เรื่องเด่น ธรรม 4 ประการที่ใครก็ทำแทนกันไม่ได้

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 กรกฎาคม 2019.

  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,457
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,125
    ค่าพลัง:
    +70,477
    5656.jpg

    ?temp_hash=579b1cc322b8ecdd40a67b8efb0dc982.jpg
    ?temp_hash=579b1cc322b8ecdd40a67b8efb0dc982.jpg
    ?temp_hash=579b1cc322b8ecdd40a67b8efb0dc982.jpg


    ?temp_hash=579b1cc322b8ecdd40a67b8efb0dc982.jpg







    ถอดใจความจากพระไตรปิฏก....
    อุคฆฏิตัญญุสูตร บุคคลวรรค อังคุตตรนิกาย
    อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปทานสูตร ธมฺมเทสนาธิฏฺฐานวณฺณนา​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กรกฎาคม 2019
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,457
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,125
    ค่าพลัง:
    +70,477
    จึงขึ้นอยู่กับสัตว์โลก ว่าจะวางรากฐาน วาสนาเกี่ยวพันธ์กับพระโพธิสัตว์พระองค์ใดไว้บ้าง วางรากฐานบารมี10ไว้ให้ตนเองแค่ไหนบ้าง
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,457
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,125
    ค่าพลัง:
    +70,477
    ธมฺมเทสนาธิฏฺฐานวณฺณนา



    พึงทราบในภาณวารที่ ๓.


    บทว่า ยนฺนูนาหํ ธมฺมํ เทเสยฺยํ ความว่า ไฉนหนอ เราจะพึงแสดงธรรม.
    ก็วิตกนี้เกิดขึ้นแล้วเมื่อไร. เกิดขึ้นในสัปดาห์ที่ ๘ ของผู้เป็นพระพุทธเจ้า.
    ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสีนั้นเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ประทับนั่ง ณ โพธิบัลลังก์ตลอดสัปดาห์ ประทับยืนเพ่งดูโพธิบัลลังก์ตลอดสัปดาห์ เสด็จจงกรม ณ เรือนแก้วตลอดสัปดาห์ ประทับนั่งเฟ้นพระธรรม ณ เรือนแก้วตลอดสัปดาห์ ประทับนั่ง ณ อชปาลนิโครธตลอดสัปดาห์ ประทับนั่ง ณ โคนมุจลินท์ตลอดสัปดาห์ ประทับนั่ง ณ ราชายตนะตลอดสัปดาห์ เสด็จลุกจากราชายตนะนั้น พอพระองค์เสด็จมาในสัปดาห์ที่ ๘ ประทับนั่ง ณ อชปาลนิโครธอีก ความวิตกนี้และความวิตกนอกเหนือจากนี้ที่พระพุทธเจ้าประพฤติและประพฤติมาอย่างสม่ำเสมอเกิดขึ้นแล้วแก่พระพุทธเจ้าทั้งปวง.
    ในบททั้งหลายเหล่านั้น บทว่า อธิคโต คือ แทงตลอดแล้ว. บทว่า ธมฺโม ได้แก่ ธรรม คืออริยสัจ ๔. บทว่า คมฺภีโร นี้ เป็นชื่อของการปฏิเสธความเป็นของตื้น.
    บทว่า ทุทฺทโส ความว่า เป็นธรรมที่เห็นได้ยาก คือเป็นธรรมอันบุคคลเห็นโดยยาก คือไม่สามารถเห็นง่าย เพราะเป็นธรรมลึกซึ้ง. เพราะเป็นธรรมที่เห็นได้ยาก จึงเป็นธรรมที่รู้ตามยากอันบุคคลพึงตรัสรู้โดยยาก คือไม่สามารถตรัสรู้ได้โดยง่าย.
    บทว่า สนฺโต คือ ดับสนิทแล้ว. บทว่า ปณีโต คือ ไม่เร่าร้อน. ทั้งสองบทนี้ท่านกล่าวหมายถึง โลกุตตระนั่นเอง.
    บทว่า อตกฺกาวจโร ความว่า ไม่ควรคาดคะเน คือไม่ควรหยั่งลงด้วยการตรึก ควรคาดคะเนด้วยญาณเท่านั้น. บทว่า นิปุโณ คือ ละเอียด. บทว่า ปณฺฑิตเวทนีโย ความว่า อันบัณฑิตผู้ปฏิบัติปฏิปทาชอบพึงรู้ได้.
    บทว่า อาลยรามา ความว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมติดในกามคุณ ๕ เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านั้น ท่านกล่าวว่าอาลยา. สัตว์ทั้งหลายย่อมอยู่กับความพัวพันวิปริตของตัณหา ๑๐๘ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่าอาลยา. สัตว์ทั้งหลายย่อมยินดีด้วยอาลัยเหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอาลยรามา คือมีอาลัยเป็นที่ยินดี. สัตว์ทั้งหลายยินดีแล้วในอาลัย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอาลยรตา คือยินดีแล้วในอาลัย. สัตว์ทั้งหลายเบิกบานแล้วด้วยดีในอาลัยทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อาลยสมฺมุทิตา คือเบิกบานแล้วในอาลัย.
    สัตว์ทั้งหลายย่อมยินดีด้วยอาลัยในกามและอาลัยในตัณหาแม้เหล่านี้ เป็นผู้เบิกบานกระสันในสังสารวัฏอยู่ เหมือนพระราชาเสด็จประพาสพระราชอุทยาน อันสมบูรณ์ด้วยรุกขชาติที่เต็มไปด้วยดอกและผลเป็นต้น ซึ่งตกแต่งไว้เป็นอย่างดี ทรงรื่นรมย์เบิกบานชื่นชมเพลิดเพลินด้วยสมบัตินั้นๆ ไม่ทรงเบื่อหน่าย ไม่ทรงพระประสงค์จะเสด็จกลับ แม้เย็นแล้วฉะนั้น.
    ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงความอาลัยแม้ ๒ อย่าง ดุจภาคพื้นอุทยานแก่สัตว์เหล่านั้น จึงตรัสว่า อาลยรามา คือมีอาลัยเป็นที่ยินดีดังนี้เป็นต้น.
    บทว่า ยทิทํ เป็นนิบาต. พึงทราบความอย่างนี้ว่า
    บทว่า ยํ อิทํ หมายถึง ฐานะของบทนั้น. บทว่า โย อยํ หมายถึง ปฏิจจสมุปบาท. ปัจจัยของบททั้งสองนี้ว่า อิทปฺปจฺจยตา ปฏิจฺจสมุปฺปาโท ชื่ออิทัปปัจจยา คือสิ่งนี้เป็นปัจจัยของสิ่งนี้. ชื่อว่า อิทปฺปจฺจยตา และปฏิจฺจสมุปฺปาโท เพราะความที่สิ่งนี้เป็นปัจจัยของสิ่งนี้ และปัจจัยอันเป็นที่อาศัยกันเกิดขึ้น. บทนี้เป็นชื่อของ อวิชฺชาเป็นต้น อันเป็นปัจจัยแห่งสังขารเป็นต้น.
    บททั้งหมดว่า สพฺพสงฺขารสมโถ เป็นต้น เป็นนิพพานอย่างเดียว. เพราะความดิ้นรนของสังขารทั้งปวงอาศัยนิพพานนั้นย่อมสงบย่อมระงับ ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สพฺพสงฺขารสมโถ คือ เป็นที่ระงับแห่งสังขารทั้งปวงดังนี้.
    อนึ่ง เพราะกิเลสทั้งปวงเป็นอันสลัดทิ้งไปได้ ตัณหาทั้งปวงสิ้นไป กิเลสราคะทั้งปวงคลายไป ทุกข์ทั้งปวงดับไป เพราะอาศัยนิพพานนั้น ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สพฺพูปธิปฏินิสฺสคฺโค คือ เป็นที่สลัดกิเลสทั้งปวง ตณฺหกฺขโย เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา วิราโค คลายความกำหนัด นิโรโธ ดับทุกข์ ดังนี้. ก็ตัณหานั้นย่อมนำไป คือร้อยรัดภพด้วยภพหรือกรรมกับด้วยผลกรรม เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ตัณหากระทำการร้อยรัด. ชื่อนิพพานเพราะออกจากเครื่องร้อยรัดนั้น.
    บทว่า โส มมสฺส กิลมโถ ความว่า การแสดงธรรมแก่ผู้ไม่รู้พึงเป็นความลำบากของเรา. เป็นอันท่านกล่าวว่า พึงเป็นความลำบากทางกาย และพึงเป็นการเบียดเบียนทางกาย. ก็แต่ว่าทั้งสองนี้มิได้มีในดวงจิตของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
    บทว่า อปิสฺสุ เป็นนิบาตในอรรถว่า พอกพูน. นิบาตนั้นแสดงว่า มิใช่ได้มีความวิตกนี้อย่างเดียว แม้คาถาเหล่านี้ก็แจ่มแจ้งแล้ว. ในบททั้งหลายว่า วิปสฺสึ เป็นอาทิความว่า พระวิปัสสีพระผู้มีพระภาคเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.
    บทว่า อนจฺฉริยา คือ อัศจรรย์น้อย. บทว่า ปฏิภํสุ ความว่า ธรรมเป็นโคจรทั้งหลายได้เกิดแก่ญาณกล่าวคือปฏิภาน ถึงซึ่งความเป็นธรรมพึงปริวิตก.
    บทว่า กิจฺเฉน ความว่า โดยยาก คือมิใช่เพื่อปฏิบัติยาก. เพราะแม้มรรค ๔ ก็ย่อมเป็นข้อปฏิบัติง่ายของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. บทนี้ ท่านกล่าวหมายถึงการปฏิบัติเพื่อได้คุณวิเศษมาของท่านที่ยังมีราคะ มีโทสะ และมีโมหะ ในเวลาบำเพ็ญบารมีนั้นเอง ให้สิ่งเป็นต้นอย่างนี้ คือตัดศีรษะที่ประดับตกแต่งแล้ว เอาเลือดออกจากคอ ควักดวงตาทั้งสองข้างที่หยอดยาไว้อย่างดี สละบุตรผู้จะดำรงวงศ์ตระกูล สละภรรยาผู้มีความประพฤติเป็นที่พอใจแก่ผู้ขอทั้งหลายที่พากันมา และถึงอย่างอื่นมีการตัดและทำลายในอัตภาพ เช่นกับขันติวาทีดาบสเป็นต้น.
    ห อักษรในบทว่า หลํ นี้เป็นเพียงนิบาต แปลว่า ควร.
    บทว่า ปกาสิตุ ํ คือเพื่อแสดง คือเมื่อคนบรรลุธรรมได้ยากอย่างนี้ ก็ไม่ควรแสดง คือควรแสดงกับคนฉลาด ท่านอธิบายว่า ประโยชน์อะไรด้วยการแสดง. บทว่า ราคโทสปเรเตหิ คือ ถูกราคะโทสะครอบงำ หรือราคะโทสะติดตามไป.
    บทว่า ปฏิโสตคามึ ความว่า สัจจธรรม ๔ อันถึงแล้วอย่างนี้ว่า เป็นธรรมทวนกระแสแห่งความเที่ยงเป็นต้น คือความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ไม่มีตัวตนและไม่งาม.
    บทว่า ราครตฺตา ความว่า ถูกกามราคะ ภวราคะและทิฐิราคะย้อมไว้.
    บทว่า น ทกฺขนฺติ ความว่า สัตว์ทั้งหลายจักไม่เห็นตามความเป็นจริงนี้ว่า เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีตัวตนไม่งามดังนี้ ใครเล่าจักอาจเพื่อให้ผู้ที่ไม่เห็นเหล่านั้น ถือเอาอย่างนี้ได้.
    บทว่า ตโมกฺขนฺ เธน อาวุฏา ความว่า ถูกกองอวิชชาหุ้มห่อไว้.
    บทว่า อปฺโปสฺสุกฺกตาย ความว่า เพราะไม่ประสงค์จะทรงแสดง โดยความเป็นผู้ไม่มีความขวนขวาย. ก็เพราะเหตุไร พระทัยของพระองค์จึงน้อมไปอย่างนี้เล่า พระองค์ทรงกระทำความปรารถนาไว้ว่า เรานั่นพ้นแล้วจักปลดเปลื้องสัตว์ เราข้ามได้แล้วจักให้สัตว์ข้ามบ้าง
    จะได้ประโยชน์อะไรด้วยเราผู้รู้แจ้งธรรมในโลกนี้แล้ว
    จะไม่ให้ผู้อื่นรู้บ้าง เราบรรลุสัพพัญญุตญาณแล้ว จักยังสัตว์
    พร้อมด้วยเทวดาให้ข้ามพ้นไป
    ดังนี้ มิใช่หรือ แล้วทรงบำเพ็ญบารมีจนได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ.
    ข้อนั้นเป็นความจริง แต่จิตของพระองค์ทรงน้อมไปอย่างนั้นด้วยอานุภาพแห่งการพิจารณา.
    จริงอยู่ เมื่อพระองค์บรรลุสัพพัญญุตญาณแล้ว ทรงพิจารณาถึงความที่สัตว์ทั้งหลายยังยึดกิเลสอยู่ และความที่พระธรรมเป็นธรรมลึกซึ้ง ความที่สัตว์ทั้งหลายยังยึดถือกิเลสอยู่ และความที่พระธรรมเป็นธรรมลึกซึ้ง ปรากฏโดยอาการทั้งปวง.
    เมื่อเป็นเช่นนั้น เมื่อพระองค์ทรงดำริว่า สัตว์เหล่านี้แลเต็มไปด้วยกิเลสเศร้าหมองยิ่งหนัก ถูกราคะย้อม ถูกโทสะครอบงำ ลุ่มหลงไปด้วยโมหะ ดุจน้ำเต้าเต็มไปด้วยน้ำส้ม ดุจถาดเต็มไปด้วยเปรียง ดุจผืนผ้าขี้ริ้วชุ่มไปด้วยมันเหลวและน้ำมัน ดุจมือเปื้อนไปด้วยยาหยอดตา เขาเหล่านั้นจักรู้แจ้งแทงตลอดไปได้อย่างไร ดังนี้
    จิตจึงน้อมไปอย่างนั้น ด้วยอานุภาพแห่งการยึดถือกิเลสและการพิจารณา.
    อนึ่ง พระธรรมนี้ลึกซึ้งดุจลำน้ำหนุนแผ่นดินไว้ เห็นได้ยากดุจเมล็ดผักกาดที่ถูกภูเขากำบังไว้ ตั้งอยู่ และรู้ตามได้ยากดุจการแยกปลายด้วยปลายของขนสัตว์ที่ผ่าออก ๑๐๐ ส่วน.
    จริงอยู่ เราพยายามเพื่อรู้แจ้งแทงตลอด ธรรมนี้ไม่มีทานที่ไม่ได้ให้ ไม่มีศีลที่ไม่ได้รักษา ไม่มีบารมีที่ไม่ได้บำเพ็ญมิใช่หรือ แม้เมื่อเรากำจัดมารและเสนามารดุจไร้ความอุตสาหะ แผ่นดินก็ไม่หวั่นไหว แม้เมื่อเราระลึกถึงขันธ์ที่เคยอยู่อาศัยในชาติก่อนในปฐมยามได้ก็ไม่หวั่นไหว แม้เมื่อเราชำระทิพพจักษุในมัชฌิมยามก็ไม่หวั่นไหว แต่เมื่อเรารู้แจ้งแทงตลอดปฏิจจสมุปบาทในปัจฉิมยาม แผ่นดินหมื่นโลกธาตุได้หวั่นไหวแล้ว ด้วยประการดังนี้
    แม้ชนเช่นเรายังรู้แจ้งแทงตลอดธรรมนี้ด้วยญาณอันกล้าได้โดยยากถึงเพียงนี้แล้ว มหาชนชาวโลกจักรู้แจ้งแทงตลอดธรรมนั้นได้อย่างไร เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่า จิตของพระองค์น้อมไปแล้วอย่างนั้น แม้ด้วยอานุภาพแห่งความที่พระธรรมเป็นธรรมลึกซึ้งและด้วยการพิจารณาดังนี้.
    อีกอย่างหนึ่ง เมื่อพระพรหมทูลวิงวอน จิตของพระองค์ก็น้อมไปอย่างนี้ เพราะมีพระประสงค์จะแสดง.
    จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคย่อมทรงทราบว่า เมื่อจิตของเราน้อมไปเพราะความที่เราเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย มหาพรหมวิงวอนเราเพื่อขอให้แสดงธรรม ก็สัตว์เหล่านี้เป็นผู้เคารพพรหม เมื่อรู้ว่ามีข่าวว่า พระศาสดาไม่มีพระประสงค์จะแสดงธรรมแก่พวกเรา ทีนั้น มหาพรหมทูลวิงวอนพระองค์ให้แสดงแล้ว ผู้เจริญทั้งหลาย พระธรรมสงบหนอ ประณีตหนอดังนี้ จักตั้งใจฟัง ดังนี้.
    พึงทราบว่า อาศัยเหตุนี้ จิตของพระองค์จึงน้อมไป เพื่อความที่พระองค์เป็นผู้มีความขวนขวายน้อย ไม่น้อมไปเพื่อจะทรงแสดงธรรม.
    ในบทว่า อญฺญตรสฺส นี้ ท่านกล่าวว่า อญฺญตโร ก็จริง ถึงดังนั้นพึงทราบว่า นั่นคือมหาพรหมผู้ใหญ่ในจักรวาฬนี้.
    บทว่า นสฺสติ วต โภ โลโก ความว่า นัยว่า มหาพรหมนั้นเปล่งเสียงนี้ โดยที่หมู่พรหมในหมื่นโลกธาตุสดับแล้ว ทั้งหมดประชุมกัน.
    บทว่า ยตฺร หิ นาม คือ ในโลกชื่อใด.
    บทว่า ปุรโต ปาตุรโหสิ ความว่า มหาพรหมได้ปรากฏพร้อมกับพรหมหนึ่งหมื่นเหล่านั้น.
    บทว่า อปฺปรชกฺขชาติกา ความว่า ธุลี คือราคะโทสะและโมหะเบาบาง คือนิดหน่อย ในดวงตาอันสำเร็จด้วยปัญญา สภาพอย่างนี้ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นยังมีอยู่ เพราะเหตุนั้น สัตว์ทั้งหลายชื่อว่า อปฺปรชกฺขชาติกาคือ มีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุเบาบาง.
    บทว่า อสฺสวนตา คือ เพราะมิได้ฟัง.
    บทว่า ภวิสฺสนฺติ ความว่า ท่านแสดงว่า สัตว์ทั้งหลายผู้สร้างสมบุญไว้แล้วถึงความแก่กล้าในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ด้วยสามารถบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ หวังพระธรรมเทศนาอย่างเดียวเหมือนประทุมชาติหวังแสงอาทิตย์ เป็นผู้ควรหยั่งลงสู่อริยภูมิ ในเมื่อจบคาถา ๔ บท ไม่ใช่คนเดียว ไม่ใช่สองคน มีหลายแสนจักเป็นผู้รู้ธรรม ดังนี้.
    บทว่า อชฺเฌสนํ คือ วิงวอนอย่างนี้ ๓ ครั้ง.
    บทว่า พุทฺธจกฺขุนา ความว่า ด้วยปรีชากำหนดรู้ความหย่อนและยิ่งแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย และด้วยอาสยานุสยญาณ.
    บทว่า พุทฺธจกฺขุ เป็นชื่อแห่งญาณทั้งสองนี้.
    บทว่า สมนฺตจกฺขุ เป็นชื่อแห่งพระสัพพัญญุตญาณ.
    บทว่า ธมฺมจกฺขุ เป็นชื่อแห่งมรรคญาณ ๓.
    ในบทว่า อปฺปรชกฺเข เป็นต้น ความว่า สัตว์ที่มีธุลีมีราคะเป็นต้น ในปัญญาจักษุน้อยโดยนัยที่กล่าวนั้นแล. ชื่อว่า อปฺปรชกฺขา คือมีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุน้อย. สัตว์ที่มีธุลีมีราคะเป็นต้นนั้นในปัญญาจักษุมาก ชื่อว่า มหารชกฺขา คือมีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุมาก. สัตว์ที่มีอินทรีย์มีศรัทธาเป็นต้นแก่กล้า ชื่อว่า ติกฺขินฺทฺริยา คือมีอินทรีย์แก่กล้า. สัตว์ที่มีอินทรีย์เหล่านั้นอ่อน ชื่อว่า มุทุนฺทฺริยา คือมีอินทรีย์อ่อน. สัตว์ที่มีอาการมีศรัทธาเป็นต้น เหล่านั้นดี ชื่อ สฺวาการา คือมีอาการดี. สัตว์ที่กำหนดเหตุที่กล่าวสามารถให้รู้ได้ง่าย ชื่อว่า สุวิญฺญาปยา คือให้รู้แจ้งได้ง่าย. สัตว์ที่เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัยชื่อว่า ปรโลกวชฺชภยทสฺสาวิโน คือมักเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย.
    ก็ในเรื่องที่มีบาลีดังนี้
    บุคคลที่มีศรัทธา มีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุน้อย บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา มีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุมาก บุคคลผู้ปรารภความเพียร มีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุน้อย บุคคลผู้เกียจคร้านมีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุมาก บุคคลผู้มีสติตั้งมั่นมีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุน้อย บุคคลผู้มีสติลุ่มหลง มีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุมาก บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น มีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุน้อย บุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น มีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุมาก บุคคลผู้มีปัญญามีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุน้อย บุคคลผู้มีปัญญาทรามมีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุมาก เช่นเดียวกันบุคคลผู้มีศรัทธามีอินทรีย์แก่กล้า ฯลฯ บุคคลผู้มีปัญญามักเห็นโลกอื่นและโทษด้วยความเป็นภัย บุคคลผู้มีปัญญาทรามมักไม่เห็นโลกอื่นและโทษโดยความเป็นภัย.
    บทว่า โลโก ได้แก่ ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก สมบัติภวโลก วิบัติภวโลก สมบัติและวิบัติภวโลก วิบัติสัมปัติภวโลก
    โลกหนึ่ง คือ สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงอยู่ได้ด้วยอาหาร. โลก ๒ คือ นามและรูป.
    โลก ๓ คือ เวทนา ๓. โลก ๔ คือ อาหาร ๔. โลก ๕ คือ อุปาทานขันธ์ ๕.
    โลก ๖ คือ อายตนะภายใน ๖. โลก ๗ คือ ภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ ๗.
    โลก ๘ คือ โลกธรรม ๘. โลก ๙ คือ ภพเป็นที่อยู่ของสัตว์ ๙.
    โลก ๑๐ คือ อายตนะ ๑๐. โลก ๑๒ คือ อายตนะ ๑๒. โลก ๑๘ คือ ธาตุ ๑๘.
    บทว่า วชฺชํ ได้แก่ กิเลสทุกชนิดเป็นโทษ ทุจริตทุกชนิดเป็นโทษ อภิสังขารทุกชนิดเป็นโทษ กรรม คือการไปสู่ภพทุกชนิดเป็นโทษด้วยประการฉะนี้ ทั้งในโลกนี้ ทั้งโทษนี้ เป็นอันปรากฏความหมายรู้โดยความเป็นภัยอย่างแรงกล้าเหมือนเพชฌฆาตเงื้อดาบ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ทรงรู้ทรงเห็น ทรงรู้ยิ่ง ทรงแทงตลอดอินทรีย์ ๕ เหล่านี้ ด้วยอาการ ๕๐ เหล่านี้ ่นี้เป็นพระปรีชากำหนดรู้ความหย่อนและยิ่งของอินทรีย์ทั้งหลายของพระตถาคต.
    บทว่า อุปฺปลินิยํ คือ ในกอบัว. แม้ในบทนอกนี้ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
    บทว่า อนฺโตนิมุคฺคโปสีนิ คือ ดอกบัวแม้เหล่าอื่นใดจมอยู่ในน้ำอันน้ำเลี้ยงไว้.
    บทว่า อุทกํ อจฺจุคฺคมฺม ติฏฺฐนฺติ คือบัวบางเหล่าตั้งขึ้นพ้นน้ำ.
    ในบทนั้น อธิบายว่า บัวบางเหล่าที่ตั้งขึ้นพ้นน้ำคอยรอสัมผัสแสงอาทิตย์แล้วบานในวันนี้. บางเหล่าตั้งอยู่เสมอน้ำจักบานในวันพรุ่งนี้. บางเหล่ายังจมอยู่ภายในน้ำอันน้ำเลี้ยงไว้จักบานในวันที่ ๓. แต่ว่ายังมีดอกบัวเป็นต้นที่มีโรคแม้เหล่าอื่นไม่ขึ้นพ้นจากน้ำแล้ว ดอกบัวเหล่าใดจักไม่บาน จักเป็นภักษาแห่งปลาและเต่าอย่างเดียว ดอกบัวเหล่านั้น ท่านไม่ควรนำขึ้นสู่บาลีได้แสดงไว้ชัดแล้ว.
    บุคคล ๔ จำพวก คือ อุคฆฏิตัญญู วิปจิตัญญู เนยย ปทปรมะ ก็เปรียบเหมือนดอกบัว ๔ เหล่านั้นแล.
    ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมพร้อมกับเวลาที่ท่านยกขึ้นแสดง ชื่ออุคฆฏิตัญญู. บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมเมื่อท่านแจกความแห่งคำย่อโดยพิสดาร ชื่อว่าวิปจิตัญญู. บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมโดยลำดับด้วยความพากเพียรท่องจำ ด้วยการไต่ถาม ด้วยทำไว้ในใจโดยแบบคาย ด้วยคบหาสมาคมกับกัลยาณมิตร ชื่อว่าเนยย. บุคคลที่ไม่ตรัสรู้ธรรมได้ในชาตินั้น แม้เรียนมาก ทรงไว้มาก สอนเขามาก ชื่อว่าปทปรมะ.๑-
    ในบทนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูหมื่นโลกธาตุ เช่นกับดอกบัว เป็นต้น ได้ทรงเห็นแล้วว่า บุคคลจำพวกอุคฆฏิตัญญู ดุจดอกบัวจะบานในวันนี้ บุคคลจำพวกวิปจิตัญญู ดุจดอกบัวจักบานในวันพรุ่งนี้ บุคคลจำพวกเนยยะ ดุจดอกบัวจักบานในวันที่ ๓ บุคคลจำพวกปทปรมะ ดุจดอกบัวอันเป็นภักษาแห่งปลาและเต่า.
    อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงตรวจดูได้ทรงเห็นโดยอาการทั้งปวงอย่างนี้ว่า สัตว์มีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุน้อยมีประมาณเท่านี้ สัตว์มีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุมากมีประมาณเท่านี้ แม้ในสัตว์เหล่านั้นจำพวกที่เป็นอุคฆฏิตัญญู มีประมาณเท่านี้ ดังนี้.
    ในสัตว์ ๔ จำพวกนั้น การแสดงธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่บุคคล ๓ จำพวกในอัตภาพนี้แล. พวกปทปรมะจะมีวาสนาเพื่อประโยชน์ในอนาคต.
    ____________________________
    ๑- อภิ. ปุ. เล่ม ๓๖/ข้อ ๑๐๘

    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศพระธรรมเทศนาอันนำมาซึ่งประโยชน์แก่บุคคล ๔ จำพวกเหล่านี้แล้ว ยังความเป็นผู้มีพระประสงค์จะทรงแสดงให้เกิดขึ้น ได้ทรงจัดสัตว์แม้ทั้งปวงในภพ ๓ ใหม่ ให้เป็นสองส่วนด้วยสามารถแห่งภัพสัตว์และอภัพสัตว์
    สัตว์ที่ท่านกล่าวหมายถึงนั้น คือ
    สัตว์เหล่าใดประกอบด้วยกัมมาวรณะ วิปากาวรณะ กิเลสาวรณะ ไม่มีศรัทธา ไม่มีความพยายาม มีปัญญาทราม เป็นผู้ไม่ควรก้าวลงสู่ความชอบในธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลอย่างแน่นอน สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้นั้นเป็นอภัพสัตว์
    ภัพสัตว์เป็นไฉน สัตว์เหล่าใดไม่ประกอบด้วย กัมมาวรณะ ฯลฯ สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้นั้นเป็นภัพสัตว์ ดังนี้.
    ____________________________
    ๒- ขุ. ปฏิ. เล่ม ๓๑/ข้อ ๒๘๒-๒๘๓

    ในบทนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละอภัพบุคคลแม้ทั้งหมด ทรงกำหนดภัพบุคคลอย่างเดียวด้วยพระญาณ ได้ทรงจัดให้เป็น ๖ ส่วน คือสัตว์จำพวกราคจริตประมาณเท่านี้ สัตว์จำพวกโทสจริต โมหจริต วิตักกจริต ศรัทธาจริต พุทธิจริต มีประมาณเท่านี้.
    ครั้นทรงจัดอย่างนี้แล้ว จึงทรงพระดำริว่า เราจักแสดงธรรม ดังนี้
    พรหม ครั้นทราบดังนั้นแล้ว เกิดโสมนัส ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาหลายคาถา.
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อถโข โส ภิกฺขเว มหาพฺรหฺมา เป็นต้น ทรงหมายถึงข้อนี้.
    ในบทเหล่านั้น บทว่า อชฺฌภาสิ ตัดบทเป็น อธิ อภาสิ. อธิบายว่า ได้กราบทูลปรารภยิ่งขึ้นไป.
    บทว่า เสเล ยถา ปพฺพตมุทฺธนิฎฺฐิโต คือ เหมือนคนยืนอยู่บนภูเขาหินล้วน.
    จริงอยู่ เมื่อคนยืนอยู่บนยอดภูเขานั้นก็ไม่มีกิจเป็นต้นว่ายกและยืดคอ แม้เพื่อจะดู.
    บทว่า ตถูปมํ ความว่า เปรียบด้วยสิ่งนั้น คือเปรียบด้วยภูเขาหินล้วน.
    ก็ความสังเขปในเรื่องนี้มีดังนี้.
    บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนยอดเขาหินล้วนพึงเห็นหมู่ชนโดยรอบฉันใด ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์เป็นผู้มีปัญญาดี มีจักษุโดยรอบด้วยพระสัพพัญญุตญาณก็ฉันนั้น เสด็จขึ้นสู่ปราสาทสำเร็จด้วยธรรมสำเร็จด้วยปัญญา เป็นผู้ปราศจากความโศกด้วยพระองค์เอง ทรงพิจารณา ทรงใคร่ครวญ ทรงตรวจตราหมู่ชนผู้เกลือกกลั้วไปด้วยความโศก ถูกชาติชราครอบงำแล้ว.
    ในบทนี้มีอธิบายดังนี้ เหมือนอย่างว่า มนุษย์ทั้งหลายกระทำที่ดินผืนใหญ่โดยรอบเชิงภูเขา แล้วปลูกกะท่อมในแนวพื้นที่เหมาะแก่การเพาะปลูก ณ ที่ดินผืนนั้น จุดไฟในเวลากลางคืน อนึ่ง ที่ดินนั้นพึงมีความมืดประกอบด้วยองค์ ๔.
    ขณะนั้น เมื่อบุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนยอดภูเขานั้น มองดูพื้นที่ที่ดินไม่ปรากฏ แนวพื้นที่เพาะปลูกไม่ปรากฏ กระท่อมไม่ปรากฏ พวกมนุษย์ที่นอนในกระท่อมนั้นไม่ปรากฏ แต่ปรากฏเพียงเปลวไฟในกระท่อมทั้งหลาย เท่านั้น ฉันใด
    เมื่อพระตถาคตเสด็จขึ้นสู่ธรรมปราสาททรงตรวจดูหมู่สัตว์ สัตว์ทั้งหลายที่ไม่ได้ทำความดี แม้นั่ง ณ ข้างพระชานุเบื้องขวา ในในที่อยู่แห่งเดียวกัน ก็ฉันนั้น ก็ไม่มาถึงคลองแห่งพุทธจักษุ ย่อมเป็นเหมือนลูกศรที่ซัดไปในเวลากลางคืน แต่สัตว์ทั้งหลายที่ทำความดี เป็นเวไนยบุคคล แม้ยืนอยู่ไกลพระตถาคตนั้น ย่อมมาสู่คลองได้. สัตว์เหล่านั้นย่อมเป็นดุจไฟและดุจภูเขาหิมพานต์.
    สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
    สัตบุรุษทั้งหลายย่อมปรากฏ ณ ที่ไกล เหมือนภูเขาหิมพานต์
    อสัตบุรุษทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏ ณ ที่นี้ เหมือนลูกศรที่เขาซัดไปใน
    เวลากลางคืน ฉะนั้น.๓-
    ____________________________
    ๓- ขุ. ธ. เล่ม ๒๕/ข้อ ๓๑

    บทว่า อุฎฺเฐหิ ความว่า พรหมกราบทูลวิงวอนถึงการเสด็จจาริก เพื่อโปรดแสดงธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
    พึงทราบในบทว่า วีร เป็นต้นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่าวีระ เพราะพระองค์มีความเพียร ชื่อว่าเป็นผู้ชนะสงความ เพราะพระองค์ทรงชนะเทวบุตตมาร มัจจุมาร และกิเลสมาร ชื่อว่าเป็นผู้นำพวก เพราะพระองค์ทรงข้ามชาติกันดารเป็นต้นได้ คือ เพราะพระองค์สามารถแนะนำแล้วนำพวกไปได้ ชื่อว่า เป็นผู้ไม่มีหนี้ เพราะไม่มีหนี้ คือกามฉันทะ ดังนี้.
    บทว่า อปารุตา คือ เปิดเผย. บทว่า ประตูอมตะ ได้แก่ อริยมรรค. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ว่า เพราะเราได้เปิดประตูนิพพาน กล่าวคืออมตะ ตั้งไว้แล้ว.
    บทว่า ปมุญฺจนฺตุ สทฺธํ ความว่า ผู้มีโสตทั้งปวง จงปล่อย คือสละศรัทธาของตนเถิด. ในสองบทหลังมีเนื้อความว่า ด้วยว่า เราเป็นผู้มีความรู้สึกลำบากด้วยกายและวาจา จึงมิได้กล่าวธรรมอันประณีต คือสูงสุดนี้ ซึ่งตนทำให้คล่องแคล่ว คือเป็นไปด้วยดีแล้ว ก็บัดนี้ ชนทั้งปวงจงน้อมนำภาชนะคือศรัทธาเข้าไปเถิด เราจักยังความดำริของชนเหล่านั้นให้บริบูรณ์ ดังนี้.

    ***********************************************************************

    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=1&p=3
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กรกฎาคม 2019

แชร์หน้านี้

Loading...