เรื่องเด่น พระกังขาเรวตเถระ ผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้ยินดีในฌาน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 11 กันยายน 2020.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,049
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,583
    พระกังขาเรวตเถระ ผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้ยินดีในฌาน

    พระมหาเถระที่ชื่อ “เรวตะ” นี้ในพระบาลีมีอยู่ ๒ รูป คือ

    ๑. พระกังขาเรวตะ เอตทัคคะผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้ยินดีในฌาน และ

    ๒. พระเรวตขทิรวนิยเถระ เอตทัคคะมหาสาวกเลิศทางผู้อยู่ป่าเป็นวัตร

    ประวัติในตอนนี้เป็นเรื่องของพระกังขาเรวตเถระ ผู้ได้รับการแต่งตั้งจากพระบรมศาสดา ให้เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้ยินดีในฌาน และการที่พระพุทธองค์ทรงแต่งตั้งท่านให้เป็นเอตทัคคะเช่นนั้น นอกจากเหตุที่ ท่านได้เข้าสมาบัติเป็นส่วนมาก มีความชำนาญอันสั่งสมไว้ในฌานทั้งหลาย ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน แล้ว เท่านั้น แต่ยังเนื่องจากท่านได้ตั้งความปรารถนาไว้ตลอดแสนกัป อีกด้วย ตามเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับดังต่อไปดังนี้

    ความปรารถนาในอดีต

    กระทำมหาทานแด่พระปทุมุตตระพุทธเจ้า

    ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมมุตตระ ท่านได้บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ แห่งกรุงหังสวดี ครั้นเติบใหญ่เรียนจบไตรเพทแล้ว วันหนึ่งท่านได้ไปยังสำนักของพระปทุมมุตตระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อฟังธรรม ได้เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่ง ไว้ในตำแหน่งที่เลิศกว่าเหล่าภิกษุผู้ยินดีในฌาน ท่านปรารถนาจะได้ตำแหน่งนั้นบ้าง จึงได้ถวายมหาทานแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานตลอด ๗ วัน ครั้นเมื่อครบ ๗ วันแล้ว จึงตั้งความปรารถนาของตนกับพระพุทธองค์ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อ ๗ วันก่อนนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงได้สถาปนาภิกษุองค์ใดไว้ในตำแหน่งที่เลิศกว่าเหล่าภิกษุผู้ยินดีในฌาน ในอนาคตกาล ข้าพระองค์ก็พึงเป็นเหมือนภิกษุรูปนั้น คือ พึงเป็นผู้เลิศกว่าเหล่าภิกษุผู้ยินดีในฌาน ในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูด้วยอนาคตังสญาณแล้ว ทรงทราบว่าความปรารถนาของเขาจักสำเร็จผล จึงทรงพยากรณ์ว่า ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ พระศาสดามีพระนามชื่อว่าโคดม ซึ่งสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ท่านจักได้เป็นธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น เป็นสาวกของพระศาสดา มีนามชื่อว่าเรวตะ ในอนาคตกาล เขาจักเกิดในสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าโคดม ในชื่อว่า เรวตตะ ท่านจักได้ฐานันดรนี้สมดังมโนรถความ ปรารถนา ทรงพยากรณ์ดังนี้แล้วเสด็จกลับ

    เขาได้ทำบุญไว้เป็นอันมากจนตลอดอายุ จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ได้บังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์


    **********************************************************************************************

    กำเนิดในสมัยสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโคตมะ

    พระกังขาเรวตะ เป็นบุตรเศรษฐี ในเมืองสาวัตถี เดิมชื่อว่า “เรวตะ” เป็นผู้มีศรัทธา
    ในพระพุทธศาสนาเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ทั้ง ๆ ที่ยังมิเคยเข้าวัดฟังเทศน์ฟังธรรมกถามาก่อนเลย คง
    เป็นด้วยอุปนิสัยวาสนาบารมีเก่าส่งเสริม

    • แอบนั่งฟังธรรมท้ายสุด
      ต่อมาได้เห็นอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย ถือดอกไม้ธูปเทียน เครื่องสักการะและของหอม
      ไปยังพระเชตวันมหาวิหาร จึงติดตามไปด้วยแล้วนั่งอยู่ท้ายสุด หมู่พุทธบริษัท เพราะตนเองเป็น
      ผู้ใหม่ รอเวลาที่พระบรมศาสดาจะทรงแสดงพระธรรมเทศนา
      โดยปกติธรรมดาของพระผู้มีพระภาค ทุกครั้งก่อนที่พระองค์จะแสดงธรรม จะทรง
      พิจารณาตรวจดูอุปนิสัยของพุทธบริษัทที่ประชุมกัน ณ ที่นั้นว่าผู้ใดมีบุญวาสนาบารมีสั่งสม
      บารมี ซึ่งพอจะเป็นปัจจัยส่งผลให้บรรลุคุณธรรมพิเศษบ้างหรือไม่ และพิจารณาว่าธรรมหมวด
      ไหนเหมาะสมแก่ฟังนั้น ๆ เมื่อทรงพิจารณาไปโดยรอบ ก็ทอดพระเนตรเห็นเรวตมาณพ เข้าสู่
      ข่ายคือ พระญาณของพระองค์ ว่าเป็นผู้มีอุปนิสัยบารมีสั่งสมมาดีแต่อดีตชาติ สามารถจะบรรลุ
      มรรคผลได้ จึงทรงสดงพระธรรมเทศนาอนุปุพพิกถา เพื่อขัดเกล่าอุปนิสัยให้สะอาดหมดจด
      ปราศจากความยินดีในกามคุณที่เคยบริโภคใช้สอยมาก่อน
      ใจความในอนุปุพพิกถา ถือถ้อยคำที่กล่าวไปโดยลำดับ ๕ ประการ คือ
      ๑. ทานกถา กล่าวถึงอานิสงส์ของการบริจาคทาน
      ๒. สีลกถา กล่าวถึงการรักษากายวาจาให้เรียบร้อย
      ๓. สัคคกถา กล่าวถึงเรื่องสวรรค์อันอุดมด้วยทิพยสมบัติ
      ๔. กามาทีนวกถา กล่าวถึงโทษแห่งกามคุณ ๕ ว่าเป็นเหตุนำทุกข์มาให้
      ๕. เนกขัมมานิสังสกถา กล่าวถึงอานิสงส์ของการออกบวชว่า เป็นอุบายที่จะให้
      บรรลุพระนิพพานอันเป็นบรมสุข

    เมื่อจบพระธรรมเทศนา เรวตมาณพก็เกิดศรัทธาแก่กล้ายิ่งขึ้น จึงกราบทูลขออุปสมบท
    ในพุทธศาสนา พระพุทธองค์ประทานให้ตามประสงค์ ครั้นได้อุปสมบทแล้ว ท่านได้ศึกษา
    พระกรรมฐานจากพระบรมศาสดาแล้วปลีกตัวอยู่ในสถานที่อันสงบสงัด อุตสาห์บำเพ็ญเพียร
    พระกรรมฐานจนได้บรรลุโลกิยฌาน แล้วทำฌานที่ได้แล้วนั้น ให้เป็นพื้นฐานในการเจริญ
    วิปัสสนา ไม่ช้านักท่านก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ สิ้นอาสวกิเลส เป็นพระอเสขบุคคลใน
    พระพุทธศาสนา

    • เหตุที่ได้นามว่ากังขาเรวตะ
      พระเรวตะนั้น ภายหลังจากที่ได้อุปสมบทแล้ว ขณะที่ท่านยังเป็นปุถุชนยังมิได้บรรลุ
      พระอรหัตผล เมื่อท่านได้รับกัปปิยวัตถุสิ่งของเครื่องใช้ สิ่งใด ๆ มาแล้ว ท่านมักจะคิดกังขาคือ
      สงสัยก่อนเสมอว่า ของสิ่งนี้เป็นของถูกต้องพุทธบัญญัติ สมควรแก่บรรพชิตที่จะใช้สอยหรือไม่
      (กัปปิยะ= เป็นของควร, อกัปปิยะ = เป็นของไม่ควร) เมื่อท่านพิจารณาอย่างรอบคอบแล้วว่า
      เป็นของที่บรรพชิตบริโภคใช้สอยได้ไม่ผิดพระวินัย ท่านจึงใช้สอยของสิ่งนั้น ด้วยความที่ท่าน
      เป็นผู้มักสงสัยอยู่เป็นประจำ จนเป็นที่ทราบกันทั่วไปในหมู่พระภิกษุทั้งหลาย ดังนั้น คำว่า
      “กังขา” จึงถูกเรียกรวมกับชื่อเดิมของท่านว่า “กังขาเรวตะ หมายถึง พระเราวตะผู้ชอบสงสัย”
      แม้ว่าภายหลังท่านได้บรรลุพระอรหัตผล สิ้นกิเลสอันเป็นเหตุแห่งวิจิกิจฉา คือความลังเล สงสัย
      แล้วก็ตาม นามว่ากังขาเรวตะ ก็ยังเป็นที่เรียกขานของเพื่อนสหธรรมิกอยู่ตลอดไป




    • ได้รับยกย่องในตำแหน่งเอตทัคคะ
      พระกังขาเรวตะ เป็นผู้มีความชำนาญในฌานสมาบัติ ทั้งที่เป็นโลกิยะ และโลกุตระ แม้
      กระทั่งฌานสมาบัติอันเป็นพุทธวิสัย คือ ฌานสมาบัติที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้นจะพึงเจริญ มิ
      ได้ทั่วไปแก่พระสาวกทั้งหลาย ด้วยว่า ความสุขอันเกิดจากฌานสมาบัตินั้น ไม่มีโลกิยสุขใด ๆ ใน
      โลกจะเทียบเท่าได้เลย เรียกว่า “สันติสุข คือ สุขที่เกิดจากความสงบ” ส่วนสุขอันเป็นโลกีย์นั้น
      ต้องพึ่งพิงอิงอาศัยอามิสต่าง ๆ อันได้แก่ บุคคล สัตว์ สิ่งของ เป็นต้น เข้ามาช่วยให้เกิดความสุข
      และความสุขแบบโลกีย์นี้ เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงแท้แน่นอน เพราะเมื่อยามที่ยังมีอยู่ ก็รู้สึกเป็นสุข แต่
      เมื่อยามสิ่งของเหล่านั้นอันตรธานหรือชำรุดเสียหายไปก็จะเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ แต่ความสุขอัน
      เกิดจากฌานสมาบัตินั้นเป็นสุขที่เที่ยงแท้แน่นอน ไม่เปลี่ยนแปลง เพราะเป็นสุขที่เกิดจากความ
      ไม่มีทุกข์
      ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ พระบรมศาสดา จึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้
      เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง ผู้เพ่งด้วยฌาน, ผู้ยินดีในฌานสมาบัติ
      ท่านดำรงอายุสังขาร ช่วยกิจการพระศาสนาสมควรแก่กาลเวลาแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,049
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,583
    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
    ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา

    [​IMG]
    [​IMG]
    ๓. กังขาเรวตเถรคาถา
    ภาษิตของพระกังขาเรวตเถระ
    ทราบว่า ท่านพระกังขาเรวตเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
    [๓] เชิญท่านดูพระปัญญาของพระตถาคตทั้งหลาย
    ผู้ประทานแสงสว่างและประทานดวงตา๑-
    ย่อมชื่อว่าทรงกำจัดความสงสัย
    ของเหล่าเวไนยสัตว์ ผู้พากันมาเฝ้าเสียได้
    เหมือนแสงไฟที่เจิดจ้าในเวลาค่ำคืน



    เชิงอรรถ
    @๑ ปัญญา (ขุ.เถร.อ. ๑/๓/๕๐)
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,049
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,583
    เป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ จะทำให้แจ้งนิพพานได้
    *************
    [๖๘] ภิกษุทั้งหลาย
    ๑. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่ ประกอบความชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ เป็นผู้ชอบคณะ ยินดีในคณะ ประกอบความยินดีในคณะ จักยินดีในปวิเวก ตามลำพังได้
    ๒. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่ยินดีในปวิเวกตามลำพังจักถือเอานิมิตแห่งจิตได้
    ๓. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่ถือเอานิมิตแห่งจิต จักบำเพ็ญสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์ได้
    ๔. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่บำเพ็ญสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญสัมมาสมาธิให้บริบูรณ์ได้
    ๕. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่บำเพ็ญสัมมาสมาธิ๖- ให้บริบูรณ์แล้ว จักละสังโยชน์ได้
    ๖. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ยังละสังโยชน์ไม่ได้แล้ว จักทำให้แจ้งนิพพานได้

    ภิกษุทั้งหลาย
    ๑. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ไม่ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ไม่ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่ ไม่ประกอบความชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ไม่ชอบคณะไม่ยินดีในคณะ ไม่ประกอบความยินดีในคณะ จักยินดีในปวิเวกตามลำพังได้
    ๒. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ยินดีในปวิเวกตามลำพัง จักถือเอานิมิตแห่งจิตได้
    ๓. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ถือเอานิมิตแห่งจิต จักบำเพ็ญสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์ได้
    ๔. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้บำเพ็ญสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญสัมมาสมาธิให้บริบูรณ์ได้
    ๕. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้บำเพ็ญสัมมาสมาธิให้บริบูรณ์แล้ว จักละสังโยชน์ได้
    ๖. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ละสังโยชน์ได้แล้ว จักทำให้แจ้งนิพพานได้
    .............
    สังคณิการามสูตร อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=319

    พึงทราบวินิจฉัยในฐานสูตรหรืออารามสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-
    บทว่า สงฺคณิการาโม ความว่า รื่นเริงใจด้วยการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ส่วนภิกษุชื่อว่าคณารามะ เพราะยินดีในคณะ มีคณะศึกษาพระสูตรเป็นต้น หรือในคณะ กล่าวคือบริษัทของตน.
    บทว่า ปวิเวเก ได้แก่ กายวิเวก.
    บทว่า จิตฺตสฺส นิมิตฺตํ ความว่า นิมิตของสมาธิจิตและวิปัสสนาจิต คืออาการของสมาธิและวิปัสสนา.
    บทว่า สมฺมาทิฏฺฐึ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิในวิปัสสนา.
    บทว่า สมาธึ ได้แก่ มรรคสมาธิและผลสมาธิ.
    บทว่า สํโยชนานิ ได้แก่ สังโยชน์ ๑๐ อย่าง.
    บทว่า นิพฺพานํ ได้แก่ ปรินิพพานที่หาปัจจัยมิได้.
    อรรถกถาฐานสูตรหรืออารามสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=339

    HjQL6tbDKE7jcEIuoGgcTeCx2vQkkgyXnN5_kLwiptIL&_nc_ohc=riKTJAzugDsAX-lrqvF&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,049
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,583
    ?temp_hash=79d89f96d57678829b09f55f100d7c49.png
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,049
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,583
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,049
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,583
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...