เรื่องเด่น เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๖๕

ในห้อง 'หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน' ตั้งกระทู้โดย iamfu, 30 มกราคม 2022.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    20,251
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,605
    ค่าพลัง:
    +26,456
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๖๕


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    20,251
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,605
    ค่าพลัง:
    +26,456
    วันนี้ตรงกับวันอาทิตย์ที่ ๓๐ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของคนไทยเชื้อสายจีน เรียกกันง่าย ๆ ว่า "วันจ่าย" ตรงกับวันที่ ๒๙ ของคนจีน ส่วนพรุ่งนี้จะเป็น "วันไหว้" ซึ่งตรงกับวันที่ ๓๐ สิ้นเดือน แล้วก็เป็นวันสิ้นปีของจีนด้วย หลังจากนั้นก็เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งตรงกับวันที่ ๑ ของจีน คนไทยเราเรียกง่าย ๆ ว่า "วันเที่ยว" ความจริงคนจีนเรียกว่า "วันถือ" ก็คือ มีเคล็ดว่าต้องไม่ทำโน่นไม่ทำนี่อะไรหลายอย่างด้วยกัน

    ในการถือเคล็ดถือลางต่าง ๆ ของคนไทยเชื้อสายจีนก็คล้าย ๆ กับพวกเรา อย่างเช่นว่า ถ้าเลข ๙๕ ของจีนก็ถือว่าสูงสุด เป็นเลขจักรพรรดิ ซึ่งกระผม/อาตมภาพก็แปลกใจว่า ๙ กับ ๕ บวกกันได้ ๑๔ ก็เป็นกำลังจักรพรรดิตามตำราหมอดูเหมือนกัน ถ้าหากว่าเป็นเลข ๘ ของจีน ก็ถือว่าเป็นเลขแห่งความเจริญรุ่งเรือง ถ้าคุณไปประเทศจีน จะปวดหัวกับค่าห้องพัก ๑๘๘ หยวน ๒๘๘ หยวน ๓๘๘ หยวน เหล่านี้เป็นต้น คล้าย ๆ กับที่บ้านเราอะไร ๆ ก็ต้องลงด้วย ๙ ซึ่งกระผม/อาตมภาพเรียกว่า "ไอ้พวกไม่เต็มบาท" อีกบาทเดียวก็ให้ไม่ได้..!

    ในส่วนนี้ถ้าหากว่าเป็นสมัยก่อน วันตรุษจีนแต่ละทีกรุงเทพฯ แทบจะร้าง เอาเป็นช่วงก่อนกระผม/อาตมภาพบวชก็แล้วกัน ประมาณ ๓๐ กว่าปี เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าคนจีนจะปิดกิจการหมด แจกเงินขวัญถุง ที่เขาเรียกว่า "แต๊ะเอีย" ไอ้เงินผูกเอว สมัยก่อนเขาใส่ถุงแล้วก็ผูกไว้กับเอว แล้วก็ปล่อยคนงานกลับบ้านกัน

    ตรุษจีนแต่ละทีกรุงเทพฯ เหมือนกับเมืองร้าง สมัยนี้ตรุษจีนมีความสำคัญน้อยลง เพราะว่าคนไม่ค่อยจะถือตามแล้ว ก่อนหน้านี้ถ้าหากว่าหยุดตรุษจีน ก็จะไปเปิดกิจการวันที่ ๖ ก็แปลว่าหยุดกันเป็นอาทิตย์ เนื่องจากว่าหยุดตั้งแต่ ๒๙ คือวันจ่าย ๓๐ คือวันไหว้ แล้วก็ยาวไป ไปเปิดวันที่ ๖ รวมหัวท้ายก็ได้หยุดถึง ๗ วันเต็ม ๆ

    พอความสำคัญน้อยลง บ้านเราก็ยังเหลืองานสงกรานต์ เหตุที่งานสงกรานต์มีความสำคัญมาก ก็เพราะว่าปัจจุบันนี้พี่น้องไทยอีสานไปอยู่ทั่วโลก ไม่ใช่อยู่แค่ทั่วประเทศไทย โดยเฉพาะบรรดาหนุ่มสาวโรงงาน ถึงเวลาก็หาโอกาสกลับบ้าน รดน้ำดำหัวญาติพี่น้องของตนเอง ต่อให้เถ้าแก่ไม่หยุดสงกรานต์ก็ต้องหยุดโดยปริยาย เพราะว่าลูกน้องไปบ้านหมด ระยะหลังสงกรานต์อาจจะสำคัญน้อยลงไปอีกก็ได้ เพราะว่าปัจจุบันนี้คนงานส่วนใหญ่กลายเป็นพี่น้องมอญพม่าแทน
     
  3. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    20,251
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,605
    ค่าพลัง:
    +26,456
    คราวนี้การถือโชคลางต่าง ๆ ก็อย่างที่พวกท่านเห็นว่าเวลาเดินบิณฑบาต กระผม/อาตมภาพจะพยายามตัดข้ามถนนให้น้อยที่สุด เนื่องเพราะว่าถ้าข้ามถนนเมื่อไร แล้วไปเจอพี่น้องมอญพม่าเข้า เขาก็จะรอจนกว่าพระข้ามหมดแล้วถึงจะขับรถต่อ เนื่องเพราะเขาเชื่อว่าถ้าไปตัดแถวพระเข้า จะเกิดอุปสรรคในการทำมาหากิน พอพวกเราข้ามถนนกันทีหนึ่งก็ทำเอารถติดกันทั้งเมือง เพราะว่าแถวยาวมาก

    แต่คราวนี้ช่วงสุดท้าย ก่อนที่จะมาถึงบ้านพักตำรวจ ไม่ข้ามก็ไม่ได้ เพราะว่าคนใส่บาตรซ้ายบ้างขวาบ้าง ซ้ายบ้างขวาบ้าง แล้วก็ไม่เคยคิดที่จะไปรวมกันใส่ในที่เดียว ถ้าเป็นวันเสาร์อาทิตย์ นักท่องเที่ยวมาก ๆ ก็รถติดน่าดู กลายเป็นว่าพระเราทำให้คนอื่นเขาเดือดร้อน..!

    เรื่องของเคล็ดเรื่องของลางพวกนี้ บางอย่างก็ต้องบอกว่า ถ้าไม่เกินความจำเป็น ไม่เกินวิสัย ก็ถือเอาไว้สักหน่อย อันดับแรกเลยก็เพื่อความสบายใจ อันดับที่สองก็คือ เรื่องของการถือฤกษ์ถือยาม เหมือนกับการข้ามถนน เวลาว่างจากรถก็ปลอดภัยแน่นอน แต่ก็อย่างว่า....คนเก่ง ๆ รถมาก ๆ ก็ข้ามถนนได้ แต่ถ้าวันไหนพลาดก็เดี้ยง..!


    โดยเฉพาะในเรื่องของพระภิกษุสามเณรของเรา การบวชไม่จำเป็นต้องดูฤกษ์ การบวชเป็นการออกจากที่ร้อนไปสู่ที่เย็น เร็วเท่าไรก็เป็นคุณแก่ตัวเท่านั้น แต่การสึกเป็นการออกจากที่เย็นไปสู่ที่ร้อน ดูฤกษ์ไว้สักหน่อยก็ดี


    แต่ถ้ามากจนเกินไป อย่างสมัยที่กระผม/อาตมภาพไปดูแลหลวงปู่มหาอำพันที่วัดเทพศิรินทราวาส อันนั้นก็เกินไป ไปให้หมอดูฤกษ์สึก ได้มาตอนตี ๒ กว่า แล้วทางด้านโน้นเขานิยมว่า ถ้าจะสึกก็คือต้องอาบน้ำมนต์ด้วย เวลาตี ๒ กว่า ๆ นุ่งผ้าขาวม้าผืนเดียว ตักน้ำมนต์ทั้งถังราดลงไป อย่าลืมว่าเขาสึกหลังออกพรรษา ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือเดือนพฤศจิกายน ธันวาคม..หนาวตายชัก..!

    แค่นั้นยังไม่พอ ยังต้องออกจากวัดทางทิศเหนือ ปรากฏว่าทางทิศเหนือของวัดเทพศิรินทราวาสไม่มีประตู มีแต่รั้ว..ปีนรั้วไปก็ไปหล่นอยู่ในบ้านของชาวบ้าน หมาไล่ฟัดเกือบตาย..! ถ้าหากว่าลำบากขนาดนั้นก็ลด ๆ ลงบ้างก็ได้ แต่ถ้าไม่ลำบากมากก็ถือเอาไว้สักนิดหนึ่ง
     
  4. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    20,251
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,605
    ค่าพลัง:
    +26,456
    เสียดายที่วา ญาติโยมที่มาเที่ยวตรุษจีนแล้วมาบูชาวัตถุมงคล ดันต้องการรุ่นที่ตัวเลขเป็นมงคลแล้วกระผม/อาตมภาพก็ไม่มีให้ รุ่นตัวเลขเป็นมงคลต้องไปโน่น...วัดสี่แยกเจริญพร พวกเราน่าจะเคยเจอ รุ่นรวมพุทธคุณ ๑๖๘ นั่นแหละ...

    เลข ๑ ภาษาจีนกลางอ่านว่า อี๋ เปรียบเทียบกับความเป็นที่หนึ่ง เลข ๖ เขาว่า ลิ่ว คล้ายคลึงกับคำว่า กำลัง ของเราถึงเวลาให้พร "อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง" มีกำลัง มีความแข็งแรง ใคร ๆ ก็ต้องการ ส่วนเลข ๘ จีนกลางเขาว่า ปา นั้นไม่ชัดเจน แต่ถ้าหากว่าแต้จิ๋วอ่านว่า โป้ย หรือถ้าหากว่าเป็นฮกเกี้ยนอ่านว่า ปัด ตัวนี้คล้ายคลึงกับคำว่าเจริญรุ่งเรือง ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าพระครูเทพท่านอธิบายได้หรือเปล่าว่า เลข ๑๖๘ มาจากไหน ? แต่ทำเหรียญไปเรียบร้อยแล้ว

    แต่ว่ารุ่นเหรียญนี้กระผม/อาตมภาพก็ให้เขาไปเลี่ยมทองไว้ ปรากฏว่าพระครูเทพใส่มาเสียเต็มที่ เนื่องจากเลี่ยมทองแล้วยังประดับเพชรมาด้วย ไม่รู้ว่าเหรียญราคาเท่าไร ? แต่ค่าเลี่ยมเขาส่งบิลมาสองแสนกว่าบาท เลี่ยมทีจนไปทั้งชาติเลย..!

    ดังนั้น...ถ้าหากว่าใครต้องการวัตถุมงคลที่เป็นตัวเลขมงคลก็โน่น ไปบูชาที่วัดสี่แยกเจริญพร น่าจะชื่อ "รุ่นรวมพุทธคุณเจริญพร ๑๖๘" จำไม่ค่อยได้เหมือนกัน เพราะว่าเสกมาหลายปีแล้ว และที่แน่ ๆ ก็คือท่านอาจารย์เทพเป็นประเภทเข้าพิธีทุกครั้งทุกงานที่ผ่านมาเหมือนกัน ไม่รู้จะพอเหลือติดวัดบ้างหรือเปล่า ? เพราะว่าพรุ่งนี้เป็นวันไหว้ ปกติถ้าคนไทยเราไม่ถือสาหรอก เทศกาลไหนก็เที่ยวได้หมด น่าจะมีญาติโยมวิ่งไปหาที่วัดโน้นบ้าง

    แต่ของวัดเรา ช่วงเดือนนี้ก็อัศจรรย์อยู่อย่างหนึ่ง ก็คือกระผม/อาตมภาพเองต้องให้ทุนการศึกษาทุกวันวิสาขบูชา ปีที่แล้วก็ให้ไปสองล้านกว่า เกือบสามล้านบาท ปีนี้ยังไม่ทันจะตั้งกระทู้บอกบุญญาติโยม ปรากฏว่ามีคนบูชาเหรียญทองคำรัชกาลที่ ๕ ไปเป็น ๑๐ เหรียญเลย พูดง่าย ๆ ว่า ถ้าหากว่าต้องการสักสามล้าน ก็ได้มา ๑ ใน ๓ แล้ว
     
  5. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    20,251
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,605
    ค่าพลัง:
    +26,456
    จะว่าไปแล้ว เหรียญรัชกาลที่ ๕ ถือว่าเป็นเหรียญที่เสกนานที่สุด เนื่องจากว่าตอนที่ทำก็คือประมาณปี ๒๕๕๘ เสร็จแล้วก็รอหนังสืออนุญาตจากสำนักพระราชวัง รอไปเถอะ...ปีแล้วปีเล่าไม่มาเสียที ก็เข้าพิธีไปเรื่อย ต้องบอกว่าเป็นวัตถุมงคลที่เข้าพิธีมากที่สุดของวัดท่าขนุน ปรากฏว่าสร้างวิทยาลัยสงฆ์กาญจนบุรีศรีไพบูลย์เกือบจะเสร็จแล้ว เพิ่งจะได้รับอนุญาตให้ออกบูชาได้ กลายเป็นของดีที่คนไม่ค่อยเห็นคุณค่า

    ถามคนที่เขาบูชาว่าเอาไปทำอะไร ? เขาบอกว่าตั้งแต่ได้ไปกิจการงานทุกอย่างมีความคล่องตัวมาก แล้วไอ้ที่บ้าที่สุดก็คือครอบครัวนี้ไม่ใช่คนรวย กัดฟันบูชาเหรียญราคา ๗๕,๐๐๐ บาทไป ปรากฏว่าพอกิจการดี ผัวเมียก็เลยจะตีกัน..! เพราะว่าต่างคนต่างขอพกเหรียญก่อน ท้ายสุดก็เลยตกลงกันมาบูชาเพิ่มอีกหนึ่งเหรียญ
    กระผม/อาตมภาพก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเขาต้องอดข้าวไปอีกกี่มื้อ เพราะว่าดันไปเอาเหรียญทองคำ ซึ่งเหรียญทองคำก็สร้างไว้แค่ ๓๐๐ เหรียญ ซึ่งต้องบอกว่าใกล้จะหมดอยู่แล้ว

    คราวนี้ตรงจุดที่ว่าก็คือช่วงเทศกาลตรุษจีน ถ้าเราไม่ถือมงคลตื่นข่าว ก็เหมือนกับวันทั่ว ๆ ไป แต่คราวนี้ถ้าหากว่าเราถือมงคล ก็จะมีวันจ่าย วันไหว้ วันถือ ตามปกติ ถ้าไม่ลำบาก ทำแล้วรู้สึกว่าสบายใจก็ทำเถอะ แต่ถ้าทำแล้วรู้สึกว่าลำบากก็ทำไม่รู้ไม่ชี้บ้างก็ได้


    ส่วนใครที่ไหว้บรรพบุรุษแล้วไม่สบายใจ เพราะว่าดันรู้มากว่า ไหว้ไปบรรพบุรุษก็ไม่ได้กิน ก็อย่าเพิ่งไปคัดค้านผู้ใหญ่ แต่พอถึงเวลาไหว้เจ้าเสร็จแล้ว ก็ให้เราไปถวายสังฆทานต่อ แบบที่ท่านทั้งหลายมาถวายในวันนี้ แต่ว่าขอให้เวรสังฆทานทำหน้าที่ตัวเองให้เต็มที่ตามปกติ ยกเว้นว่าคนไหนที่รู้ว่ากระผม/อาตมภาพนั่งรับสังฆทานอยู่ตรงนี้ เขาเดินเปะปะเลยมาถึง ค่อยเป็นหน้าที่กระผม/อาตมภาพรับผิดชอบไป

    วันนี้ก็ขอเรียนถวายพระภิกษุสามเณรของเรา และบอกกล่าวแก่ญาติโยมแต่เพียงเท่านี้

    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน
    วันอาทิตย์ที่ ๓๐ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๖๕
    (ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย เผือกน้อย)
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...