เรื่องเด่น นิโรธสมาบัติ การเข้าสมาธิขั้นสูง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 4 มกราคม 2020.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +70,497
    ?temp_hash=28fb1578b8ce24ae99daa5b7029291d5.jpg


    ?temp_hash=7481abe70ed5cd19759138d60abdb582.jpg


    ?temp_hash=3aa8e956baad98b8f60ca8639dce5415.jpg

    ?temp_hash=3aa8e956baad98b8f60ca8639dce5415.jpg

    นิโรธสมาบัติ หรือสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัตินั้นเป็นสมาธิชั้นสูงในพระพุทธศาสนา เป็นการเข้าสมาธิที่ดับสัญญา ความจำได้หมายรู้และเวทนาความรู้สึกทั้งปวงมีสภาวะละเอียดกว่าอรูปฌานเพราะผู้ที่เข้าฌานขั้นนี้ต้องสามารถละขันธ์ ๕ เข้าสู่ความไม่มีตัวตน สิ้นไปจากรูปและนาม อยู่ในสุญญตวิหารธรรม การเข้านิโรธสมาบัตินั้นจึงทำได้เฉพาะพระอนาคามีและพระอรหันต์เท่านั้น การเข้าแต่ละครั้งจะกินเวลานานสูงสุด ๗ วัน โดยทั้ง ๗ วันจิตจะดับความรู้สึกความสืบต่อทั้งหมด ภาวะนั้นร่างกายดับลมหายใจ ไม่กินไม่ถ่ายไม่นอน ทรงสภาวะธรรมนั้นโดยตลอด ๗ วัน

    เมื่อถอนสมาธิออกมาผู้เข้านิโรธมักออกโปรดคนยากจนที่มีศรัทธา หากใครได้ถวายทานเป็นมื้อแรกหลังจากการออกจากนิโรธจะได้บุญมหาศาล จากคนจนจะเปลี่ยนฐานะเป็นคนรวยภายในวันนั้นทันที ในสมัยพุทธกาลพระสารีบุตรเคยเข้านิโรธสมาบัติขณะนั้นมียักษ์นิสัยพาลเอากระบองมาทุบศีรษะ พระสารีบุตรมิได้เป็นอันตรายแม้ปลายเส้นขน เพราะพลังแห่งนิโรธสมาบัตินั้นคุ้มครอง

    นอกจากนี้ในสมัยพุทธกาลนั้นพระมหากัสสปะเป็นมหาเถระอีกท่านหนึ่งที่นิยมเข้านิโรธสมาบัติเป็นเวลา ๗ วันครั้นแล้วจึงออกบิณฑบาตรโปรดผู้ยากไร้ แม้กระทั่งพระอินทร์ยังต้องแปลงตัวเป็นขอทานมาขอใส่บาตร

    จวบจนมาถึงปัจจุบันหากย้อนระลึกถึงพระมหาเถระที่ผ่านมาซึ่งสามารถเข้านิโรธสมาบัติ ๗ วันแบบอุกฤษ์สูงสุดคือไม่ฉันข้าวไม่ฉันน้ำ ไม่ขับถ่ายสิ่งใดๆ เท่าที่พอจะนึกถึงได้ก็จะมี สมเด็จพระบรมครูหลวงพ่อเขาสาริกา เข้าสมาบัติในท่านั่งยองๆกลางแจ้งช่วงเดือนเมษายน โดยไม่ฉันข้าวไม่ฉันน้ำ ไม่ขับถ่าย

    ท่านต่อมาคือหลวงพ่อกัสสปมุนี วัดปลิผลิวนาราม จ.ระยอง
    ท่านเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ’ เป็นครั้งแรกเมื่อวันศุกร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2510 เป็นเวลา 7 วัน 7 คืน

    หลวงพ่อกัสสปมุนีเคยบอกว่า นิโรธสมาบัตินี้มีอานุภาพมากนัก มิใช่แต่กุฏิของท่านเท่านั้น แต่กำลังแห่งนิโรธยังครอบคลุมไปทั่วภูเขา ‘สุนทรีบรรพต’ อันเป็นที่ตั้งวัด อย่าว่าแต่ของในกุฏิท่านเลย แม้กรวดหินหน้าวัดหากจะหยิบขึ้นมาแล้วตั้งจิตระลึกถึงท่านก็ยังมีอานุภาพได้


    หลวงปู่ชุ่ม โพธิโก
    ท่านนี้ได้รับการยกย่องจากหลวงพ่อฤๅษีลิงดำว่ามีความสามารถในการเข้านิโรธสมาบัติอย่างยิ่ง ประวัตินั้นท่านเคยเข้านิโรธที่ถ้ำปุ่มถ้ำปลา จ.เชียงราย พอถอนสมาธิออกมามีหนูท้องขาวยกขาหน้าขึ้นสองข้างทำกิริยากราบแล้ววิ่งทักษิณาวัตรรอบตัวท่านสามรอบ

    นอกจากนี้ยังมี

    หลวงพ่อเกษม เขมโกและคุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม ที่มีความสามารถในการเข้านิโรธสมาบัติได้

    ท่านเหล่านี้นับเป็นเพชรน้ำเอกในพระพุทธศาสนา มีความสามารถในทางฌานอย่างแก่กล้า สามารถเข้านิโรธสมาบัติได้และด้วยอานุภาพแห่งนิโรธสมาบัตินี้ก็เชื่อกันว่าท่านเข้าเพื่ออธิฐานให้แผ่นดินไทยร่มเย็นเป็นสุข เป็นแผ่นดินที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +70,497
    หลวงพ่อเล่าเรื่อง การฝึกเข้านิโรธสมาบัติของท่าน

    art_42028665.jpg
    หลวงพ่อเล่าเรื่อง การฝึกเข้านิโรธสมาบัติ ในขณะไปธุดงค์ภาคอีสาน (ท่านบันทึกเทปเมื่อ วันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๔) ดังนี้


    “ต่อมาอีก ๒-๓ วัน ทุกวันก็ออกเดินจงกรม เดินจงกรม ก็คือ เดินธรรมดานี่เอง ป่ามันร่มรื่น มันน่าเดินเที่ยวเดินไปไกล ๆ เดินแก้เมื่อย เดินไปเดินมา เดินมาเดินไป จากต้นไม้ต้นนี้ถึงต้นโน้น ต้นโน้นถึงต้นนั้น จะไกลแสนไกลขนาดไหน ก็ไม่มีการรกรุงรัง ไม่มีป่าชัฏ มีแต่ต้นเต็งรัง ยืนเป็นแถวเต็มไปหมด

    ปรากฏว่ามาวันหนึ่ง อยู่ได้ประมาณ ๕ วัน เมื่อขณะที่เดินจงกรมไปคำว่า จงกรม ก็เดินแบบธรรมดา ๆ ไม่ใช่ค่อย ๆ ยก ค่อย ๆ ย่าง ไอ้แบบ ค่อย ๆ ยก ค่อย ๆ ย่าง เขาเป็นเกณฑ์บังคับถือว่าเป็นการฝึกเบื้องต้น ทีนี้การฝึกขั้นปลาย เขาใช้เดินธรรมดา เดินธรรมดาให้ใจมันพร้อมไปกับเท้า จิตใจคิดถึงด้านของความดี ไปพร้อมกับเท้าที่ลง

    เมื่อเดินไป ก็ปรากฏว่า พบพระองค์หนึ่ง สูงใหญ่ ห่มจีวรสีกรัก มีย่ามหนึ่งลูก มีบาตรหนึ่งลูก มีไม้เท้าหนึ่งอัน ไม้เท้า ก็คือ ไม้ท่อน ท่านเดินสวนทางมา ไอ้ความรู้สึกมันจะหลอกหรือไม่หลอกก็ไม่ทราบ ความรู้สึกก็นึกว่า พระองค์นี้คงเป็น พระมหากัสสป จิตมันมีความรู้สึกขึ้นเอง พอจิตนึกอย่างนั้น เสียงท่านบอกมา บอก ใช่แล้ว คิดถูกแล้ว ตกใจ เพียงแค่เราคิด ท่านบอว่า ใช่แล้ว ถูกแล้ว ก็นั่งลงกราบท่าน ท่านก็นั่งลง ถามว่า พระคุณเจ้ามาอย่างไรขอรับ ท่านก็บอกว่า ที่มานี่ก็จะมาเตือนน่ะซิ เห็นมาธุดงค์แบบฉัน ฉันก็พระชอบธุดงค์ เธอก็ชอบธุดงค์ จะได้เล่าเรื่องธุดงค์ให้ฟังสักหน่อยหนึ่ง เลยให้ท่านเล่าให้ฟัง

    แต่ว่าท่านไม่เล่าเรื่องราวต่าง ๆ ให้ฟัง ท่านบอกว่า การธุดงค์ต้องฝึกเข้านิโรธสมาบัติ พอใช้คำว่า นิโรธสมาบัติ เราก็ตกใจคิดว่า คนอย่างเราไม่สามารถจะทำได้ ท่านบอกว่า คุณอ่านแต่หนังสือไม่เข้าใจ อาจารย์คุณก็ไม่สอน สอนแต่ผลสมาบัติ

    แต่ความจริง ผลสมาบัติกับนิโรธสมาบัติมันก็คล้ายคลึงกัน แต่ว่านิโรธสมาบัติ เราจะกำหนดเวลายาวหน่อย ผลสมาบัติเข้าตามเวลา ออกตามเวลาเล็กน้อย นิโรธ แปลว่า ดับ สมาธิ แปลว่า เข้าถึงความดับทุกขเวทนา นิโรธสมาบัติ เขามีเขตบังคับว่า ต้องใช้ฌาน ๔ เป็นพื้นฐาน แต่พวกคุณเองก็ชำนาญในฌาน ๔ มาแล้ว ก็ไม่มีอะไรหนักใจ แต่ที่ผมพูดนี่ คุณหนักใจ เพราะว่าคุณไม่เคยทำ ไม่เข้าใจมาก่อน แต่ใช้เวลาน้อย ใช้เวลาเพียง ๑๐ นาที บ้าง ๒๐ นาทีบ้าง ๓๐ นาทีบ้าง


    ขณะที่นั่งไป มันไม่รู้สึกปวดรู้สึกเมื่อย จิตสว่างโพลง อย่างนี้ก็เป็นนิโรธสมาบัติ จิตต้องตั้งไว้เพื่อนิพพานโดยเฉพาะ คือว่า จิตตั้งไว้โดยเฉพาะที่ใดที่หนึ่ง จิตแยกจากประสาทเด็ดขาด ไม่รู้เรื่องของร่างกาย เป็นฌาน ๔ อย่างนี้เป็นนิโรธะอย่างหนึ่ง และอีกอย่างหนึ่ง เมื่อจิตเข้าถึงฌาน ๔ แยกออกจากกายแล้ว จิตอารมณ์มีความสงัด หลังจากนั้นก็ท่องเที่ยวไปในภพต่าง ๆ ไปสวรรค์บ้าง ไปพรหมโลกบ้าง ไปนิพพานบ้าง พ้นไปเสียจากร่างกาย ไม่รู้สึกปวดรู้สึกเมื่อย มันก็เป็น นิโรธสมาบัติเหมือนกัน ทั้ง ๒ อย่างนี้จะใช้อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ แต่ว่ากำหนดเวลาว่า เราจะใช้เวลาสัก ๓ วัน หรือ ๕ วัน หรือ ๗ วัน หรือ ๙ วัน หรือ ๑๕ วัน ก็ตามใจชอบ

    เลยถามท่านบอกว่า ถ้าอย่างนั้น เวลาออกจากนิโรธสมาบัติแล้ว จะต้องเหาะไปบิณฑบาต ท่านบอกว่า ไม่จำเป็นพวกคุณยังเหาะไม่ได้ ไม่จำเป็นต้องเหาะ ถึงแม้ว่าเหาะได้ ก็ไม่จำเป็นต้องเหาะ ที่เขาเหาะไปแบบนั้น เขาจะโปรดคนจน คนไหนที่ยากจนมาก แต่ว่ามีศรัทธา ถ้าใส่บาตรกับพระที่ออกจากนิโรธสมาบัติ เพียงครั้งเดียวในชีวิต เขาจะเป็นมหาเศรษฐีในวันนั้น แต่นี่เราเข้าเพื่อเราเองไม่จำเป็นต้องเหาะไป พอหลังจากคุณออกจากนิโรธสมาบัติแล้ว เทวดา นางฟ้าก็จะเลี้ยงเอง เวลานี้เทวดา นางฟ้าท่านพร้อมแล้ว ตั้งแต่พรหมลงมา ก็หวังในบรรดาพวกคุณทั้ง ๓ องค์ หวังว่า ต้องการให้คุณทั้ง ๓ องค์ เข้านิโรธสมาบัติ ถามว่า ท่านทำบุญแล้ว ท่านจะมีผลเป็นอย่างไร ท่านบอก ถ้าทำบุญกับพวกคุณแล้ว จะมีรัศมีกายสว่างขึ้นเทวดา กับนางฟ้า หรือพรหมก็เช่นเดียวกัน ใครมีรัศมีกายสว่างมากคนนั้น เรียกว่า มีบุญมาก มีบุญญาธิการมาก

    ก็เป็นอันว่า ท่านก็แนะนำว่า วิธีการไม่มีมาก ใช้ตามแบบที่คุณทำอยู่แล้ว อันดับแรก คุณซ้อมน้อย ๆ ก่อน จับตั้งแต่หัวค่ำยันสว่างว่า เราจะไม่ถอนสมาธิ ตั้งใจไว้กำหนดเวลาไว้ ถ้าแสงอรุณขึ้นเมื่อไรให้จิตตกทันที หรือว่าเราจะใช้ ๒ วัน ๓ วันก็ได้ ทีแรก ๆ เอาแค่น้อย ๆ ก่อน เข้ากันทุกวัน พอถึงตอนเย็นปั๊บ อาบน้ำอาบท่าเสร็จเข้านิโรธสมาบัติ เป็นอันว่า ใช้นิโรธสมาบัติตอนกลางคืน กลางวันนอน กลางวันกินข้าวเวลาเดียว เทวดาเลี้ยงแล้ว เราก็นอน ใช้อย่างนี้สะดวกดีหรือถ้านาน ๆ หนัก ๆ เข้า ถ้ารำคาญ วันเดียวไม่เอา ลอง ๒ วัน ลอง ๓ วัน ลอง ๔ วัน ลอง ๕ วัน ลอง ๗ วัน ก็ได้ตามใจชอบ

    ก็ยอมรับท่านว่า อย่างพวกผม ๓ องค์นี่ทำได้นะขอรับ ท่านบอกว่า อย่าย้ำซิ ฉันพูดแล้ว ต้องเป็นไปตามนั้นท่านบอกว่า ถ้าอย่างนั้น ฉันก็จะกลับละนะ ฉันหมดห่วง ที่มานี่ห่วงเพียงเท่านี้ สงสารเทวดา นางฟ้าท่าน ท่านพร้อมอยู่แล้ว พวกเราก็มีความรู้ใหม่ว่า การเข้านิโรธสมาบัติก็ไม่จำเป็นต้อง ๗ วัน ๑๕ วันเสมอไป ก็เรียกว่า เข้ากันทุกวัน และมันก็ดีที่สุด พอพลบค่ำปั๊บ อาบน้ำอาบท่าเสร็จ ทำวัตรสวดมนต์เสร็จ ทำวัตรสวดมนต์ก็ใช้เวลาไม่มาก ก็เริ่มเข้านิโรธสมาบัติ จับพั้บ จับอานาปานสติ ก็ไม่ต้องใช้เวลามาก ใช้เวลาเพียงครึ่งนาที จิตก็เข้าถึงฌาน ๔ เต็มกำลัง ในตอนต้น ก็ตั้งอารมณ์เฉพาะจุดก่อน

    หลังจากนั้นก็ท่องเที่ยวไปตามภพต่าง ๆ ตั้งใจว่า ถ้าสว่างจะให้จิตตกจากสมาธิ บางทีเราเที่ยวเพลินไป พอจะสว่าง เทวดาก็เตือนว่า สว่างแล้วครับ หลังจากนั้นลงมา เทวดา นางฟ้าก็มาใส่บาตร คราวนี้ท่านไม่แต่งตัวเป็นคนแล้ว ท่านมาเป็นเทวดา เป็นนางฟ้า มีเครื่องเต็มยศออกมาเลย ท่านมากันมาก ข้าวที่ท่านใส่รู้สึกว่ามาก แต่ก็กินพอดีหมดไม่เหลือ

    ก็รวมความว่า ทำแบบนี้ตลอดมา ตั้งแต่เดือน ๖ ข้างขึ้นจนกระทั่งถึงเดือน ๘ ข้างขึ้น พอถึงขึ้น ๘ ค่ำเดือน ๘ ก็เดินทางกลับ การเดินทางกลับ บรรดาท่านพุทธบริษัท เขตนี้ทราบภายหลังว่าเป็นเมืองขอนแก่น จากเมืองขอนแก่นมาถึงอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยานี่ เวลานี้ถ้าเดินกันจะต้องถึงหนึ่งเดือน แต่ว่าพวกเราใช้เวลาเดินแค่ ๓ วัน วันแรกรู้สึกว่าเดินมาเรื่อย ๆ ในป่า วันที่สองก็เดินมาเรื่อย ๆ ตามธรรมดา ๆ กลางคืนก็หลับตามทาง ปักกลด พอคืนที่สาม ปรากฏว่าตื่นขึ้นมาอยู่หลังวัด ไม่ทราบว่ามาได้อย่างไรก็ตกใจ

    ถามท่านอินทกะว่า ทำไมถึงมาถึงได้เร็วอย่างนี้ มันมาอย่างไร เมื่อคืนนี้หลับ ท่านบอกว่า โยมคุณ ท่านเกรงว่า คุณจะเข้าพรรษาไม่ทัน ท่านเลยใช้อำนาจเทวานุภาพ บันดาลให้มาอยู่หลังวัด ก็กราบท่าน เมื่อกราบในที่ว่างก็ปรากฏภาพองค์ท่านขึ้นมาพอดี ท่านบอกว่า คุณทำอย่างนี้ให้ดีทุกปีนะ โยมจะดีใจมาก เทวดา และนางฟ้าก็ดีใจมาก


    เอาละ บรรดาท่านพุทธบริษัท เป็นอันว่า เมื่อกลับถึงวัดแล้วก็เข้าพรรษา เวลานี้ เวลาเหลือเพียง ๔๐ วินาที ขอลาก่อน สวัสดี”


    หนังสืออ่านเล่น เล่ม ๒๑โดย ส.สังข์สุวรรณ (พระเดชพระคุณ หลวงพ่อพระราชพรหมยาน)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มกราคม 2020
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +70,497
    --ในคัมภีร์พระอภิธรรม นิโรธสมาบัติวิถี คือ วิถีที่มีการดับของจิต เจตสิกและจิตตชรูป มี 1 วิถี ดังนี้ ภฺ น ท ม ปริ อุ นุ โค ฌ ฌ – เจตสิกและจิตตชรูปดับ – ผ ภ ภ


    ---บุคคคลที่สามารถเข้านิโรธสมาบัติได้นั้น ได้แก่ พระอนาคามี และ พระอรหันต์ที่ได้ฌานสมาบัติ 9 (คือ รูปฌาน 5 และอรูปฌาน 4) ซึ่งอยู่ในกามสุคติภูมิ 7 และรูปภูมิ 15 (เว้นอสัญญสัตตภูมิ) เท่านั้น


    ---พระอนาคามีหรือพระอรหันต์ที่จะเข้านิโรธสมาบัตินั้น ต้องเข้าฌานไปตามลำดับ ตั้งแต่ปฐมฌานจนถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้


    ---การเข้าปฐมฌานถึงวิญญาณัญจายตนฌาน เมื่อออกจากฌานนั้น ๆ แล้ว ต้องพิจารณาฌานจิต และเจตสิกที่ดับไปแล้ว โดยความเป็นไตรลักษณ์ทุกฌาน หลังจากนั้น จึงเข้าอากิญจัญญายตนฌาน และเมื่อออกจากอากิญจัญญายตนฌานแล้ว ไม่ต้องเจริญวิปัสสนาเหมือนฌานก่อน ๆ แต่ให้ทำบุพพกิจ 4 อย่าง เหล่านี้ คือ


    ---1.การอธิษฐานให้บริขารต่าง ๆ ของตนพ้นจากภัยอันตราย (นานาพัทธอวิโกปนะ)


    ---2.การอธิษฐานให้ออกจากนิโรธสมาบัติได้ทันที เมื่อพระพุทธเจ้าต้องการพบตัว (สัตถุปักโกสนะ) แต่สมัยนี้ ยกเว้นข้อนี้


    ---3.การอธิษฐานว่า เมื่อสงฆ์ประชุมกัน หากต้องการพบตัวข้าพเจ้าแล้ว ขอให้ออกจากนิโรธสมาบัติทันเวลาประชุม (สังฆปฎิมานนะ)


    ---4.การอธิษฐานกำหนดเวลาเข้านิโรธสมาบัติ (อัทธานปริจเฉทะ)


    ---ข้อนี้ควรพิจารณาตรวจดูชีวิตของตนด้วยว่าจะดำรงอยู่ได้ตลอด 7 วัน อันเป็นระยะเวลาที่เข้านิโรธสมาบัติหรือไม่ เมื่อตรวจดูแล้วทราบว่าจะอยู่ได้นานกว่านั้น ก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด แต่ถ้ามิอาจดำรงอยู่ได้ถึง 7 วันแล้ว หากบุคคลนั้นยังเป็นพระอนาคามีอยู่ ก็ไม่ควรเข้านิโรธสมาบัติ แต่ควรเจริญวิปัสสนากรรมฐานเพื่อบรรลุอรหัตตผลดีกว่า หากบุคคลนั้นเป็นพระอรหันต์ ก็สมควรเข้านิโรธสมาบัติ


    ---แต่ต้องกำหนดเวลาเข้าให้น้อยลง โดยออกก่อนหน้าเวลาที่จะปรินิพพาน ทั้งนี้ก็เพื่อจะได้มีโอกาสกล่าวอำลาเพื่อนสหธรรมมิกทั้งหลาย


    ---อย่างไรก็ตาม บุพพกิจ 3 อย่างข้างต้นนั้น อาจจะไม่ต้องทำก็ได้ แต่สำหรับขอสุดท้าย (คือ อัทธานปริจเฉทะ) นั้น จำเป็นจะต้องทำเมื่ออยู่ในมนุสภูมิ แต่ในรูปภูมิ ไม่ต้องทำบุพพกิจเลยก็ได้ ถ้าจะทำบ้างก็เพียงแต่อธิษฐานกำหนดเวลาเข้าเท่านั้น


    ---เมื่อทำบุพพกิจเหล่านี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานกุศล หรือกิริยา ตามสมควรแก่บุคคล เนวสัญญานาสัญญายตนฌานก็เกิดขึ้น 2 ขณะ หลังจากนั้น จิตเจตสิกและจิตตชรูปก็ดับลง คงมีแต่กัมมชรูป อุตุชรูป และอาหารชรูปเกิดอยู่ เป็นอันว่าสำเร็จการเข้านิโรธสมาบัติทุกประการ


    **ส่วนการออกจากนิโรธสมาบัตินั้น


    ---มีความเป็นไปดังนี้ เมื่อครบกำหนดเวลาในการเข้านิโรธสมาบัติแล้ว อนาคมิผลจิตหรืออรหัตผลจิต ย่อมเกิดขึ้น 1 ขณะ ตามสมควรแก่บุคคลแล้วก็ลงภวังค์


    ---เมื่อออกจากนิโรธสมาบัติ จิตขณะแรกที่เกิดเป็น ผลจิต (โลกุตตรวิบากจิต) มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ถ้าเป็นพระอนาคามีบุคคลก็เป็นอนาคามิผลจิต ถ้าเป็นพระอรหันต์บุคคลก็เป็นอรหัตตผลจิต



    ----------------------------

    *อ้างอิง: จากพระอภิธรรม ว่าด้วยเรื่องนิพพานเป็นปรมัตถ์ นิโรธสมาบัติ
    ---ธรรมบท ประวัติพระอสีติมหาเถระ
    ---มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มหาเวทัลลสูตร
    ---วิสุทธิมัคค์ ปัญญาภาวนา สังสนิทเทส
    ---มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มหายมกวรรค จูฬโคสิงคสาลสูตร.


     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +70,497
    สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
    อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นในเวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรครอง
    อันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาต
    ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว เข้าไปยังป่าอันธวันเพื่อพักกลางวัน ถึงป่าอันธวัน
    แล้วนั่งพักอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง
    ต่อมาเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่หลีกเร้นแล้วเข้าไปยังพระเชตวัน
    อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ท่านพระอานนท์ได้เห็นท่านพระสารีบุตรกำลังเดิน
    มาแต่ไกลจึงถามว่า “ท่านสารีบุตร อินทรีย์ของท่านผ่องใสยิ่งนัก สีหน้าก็บริสุทธิ์
    ผุดผ่อง วันนี้ ท่านสารีบุตรอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร”


    ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ วันนี้ ผมล่วงเนวสัญญานาสัญญา-
    ยตนฌานโดยประการทั้งปวงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ (สมาบัติที่ดับสัญญาและเวทนา)
    อยู่ ผมนั้นไม่ได้คิดว่า ‘เราเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ หรือเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธแล้ว
    หรือว่าออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธแล้ว”
    อันที่จริง ท่านพระสารีบุตรถอนอหังการ มมังการ และมานานุสัยออกได้
    นานแล้ว ฉะนั้น ท่านจึงไม่คิดว่า “เราเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ หรือเข้าสัญญา-
    เวทยิตนิโรธแล้ว หรือออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธแล้ว”




    ----------------------------
    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
    สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
    [​IMG]
    [​IMG]
    ๙. นิโรธสมาปัตติสูตร
    ว่าด้วยนิโรธสมาบัติ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มกราคม 2020
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +70,497
    สงสัยเรื่องนิโรธสมาบัติ



    ถาม ในพระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เรื่องที่ ๕๘ นิโรธสมาบัติกถา โดยสรุปแล้วดูเหมือนว่า นิโรธสมาบัติ มิใช่นิพพาน
    แต่ในพระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต สันทิฏฐิกสูตรที่ ๒ มีข้อความชัดเจนว่า การที่ภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ เป็นนิพพานโดยนิปปริยาย คือโดยตรง
    ข้อความทั้งสองปิฎกนี้คล้ายกับจะขัดกัน ผมอ่านแล้วไม่เข้าใจจริงๆ
    จึงขอความกรุณาคณะสหายธรรมโปรดอธิบายให้หายสงสัยด้วย

    ตอบ ก่อนอื่นขอเรียนว่าทั้งในพระอภิธรรมและพระสูตรนั้น มิได้กล่าวว่า นิโรธสมาบัติคือการเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธนั้นเป็นนิพพานเลย เพราะนิโรธสมาบัติไม่ใช่นิพพานแน่นอน แต่ที่คุณอ่านพระสูตร ในอังคุตตรนิกาย นวกนิบาต สันทิฏฐิกสูตร (ข้อ ๒๕๑) ว่า นิโรธสมาบัติเป็นนิพพานโดยตรงนั้น เพราะคุณได้ละทิ้งข้อความตอนสำคัญตอนท้ายเสียนั่นเอง โปรดได้กรุณาอ่านซ้ำดูใหม่
    แต่วันนี้จะอ่านให้ฟังก่อน ก่อนที่จะอ่านก็จะขอท้าวความตอนต้นของพระสูตรนี้ก่อน เพื่อความเข้าใจของท่านผู้อื่นด้วย คือ
    ข้อความตอนต้นพูดถึงผู้ที่บรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อย่างใดอย่างหนึ่งว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเองโดยปริยาย คือโดยอ้อม คือการบรรลุฌานใดฌานหนึ่ง ที่กล่าวนี้ชื่อว่านิพพานโดยอ้อม เพราะเป็นการดับกิเลสเหมือนกัน แต่เป็นการดับกิเลสเพียงข่มไว้ได้เท่านั้น หากมีเหตุปัจจัยสมควรคือฌานเสื่อม กิเลสก็เกิดได้อีก จึงไม่ใช่นิพพานที่แท้จริง เพราะนิพพานที่แท้จริงนั้นดับกิเลสได้โดยเด็ดขาดแล้ว กิเลสไม่เกิดขึ้นได้อีก
    เพราะฉะนั้นในตอนท้ายของพระสูตรจึงได้กล่าวว่า
    “อีกประการหนึ่ง ภิกษุเพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ และอาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา ดูก่อนอาวุโส โดยนิปปริยาย แม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสนิพพานอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง”

    ทั้งหมดนี้คือข้อความตอนท้ายของพระสูตร
    ก็ข้อความสำคัญที่คณะเรียนให้ทราบว่า คุณได้ทิ้งไปเสียก็คือข้อความว่า และอาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา ข้อความตอนนี้แหละที่แสดงว่าความสิ้นอาสวะทั้งหลายด้วยปัญญานั้นแหละชื่อว่านิพพานโดยนิปปริยาย คือโดยตรงและความสิ้นอาสวะทั้งหลายนี้แหละที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นธรรมที่บุคคลจะพึงเห็นเอง เป็นสันทิฏฐิโก เป็นนิพพานโดยตรง เพราะดับอาสวะกิเลสได้สิ้นเชิงแล้ว
    แม้ในพระสูตรอื่นๆ ก่อนหน้าพระสูตรนี้ และพระสูตรอื่นๆ ต่อจากสันทิฏฐิกสูตร ได้พูดถึงนิพพานโดยชื่ออื่นๆ เช่น เขมะบ้าง อมตะบ้าง ปัสสัทธิบ้างเป็นต้น ก็พูดโดยความหมายของการสิ้นอาสวะทั้งหลายด้วยปัญญาเช่นเดียวกัน หวังว่าท่านผู้ถามคงจะหายข้องใจแล้ว
    ก่อนจะผ่านปัญหาข้อนี้ไป ก็ใคร่จะขอเรียนให้ทราบถึงความแตกต่างของนิโรธสมาบัติและนิพพานไว้ด้วย เพื่อความเข้าใจอันดีของท่านผู้ฟังท่านอื่นๆ ที่มิได้ถามมาด้วย คือ
    ในอรรถกถาของพระอภิธรรมกถาวัตถุข้อ ๕๘ ได้กล่าวถึงนิโรธสมาบัติไว้ว่า ได้แก่ความไม่เป็นไปแห่งนามขันธ์ ๔ คือขณะที่พระอนาคามีหรือพระอรหันต์ ท่านเข้านิโรธสมาบัติอยู่นั้น ความสืบต่อของนามขันธ์ ๔ ที่กล่าวแล้วดับหมด แต่รูปขันธ์ที่เกิดจากกรรม อุตุ และอาหารไม่ได้ดับด้วย ยังคงเกิดสืบต่อเป็นไปอยู่ตลอดเวลา ส่วนการเกิดสืบต่อของรูปขันธ์ที่มีจิตเป็นสมุฏฐานที่เรียกว่าจิตตชรูปนั้นไม่มี เพราะเมื่อจิตไม่เกิด รูปที่เกิดจากจิตก็มีไม่ได้



    ส่วนนิพพานนั้นมี ๒ อย่าง คือกิเลสดับหมดแต่ขันธ์ ๕ ยังอยู่เรียกว่าสอุปาทิเสสนิพพาน สอุปาทิเสสนิพพานนี้เป็นนิพพานของพระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่ นิพพานชนิดนี้แหละที่ผู้บรรลุจะพึงรู้ได้ด้วยตนเองเป็นสันทิฏฐิโกนี้ เป็นนิพพานอย่างที่ ๑
    นิพพานอย่างที่ ๒ ได้แก่นิพพานของพระอรหันต์ผู้สิ้นชีวิตแล้ว เรียกว่าอนุปาทิเสสนิพพาน คือดับขันธ์ ๕ ได้หมดเป็นการดับสนิท ไม่เกิดอีกเลย เพราะการสืบต่อแห่งขันธ์ ๕ ไม่มีอีกต่อไป อนุปาทิเสสนิพพานนี้ตรงกับคำที่เราใช้กันว่าดับขันธ์ปรินิพพาน


    เพราะฉะนั้นจึงพอสรุปได้ว่า พระอรหันต์นั้นท่านถึงนิพพาน ๒ ครั้ง คือกิเลสนิพพานก่อนด้วยสอุปาทิเสสนิพพาน แล้วขันธ์ ๕ นิพพานทีหลังด้วยอนุปาทิเสสนิพพาน เพราะฉะนั้น นิโรธสมาบัติกับนิพพานจึงไม่เหมือนกัน

    อีกประการหนึ่ง นิโรธสมาบัติกล่าวไม่ได้ว่าเป็นสังขตธรรมหรืออสังขตธรรม เพราะไม่มีลักษณะทั้งสังขตะและอสังขตะ แต่นิพพานเป็นอสังขตธรรม เพราะฉะนั้น นิโรธสมาบัติจึงไม่ใช่นิพพาน และนิพพานก็ไม่ใช่นิโรธสมาบัติ ขอตอบปัญหาข้อนี้เพียงเท่านี้

    ________________________________________
    ที่มา อ้างอิงและแนะนำ :-
    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔
    กถาวัตถุปกรณ์
    นิโรธสมาปัตติกถา
    http://84000.org/tipitaka/book/v.php?B=37&A=10732&Z=10791

    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕
    อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
    สันทิฏฐิกสูตรที่ ๒
    http://84000.org/tipitaka/book/v.php?B=23&A=9662&Z=9673

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
    มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
    มหาเวทัลลสูตร ว่าด้วยการสนทนาธรรมที่ทำให้เกิดปีติ
    http://84000.org/tipitaka/book/v.php?B=12&A=9220&Z=9419
    จูฬเวทัลลสูตร ว่าด้วยการสนทนาธรรมที่ทำให้เกิดปีติ
    http://84000.org/tipitaka/book/v.php?B=12&A=9420&Z=9601

    พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
    คำว่า ปริยาย, นิปปริยาย
    http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ปริยาย

    พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
    คำว่า นิพพาน 2
    http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=นิพพาน_2
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มกราคม 2020
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +70,497
    พระบาลีหลายแห่งยังระบุอานิสงส์ของการเข้าฌานสมาบัติไว้อีกว่า
    เป็นการพักผ่อนของพระอริยเจ้า สามารถระงับทุกขเวทนาทางกาย

    หรือ ยังนิโรธสมาบัติ เพื่อให้โลกคลายความเดือดร้อนวุ่นวาย
    จากภัยอันตรายของธรรมชาติ ด้วยการแผ่เมตตาให้ สัตว์ คน ไม่ขัดสนทุกข์ยากทรมานจากกฎของกรรม ผู้ใดได้ทำบุญกับพระที่ออกจากนิโรธสมาบัติ จะได้รับผลบุญทันทีทันใด ในวันนั้น คือ ความร่ำรวยทางโลก ปรารถนาสิ่งใดได้ตามแรงอธิษฐาน พระท่านเข้านิโรธสมาบัติและแต่ตามกำหนดของท่านตั้งแต่ 1 ชั่วโมง ถึง 7 วัน เป็นสิ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญเป็นบุคคลที่ควรได้รับความเคารพของเทวดา และ มนุษย์ การต้อนรับอย่างดียิ่งเป็นเขตแห่งบุญอย่างยอดเยี่ยมของโลก



    ผู้มีความชำนาญแคล่วคล่องในฌาน และ อบรมเจริญวิปัสสนา สามารถประจักษ์แจ้งอริยสัจธรรม พร้อมกับฌาน โดยมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ขององค์ฌาน แทนอารมณ์สมถกรรมฐาน

    โลกุตตรจิตเกิดร่วมกับองค์ฌานขั้นต่าง ๆ ตามการสะสม ในมัคควิถี ซึ่งรู้แจ้ง
    อริยสัจธรรมนั้น ผลจิตเกิดต่อจากมัคคจิตทันที เมื่อผลจิตดับแล้ว มัคควิถีจิตก็สิ้นสุดลง มัคคจิตนั้นจะไม่เกิดอีกเลย แต่ผลจิตอาจจะเกิดอีกได้หลายครั้งในชาตินั้น และ นิพพานเป็นอารมณ์ขององค์ฌานที่เกิดกับผลจิตนั้น


    ( ฌานไม่มีแก่ผู้ไม่มีปัญญา ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่มีฌาน
    ฌานและปัญญามีอยู่ในผู้ใด ผู้นั้น แลอยู่ในที่ใกล้นิพพาน

    /
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
    ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
    [​IMG]
    คาถาธรรมบท ภิกขุวรรคที่ ๒๕ )


    -----------------------------------------------------------------------------------------------------

    ในมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มหายมกวรรค จูฬโคสิงคสาลสูตร มีข้อความว่า
    พระผู้มีพระภาคเสด็จไปหาท่านพระอนุรุทธ ท่านพระนันทิยะ และ ท่านพระกิมิละ ขณะที่ท่านเหล่านั้นพำนักอนยู่ที่ป่าโคสิงคสาลวัน พระผู้มีพระภาคตรัสถามถึงความเป็นอยู่ของท่านเหล่านั้น ท่านเหล่านั้นบรรลุรูปฌาน และ อรูปฌาน และ สามารถเข้าฌานได้ตามความปรารถนา พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
    ดีละ ดีละ อนุรุทธ ก็คุณวิเศษ คือ ญาณทัสสนะอันสามารถกระทำความเป็นพระอริย อันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องสำราญที่พวกเธอได้บรรลุแล้ว เพื่อความก้าวล่วง เพื่อความระงับแห่งธรรมเป็นเครื่องอยู่อันนี้ อย่างอื่นมีอยู่หรือฯ
    เพราะเหตุอะไรเล่า จะไม่พึงมี พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์หวังอยู่เพียงว่า เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวงพวกเราบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ เพราะเห็นแม้ด้วยปัญญาอาสวะของท่านผู้นั้นย่อมหมดสิ้นไป อันนี้ได้แก่คุณวิเศษ คือ ญาณทัสสนะอันสามารถกระทำความเป็นพระอริยอันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่สำราญอย่างอื่น เพื่อความก้าวล่วง เพื่อความระงับแห่งธรรมเป็นเครื่องอยู่อันนี้ได้บรรลุแล้ว พระพุทธเจ้าข้า อนึ่ง พวกข้าพระองค์ยังไม่พิจารณาเห็นธรรมเป็นเครื่องอยู่สำราญอย่างอื่น ที่ยิ่งกว่าธรรมเป็นเครื่องอยู่สำราญอันนี้ฯ
    ดีละ ดีละ อนุรุทธ ธรรมเป็นเครื่องอยู่สำราญอย่างอื่น ที่ยิ่งกว่าหรือประณีตกว่าธรรมเป็นเครื่องอยู่สำราญอันนี้หามีไม่ฯ

    ( http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=361 )






     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มกราคม 2020
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +70,497
    c_oc=AQmqbW_j-8l9_0-QbhZuDeIcS6mHFddb3L0AIbwKPppLfpjTatCtbm6H2dwXK0n-3GQ&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg

    คิดไม่ถึง

    สำนักปฏิบัติแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นสาขาของหลวงปู่นั่นเอง อยู่ด้วยกันเฉพาะพระประมาณห้าหกรูป อยากจะเคร่งครัดเป็นพิเศษ ถึงขั้นสมาทานไม่พูดจากันตลอดพรรษา คือ ไม่ให้มีเสียงเป็นคำพูดออกมาจากปากใคร ยกเว้นการสวดมนต์ทำวัตร หรือสวดปาติโมกข์เท่านั้น ครั้นออกพรรษาแล้ว พากันไปกราบหลวงปู่ เล่าถึงการปฏิบัติอย่างเคร่งของพวกตนว่า นอกจากปฏิบัติข้อวัตรอย่างอื่นแล้วสามารถหยุดพูดได้ตลอดพรรษาด้วย ฯ

    หลวงปู่ฟังฟังแล้วยิ้มหน่อยหนึ่ง พูดว่า

    "ดีเหมือนกัน เมื่อไม่พูดก็ไม่มีโทษทางวาจา แต่ที่ว่าหยุดพูดได้นั้นเป็นไปไม่ได้หรอก นอกจากพระอริยบุคคลผู้เข้านิโรธสมาบัติชั้นละเอียดดับสัญญาเวทนาเท่านั้นแหละที่ไม่พูดได้ นอกนั้นพูดทั้งวันทั้งคืน ยิ่งพวกที่ตั้งปฏิญาณว่าจะไม่พูดนั่นแหละยิ่งพูดมากกว่าคนอื่น เพียงแต่ไม่ออกเสียงให้คนอื่นได้ยินเท่านั้น."
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +70,497
    เรื่อง"นิโรธสมาบัติ"
    "หลวงปู่จวน กุลเชฏโฐ."

    "วันหนึ่ง" หลวงปู่จวน กุลเชฏโฐ. ได้พิจารณาการเข้า “นิโรธสมาบัติ” เมื่อ “จิตรวมลง” ... “จิตหนึ่ง” พูดขึ้นว่า “นิโรธ” มันยังมี "สังขาร" อยู่ ยังมี "การเกิด การดับ มีเวลาเข้า เวลาออก ไม่ขาดจากเหตุและปัจจัย" อันเป็นเหตุให้เกิด "ทุกข์" คือ “สังโยชน์ ๑๐” จิตเมื่อรวมลงแล้ว เหมือนกับว่า “ไม่มีกิเลส” เมื่อ "ถอนออกมาสู่จิตธรรมดา" “กิเลสมันยังมีอยู่" ยัง "กำเริบอยู่เหมือนเดิม”

    หลังจากนั้น หลวงปู่จวน กุลเชฎโฐ ได้เข้าไปกราบเรียนถามเรื่อง “นิโรธสมาบัติ” กับ "หลวงปู่มั่น ภูริฑัตตะเถระ" หลวงปู่มั่น ภูริฑัตตะเถระ ได้ตอบ และได้ประกาศเรื่อง “นิโรธ” ให้ลูกศิษย์ทราบว่า
    "การเข้านิโรธสมาบัติ" ที่กำหนด ๓ วันบ้าง ๗ วันบ้าง นั้น "การเข้า นิโรธ” แบบนี้ เป็น “นิโรธสมมุติ เป็นนิโรธบัญญัติเป็นนิโรธน้อม เป็นนิโรธสังขาร เป็นนิโรธหลง เป็นนิโรธที่ขาดสติ ขาดปัญญา” จิตยังไม่ขาดจาก “สังโยชน์ ๑๐”, “สังโยชน์ ๑๐” ยังครอบคลุมอยู่ เมื่อ "จิตถอนออกมา" เป็นจิตธรรมดา จิตกระทบกับ “อารมณ์ต่างๆ” นานเข้า "จิตจะฟุ้งซ่าน" และ "เสื่อมจากความสงบ"...

    ส่วน “นิโรธของพระอริยเจ้า” นั้นเป็น “นิโรธมีสติ มีปัญญา” เป็นอกาลิโก ดับทุกข์อยู่ตลอดเวลา ไม่อ้างกาล ไม่อ้างเวลา" ไม่เหมือน “นิโรธของปุถุชน ของพวกฤษีชีไพรนอกศาสนา” ที่มีความมุ่งหมายอยากให้ “จิตรวม” ลงอย่างเดียว เมื่อ “จิตถอน” ออกมา “ไม่น้อมเข้ามาพิจารณา” ให้รู้เห็น “สัจธรรม” เป็น "นิโรธที่ไว้ใจไม่ได้"

    “นิโรธของพระอริยเจ้า” เมื่อ “จิต” ของท่านลงสู่ “ฐีติจิต” จิตถอนจาก “ฐีติจิต” แล้ว ท่านก็ "พิจารณาสาวหาสาเหตุ หาปัจจัย" ของ "สัจธรรมทั้งหลาย" นี่เป็น “นิโรธของพระอริยเจ้า”

    หลวงปู่มั่นได้ย้ำว่า “นิโรธของพระอริยเจ้า" นั้น เป็น "นิโรธอยู่ตลอดเวลา ไม่อ้างกาลอ้างเวลาว่า เวลานั้นจึงจะเข้านิโรธ เวลานั้นจึงจะออกจากนิโรธ" เป็นความดับทุกข์อยู่ตลอดเวลา เป็นนิโรธดับสังขาร ไม่มีสังขารแล้ว พ้นทุกข์แล้ว” จะเรียกว่า “พระนิพพาน” ก็ได้ “วิสุทธิธรรม” ก็ได้ “อมตธรรม” ก็ได้ เป็นธรรมที่ไม่ม้วยมรณ์ คือ “ไม่ตาย” เป็น “ธรรมที่อยู่เหนือโลก พ้นโลก หมดสมมุติ หมดบัญญัติ หมดกิริยา” เป็น “อกิริยา” ไม่มีการไปการมา เรียกว่า “นิโรธ”

    นี่เป็นคำสอนของพระอาจารย์ใหญ่ (หลวงปู่มั่น ภูริทัตตะเถระ)



    [​IMG]
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +70,497
    ?temp_hash=ea8dd629be7b5b0dcf8d85e89b1c3771.jpg


    boonruen-03.gif

    อานุภาพนิโรธสมาบัติคุณแม่บุญเรือน

    เข้านิโรธครั้งแรก ในวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๖ ที่บ้านสามัคคีวิสุทธิ ถนนวิสุทธิกษัตริย์ คุณแม่บุญเรือนได้เข้านิโรธสมาบัติ อธิษฐานให้มะม่วงออกช่อออกลูกได้ภายในคืนเดียว โดยกิ่งหนึ่งของต้นมะม่วง ท่านอธิษฐานให้ออกช่อเป็นรูปปิ่นปักผม เพื่อเป็นประจักษ์พยานในการถือกรรมฐานกองนี้อย่างบริสุทธิ์ “การเข้านิโรธสมาบัติเป็นการเข้าฌานชั้นสูง ผู้เข้าได้ต้องได้รูปฌาณ ๑-๔ และ อรูปฌาณ ๕-๘ และมีบารมีเต็ม ส่วนวันนั้น คุณแม่ได้ทรงฌาณ ๘ เต็มกำลังอธิฐานไม่ขยับไม่เคลื่อนออกจากที่ไม่ขบเคี้ยว กินอาหาร ทั้งเวลาตระวันขึ้นและพระจันทร์ขึ้นตลอดแสง ถือเป็นสตรีหนึ่งเดียวที่เข้านิโรธสมาบัติ พิสูจน์ได้และมีประชาชนเป็นสักขีพยานมากหมาย

    สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ : ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์

    เข้านิโรธสมาบัติครั้งแรก การเข้านิโรธครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกในจำนวนทั้งสิ้น ๔ ครั้ง โดยครั้งที่ ๓ ที่ จ.ระยอง คุณแม่บุญเรือนได้เข้านิโรธสมาบัติ อธิษฐานให้ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทรงพระเจริญและแคล้วคลาดจากสรรพภยันตรายทั้งปวง ที่ท่านได้เข้านิโรธสมาบัติ โดยคุณแม่ได้กระทำ ณ สถานที่ดังต่อไปนี้ ๑. บ้านสามัคคีวิสุทธิ ที่ถนนวิสุทธิกษัตริย์ กรุงเทพฯ พ.ศ.๒๔๙๖ ๒. พระพุทธบาท จ.สระบุรี ต้นปี พ.ศ.๒๔๙๙ ๓. บ้านนาซา จ.ระยอง พ.ศ.๒๔๙๘ ๔. พระแท่นดงรัง จ.กาญจนบุรี พ.ศ.๒๔๙๙

    อานุภาพ พลังแห่งนิโรธสมาบัติ

    พลังงานแห่งจิตพระอริยเจ้าของคุณแม่บุญเรือน ขณะทรงอยู่ใน "สัญญาเวทยิทนิโรธ" หรือ "นิโรธสมาบัติ" ที่ทรงพลานุภาพอย่างมหาศาล ไม่มีสิ่งใดจะปิดกั้นต้านทาน จึงแผ่ซ่านครอบคลุมทุกสรรพสิ่งในเขตวัดพระแท่นดงรังไว้ทั้งสิ้น

    เรื่องนี้ แม้หลวงพ่อกัสสปมุนี วัดปิปผลิวนาราม อ.บ้านค่าย จ.ระยอง พระอริยเจ้าชั้นสูงที่เคยเข้านิโรธสมาบัติมาหลายครั้งก็กล่าวรับรองว่า “พลังแห่งนิโรธสมาบัติ” นั้น จะครอบคลุมไปทั้งภูเขาท่านเลยทีเดียว

    ทุกคนทุกสรรพสิ่ง ก็ย่อมพลอยได้รับอานิสงส์ของพลังแห่ง "นิโรธสมาบัติ" ของคุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติมในค่ำคืนวันนั้นไปทั้งสิ้นอย่างไม่มีใดต้องสงสัย ดังที่ได้ปรากฏเหตุแห่ง "ปาฏิหาริย์" ยืนยันการดังกล่าวกับตัวของ "ศิษย์" ของคุณแม่บุญเรือนท่านหนึ่ง ซึ่งแม้จะนั่งอยู่ห่างๆ แต่เมื่อโดนอัดด้วยกระแส พลังนิโรธสมาบัติของคุณแม่บุญเรือนเข้าอย่างจัง ทำให้ "ศิษย์" คนนั้น ถึงกับได้ "ตาทิพย์" มองเห็นสิ่งอันพ้นวิสัยมนุษย์สามัญจะพึงเห็นได้ขึ้นมาอย่างปัจจุบันทันด่วน

    ในวันที่คุณแม่บุญเรือนเข้านิโรธสมาบัติครั้งสุดท้าย ที่วัดพระแท่นดงรัง จ.กาญจนบุรีนั้นเอง ก็ได้ปรากฏเหตุอัศจรรย์เกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิดกับบุคคลคนหนึ่ง ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะ "สามัคคีวิสุทธิ" ที่ติดตามคุณแม่บุญเรือนไปยังวัดพระแท่น ดงรังในคราวเดียวกันนั้นนั่นเอง ซึ่งมีชื่อว่า "นายผัน" ชาวตำบลย่านยาว อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี (ถึงแก่กรรมไปหลายปีแล้ว) นายผันผู้นี้ มีอาชีพเป็นแพทย์ประจำตำบล ผู้คนจึงนิยมเรียกกันจนติดปากว่า "หมอผัน"

    "หมอผัน" หรือนายผันได้เล่าให้บรรดาพรรคพวกเพื่อนฝูงที่เดินทางไปด้วยกันฟังว่า ขณะที่คุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติมกำลังเข้านิโรธสมาบัติอยู่นั่นเอง ตัวเขาก็ได้นั่งสมาธิในจุดที่ไม่ห่างไกลไปพร้อมกันด้วยฉับพลันนั้นเอง โดยไม่คาดฝันมาก่อน ก็ได้ มีลำแสงชนิดหนึ่ง พุ่งออกมาจากร่างของคุณแม่บุญเรือนตรงมายังตัวของหมอผันที่กำลังนั่งสมาธิ อยู่นั้นอย่างรวดเร็วและรุนแรงปานสายฟ้าฟาด!และ พอลำแสงแห่งนิโรธสมาบัติของคุณแม่บุญเรือนมากระทบตัวกับหมอผันเพียงเท่านั้น ก็เกิดแสงสว่างโชติช่วงชัชวาลในตัวของเขาในบัดดลนั้นเอง!

    และในทันใด หมอผันก็สามารถมองเห็นสิ่งต่างๆที่เร้นลับ นอกเหนือสายตาปกติของมนุษย์ปุถุชนคนธรรมดาทั่วไปจะเห็นได้

    "หมอผัน" จึงกลายเป็นคนได้ "ตาทิพย์" ขึ้นมาอย่างปัจจุบันทันด่วน ด้วยอำนาจ "นิโรธสมาบัติ" ของคุณแม่บุญเรือนในบัดเดี๋ยวนั้นเอง

    ( กราบคุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม ด้วยเศียรเกล้า )

    ข้อมูลจาก โลกทิพย์

    หนึ่งในอภิญญา ๖ ของคุณแม่บุญเรือน
    คือ ปุพเพนิวาสานุสสติ ได้แก่การระลึกชาติได้ เรื่องนี้ปรากฎว่า
    คุณแม่ได้เคยเล่าถึงชาติ และภพให้แก่ลูกๆ หรือนัยหนึ่งคือสานุศิษย์ ชาติและภพเก่าของคุณแม่ เล่าไว้รวม ๓ ชาติ

    ชาติแรก ท่านเกิดเป็นธิดาของพระเจ้าเชียงใหม่ ชื่อเจ้าหญิงสุวรรณสร้อย
    ชาติที่สองเกิดที่อุดรเป็นลูกสาวคนธรรมดา ชื่อจำปี
    ชาติที่สาม ท่านเกิดเป็นหญิงโม หรือท้าวสุรานารี
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • B.jpg
      B.jpg
      ขนาดไฟล์:
      58.5 KB
      เปิดดู:
      148
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +70,497
    +++ เข้านิโรธสมาบัติ คือการได้พักผ่อนอย่างแน่นอนที่สุด +++

    พระอาจารย์เล่าว่า "ตื่นตีหนึ่ง เก็บที่นอนเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ออกเดินมายังสำนักงานเจ้าอาวาส ผ่านต้นมะม่วงและมะปราง ปรากฏว่ามีลูกสุกตกลงพื้นเกลื่อนไปหมด บางส่วนเกิดจากความงอมจนได้ที่ อีกส่วนหนึ่งเกิดจากฝีมือของ "นกมีหูหนูมีปีก"

    การที่ "ตื่นแต่มืดแต่ดึก" แบบที่บางคนบอก เกิดจาก ๒ สาเหตุด้วยกัน #สาเหตุแรกก็คืออายุมากแล้ว พูดง่าย ๆ ว่าโดยธรรมชาติคนแก่ย่อมนอนน้อยลง สาเหตุที่ ๒ #เกิดจากการฝึกหนักตั้งแต่สมัยที่ยังเป็นวัยรุ่น ทุ่มเทกับการปฏิบัติกรรมฐาน โดยยึดหลัก "กินน้อย นอนน้อย พูดน้อย ปฏิบัติให้มาก"

    เมื่อต้องมาเป็นครูบาอาจารย์สั่งสอนลูกศิษย์ คำถามหนึ่งที่เจอก็คือ "ทำไมต้องตื่นเช้าขนาดนั้นด้วย ?" อาตมาตอบไปว่า "#ต้องตื่นก่อนกิเลส #ถ้ากิเลสตื่นก่อนเราจะฟุ้งซ่านไปทั้งวัน" เรื่องนี้หลายคนมีประสบการณ์ โดยเฉพาะบรรดาผู้ชายทั้งหลาย ถ้าไม่ได้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ย่อมเข้าใจดีว่าถ้ากิเลสตื่นก่อนแล้วจะเกิดอะไรขึ้น ?!!"

    "สภาพจิตของเราทำงานตลอดเวลาแม้ว่าเราจะหลับ #การที่เราจะหลับได้นั้นจะต้องมีสมาธิในระดับปฐมฌานหยาบ #ไม่อย่างนั้นแล้วเราจะนอนไม่หลับแล้วฟุ้งซ่านมาก #แต่สภาพจิตที่ทรงปฐมฌานหยาบในระหว่างที่เราหลับนั้น #ไม่มีอานิสงส์ของการทรงฌาน เนื่องจากเป็นกัมมวิปากชาฤทธิ์ คือฤทธิ์ที่เกิดโดยวิบากกรรม เมื่อเกิดเป็นมนุษย์หรือสัตว์ต้องมีความสามารถตรงจุดนี้ ไม่อย่างนั้นถ้าสภาพร่างกายไม่ได้พักผ่อนนาน ๆ ก็อาจจะถึงตายได้

    ปริศนาธรรมโบราณกล่าวว่า "กลางคืนเป็นควัน กลางวันเป็นเปลว" คือสภาพจิตของเราแม้ว่าตอนกลางคืนจะหลับ แต่ก็ยังมีสภาพการทำงานกรุ่นอยู่ เหมือนไฟป่าดอยสุเทพที่รอเวลาปะทุ เมื่อถึงกลางวันก็เร่งทำหน้าที่ของตนตามที่ได้คิดฟุ้งซ่านเอาไว้ตั้งแต่ตอนกลางคืน

    #ในเมื่อสภาพจิตของเราทำงานทั้งกลางวันและกลางคืน #ไม่มีโอกาสได้พักได้ผ่อน หลายท่านจึงสงสัยตนเองว่า เราก็ได้นอน ๖ - ๘ ชั่วโมงแล้ว ทำไมถึงยังรู้สึกเหนื่อยอยู่ตลอดเวลา ? เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าท่านได้พักแต่ร่างกาย สภาพจิตใจไม่ได้พักเลย"

    "#สภาพจิตที่จะได้พักอย่างแท้จริง #ต้องทรงอัปปนาสมาธิ ตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป ยิ่งถ้าได้ถึงฌาน ๔ หรือสมาบัติ ๘ ก็ยิ่งดี คือ #สมาธิยิ่งสูงเท่าไร #เราก็ได้พักอย่างแท้จริงมากเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเข้านิโรธสมาบัติ หรือที่เรียกอย่างเป็นทางการว่า สัญญาเวทยิตนิโรธ #นั่นคือการได้พักผ่อนอย่างแน่นอนที่สุด

    เนื่องจากว่าการเข้านิโรธสมาบัตินั้น สภาพร่างกายจะหยุดทำงานเกือบหมด #ถ้าหากว่าใช้เครื่องมือแพทย์มาตรวจวัด #ก็จะบอกว่าตายไปแล้ว เพราะว่าเหลือเพียง "ปราณละเอียด" ที่เครื่องมือแพทย์สมัยใหม่ยังจับไม่ได้ จึงรายงานว่าเจ้าของร่างนี้ตายไปแล้ว

    ดังนั้น..ท่านที่ทรงฌาน ๔ ก็ดี สมาบัติ ๘ ก็ดี หรือว่านิโรธสมาบัติก็ดี #ต้องระมัดระวังไว้ด้วยว่า #บุคคลที่ไม่รู้จะเหมาว่าท่านตายไปแล้ว #และอาจจะดำเนินการตามแบบคนตาย อย่างเช่นว่าใส่โลง เอาไปฝัง เอาไปเผา เป็นต้น"

    "พระเดชพระคุณหลวงพ่อฤๅษีฯ วัดท่าซุง #เมื่อท่านพักผ่อนจะล็อกประตูห้องเสมอ #ด้วยเกรงว่าถ้าลูกศิษย์ที่ไม่รู้ไปพบเข้า ก็จะเกิดปัญหาใหญ่ตามมา โดยเฉพาะบรรดาบุคคลที่ "โง่แล้วขยัน" เนื่องจากว่ามีอยู่ครั้งหนึ่ง หมอขออนุญาตติดเครื่องมือบางอย่างเพื่อวัดคลื่นหัวใจ เมื่อเอาไปตรวจสอบแล้วปรากฏว่า ตลอด ๑ คืนหัวใจของหลวงพ่อท่านหยุดเต้นถึง ๓๐๐ กว่าครั้ง แปลว่าพอสมาธิสูงขึ้น ร่างกายหยุดทำงาน เครื่องมือก็รายงานว่าหัวใจหยุดเต้นแล้ว..!

    มีอยู่ครั้งหนึ่งที่อาตมาไปเฝ้าไข้หลวงปู่พระภาวนาปัญญาวิสุทธิ์ (อำพัน อาภรโณ, บุญ - หลง) ที่ตึกพิเศษ ๕ โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า ลูกศิษย์สำคัญท่านหนึ่งของหลวงปู่ก็คือ พลเรือโทนายแพทย์บรรยงก์ ถาวรามร อดีตเจ้ากรมแพทย์ทหารเรือ มารักษาตัวอยู่ที่ห้องข้างเคียง

    หลวงปู่อยากจะไปเยี่ยมลูกศิษย์ แต่สภาพร่างกายก็ไม่อำนวย ช่วงนั้นอาตมาต้องอุ้มท่านเข้าออกห้องน้ำเป็นว่าเล่น #ท่านจึงใช้วิธีไปโดยมโนมยิทธิเต็มกำลัง ก็คือถอดจิตไปเยี่ยมลูกศิษย์แทนตัวท่านที่นอนอยู่"

    "พอดีเป็นช่วงเวลาที่หมอออกตรวจไข้ในช่วงเช้า ซึ่งภาษาแพทย์เรียกว่า "ออกราวด์" เมื่อจับชีพจรของหลวงปู่ นาวาตรีนายแพทย์สุรเสน ตวงวรนันท์ #ก็ตกใจสุดขีด #เพราะว่าชีพจรไม่เต้นเลย คุณหมอสุรเสนวิ่งไปรายงานเจ้านาย คือ พลเรือโทพนิต ศรียาภัย ท่านเจ้ากรมแพทย์ทหารเรือคนใหม่ ที่เป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่มหาอำพันเช่นกัน

    อาตมาเห็นท่าไม่ดีจึง "สะกิด" หลวงปู่ ท่านจึงดึงจิตกลับ ลืมตามาบอกกับท่านเจ้ากรมฯ พนิตว่า "ฝันว่าไปเยี่ยมลูกศิษย์มา" แล้วไม่ได้อธิบายอะไรมากไปกว่านั้น เพราะท่านเกรงว่าจะเป็นการอวดอุตตริมนุสสธรรม จึงได้แค่ทำไม่รู้ไม่ชี้ ปล่อยให้คุณหมอทั้งสองงงกันต่อไป"

    "#อาตมาเองถึงจะล็อกประตูแล้วก็ตาม #ก็ยังคงโดนบรรดาลูกศิษย์แสนดี #ที่ให้ช่างทำกุญแจสำรองแจกกันอย่างสนุกสนาน เข้าไป "ยำใหญ่" มาแล้ว จึงขอยกเป็นตัวอย่างให้ท่านทั้งหลายสังวรไว้ว่า #ถ้าปฏิบัติธรรมจนถึงระดับอัปปนาสมาธิเมื่อไร #ต้องระวังให้จงหนัก ถ้าท่านสร้างกรรมเอาไว้มากอย่าง "หลี่เถี่ยไกว่" หนึ่งในแปดเซียนของจีน ก็อาจจะโดนหามไปเผาแบบนั้นเช่นกัน..!"

    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    (หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน)
    เก็บตกบ้านเติมบุญ ต้นเดือนเมษายน ๒๕๖๓

    Cr. พุทธานุสติ ธรรมทาน ท่าขนุน

    cMA-MhDZQsj4Ch1DkLQBip_w4m2H7D5S-6EkzWOawaI18pIFoNyW_hfME2ejWeGFfnP72TXY&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +70,497
    ความสุขระดับต่างๆ
    ..............
    กามสุข
    [๙๐] อานนท์ กามคุณ ๕ ประการนี้ กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
    ๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รักชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
    ๒. เสียงที่จะพึงรู้แจ้งทางหู ...
    ๓. กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งทางจมูก ...
    ๔. รสที่จะพึงรู้แจ้งทางลิ้น ...
    ๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
    กามคุณ ๕ ประการนี้
    สุขโสมนัสที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยกามคุณ ๕ ประการนี้ เราเรียกว่า กามสุข
    ชนใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสที่สงบอย่างยิ่งนี้’ เราก็ไม่คล้อยตามคำของชนนั้น
    ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะยังมีสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
    สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่า
    สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างไร
    คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ นี้แล ชื่อว่าสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
    ชนใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสที่สงบอย่างยิ่งนี้’ เราก็ไม่คล้อยตามคำของชนนั้น
    ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะยังมีสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
    สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างไร คือ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ ... บรรลุตติยฌาน ... บรรลุจตุตถฌาน ... อยู่ นี้แล ชื่อว่าสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
    ชนใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ฯลฯ สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง บรรลุอากาสานัญจายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า
    ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ นี้แล ชื่อว่าสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
    ชนใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ฯลฯ
    สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างไร
    คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานอยู่ โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’
    นี้แล ชื่อว่าสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
    ชนใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ฯลฯ
    สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างไร
    คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงฌานได้โดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌานอยู่ โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’
    นี้แล ชื่อว่าสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
    ชนใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ฯลฯ
    สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างไร
    คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่
    นี้แล ชื่อว่าสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
    อานนท์ ชนใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสที่สงบอย่างยิ่งนี้’ เราก็มิได้คล้อยตามคำของชนนั้น
    ข้อนั้นเพราะเหตุไร
    เพราะยังมีสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
    สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างไร
    คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงฌานได้โดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่
    นี้แล ชื่อว่าสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
    [๙๑] อานนท์ เป็นไปได้ที่อัญเดียรถีย์ปริพาชกทั้งหลายจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
    ‘เป็นไปได้หรือ เป็นไปได้อย่างไรที่พระสมณโคดมกล่าวสัญญาเวทยิตนิโรธ และบัญญัติสัญญาเวทยิตนิโรธนั้นไว้ในสุข’
    อานนท์ อัญเดียรถีย์ปริพาชกทั้งหลายผู้กล่าวอย่างนี้ เธอทั้งหลายพึงค้านว่า ‘ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคไม่ได้ทรงหมายถึงสุขเวทนาเพียงอย่างเดียวแล้วบัญญัติสัญญาเวทยิตนิโรธนั้นไว้ในสุขเลย แต่บุคคลย่อมประสบสุขในฐานะใดๆ มีสุขในฐานะใดๆ พระตถาคตจึงทรงบัญญัติฐานะนั้นๆ ไว้ในสุข”
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
    ..............
    ข้อความบางตอนใน พหุเวทนิยสูตร มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=13&siri=9
    ดูเทียบกับ ปัญจกังคสูตร สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘
    https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=18&siri=213
    หมายเหตุ สรุปได้ว่า พระผู้มีพระภาคทรงแบ่งความสุขออกเป็น ๓ ประเภท คือ
    ๑. สุขที่เกิดจากกามคุณ ๕
    ๒. สุขที่เกิดจากฌาน ๘
    ๓. สุขที่เกิดจากสัญญาเวทยิตนิโรธ (การดับสัญญาและความรู้สึก)



    1x9TszFgZpJZC7jUorXngAlBTxV15ZfHPRkzZnsZVQs&_nc_ohc=HtvoG2R_qYEAX-yZtOp&_nc_ht=scontent.fbkk22-3.jpg
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +70,497
    อรรถกถา ขุททกนิกาย อุทาน นันทวรรคที่ ๓ มหากัสสปสูตร



    อรรถกถามหากัสสปสูตร มหากัสสปสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
    ในคำว่า สตฺตาหํ เอกปลฺลงฺเกน นิสินฺโน อญฺญตรํ สมาธึ สมาปชฺชิตฺวา นี้ อันดับแรก เกจิอาจารย์กล่าวไว้ว่า สมาธิอันสัมปยุตด้วยอรหัตผล ท่านประสงค์เอาว่า สมาธิอย่างใดอย่างหนึ่งในสูตรนี้.
    ก็ท่านมหากัสสปนั้นเข้าสมาธินั้นมาก เพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และสามารถยับยั้งอยู่ถึง ๗ วัน ด้วยผลสมาบัติ. จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสถาปนาท่านไว้ในฐานะอันเสมอกับพระองค์ ในอุตริมนุสธรรมต่างด้วยอนุบุพพวิหาร ๙ และอภิญญา ๖ เป็นต้น โดยนัยมีอาทิว่า
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราหวังอยู่ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ฯลฯ อยู่เพียงใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้กัสสปหวังอยู่ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย ฯลฯ อยู่เพียงนั้น.
    ก็ในที่นี้ไม่ควรกล่าวว่า ถ้าเมื่อเป็นอย่างนั้น พระเถระพึงกระทำแม้ยมกปาฏิหาริย์ได้ เพราะท่านประสงค์เอาฌานเป็นต้น ที่ทั่วไปแก่พระสาวกเท่านั้น.
    ฝ่ายพระโบราณาจารย์กล่าวไว้ว่า บทว่า อญฺญตรํ สมาธึ สมาปชฺชิตฺวา ได้แก่ เข้านิโรธสมาบัติ.
    ถามว่า อย่างไร นิโรธสมาบัติ ท่านจึงกล่าวว่าสมาธิ?
    ตอบว่า เพราะอรรถว่าตั้งมั่น.
    ก็อรรถว่าความตั้งมั่นนี้ คืออะไร?
    คือ เพราะนิโรธสมาบัติเป็นคุณธรรม ไม่หวั่นไหวด้วยธรรมอันเป็นข้าศึก เพราะความเป็นธรรมที่พึงตั้งมั่นไว้โดยชอบ คือพระอรหันต์หรือพระอนาคามี ผู้ถึงความเชี่ยวชาญในฐานะที่กล่าวแล้ว ประสงค์จะอยู่อย่างนั้น พึงตั้งมั่นความไม่เป็นไป (คือนิโรธสมาบัติ) โดยชอบทีเดียว แห่งความสืบต่อแห่งจิตและเจตสิก ตลอดเวลาตามที่ประสงค์ ด้วยการบรรลุด้วยพละ ๒ คือ สมถพละ วิปัสสนาพละ ด้วยญาณจริยา ๑๖ คือญาณ ๑๖ เหล่านี้ คือ อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนา นิพพิทานุปัสสนา วิราคานุปัสสนา นิโรธานุปัสสนา ปฏินิสสัคคานุปัสสนา วิวัฏฏานุปัสสนา มรรคญาณ ๔ ผลญาณ ๔ ด้วยสมาธิจริยา ๙ คือ สมาธิ ๙ ได้แก่ สมาธิ ๘ มีปฐมฌานสมาธิ เป็นต้น และอุปจารสมาธิของสมาธิ ๘ นั้น ซึ่งรวมเข้าเป็นอันเดียว ด้วยการสงบระงับสังขาร ๓ เหล่านี้ในธรรมนั้นๆ คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขาร
    ความที่นิโรธสมาบัตินั้น พึงตั้งมั่นอย่างนั้น ชื่อว่าอรรถแห่งความตั้งมั่นในที่นี้
    ด้วยเหตุนั้น วิหารธรรมนี้ ท่านจึงกล่าวว่าสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน.
    ด้วยเหตุนี้ แม้อรรถแห่งการเข้านิโรธสมาธินั้น พึงทราบว่า ท่านกล่าวไว้แล้ว.
    จริงอยู่ ในปฏิสัมภิทามรรค ท่านหมายเอานิโรธสมาบัตินี้
    ถามว่า อย่างไร ชื่อว่าญาณในสัญญานิโรธสมาบัติ
    เพราะประกอบด้วยพละ ๒ เพราะสงบระงับสังขาร ๓ เพราะญาณจริยา ๑๖ เพราะสมาธิจริยา ๙ เพราะความเป็นผู้เชี่ยวชาญ ดังนี้แล้ว จึงกล่าวว่า บทว่า ทฺวีหิ พเลหิ ได้แก่ พละ ๒ คือ สมถพละ วิปัสสนาพละ.
    พึงทราบความพิสดารต่อไป กถาว่าด้วยนิโรธสมาบัตินี้นั้น ท่านพรรณนาไว้แล้วในวิสุทธิมรรคแล.
    ก็เพราะเหตุไร พระเถระนี้ไม่เข้าผลสมาบัติ แต่เข้านิโรธสมาบัติ? เพราะจะอนุเคราะห์เหล่าสัตว์.
    จริงอยู่ พระมหาเถระนี้ ใช้สมาบัติได้แม้ทั้งหมด แต่โดยมากท่านเข้านิโรธสมาบัติ เพราะจะอนุเคราะห์สัตว์. เพราะเมื่อท่านเข้านิโรธสมาบัตินั้นแล้วออก สักการะแม้มีประมาณน้อยที่เขากระทำ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มากเป็นพิเศษแล.
    บทว่า วุฏฺฐาสิ ได้แก่ ออก โดยอรหัตผลจิตเกิดขึ้น. จริงอยู่ ผู้เข้านิโรธสมาบัติ หากเป็นพระอรหันต์ ย่อมชื่อว่าออกโดยอรหัตผลเกิดขึ้น หากเป็นพระอนาคามี ย่อมชื่อว่าออกโดยอนาคามิผลเกิดขึ้น.
    พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ก็สมัยนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพมีความประสงค์จะถวายบิณฑบาตแก่ท่านพระมหากัสสป ดังนี้ต่อไปนี้.
    อย่างไร ท้าวสักกะจึงมีความประสงค์จะถวายแก่ท่าน?
    เทวดาที่ท่านกล่าวว่ามีประมาณ ๕๐๐ นั้น เป็นปริจาริกาของท้าวสักกเทวราช นางมีเท้าดังเท้านกพิราบ เคยถูกท้าวสักกะส่งไปด้วยพระดำรัสว่า พระผู้เป็นเจ้ามหากัสสปเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ พวกเธอจงไปถวายทานแด่พระเถระ จึงเข้าไปหาแล้วยืนประสงค์จะถวายอาหารทิพย์ ถูกพระเถระห้าม จึงกลับไปยังเทวโลกตามเดิม.
    บัดนี้ คิดถึงการห้ามครั้งก่อน จึงคิดว่า พระเถระจะรับในกาลบางคราว มีความประสงค์จะถวายทานแก่พระเถระผู้ออกจากสมาบัติ จึงไม่กราบทูลให้ท้าวสักกะทรงทราบ มากันเอง น้อมโภชนะอันเป็นทิพย์เข้าไปถวาย ถูกพระเถระห้ามไว้โดยนัยก่อนเหมือนกัน จึงกลับไปเทวโลก ถูกท้าวสักกะถามว่า พวกเธอไปไหนมา จึงกราบทูลความนั้น.
    เมื่อท้าวสักกะถามว่า พวกเธอถวายบิณฑบาตแก่พระเถระแล้วหรือ จึงทูลว่า ท่านไม่ปรารถนาจะรับ. ท้าวสักกะถามว่า ท่านพูดว่าอย่างไร. จึงทูลว่า ข้าแต่เทวะ ท่านพูดว่า จะสงเคราะห์คนเข็ญใจ.
    ท้าวสักกะถามว่า พวกเธอไปโดยอาการอย่างไร. จึงทูลว่า ไปด้วยอาการนี้แหละ พระเจ้าข้า. ท้าวสักกะตรัสว่า ผู้เช่นพวกเธอ จักถวายบิณฑบาตแด่พระเถระได้อย่างไร มีพระประสงค์จะถวายด้วยพระองค์เอง จึงแปลงเป็นช่างหูกแก่ชรา ฟันหัก ผมหงอก หลังค่อม ทำแม้นางสุชาดาผู้เป็นอสุรธิดา ให้เป็นหญิงแก่เช่นนั้นเหมือนกัน แล้วนิรมิตถนนแห่งคนช่างหูกสายหนึ่ง กำลังกรอด้ายอยู่ นางสุชาดาทำ (ด้าย) ให้เต็มหลอด.
    เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เตน โข ปน สมเยน สกฺโก เทวานมินฺโท ฯเปฯ ตสรํ ปูเรสิ ดังนี้.
    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตนฺตํ วินาติ ได้แก่ ท้าวสักกะแสร้งทำเป็นเหมือนทอผ้าอยู่.
    บทว่า ตสรํ ปูเรติ ได้แก่ นางสุชาดาแสร้งทำเป็นเหมือนกรอด้ายอยู่.
    บทว่า เยน สกฺกสฺส เทวานมินฺทสฺส นิเวสนํ เตนุปสงฺกมิ ความว่า
    พระเถระครองผ้าแล้วถือบาตรและจีวร เดินมุ่งหน้าไปยังพระนครด้วยหมายว่า จักสงเคราะห์คนเข็ญใจ ดำเนินไปตามถนนช่างหูกที่ท้าวสักกะนิรมิตไว้นอกพระนคร ตรวจดูอยู่ได้เห็นศาลเก่าพังพะเยิบพะยาบ และสามีภรรยาทั้งสองผู้มีรูปร่างดังกล่าวแล้ว กำลังทอผ้าอยู่ในศาลานั้น
    ครั้นเห็นแล้วจึงคิดว่า สองผัวเมียนี้แม้ในเวลาแก่ ก็ยังทำการงานอยู่ ในเมืองนี้ เห็นจะไม่มีคนที่เข็ญใจกว่าสองผัวเมียนี้ เราจักรับสิ่งที่สองผัวเมียนี้ให้ แม้มาตรว่าผักดอง สงเคราะห์สองผัวเมียนี้. ท่านจึงเดินมุ่งหน้าไปยังเรือนของสองผัวเมียนั้น.
    ท้าวสักกะเห็นพระเถระกำลังเดินมา จึงตรัสกะนางสุชาดาว่า แน่ะเธอ พระคุณเจ้าของเรากำลังมาที่นี้ เจ้าจงนั่งนิ่งทำเป็นเหมือนไม่เห็นท่าน เราจะลวงชั่วขณะแล้ว จึงถวายบิณฑบาต. พระเถระได้ไปยืนอยู่ที่ประตูเรือน. ฝ่ายสองผัวเมียนั้นทำเป็นไม่เห็น ทำแต่งานของตนอย่างเดียว รอเวลาหน่อยหนึ่ง.
    ลำดับนั้น ท้าวสักกะตรัสว่า ดูเหมือนพระเถระรูปหนึ่งยืนอยู่ที่ประตูบ้าน เธอจงใคร่ครวญดูซิ.
    นางทูลว่า พระองค์โปรดไปใคร่ครวญดูเถอะนาย. ท้าวสักกะออกจากเรือนไหว้พระเถระด้วยเบญจางคประดิษฐ์ เอามือทั้งสองยันเข่าทอดถอนอยู่ ลุกขึ้นถามว่า พระผู้เป็นเจ้า เป็นพระเถระรูปไหนหนอ จึงถอยไปหน่อยหนึ่งแล้วตรัสว่า นัยน์ตาของเรามืดมัว จึงป้องพระหัตถ์ที่หน้าผากแล้วเงยขึ้นดู แล้วตรัสว่า โอ ตายจริง พระมหากัสสปเถระผู้เป็นเจ้าของเรา มายังประตูกระท่อมของเรานานแล้ว ในเรือนมีอะไรบ้างหรือ.
    นางสุชาดาทำเป็นกุลีกุจอหน่อยหนึ่งแล้วให้คำตอบว่า มีจ้ะนาย. ท้าวสักกะตรัสว่า ท่านผู้เจริญ ท่านไม่คิดว่า เศร้าหมองหรือประณีต โปรดสงเคราะห์โยมเถิด ดังนี้แล้วจึงรับบาตร. พระเถระเมื่อจะให้บาตร คิดว่า เราควรสงเคราะห์คนเข็ญใจแก่ชราเหล่านี้แหละ. ท้าวสักกะนั้นเข้าไปข้างในคดข้าวสุกในหม้อออกจากหม้อใส่เต็มบาตร แล้ววางไว้ในมือพระเถระ.
    ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ท้าวสักกะจอมเทพเจ้าได้เห็นแล้วแล ฯลฯ ได้ถวายแล้ว ดังนี้.
    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฆฏิยา แปลว่า จากหม้อข้าว.
    บาลีว่า ฆฏิโอทนํ ดังนี้ก็มี. อาจารย์บางพวกกล่าวอรรถของบาลีนั้นว่า ชื่อว่าข้าวสุกในหม้อ ได้แก่อาหารพิเศษบางอย่างของพวกเทพ.
    บทว่า อุทฺธริตฺวา ได้แก่ ยกขึ้นจากภาชนะไหนๆ. อาหารนั่นแหละมีสูปะมากมาย ในเวลาใส่ลงในบาตรแล้ววางในมือพระเถระ ปรากฏเหมือนอาหารปอนๆ ที่สำเร็จแก่คนกำพร้า แต่อาหารนั้นเพียงวางไว้ในมือ ได้ตั้งอยู่โดยสภาวะ เหมือนของทิพย์สำหรับตน.
    บทว่า อเนกสูโป ได้แก่ สูปะหลายอย่าง โดยสูปะมีถั่วเขียวและถั่วราชมาสเป็นต้น และโดยชนิดของเคี้ยวมากมาย.
    บทว่า อเนกพฺยญฺชโน ได้แก่ แกงอ่อมต่างชนิด.
    บทว่า อเนกสูปพฺยญชโน๑- ความว่า มีสูปะและพยัญชนะรสเลิศต่างๆ อันประกาศถึงรสเดิมมีน้ำหวานเป็นต้น และรสที่เจือกัน ด้วยสูปะและพยัญชนะมากมาย.
    ____________________________
    ๑- ของฉัฏฐีสังคีติ เป็น อเนกรสพฺยญฺชโน

    ได้ยินว่า บิณฑบาตนั้น ในเวลาวางไว้ในมือของพระเถระ ตลบไปด้วยกลิ่นทิพย์ของตนทั่วกรุงราชคฤห์. ลำดับนั้น พระเถระคิดว่า บุรุษนี้มีศักดิ์น้อย แต่บิณฑบาตของเขาประณีตยิ่งนัก เสมือนโภชนะของท้าวสักกเทวราช นั่น ใครหนอ.
    ลำดับนั้น พระเถระทราบว่าท่านเป็นท้าวสักกะ จึงกล่าวว่า ดูก่อนท้าวโกสีย์ ข้อที่พระองค์แย่งสมบัติของคนเข็ญใจ จัดว่าทำกรรมหนักแล้ว วันนี้คนเข็ญใจบางคนถวายทานแก่อาตมาแล้ว พึงได้ตำแหน่งเสนาบดีหรือตำแหน่งเศรษฐี.
    ท้าวสักกะกล่าวว่า ใครที่เข็ญใจกว่าข้าพเจ้ามีอยู่หรือ พระคุณเจ้า.
    พระเถระกล่าวว่า พระองค์เสวยสิริราชสมบัติในเทวโลก จะเป็นคนเข็ญใจได้อย่างไร.
    ท้าวสักกะกล่าวว่า ข้อนั้นชื่อว่าเป็นอย่างนั้นนะ พระคุณเจ้า ก็ข้าพเจ้าได้กระทำกรรมอันงามไว้ในเมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่อุบัติขึ้น แต่เมื่อพุทธุปบาทกาลเป็นไปอยู่ เทวบุตร ๓ องค์นี้ คือ จูฬรถเทวบุตร มหารถเทวบุตร อเนกวัณณเทวบุตร กระทำบุญกรรมแล้วเกิดในที่ใกล้กับข้าพเจ้า มีเดชมากกว่าข้าพเจ้า เมื่อเทวบุตรเหล่านั้นคิดจะเล่นงานนักขัตฤกษ์ จึงพานางบำเรอลงสู่ระหว่างถนน ข้าพเจ้าจึงหนีเข้าเรือน เพราะเดชจากสรีระของเทพบุตรเหล่านั้น กลบร่างของข้าพเจ้า เดชจากร่างของข้าพเจ้า หาได้กลบร่างของเทพบุตรเหล่านั้นไม่ ใครจะเป็นผู้เข็ญใจกว่าข้าพเจ้าล่ะ พระคุณเจ้า.
    พระเถระกล่าวว่า แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น ตั้งแต่นี้ไป พระองค์อย่าลวงอย่างนี้ แล้วถวายทานแก่อาตมา.
    ท้าวสักกะตรัสว่า เมื่อข้าพเจ้าลวงถวายทานแก่ท่าน ข้าพเจ้าจะมีกุศลหรือไม่มี.
    พระเถระกล่าวว่า มี อาวุโส.
    ท้าวสักกะตรัสว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ขึ้นชื่อว่าการทำกุศลเป็นหน้าที่ของข้าพเจ้าน่ะ ขอรับ ดังนี้แล้ว จึงนมัสการพระเถระ พานางสุชาดาทำประทักษิณพระเถระแล้วเหาะไป เปล่งอุทานขึ้น ๓ ครั้งว่า น่าอัศจรรย์ ทานที่เราตั้งไว้ดีแล้วในพระกัสสปเป็นทานอย่างยิ่ง.
    ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อถ โข อายสฺมโต มหากสฺสปสฺส เอตทโหสิ ดังนี้.
    พระมหากัสสปเรียกท้าวสักกะจอมเทพโดยโคตรว่า โกสิยะ ในพระบาลีนั้น.
    บทว่า ปุญฺเญน อตฺโถ แปลว่า ประกอบด้วยบุญ.
    บทว่า อตฺถิ เป็นบาลีที่เหลือ.
    บทว่า เวหาสํ อพฺภุคฺคนฺตฺวา ความว่า เหาะขึ้นจากพื้นดิน.
    อาจารย์บางพวกกล่าวว่า บทว่า อากาเส อนฺตลิกฺเข คือ ในอากาศเป็นที่เห็นรูปในระหว่าง โดยปริยายศัพท์ก็คืออากาศ. อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวไว้โดยพิเศษว่า ในอากาศกล่าวคือที่เห็นรูปในระหว่าง ไม่ใช่ในอากาศที่เพิกกสิณเป็นต้น.
    ศัพท์ว่า อโห ในบทว่า อโห ทานํ นี้ เป็นนิบาตใช้ในอรรถว่าน่าอัศจรรย์.
    จริงอยู่ ท้าวสักกะจอมเทพเกิดพระหฤทัยน่าอัศจรรย์ว่า เพราะเหตุที่เรากระทำความยำเกรงด้วยมือของตนโดยเคารพ แด่พระผู้เป็นเจ้ามหากัสสปเถระผู้ออกจากนิโรธสมาบัติ แล้วทำสัมมาทิฏฐิไม่ให้เปลี่ยนแปลง ไม่ให้กระทบกระทั่งผู้อื่นโดยกาล จึงถวายทานด้วยโภชนะเป็นทิพย์เช่นนี้ ฉะนั้น เพราะเราเป็นผู้ประกอบด้วยสมบัติ ๓ ประการ คือ เขตสมบัติ ไทยสมบัติและจิตสมบัติ จึงบำเพ็ญทานอันสมบูรณ์ด้วยองค์ทั้งปวงหนอ
    ในคราวนั้น เมื่อจะหลั่งออกซึ่งปีติและโสมนัสที่อยู่ภายในพระหฤทัยของพระองค์ จึงกล่าวว่า อโห ทานํ ทานน่าอัศจรรย์ เมื่อทรงประกาศว่า ทานนั้นเป็นทานสูงสุด และว่า เป็นเขต โดยนัยดังกล่าวแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานว่า ปรมทานํ กสฺสเป สุปติฏฺฐิตํ ดังนี้.
    ก็เมื่อท้าวสักกะทรงเปล่งอุทานอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารนั่นเอง ทรงสดับเสียงด้วยทิพยโสต แล้วตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอเห็นไหม ท้าวสักกะจอมเทพทรงเปล่งอุทานแล้วเหาะไป
    อันภิกษุเหล่านั้นทูลถามว่า ก็ท้าวสักกะนั้นทรงกระทำอะไร พระเจ้าข้า.
    จึงตรัสว่า ท้าวเธอลวงถวายทานแด่ท่านกัสสป บุตรของเรา เพราะเหตุนั้นแล ท้าวเธอพอพระทัยจึงทรงเปล่งอุทาน.
    ด้วยเหตุนั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงสดับแล้วแลด้วยทิพยโสตธาตุ ดังนี้.
    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิพฺพาย โสตธาตุยา ความว่า ชื่อว่าทิพย์ เพราะเหมือนกับของทิพย์. จริงอยู่ ทิพยปสาทโสตธาตุ อันเกิดด้วยสุจริตกรรมของพวกเทวดา ไม่พัวพันด้วยสิ่งไม่สะอาด มีดี เสมหะและเลือดเป็นต้น สามารถรับอารมณ์ แม้ในที่ไกลได้ เพราะปลอดจากอุปกิเลส. ก็แม้โสตธาตุสำเร็จด้วยญาณ อันเกิดจากกำลังความเพียรภาวนาของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน เหตุนั้น ชื่อว่าทิพย์ เพราะเป็นเช่นกับของทิพย์.
    อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าทิพย์ เพราะได้ด้วยอำนาจทิพยวิหารธรรม และแม้เพราะตนเองอาศัยทิพยวิหาร ชื่อว่าโสตธาตุ เพราะอรรถว่าฟังและอรรถว่าทรงอยู่ตามสภาวะ. ชื่อว่าโสตธาตุ เพราะเป็นเหมือนโสตธาตุ โดยทำหน้าที่แม้ของโสตธาตุ. ด้วยโสตธาตุอันเป็นทิพย์นั้น.
    บทว่า วิสุทฺธาย ได้แก่ บริสุทธิ์ คือปลอดจากอุปกิเลส.
    บทว่า อติกฺกนฺตมานุสิกาย ความว่า ล่วงอุปจารมนุษย์ ก้าวล่วงมังสโสตธาตุของมนุษย์ด้วยการฟังเสียงตั้งอยู่.
    บทว่า เอตมตฺถํ วิทิตฺวา ความว่า ทรงทราบความนี้ว่า เทพก็ดี มนุษย์ก็ดี เกิดความเอื้อเฟื้อประพฤติรักใคร่อย่างยิ่ง ซึ่งบุรุษผู้ดีเยี่ยมดำรงอยู่ในคุณวิเศษด้วยสัมมาปฏิบัติ แล้วจึงเปล่งอุทานนี้อันแสดงความนั้น.
    ในอรรถนั้น ผู้ชื่อว่า ปิณฑปาติกะ เพราะสมาทานธุดงค์ กล่าวคือองค์ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร แล้วจึงบำเพ็ญธุดงค์นั้น.
    ถามว่า พระคาถานี้ ตรัสกระทำท่านพระมหากัสสปให้เป็นเหตุ และพระเถระเป็นผู้เลิศกว่าธุตวาทภิกษุทั้งหมด เป็นผู้ทรงธุดงค์ ๑๓ มิใช่หรือ เพราะเหตุไร พระเถระจึงถูกระบุธุดงค์ข้อเดียวเท่านั้น?
    ตอบว่า นี้ เป็นการแสดงในอัตถุปปัตติเหตุ. อีกอย่างหนึ่ง นี้เป็นเพียงเทศนา. ด้วยคำนี้พึงทราบว่า ตรัสธุดงค์แม้ทั้งหมดแก่พระเถระนั้น โดยยกเทศนาขึ้นเป็นประธาน.
    อีกอย่างหนึ่ง เพื่อประกาศข้อปฏิบัติอันดีเยี่ยมในพระเถระนั้น ไม่ทำปิณฑปาติกวัตรทั้งหมดให้ขาด เพราะท่านมักน้อยอย่างยิ่ง และอนุเคราะห์ต่อตระกูล จึงกล่าวว่า ปิณฺฑปาติกสฺส โดยนัยดังกล่าวแล้ว ด้วยคาถามีอาทิว่า ยถาปิ ภมโร ปุปฺผํ ดังนี้.
    ก็บทว่า ปิณฺฑปาติกสฺส เป็นจตุตถีวิภัตติ โดยมุ่งถึงบทว่า ปิหยนฺติ.
    บทว่า ปิณฺฑปาติกสฺส นั้นพึงเห็นว่า ใช้ในอรรถทุติยาวิภัตติ.
    บทว่า อตฺตภรสฺส ความว่า ผู้เลี้ยงเฉพาะตนเท่านั้น ด้วยปัจจัย ๔ อันน้อย ไม่มีโทษ และหาได้ง่าย ซึ่งท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า ปัจจัยเหล่านั้นน้อยด้วย หาได้ง่ายด้วย ไม่มีโทษด้วย.
    บทว่า อนญฺญโปสิโน ความว่า ชื่อว่า ไม่ใช่ผู้เลี้ยงผู้อื่น เพราะไม่มีความขวนขวายที่จะเลี้ยงผู้อื่นมีศิษย์เป็นต้น ด้วยการสงเคราะห์ด้วยอามิส. ด้วยทั้ง ๒ บท พระองค์ทรงแสดงความประพฤติเบาพร้อม ความเป็นผู้เลี้ยงง่าย และความเป็นผู้สันโดษอย่างยิ่งของท่านพระมหากัสสป เพราะท่านเที่ยวไปด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย และบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง.
    อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อตฺตภรสฺส ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้เลี้ยงตน เพราะเลี้ยงตนผู้เดียวนี้เท่านั้น กล่าวคืออัตภาพ โดยต้องการจะพูดว่าเลี้ยงตนคำเดียว ไม่ใช่เลี้ยงคนอื่นจากงานนี้ไป. ต่อแต่นั้นแล ชื่อว่าไม่ใช่เลี้ยงผู้อื่น เพราะไม่มีคนอื่นที่ตนจะฟังเสียง. ซึ่งภิกษุนั้นผู้เลี้ยงตนผู้ไม่เลี้ยงคนอื่น. ด้วยทั้ง ๒ บท ทรงแสดงถึงความไม่ยึดถือต่อไป เพราะท่านเป็นพระขีณาสพ.
    บทว่า เทวา ปิหยนฺติ ฯเปฯ สตีมโต ความว่า เทพมีท้าวสักกะเป็นต้น ย่อมกระหยิ่ม คือย่อมปรารถนา พระขีณาสพนั้น ชื่อว่าผู้เข้าไปสงบ ด้วยปฏิปัสสัทธิ เพราะสงบความกระวนกระวาย และความเร่าร้อนอันเกิดแต่กิเลสทั้งปวง โดยบรรลุอรหัตผล ชื่อว่าผู้มีสติ เพราะเป็นผู้มีสติกระทำตลอดกาลเป็นนิจ ด้วยถึงความไพบูลย์ด้วยสติ ต่อแต่นั้น ถึงลักษณะความเป็นผู้คงที่ในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์เป็นต้น คือยังความนับถืออย่างมากให้เกิด จึงเกิดความเอื้อเฟื้อในคุณวิเศษของท่านมีศีลเป็นต้น จะพูดถึงมนุษย์ทำไมเล่าแล.
    จบอรรถกถามหากัสสปสูตรที่ ๗
    -----------------------------------------------------


    .. อรรถกถา ขุททกนิกาย อุทาน นันทวรรคที่ ๓ มหากัสสปสูตร จบ
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...