูรณ์ มีแหล่งน้ำที่ใสและเย็นสดชื่นให้ได้เห็นมากแห่ง เป็นสิ่งที่หายากยิ่งในปัจจุบัน ซึ่งเกิดจากการทำลายป่าและความเห็นแก่ตัวของมนุษย์ การเดินธุดงค์ในครั้งนี้เป็นการเดินธุดงค์หาวิเวกเพื่อปฏิบัติธรรมจริง ๆ หากพบสถานที่ใดที่มีความสงบวิเวก เหมาะแก่การปฏิบัติบำเพ็ญเพียรแล้ว ก็จะพักปฏิบัติธรรมอยู่ระยะหนึ่ง จึงค่อยย้ายจากไปหาที่ใหม่ เพื่อจะได้ไม่ติดในสถานที่ และจิตใจจะได้มีการตื่นตัว แปลกที่อยู่เสมอ ทำให้การทำความเพียรได้ผลดีมาก

    ท่านเดินทางธุดงค์ไปในที่ต่าง ๆ และหยุดพักปฏิบัติธรรมในที่เห็นว่าสมควร และในที่สุดก็ได้มาพักอยู่ที่วัดสามัคคีพัฒนา อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งอาจารย์โชติ กาญจโน เป็นเจ้าอาวาส เป็นอันว่าในพรรษาของปี พ.ศ. 2483 พรรษาที่ 4 ของหลวงปู่ ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดนี้ และในพรรษานี้เอง หลวงปู่ได้ตั้งสัจจะปวารณาถือเนสัชชิก (อาการสาม ยืน เดิน นั่ง) โดยเอาแบบอย่างการปฏิบัติของหลวงปู่ซามา โดยจะไม่ยอมให้หลังแตะพื้น จะเป็นอย่างไรจะไม่ยอมให้หลังนี้สัมผัสพื้นเลย หลวงปู่ท่านปฏิบัติอยู่อย่างนี้ตลอดพรรษามิได้ขาด และการปฏิบัติของท่านก้าวหน้าไปด้วยดี

    พรรษาที่ 5-7 (พ.ศ.2484-2486) พอออกพรรษา หลวงปู่ก็ออกธุดงค์หาวิเวกไปในถิ่นต่าง ๆ ภายในเขตอำเภอหล่มสัก ต่อมาเมื่อใกล้จะเข้าพรรษาในปี พ.ศ.2484 หลวงปู่ตั้งใจว่าจะกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดสามัคคีพัฒนาเหมือนเดิม แต่เนื่องจากทางวัดเกาะแก้ว ตำบลน้ำเฮี้ย อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ มีพระที่จำพรรษาไม่ครบ 5 รูป ทางพระอาจารย์สิงห์ทอง สุวณฺณธมฺโม เจ้าอาวาสในขณะนั้น จึงได้มากราบเรียนขอความอนุเคราะห์ และได้หลวงปู่ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดในพรรษานี้เอง หลวงปู่ท่านตั้งใจจะเพียรพยายามท่องปาติโมกข์ให้ได้ เนื่องจากท่านตั้งใจจะเป็นผู้สวดปาติโมกข์ในวันออกพรรษาเอง และท่านก็ทำได้สำเร็จสามารถท่องพระปาติโมกข์ได้จบ

    ก่อนจะถึงวันออกพรรษา หลังจากออกพรรษามาไม่นาน หลวงปู่ก็กลับมาพักอยู่ที่วัดสามัคคีพัฒนา ในขณะที่ท่านกลับมาพักที่นี่ ก็มีคณะญาติโยมจากบ้านหนองไขว่ บ้านน้ำกร้อ บ้านน้ำชุน บ้านโนนทอง บ้านปากดุก บ้านดงเมือง มานิมนต์หลวงปู่ไปช่วยเทศน์อบรมชาวบ้านในหมู่บ้านของตน ซึ่งหลวงปู่ก็รับนิมนต์แล้วก็ย้ายไปเรื่อย ๆ ตามแนวริมผั่งแม่น้ำป่าสัก ตลอดระยะเวลา 4 เดือนในหน้าแล้ง พอถึงหน้าฝน หลวงปู่ก็ย้อนกลับมาวัดสามัคคีพัฒนาอีก รวมแล้วหลวงปู่ได้อยู่จำพรรษาและได้เที่ยวตระเวนธุดงค์ไปเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นระยะเวลา 3 ปีเต็มๆ หลังจากนั้นในพรรษาที่ 6 หลวงปู่ก็ได้เดินทางออกจากจังหวัดเพชรบูรณ์มาจำพรรษาที่วัดโนนนิเวศน์ จังหวัดอุดรธานี ซึ่งมีหลวงปู่ภูมี ฐิตธมฺโม เป็นเจ้าอาวาส จนกระทั่งเดือนมกราคม พ.ศ. 2486 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมและสะดวกแก่การออกธุดงค์

    และในระหว่างที่กำลังธุดงค์อยู่ในเขตจังหวัดอุดรธานีนั้น นับเป็นความโชคดีของหลวงปู่ที่ได้พบครูบาอาจารย์ผู้มีประสบการณ์ทางพระกรรมฐานมากอีกองค์หนึ่ง คือพระอาจารย์อ่อนศรี สีลขนฺโธ ซึ่งท่านเคยปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงปู่มั่นที่อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่เป็นเวลาหลายปี ท่านจึงได้ชวนกันไปเดินธุดงค์มุ่งหน้าไปทางอำเภอบ้านผือ และก็ได้ธุดงค์ไปในที่ต่าง ๆ และก็ได้กลับไปพักที่วัดโนนนิเวศน์ และก็ได้พบกับพระอาจารย์คำภา จุนโท จึงได้ชวนกันออกวิเวกไปแถบตำบลหนองหาร ซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดของท่าน และก็เดินทางผ่านไปจนถึงบ้านเชียง เห็นว่าจวนเข้าพรรษาแล้ว จึงตกลงกันอยู่จำพรรษาที่ป่าช้าบ้านเชียง (พรรษาที่ 7) และที่นี่เองท่านได้ผจญกับมารทางจิตแทบเอาตัวไม่รอดในเรื่องของสตรีเพศ ในที่สุดท่านก็ใช้หลักมหาสติปัฏฐานมาแก้ปัญหาดังกล่าว และก็สามารถชนะอารมณ์กามคุณดังกล่าวได้สำเร็จ

    พรรษาที่ 8 (พ.ศ.2487) ได้พบพระผู้เป็นบิดาแห่งกองทัพธรรม (พระบูรพาจารย์) เมื่อออกพรรษาแล้วคณะธุดงค์ของหลวงปู่และพระอาจารย์คำภาก็ยังคงปักหลักอยู่ที่ป่าช้าบ้านเชียงนั้นต่อไปอีก ประมาณ 2-3 เดือน จากนั้นเพื่อสหธรรมมิกผู้ร่วมธุดงค์ จึงได้มาชวนหลวงปู่ไปกราบนมัสการ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ที่วัดป่าบ้านโคก (ปัจจุบันคือ วัดป่าวิสุทธิธรรม อำเภอโคกสีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร) จึงออกเดินทางจากอุดร ราววันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2487 ในระหว่างที่อยู่กับหลวงปู่มั่น ท่านได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนทัศนธรรมกับพระอาจารย์ต่าง ๆ ที่ร่วมอยู่ในระหว่างนั้น ซึ่งพระอาจารย์เหล่านั้นก็มีชื่อเสียงโด่งดังในปัจจุบัน เช่น อาจารย์สุวัจน์ สุวจฺโจ หลวงตามหาบัว เป็นต้น จึงถือว่าพรรษานี้หลวงปู่ได้รับประโยชน์อย่างมหาศาล ที่ได้มีโอกาสปฏิบัติธรรมกับพระอาจารย์มั่น ผู้ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งกองทัพธรรม หลังจากนั้นมาระยะหนึ่ง หลวงปู่และพระอาจารย์บัวพา ปญฺญาพาโส ก็ตกลงกันว่าจะออกวิเวกร่วมกัน จึงได้เข้าไปกราบขออนุญาตลาหลวงปู่มั่นเพื่อออกธุดงค์หาประสบการณ์ ซึ่งหลวงปู่มั่นก็ได้อนุญาตการธุดงค์

    ครั้งนั้นหลวงปู่ได้มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตก ล่องลงมาตามเขาภูพานในเขตจังหวัดสกลนคร เข้าสู่อำเภอเมือง และก็ได้ดั้นด้นลงถึงเชิงเขาภูพานที่บ้านกวนบุ่น และไม่ห่างไกลจากหมู่บ้านนี้นัก มีถ้ำพอพักอาศัยปฏิบัติได้ ท่านจึงได้พักอาศัยปฏิบัติอยู่ที่ถ้ำนี้ และก็ได้สอนให้ชาวบ้านในหมู่บ้านนี้เลิกนับถือผี และหันมาสนใจพระพุทธศาสนากันมากขึ้น หลวงปู่กับหลวงปู่บัวพาอยู่บำเพ็ญสมณธรรมที่บ้านกวนบุ่นเป็นระยะเวลาสองเดือนเศษ เมื่อย่างเข้าเดือนเมษายน หลวงปู่เกิดอาการอาพาธด้วยโรคไข้ป่า อาการหนักมาก เมื่ออาการยังไม่ดีขึ้น จึงได้ตกลงกับอาจารย์บัวพาว่าจะกับไปที่บ้านโคก เพื่อกราบพึงบารมีหลวงปู่มั่น ซึ่งหลวงปู่มั่นท่านไม่ให้ฉันยา ท่านให้ภาวนารักษาตัว อย่าไปยึดติด ที่สุดหลวงปู่ก็หายได้ด้วยกำลังของภาวนา

    การได้พบกับหลวงปู่มั่นนั้นทำให้หลวงปู่ได้รับอุบายธรรมต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอีกมากมาย ทำให้สติปัญญาสว่างไสวมากขึ้น เป็นอันว่าพรรษานี้ (พรรษาที่ 8 ปี พ.ศ.2487) หลวงปู่ก็ได้อยู่ปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่มั่น และได้รับธรรมคำสั่งสอนของหลวงปู่มั่น ชนิดที่เรียกว่าเป็นธรรมอันล้ำค่าทีเดียว

    พรรษาที่ 9-10 (พ.ศ.2488 – 2489) เมื่อพ้นจากฤดูกาลเข้าพรรษาในปี พ.ศ. 2487 แล้ว หลวงปู่ก็ได้ชักชวนเพื่อนพรหมจรรย์ด้วยกันออกธุดงค์อีก ครั้งนั้นได้พากันธุดงค์มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตก เดินทางไปพักอยู่ที่ถ้ำขาม ซึ่งขณะนั้นยังไม่ได้รับการปรับปรุง ไม่มีพระเณรอยู่ประจำ ต่อมาพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ก็ได้พาคณะพระเณรมาปรับปรุงถ้ำขามจึงน่าอยู่มาก และมีพระเณรอยู่รักษาเป็นประจำจนกระทั่งทุกวันนี้ ถ้ำแห่งนี้เหมาะแก่การปฏิบัติธรรมเป็นอย่างมาก ถ้ำแห่งนี้เคยเป็นที่พำนักพักพิงของครูบาอาจารย์มาแล้วหลายรูป เช่น พระอาจารย์ขาว อนาลโย แห่งวัดถ้ำกลองเพล อุดรธานี และพระอาจารย์เทสก์ เทสฺรํสี ในช่วงบั้นปลายชีวิตของท่าน ท่านก็ได้มาพำนัก ณ ที่ถ้ำขามแห่งนี้จนกระทั่งมรณภาพ

    หลวงปู่ท่านพักอยู่เพียงคืนเดียว รุ่งขึ้นท่านก็รีบเดินทางต่อ มุ่งไปทางอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ขณะนั้นอาการอาพาธจากไข้ป่าของหลวงปู่ก็ได้กำเริบขึ้นอีก หลวงปู่ก็พยายามอดทน และได้เดินทางออกวิเวกไปยังอำเภอหนองบัวลำภู ถิ่นกำเนิด ไปถึงป่าช้าบ้านขาม (วัดป่าศรีสว่างในปัจจุบัน) หลวงปู่ได้พักรักษาตัวอยู่ที่ป่าช้าบ้านขาม (วัดป่าศรีสว่าง) ประมาณหนึ่งเดือนอาการป่วยจึงหายเป็นปกติ ก็ออกตามหาพระอาจารย์คำภา เพื่อนธุดงค์คู่ทุกข์คู่ยาก จนในที่สุดก็ได้พบกันที่วัดป่าบ้านบก ก็ได้พากันออกวิเวกไปตามหมู่บ้านต่าง ๆ เพื่อปฏิบัติธรรมและอบรมประชาชน โดยแวะพักหมู่บ้านละคืนสองคืนเรื่อยไป และมุ่งหน้าไปทางจังหวัดเลยและเพชรบูรณ์ ซึ่งมากายไปด้วยภูเขา ถ้ำและเหว อันเหมาะแก่การปฏิบัติบำเพ็ญเพียร พอใกล้เข้าพรรษา (พรรษาที่ 9) หลวงปู่จำพรรษาที่วัดป่าบ้านหนองบัว พอออกพรรษา หลวงปู่ก็ได้ออกวิเวกไปหาพระอาจารย์คำภา ซึ่งจำพรรษาอยู่สำนักสงฆ์บ้านปากเหมือนใหม่ ต.ลานป่า อ.หล่มสัก ต่อมาหลวงปู่และคณะก็ตระเวนวิเวกและอบรมประชาชนไปตามที่ต่าง ๆ และประมาณเกือบ 15 วัน จะเข้าพรรษา ชาวบ้านน้ำเล็นมากราบขอพระไปอยู่จำพรรษาที่บ้านน้ำเล็น พระอาจารย์คำภาจึงตกลงในหลวงปู่ไปจำพรรษาอยู่ที่นั้น

    เป็นอันว่า ปี 2489 (พรรษาที่ 10) หลวงปู่จำพรรษาอยู่ที่วัดป่าบ้านน้ำเล็น รวมแล้วหลวงปู่ท่านได้พำนักจำพรรษาอยู่ในเขตอำเภอหล่มสักติดต่อกันสองพรรษา

    พรรษาที่ 11-13 (พ.ศ. 2490-2492) ครั้นพอได้เวลาออกพรรษา หลวงปู่ก็ออกจาริกธุดงค์ต่อ ได้ตั้งใจบำเพ็ญภาวนาและอบรมศีลธรรมแก่ญาติโยมตามเส้นทางที่ผ่านไปเท่าที่มีโอกาส ในระหว่างที่วิเวกนั้นท่านไปเพียงรูปเดียว หลวงปู่ได้ปรึกษากับพระอาจารย์คำภาว่า ปี 2490 นี้ จะขอให้ธุดงค์ ทางภาคเหนือ ดังนั้น ราวต้นเดือนเมษายน ปี 2490 หลวงปู่ได้เดินทางมุ่งสู่ภาคเหนือ ท่านได้ไปพักอยู่ที่วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ อยู่หลายคืน เพื่อสืบเสาะหาวัดกรรมฐานที่อยู่ภายในจังหวัดเชียงใหม่ ก็ทราบว่ามีอยู่หลายแห่ง หลวงปู่ท่านจึงได้เริ่มต้นจากสำนักสงฆ์สันต้นเปา อำเภอสันกำแพง ท่านได้พักที่นี่หนึ่งเดือน และที่นี้เองหลวงปู่ได้พบตำราเล่มหนึ่ง คือโลกนิติคำกาพย์ ภาษาลาว และกาพย์ปู่สอนหลาน ซึ่งประพันธ์ขึ้นโดยหลวงปู่เจ้าคุณอุบาลี คุณูปมาจารย์ จากนั้นหลวงปู่ท่านก็ย้ายไปพำนักอยู่เพื่อศึกษาธรรมกับหลวงปู่สิม พุทฺธจาโร แห่งวัดป่าโรงธรรมสามัคคี อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ และในปี พ.ศ.2490 หลวงปู่จึงได้จำพรรษาที่วัดป่าโรงธรรมสามัคคี (พรรษาที่ 11) ในพรรษานี้หลวงปู่ตั้งสัจจะ จะไม่นอนทอดหลังจนตลอดภายในพรรษา ผลของการปฏิบัติภาวนาของหลวงปู่ในพรรษานี้มีความก้าวหน้าอย่างมาก ท่านทำความเพียรได้มากขึ้นจนเป็นที่น่าพอใจ

    ในราวเดือนธันวาคมของปี พ.ศ.2490 หลวงปู่ได้ออกเดินทางจากวัดป่าโรงธรรมสามัคคี อำเภอสันกำแพง ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศใต้ ประมาณ 30 กิโลเมตร ท่านได้ออกวิเวกไปตามป่าในแถบนั้นเรื่อยไป หลวงปู่ท่านอยู่วิเวกในละแวกอำเภอสันป่าตอง ส่วนมากท่านก็จะพักปักกลดอยู่ตามป่าช้า จนถึงเดือนมิถุนายน 2491 ขณะที่ท่านพำนักอยู่ใกล้บ้านสันขะยอม ก็มีญาติโยมสนใจปฏิบัติฟังธรรมมาขอรับการอบรมจากท่านมาก เมื่อหลวงปู่ท่านพิจารณาแล้วว่าในแถบนี้ เป็นสถานที่สัปปายะเหมาะแก่การเจริญภาวนา ญาติโยมสนใจภาวนาดี ท่านจึงได้สร้างกุฏิเล็ก ๆ ได้ 3 หลัง และศาลาโรงธรรม แล้วจึงตกลงใจอยู่จำพรรษา (พรรษาที่ 12 พ.ศ. 2491) ณ ที่นี้ ท่านอยู่ที่ป่าช้า บ้านสันขะยอมได้ 7 วัน ชาวบ้านพอทราบข่าว ก็มีศรัทธาหลั่งไหลมาฟังธรรมและชมบารมีหลวงปู่ทุกวัน ระยะแรกเข้าพรรษาไปได้ไม่กี่วัน คณะของท่านก็ได้ถูกพวกมารศาสนาผจญเอาอย่างหนัก พยายามเบียดเบียนรังแกสารพัดวิธี เพื่อให้คณะของท่านทนอยู่ไม่ได้ ต้องหนีไปจากที่นั่น เพราะไปขัดลาภสักการะของเขา อีกทั้งยังมีศีลาจารวัตรอันแตกต่าง ทำให้เกิดการเปรียบเทียบและช่องว่างขึ้นมา แต่คณะของท่านก็อดทนด้วยขันติตลอดมา โดยยึดมั่นอยู่ในศาสนธรรม ไม่มุ่งเบียดเบียนใคร มีแต่แผ่เมตตาและกระทำประโยชน์ให้เกิดแก่หมู่ชนเท่านั้น

    เมื่อป่าช้าบ้านสันขะยอมไม่ใช่สถาน ที่ ๆ สัปปายะอีกต่อไปแล้ว ทั้งยังคับแคบเนื่องจากขณะนั้นมีญาติโยมมาขอฟังและปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่มากมาย ชาวบ้านสันขะยอมจึงเห็นพ้องต้องกันว่า ควรจะหาที่สร้างสำนักสงฆ์แห่งใหม่ และชาวบ้านหลาย ๆ คนเห็นว่า สวนมะม่วงและสวนลำไยซึ่งอยู่ไม่ห่างจากป่าช้าสันขะยอมมากนัก และเจ้าของที่ก็ได้ถวายที่ดินซึ่งเป็นสวนมะม่วงแห่งนั้นให้กับหลวงปู่ พร้อมกันนั้นชาวบ้านก็รวบรวมปัจจัยและมาช่วยสร้างสำนักสงฆ์กันอย่างมากมาย เพียงไม่กี่วันก็กลายเป็นสถานที่ที่เหมาะแก่การปฏิบัติภาวนา หลวงปู่สร้างเสร็จสมบูรณ์ภายในไม่ถึง 2 ปี เพราะญาติโยมที่นั่นเขาศรัทธาหลวงปู่มาก

    เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้ว หลวงปู่จึงได้ให้ชื่อสถานที่แห่งนี้ว่า สำนักสงฆ์อัมพวัน (ปัจจุบันคือวัดป่าเจริญธรรมนั่นเอง) และหลวงปู่ได้นิมนต์พระอาจารย์น้อย สุภโร เป็นประธานสงฆ์แทน ส่วนตัวหลวงปู่เองก็ออกวิเวกไปในอำเภอสันป่าตอง การวิเวกนั้นมักใช้ป่าช้าเป็นที่พำนักพักพิง เพราะเงียบสงัดดี แต่ละแห่งในเวลากลางคืนก็มักจะมีประชาชนไปฟังเทศน์ฟังธรรมกันมากมาย

    เมื่อหลวงปู่ทราบว่า พระอาจารย์แว่น ธนปาโล ได้พาคณะไปบูรณะถ้ำพระสบาย ที่อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง มาประมาณ 6 เดือนแล้ว ท่านจึงได้ไปตรวจดูถ้ำที่นั่นและก็พอใจเป็นอย่างมาก แห่งเห็นว่าเหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรเป็นอย่างยิ่ง หลวงปู่จึงตัดสินใจอยู่จำพรรษา(พรรษาที่ 13 พ.ศ.2492) ที่นี้ และสาเหตุที่ถ้ำนี้ชื่อว่าถ้ำพระสบาย ก็เนื่องจากหลวงปู่สิม พุทฺธจาโร ท่านเป็นผู้ตั้งชื่อ โดยท่านปรารภว่าถ้ำนี้เย็นเงียบสงัด อากาศปลอดโปร่งทั้งกลางวันกลางคืน พระที่อยู่ก็รู้สึกสบาย ท่านจึงตั้งชื่อว่าถ้ำพระสบาย คนอื่นก็เรียกตาม ๆ กันมาจนถึงทุกวันนี้

    พรรษาที่ 14-15 (พ.ศ. 2493-2494) ในวันแรม 8 ค่ำ เดือน 11 ทางวัดป่าสำราญนิวาสมีงานทอดกฐิน ทางวัดได้นิมนต์ให้คณะของหลวงปู่จากถ้ำพระสบายไปร่วมงานด้วย ระหว่างนี้หลวงปู่ท่านก็ไป ๆ มา ๆ ระหว่างถ้ำพระสบายกับวัดป่าสำราญนิวาส หลังจากเสร็จงานแล้ว หลวงปู่ก็ลาหลวงปู่แว่นและหลวงปู่หลวง เพื่อเดินทางไปเยี่ยมหลวงปู่เหรียญ ที่สำนักสงฆ์นันทวนาราม อำเภอเถิน หลวงปู่ไปช่วยบูรณะวัดร่วมกับพระอาจารย์เหรียญ ต่อมาจากนั้นอีก 15 ปี คณะกรรมการวัดก็ปรึกษากันและมีมติให้เปลี่ยนชื่อวัดจากเดิมคือวัดนันทวนาราม มาเป็นวัดสันติสุขาราม จนเท่าทุกวันนี้

    ขณะที่หลวงปู่ได้พำนักอยู่ที่สำนักสงฆ์นันทวนารามนั้น ได้ทราบข่าวมาว่า ห่างจากอำเภอเถินไปประมาณ 10 ปิโลเมตร มีถ้ำสวยงามมากมาย หลวงปู่จึงเดินทางไปสำรวจ และพอใจในถ้ำแม่แก่งมาก และตั้งใจจะไปปฏิบัติธรรมที่ถ้ำนี้ หลวงปู่จึงได้ตัดสินใจว่าจะมาพัฒนาถ้ำแม่แก่ง และถ้ำใกล้เคียงให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม โดยมีชาวบ้านมากมายที่ศรัทธาหลวงปู่ มาช่วยกันสร้างที่พักชั่วคราวให้ตามริมฝั่งแม่น้ำแก่ง กลางคืนก็มีชาวบ้านพากันไปฟังเทศน์ ฝึกสมาธิ เป็นประจำ

    เมื่อหลวงปู่ปรับปรุงบันไดขึ้นสู่ถ้ำอินทร์โขงเรียบร้อยแล้ว ก็ย้ายขึ้นไปอยู่ถ้ำอินทร์โขง สำหรับเสนาสนะถ้ำอินทร์โขง หลวงปู่ท่านใช้เวลาบุกเบิกประมาณเกือบ 2 ปี จนมีกุฏิที่พักโยม ศาลาโรงธรรม ครบสมบูรณ์พอเป็นสถานที่บำเพ็ญสมณธรรม และอบรมสั่งสอนญาติโยมได้อย่างสะดวกสบาย ในระหว่างที่หลวงปู่มาอยู่ที่นี้ ก็มีญาติโยมออกมาปฏิบัติฟังธรรมมากมาย ซึ่งก็บรรลุวัตถุประสงค์ในการมาของท่านจริง ๆ

    เป็นอันว่า หลวงปู่ได้จำพรรษาที่ 14 ที่ถ้ำอินทร์โขง ซึ่งตรงกับปี พ.ศ.2493 และขณะที่หลวงปู่พักอยู่ที่ถ้ำอินทร์โขงนั่นเอง ก่อนออกพรรษาไม่นาน ท่านได้อาพาธเป็นไข้ป่าอีกครั้ง อาการหนักมาก ไม่ว่าจะรักษาประการใดอาการก็ไม่ดีขึ้น หลวงปู่จึงได้สัตตาหะไประหว่างพรรษา เพื่อความสะดวกในการรักษา จึงได้ไปพักที่วัดอุ่มลองในอำเภอเถิน ใกล้คลีนิคหมอผู้เป็นเจ้าของไข้ อาการก็ทุเลาลงมาก เมื่อครบ 7 วัน คือครบสัตตาหะ จึงต้องกลับถ้ำอินทร์โขง เพื่อประกอบพิธีออกพรรษาแล้วอาการก็ยังไม่ดีขึ้น ประกอบกับมีอาการหัวใจเต้นไม่ปกติควบคู่กันด้วย เมื่อหมอแนะว่าไข้หนักและมีโรคแทรกซ้อนด้วย จึงควรไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลใหญ่ที่เชียงใหม่ หลวงปู่จึงได้ออกจากถ้ำอินทร์โขงมุ่งไปแวะพักที่สำนักสงฆ์นันทวนาราม อำเภอเถิน พักอยู่ 4-5 วัน ก็ออกเดินทางต่อไปพักอยู่ที่วัดเจริญธรรม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ พักรักษาตัวอยู่ 4-5 เดือน อาการโรคหายเกือบปกติ

    ขึ้นปี 2494 คณะญาติโยมจากอำเภอเถิน จึงตามมานิมนต์ให้กลับไปอยู่จำพรรษา (พรรษาที่ 15) ที่วัดนันทวนาราม หรือวัดสันติสุขาราม ในปัจจุบัน ซึ่งหลวงปู่ท่านก็รับนิมนต์ ในพรรษาท่านได้บำเพ็ญเพียรอย่างเต็มที่ พอออกพรรษาในปี พ.ศ.2494 หลวงปู่และเพื่อสหธรรมิกก็ได้ออกธุดงค์แสวงหาวิเวกเช่นเคย โดยวิเวกไปทางใต้ ผ่านบ้านนาเกลือ บ้านสันต้นขิง จนกระทั่งถึงอำเภอแม่พริก แล้วจึงกลับไปพักอยู่ที่วัดนันทวนารามตามเดิม

    พรรษาที่ 16-18 (พ.ศ.2495-2597) ขึ้นปี พ.ศ.2494 พระอาจารย์แส่ว (กุศล) กุสลจิตฺโต พร้อมด้วยญาติโยมจากอำเภอหล่มเก่า ไปนิมนต์หลวงปู่ถึงอำเภอเถิน เพื่อให้หลวงปู่ไปช่วยก่อสร้างสำนักสงฆ์ที่อำเภอหล่มเก่า เดือนกุมภาพันธ์ท่านจึงออกเดินทาง สถานที่ที่จะสร้างสำนักสงฆ์นั่นเป็นเนินเล็ก ๆ อยู่ทางทิศตะวันออกของหล่มเก่า ซึ่งก็มีพวกต่อต้านสร้างปัญหาไม่เว้นแต่ละวัน จนญาติโยมที่มาช่วยงานต่างก็ท้อแท้ไปตาม ๆ กัน ถึงกระนั้นก็ยังมานะพยายามสร้างจนแล้วเสร็จ จนสามารถทำให้สำนักสงฆ์นฤมลวัฒนาเกิดขึ้นที่หล่มเก่า เมื่อปี พ.ศ.2495 ในเนื้อที่ 18 ไร่

    เมื่อสำนักสงฆ์แห่งนี้เสร็จตามประสงค์แล้ว หลวงปู่ได้อยู่จำพรรษา ณ ที่แห่งนี้เป็นเวลา 3 พรรษา ติดต่อกัน โดยมิได้ย้ายไปวิเวก ณ ที่แห่งใดเลย และดูเหมือนว่าหลวงปู่จะชอบสถานที่แห่งนี้เป็นพิเศษ จึงเป็นอันว่าหลวงปู่ได้มาสร้างมาพัฒนาวัดนฤมลพัฒนาเป็นเวลา 3 ปี (พ.ศ. 2495-2497) ศาลาการเปรียญหลังเก่านั้น สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2496 ส่วนศาลาอเนกประสงค์หลังใหม่ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2539 ซึ่งสร้างพร้อมกับปโมทิตะเจดีย์ ที่หนองบัวลำภู ครั้นเมื่อออกพรรษาปี พ.ศ. 2497 หลวงปู่ก็หวนคิดถึงถิ่นมาตุภูมิ หลวงปู่จึงได้เดินทางกลับมาตุภูมิ โดยไปพักที่ป่าช้าศรีสว่าง (ป่าช้าบ้านขาม) ตำบลบ้านขาม อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี

    พรรษาที่ 19-24 (พ.ศ.2498-2503) ท่านพักอยู่ที่ป่าช้าศรีสว่างประมาณ 2-3 ปี (พรรษาที่ 19-20) ก็ได้ทราบข่าวจากเพื่อนสหธรรมิกของท่านว่า ท่านพ่อลี ธมฺมโร ได้ไปสร้างวัดพัฒนาเสนาสนะอยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการ ชื่อวัดอโศการาม หลวงปู่ท่านเคารพนับถือท่านพ่อลีเป็นเสมือนครูบาอาจารย์ และเคยอยู่ร่วมปฏิบัติกับท่านพ่อลี ไม่ว่าจะเป็นที่ห้วยน้ำริน จังหวัดเชียงใหม่ วัดนฤมล หล่มเก่า และภูกระดึง และนอกจากจะทราบว่าท่านพ่อลีไปสร้างวัดอโศการาม ท่านยังทราบอีกว่าท่านจะจัดงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ อย่างใหญ่โตมโหฬารในปี พ.ศ.2500 รับสมัครผู้บวชเณร 5,000 กว่าคน บวชพราหมโณ พราหมณี 5,000 คน หลวงปู่จึงตัดสินใจไปร่วมงานในครั้งนี้ด้วย เพราะคิดว่าคงมีพระอาจารย์ผู้มีชื่อเสียง ไปร่วมในงานใหญ่โตมโหฬารเช่นนี้มากมาย เรียกว่าเป็นงานประวัติศาสตร์ซึ่งหาจัดและดูได้ยากยิ่ง ดังนั้นในปี พ.ศ. 2500 นี้เอง หลวงปู่จึงได้อยู่จำพรรษากับท่านพ่อลีที่วัดอโศการาม ครั้นออกพรรษาแล้ว คณะญาติโยมจากอำเภอเถินก็ตามมานิมนต์หลวงปู่ถึงวัดอโศการาม เพื่อกลับไปอยู่ที่วัดนันทวนารามอีก ซึ่งหลวงปู่ก็รับนิมนต์ เป็นวันว่าปี พ.ศ. 2501 หลวงปู่ก็กลับมาจำพรรษาที่วัดนันทวนาราม อำเภอเถิน ให้การอบรมแก่ญาติโยมและพระเณร โดยเน้นหนักทางด้านการปฏิบัติ

    ต่อมาในปี พ.ศ. 2502 หลวงปู่จึงได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดนฤมลวัฒนา ได้พัฒนาและจัดสร้างเสนาสนะที่ค้างอยู่จนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีเป็นที่น่าพอใจ และพอจวนจะเข้าพรรษาในปี พ.ศ. 2503 หลวงปู่จึงเดินทางมาพักจำพรรษาที่วัดอโศการามอีกครั้งหนึ่ง

    พรรษาที่ 25-29 (พ.ศ.2504-2508) ครั้นในปี พ.ศ. 2504 และ 2505 หลวงปู่ได้กลับไปจำพรรษาที่วัดนฤมลวัฒนา คราวนี้หลวงปู่ท่านเร่งพัฒนาทั้งทางวัตถุและบุคคล ที่ว่าวัตถุนั้นคือท่านพัฒนาเสนาสนะภายในวัดในส่วนที่ท่านยังทำค้างคาอยู่ และด้านบุคคลคือท่านอบรมสั่งสอนชาวบ้านโป่งตูม และหมู่บ้านใกล้เคียง เน้นการเจริญภาวนา อีกทั้งเรื่องไตรสิกขา ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกันกับหลวงปู่มั่นทุกประการ จากนั้นหลวงปู่ท่านได้กลับไปวัดป่าศรีสว่าง จังหวัดอุดรธานี ในราวต้นปี พ.ศ.2506 เพื่อรวมงานฉลองศาลาการเปรียญ เมื่อเสร็จงานหลวงปู่จึงได้ชักชวนหลวงปู่อ่อนสี จุนฺโทวัดบ้านอูบมุง (วัดป่ารัตนมงคล) อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี ไปวิเวกปฏิบัติธรรมทางจังหวัดหนองคาย ได้ไปแวะพักที่วัดอรัญญวาสี ในเขตอำเภอท่าบ่อ ซึ่งวัดนี้ท่านหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น และครูบาอาจารย์ในสายกรรมฐานอีกหลายรูปเคยมาพำนักปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดนี้ จึงเป็นอันว่าหลวงปู่ท่านพำนักอยู่ที่วัดอรัญญวาสี ถึง 3 พรรษาติดต่อกัน คือ พ.ศ. 2506-2508 หลังจากออกพรรษาในปี พ.ศ. 2508 แล้ว หลวงปู่ก็ได้ออกธุดงค์วิเวกในแถบอำเภอใกล้เคียง คือ อำเภอบ้านผือ อำเภอศรีเชียงใหม่ อยู่ประมาณ 2-4 เดือน แล้วจึงกลับมาพักอยู่ที่วัดอรัญญวาสี อีกระยะหนึ่ง

    พรรษาที่ 30-32 (พ.ศ. 2509-2511) ในช่วงกลางปี พ.ศ. 2509 หลวงปู่ตัดสินใจจะเข้าอยู่กรุงเทพฯ โดยการชักชวนของเพื่อนพรหมจรรย์ ที่เคยร่วมทุกข์ร่วมยากกันมา ในที่สุดหลวงปู่ก็ตัดสินใจเข้าอยู่จำพรรษาที่วัดธรรมมงคล พระโขนง กรุงเทพฯ กับเจ้าคุณวิริยังค์ ซึ่งในอดีต หลวงปู่เคยอยู่ด้วยที่วัดป่าบ้านโคกนามน ตำบลตองโขบ จังหวัดสกลนคร โดยขณะนั้นพระอาจารย์ใหญ่ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เป็นประธานสงฆ์ ส่วนเจ้าอาวาสคือพระอาจารย์กงมา ส่วนวัดธรรมมงคล กรุงเทพฯ เพิ่งสร้างเมื่อปี พ.ศ.2506 หลวงปู่ได้จำพรรษาที่วัดนี้เมื่อปี พ.ศ.2509 และหลังจากออกพรรษาในปี พ.ศ.2511 แล้ว หลวงปู่จึงได้เดินทางไปประเทศอินเดีย ในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ.2511 เพื่อไปสถานที่ต่าง ๆ ที่พระพุทธเจ้าเคยประทับ นับเป็นการเดินทางที่หลวงปู่ประทับใจมิรู้ลืมจนกระทั่งทุกวันนี้

    พรรษาที่ 33-ปัจจุบัน (พ.ศ.2512-ปัจจุบัน) หลวงปู่อยู่ที่วัดธรรมมงคลเพียง 3 ปี (พ.ศ.2509-2511) พอปี พ.ศ.2512 ได้มีผู้ใจบุญถวายที่ดินจำนวน 6 ไร่ กับอีก 33 วา แก่พระเทพเจติยาจารย์ (ท่านเจ้าคุณวิริยังค์ สิรินฺธโร) หลวงพ่อวิริยังค์จึงให้หลวงปู่มาช่วยสร้างวัดสิริกมลาวาส (วัดใหม่เสนา) ในที่ดังกล่าว และขอร้องให้มาอยู่ เดิมทีนั้นหลวงปู่ได้มาสร้างวัดสิริกมลาวาส ในฐานะรักษาการเจ้าอาวาส ต่อมาเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2517 ท่านก็ได้รับพระราชทานแต่งตั้งสมณศักดิ์ เป็นพระครูสามัญที่ “พระครูปราโมทย์ ธรรมธาดา” พร้อมกันนั้นท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดสิริกมลาวาส โดยถูกต้อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถ อีกทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธียกช่อฟ้า และตัดหวายลูกนิมิตในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517 เวลา 16.19 น.

    ต่อมาในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2519 ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ และในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ท่านก็ได้รับการพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตรพัดยศในทินนามเดิม คือ พระครูปราโมทย์ธรรมธาดา ถึงแม้ว่าหลวงปู่ท่านจะไม่ค่อยถนัดในงานด้านคันถธุระมากนัก แต่ท่านก็ได้เพียรพยายามปฏิบัติหน้าที่ตลอดมาจนเป็นที่ยอมรับของพระภิกษุสามเณรและฆราวาสทั่วไป ส่วนทางด้านวิปัสสนาธุระนั้น ท่านก็มิได้ทิ้ง คงส่งเสริมให้มีการปฏิบัติกรรมฐานทุกวันในช่วงเวลาค่ำ หลังจากที่ได้สวดมนต์ทำวัตรเย็นกันเสร็จแล้ว โดยจะเริ่มในเวลาประมาณ 19.00 น. เรื่อยไปจนถึงเวลา 21.00 น. โดยที่หลวงปู่ท่านจะเป็นผู้นำพาญาติโยมปฏิบัติธรรมทุกวัน เว้นแต่เหตุจำเป็นและอาพาธ ซึ่งเป็นความเมตตาอย่างหาประมาณมิได้โดยแท้

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    ให้บูชา 300บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20230321_202753.jpg IMG_20230321_202806.jpg IMG_20230321_202740.jpg
     
  11. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,812
    ค่าพลัง:
    +21,353
    pra-mo.jpg
    ประวัติ หลวงพ่อโม เป็นชาวห้วยกรดโดยกำเนิด เกิดในสกุล "คงเจริญ" เมื่อปีมะเมีย พ.ศ.2413 ณ บ้านบางยายอ้น ต.ห้วยกรด อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท
    บวช เณรตั้งแต่อายุได้ 8 ขวบ จนกระทั่งอายุครบ 20 ปี จึงอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดใหม่บำเพ็ญบุญ ซึ่งอยู่ใกล้บ้านท่าน โดยมีหลวงพ่อเถื่อน วัดใหม่บำเพ็ญบุญ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อคง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อโต วัดวิหารทอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านได้จำพรรษา ณ วัดใหม่บำเพ็ญบุญ ได้ศึกษาพระธรรมวินัย ทั้งภาษาไทย และภาษาบาลี เรียนพระปริยัติธรรมเบื้องต้นได้ท่อง 7 ตำนาน 12 ตำนาน ได้เรียนภาษาขอม เรียนวิปัสสนากรรมฐานและวิทยาคมกับหลวงพ่อม่วง หลวงพ่อเถื่อน และหลวงพ่อคง ที่วัดใหม่บำเพ็ญบุญ ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ที่ชาวห้วยกรดและจังหวัดชัยนาท ให้ความเคารพนับถืออย่างมาก
    ในยุคนั้น กิตติศัพท์ความเข้มขลังด้านวิทยาคมของหลวงพ่อโต วัดวิหารทอง เป็นที่กล่าวขวัญของชาวห้วยกรด ท่านจึงได้ไปเรียนวิชาอาคมกับหลวงพ่อโต ที่อำเภอสรรคบุรี เรียนรุ่นเดียวกับหลวงพ่อปลื้ม วัดสังฆราม
    หลวง พ่อคง เล็งเห็นว่าหลวงพ่อโม มีสติปัญญาดี เฉลียวฉลาด สนใจทางวิทยาคม ยาสมุนไพรและแพทย์แผนโบราณ หลวงพ่อคงจึงได้พาหลวงพ่อโมไปฝากกับอาจารย์ของท่าน คือ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท เมื่อปีพ.ศ.2451
    หลวงพ่อ โม ได้เป็นศิษย์ของหลวงปู่ศุข เรียนวิทยาคม ตำรายาสมุนไพรและตำราแพทย์แผนโบราณกับหลวงปู่ศุข เป็นเวลา 5 ปี จนกระทั่งในปีพ.ศ.2456 จึงได้เดินทางกลับวัดใหม่บำเพ็ญบุญ
    ในขณะนั้น หลวงพ่อเถื่อนซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดใหม่บำเพ็ญบุญ ได้มรณภาพลง หลวงพ่อคง เป็นเจ้าอาวาสวัดใหม่บำเพ็ญบุญแทน
    พ.ศ.2457 ญาติพี่น้องของหลวงพ่อโม ได้ร่วมกันซื้อที่ดินติดวัดร้างเดิมรวมประมาณ 30 ไร่ เพื่อสร้างวัดขึ้นใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อต้องการอานิสงส์ ในการถวายที่ดิน ทั้งนี้ ชาวบ้านห้วยกรดให้ความศรัทธาในเรื่องความแก่กล้าทางคุณวิเศษและอาคมของท่าน จึงได้นิมนต์หลวงพ่อโมจากวัดใหม่บำเพ็ญบุญ เป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของ "วัดจันทนาราม"
    หลวงพ่อโม เป็นพระสมถะ มักน้อย สันโดษ มีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย ภายหลังท่านได้รับตำแหน่งพระอุปัชฌาย์
    หาก มีเวลาว่าง ท่านจะนั่งหลับตาทำสมาธิอยู่เสมอ นั่งสมาธิ ทำวัตรเช้าตั้งแต่ตี 4 ด้วยเหตุนี้ ชาวบ้านจึงให้ความเคารพนับถือท่านมาก และนำลูกหลานของตนมาให้ท่านได้บวชมากมาย
    กระทั่งเมื่อวันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม 2502 เวลาประมาณ 4 ทุ่ม หลวงพ่อโมได้ถึงแก่มรณภาพลง เหตุอัศจรรย์ที่เกิดขึ้น คือ เต่าที่ได้เลี้ยงไว้ตัวใหญ่มากได้คลานขึ้นมาจากสระ หมอบนอนน้ำตาไหลข้างกุฏิของท่าน นกยูงและไก่ต๊อก ที่ท่านเลี้ยงไว้ไม่ส่งเสียงร้อง ประหนึ่งว่าพวกสัตว์เหล่านั้นจะรับรู้ว่าหลวงพ่อโม ที่มีความเมตตาต่อพวกมันได้จากไปเสียแล้ว
    ในสมัยนั้นไม่มีการใช้ยา ฉีดศพแต่ศพของหลวงพ่อโม ไม่มีการเน่าเปื่อย ถึงแม้ศพของท่านจะใส่ไว้ในโลงไม้ธรรมดาไว้นานเกือบปี โดยไม่ฝังดินก็ตาม
    เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2503 คณะกรรมการวัดจันทนาราม ได้จัดงานพิธีฌาปนกิจศพของหลวงพ่อโม
    แม้หลวงพ่อโม จะละสังขารไปนานกว่า 50 ปี แต่คุณงามความดียังคงจารึกไว้ในศรัทธาของชาวเมืองชัยนาทสืบไป
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    เหรียญเสมาหลวงพ่อหินหลวงพ่อโมสร้างวิหาร ให้บูชา 100 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20230321_202911.jpg IMG_20230321_202854.jpg
     
  12. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,812
    ค่าพลัง:
    +21,353
    พระผงหลวงพ่อสด หลังสมเด็จโต วัดปากน้ำ๑๐๘ปี นำไปออกงานกฐิน วัดห้วยคันแหลนอ่างทองให้บูชา100 บาทค่าส่งด่วน30บาทครับ

    IMG_20230321_124247.jpg IMG_20230321_124258.jpg IMG_20230321_124316.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มีนาคม 2023
  13. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,812
    ค่าพลัง:
    +21,353
    ประวัติศิษย์และอาจารย์หลวงปู่หุนวัดบางผึ้งและหลวงพ่อจาดวัดบางกระเบาผู้สืบทอดวิชาบังไพรและตะกรุดจากหลวงพ่อจาดวัดบ้านๆแต่พุทธคุณเหลือคำบรรยายไม่รีบไปกราบไหว้แล้วจะ"ประวัติหลวงปู่หุน วัดบางผึ้ง จ.ฉะเชิงเทรา"
    พระครูศุภมงคล(หลวงปู่หุน)เกิดวันที่ 2 (8 ค่ำ)
    เดือนสิงหาคม พ.ศ.2462 ปัจจุบันอายุ 98 ปี เกิดที่
    บ้านเกาะลอย อ.พานทอง จ.ชลบุรี เป็นบุตรของ
    นางวาด และ นายนาค จิตสวัสดิ์ อุปสมบทเมื่ออายุได้ 36 ปี วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ.2498 รวม 62 พรรษา
    ณ พัทธสีมาวัดเขาบางพระ ต.บางพระ จ.ชลบุรี
    พระอุปัชฌาย์ พระครูวิสุทธิสมาจารย์ (หลวงปู่ศรี วัดอ่างศิลา )พระกรรมวาจาจารย์ พระบุญยิ่ง (หลวงพ่อยิ่ง)
    พระสมุสาวนาจารย์ พระม่น(หลวงปู่ม่น ธมมจิณโณ)
    หลังจากบวชเป็นพระภิกษุแล้ว ท่านได้ออกร่ำเรียนวิชากับพระอาจารย์เก่งๆ ในสมัยนั้นมากมาย โดยเฉพาะหลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา เมื่อครั้งเกิดสงครามยุคมหาเอเชีย จอมพล ป.พิบูลย์สงคราม ได้ขอให้หลวงพ่อจาด ช่วยทำตะกรุดแจกทหาร จนเกิดประสบการณ์มีชื่อเสียงเรืองสนั่นในยุคนั้น ครั้นมีเครื่องบินของฝรั่งเศสมาทิ้งระเบิดใส่ทหาร หากแต่ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บเลย หลวงปู่หุนนี่แหละที่ท่านเป็นผู้ม้วนตะกรุดและพันตะกรุดให้หลวงพ่อจาดในเวลานั้น และคอยรับใช้ในเรื่องต่างๆมากมาย จนกระทั่งหลวงพ่อจาดเมตตาในความขยันและความเป็นผู่อ่อนน้อมของท่าน จึงเมตตามาก รักเหมือนลูก
    สอนวิชาอาคมต่างๆให้จนหมดสิ้น สอนวิชาปลุกเสกพระ วิชาเมตตามหานิยม คงกระพันชาตรี โดยเฉพาะ
    วิชาบังไพร หลวงพ่อจาดท่านเก่งมาก หลายครั้งหลวงพ่อจาดท่านจะเรียกหลวงพ่อหุนให้มาร่วมปลุกเสกเหรียญและตะกรุดด้วยกันเพื่อต้องการทดสอบลูกศิษย์
    จนหลวงพ่อจาดเอ่ยชมว่า
    "เอ็งนี่แน่ เสกได้เหมือนข้าไม่มีผิด ได้ดั่งใจข้าจริงๆ"
    จากนั้นหลวงพ่อหุนท่านก็ได้ขอลาหลวงพ่อจาด ออกร่ำเรียนต่อไปอีกจนมาพบหลวงพ่อทอง วัดก้อนแก้ว
    ชาวบ้านแถวนั้นรู้จักดี เพราะหลวงพ่อทองท่านเก่งมากในเรื่องวิปัสสนากรรมฐาน ช่วยเหลือชาวบ้านในเรื่องต่างๆ ทั้งเรื่องเงินๆทองๆ เดือดร้อนล้มละลายเจ็บไข้หลวงพ่อทองท่านช่วยได้ หลวงพ่อหุนท่านจึงฝากเนื้อฝากตัวเป็นศิษย์อยู่นานถึง 7 ปี เรียนวิชาท่านมาทั้งหมด หลวงพ่อทองท่านได้แนะนำหลวงพ่อหุน ให้ไปหาหลวงปู่คำปั่น พระสายเขมรเพื่อร่ำเรียนวิชาต่อ
    หลวงพ่อหุนท่านก็ออกธุดงค์ ไปจนได้พบและโดนหลวงปู่คำปั่นทดสอบวิชามากมาย มีคืนหนึ่ง หลวงปู่คำปั่น ได้เสกท่อนฟืนเผาผีเป็นตะขาบนับร้อยตัวยั้วเยี้ยไปหมด หลวงปู่หุนได้ร่ายคาถาท่องมนต์และลูบตะขาบเท่านั้น ตะขาบก็กลับไปเป็นท่อนฟืนดังเดิม ถัดจากตะขาบก็เสกก้อนถ่านกลายเป็นผึ้งนับพันตัว หลวงปู่หุนท่านหยิบดิน 1 กำเสกคาถา 1 อึดใจ แล้วลืมตาโปรยดินใส่ฝูงผึ้ง จากนั้นผึ้งก็กลายเป็นกองถ่านดังเดิม
    เมื่อทดสอบวิชาผ่าน หลวงปู่คำปั่นจึงสอนวิชาให้จนหมดสิ้น แล้วท่านจึงได้ลาหลวงปู่คำปั่นเพื่อศึกษาต่อไป ปัจจุบันหลวงปู่หุนท่านเป็นเจ้าอาวาสที่วัดบางผึ้ง
    ฉะเชิงเทรา จากวิชาที่ท่านร่ำเรียนมา ท่านคอยช่วยเหลือลูกศิษย์มากมาย ช่วยได้ทุกเรื่องเศรษฐีแถวนั้นนับถือท่านมาก เพราะหลวงปู่ได้ช่วยไว้เยอะจากล้มละลายกลายเป็นอภิมหาเศรษฐี จากคนจนกลายเป็นคนรวย หลวงปู่นี่แหละเสกแผ่นทองเข้าตัว
    เสกตั๋วให้เป็นเงิน ....... 24/7/17
    "เผยแผร่บารมีหลวงปู่หุน พระครูศุภมงคล"
    อ้างอิง..โดยหนังสือสวดมนต์มงคล เล่ม ๑
    พระครูศุภมงคล(หลวงปู่หุน)วัดบางผึ้ง จ.ฉะเชิงเทรา
    ยอดเกจิแห่งลุ่มน้ำบางปะกง พระสุปฏิปันโนแห่งภาคตะวันออกปัจจุบันหลวงปู่หุนอายุย่าง 102 ปี
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    พระผงหลวงปู่หุนวัดบางผึ้งให้บูชา 100 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20230325_151159.jpg IMG_20230325_151214.jpg IMG_20230325_151138.jpg
     
  14. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,812
    ค่าพลัง:
    +21,353
    ประวัติ พระครูพุทธสิริวัฒน์ หลวงพ่อเมี้ยนวัดโพธิ์กบเจา

    พระครูพุทธสิริวัฒน์ หลวงพ่อเมี้ยน พุทฺธศิริ เกิดวันพฤหัสบดี เดือนยี่ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๖๐ ที่บ้านหาดทราย หมู่ ๙ ต. กบเจา อ.บางบาล จ. พระนครศรีอยุธยา ตระกูลของหลวงพ่อมีอาชีพทำนา ในวัยต้นหลวงพ่อจึงช่วยพ่อแม่ทำนาต่อมามีโอกาสได้บรรพชาเป็นสามเณร ได้เข้ารับการศึกษาภาษาบาลีที่วัดดาวดึงษารามฝั่งธนบุรี สอบได้ชั้นมูล ๒ และสอบได้นักธรรมชั้นตรี ท่านได้สึกจากสามเณรกลับไปช่วยพ่อแม่ทำนาอีกระยะหนึ่งจนอายุครบบวช ( พ.ศ. ๒๔๘๑ อายุ ๒๑ ปี )จึงได้ทำการอุปสมบทที่วัดโพธิ์กบเจา โดยมีพระครูปุ้ย ธมฺมโชติ วัดธรรมโชติการาม(วัดขวิด)เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่ออุปสมบทแล้วมีนามฉายาว่า พุทฺธศิริ ( หลวงพ่ออยู่จำพรรษาที่วัดโพธิ์มาจนตลอดชีวิตของท่าน ) เมื่อบวชเป็นพระแล้ว หลวงพ่อก็ตั้งใจศึกษาพระธรรมวินัยและปฏิบัติในทางพระกัมมัฏฐานจนมีจิตใจมั่นคงต่อพระพุทธศาสนา หลวงพ่อได้ใช้วิชาแพทย์แผนโบราณที่ได้รับถ่ายทอดมาจากโยมบิดาช่วยเหลือญาติโยมที่เจ็บป่วยอยู่ตลอดมา หลังจากบวชได้ ๗ พรรษาหลวงพ่อก็ได้รับการแต่งตั้งจากคณะสงฆ์ให้เป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิ์แทนเจ้าอาวาสองค์ก่อนที่มรณภาพลง หลวงพ่อท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์ก็ล้วนแต่เป็นพระเถระที่ทรงเกียรติคุณเป็นที่เคารพนับถือของพุทธศาสนิกชน เช่น หลวงพ่อปานวัดบางนมโค หลวงพ่อจงวัดหน้าต่างนอก หลวงพ่อขันวัดนกกระจาบ หลวงพ่อเลียบ วัดเลา หลวงพ่ออิน วัดเกาะหงษ์ ประกอบกับหลวงพ่อเป็นพระกัมมัฏฐานที่มีพลังจิตสูง จึงทำให้หลวงพ่อเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังองค์หนึ่งของยุค ในงานพิธีปลุกเสกครั้งสำคัญๆหลวงพ่อจะเป็นองค์หนึ่งที่ได้รับอาราธนาให้เข้าร่วมพิธีปลุกเสกเสมอมา
    ทางด้านการสงเคราะห์ญาติโยมด้วยวิชาแผนโบราณ ก็มีญาติโยมที่ป่วยไข้จากทั่วสารทิศเดินทางมารับการสงเคราะห์จากหลวงพ่อ ท่านไม่เคยเบื่อหน่ายในการสงเคราะห์ญาติโยม จะมากันมากมายขนาดไหน ท่านทำการสงเคราะห์ให้จนทั่วถึง กลางวันยังไม่หมดก็ต่อกลางคืน ดึกดื่นจนตีหนึ่ง ตีสอง หลวงพ่อยังนั่งรักษาคนไข้อยู่มีให้เห็นเป็นประจำ หลวงพ่อโด่งดังมากเรื่องรักษากระดูก เส้นเคล็ดยอก ปวดเมื่อย ผีเข้าเจ้าสิง ถูกคุณไสย์ เรียกว่าน้อยรายเต็มทีที่มาหาหลวงพ่อแล้วจะไม่หาย ส่วนมากหายหมด

    353.jpg !!!หลวงพ่อปฏิบัติธรรมในป่าช้า !!! หลังจากอุปสมบทได้ไม่นานนักภิกษุเมี้ยนผู้คร่ำเคร่งเจริญภาวนาสมาธิได้เล็งเห็นว่า สถานที่สงบวิเวกเหมาะแก่การปฏิบัติธรรมกรรมฐานนั้น น่าจะเป็นบริเวณป่าช้าหลังวัดท่านจึงได้เข้าไปปฏิบัติธรรมภาวนาในป่าช้าเป็นประจำทั้งกลางวันและกลางคืน ในช่วงแรกๆภิกษุบวชใหม่อย่างภิกษุเมี้ยนยังด้อยประสบการณ์กรรมฐานยังไม่นิ่งพอ จิตยังหวั่นไหวไม่อาจจะควบคุมสตืให้แน่วนิ่ง โดยเฉพาะในเวลาค่ำคืนของป่าช้าอันมืดมิดและวังเวง บรรยากาศชวนให้สะทกสะท้านหวาดหวั่นไปสารพัด ความกลัวจึงบังเกิดเมื่อต้องอยู่คนเดียวท่ามกลางซากศพใต้พื้นดิน นอกจากบรรยากาศวิเวกดังกล่าวมาแล้วบางครั้งยังมีเสียงกื่งไม้ที่ไหวหวั่นสะบัดโกรกกรากซู่ซ่าตามแรงลม หรือจะเป็นเสียงสัตว์กลางคืนที่ออกวิ่งหาอาหารกินใต้สุมทุมพุ่มไม้อันรกเรื้อก็ล้วนแต่ชวนให้สร้างจินตนาการว่าเป็นเหล่าภูตผีปีศาจ ออกสำแดงเดชหลอกหลอนเอากับพระบวชใหม่ภิกษุเมี้ยนต้องใช้ความพยายามรวมสติมิให้ฟุ้งซ่านตั้งจิตมั้นเอาพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณเป็นสรณะยึดเนียว ความกลัวจึงจึงลดน้อยลง

    !!!ชักผ้าบังสุกุล แบบประเพณีโบราณ!!!

    ในสมัยนั้น พิธีการชักผ้าบังสุกุลนั้นจะไม่เหมือนปัจจุบันโดยเฉพาะในแถบชนบท ชาวบ้านมักจะนิมนต์พระเข้าไปชักผ้าจากศพในป่าช้าเวลาดึกสงัด โดยเอาผ้าไปพาดไว้กับศพคนตายให้มาชักไป มีบางรายจับเอาศพมามัดกับกระดานกลที่ทำดักไว้ พอพระสงฆ์ซึ่งจะชักผ้าบังสุกุลเดินเข้ามาเหยียบบนกระดาน ร่างของคนตายก็จะกระดกเด้งวืดขึ้นมาถวายผ้าไตรที่ทางญาติๆหรือเจ้าภาพนำมาพาดไว้กับท่อนแขนศพก่อนหน้าแล้ว อย่านึกว่านี่เป็นการเล่นสนุกที่ได้แกล้งพระสงฆ์องค์เจ้า แต่นี่คือคตินิยมที่ยึดถือสืบเนื่องต่อๆกันมาว่า หากทำให้ภิกษูผู้ห่มผ้ากาสาวพัสตร์สะดุ้งตกใจกลัวมากเท่าใดเวลาชักผ้าบังสุกุลก็จะได้อานิสงส์แรงขึ้น แต่อย่างว่าอยู่ดีๆศพที่เห็นกันชัดๆว่าเน่าเฟะนอนแน่นิ่งทะลึ่งพรวดพราดขึ้นมาถวายผ้า มันเป็นสถานการณ์ที่น่าขนหัวลุกน้อยอยู่เมื่อไร ซึ่งหากพระภิกษุรูปใดคุมสติสัมปชัญญะไว้ไม่มั้นคงหนักแน่น ก็ต้องเตลิดเปิดเปิงเผ่นหนีกันจีวรปลิวเลยทีเดียว แม้กระทั้งพระภิกษุเมี้ยนก็เช่นกัน พอถูกนิมนต์ไปชักผ้าบังสุกุลก็บ่ายเบี่ยงไปเรื่อยๆ แต่บ่ายเบี่ยงหลายครั้งหลายคราก็ถึงคราวหลีกเลี่ยงไม่ได้เมื่อต้องรับนิมนต์จากชาวบ้านญาติโยมให้ไปชักผ้าบังสุกุลตามแบบฉบับโบราณ โดยจะเริ่มทำพิธีกันตั้งแต่ย่ำค่ำไปจนยันสว่างโดยแบ่งเวรออกเป็น 4 ผลัดตามจำนวนสงฆ์ในวัด โดยพระภิกษุจะต้องเข้าไปนั่งสวดพุทธมนต์อยู่กับศพตามลำพังผลัดทีละรูป ภิกษุเมี้ยนได้เวรผลัด สาม ซึ้งเป็นช่วงเวลาระหว่างเที่ยงคืนถึงตีสาม ที่สำคัญในจำนวนภิกษุทั้ง 4 รูปที่รับนิมนต์ไปด้วยกันในคืนนั้น ภิกษุเมี้ยนเป็นผู้อาวุโสน้อยที่สุด ทั้งวัยและพรรษาบวช การชักผ้าบังสุกุลครั้งแรกของภิกษุเมี้ยน เป็นศพที่อยู่ในป่าช้าวัดพระงาม บ้านป้อม ครั้นเมื่อได้เวลาสองยามภิกษุเมี้ยนก็ก้าวเดินดุ่มเข้าสู่ป่าช้าวัดพระงาม จิตใจในยามนั้นเริ่มสั่นไหวเล็กๆทั้งๆที่เดินเข้าออกป่าช้าวัดโพธิ์จนไม่รู้สึกกลัว ท่านยังไม่เคยมาอีกทั้งจุดหมายคราวนี้อยู่ที่ศพที่นอนรออยู่กลางป่าช้าอันเงียบสงัด เดินไปก็พยายามตั้งสมาธิจิตไปจนความพรั่นพรึงค่อยจะคลายลงไปบ้างแต่พอไปถึงสถานที่ได้เห็นศพที่ต้องชักผ้าบังสุกุลความหวาดหวั่นที่ซาลงไปก็ถาโถมกลับคืนมาอย่างรวดเร็ว

    สภาพศพที่เห็นนั้นเป็นศพที่เน่าเละเปื่อยยุ่ยกลิ่นเหม็นฉุนเฉียวน่าสะอิดสะเอียนเป็นอย่างยิ่ง ความที่ไม่เคยมาก่อนก็ยิ่งทำให้ประหวั่นพรั่นพรึงไปสารพัด ทั้งภาพซากศพที่เน่าเฟะกลิ่นเหม็นยิ่งดูเหมือนจะรุนแรงขึ้น เสียงสัตว์หากินกลางคืนที่วิ่งแกรกกรากเกรียวกราวอยู่ในความมืดรอบๆตัว เสียงลมพัดพาเอาใบไม้กิ่งไม้เสียดสีกัน ฟังคล้ายเสียงร่ำไห้คร่ำครวญและมีเสียงหัวเราะ สลับกับเสียงคล้ายคนพูดจากระซิบกระซาบ พร้อมๆกับมีเสียงหมาหอนโหยหวน ลอยตามมาลมยิ่งบั่นทอนสมาธิ และเขย่าอารมณ์ความรู้สึกไม่หยุดหย่อน สติแทบแตกระเบิดแตกเป็นเสี่ยงๆ
    ภิกษุหนุ่มแห่งวัดโพธิ์กบเจา พยายามข่มใจตัดนิวรณ์ภาวนา " พุทโธ... พุทโธ "ทุกลมหายใจเข้าออก โดยน้อมระลึกเอาคุณพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ แต่แล้วจนรอดความหวาดกลัวก็ยังคงครอบงำอยู่ในจิตสำนึกตลอดเลา
    ภิกษุเมี้ยน ออกจาริกธุดงค์เดียวดายเรื่อยไปกระทั้งคุ้นชินกับความสงบสมถะ พึงพอใจกับความสงบวิเวกของป่าดงมากกว่าอยู่ในวัด อยู่มาครั้งหนึ่งขณะที่ท่านกำลังจาริกธุดงค์อยู่กลางป่าลึก คงเป็นเพราะวาสนาบารมีประกอบกับปณิธานความตั้งใจมั้นที่จะแทนคุณชาวบ้าน ทำให้ท่านธุดงค์ไปพบศิษย์ตถาคตรูปหนึ่งซึ่งสูงด้วยวัยและพรรษาบวช ท่านเป็นภิกษุที่เชี่ยวชาญในการเยียวยารักษาโรคภัยไข้เจ็บ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับกระดูก ภิกษุรูปนั้นชื่อ " อิน " แต่ชาวบ้านตั้งฉายาให้ท่านและเรียกขานกันจนติดปากว่า " หลวงพ่ออิน เทวดา" หลวงพ่อเมี้ยนท่านเคยเล่าให้ลูกศิษย์ลูกหาฟังว่า ท่านเห็นกับตาว่าหลวงพ่ออินท่านเก่งกาจในด้านรักษาโรคภัยไข้เจ็บอย่างยากที่จะหาตัวจับ ขนาดช้างป่าถูกลูกปืนพรานหนีกระเซอะกระเซิงไปรอความอยู่กลางดง หลวงพ่ออินท่านยังช่วยรักษาให้โดยใช้น้ำมันมนต์หยดลงไปในบาดแผลที่กระสุนฝังอยู่และสาทับด้วยคาถาอาคมอันเข้มขลังของท่าน เพียงครู่เดียวหัวกระสุนก็ไหลตามน้ำมนต์ออกมาอย่างน่าอัศจรรย์ แต่นี้เจ้าช้างหนุ่มผู้บาดเจ็บกลับยอมนอนสงบนิ่ง ด้วยพลังเมตตาบารมีของหลวงพ่ออิน เทวดา และยอมให้ท่านได้รักษาบาดแผลแต่โดยดี จนในที่สุดช้างป่าเชือกนั้นก็รอดพ้นเงื้อมมือมัจจุราชไปได้ ด้วยวิชาอาคมอันเข้มขลังของหลวงพ่ออิน ทำให้ภิกษุเมี้ยนเกิดศรัทธาเลื่อมใสถึงขนาดปวารณาตัวขอเป็นศิษย์คอยติดตามรับใช้และร่ำเรียนสรรพวิชาต่างๆ จากหลวงพ่ออิน ซึ่งหลวงพ่ออินท่านก็เมตตารับตัวภิกษุเมี้ยนไว้เป็นศิษย์และได้ถ่ายทอดวิชาความรู้ต่างๆให้อย่างไม่ปิดบัง จากนั้นภิกษุเมี้ยนก็ยังได้ติดตามหลวงพ่ออินไปจนถึงวัดเกาะหงษ์ อำเภอเมือง นครสวรรค์ อันเป็นวัดของหลวงพ่ออิน
    กาลเวลาผ่านไป เมื่อภิกษุเมี้ยนเชี่ยวชาญจัดเจนวิชาต่างๆที่หลวงพ่ออินถ่ายทอดให้จนหมดไส้หมดพุงท่านก็กราบลาพระอาจารย์เพื่อเดินทางสู่มาตุภูมิคือวัดโพธิ์กบเจา บางบาล อยุธยาและหลังนั้นญาติโยมส่วนมากจะมาให้ภิกษุเมี้ยนท่านบำบัดโรคภัยหรืออาการบาดเจ็บเกี่ยวกับกระดูกเกือบทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นกระดูกส่วนไหนหักหรือเดาะ หากมาที่วัดโพธิ์กบเจาเป็นต้องหายทุกราย ชื่อเสียงของภิกษุเมี้ยนก็เริ่มขจรขจายออกไปเรื่อยๆ


    [​IMG] ถึงแม้ชื่อเสียงของภิกษุเมี้ยนเริ่มจะโดงดังเป็นที่กล่าวขานกันว่าท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านการรักษาโรคเกี่ยวกับกระดูก แต่ภิกษุหนุ่มก็ยังไม่หยุดที่จะออกเสาะแสวงหาความรู้เพิ่มเติม ขนาดในเวลาต่อมา หลังจากอุปสมบทเป็นภิกษุได้เพียง 7 พรรษาท่านก็ได้รับตำแหน่งเป็นถึงเจ้าอาวาสในปี พ.ศ. 2487 ออกพรรษาทีไรท่านก็จะให้พระลูกวัดดูแลวัด แล้วตัวท่านเองก็ออกจาริกธุดงค์เข้าป่าเขาลำเนาไพร ตระเวนไปทั่วสารทิศ ธุดงค์เดียวด้นดั้นเดินดงดุ่มๆ ทะลุปรุโปร่งไปทั่วประเทศ เหนือจรดใต้ ตะวันออกจดตะวันตก แต่ไม่เคยเลยที่จะธุดงค์ข้ามเขตล้ำเข้าไปในประเทศใกล้เคียง ไม่ว่าจะเป็น พม่า ลาว หรือเขมร เนื่องจากเกรงว่าจะเป็นการผิดกฎหมายบ้านเมืองบ้านเมืองของเพื่อนบ้านไทยเหล่านั้น

    ในยามที่ถือธุดงควัตรกล่างป่า มีบ่อยครั้งที่สมภารหนุ่มต้องอดฉันภัตตาหารตลอดทั้งวันเนื่องจากกลางป่าดงนั้นๆไม่มีชาวบ้านอาศัยอยู่เลยก็ต้องอดฉันไปตามระเบียบ

    แสวงหาวิชาอาคม

    ในสมัยนั้น จังหวัดอยุธยามีพระเกจิอาจารย์อยู่มากมายหลายรูปด้วยกัน โดยแต่ละรูปล้วนทรงพระเวทวิทยาคุณ เป็นที่เล่าลือระบือไกล หลวงพ่อเมี้ยนจึงได้มอบตัวเป็นศิษย์ อาศัยฐานความรู้ที่โยมบิดาได้สอนสั่งแนะแนวทางไว้ให้ ทำให้พระเกจิอาจารย์ทุกรูปที่หลวงพ่อเมี้ยนไปหาต่างก็มอบวิชาอาคมต่างๆ ให้ด้วยความเต็มใจ พระเกจิอาจารย์ที่หลวงพ่อได้ไปศึกษาวิชาอาคมในสมัยนั้น เช่น

    หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค

    ท่านเป็นพระเถระที่ยิ่งด้วยบารมี เพราะท่านได้ตำราเทวดาจากสวรรคโลกมาสร้างพระเนื้อดินเผาได้โด่งดังพอๆ กับการเป็นหมอรักษาโรคและถอดถอนคุณไสย หลวงพ่อปานได้ถ่ายทอดวิชาให้หลวงพ่อเมี้ยนอย่างเต็มกำลัง และได้เรียนวิชาเกราะเพชรมาด้วย ซึ่งหลวงพ่อเมี้ยนได้อาศัยลบผงเกราะเพชรสร้างวัตถุมงคลต่างๆมาจนทุกวันนี้

    หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก


    อริยสงฆ์รูปนี้ท่านเป็นพระเถระรุ่นพี่ของหลวงพ่อปาน ร่วมพระอาจารย์เดียวกันคือ หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ อริยสงฆ์ผู้เชี่ยวชาญด้านกสิณต่างๆ อิทธิฤทธิ์ของหลวงพ่อจงนั้นสามารถเดินฝ่าสายฝนไปได้โดยที่ตัวท่านไม่เปียก ได้มีผู้เห็นกันมาก แม้แต่เดินบนผิวน้ำ หลวงพ่อจงท่านก็ทำได้ แต่ไม่ค่อยมีคนได้เห็น นอกเสียจากครั้งหนึ่งเมื่อน้ำท่วมใหญ่ หลวงพ่อจงท่านไปกิจนิมนต์แล้วเดินลัดตัดทุ่งมาจนถึงที่ที่น้ำท่วมขวางอยู่ ท่านจะเดินทางไปวัดหน้าต่างนอกแต่ไม่มีชาวบ้านคนใดอยู่แถวนั้น พอที่จะให้อาศัยเอาเรือพายมารับได้ จึงให้ลูกศิษย์ลอยคอข้ามน้ำล่วงหน้าไปก่อน ศิษย์ของหลวงพ่อจงนั้นได้ลอยคอขึ้นฝั่งไปบอกชาวบ้านให้เอาเรือไปรับพอเอาเรือออก หลวงพ่อก็มาอยู่บนชานกุฏิแล้ว จีวรไม่เปียก เท้าไม่เปียก ทั้งๆที่น้ำล้อมลอบวัดหน้าต่างนอกอยู่โดยรอบ ไม่มีทางไหนจะข้ามมาได้โดยไม่เปียก ถามชาวบ้านดูก็ไม่มีใครเอาเรือออกไปรับ หรือพายมาส่งท่าน หลวงพ่อจงท่านได้แต่หัวเราะหึ...หึ... นอกจากนั้น หลวงพ่อจงยังมีอาคมแก่กล้ายิ่งนัก ท่านเสกตะกรุด เสกเหรียญเพียงแต่เป่าลมลงไปพ้วงเดียวก็ให้นำมาแจกจ่ายกันได้ บางคนไม่เชื่อหาว่าพ้วงเดียวมันจะได้การอะไร เอาปืนทดลองยิงก็ไม่ออก จึงเชื่อเรื่องพ้วงเดียวของหลวงพ่อจงมาก หลวงพ่อจงเป็นพระที่มีภูมิธรรมสูงมาก เชื่อกันว่าท่านสำเร็จเป็นพระอรหันต์เพราะวัตรปฏิบัติของท่านบางอย่างนั้นชี้ชัดว่าท่านถือทางไปสู่อรหันตภูมิ หลวงพ่อจงได้สอนวิชาให้หลวงพ่อเมี้ยนอย่างไม่ปิดบัง โดยสอนควบกับ หลวงพ่อนิล พระน้องชายของหลวงพ่อจงซึ่งมีอาคมแก่กล้าไม่เป็นรองหลวงพ่อจงเท่าไหร่นัก

    หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ


    หลวงพ่อขันรุปนี้มีอาคมแก่กล้า สามารถเสกใบไม้ให้เป็นต่อแตน เสกกระต่ายจากหัวปลี มีวิชาสักคงกระพันชื่อวิชา "สักบุตรลม" โดยสักทีละสองคน สักแล้วให้สาบานกันว่าจะไม่ฆ่ากันเอง ใครผิดสัจจะให้ฉิบหายตายโหง รายใดสักไปแล้วคิดร้ายกัน ก็จะมีอันเป็นไปทันที
    เชือกคาดของหลวงพ่อขัน เหมือนเชือกสนตะพายควายธรรมดา แต่อานุภาพสูงเหลือหลาย คงกระพันชาตรีเป็นยอด ขนาดลงน้ำปลิงไม่เกาะ เอาเคียวเกี่ยวคอกระชากยังไม่เป็นอะไร หนุ่มๆชาวบางบาลสมัยก่อนใครไม่มีเชือกคาดหลวงพ่อขันไว้ติดตัว ว่ากันว่าไม่ได้ความ
    อีกทั้งพระหล่อ พระเนื้อดินเผา ของหลวงพ่อขัน ชะงัดนัก หรือจะเป็นเหรียญรุ่นแรกก็มีอานุภาพในทางมหาอุด ถึงกับปืนที่ยิงกระบอกแตกก็มีปรากฏ เรียกได้ว่าอาคมของหลวงพ่อขันนั้นแน่นัก
    เมื่อครั้งที่หลวงพ่อเมี้ยนไปขอเรียนวิชานั้น หลวงพ่อขันได้ทำน้ำมนต์เดือดให้หลวงพ่อเมี้ยนชม และยังได้ทำน้ำมนต์ให้หมุนอยู่ในบาตรเป็นอัศจรรย์ใจ ก่อนที่จะสอนวิชาทำน้ำมนต์ดังกล่าวให้หลวงพ่อเมี้ยนจนหมดสิ้น และยังได้มอบวิชาน้ำมนต์สารพัดนึกให้อีกด้วย จึงทำให้น้ำมนต์ของหลวงพ่อเมี้ยนโด่งดังมาจนทุกวันนี้
    นอกจากวิชาน้ำมนต์แล้ว วิชาคงกระพันและเมตตา หลวงพ่อขันก็มอบให้โดยไม่ปิดบัง เรียกว่าถ่ายทอดให้จนหมดไส้หมดพุงไปเลย


    หลวงพ่อห่วง วัดบางยี่โท


    อริยสงฆ์ท่านนี้สำเร็จวิชาเมตตามหานิยมและมหาจินดามณี ไม่ว่าจะไปทางใดก็จะมีผู้คนมาลุมล้อมคอยขอของดี วิชาดังกล่าวได้ถ่ายทอดให้หลวงพ่อเมี้ยนไว้ก่อนจะมรณภาพไม่นานนัก หลวงพ่อเมี้ยนจึงเป็นศิษย์แต่เพียงผู้เดียวของหลวงพ่อห่วงที่ได้วิชานี้มา

    หลวงพ่อเลียบ วัดเลา"


    ท่านเจ้าคุณพระเทพสิทธินายก วัดเลา บางขุนเทียน กทม. หลวงพ่อเลียบเป็นพระเถระที่มีอาคมแกร่ง โดยเฉพาะในด้านมหาอำนาจ ตัวอย่างเช่น ครั้งหนึ่งผีบุญที่ภาคอิสานก่อการกำเริบส้องสุมผู้คนเป็นปฏิปักษ์ต่อพระมหากษัตริย์ และยุยงสงฆ์ให้กระด้างกระเดื่องต่อทางบ้านเมือง ถึงกับเขียนจดหมายท้าสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวโรรส ว่าถ้าเก่งจริงใหลงไปจับด้วยตนเอง และให้เตรียมหม้อใหม่ไปใส่กระดูกกลับลงมาด้วย หลวงพ่อเลียบได้รับอาสาไปจัดการแทนสมเด็จพระสังฆราช ด้วยความเต็มใจ เพื่อไปดูลาดเลาและไปทำให้พระที่หลงผิดหันกลับมาทางเดิม เมื่อเดินทางไปถึงท่านก็ได้ไปจำวัดในแพริมแม่น้ำแต่พวกผีบุญได้ยกกันมาจะทำร้ายท่านโดยมีผีบุญนั่งเสลี่ยงคานหามมาอย่างยโสโอหังมาถึงก็หยุดอยู่บนตลิ่ง แล้วประกาศให้หลวงพ่อเลียบออกไปทำความเคารพ หลวงพ่อเลียบท่านสำรวมจิตร่ายพระเวทย์ "ตวาดฟ้าป่าหิมพานต์"แล้วพุ่งตัวออกไปร้องตวาดพวกผีบุญ พลันก็เกิดฟ้าผ่าและเกิดลมพายุพัด พวกหาบคานหามผีบุญตกตะลึงตัวสั่น ทิ้งคานหามผีบุญถึงกับหัวทิ้มลงมา ที่เหลือพากันทิ้งอาวุธหนีเอาตัวรอดไปจนหมด เช้ารุ่งขึ้นหลวงพ่อเลียบ ได้สอบสวนพฤติกรรมของผีบุญแล้วก็เดินทางกลับมาถวายรายงานต่อสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ในที่สุดทางบ้านเมืงได้ยกกองทัพไปปราบผีบุญและก็ได้ตายในที่สุด กล่าวกันว่าที่อาคมของผีบุญเสื่อมก็เพราะหลวงพ่อเลียบท่านได้ตวาดฟ้าป่าหิมพานต์สยบไว้นั่นเอง หลวงพ่อเมี้ยนได้เรียนวิชาอาคมกับหลวงพ่อเลียบที่วัดเลา จนสำเร็จก่อนจะจาริกกลับสู่วัดโพธิ์กบเจา และหลังจากกลับมาแล้วยังได้ไปเรียนพระคาถาและอักขระต่างๆจากหลวงพ่อ" อยู่ "วัดโบสถ์ ซึ่งได้ตำราตกทอดมาจากวัดประดู่ทรงธรรม หลวงพ่ออยู่ท่านได้มีเมตตาหลวงพ่อเมี้ยน จึงได้ยกตำราทั้งหมดให้มารักษาไว้
    หลังจากได้รับมอบครอบครองตำราอักขระ ของวัดประดู่ทรงธรรมมาแล้วหลวงพ่อเมี้ยนก็ได้ศึกษาและบูชาครูอยู่เป็นนิจ ด้วยว่าพระอาจารย์อยู่ได้สั่งไว้ก่อนมรณภาพว่า ตำราสมุดข่อยวัดประดู่ทรงธรรมนี้ มีวิญญาณบูรพาจารย์คอยรักษาอยู่ ผู้ใดได้ไปอย่าได้นิ่งดูดาย หมั่นสาธยายหมั่นไหว้ครูบูรพาจารย์ จักเจริญยิ่งยืนนานตลอดไป

    เกิดนิมิตรประหลาดกับหลวงพ่อเมี้ยน [​IMG]


    สองปีเต็มที่ตำรามาอยู่กับหลวงพ่อเมี้ยน ได้รับการบูชาอย่างสม่ำเสมอ จนในคืนวันหนึ่งหลวงพ่อเมี้ยนก็เกิดนิมิตประหลาด ในนิมิตนั้น.....มีพระภิกษุวัยชราครองจีวรงดงามเดินเข้ามาหาที่หน้ากุฏิของหลวงพ่อเมี้ยน ขณะนั้นท่านกำลังนั่งดูตำราอยู่ พอมาถึงพระรูปนั้นก็นั่งลงต่อหน้า แล้วกล่าวว่า "เธอเป็นคนดี มีกตัญญูต่อบูรพาจารย์ ฉันจึงต้องมาหาเธอในคืนนี้ ฉันชื่อ "รอด" เคยเป็นเจ้าอาวาสวัดประดู่ (วัดประดู่ทรงธรรม) เมื่อก่อนเสียกรุงศรีอยุธยา ฉันได้เล่าเรียนตำรานี้แล้วทรงตำราไว้ กระทั้งกรุงศรีอยุธยาแตก ตำรานี้จึงได้ถูกขนย้ายออกมาพร้อมกับฉัน จนได้ตกทอดมาถึงเธอ ฉันจะมามอบยันต์ประจำตัวของฉันให้เธอหนึ่งตัว อยู่ในสมุดข่อยนั่นแหละ แต่ฉันจะสอนเคล็ดลับให้ "
    จากนั้นหลวงพ่อรอด (เสือ) ก็ได้สอนการเขียนอักขระที่เรียกว่า "นะฉัพพรรณรังสี" อันเป็นสุดยอดของยันต์ทางเมตาตามหานิยม แคล้วคลาด หลวงพ่อรอดได้สอนวิชาทั้งหมดให้ในนิมิต จนในที่สุดหลวงพ่อเมี้ยนก็จดจำได้
    พอรุ่งเช้าขึ้นมาหลวงพ่อตื่นจากจำวัดแล้วยันต์นั้นก็ติดตาหลวงพ่ออยู่ หลวงพ่อได้เอาดินสอเขียนยันต์ทั้งหมดไว้ในกระดาษและถือว่าเป็นยันต์ครูของหลวงพ่อ ตั้งแต่ได้ นะฉัพพรรณรังสีมาแล้วหลวงพ่อบอกว่ารู้สึก อักขระทั้งหลายที่ได้เล่าเรียนไว้ผนึกกันเป็นหนึ่งเดียวและสมาธิก็มั่นคงและมีกำลังกล้าแข็งขึ้น
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    เหรียญหล่อหลวงพ่อเมี้ยนวัดโพธิ์กบเจารุ่นอเนกประสงค์ ปี 2537 ให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาท (ปิดรายการ)

    IMG_20230328_143318.jpg IMG_20230328_143329.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2023
  15. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,812
    ค่าพลัง:
    +21,353
    DSC07674.JPG
    หลวงปู่วิเวียร บุญมาก (พระพิมลธรรมภาณ) วัดดวงแข เกิดวันที่ 9 พฤศจิกายน 2464 บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดดวงแข โดยมีเจ้าพระคุณสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์(ต่อมาได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์) วัดบวรนิเวศวิหารเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2482 เมื่อครบอุปสมบท ได้อุปสมบทที่วัดดวงแข โดยมีเจ้าพระคุณสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นพระอุปัฌาย์ พระสุพจนมุนี (ต่อมาได้รับสถาปนาขึ้นเป็นพระพรหมมุนี สุวจเถร ผิน ธรรมประทีป) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระปลัดรัตน์ (ต่อมาได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระญาณวิสุทธิเถร) วัดดวงแข เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2484

    ท่านเป็นพระที่มีความเชี่ยวชาญด้านสมถะและวิปัสสนาอย่างมาก ท่านเป็นพระอาจารย์สอนกัมมัฏฐานต่อผู้ใคร่ศึกษา อาจารย์ของท่านประกอบด้วย

    พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม วัดป่าสาลวัน (ลูกศิษย์องค์สำคัญของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต)

    หลวงพ่อโด่ วัดนามะตูม จังหวัดชลบุรี

    หลวงพ่ออยู่ วัดบ้านแก่ง จังหวัดนครสวรรค์ (ศิษย์ของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท หลวงปู่เฮง วัดเขาดิน จังหวัดนครสวรรค์ และหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ จังหวัดนครสวรรค์ )

    วัตถุมงคลที่ท่านอธิฏฐานจิตมีพุทธานุภาพและกฤดาภินิหารอย่างน่าอัศจรรย์ เป็นที่ต้องการของบรรดาลูกศิษย์และผู้นิยมพระเครื่อง หลวงปู่วิเวียร ฐิตปุญญเถร (บุญมาก) ละสังขาร เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2537 เวลา 4 ทุ่มตรง รวมสิริอายุได้ 72 ปี พรรษา 52

    https://palungjit.org/threads/หลวงปู่วิเวียร-วัดดวงแข-อริยสงฆ์กลางกรุง-รวมเรื่องเล่าความศักดิ์สิทธิ์อิทธิปาฏิหาริย์-และวัตถุมงคล.650264/
    https://www.watthakhanun.com/webboard/showthread.php?t=6377&page=2
    "รุ่นอาตมานี่ทันรุ่นสองของท่าน ท่านบอกว่ารุ่นหนึ่งข้ายังไม่เก่ง หลวงปู่พูดอย่างนี้แปลว่าอะไร ? รุ่นหนึ่งข้ายังไม่เก่ง ก็คือหัดทำ ความจริงท่านอยู่อย่างสมถะ กุฏิที่วัดดวงแขจะพังแหล่ไม่พังแหล่ เป็นอาคารเก่าตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๓-๔ ลูกศิษย์ก็เลยขออนุญาตหลวงปู่ทำกุฏิใหม่ แต่พวกเขาประเภทเบี้ยน้อยหอยน้อย จึงขออนุญาตสร้างวัตถุมงคล หลวงปู่ท่านไม่อนุญาตให้สร้าง ก็ตื๊อจนกระทั่งท่านสร้าง ท่านก็บอกว่าถ้าสร้างต้องทำตามข้า ก็เลยต้องตามใจท่าน

    พระทุกรุ่นของหลวงปู่ท่านเรียกว่า พระพุทธเมตตาทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นพระปิดตา ไม่ว่าจะเป็นพระลอยองค์ ไม่ว่าจะเป็นพระกลีบบัว ฯลฯ ท่านเรียกพระพุทธเมตตาหมด ก็คือได้รับความเมตตาสงเคราะห์จากพระพุทธเจ้า อาตมาเองก็ตุนเอาไว้เยอะเหมือนกัน เพราะว่าช่วงนั้นเดินจากวัดเทพศิรินทร์ฯ มาหน่อยหนึ่ง ผ่านทางหัวลำโพงก็เป็นวัดดวงแข เสร็จแล้วก็ไปฉันเพลที่บ้านเพื่อนหลังวัดดวงแข แล้วก็กลับวัดเทพศิรินทร์ฯ"หลวงปู่วิเวียร วัดดวงแข มรณภาพไปไม่นาน ท่านเป็นพระธรรมยุต เป็นสหธรรมิกรุ่นน้องของหลวงปู่มหาอำพัน แต่ท่านไม่ได้มาสายสุกขวิปัสสโกเหมือนกับหลวงปู่มหาอำพัน ท่านมาแรงกว่านั้น คราวนี้สมัยที่หลวงปู่ยังมีชีวิตอยู่ จะว่าไปจริง ๆ แล้วท่านดังมากนะ แต่พวกเราอาจจะไม่รู้จัก เพราะว่าท่านเป็นพระธรรมยุต เวลาท่านสร้างวัตถุมงคล เตาหลอมจะมีสังกะสีล้อมแล้วเป่าไฟจนสังกะสีแดงโร่เลย ท่านก็เจิมเตาหลอมทั้งอย่างนั้นแหละ ชาวบ้านเห็นคาตาทุกครั้ง

    ถามหลวงปู่ว่าทำไมถึงต้องเจิม ? “ก็ทำตามหลักวิชาที่ศึกษามา ถ้าไม่ทำอย่างนี้ไม่ต้องมาให้ข้าทำ” ท่านถนัดที่สุดคือกสิณน้ำ พระที่ท่านสร้างออกมานี่เมตตามหานิยมสุด ๆ ขนาดรุ่นหนึ่งท่านต้องเก็บบรรจุกรุหมดเลย เพราะว่าลูกศิษย์ดันทะลึ่งไปได้ผู้หญิงแล้วก็ไม่ยอมเลี้ยงเขา"
    ต้องบอกว่าหลวงปู่วิเวียรเป็นพระดีที่หมกตัวอยู่กลางกรุง แล้วท่านไม่ค่อยแสดงออก แต่ว่าวัตถุมงคลของท่านทุกรุ่นนี่เชื่อขนมกินได้เลย ถ้าใครใช้ในเรื่องเมตตาค้าขายนี่ได้เต็มที่ อาตมาเองก็ตุนไว้อย่างละหลายองค์ เพราะว่าสมัยนั้นท่านก็ไม่ได้จำหน่าย ส่วนใหญ่ขอฟรีด้วย อาศัยเส้นหลวงปู่มหาอำพัน

    จริง ๆ ท่านก็แจกลูกศิษย์ฟรี แต่ส่วนใหญ่ลูกศิษย์ก็ถวายเงินท่าน ส่วนอาตมาเห็นว่าท่านเป็นพระธรรมยุตไม่จับเงิน ก็ใช้วิธีไถฟรี ๆ ...(หัวเราะ)...

    หลวงปู่ท่านเมตตามาเยี่ยม ถ้าหากว่าดูบุคลิกแล้วหลวงปู่วิเวียรจะคล้าย ๆ กับหลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง พระของท่านทุกรุ่นจะเรียกพระพุทธเมตตาเหมือนกันหมด"
    __________________
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    พระชุดหลวงพ่อวิเวียรวัดดวงแขให้บูชา 20,000 บาท มีทั้งพระสมเด็จเนื้อเงิน เนื้อนวะโลหะ เนื้อผง พระปิดตาเนื้อเงิน เนื้อนวะ พระปิดตาตะกรุดทองคำ เงิน พระสมเด็จ พระปิดตาขี่ไก่ ชุดเดิมๆ บูชามาจากวัด สมัยนั้น ชุด ๑๖ องค์ IMG_20230330_135039.jpg IMG_20230330_135059.jpg IMG_20230330_135113.jpg IMG_20230330_135125.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 สิงหาคม 2023
  16. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,812
    ค่าพลัง:
    +21,353
    ++ คัดลอกประวัติของท่านมาจาก คุณSOMBOONTIEW, http://oknation.nationtv.tv/blog/print.php?id=225626
    ขออนุญาตเผยแพร่และขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย

    “ สุดยอดพระเกจิห้าแผ่นดิน พระครูปสาทนียคุณ (พวง ปสนฺโน) วัดสหกรณ์รังสรรค์ อ.วิหารแดง จ.สระบุรี...
    ... ประวัติโดยย่อ
    (จากการรวบรวมและทำการจดบันทึกโดยผมเอง ซึ่งบางครั้งหนังสือพระเครื่องหลายๆฉบับก็ลงไว้ไม่ตรงกัน )
    ชื่อ สกุลเดิม พวง ดาราภัย พื้นเพเดิม บิดา มารดา ท่านเป็นคนบ้านหนองตะเฆ่ อ.หนองแค จ.สระบุรี มีอาชีพทำนา
    หลวงปู่พวงท่านถือกำเนิดเมื่อวันเสาร์ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน๕ พญาวัน ปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๔๗ ที่บ้านหนองสีดา
    อ.หนองแซง จ.สระบุรี
    จากการสอบถามหลวงปู่ทำให้ทราบว่าในวัยหนุ่มของท่านเป็นหมอยาแผนโบราณ และมีความสนใจในเรื่องของ
    สมุนไพรและคาถาอาคมต่างๆ จนได้ตัดสินใจบวชครั้งแรกกับ หลวงพ่อยอด วัดหนองปลาหมอ อ.หนองแค จ.สระบุรี
    (สุดยอดเกจิอาจารย์ อันดับหนึ่งของจ.สระบุรี เจ้าของวัตถุมงคล หนึ่งในห้าชุดรูปหล่อ เบญจภาคี)
    ต่อมาท่านได้มีความจำเป็นต้องสึกออกมาใช้ชีวิตเช่นฆราวาสทั่วไปมีครอบครัวมีบุตร หลังจากที่ครอบครัวมีความ
    สมบูรณ์พร้อมท่านเกิดเบื่อหน่ายในวิถีชีวิตเฉกเช่น ฆราวาสทั่วไปจึงตัดสินใจบวชอีกครั้งหนึ่ง หลังจากบวชแล้วก็มุ่ง
    มั่นแสวงหาครูบาอาจารย์ เพื่อแสวงหาทั้งทางธรรม และสรรพวิชาต่างๆเพื่อจะได้ใช้ประโยชน์ ในการสงเคราะห์
    ชาวบ้าน
    (ในส่วนนี้ครูบาอาจารย์ที่ท่านมักกล่าวถึงอย่างชัดเจนก็จะมี หลวงพ่ออินทร์ วัดไก่เส่า หลวงปู่ใจวัดหนองหญ้าปล้อง ) และที่สำคัญยังมีอีกหลายท่านอีกมากแต่หลวงปู่ท่านมักบอกว่า ระลึกถึงครูบาอาจารย์ทุกครั้งเมื่อนึกถึงและต้องใช้วิชาที่ได้ร่ำเรียนมาในการปลุกเสกและสงเคราะห์ญาติโยม
    ............... หลายครั้งที่บรรดาหนังสือพระบางเล่มหรือคนบางกลุ่มที่อ้างอิงอาจารย์รูปนั้นรูปนี้ ผูกเรื่องราวต่างๆ เพื่อ
    ประโยชน์ทางการให้เช่าบูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ท่านมักบอกว่า " ไม่เคยเรียนด้วยซักหน่อย "
    หลังจากออกแสวงหาครูอาจารย์และศึกษาสรรพวิชาต่างๆแล้ว ท่านได้มาจำพรรษา อยู่ที่วัดสหกรณ์รังสรรค์
    อ.วิหารแดง จ.สระบุรี เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๐๓ ซึ่งเป็นผลให้วัดและโรงเรียน พัฒนาดีขึ้นเป็นลำดับ
    จวบจนท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส และได้รับสมณศักดิ์ พระครูสัญญาบัตรชั้นโท ที่ พระครูปสาทนียคุณ
    ตลอดระยะเวลาหลายสิบปีท่านได้เป็นที่พึ่งของชาวบ้านในจังหวัดสระบุรี และใกล้เคียง รวมทั้งชาวต่างชาติอีกหลาย
    เชื้อชาติ แม้กระทั่ง ลูกศิษย์ที่เป็นแขก ซึ่งไม่ได้ถือในพุทธศาสนา ยังถวายเงินสร้างรูปเหมือนยืน ของหลวงปู่ไว้ที่ด้าน
    หน้าบริเวณใกล้ศาลาใหญ่
    ถึงแม้อายุจะมากขึ้นหลวงปู่ท่านก็ยังสงเคราะห์และเป็นที่พึ่งให้ลูกศิษย์ อย่างไม่ย่อท้อ จวบจนประมาณช่วงปลายปี
    ๒๕๔๖ จนถึงเดือนมีนาคม ๒๕๔๗ ท่านก็ต้องเข้ารับการรักษาอาการอาพาธ บ่อยขึ้น และแล้ววันที่ผมไม่อยากให้มา
    ถึงก็มาถึง .................๑๒ มีนาคม ๒๕๔๗ ท่านถึงกาลมรณวาร ด้วยโรคชราภาพสิริอายุ ๑๐๐ ปี ... “
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    ผ้ายันต์หลวงปู่พวงวัดสหกรณ์รังสรรค์ให้บูชา 500 บาทค่าจัดส่งด่วน30บาทครับ

    IMG_20230330_141659.jpg
     
  17. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,812
    ค่าพลัง:
    +21,353
    k6.jpg
    พระอาจารย์ศรีเงิน อาภาธโร วัดดอนศาลา พระครูสิริวัฒนการ ประวัติพระอาจารย์ศรีเงิน อาภาธโร วัดดอนศาลา พระเกจิ พระเกจิอาจารย์



    พระอาจารย์ศรีเงิน อาภาธโร วัดดอนศาลา พระครูสิริวัฒนการ ประวัติพระอาจารย์ศรีเงิน อาภาธโร วัดดอนศาลา พระเกจิ พระเกจิอาจารย์

    pl.jpg

    พระครูสิริวัฒนการ (ศรีเงิน อาภาธโร) วัดดอนศาลา

    มีนามเดิมว่า ศรีเงิน นามสกุล ชูศรี เกิดเมื่อวันที่ ๑๒ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๒ ตรงกับวันอาทิตย์ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง ณ บ้านไผ่รอบ หมู่ที่ ๗ ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง โยมบิดาชื่อ นายสุด ชูศรี โยมมารดาชื่อ นางเฟือง ชูศรี มีพี่น้องร่วมบิดา-มารดาเดียวกันรวม ๕ คน คือ
    ๑.นางแก้ว สมรสกับ นายปลอด แก้วสง
    ๒.นางสาวแหม้ว ชูศรี
    ๓.นายชู สมรมกับ นางเฮ้ง ชูศรี
    ๔.นางผึ้ง สมรสกับ นายบรรลือ หมุนหวาน
    ๕.พระครูสิริวัฒนการ

    การศึกษา

    จบชั้น ป.๔ จากโรงเรียนวัดดอนศาลา เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๔

    การบรรพชาอุปสมบท

    บรรพชาอุปสมบท เมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๙๓ ณ วัดดอนศาลา โดยมีพระพุทธิธรรมธาดา เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า "อาภาธโร"

    การศึกษาพระธรรมวินัย

    พ.ศ.๒๕๐๑ สอบไล่ได้นักธรรมเอก สำนักเรียนวัดดอนศาลา

    ตำแหน่งทางสงฆ์

    เป็นรองเจ้าอาวาสวัดดอนศาลา ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตร ที่พระครูสิริวัฒนการ (จรร.)

    ในวัยเด็กท่านใช้ชีวิตเหมือนกับเด็กชายในชนบททั่วไป อาศัยอยู่กับพ่อแม่และพี่ ๆ แต่เมื่อท่านอายุได้ ๗ ขวบ มาดาก็ถึงแก่กรรม ท่านจึงอยู่ภายใต้การอุปการะของบิดาและพี่ ๆ บิดาของท่านได้จัดการให้ท่าน ได้ศึกษาเล่าเรียนขั้นเบื้องต้นที่โรงเรียนใกล้บ้าน คือ โรงเรียนวัดดอนศาลา เด็กชายศรีเงินเรียนอยู่ที่นั้นจนกระทั่งจบชั้นสูงสุดของโรงเรียน คือ ชั้นประถมปีที่สี่ และถือเป็นการจบขั้นบังคับ ภายหลังจากจบการศึกษาชั้นประถมต้นแล้ว พระอาจารย์ศรีเงินไม่ได้ศึกษาต่อที่ใหน ออกไปช่วยการงานที่บ้าน ภายหลังจากที่ท่านจบชั้นประถมได้เพียงไม่กี่ปีบิดาก็ถีงแก่กรรมไปอีกคน คราวนี้ท่านและพี่ ๆ ต้องกำพร้าพ่อและแม่ แต่โชคดีหน่อยที่ตอนนั้นท่านมีอายุพอที่จะช่วยตัวเองได้แล้ว คือมีอายุได้ ๑๗ ปี ส่วนพี่ ๆ นั้นก็ต่างโตกันหมดแล้ว ท่านจึงอาศัยอยู่กับยายและพี่ ๆ

    pp.jpg

    นายศรีเงินหรือพระครูสิริวัฒนการในปัจจุบันอาศัยอยู่กับยายและพี่ ๆ จนครบบวชพระ ญาติ ๆ เห็นพ้องต้องกันว่าควรจะให้บวชเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับพ่อแม่ที่ล่วงลับไปแล้ว และเพื่อจะได้ใกล้ชิดพระศาสนาในฐานะพุทธบุตร นายศรีเงินไม่ขัดข้อง ท่านจึงได้เริ่มเข้าสู่ร่มพระศาสนาตั้งแต่บัดนั้น พระครูศิริวัฒนการได้เริ่มเข้าสู่พระศาสนาในฐานะพระภิกษุ เมื่อวันที่ ๔ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๔๘๓ ตรงกับวันอังคาร แรม ๕ ค่ำ เดือน ๘ ปีขาล สำเร็จเป็นพระภิกขุ ภาวะภายในพัทธสีมาของวัดดอนศาลานั่นเอง โดยมีพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระพุทธิธรรมธาดา อดีตรองเจ้าคณะจังหวัดพัทลุง และเจ้าอาวาสวัดสุวรรณวิชัย อ. ควนขนุน เป็นพระอุปัชฌาย์ให้ มีพระกรุณานุรักษ์ เจ้าคณะอำเภอควนขนุน และเจ้าอาวาสวัดสุวรรณวิชัย เป็นพระกรรมวาจาจารย์และมีพระครูกาชาด (บุญทอง) เจ้าอาวาสวัดดอนศาลารูปปัจจุบันเป็นพระอนุสาสนาจารย์

    พระอุปัชฌาย์ให้มคธนามหรือตั้งฉายาทางพระให้ว่า "อาภาธโร" อยู่ที่วัดดอนศาลานั้นเองและภายหลังจากอุปสมบทท่านได้พิจารณาทบทวนถึงชีวิตของตัวเองพบความไม่เที่ยงแท้ในชีวิต ระลึกถึงความทุกข์ที่เกิดจากการพลัดพรากและการสูญเสียของรักของหวง โดยเริ่มแต่สูญเสียมารดาตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ และมาสูญเสียบิดาเมื่ออายุได้ ๑๗ ปี ท่านได้เห็นความไม่เที่ยงแท้ของชีวิต และได้พบว่าชีวิตบรรพชิตสุขสงบกว่า น่าอยู่มากกว่าชีวิตฆราวาส ท่านก็เลยเกิดความคิดที่จะใช้ชีวิตในเพศบรรพชิตต่อไป

    เมื่อตัดสินใจได้แล้ว พระภิกษุศรีเงินก็คิดต่อไปแล้วว่าหากจะอยู่ในเพศบรรพชิตก็ควรจะอยู่อย่างมีค่า อย่างน้อยควรจะมีความรู้ทางศาสนาบ้างท่านจึงได้เข้าศึกษาทางด้านปริยัติที่วัดดอนศาลา
    ศึกษาตั้งแต่นักธรรมชั้นตรีโท จนกระทั่งสอบได้ชั้นสูงสุดคือนักธรรมชั้นเอก พร้อมกันนั้นก็ได้ศึกษาทางด้านวิปัสสนาจากครูบาอาจารย์ภายในวัดดอนศาลา ซึ่งวัดดอนศาลานั้น อย่างที่ทราบกันคือ เป็นสถานที่วิทยาการด้านไสยเวทเจริญรุ่งเรืองมานาน วิชาวิปัสสนานั้นเป็นหลักสูตรขั้นพื้นฐานของไสยเวท ฉะนั้นในวัดจึงมีครูบาอาจารย์ที่เก่งในเรื่องนี้อยู่ไม่ขาด

    เมื่อได้ศึกษาวิปัสสนา พระอาจารย์ศรีเงิน ก็เกิดสนใจในวิชาไสยเวทขึ้นมา จะว่าไปแล้วสิ่งแวดล้อมก็มีส่วนช่วยในการผลักดันท่านให้มาสนใจในเรื่องนี้อยู่มาก หล่าวคือ ตั้งแต่ท่านเด็ก ๆ มาแล้ว ในบริเวณควนขนุน พระอาจารย์ที่เก่งในทางไสยเวทมีมากรูป และแต่ละรูปล้วนได้รับความเคารพนับถือและได้สร้างประโยชน์เกื้อกูลพระศาสนามากมาย พระอาจารย์ศรีเงิน ท่านเล็งเห็นว่าควรจะเจริญรอยตามอย่างครูบาอาจารย์ที่ท่านเคยทำไว้ ศึกษาให้ถ่องแท้ก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่พระศาสนาได้มากมาย ขณะที่พระอาจารย์ศรีเงินเกิดความสนใจจะศึกษาไสยเวทนั้น ศิษย์เอกของสำนักเขาอ้อที่เชี่ยวชาญในวิชาของเขาอ้อยังมีชีวิตอยู่หลายคน ทั้งฝ่ายบรรพชิตและฆราวาส ฝ่ายบรรพชิตนั้น เจ้าสำนักรูปสุดท้ายของสำนักเขาอ้อ คือ พระอาจารย์ปาล ปาลธัมโม ยังมีชีวิตแต่ก็เริ่มชราภาพแล้ว นอกจากนั้นก็ยังมีศิษย์เอกของพระอาจารย์เอียด อดีตเจ้าอาวาสวัดดอนศาลาอีกรูปหนึ่งคือพระครูพิพัฒน์สิริธร หรือ พระอาจารย์คง สิริมโต เจ้าอาวาสวัดบ้านสวน ทางฝ่ายฆราวาสก็มี อาจารย์นำ แก้วจันทร์ อาจารย์เปรม นาคสิทธิ์ เป็นต้น

    0c.jpg

    เมื่อท่านอาจารย์ศรีเงินคิดจะศึกษาค้นคว้าวิชาไสยเวทของสำนักเขาอ้ออย่างจริงจัง ท่านก็คิดถึงเจ้าสำนักเขาอ้อเป็นอันดับแรก คือ พระอาจารย์ปาล ซึ่งกำลังมีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในพัทลุงขณะนั้น ท่านก็เลยไปฝากตัวเป็นศิษย์พระอาจารย์ปาลที่วัดเขาอ้อ พร้อมกันนั้นก็ได้เริ่มทำคุณประโยชน์แก่พระศาสนา โดยการสอนพระปริยัติแก่พระภิกษุและสามเณรที่วัดเขาอ้อ ระหว่างนั้นพระอาจารย์ศรีเงิน จึงต้องเทียวมาเทียวไป ระหว่างวัดดอนศาลาที่อยู่ประจำกับวัดเขาอ้อที่ไปเรียน และสอนหนังสือ การเดินทางไปวัดเขาอ้อแต่ละครั้ง พระอาจารย์ศรีเงินทำให้เกิดประโยชน์ทั้งแก่ตัวท่าน และแก่พระศาสนา คือ ไปเรียนวิชากับพระอาจารย์ปาลอันเป็นประโยชน์แก่ตัวเอง และสอนหนังสือแก่พระภิกษุสามเณรอันเป็นประโยชน์แก่พระศาสนา

    พระอาจารย์ศรีเงินได้รับถ่ายทอดวิชาต่างๆ มาจากพระอาจารย์ปาลมาก จนมีผู้กล่าวว่าท่านอาจารย์ปาลได้มอบวิชาต่างๆ ให้กับพระอาจารย์ศรีเงินมากที่สุด ขนาดเท่ากับผู้ที่จะขึ้นมาสืบทอดตำแหน่งเจ้าสำนักเขาอ้อรุ่นต่อไปได้ มีผู้วิเคราะห์ต่อไปว่า พระอาจารย์ศรีเงินอาจจะเป็นผู้ที่พระอาจารย์ปาล ได้คัดเลือกให้ทำหน้าที่เจ้าสำนักเขาอ้อรูปต่อไปสืบต่อจากท่าน แต่การคณะสงฆ์เปลี่ยนแปลง พระอาจารย์ปาลก็ทราบความเป็นไปในอนาคตดี จึงไม่ได้หวังอะไรในเรื่องการสืบทอดตำแหน่ง หวังเพียงให้สืบทอดวิชาเพื่อไม่ให้วิชาสายเขาอ้อสูยหาย และจะได้นำไปสร้างคุณประโยชน์แก่พระศาสนาและประเทศชาติต่อไป เหมือนกับที่บุรพาจารย์เคยทำมา จึงพูดได้ว่าพระอาจารย์ศรีเงินเป็นศิษย์เอกของพระอาจารย์ปาล

    sj.jpg

    นอกจากจะได้ไปศึกษากับพระอาจารย์ปาลอย่างเป็นทางการแล้ว พระอาจารย์ศรีเงินท่านก็ได้ศึกษากับพระอาจารย์คง วัดบ้านสวน เพิ่มเติมด้วยเสริมในส่วนที่พระอาจารย์คงเชี่ยวชาญ โดยเฉพาะเรื่องการแพทย์แผนโบราณ และคาถาอาคมเกี่ยวกับการแพทย์ นอกจากนั้นแล้วในส่วนของฆราวาส พระอาจารย์ศรีเงินท่านได้รับถวายความรู้ จากศิษย์ฆราวาสคนสำคัญของวัดเขาอ้อท่านหนึ่ง คือ อาจารย์เปรม นาคสิทธิ์ พระอาจารย์ศรีเงินเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติต่างๆ ตามที่ทางวัดเขาอ้อกำหนดไว้ คุณสมบัติเด่นๆ ที่เห็นชัดก็คือการยึดพรหมวิหาร ๔ และสังคหวัตถุธรรม ซึ่งท่านได้นำมายึดเป็นหลักในการดำเนินชีวิต ด้วยเหตุนี้ พระอาจารย์ปาลจึงได้คัดเลือกท่าน จะเห็นได้ว่าพระอาจารย์ปาลเลือกไม่ผิดคน ท่านรูปนี้มีคุณสมบัติต่างๆ เหมาะสมที่จะทำหน้าที่สืบทอดวิชาของสำนักเขาอ้อจริง ต่อมาเมื่อท่านได้มีโอกาสนำวิชาต่างๆ มาใช้ ก็ใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก ท่านจึงได้สร้างคุณประโยชน์แก่พระศาสนาและสังคมมากมาย ไม่ว่าจะทางตรงและทางอ้อม ในส่วนของความผูกพันฉันศิษย์อาจารย์กับพระอาจารย์ปาลท่านก็ได้ปฏิบัติตัวในฐานะศิษย์อย่างสมบูรณ์

    เมื่อพระอาจารย์ปาลชราภาพมากเข้า ช่วยตัวเองไม่สะดวก จะอยู่ที่วัดเขาอ้อก็ไม่มีคนดูแลอย่างเป็นกิจจะลักษณะ พระอาจารย์ศรีเงินเองก็อยู่ไกล เกรงว่าจะดูแลปรนนิบัติรับใช้อาจารย์ไม่เต็มที่ ท่านจึงได้รับพระอาจารย์ปาล มาอยู่เสียที่วัดดอนศาลา ท่านทำหน้าที่ดูแลปรนนิบัติอย่างใกล้ชิดอยู่เป็นเวลาหลายปี จนกระทั่งพระอาจารย์ปาลต้องการจะกลับไปมรณภาพที่วัดเดิม คือ วัดเขาอ้อ ซึ่งท่านกลับไปได้เพียงประมาณ ๓ เดือนก็มรณภาพ

    เมื่อพระอาจารย์ปาลมรณภาพ พระอาจารย์ศรีเงินก็เป็นแม่งานใหญ่ในการจัดการศพของท่าน เรียกว่าพระอาจารย์ศรีเงินทำหน้าที่ของศิษย์ได้สมบูรณ์ทุกประการ เรื่องความกตัญญูต่อครูบาอาจารย์นั้น พระอาจารย์ศรีเงิน ท่านยังได้แสดงออกอย่างน่าชื่นชมกับอาจารย์ทุกรูป เป็นต้นว่าพระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ เมื่อพระอาจารย์นำมาอุปสมบทอยู่ที่วัดดอนศาลาในวัยชรา ก็ได้พระอาจารย์ศรีเงินคอยดูแลปรนนิบัติ และกล่าวกันว่าระหว่างนั้นพระอาจารย์ศรีเงินได้รับถ่ายทอดวิชาสำคัญ ๆ อีกหลายอย่างจากพระอาจารย์นำ เรียกว่า พระอาจารย์นำมีวิชาเท่าไหร่ ท่านก็ถ่ายทอดให้หมดในวัยใกล้วาระสุดท้าย พระอาจารย์ศรีเงินเองก็ดูแลปรนนิบัติรับใช้ท่านอย่างดี แม้ว่าจะโดยพรรษา พระอาจารย์ศรีเงินอาวุโสมากกว่าพระอาจารย์นำมาก แต่ท่านก็เคารพในฐานะอาจารย์ ปฏิบัติต่อท่านอย่างศิษย์พึงปฏิบัติต่ออาจารย์ พูดได้ว่าพระศรีเงินเป็นศิษย์สายเขาอ้อรูปหนึ่งที่ได้รวบรวมวิชาดีทั้งหลายไว้มากมาย

    พระอาจารย์ศรีเงิน มรณะภาพ เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๓ รวมสิริอายุได้ ๗๒ ปี ๕๑ พรรษา

    อย่างไรก็ตาม พระอาจารย์ศรีเงิน เคยได้เปิดกรุวัตถุมงคลของท่านส่วนหนึ่ง เมื่อประมาณปี 2536 เพื่อสมนาคุณให้กับผู้มีจิตศรัทธาร่วมสมทบทุนสร้างศาลาอเนกประสงค์ (ศาลาสิริวัฒนการ) โรงเรียนวัดดอนศาลา ซึ่งมีหลายรุ่นด้วยกัน เช่น พระสมเด็จเนื้อนวโลหะ ปี 2524 พระกลีบบัวผงว่านยา ปี 2526 พระกริ่งสิริวัฒน์ รุ่นฉลองสมณศักดิ์ สัญญาบัตรพัดยศ ปี 2534 พระผงว่านสิริวัฒน์ พระปิดตาเนื้อชินตะกั่ว พระของขวัญเนื้อผงว่านยาอาจารย์นำ ปี 2513 และตะกรุดต่างๆ แต่ปัจจุบันวัตถุมงคล พระเครื่อง พระอาจารย์ศรีเงินเหล่านี้ล้วนเสาะแสวงหาได้ยากยิ่งนัก

    k6.jpg

    พระอาจารย์ศรีเงิน อาภาธโร วัดดอนศาลาได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตร ในราชทินนามพระครูสิริวัฒนการ และได้สร้างพระกริ่งสิริวัฒน์ รุ่นฉลองสมณศักดิ์ สัญญาบัตรพัดยศ เมื่อปี 2534

    พระอาจารย์ศรีเงิน วัดดอนศาลา มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2543 สิริอายุได้ 72 ปี พรรษา 51

    ตลอดชีวิต พระอาจารย์ศรีเงิน วัดดอนศาลา อาศัยในร่มเงาพระพุทธศาสนา ประกอบคุณงามความดีด้วยจิตใจที่ผ่องแผ้ว แม้ว่าพระอาจารย์ศรีเงินจะละสังขารลาโลกไปแล้วก็ตาม แต่คุณงามความดีที่ได้ประกอบศาสนกิจมาตลอดชีวิต จะเป็นที่จดจำของชาวพัทลุงอย่างมิลืมเลือน
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    ปลัดขิกหลวงพ่อศรีเงินวัดดอนศาลาให้บูชา
    5,000 บาท
    IMG_20230330_142536.jpg IMG_20230330_142526.jpg IMG_20230330_142545.jpg IMG_20230330_142556.jpg
    1556600682.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • k6.jpg
      k6.jpg
      ขนาดไฟล์:
      79.5 KB
      เปิดดู:
      113
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2023
  18. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,812
    ค่าพลัง:
    +21,353
    14237663_1306553709394569_962950356956895740_n.jpg
    เดิมชื่อ วิทยา น้ำดอกไม้ เป็นบุตรชายคนโตของ นายห้อย น้ำดอกไม้ และ นางกิมบี้ แซ่แต้ บิดาเป็นคนราชบุรี มารดาเป็นคนอำเภอสองพี่น้อง เมื่อทั้งสองแต่งงานกันแล้วจึงอพยพโยกย้ายมาทำมาหากินอยู่ที่ตลาดท่าช้าง อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี โดยยึดอาชีพค้าขาย มีบุตรด้วยกัน 5 คน เป็นชาย 4 คน เป็นหญิง 1 คน
    หลวงปู่ตี๋ เกิดที่ตลาดท่าช้าง อ.เดิมบางนางบวช เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ.2467 ตรงกับวันอาทิตย์ ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 9 ปีชวด โยมห้อยผู้เป็นบิดานั้นเป็นช่างก่อสร้างและช่างฝีมือประจำวัดหัวเขารุ่นเก่า ในยุคสมัยที่ยังมี หลวงพ่ออิ่ม สิริปุญโญ อดีตปรมาจารย์นามกระเดื่องเป็นเจ้าสำนัก ขณะนั้นวัดหัวเขาได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างมณฑปบนยอดเขาซึ่งนับว่าเป็นงานอันสำคัญ หลวงพ่ออิ่มจึงมอบหมายให้ช่างห้อยบิดาของท่านเป็นผู้ควบคุมดำเนินงาน หลวงปู่ตี๋ ซึ่งอยู่ในวัยเด็กก็ได้มีโอกาสติดสอยห้อยตามบิดามาอยู่กินนอนที่วัดหัวเขาเป็นประจำ จากวันเป็นเดือน จากเดือนเลื่อนไปเป็นปี จนกระทั่ง หลวงปู่ตี๋ เติบโตวิ่งเล่นเป็นเด็กวัดหัวเขาไปโดยปริยาย ซึ่งนั่นอาจหมายถึงคำว่าบุญวาสนาที่เป็นกุศลผลกรรมอันน่ายินดี

    ที่ในกาลต่อมา หลวงปู่ตี๋ ได้กลายมาเป็นบุตรบุญธรรมของหลวงพ่ออิ่ม ที่ท่านรักและเฝ้าฝากฝังไว้กับบรรดาพระภิกษุต่างๆ ที่มาเรียนวิชากับท่านในยุคนั้น โดยเฉพาะกับ หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ นั้น หลวงพ่ออิ่มท่านเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่ง สำหรับเด็กน้อยผู้นี้นั้นท่านเห็นแววแห่งอนาคตอันจะบังเกิดขึ้นต่อไปในภายภาคหน้า กับคำทำนายของท่านที่ว่า ต่อไปไอ้ตี๋คนนี้จะบวชไม่สึก ฝากให้ท่านมุ่ยช่วยเป็นธุระสั่งสอนถ่ายทอดวิชาให้มันด้วย แม้แต่ในหมู่ศิษย์ยุคหลังอย่าง หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม ที่มาเรียนวิชาที่วัดหัวเขา หลวงพ่ออิ่มท่านก็ไม่ลืมที่จะออกปากฝากเด็กน้อยก้นกุฏิอย่าง หลวงปู่ตี๋ ด้วย ดังปรากฏจากมรดกของหลวงพ่ออิ่มที่ท่านได้เมตตามอบตำราให้ไว้เล่มหนึ่ง โดยฝากไว้กับนายห้อยผู้เป็นบิดา บอกว่าเก็บไว้ให้ไอ้ตี๋มันด้วย

    สำหรับนายห้อยนั้นหลังจากที่เจ้าสำนักวัดหัวเขาได้ละสังขารไปเมื่อปี พ.ศ.2481 แล้ว ก็คงมีชีวิตอยู่ยืนยาวมาอีกนานหลายปี แม้จะมีอุปัทวเหตุต่างๆ หลายครั้งหลายหนก็ไม่เคยได้รับอันตรายอะไรทั้งสิ้น หลายคนเชื่อว่ามาจากวาจาสิทธิ์ที่ปรมาจารย์แห่งวัดหัวเขาได้ประสิทธิ์ประสาทพรอันศักดิ์สิทธิ์ให้ไว้ในกาลก่อนว่า ?คนอย่างมึงมันไม่ตายง่ายๆ หรอก มึงต้องอยู่รอเอาตำราให้ไอ้ตี๋มันก่อน? และนายห้อยก็ตายยากอย่างที่หลวงพ่ออิ่มว่าไว้จริงๆ ตั้งแต่ครั้งที่ตกนั่งร้านศาลาวัดท่าช้างแล้วไม่เป็นอะไร ต่อมาได้ตกนั่งร้านแถวๆ ท่าข้าม และที่ฮือฮาอย่างมากก็คือคราวขึ้นไปปั้นลายประดับบนยอดปล่องเมรุวัดหัวเขา แกก็พลัดตกลงมาจากยอดเมรุที่สูงลิ่วหล่นลงพื้นท่ามกลางสายตาผู้คนที่เห็นเหตุการณ์มากมาย มีผู้เห็นเหตุการณ์ช่วยเอายาหม่องวนจมูก บีบๆ นวดๆ เท่านั้นแกก็ฟื้นมาเฉยๆ ไม่เป็นอะไรทั้งสิ้น จนกระทั่งมาเสียชีวิตเอาเมื่อปี 2520 ในวัยใกล้ร้อยปีทีเดียว

    สำหรับ หลวงปู่ตี๋ นั้นนับตั้งแต่วันที่หลวงพ่ออิ่มมรณภาพลงในปี 2481 ซึ่งเจ้าอาวาสรูปต่อมาก็คือ พระครูอเนกคุณากร (หลวงพ่อแขก) เป็นเจ้าอาวาสวัดหัวเขา ก็ยังคงอุปถัมภ์ค้ำชู หลวงปู่ตี๋ ต่อมาโดยตลอด ทั้งสอนวิชาต่างๆ ให้โดยไม่มีปิดบัง ขณะนั้นหลวงปู่ท่านอยู่วัดหัวเขาก็เรียนหนังสือขอมพร้อมบาลี จนกระทั่งอายุได้ 15 ปี (พ.ศ.2482) ท่านก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรอยู่รับใช้หลวงพ่อแขกราว 5 พรรษา จนถึงอายุครบ 20 ปี จึงเข้าพิธี อุปสมบทที่วัดเขาพระ ต.เขาพระ อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ.2487 เวลา 09.39 น. โดยมี พระครูอเนกคุณากร (หลวงพ่อแขก) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า ฉันทธัมโม ภิกขุ อยู่วัดหัวเขาเรียนวิชากับหลวงพ่อแขกได้ 10 พรรษา

    จนล่วงถึงปี พ.ศ.2497 หลวงพ่อแขกผู้เป็นอุปัชฌาจารย์เห็นว่า อันวิชาความรู้ต่างๆ ก็มีอยู่พอจะรู้รักษาตน สามารถประคองเพศพรหมจรรย์ให้ยั่งยืนเป็นที่พึ่งแก่หมู่ชนทั้งในภายภาคหน้า จึงเห็นสมควรแก่เวลาที่จะแนะนำพระเถระสำคัญยิ่งอีกรูปหนึ่งซึ่งเป็นศิษย์รุ่นน้องของท่านเองที่กำลังเลื่องลือเกียรติคุณเป็นอย่างมากอยู่ในขณะนั้น ซึ่งนั่นก็คือ หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ อดีตพระเกจิอาจารย์นามอุโฆษแห่งเมืองสุพรรณนั่นเอง

    หลวงปู่ท่านเล่าว่า เมื่อมาถึงวัดดอนไร่ ทันทีที่เข้าไปกราบนมัสการแล้ว พระเดชพระคุณท่านหลวงพ่อมุ่ยนั้นยังคงจำหลวงปู่ได้ดี ถึงเด็กวัดก้นกุฏิอาจารย์ใหญ่วัดหัวเขาที่ท่านเคยเฝ้าฝากฝังเอาไว้ตั้งแต่ครั้งเก่าก่อน ทันทีที่กราบเรียนแจ้งความประสงค์กล่าวถึงองค์อาจารย์ผู้แนะนำให้มาหา ?เพียงเพื่อแวะมากราบนมัสการโดยที่ยังไม่ได้ตระเตรียมดอกไม้ธูปเทียนมาให้ทันกับวันเวลา ครั้นถึงเวลาหน้าเกล้ากระผมจะกลับมาใหม่? แต่ด้วยเมตตาธรรมแห่งพระเดชพระคุณหลวงพ่อมุ่ยผู้มากล้นเปี่ยมไปด้วยพรหมวิหารธรรม ก็ไม่รอช้าจูงมือภิกษุหนุ่มที่นั่งพนมมืออยู่ตรงหน้าเข้ากุฏิเริ่มสอนวิชาให้ในทันที โดยที่ยังไม่ทันได้เตรียมดอกไม้ธูปเทียนมาแม้แต่กำเดียว ว่ากันว่าอันสรรพวิชาต่างๆ ที่บังเกิดมีและปรากฏให้เห็นเป็นองค์วิชาอันเข้มขลังและอัศจรรย์ใจในภาพของ หลวงปู่ตี๋ ที่เราทั้งหลายทั้งปวงรู้จักกันนั้น เริ่มปรากฏแสงอันเรืองรองมาจากพื้นฐานที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อมุ่ยเป็นผู้ปูพื้นฐานวางไว้ให้ทั้งสิ้น ตั้งแต่การสำเร็จกสิณไฟเป็นเบื้องต้นจนถึงการปลุกเสกอักขระเลขยันต์แคล้วคลาดคงกระพันมหาอุดสารพัดสุดจะพรรณนา ก็ล้วนแต่สำเร็จมาจากสรรพวิชาการอบรมวางพื้นฐานจากพระเดชพระคุณหลวงพ่อมุ่ยทั้งสิ้น ท่านคร่ำเคร่งฝึกฝนกับหลวงพ่อมุ่ยอยู่นานราว 8 ปี

    ล่วงเข้าปี พ.ศ.2505 หลวงปู่ตี๋ ในขณะนั้นก็เจริญก้าวหน้าในสรรพวิชาต่างๆ แก่กล้าเจนจบในวิชาอาคมสูงส่งจนเป็นที่พอใจของอาจารย์ ซึ่งเริ่มปรากฏความขลังทางด้านนี้มาตั้งแต่ยังเป็นพระลูกวัดอยู่ที่หัวเขาในยุคหลวงพ่อแขกยังอยู่ด้วยซ้ำไป ที่เล่าลือกันก็คือเรื่องที่ หลวงปู่ตี๋ ได้ใช้วิชาอาคมอำนาจแห่งจิตอันแก่กล้าอันเป็นผลจากการฝึกฝนมาจนชำนาญจากรากฐานวิชาแห่งพระเดชพระคุณหลวงพ่อมุ่ยนั้น ปราบเปรตที่วัดหัวเขาจนสิ้นฤทธิ์ ซึ่งชาวบ้านมักเรียกกันว่า เปรตต้นสำโรง อันเป็นสถานที่สิงสู่ที่อยู่ท้ายวัดติดกับป่าช้าที่น่าสะพรึงกลัว โดยมักปรากฏว่ามีเปรตเที่ยวหลอกหลอนผู้คนจนเข็ดขยาดไปตามๆ กัน ค่ำคืนหนึ่ง หลวงปู่ตี๋ ออกมาเดินจงกรมรออยู่ที่ต้นสำโรง ดังที่ท่านคาดไว้ไม่ผิด เพียงเวลาผ่านไปไม่นานก็ปรากฏร่างเปรตตนหนึ่งสำแดงตนขึ้นมาต่อหน้า ร่างกายสูงใหญ่จนพ้นยอดสำโรงส่งเสียงร้องโหยหวนชวนให้น่าหวั่นไหวเป็นอย่างยิ่ง ด้วยจิตที่สงบนิ่งอันมาจากการฝึกฝนมาอย่างดียิ่ง ภาพที่ปรากฏเบื้องหน้านั้น ไม่ได้ทำให้หลวงปู่ท่านหวั่นไหวแม้แต่น้อย ท่านเอาไฟฉายส่องขึ้นไปดูพอเห็นหน้าเปรตที่ยืนค้ำทะมึนอยู่ก็จำได้ว่าเป็นบรรพบุรุษของชาวบ้านแถวๆ นั้นนั่นเอง ซึ่งท่านเคยรู้ว่าสมัยที่ยังมีชีวิตอยู่มักมีเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์สินของวัดที่ชอบยักยอกขโมยหยิบฉวยเอาไปไว้ที่บ้านอยู่เป็นอาจิณ พอหมดดับจิตสิ้นชีวิตจากความเป็นมนุษย์ที่สูงส่ง ผลแห่งกรรมอันหนักหนาก็ยังผลให้ไปเป็นเปรตอยู่ไปนานนับกัปกัลป์ ทันทีที่ท่านเห็นหน้าคนที่เคยรู้จักในร่างเปรตก็ปลงสังเวชในเวรกรรมที่มันต้องมาชดใช้ หลวงปู่ท่านแผ่เมตตาให้จนกระทั่งเสียงร้องโหยหวนนั้นค่อยๆ พลันจางหายไป

    คืนนั้นหลวงปู่ท่านเลือกเอากุฏิหลังหนึ่งเป็นที่จำวัด เนื่องจากเหตุที่ว่าอยู่ใกล้ต้นสำโรงที่ว่า กุฏิหลังนี้จึงไม่ค่อยมีใครกล้ามาเหยียบ ภาพที่จะบรรยายได้ก็คือกุฏิไม้ทรงไทยโบราณที่เก่าแก่แทบทุกหลังนั้น น่าแปลกอยู่อย่างหนึ่งก็คือ ทุกๆ ห้องจะต้องมีไม้กระดานพาดอยู่บนขื่อเป็นทางเดินระหว่างจั่วอยู่แทบทุกหลัง พอหลวงปู่กลับขึ้นกุฏิเพื่อเข้าจำวัดจัดแจงปัดกวาดสถานที่เรียบร้อยสวดมนต์แผ่เมตตาเสร็จก็เตรียมตัวจำวัด ขณะเอนกายลงนอนหันหน้าขึ้นมองหลังคา พลันสายตาก็เห็นผีสองตัวนั่งชันเข่าอยู่บนขื่อ ไอ้ตัวแรกไต่ตามไม้กระดานที่พาดนั้น ค่อยๆ กระเถิบมาเรื่อยดูผมเผ้าของมันยาวรุงรังคลุมเลยหน้ายาวลงมาคลุมกระดานเป็นที่น่าเกลียดน่ากลัว พอมันคลานมาถึงตำแหน่งที่หลวงปู่นอนไอ้ผีตัวแรกก็กระโดดลงใส่ทันที ฉับพลันก่อนที่มันจะถึงตัวหลวงปู่ท่านก็พลิกหนี เสียงมันกระแทกพื้นดังโครมสนั่น ทันทีที่หลบทันท่านก็คว้าผ้าไตรที่วางอยู่หันกลับมาฟาดมันอย่างแรง ไอ้ผีสองตัวทั้งที่อยู่บนพื้นและที่อยู่บนขื่อก็พลันหายจ้อย หลวงปู่เล่าว่าขนาดแผ่เมตตาให้แล้วมันยังไม่เลิกรา ไหนๆ กูก็ศิษย์มีครูเล่นกับกูอย่างนี้ ท่านก็เลยทำวิชาผูกผีเสียในคืนนั้น หลวงปู่ว่าวิชาที่ท่านใช้มัดและอำนาจมนต์ที่ท่านลงกำกับเอาไว้นั้นจะคงอยู่ไปอีกนานแสนนาน จนกว่าผีเปรตทั้งสองนั้นจะสิ้นกรรมที่เคยทำมา จบเรื่องเปรตต้นสำโรงในคืนนั้นก็ไม่เคยปรากฏว่ามีผู้ใดได้พบเห็นเหตุการณ์ใดๆ อีกเลย

    ต่อมาอีกครั้งที่หอสวดมนต์วัดหัวเขาซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าผีดุเหลือจะกล่าว พระเจ้ามันหลอกไม่มีเว้น เมื่อเล่าถึงเรื่องนี้ก็ต้องขยายไปถึงต้นเรื่องที่ มหาตู่ หรือ นายปฐวี น้ำแก้ว ผู้เป็นศิษย์เอกของ หลวงปู่ตี๋ ในปัจจุบันนี้ได้กรุณาให้ข้อมูล จึงต้องลำดับที่มากันก่อน เนื่องจากมหาตู่ผู้นี้นั้นแกเป็นเด็กวัดหัวเขามาตั้งแต่หัวเท่ากำปั้น สาเหตุก็เนื่องจาก นายยอด น้ำแก้ว ผู้เป็นบิดาของมหาตู่นั้นได้ตัดสินใจสละเพศฆราวาสโดยออกเรือนมาบวชที่วัดหัวเขา แกบวชอยู่นานจนชาวบ้านเรียกกันว่า อาจารย์ยอด บวชนานจนกระทั่งได้เป็นคู่สวดของหลวงพ่อแขกในเวลาต่อมา มหาตู่ก็เลยกลายมาเป็นเด็กวัดอยู่กับบิดา แปลกอยู่อีกอย่างหนึ่งก็คือมหาตู่นั้นเป็นเด็กที่ชอบท่องคาถาสนใจวิชาอาคม จนผู้เป็นบิดาคือ อาจารย์ยอด เห็นแววเรื่องคาถาอาคมก็เลยยกให้เป็นศิษย์ อาจารย์ตี๋ ที่อยู่ร่วมสำนักกัน เพราะในขณะนั้น หลวงปู่ตี๋ ยังไปๆ มาๆ ระหว่างวัดหัวเขากับวัดดอนไร่ เพื่อพากเพียรเรียนวิชาอยู่นานหลายปี ถึงเวลาที่ อาจารย์ตี๋ มาวัดดอนไร่คราใด เด็กชายตู่ครั้งนั้นก็กลายเป็นศิษย์ติดตามสะพายย่ามให้ อาจารย์ตี๋ แทบทุกครั้ง สำหรับ อาจารย์ตี๋ นั้นถึงแม้จะเป็นแค่พระลูกวัดธรรมดาๆ แต่หากว่านับเอาวิชาอาคมหรือว่าสมาธิจิตแล้วนั้น พระภิกษุหนุ่มอย่าง อาจารย์ตี๋ ในเวลานั้นไม่เป็นรองใครในวัดหัวเขาทั้งสิ้น

    แม้แต่กระทั่งหลวงพ่อแขกผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ก็ตามที ดังเรื่องที่ท่านต้องส่งมาเรียนวิชากับหลวงพ่อมุ่ยดังที่กล่าวไว้ในตอนต้น สำหรับหลวงพ่อแขกนั้นแม้จะเป็นศิษย์รุ่นพี่โดยที่หลวงพ่อมุ่ยเป็นเพียงศิษย์รุ่นน้อง แต่ความแก่กล้าในวิชาอาคมนั้นท่านยกย่องยอมรับหลวงพ่อมุ่ยมาตั้งแต่ต้นจนเป็นที่รู้กันในหมู่ศิษย์วัดหัวเขารุ่นเก่ากันมาว่า ในบรรดาศิษย์หลวงพ่ออิ่มทั้งหมดนั้นหลวงพ่อมุ่ยนับว่าเป็นเลิศกว่าศิษย์ร่วมสำนักทั้งปวง แม้แต่หลวงพ่ออิ่มผู้เป็นอาจารย์ยังออกปากถึงความเป็นเลิศดังกล่าว ดังมีปรากฏในสมุดบันทึกหลวงพ่ออิ่มที่ อาจารย์ตี๋ ได้รับมาเป็นมรดกนั้นก็ยังกล่าวยกย่องถึงท่านมุ่ยวัดดอนไร่ไว้หลายครั้งหลายตอน จึงไม่แปลกที่ หลวงปู่ตี๋ ในฐานะศิษย์วัดดอนไร่จะทำให้เสียชื่อเสียง ครั้งหนึ่งอาจารย์ยอดขึ้นไปนั่งสานตะกร้าบนหอสวดมนต์ ขณะที่กำลังนั่งสานตะกร้าเพลินๆ ก็เห็นผีตัวหนึ่งขึ้นไปนั่งอยู่บนไม้กระดานที่พาดอยู่บนขื่อ เดี๋ยวนั่ง เดี๋ยวไต่ ไปตามไม้กระดาน มันทำอยู่นานจนเห็นว่าไม่กลัวก็ออกมาโผล่หน้าที่ช่องหน้าต่างแทน อาจารย์ยอดเริ่มรำคาญก็เอาตะกร้าที่กำลังสานอยู่ตีที่หน้ามันหลายครั้ง ตีจนกระทั่งก้นตะกร้ายุบผีมันก็ยังไม่หนี แกจึงลงมาตาม หลวงปู่ตี๋ ไปจัดการเพราะรำคาญเต็มทน หลวงปู่ท่านชวนมหาตู่ขึ้นมาที่หอสวดมนต์ด้วยกัน จัดแจงเอาเทียนสองเล่มมาปักบนพื้นแล้วนั่งสมาธิเพ่งไปยังเปลวเทียน ชั่วครู่เปลวเทียนที่สงบนิ่งก็พลันเริ่มสว่างและพุ่งสูงขึ้นเป็นลำดับจนกระทั่งสว่างไสวไปทั่วบริเวณ เปลวเทียนพุ่งสูงถึงหลังคาหอสวดมนต์ จากนั้นก็หักมุมออกไปด้านข้างพุ่งเปลวอันร้อนแรงออกไปยังหน้าต่าง มหาตู่ขณะนั้นยังเป็นเด็กน้อยไม่ค่อยรู้อะไรเอาแต่นั่งเกาะเอวหลวงปู่ด้วยความกลัว เมื่อเห็นเหตุการณ์ก็เดาเอาว่าหลวงปู่น่าจะเพ่งกสิณไฟเพื่อไปเผาผี เพราะนับจากนั้นเป็นต้นมาก็ไม่มีใครพบเห็นผีที่หอสวดมนต์อีกเลย

    หลวงปู่เฝ้าพากเพียรเดินทางไปมาหาสู่ยังวัดดอนไร่มิได้ย่อท้อนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2497 เป็นต้นมา ด้วยความที่มากด้วยพรรษาคุณธรรมมโนธรรมที่สั่งสมอบรมมาโดยลำดับ ยังเป็นที่วางใจในองค์อาจารย์เป็นอย่างยิ่งและในฐานะศิษย์รักท่านสั่งสอนมากับมือ ถึงเวลาที่จะต้องส่งเสริมให้เจริญก้าวหน้าในวิทยฐานะที่คู่ควร จนกระทั่งในปี 2509 วัดกระเสียวขาดเจ้าอาวาสที่จะปกครอง หลวงพ่อมุ่ยในฐานะเจ้าคณะตำบลหนองสะเดาได้ส่ง หลวงปู่ตี๋ มาเป็นเจ้าอาวาสวัดกระเสียว ซึ่งเป็นวัดหนึ่งในเขตปกครองของท่าน วัดกระเสียวเป็นวัดที่มีทำเลดีมีอาณาเขตติดกับ อ.เดิมบางนางบวช โดยมีคลองกระเสียวเป็นเส้นแบ่งเขตอำเภอ เมื่อหลวงปู่ไปอยู่ก็มีผู้เคารพนับถือทางเครื่องรางของขลังมากเป็นลำดับ เวลาที่มีชาวบ้านแถบวัดกระเสียวมาหาหลวงพ่อมุ่ยท่านก็มักเปรยๆ ให้ฟังเสมอว่า ?ที่กระเสียวก็มีดอกบัวบานอยู่ทำไมไม่ไปหากัน? แต่ด้วยความแตกต่างระหว่างหลวงพ่อมุ่ยนั้นท่านเป็นพระที่พูดน้อยหรือแทบไม่พูดเลยและเต็มเปี่ยมไปด้วยเมตตาธรรมอย่างล้นเหลือ ซึ่งยังไม่นับอำนาจตบะเดชะความแก่กล้าแห่งจิตตานุภาพที่ยิ่งใหญ่เป็นอย่างมาก จนยากที่จะหาพระเถระรูปใดๆ มาเทียบเคียงได้เสมอเหมือน

    เมื่อตอนที่ พระปลัดทวี วัดบ้านกร่าง สร้างพระขุนแผนรุ่นจงอางศึก และรุ่นกองพลเสือดำนั้น ได้นิมนต์ หลวงพ่อมุ่ย ไปร่วมพิธีพุทธาภิเษก ปรากฏว่าท่านนั่งเสกอยู่นานเสกเสร็จเป็นรูปสุดท้าย พอลืมตาขึ้นก็เอามือตบเข่าเบาๆ พระขุนแผนที่กองอยู่นั้นก็กระเด็นซู่ซ่ากระจายเป็นวงกว้างอยู่ตรงเบื้องหน้าท่านเป็นรัศมี ด้วยอำนาจแห่งจิตของท่านครั้งนั้นเป็นที่อัศจรรย์แก่ผู้มาร่วมพิธีเป็นอย่างยิ่ง แม้แต่พระเถระต่างๆ ที่มาร่วมพิธีในครั้งนั้น ก็ยังอดไม่ได้ที่จะเดินมาหยิบพระขุนแผนที่ว่า โดยเลือกเอาเฉพาะตรงหน้าหลวงพ่อมุ่ยที่กระเด็นขึ้นมานั้นใส่ย่ามไปเป็นกำมือ ซึ่งนั่นคือเศษเสี้ยวหนึ่งเท่านั้นสำหรับหลวงพ่อมุ่ยเมืองสุพรรณผู้ยิ่งใหญ่

    ท่านมรณภาพเมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ รวมอายุได้ ๘๕ ย่าง ๘๖ ปี พรรษาที่ ๖๕ ที่วัดท่ามะกรูด
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    เหรียญรุ่น 2 หลวงปู่ตี๋วัดท่ามะกรูดให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาท เหรียญนี่ออกวัดเดิมของท่าน วัดเขาเขียว
    IMG_20230330_155007.jpg

    IMG_20230330_155019.jpg
     
  19. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,812
    ค่าพลัง:
    +21,353
    เหรียญรุ่นแรกของหลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ

    เหรียญรุ่นนี้สร้างฉลองอายุ 80 ปี ของหลวงปู่หงษ์ ในปี 2541 พร้อมกันนั้นเป็นการสร้างเพื่อหาทุนในการซื้อที่ดินปลูกป่า เเละสร้างเเหล่งน้ำเพื่อเป็นที่อยู่ของสัตว์นานาชนิด เหรียญนี้ใช้เวลาปลุกเสก 1 ปีเต็ม วัตถุมงคลชุดนี้เป็นวัตถุมงคลที่หลวงปู่มีความตั้งใจสร้างเป็นพิเศษ ดังคำกล่าวที่ท่านได้กล่าวไว้ว่า พระชุดนี้สร้างให้เป็นพิเศษดีกว่าทั้งหลาย ทำแล้วต้องช่วยชีวิตเขาได้ เเละในคราวพุทธาภิเษก ได้เกิดเหตุการณ์อัศจรรย์ รอบๆมลฑลพิธี ตั้งเเต่เริ่ม จนจบพิธี
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    เหรียญเสมารุ่น ๑ ขุดสระหลวงปู่หงษ์ให้บูชา 12,000 บาทครับ เก็บมาตั้งแต่สมัยยุคแรกๆ ใกล้จะ30 ปีแล้วนะครับ(ปิดรายการ)

    IMG_20230330_213126.jpg IMG_20230330_213145.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 เมษายน 2023
  20. j999

    j999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    4,989
    ค่าพลัง:
    +5,400
    ขอจองครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...