เชิญเข้าร่วมสนทนาพิเศษเรื่อง มิติ ความฝัน ชาติภพ จิตวิญญาณ โดย @โนวา อนาลัย@ [Writer]

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย mead, 8 สิงหาคม 2007.

  1. mead

    mead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2005
    โพสต์:
    8,134
    ค่าพลัง:
    +62,441
    ส่วนที่ไปจอจ่อกับสิ่งเร้าภายนอก เป็น"จิตหยาบ"หรือจิตปัจจุบันมากกว่านะครับ
    "จิตวิญญาณ" เป็นประธานก็จริงแค่เพียงรับรู้ ได้มอบหน้าที่ให้จิตหยาบ
    ซึ่งเป็น"ผู้รับใช้"ทำหน้าที่แทนในมิติโลกเท่านั้นครับ

    จิตทั้งหมดล้วนเป็นหนึ่งเดียวกัน..แบ่งหน้าที่กันแต่ทำงานร่วมกัน
    พอละสังขารไปจิตหยาบที่ว่านี้จะหมดหน้าที่ไปด้วย
    แต่จะ"ทิ้งรหัสกรรมให้จิตวิญญาณแบกรับไว้ทั้งหมด" เป็นแบบนี้ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 สิงหาคม 2007
  2. คนขายธูป

    คนขายธูป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    252
    ค่าพลัง:
    +2,964
    นิวรณ์ ๕

    อกุศลธรรมที่คอยทำลายล้างความดีที่เป็นกุศล คือ ฌาน ท่านเรียกว่า นิวรณ์ มี ๕ อย่าง คือ
    ๑. กามฉันทะ ความพอใจใน รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส อันเป็นวิสัยของกามารมณ์
    ๒. พยาบาท ความผูกโกรธ จองล้างจองผลาญ
    ๓. ถีนมิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอน ในขณะเจริญสมณธรรม
    ๔.อุทธัจจกุกกุจจะ ความคิดฟุ้งซ่าน และความรำคาญหงุดหงิดใจ
    ๕.วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในผลของการปฏิบัติ ไม่แน่ใจว่าจะมีผลจริงตามที่คิดไว้หรือไม่
    เพียงใด
    อารมณ์ทั้ง ๕ ประการนี้ เป็นเพื่อนสนิทกับจิตใจมานับจำนวนปีไม่ถ้วน ควรจะพูดว่าจิตใจ
    ของเราคบกับนิวรณ์มานานหลายร้อยหลายพันชาติ เมื่อจิตใจเราสนิทสนมกับอารมณ์ของนิวรณ์
    มานานอย่างนี้ เป็นธรรมดาอยู่เองที่จิตใจจะต้องอดคบหาสมาคมกับนิวรณ์ไม่ได้ เมื่อเรามาแนะนำ
    ให้คบหาสมาคมกับฌาน ซึ่งเป็นเพื่อนหน้าใหม่ มีนิสัยตรงข้ามกับเพื่อนเก่าก็เป็นการฝืนอารมณ์
    อยู่ไม่น้อย ฉะนั้น ในฐานะที่นิวรณ์กับจิตเป็นเพื่อนสนิทกันมานาน ก็อดที่จะแอบไปคบหาสมาคม
    กันไม่ได้ อารมณ์ที่จะคอยหักล้างนิวรณ์ คืออกุศลห้าประการนี้ได้ ก็อารมณ์ ๕ ประการของปฐมฌาน
    นั่นเอง เมื่อจิตกับนิวรณ์เป็นมิตรสนิทกันมานาน ฉะนั้น การดำรงจิตอยู่ในอารมณ์ฌานจึงทรงอยู่ได้
    ไม่นาน ทรงอยู่ได้ชั่วครู่ชั่วขณะ จิตก็เลื่อนเคลื่อนออกจากอารมณ์ฌานคลานเข้าไปหานิวรณ์ อาการ
    อย่างนี้เป็นกฎธรรมดาของท่านที่เข้าถึงฌานในระยะต้น หรือที่มีความช่ำชองชำนาญในฌานยังน้อยอยู่
    ต่อเมื่อไรได้ฝึกการดำรงฌาน กำหนดเวลาตามความต้องการได้แล้ว เมื่อนั้นแหละความเข้มข้น
    เข้มแข็งของกำลังจิตที่จะทรงฌานอยู่ได้นานตามความต้องการจึงจะปรากฏมีขึ้น ขอนักปฏิบัติจงเข้าใจ
    ไว้ด้วยว่าจิตที่เข้าสู่ระดับฌาน คือ ปฐมฌาน หรือฌานอื่นใดก็ตาม ถ้ายังไม่ฝึกฝนจนชำนาญ เข้าฌาน
    ออกฌานตามกำหนดเวลาได้แล้ว จิตก็จะยังทรงสมาธิไว้ได้ไม่นาน จิตจะค่อยถอยหลังเข้าหานิวรณ์ ๕
    ประการอย่างใดอย่างหนึ่งเมื่ออารมณ์ฌานย่อหย่อน เมื่อมีอาการอย่างนั้นบังเกิดขึ้นก็จงอย่าท้อใจ
    หมั่นฝึกฝนเข้าฌานโดยการกำหนดเวลาว่า ต่อแต่นี้ไปเราจะดำรงอยู่ในฌาน ตั้งแต่เวลานี้ถึงเวลา
    เท่านั้น แล้วเริ่มทำสมาธิเข้าสู่ระดับฌาน ทรงฌานไว้ตามเวลา จนกว่าเมื่อถึงเวลาแล้วจิตจะเคลื่อน
    จากฌาน มีความรู้สึกตามปกติเอง เมื่อทำได้แล้วหัดทำบ่อย ๆ จากเวลาน้อย ไปหาเวลามาก คือ
    ๑ ชั่วโมง ไปหา ๒-๓-๔-๕-๖ จนถึง ๑ วัน ๒-๓-๔-๕-๖-๗ พอครบกำหนด จิตก็จะคลายตัวออกเอง
    โดยไม่ต้องตั้งนาฬิกาปลุกหรือคนเรียก เมื่อชำนาญอย่างนี้ ชื่อว่าท่านเอาชนะนิวรณ์ได้ แต่ก็อย่าประมาท
    เพราะฌานโลกีย์ ถึงอย่างไรก็ดี ยังไม่พ้นอำนาจนิวรณ์อยู่นั่นเอง นิวรณ์ที่ไม่มารบกวนนั้น
    ไม่ใช่นิวรณ์สูญไปหรือสลายตัวเพียงแต่เพลียไปเท่านั้นเอง ต่อเมื่อไรท่านได้โลกุตตรฌาน คือ บรรลุ
    พระอริยะตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปนั่นแหละท่านพอจะไว้ใจตัวได้ว่า ท่านไม่มีวันที่จะต้องตกมาอยู่
    ใต้อำนาจนิวรณ์ คืออกุศลธรรมต่อไปอีก เพราะโลกุตตรฌานคือได้ฌานโลกีย์แล้วเจริญวิปัสสนาญาณ
    จนบรรลุอริยมรรคอริยผล เป็นพระอริยบุคคลแล้ว อกุศลคือนิวรณ์ ๕ ประการเข้าครองจิตไม่ได้สนิทนัก
    สำหรับพระอริยะต้น พอจะกวนบ้างเล็กๆ น้อยๆ แต่ก็จักจูงใจให้ทำตามนิวรณ์สั่งไม่ได้ นิวรณ์บางอย่าง
    เช่น กามฉันทะ ความพอใจในความสวยงามของ รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส ความโกรธ ความขัด -
    เคือง พระโสดาบัน พระสกิทาคามียังมี แต่ก็มีเพียงคิดนึกไม่ถึงกับลงมือทำ เรียกว่าอกุศลกวนใจนิด -
    หน่อย พอทำได้ แต่จะบังคับให้ทำไม่ได้ สำหรับพระอนาคามี ยังตกอยู่ใต้อำนาจของอุทธัจจะ คือความคิด
    ฟุ้งซ่าน แต่ก็คิดไปในส่วนที่เป็นกุศลใหญ่มากกว่า ความคิดฟุ้งเลอะเลือนเล็กๆ น้อย ๆ พอมีบ้าง
    แต่ไม่มีอะไรเป็นภัย เพราะพระอนาคามีหมดความโกรธ ความพยาบาทเสียแล้ว
    อำนาจของนิวรณ์มีอย่างนี้ บอกให้รู้ไว้ จะได้คอยยับยั้งชั่งใจคอยระมัดระวังไว้ไม่ปล่อยให้ใจ
    ระเริงหลงไปกับนิวรณ์ ที่ชวนให้จิตมีความรู้สึกนึกคิดไปในส่วนที่เป็นอกุศลยับยั้งตนไว้ในอารมณ์ของ
    ฌานเป็นปกติ ท่านที่มีอารมณ์จิตเข้าถึงอารมณ์ฌานและเข้าฌานไว้เป็นปกติ ท่านผู้นั้นมีหน้าตาแช่มชื่น
    เอิบอิ่มอยู่เสมอ มีอารมณ์เบิกบานไม่หดหู่ เห็นน่ารักอยู่ตลอดเวลา ฌานแม้แต่เพียงปฐมฌานจัดว่า
    เป็นฌานเบื้องต้น ก็มีผลไม่น้อยถ้าทรงไว้ได้ไม่ปล่อยให้เสื่อม ตายไปในขณะที่ทรงฌาน ก็สามารถ
    ไปเกิดในพรหมโลกได้สามชั้น คือ ปฐมฌานหยาบ เกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๑ ปฐมฌานกลาง เกิดเป็น
    พรหมชั้นที่ ๒ ปฐมฌานละเอียด เกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๓ ถ้าท่านเอาสมาธิในปฐมฌานมาเป็นกำลังของ
    วิปัสสนาญาณแล้วอำนาจสมาธิของปฐมฌานก็สามารถเป็นกำลังให้วิปัสสนาญาณกำจัดกิเลสเป็น
    สมุจเฉทปหาน คือตัดกิเลสได้เด็ดขาด จนบรรลุอรหัตตผลได้สมความปรารถนา อำนาจฌานแม้แต่
    ฌานที่ ๑ มีอานุภาพมากอย่างนี้ ขอท่านนักปฏิบัติจงอย่าท้อใจ ระมัดระวังใจ อย่าหลงใหลในนิวรณ์
    จนเสียผลฌาน

    ทุติยฌานหรือทุติยสมาบัติ

    ทุติยฌาน แปลว่าฌานที่ ๒ ทุติยสมาบัติ แปลว่าสมาบัติที่ ๒ ฌานและสมาบัติ ได้อธิบาย
    มาแล้วแต่ฌานต้นคือ ปฐมฌาน จะไม่อธิบายอีก ปฐมฌานมีอารมณ์ ๕ ตามที่กล่าวมาแล้วใน
    ฌานที่ ๑ สำหรับทุติยฌานนี้ มีอารมณ์ ๓
    อารมณ์ ๓ ของทุติยฌานมีดังต่อไปนี้

    อารมณ์ทุติยฌานมี ๓

    ๑. ปีติ ความเอิบอิ่มใจ
    ๒. สุข ความสุขอย่างประณีต
    ๓. เอกัคคตา มีอารมณ์เป็นหนึ่ง
    อารมณ์ทุติยฌานนี้ ก็ตัดเอามาจากอารมณ์ปฐมฌานนั่นเอง ท่านที่ทรงสมาธิเข้าถึง
    ทุติยฌานนี้ ท่านตัดวิตก วิจารอันเป็นอารมณ์ของปฐมฌานเสียได้ คงเหลือแต่ ปีติ สุข เอกัคคตา
    อาการตัดวิตก วิจารนั้นมีความรู้สึกอย่างไรในเวลาปฏิบัติจริง ข้อนี้นักปฏิบัติสนใจกันมากเป็นพิเศษ
    เพราะเพียงอ่านรู้แล้วยังหาความเข้าใจจริงไม่ได้ การตัดก็มิใช่จะตัดออกไปเฉยๆ ได้ตามอารมณ์
    วิตกแปลว่าตรึก นึกคิด วิจาร แปลว่า ไตร่ตรอง ใคร่ครวญ ท่านลองพิจารณาดูเถิดว่า วิตกวิจารนี้
    เป็นอารมณ์ที่ตัดไม่ได้ง่ายเลย ใคร ๆ ที่ไหนจะมาห้ามความรู้สึกนึกคิดกันง่าย ๆ ได้ เคยฟังท่านสอน
    เวลาเรียน ท่านสอนว่าให้ตัดวิตกวิจารออกเสียได้แล้ว ทรงอยู่ในปีติ สุข เอกัคคตา เท่านี้ก็ได้ทุติยฌาน
    ท่านพูดของท่านถูก ฟังก็ไม่ยาก แต่ตอนทำเข้าจริง ๆ พอมาเจอตัวตัดวิตก วิจารเข้าจริง ๆ กลับไม่
    เข้าใจ จะพูดให้ฟังถึงการตัดวิตกวิจาร


    ลิงค์ http://www.palungjit.org/smati/k40/smabat.htm#ฌาน<!-- / message --><!-- sig -->
     
  3. คนขายธูป

    คนขายธูป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    252
    ค่าพลัง:
    +2,964
    ตัดวิตกวิจารตามผลปฏิบัติ

    ตามผลปฏิบัตินั้น วิตกวิจารที่ถูกตัด มิได้ตัดด้วยการยกเว้น คืองดการนึกคิดเอาเอง เฉย ๆ
    ท่านตัดด้วยการปฏิบัติเข้าถึงระดับ คือ ในระยะแรกก็เจริญภาวนาคาถา ภาวนาตามท่านอาจารย์สอน
    จะภาวนาว่าอย่างไรก็ได้ ท่านไม่ได้จำกัดไว้ คาถาภาวนาเป็นสายเชือกโยงใจเท่านั้น ให้ใจมีหลักเกาะไว้
    ไม่ให้สอดส่ายไปในอารมณ์นอกจากคำภาวนา อย่างนี้ท่านเรียกว่า "บริกรรมภาวนา" ขณะที่ภาวนาอยู่
    จิตคิดถึงคำภาวนานั้น ท่านเรียกว่า " วิตก" จิตที่คอยประคับประคองคำภาวนา คิดตามว่า เราภาวนา
    ถูกตามอาจารย์สอนหรือไม่ ครบถ้วนหรือไม่ อย่างนี้ท่านเรียกว่า " วิจาร " การตัดวิตกวิจาร ก็ภาวนา
    ไปอย่างนั้น จนเกิดปีติ สุขและเอกัคคตา คือมีอารมณ์คงที่ จิตไม่สนใจกับอารมณ์ภายนอก รักษาอารมณ์
    ภาวนา และอาการเอิบอิ่ม สุขสันต์อยู่ตลอดเวลา ลมหายใจชักจะอ่อนลงทุกที รู้สึกว่าหายใจเบา อารมณ์-
    จิตโปร่งแจ่มใส หลับตาแล้ว แต่คล้ายกับมีใครเอาประทีปมาวางไว้ใกล้ ๆ ในระยะนี้เอง จิตจะหยุดภาวนา
    เอาเฉยๆ มีอารมณ์นิ่งดิ่งสบายกว่าขณะที่ภาวนามาก รู้สึกว่าลมหายใจอ่อนระรวยลง หูได้ยินเสียงภาย-
    นอกแต่เบาลงกว่าเดิม จิตไม่สนใจกับอะไร มีอารมณ์เงียบสงัดดิ่งอยู่ บางรายพอรู้สึกตัวว่าหยุดภาวนา
    ก็ตกใจ รีบคิดถึงคำภาวนา บางรายก็คว้าต้นชนปลายไม่ถูก คำภาวนาภาวนามาจนคล่อง กลับคิดไม่ออก
    ว่าอะไรเป็นต้นเป็นปลาย กึกกักอึกอักอยู่ครู่หนึ่ง จึงจับต้นชนปลายถูก อาการที่จิตสงัดปล่อยคำภาวนา
    มีอารมณ์เฉยไม่ภาวนานั่นแหละ เป็นการละวิตกวิจาร ละด้วยอารมณ์เข้าถึงสมาธิอันดับฌาน ๒
    ไม่ใช่อยู่ ๆ ก็จะมาหยุดภาวนาไปนั้น ตอนนั้นจิตตกอารมณ์ทุติยฌาน เข้าสู่อารมณ์ปฐมฌานตามเดิม
    บางรายก็เข้าสู่ภวังค์คืออารมณ์ปกติธรรมดาเอาเลย
    พูดมาอย่างนี้ คิดว่าท่านผู้อ่านคงจะเข้าใจแล้วว่า การละหรือตัดวิตกวิจารนั้น ก็การที่ภาวนาไป
    จนมีอารมณ์สงัด จิตปล่อยคำภาวนานั่นเอง เมื่อจิตปล่อยคำภาวนาแล้ว ก็เหลือแต่ความชุ่มชื่นหรรษา
    มีความสุขสันต์ทางกายอย่างประณีต มีอารมณ์ใจดิ่งอยู่อย่างไม่สนใจกับอารมณ์ใด หูเกือบจะไม่ได้ยิน
    เสียงอะไร เป็นอารมณ์จิตที่มีความสุขสบายยอดเยี่ยมกว่าฌานที่ ๑ มาก เพราะฌานที่ ๑ ยังต้องมีกังวล
    อยู่กับการภาวนาและต้องระมัดระวังบทภาวนาให้ถูกต้องครบถ้วน จัดว่ามีกังวลมาก สำหรับทุติยฌานนี้
    ตัดคำภาวนาออกเสียได้ด้วยการเข้าถึงอารมณ์ที่ละเอียดกว่า มีแต่ความชุ่มชื่นหรรษาด้วยอำนาจปีติ
    มีความสุขละเอียดอ่อนประณีต เพราะสู่ความสุขอันประณีตด้วยอำนาจสมาธิที่ตั้งมั่นกว่าปฐมฌาน
    จิตเป็นหนึ่ง คือมีอารมณ์สงัดจากอารมณ์ภายนอก แม้แต่คำภาวนาก็ไม่แยแส นี่แหละที่ท่านเรียกว่า
    ได้ทุติยฌาน หรือทุติยสมาบัติ เมื่อได้แล้วต้องฝึกฝนให้คล่องว่องไว คิดจะเข้าทุติยฌานเมื่อไร ก็เข้าได้
    ทันท่วงที หรือจะทรงทุติยฌานอยู่นานเท่าใด ก็กำหนดเวลาได้ตามความประสงค์ อย่างนี้จึงจะชื่อว่า
    ได้ทุติยฌานแน่นอน แต่ทว่าเมื่อได้แล้วก็อย่าประมาท ถ้าพลั้งพลาดปล่อยให้อกุศลมารบกวนใจ หรือ
    จิตใจไปใคร่ในอกุศลเข้าเมื่อไร ทุติยฌานก็ทุติยฌานนั่นแหละ เป็นเสื่อมทรามลงทันที ฉะนั้นท่านจึงว่า
    ฌานโลกีย์นี้ระมัดระวังยาก ต้องคอยประคับประคองประคบประหงมยิ่งกว่าเด็กอ่อนนอนเบาะเสียอีก

    เสี้ยนหนามของทุติยฌาน

    เสี้ยนหนามของปฐมฌานได้แก่เสียง เสียงเป็นศัตรูคอยทำลายปฐมฌาน เมื่อใดถ้าจิต
    ยุ่งกับเสียง คือทนรำคาญไม่ไหว ก็หมายความว่า ปฐมฌานเสื่อมเสียแล้ว สำหรับทุติฌานนี้ มีวิตก
    วิจารเป็นเสี้ยนหนามศัตรู เมื่อขณะที่จิตทรงสมาธิอยู่ในระดับทุติยฌาน จิตคอยจะเคลื่อนเลื่อน
    ลงมาหาอารมณ์ปฐมฌาน คือคอยจะยึดเอาคาถาภาวนาเป็นอารมณ์ เพราะคาถาภาวนาเป็นวิตกวิจาร
    จึงจำต้องคอยระมัดระวังไว้ อย่าปล่อยสติสัมปชัญญะให้คลาดเคลื่อน คุมอารมณ์ทุติยฌานอย่าให้
    เลือนไปได้ ฝึกหัดตั้งกำหนดเวลาทรงฌานเข้าไว้ แล้วทำให้ชินตามกำหนดเวลา

    อานิสงส์ทุติยฌาน

    ฌานทั้งหมด เป็นอารมณ์สมาธิที่ทำจิตใจให้พร้อมด้วยสติสัมปชัญญะ เวลาจะทำการงาน
    ก็มีความทรงจำดี จิตใจไม่เลอะเลือนฟุ้งซ่าน เป็นอารมณ์รักษาโรคประสาทได้ดีที่สุด นอกจากนี้
    เวลาจะตายก็มีสติสัมปชัญญะดีไม่หลงตาย ถ้าตายในระหว่างฌานท่านว่าทุติยฌานที่เป็นโลกียฌาน
    ให้ผลดังนี้
    ก. ทุติยฌานหยาบ ให้ผลไปเกิดในพรหมโลกชั้นที่ ๔
    ข. ทุติยฌานกลาง ให้ผลไปเกิดในพรหมโลกชั้นที่ ๕
    ค. ทุติยฌานละเอียด ให้ผลไปเกิดในพรหมโลกชั้นที่ ๖
    ถ้าเอาอารมณ์ทุติยฌานไปเป็นกำลังของวิปัสสนาญาณแล้ว สมาธิระดับทุติยฌานจะมีกำลัง
    ช่วยให้วิปัสสนาญาณกำจัดกิเลสได้ดีและรวดเร็วกว่ากำลังของปฐมฌานมาก ท่านอาจมีหวังถึงที่สุด
    ของพรหมจรรย์ในชาติปัจจุบันก็ได้ ถ้าท่านมีความเพียรดี ปฏิบัติตรงต่อพระพุทธพจน์ของ
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และปฏิบัติพอดีพอควร ไม่ยิ่งหย่อนนัก เรียกว่าปฏิบัติพอเหมาะพอดี การปฏิบัติ
    พอเหมาะพอดีนี้ปฏิบัติอย่างไร ท่านก็ศึกษาจากตัวของท่านเองนั่นแหละตรงต่อความเป็นจริง

    ตติยฌานหรือตติยสมาบัติ

    ปฐม แปลว่าที่ ๑ ทุติยะ แปลว่าที่ ๒ ตติยะ แปลว่าที่ ๓ ตติยฌานจึงแปลว่า ฌานที่ ๓
    ตติยสมาบัติ แปลว่า การเข้าถึงอารมณ์ฌานที่ ๓ ฌานที่ ๓ นี้ มีอารมณ์ ๒ คือ
    ๑. สุข ได้แก่ความสุขที่ปราศจากปีติ คือความสุขทางจิตโดยเฉพาะ ไม่มีความสุข
    ที่เนื่องด้วยกาย
    ๒. เอกัคคตา มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ที่ไม่มีอารมณ์ห่วงใยในกาย เป็นอาการที่สงัดจากกาย
    ฌานนี้ท่านว่าเป็นฌานที่กายกับจิตแยกกันเด็ดขาด
    อาการของฌานที่ ๓ นี้ เป็นอาการที่จิตตัดปีติ ความเอิบอิ่มใจในฌานที่ ๒ ออกเสียได้
    เมื่ออารมณ์จิตเข้าถึงฌานที่ ๓ นี้ จะรู้สึกว่า อาการขนพองสยองเกล้าก็ดี น้ำตาไหลก็ดี กายโยกโคลง
    ก็ดี อาการซู่ซ่าทางกาย คล้ายกายเบา กายใหญ่ กายสูงจะไม่ปรากฏเลย มีอาการทางกายเครียด
    คล้ายกับใครมาจับมัดไว้จนแน่น หรือคล้ายหลักที่ปักจนแน่นไม่มีการโยกโคลงได้ฉันนั้น จงจำไว้ว่า
    ตั้งแต่ฌานที่ ๒ เป็นต้นมา ไม่มีการภาวนาเลย ถ้ายังภาวนาอยู่ และหูได้ยินเสียงชัด แต่ไม่รำคาญ
    ในเสียง เป็นฌานที่ ๑ ตั้งแต่ฌานที่ ๒ มาไม่มีการภาวนา และเรื่องเสียงเกือบไม่มีความหมาย คือ
    ไม่มีความสนใจในเสียงเลย เสียงมีอยู่ก็เหมือนไม่มี เพราะจิตไม่รับเสียง ลมหายใจจะค่อยๆ น้อย
    อ่อนระรวยลงทุกขณะ ในฌานที่ ๓ นี้ลมหายใจยังปรากฏ แต่ก็รู้สึกเบาเต็มที่มีอาการคล้าย
    จะไม่หายใจ แต่ก็พอรู้สึกน้อยๆ ว่าหายใจ จิตสงัดไม่มีการหวั่นไหว ไม่มืด มีความโพลงอยู่
    มีอารมณ์แน่นในสมาธิมากจนรู้ตัวว่าอารมณ์แนบแน่นกว่าสองฌานที่ผ่านมา อย่างนี้ท่านเรียกว่า
    เข้าถึงฌานที่ ๓ ต้องฝึกเข้าฌานออกฌานให้แคล่วคล่องว่องไวตามที่กล่าวมาแล้ว

    เสี้ยนหนามของฌานที่ ๓

    ปีติ เป็นเสี้ยนหนามของ ฌานที่ ๓ เพราะฌานที่ ๓ ตัดปีติเสียได้ แต่ถ้าอารมณ์
    ตกลงไปปีติจะปรากฏขึ้น ถ้าปีติปรากฏขึ้นเมื่อไร พึงทราบเถิดว่า ขณะนี้อารมณ์จิตเคลื่อน
    จากฌานที่ ๓ มาอยู่ระดับฌาน ๒ แล้วถ้าปรากฏว่ามีการภาวนาด้วย แต่จิตยังไม่รำคาญในเสียง
    ก็ยิ่งร้ายใหญ่ เพราะอารมณ์สมาธิไหลออกจนเหลือเพียงฌาน ๑ ท่านให้ระมัดระวังด้วยการทรง
    สติสัมปชัญญะ อย่าให้อารมณ์สมาธิรั่วไหลเป็นอันขาด เพราะจะเป็นอันตรายแก่ฌาน ๓

    อานิสงส์ฌานที่ ๓

    ฌานที่ ๓ นี้ ถ้าทรงไว้ได้จนตาย ในขณะตาย ตายในระหว่างฌานที่ ๓ ท่านว่าจะไม่
    หลงตาย เมื่อมีชีวิตอยู่ ก็จะเป็นคนมีอารมณ์แช่มชื่นเบิกบานตลอดเวลา หน้าตาสดชื่นผ่องใส
    เมื่อตายแล้ว ฌาน ๓ ย่อมส่งผลให้เกิดเป็นพรหม คือ
    ๑. ฌานที่ ๓ หยาบ ให้ผลไปเกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๗
    ๒. ฌานที่ ๓ กลาง ให้ผลไปเกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๘
    ๓. ฌานที่ ๓ ละเอียด ให้ผลไปเกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๙
    ฌาน ๓ ที่เป็นโลกียฌานให้ผลอย่างนี้ ถ้าเอาฌาน ๓ ไปเป็นกำลังของวิปัสสนาญาณ
    วิปัสสนาจะมีกำลังกล้า ตัดกิเลสให้เด็ดขาดได้โดยรวดเร็ว อาจได้บรรลุมรรคผลเบื้องสูงในชาตินี้
    โดยไม่ชักช้านัก ผลของท่านที่ทรงฌาน ๓ ไว้ได้มีผลดังกล่าวมาแล้วนี้

    จตุตถฌาน หรือ จตุตถสมาบัติ

    จตุตถะ แปลว่าที่ ๔ จตุตถฌานจึงแปลว่าฌานที่ ๔ ฌานที่ ๔ นี้มีอารมณ์ ๒ เหมือน
    ฌาน ๓ แต่ผิดกันที่ฌาน ๓ มีสุขกับเอกัคคตา สำหรับฌานที่ ๔ นี้ ตัดความสุขออกเสียเหลือแต่
    เอกัคคตา และเติมอุเบกขาเข้ามาแทน ฉะนั้น อารมณ์ของฌาน ๔ จึงมีอารมณ์ผิดแผกจาก
    ฌาน ๓ ตรงที่ตัดความสุขออกไป และเพิ่มการวางเฉยเข้ามาแทนที่

    อาการของฌาน ๔ เมื่อปฏิบัติถึง

    ฌาน ๔ เมื่อนักปฏิบัติ ปฏิบัติถึงมีอาการดังนี้
    ๑. จะไม่ปรากฏลมหายใจเหมือนสภาพฌานอื่นๆ เพราะลมละเอียดจนไม่ปรากฏว่ามี
    ลมหายใจ ในวิสุทธิมรรคท่านว่าลมหายใจไม่มีเลย แต่บางอาจารย์ท่านว่า ลมหายใจนั้นมี
    แต่ลมหายใจละเอียดจนไม่มีความรู้สึกว่าหายใจ ตามนัยวิสุทธิมรรคท่านกล่าวถึงคนที่ไม่มี
    ลมหายใจไว้ ๔ จำพวกด้วยกัน คือ ๑. คนตาย ๒. คนดำน้ำ ๓. เด็กในครรภ์มารดา
    ๔.ท่านที่เข้าฌาน ๔ รวมความว่า ข้อสังเกตที่สังเกตได้ชัดเจนในฌาน ๔ ที่เข้าถึงก็คือ
    ไม่ปรากฏว่ามีลมหายใจการที่ฌาน ๔ เมื่อเข้าถึงแล้ว และขณะที่ทรงอยู่ในระดับของฌาน ๔
    ไม่ปรากฏว่ามีลมหายใจนี้เป็นความจริง มีนักปฏิบัติหลายท่านที่พบเข้าแบบนี้ถึงกับร้องเอะอะโวยวาย
    บอกว่าไม่เอาแล้ว เพราะเกรงว่าจะตายเพราะไม่มีลมหายใจ บางรายที่อารมณ์สติสมบูรณ์หน่อย
    ก็ถึงกับค้นคว้าควานหาลมหายใจ เมื่ออารมณ์จิตตกลงระดับต่ำกว่าฌานที่ ๔ ในที่สุดก็พบลมหายใจ
    ที่ปรากฏอยู่กับปลายจมูกนั่นเอง
    ๒. อารมณ์จิตเมื่อเข้าสู่ระดับฌาน ๔ จะมีอารมณ์สงัดเงียบจากอารมณ์ภายนอกจริง ๆ
    ดับเสียง คือ ไม่ได้ยินเสียง ดับสุข ดับทุกข์ทางกายเสียจนหมดสิ้น มีอารมณ์โพลงสว่างไสวเกินกว่า
    ฌานอื่นใด มีอารมณ์สงัดเงียบ ไม่เกี่ยวข้องด้วยร่างกายเลย กายจะสุข จะทุกข์ มดจะกิน ริ้นจะกัด
    อันตรายใดๆ จะเกิด จิตในระหว่างตั้งอยู่สมาธิที่มีกำลังระดับฌาน ๔ จะไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้น เพราะฌานนี้
    กายกับจิตแยกกันเด็ดขาดจริงๆ ไม่สนใจข้องแวะกันเลย ดังจะเห็นในเรื่องของลมหายใจ ความจริง
    ร่างกายนี้จำเป็นมากในเรื่องหายใจ เพราะลมหายใจเป็นพลังสำคัญของร่างกาย พลังอื่นใดหมดไป
    แต่อัสสาสะ ปัสสาสะ คือลมหายใจยังปรากฏ ที่เรียกกันตามภาษาธรรมว่า ผัสสาหารยังมีอยู่ ร่างกายก็ยัง
    ไม่สลายตัว ถ้าลมหายใจที่เรียกว่าผัสสาหารหยุดเมื่อไร เมื่อนั้นก็ถึงอวสานของการทรงอยู่ของร่างกาย
    ฉะนั้น ผลการปฏิบัติที่เข้าถึงระดับฌาน ๔ จึงจัดว่าลมหายใจยังคงมีตามปกติ ที่ไม่รู้ว่าหายใจก็เพราะ
    ว่าจิตแยกออกจากกายอย่างเด็ดขาดโดยไม่รับรู้อาการของร่างกายเลย

    อาการที่จิตแยกจากร่างกาย

    เพื่อให้เข้าใจชัดว่า จิตแยกออกจากร่างกายได้จริงเพียงใด เมื่อท่านเจริญสมาธิถึงฌาน ๔
    จนคล่องแคล่วชำนิชำนาญดีแล้ว ให้ท่านเข้าสู่ฌาน ๔ แล้วถอยจิตออกมาหยุดอยู่เพียงอุปจารฌาน
    แล้วอธิษฐานว่า ขอร่างกายนี้จงเป็นโพรงและกายอีกกายหนึ่งจงปรากฏ แล้วเข้าฌาน ๔ ใหม่ ออกจาก
    ฌาน ๔ มาหยุดอยู่เพียงอุปจารฌาน ท่านจะเห็นกายเป็นโพรงใหญ่ มีกายของเราเองปรากฏขึ้นภายใน
    กายเดิมอีกกายหนึ่ง ที่ท่านเรียกในมหาสติปัฏฐานว่ากายในกาย จะบังคับให้กายในกายท่องเที่ยวไป
    ในร่างกายทุกส่วน แม้แต่เส้นประสาทเล็กๆ กายในกายก็จะไปได้สะดวกสบายเหมือนเดินในถ้ำใหญ่ ๆ
    ต่อไปจะบังคับกายใหม่นี้ออกไปสู่ภพใด ๆ ก็ไปได้ตามประสงค์ ที่ท่านเรียกว่า "มโนมยิทธิ แปลว่า
    มีฤทธิ์ทางใจนั่นเอง" พลังของฌาน ๔ มีพลังมากอย่างนี้ ท่านที่ได้ฌาน ๔ แล้วท่านจะฝึกวิชชาสาม
    อภิญญาหก หรือปฏิสัมภิทาญาณ ก็ทำได้ทั้งนั้น เพราะวิชชาการที่จะฝึกต่อไปนั้น ก็ใช้พลังจิตระดับ
    ฌาน ๔ นั่นเอง จะแตกต่างกันอยู่บ้างก็เพียงอาการในการเคลื่อนไปเท่านั้น ส่วนอารมณ์ที่จะใช้
    ก็เพียงฌาน ๔ ซึ่งเป็นของที่มีอยู่แล้วเปรียบเสมือนนักเพาะกำลังกาย ถ้ามีกำลังกายสมบูรณ์แล้ว
    จะทำอะไรก็ทำได้ เพราะกำลังพอ จะมีสะดุดบ้างก็ตรงเปลี่ยนแนวปฏิบัติใหม่ จะยุ่งใจบ้างในระยะต้น
    พอเข้าใจเสียแล้วก็ทำได้คล่อง เพราะกำลังพอ ท่านที่ได้ฌาน ๔ แล้วก็เช่นเดียวกัน เพราะงานส่วน
    อภิญญาหรือวิชชาสาม ก็ใช้พลังจิตเพียงฌาน ๔ เท่านั้น ท่านที่ได้ฌาน ๔ จึงเป็นผู้มีโอกาสจะทำ
    ได้โดยตรง

    เสี้ยนหนามของฌาน ๔

    เสี้ยนหนาม หรือศัตรูตัวสำคัญของฌาน ๔ ก็คือ "ลมหายใจ" เพราะถ้าปรากฏว่ามีลมหายใจ
    ปรากฏเมื่อเข้าฌาน ๔ ก็จงทราบเถิดว่า จิตของท่านมีสมาธิต่ำกว่าฌาน ๔ แล้ว จงอย่าสนใจกับ
    ลมหายใจเลยเป็นอันขาด

    อานิสงส์ของฌาน ๔

    ๑. ท่านที่ทรงฌาน ๔ ไว้ได้ ในขณะที่มีชีวิตอยู่ จะมีอารมณ์แช่มชื่นตลอดวันเวลา จะแก้ปัญหา
    ของตนเองได้อย่างอัศจรรย์
    ๒. ท่านที่ได้ฌาน ๔ สามารถจะทรงวิชชาสาม อภิญญาหก ปฏิสัมภิทาญาณได้ถ้าท่านต้องการ
    ๓. ท่านที่ได้ฌาน ๔ สามารถจะเอาฌาน ๔ เป็นกำลังของวิปัสสนาญาณชำระกิเลสให้หมดสิ้นไป
    อย่างช้าภายใน ๗ ปี อย่างกลางภายใน ๗ เดือน อย่างเร็วภายใน ๗ วัน
    ๔. หากท่านไม่เจริญวิปัสสนา ท่านทรงฌาน ๔ ไว้มิให้เสื่อม ขณะตาย ตายในระหว่างฌาน
    ที่จะได้ไปเกิดในพรหมโลกสองชั้นคือ ชั้นที่ ๑๐ และชั้นที่ ๑๑

    รูปสมาบัติหรือรูปฌาน

    ฌานหรือสมาบัติที่กล่าวมาแล้วทั้ง ๔ อย่างนี้ ท่านเรียกว่ารูปฌาน หรือรูปสมาบัติ ถ้ายังไม่สำเร็จ
    มรรคผลเพียงใด ท่านเรียกว่าโลกียสมาบัติ หรือโลกียฌาน ถ้าเจริญวิปัสสนาญาณจนสำเร็จมรรคผล
    ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป ท่านเรียกว่า โลกุตตรสมาบัติ หรือโลกุตตรญาณ ศัพท์ว่า โลกุตตระ ตัดออกเป็น
    สองศัพท์ มีรูปเป็น โลกะ และ อุตตระ สนธิคือเอาโลกะกับอุตตระมาต่อกันเข้า เอาตัว อ. ออกเสีย เอา
    สระอุผสมกับตัวตัว ก. เป็นโลกุตตระ โลกะ แปลตามศัพท์ว่าโลก อุตตระ แปลว่าสูงกว่า รวมความว่าสูง
    กว่าโลก โลกุตตระท่านจึงแปลว่าสูงกว่าโลก โลกุตตรฌาน แปลว่าฌานที่สูงกว่าโลกโลกุตตรสมาบัติ
    แปลว่าสมาบัติที่สูงกว่าโลก หมายความว่ากรรมต่างๆ ที่โลกนิยมนั้น ท่านพวกนี้พ้นไปแล้ว แม้บาปกรรม
    ที่ชาวโลกต้องเสวยผล ท่านที่ได้โลกุตตระ ท่านก็ไม่ต้องรับผลกรรมนั้นอีก เพราะกรรมของชาวโลก
    ให้ผล ท่านไม่ถึง ท่านจึงได้นามว่าโลกุตตรบุคคล
    รวมความว่าฌานประเภทที่กล่าวมาแล้วนั้นเป็นรูปฌาน เพราะมีรูปเป็นอารมณ์ เรียกตามชื่อ
    สมาบัติว่า รูปสมาบัติ สำหรับรูปฌาน หรือรูปสมาบัตินั้น มีแยกออกไปอีก ๔ อย่าง ดังจะกล่าวให้ทราบ
    ต่อไป

    อรูปสมาบัติหรืออรูปฌาน

    ๑. อากาสานัญจายตะ เพ่งอากาศ ๆ เป็นอารมณ์
    ๒. วิญญาณัญจายตะ กำหนดหมายเอาวิญญาณเป็นอารมณ์
    ๓. อากิญจัญญายตนะ กำหนดว่าไม่มีอะไรเลยเป็นอารมณ์
    ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ กำหนดหมายเอาการไม่มีวิญญาณ คือไม่รับรู้รับทราบ
    อะไรเลยเป็นสำคัญ
    ทั้ง ๔ อย่างนี้เรียกว่าอรูปฌาน เพราะการเจริญไม่กำหนดหมายรูปเป็นอารมณ์ กำหนด
    หมายเอาความไม่มีรูปเป็นอารมณ์ จึงเรียกว่าอรูปฌาน ถ้าเรียกเป็นสมาบัติ ถ้าเรียก

    สมาบัติ ๘
    ท่านที่ทรงสมาบัติในรูปสมาบัติ ๔ และทรงอรูปสมาบัติอีก ๔ รวมทั้งรูปสมาบัติ ๔
    อรูปสมาบัติ ๔ เป็นสมาบัติ ๘

    ผลสมาบัติ

    คำว่าผลสมาบัติ ท่านหมายถึงการเข้าสมาบัติตามผลที่ได้ ผลสมาบัตินี้จะเข้าได้ต้องเป็น
    พระอริยเจ้าตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป ท่านที่เป็นพระอริยเจ้าที่ไม่ได้สมาบัติแปดมาก่อน ท่านเข้า
    นิโรธสมาบัติไม่ได้ ท่านก็เข้าผลสมาบัติ คือท่านเข้าฌานนั่นเอง ท่านได้ฌานระดับใด ท่านก็เข้า
    ระดับนั้น แต่ไม่ถึงสมาบัติแปดก็แล้วกัน และท่านเป็นพระอริยเจ้า จะเป็น พระโสดา สกิทาคา อนาคามี
    อรหันต์ก็ตาม เมื่อท่านเข้าฌาน ท่านเรียกว่าเข้าผลสมาบัติ ท่านที่ไม่เป็นพระอริยเจ้าเข้าฌาน
    ท่านเรียกว่าเข้าฌาน เพราะไม่มีมรรคผล ต่างกันเท่านี้เอง กิริยาที่เข้าก็เหมือนกัน ต่างกันแต่เพียงว่า
    ท่านเป็นพระอริยเจ้า หรือไม่ใช่พระอริยเจ้าเท่านั้นเอง

    นิโรธสมาบัติ

    นิโรธสมาบัติ ท่านที่จะเข้านิโรธสมาบัติได้ ต้องเป็นพระอริยะขั้นต่ำตั้งแต่พระอนาคามี
    เป็นต้นไป และพระอรหันต์เท่านั้น และท่านต้องได้สมาบัติแปดมาก่อน ตั้งแต่ท่านเป็นโลกียฌาน
    ท่านที่ได้สมาบัติแปด เป็นพระอริยะต่ำกว่าพระอนาคามีก็เข้านิโรธสมาบัติไม่ได้ ต้องได้มรรคผลถึง
    อนาคามีเป็นอย่างต่ำจึงเข้าได้

    ผลของสมาบัติ

    สมาบัตินี้ นอกจากจะให้ผลแก่ท่านที่ได้แล้ว ยังให้ผลแก่ท่านที่บำเพ็ญกุศลต่อท่านที่ได้
    สมาบัติด้วย ท่านสอนว่าพระก่อนบิณฑาตตอนเช้ามืดที่ท่านสอนให้เคาะระฆังก็เพื่อให้พระวิจัย
    วิปัสสนาญาณ และเข้าฌานสมาบัติ เพื่อเป็นการสนองความดีของทายกทายิกาผู้สงเคราะห์ในตอนเช้า
    พระที่บวชใหม่ก็ทบทวนวิชาความรู้และซักซ้อมสมาธิเท่าที่จะได้ ผลของสมาบัติมีอย่างนี้
    ๑. นิโรธสมาบัติ สมาบัตินี้เข้ายาก ต้องหาเวลาว่างจริง ๆ เพราะเข้าคราวหนึ่งใช้เวลา
    อย่างน้อย ๗ วัน อย่างสูงไม่เกิน ๑๕ วัน ใครได้ทำบุญแก่ท่านที่ออกจากนิโรธสมาบัตินี้ จะได้ผลใน
    วันนั้น หมายความว่าคนจนก็จะได้เป็นมหาเศรษฐีในวันนั้น
    ๒. ผลสมาบัติ เป็นสมาบัติเฉพาะพระอริยเจ้า ท่านออกจากผลสมาบัติแล้ว สมาบัตินี้เข้าออก
    ได้ทุกวันและทุกเวลา ท่านที่ทำบุญแด่ท่านที่ออกจากผลสมาบัติ ท่านผู้นั้นจะมีผลไพบูลย์ในความเป็น
    อยู่ คือมีฐานะไม่ฝืดเคือง
    ๓. ฌานสมาบัติ ท่านที่บำเพ็ญกุศลแก่ท่านที่ออกจากฌานสมาบัติ จะทรงฐานะไว้ด้วยดี
    ไม่ยากจนกว่าเดิม มีวันแต่จะเจริญงอกงามขึ้นเป็นลำดับ

    เข้าผลสมาบัติ

    ก่อนที่จะเลยไปพูดเรื่องอื่น เกิดห่วงการเข้าผลสมาบัติขึ้นมา จึงขอย้ำถึงเรื่องเข้าผลสมาบัติ
    เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจสักนิด การเข้าผลสมาบัติ กับเข้าฌานสมาบัติ ต่างกันอยู่หน่อยหนึ่ง คือ
    การเข้าฌานสมาบัติ ท่านสอนให้ทำจิตให้ห่างเหินนิวรณ์ คือระมัดระวังมิให้นิวรณ์เข้ามารบกวนใจ
    เมื่อจิตว่างจากนิวรณ์แล้ว อารมณ์ของสมาธิก็ไม่มีอะไรรบกวน เข้าฌานสมาบัติได้ทันที สำหรับผล
    สมาบัตินั้น เป็นสมาบัติของพระอริยเจ้าท่านเข้าดังนี้ เมื่อท่านพิจารณาว่าเวลานี้ธุระอย่างอื่นไม่มีแล้ว
    มีเวลาว่างพอที่จะเข้าผลสมาบัติได้ ท่านก็เริ่มเข้าสู่ที่สงัด นั่งตั้งกายตรง ดำรงจิตมั่นคงแล้วก็พิจารณา
    สังขารตามแบบวิปัสสนาญาณ โดยพิจารณาในวิปัสสนาญาณทั้ง ๘ ย้อนไป ย้อนมา หรือพิจารณาตามแบบ
    ขันธ์ห้ารวม คือพิจารณาเห็นว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณทั้งห้าอย่างนี้ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
    เราไม่มีในขันธ์ห้า ขันธ์ห้าไม่มีในเรา อย่างนี้ก็ได้ตามแต่ท่านจะถนัด รวมความว่า ท่านเป็นพระอริยะ
    เพราะท่านพิจารณาวิปัสสนาญาณแบบใดท่านก็พิจารณาแบบนั้น เพราะท่านคล่องของท่านอยู่แล้ว
    เมื่อพิจารณาขันธ์ห้าจนอารมณ์ผ่องใสแล้ว ท่านก็เข้าสมาบัติตามกำลังฌานที่ท่านได้ อย่างนี้เป็นวิธี
    เข้าผลสมาบัติ เพราะท่านพิจารณาวิปัสสนาญาณก่อนจึงเข้าฌาน นำมากล่าวเพิ่มเติมไว้เพื่อท่านผู้อ่าน
    จะได้รับทราบไว้ แต่สำหรับท่านที่เป็นพระอริยเจ้านั้น ไม่มีอะไรจะสอนท่าน

    ลิงค์ http://www.palungjit.org/smati/k40/smabat.htm#ฌาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 สิงหาคม 2007
  4. yutkanlaya

    yutkanlaya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    865
    ค่าพลัง:
    +4,403
    ขอแจมด้วยคน...จิ..อิ อิ อิ

    อยากให้คุณ mountain..เป็น..หมีแพนด้า..(กำลังจะสูญพันธุ์)ต้องอนุรักษ์ไว้
    คุณMead เป็น..อีที..ละกัน..(ยังไม่เคยเห็นว่า..จะน่ารักแค่ไหน)

    แต่ถ้าผมไปนั้น..จะเป็น..ซุปบักอึแมน.....
    (555) (555) (evil) (b-malang) ;) [Embarrass (^)
     
  5. คนขายธูป

    คนขายธูป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    252
    ค่าพลัง:
    +2,964
    มีนักปฏิบัติหลายท่านที่พบเข้าแบบนี้ถึงกับร้องเอะอะโวยวาย
    บอกว่าไม่เอาแล้ว เพราะเกรงว่าจะตายเพราะไม่มีลมหายใจ


    อาการนี้ เป็นอาการเมื่อเข้าสู่ "ฌานสี่"
    หากสติอยู่ที่ลมหายใจก่อนเข้าถึงฌานสี่
    ก็จะเห็น "ลมหายใจ" ดับหาย เหมือนไม่หายใจ
    เป็นอานาปานสติ ก่อนเข้าฌานสี่


    สำหรับท่านที่ไม่ได้วางสติที่ลมหายใจ
    จะไม่เห็นลมหายใจดับหาย
    หากเข้าฌานสี่ โดยดูจิต ดูความคิด
    จะเห็นความคิดดับไปแทน
    หากตั้งสติดูกายอยู่ ก็เห็นกายดับหาย
    หากตั้งสติดูเวทนาอยู่
    ก็เห็นทั้งทุกข์ทั้งสุขหายไปหมดสิ้น

    อาการที่เข้าสู่ฌานสี่จึงต่างกัน
    ขึ้นอยู่กับว่าช่วงฌานสาม
    กำหนด "สติ" ไว้กับอะไรดังนี้
    พระอรหันต์แต่ละรูปจึงพูดต่างกัน
    บ้างว่าลมหายใจไม่ดับ
    บ้างว่าลมหายใจดับไปเลยก็มี
     
  6. mead

    mead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2005
    โพสต์:
    8,134
    ค่าพลัง:
    +62,441
    ขอบคุณพี่เม้าส์มากครับ ไปรวมไว้ใน"อภิญญา เอกซ์พี"
    จะได้ตามอ่านกันง่ายขึ้นครับ..ว่าแล้วก็แปลงร่าง ไรเดอร์ X
     
  7. คนขายธูป

    คนขายธูป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    252
    ค่าพลัง:
    +2,964
    อารมณ์จิตเมื่อเข้าสู่ระดับฌาน ๔ จะมีอารมณ์สงัดเงียบจากอารมณ์ภายนอกจริง ๆ
    ดับเสียง คือ ไม่ได้ยินเสียง ดับสุข ดับทุกข์ทางกายเสียจนหมดสิ้น มีอารมณ์โพลงสว่างไสวเกินกว่า
    ฌานอื่นใด มีอารมณ์สงัดเงียบ ไม่เกี่ยวข้องด้วยร่างกายเลย กายจะสุข จะทุกข์ มดจะกิน ริ้นจะกัด
    อันตรายใดๆ จะเกิด จิตในระหว่างตั้งอยู่สมาธิที่มีกำลังระดับฌาน ๔ จะไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้น เพราะฌานนี้
    กายกับจิตแยกกันเด็ดขาดจริงๆ


    ........................................................................................................................

    ลองกลับไปอ่านดู "ปริยัติ" ที่ได้จากพระอรหันต์หลายรูปเขียนบันทึกไว้นะครับ
    "ฌานสี่" อยู่ในภาวะ "ไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้น"
     
  8. คนขายธูป

    คนขายธูป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    252
    ค่าพลัง:
    +2,964

    "ภาวะฌานสี่" จะอยู่ในภาวะ "ไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้นนะครับ" คือ สติก็หยุดลง
    แต่ก่อนจะเข้าฌานสี่ สติยังทำงาน รู้เห็นการดับไปของสิ่งต่างๆ แต่เมื่อเข้า
    ถึงแล้ว จะอยู่ในภาวะ "ไม่รู้ไม่เห็นอะไรทั้งสิ้น"

    เป็น "สมาธิที่มากเกินไป ลึกเกินไป" ทำให้ขาดสติ
    ฌาณสี่ จึงไม่ใช่ช่วงที่จะบรรลุธรรมหรือเกิดปัญญา
    แต่ช่วงที่จะบรรลุ อยู่ระหว่างฌานสามเข้าฌานสี่
    เป็น "ช่วงขณะจิตสั้นๆ" ที่สั้นมาก แทบแยกไม่ออกเลย
     
  9. mead

    mead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2005
    โพสต์:
    8,134
    ค่าพลัง:
    +62,441
    ขอบคุณคุณชาปานโสมด้วยครับที่แวะเข้ามา ฟังไป คุยไปก็ได้ครับ
    ออกค่าเทอมให้แล้วครับสำหรับนักเรียนน่ารักแบบนี้
    ยินดีด้วยนะครับที่ได้รับโหวตสูงสุดตลอดกาลลลลล..

    (b-smile)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 สิงหาคม 2007
  10. คนขายธูป

    คนขายธูป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    252
    ค่าพลัง:
    +2,964
    เวลาหลับทั้งคืน เรามี "สติ" ทุกวินาที ทุกขณะจิตหรือไม่


    ตอบ...


    ไม่ได้ขนาดนั้นหรอก ใครจะไปทำได้สติทุกขณะจิต
    พระอาจารย์ปราโมช ปราโมชโช ก็เทศน์บอกว่าไม่
    อาจทำได้ทุกขณะจิต สติมีหลุดบ้าง บางครั้ง ก็ไปเกิด
    ปัญญา ไปเกิดสมาธิ สติสลับเกิดดับได้เช่นกัน ไม่ได้
    มีตลอด


    คิดว่าคงไม่มีใครสามารถมี "สติ" ได้ทุกขณะจิตที่หลับนะ
    แต่ก็สามารถเรียก "สติ" คืนกลับมาได้ "ขณะหลับ" บางช่วง
    แล้วเข้า "ฌานสาม" เร่งลัดฉับพลันทันที ได้เช่นกัน


    แต่ถ้ารู้ตัวเมื่อไร "ไม่ใช่ฌานสี่แน่ฮะ"
     
  11. คนขายธูป

    คนขายธูป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    252
    ค่าพลัง:
    +2,964
    คุณมีดดูดีๆ ฟังดีๆ อ่านดีๆ


    คุณนักเขียน คนละดวงจิตกับ อ. โนวา อนาลัย
    เธอไม่ได้เข้าใจทุกสิ่งที่ท่านอาจารย์สอน เธอ
    เองก็บอกเราเช่นนั้น ว่าเธอก็เป็นนักศึกษาเหมือนกัน


    เธอถึงขนาดแนะให้ใช้ "อักษร" สีต่างกันสำหรับคำสอน
    ของท่าน อ. โนวา อนาลัย

    ดังนี้ บางอย่างในความคิดเห็นของเธอ
    ไม่ใช่ของ อ. โนวา อนาลัย
    คุณแยกแยะออกได้ไหม?


    อะไร "ใช่" อะไร "ไม่ใช่"
     
  12. mead

    mead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2005
    โพสต์:
    8,134
    ค่าพลัง:
    +62,441
    ทราบครับคุณคนขายธูปก็ยิ่งทราบดี เพราะนักเขียนได้บอกไว้แต่ต้นแล้ว จึงแยกออกครับ
    เราถือเป็นการเรียนรู้ร่วมกันครับ เป็นการสนทนาพิเศษร่วมกัน
    ทุกเรื่องมีทั้งความเห็น ความรู้ การทดลอง เลือกศึกษากันตามความพอใจ
    ผมไม่ได้ยึดติดความรู้เดิมมากครับ เอามาใช้เป็นพื้นฐาน และเรียนจากประสบการณ์คนอื่นเพิ่มเติมครับ
    เพราะทุกเรื่องราวก็มาจากต้นตอเดียวกันหมด แตกแยกกิ่งก้านออกมาเป็นความรู้ครับ
    ผมจะเน้นเรียนรู้อย่างสนุกๆครับ..อันไหนลองแล้วได้ผลเอามาเล่าให้ฟัง
    พอดีติดมาทางชอบศิลปะ +วิทยาศาสตร์ และการทดลองครับ
    ขอให้เราสนุกกับการเรียนรู้ และเป็นครูของตัวเองให้ได้ในที่สุดครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 สิงหาคม 2007
  13. MOUNTAIN

    MOUNTAIN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    15,035
    ค่าพลัง:
    +132,085
    คนรู้ รู้จริง ด้วยปฏิบัติ
    รู้จากตำรา แต่มิใช่นักปฏิบัติ แล้วจะหาความสำเร็จได้อย่างไร
    ภูมิธรรม มิใช่วัดกันด้วยภาษาเขียน แต่กลับเป็นภาษาใจ
     
  14. sodalith

    sodalith เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    168
    ค่าพลัง:
    +1,083
    คนขายธูป มาแต่ต้นดูดี้ดี แต่ตอนท้ายไม่น่ารักเรยยยยยยย คงต้องหาชื่อมาเปลี่ยนใหม่อีกแล้วมั้ง
     
  15. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,792
    [​IMG]
     
  16. คนขายธูป

    คนขายธูป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    252
    ค่าพลัง:
    +2,964
    ฌาณ 3 จะบรรลุธรรมได้อย่างไร
    ในเมื่อ ฌาณ 3 เป็นเอกคัตตา
    รู้ธรรม-พิจารณาธรรมได้
    แต่ก็ได้ตามกำลัง ไม่ใช้คำว่าบรรลุธรรม


    บรรลุเมื่อเห็น "ความดับไปนั่นคือสากล อนิจจังที่เห็นนั้นคือทุกสิ่ง"
    ช่วงที่จิตเลื่อนจากฌานสามเข้าฌานสี่ จังหวะนี้ เสี้ยวนิดเดียวครับ
    เลยไปนิดก็ไม่บรรลุ เพราะไหลเข้าฌานสี่ไปเลย หากสติไว พิจารณา
    สภาวะธรรมได้ทันก็บรรลุได้ พระอรหันต์ที่นั่งสมาธิก็มักบรรลุตอนนี้
    ไม่ใช่บรรลุในฌานสาม หรือในฌานสี่ แต่ "ระหว่างเลื่อนสามเข้าสี่"


    ลองดูสิเพ่ แล้วจะได้รู้เอง


    ฌาณ 4 ที่ว่า ไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้นนั้นก็ได้แค่
    ตา หู จมูก ลิ้น กาย
    แต่ว่าจิตยังรับรู้ได้....
    จะทำจิตเป็นอุเบกขาก็ได้ จะทำจิตไม่รับรู้ก็ได้ จะทำจิตรับรู้ก็ได้

    อ่า อันนี้รู้จริง อิๆๆ
    มีพระอรหันต์บางรูปท่านก็เขียนไว้เป็นหลักวิชาการเลยว่า
    "ไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้น" แต่บางรูปท่านก็ถกว่า "ยังรู้อยู่บ้าง"
    เมื่อปฏิบัติจริงๆ ก็จะเห็นได้ว่า มันกำหนดให้รู้ได้เหมือนกัน
    ในภาวะฌานสี่ แต่กำหนดจิตรู้ในฌานสี่นี้ ปกติไม่ใช่วิชชา
    ฌาน เป็นทางออกไปสู่วิชชาอื่น เช่น มโนมยิทธิ เราถือ
    ว่าภาวะ จิตแยกจากกาย (ถอดจิต หรือถอดกายทิพย์) นั้น
    เทียบเท่าภาวะฌานสี่ แต่โดยวิชชาฌานแล้ว เขาไม่กำหนด
    สติรับรู้ในฌานสี่ครับ คือ เข้าไปพักเฉยๆ พระพุทธเจ้าจึงสอน
    ไม่ให้ติดฌาน เพราะคนติดฌาน มันไม่มีสติรู้ ไม่บรรลุได้

    ด้วยอนุภาพของฌาณสี่
    ถ้า บอกว่าไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้นก็ยังไม่ใช่
    เพราะถ้าจิตไม่รับรู้ เราจะรู้ได้ไงว่า นี่เป็นฌาณ 4
    และจะรู้ได้ไง ว่า ตา หู จมูก ลิ้นกาย นั้นเป็นอุเบกขา
    พิจารณา....

    จิตรู้เป็นฌานสี่ เมื่อออกจากฌานสี่แล้วครับ จึงรู้ว่าเมื่อกี้ไปมา
    นี่เป็นการรู้เมื่ออกจากฌานสี่ อีกแบบหนึ่งคือ รู้เมื่อสติไวมาก
    เห็นการดับไป เป็นจิตเอกัคตารมณ์นั้น เป็นอิสระจากกายสิ้นเชิง
    รู้แบบ "อนุโลมญาณ" แบบนี้ ต้องมี "วสี" สูงมาก

    การนับองค์ฌาน เป็นวสีของผู้เข้าฌาน
    ผู้ยังไม่ได้ "วสี" ก็ยังนับผิดๆ ถูกๆ อยู่ดี
    ไม่ผิดปกติ หากฝึกสิบปีเข้าฌานได้แต่นับ
    องค์ฌานยังไม่ได้ก็มีเหมือนกัน ธรรมดา

    พระพุทธเจ้ามีสติ แม้ยามหลับและยามตื่นอยู่ตลอดเวลา
    พระพุทธองค์สอนไว้ว่า
    จิตเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ตลอด เวลา ไม่ว่าจะอยู่ในอริยะบทใดๆ
    อย่าประมาท และเดินทางสายกลาง.

    ฉะนั้นย่อมมี ผู้ที่หลับก็รู้ว่าหลับ
    ใครที่ทำได้แล้ว ก็จะรู้ว่าเป็นอย่างไร
    ไม่ต้องสงสัยแล้ว...

    เป็นอย่างนั้นทุกคนเลยเหรอเพ่ หรือว่าเพ่เป็นคนเดียวอ่ะ ฮ่าๆๆ
     
  17. คนขายธูป

    คนขายธูป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    252
    ค่าพลัง:
    +2,964
    ฌาน ๔ เมื่อนักปฏิบัติ ปฏิบัติถึงมีอาการดังนี้
    ๑. จะไม่ปรากฏลมหายใจเหมือนสภาพฌานอื่นๆ เพราะลมละเอียดจนไม่ปรากฏว่ามี

    ลมหายใจ ในวิสุทธิมรรคท่านว่าลมหายใจไม่มีเลย แต่บางอาจารย์ท่านว่า ลมหายใจนั้นมี
    แต่ลมหายใจละเอียดจนไม่มีความรู้สึกว่าหายใจ ตามนัยวิสุทธิมรรคท่านกล่าวถึงคนที่ไม่มี
    ลมหายใจไว้ ๔ จำพวกด้วยกัน คือ ๑. คนตาย ๒. คนดำน้ำ ๓. เด็กในครรภ์มารดา
    ๔.ท่านที่เข้าฌาน ๔ รวมความว่า ข้อสังเกตที่สังเกตได้ชัดเจนในฌาน ๔ ที่เข้าถึงก็คือ
    ไม่ปรากฏว่ามีลมหายใจการที่ฌาน ๔ เมื่อเข้าถึงแล้ว และขณะที่ทรงอยู่ในระดับของฌาน ๔
    ไม่ปรากฏว่ามีลมหายใจนี้เป็นความจริง มีนักปฏิบัติหลายท่านที่พบเข้าแบบนี้ถึงกับร้องเอะอะโวยวาย
    บอกว่าไม่เอาแล้ว เพราะเกรงว่าจะตายเพราะไม่มีลมหายใจ บางรายที่อารมณ์สติสมบูรณ์หน่อย
    ก็ถึงกับค้นคว้าควานหาลมหายใจ เมื่ออารมณ์จิตตกลงระดับต่ำกว่าฌานที่ ๔ ในที่สุดก็พบลมหายใจ
    ที่ปรากฏอยู่กับปลายจมูกนั่นเอง
    ๒. อารมณ์จิตเมื่อเข้าสู่ระดับฌาน ๔ จะมีอารมณ์สงัดเงียบจากอารมณ์ภายนอกจริง ๆ
    ดับเสียง คือ ไม่ได้ยินเสียง ดับสุข ดับทุกข์ทางกายเสียจนหมดสิ้น มีอารมณ์โพลงสว่างไสวเกินกว่า
    ฌานอื่นใด มีอารมณ์สงัดเงียบ ไม่เกี่ยวข้องด้วยร่างกายเลย กายจะสุข จะทุกข์ มดจะกิน ริ้นจะกัด
    อันตรายใดๆ จะเกิด

    จิตในระหว่างตั้งอยู่สมาธิที่มีกำลังระดับฌาน ๔ จะไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้น เพราะฌานนี้
    กายกับจิตแยกกันเด็ดขาดจริงๆ ไม่สนใจข้องแวะกันเลย

    ลิงค์คลิกที่ (ไม่รู้พระอรหันต์องค์ไหนเรียบเรียงไว้ฮะ)
    ลิงค์ http://www.palungjit.org/smati/k40/smabat.htm#ฌาน
     
  18. เอกณัฐยศ

    เอกณัฐยศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    3,628
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ขอขอบคุณพี่นักเขียน ที่ได้แนะนำช่องทาง แห่งองค์ความรู้ต่างๆ ที่สอบถาม ให้ได้รับความกระจ่างขึ้นมากเลยครับ

    ขอความรู้เพิ่มเติมครับ

    ตามกฏแห่งธรรมชาติ ที่มีหลักไปในแนวทางเดียวกันว่า
    สิ่งที่เหมือนกัน ย่อมดึงดูดกัน

    หากว่า เรากำหนดให้ สภาวะที่เกี่ยวกับการทำความดี การทำบุญกุศล หรืออะไรทำนองเดียวกันนี้ เป็นเครื่องหมาย+ (บวก) อาจเป็น +1 ไปถึง......

    และในทางตรงกันข้าม เช่น การทำสิ่งไม่ดี การทำบาป เป็นเครื่องหมาย- (ลบ)
    อาจเป็น -1 ไปถึง....

    และนำมาตั้งเป็นกราฟ เริ่มจาก เลขศูนย์ 0 (และตามด้วยเลข 1 2 3 4 ไปเรื่อยๆ )

    ขึ้นไป ด้านบนเลขศูนย์ 0 เป็นเลข +1 +2 +3 ไปเรื่อยๆ
    ลงมา ใต้ เลข0 (ศูนย์) เป็นเลข -1 -2 -3 ไปเรื่อยๆ

    เมื่อจิตวิญญาณในรูปแบบต่างๆ ได้ทำความดี ก็จะมีการบันทึก เครื่องหมายบวก+ และค่าของความดีนั้นๆ อาจเป็น +1, +10, +100 ลงในจิตวิญญาณและติดตามแสดงผลข้ามภพข้าพชาติ

    และในทางกลับกัน เมื่อทำความชั้ว บาป สิ่งไม่ดีต่างๆ ก็จะมีการบันทึก เครื่องหมายลบ- และค่าของความชั่วนั้นๆ อาจเป็น -1,-10,-100 ลงในจิตวิญญาณและติดตามแสดงผลข้ามภพข้ามฃาติ

    ในขณะที่ได้กระทำกรรมต่างๆ ให้มีผล ไม่ว่าเป็นบวก+ หรือเป็นลบ-
    สิ่งที่เป็นบวก+ และเป็นลบ- ก็จะแยกกันอยู่พวกใครพวกมัน ตามกฏของการดึงดูด สิ่งที่เหมือนกันย่อมดึงดูดกัน

    และในขณะใด กำลังของพวกใครมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นพวกบวก+ หรือพวกลบ- กำลังของพวกนั้นย่อมแสดงผลออกมาชัดเจนมากขึ้น พอแสดงผลจนกำลังเริ่มอ่อนลง กำลังของอีกพวกหนึ่งที่มีกำลังมากกว่า ก็แสดงผลแทน กลับไปกลับมาเช่นนี้

    ซึ่งในระหว่างที่จิตวิญญาณได้กระทำและได้รับผลของการกระทำ ไม่ว่าจะเป็นช่วงบวก + หรือ ช่วงลบ - จิตวิญญาณซึ่งมีค่าเริ่มต้นที่เลขศูนย์0 ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นเลข 1,2,3 ไปเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด

    และในขณะที่จิตวิญญาณ กำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบชีวิต ไปในรูปแบบต่างๆ กันนั้น
    พลังงานบวก+ และพลังงานลบ- ที่ได้สะสมอยู่ในจิตวิญญาณนั้น ก็จะมีการรวมพวกกัน พวกใครมาก ไม่ว่าจะเป็นบวก + หรือลบ - ก็จะได้อำนาจหรือพลังในการนำพาจิตวิญญาณไปอยู่ในที่ๆ ของพลังงานนั้นๆ
    จะเป็นอยู่ในลักษณะนี้ ตลอดไป

    อยากจะขอคำแนะนำ จากพี่นักเขียนว่า

    จะมีวิธีการใด หรือการจัดการแบบไหน ที่จะมีผลให้จิตวิญญาณ ไม่ตกอยู่ในกำลังของพวกบุญ หรือความดี พลังบวก+ และไม่ตกอยู่ในกำลังของพวกความชั้ว บาป พลังลบ -

    โดยให้จิตวิญญาณกลับสู่ที่เดิมที่เริ่มต้นคือศูนย์ 0 และรวมกันเป็นเนื้อเดียวกันกับจักรวาลหรือธรรมชาติ

    คล้ายกันกับ เป็นหยดน้ำ หยดหนึ่งที่ได้ผสมรวมกันกับน้ำในแม่น้ำ ,ทะเล หรือมหาสมุทร จนแยกกันไม่ออก

    ขอคำชี้แนะ ,วิธีการและช่องทาง ด้วยครับ ขอบคุณครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • wheel.jpg
      wheel.jpg
      ขนาดไฟล์:
      19 KB
      เปิดดู:
      492
    • รวมสี.jpg
      รวมสี.jpg
      ขนาดไฟล์:
      23.1 KB
      เปิดดู:
      56
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 สิงหาคม 2007
  19. axzon47

    axzon47 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    737
    ค่าพลัง:
    +3,155
    axzon47 (ก่อนเข้านอน) คนเดิมครับ พี่นักเขียน คือนั้นก่อนนอนหยิบหนังสือเรื่องธรรมชาติของชาติภพมาอ่านทวนเล่นๆแล้วก้ง่วงนอนอ่านต่อไปไหวเลยคิดในใจว่า ให้ฝันถึงเรื่องที่อ่าน แต่ไม่ได้เจาะจงลงไปเป็นหัวข้อใด

    แล้วก้ฝันว่า นั่งอยู่บนรถสองแถวขับไปจะถึงบ้านแล้วแต่มันไม่จอดให้ลง มีคนในรถนั้นบอกว่า อย่าเพิ่งลงน่ะ จะพาไปเที่ยว เราก้ไปสิ พอรถมาถึงทางเข้าเมือง รถมันจอดและมีคนมาบอกว่า วันหลังถ้าอยากเจออะไรดีๆก้ให้เข้านอนก่อนเทียงคืนครับ หลังจากนั้นก้ตื่นนอนครับ
    อ่อ ตอนที่รถจอดหน้าทางเข้าเมืองน่ะ เห็นตัวเมืองเป็นเมืองใหญ่มาก มีตึกอาคารมากมาย ออกแนวทันสมัยน่ะ มีอยู่4 ตึกใหญ่คล้ายๆ พิรามิด ที่แปรูของพวกอินคา ทำนองนั้น 4 ตึกนี้ใหญ่มากๆ เด่นเหมือนวิหารเจได ในสตาวอร์เลย เมืองนี้ บรรยากาศขมุกขมัว อึมครึม มีหมอกควันมีเทา ดูร้างๆอ่ะ

    พอตื่นนอนแล้ว รู้สึกว่าหลับสบายมากๆ เหมือนเคลิ้มๆไปอ่ะครับ ความรู้สึกตอนตื่นนอนประมาณว่า มีคนกรวดน้ำให้ครับ อิอิอิ
     
  20. leogirlw99

    leogirlw99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    2,501
    ค่าพลัง:
    +4,765
    ดีใจจังที่มีคนอ่านของอาจารย์โนวาหลายคน
    ตอนนี้อ่านไปได้แค่2เล่ม กว่าจะอ่านจบ10เล่ม
    และเล่มละหลายๆครั้ง คงจะเข้าใจได้ลึกซึ้งมากขึ้น

    หนังสือของอาจารย์ช่วยเปลี่ยนความคิดความเชื่อผิดๆที่มีอยู่เดิม
    สร้างกำลังใจทำให้เราเชื่อมั่นถึงพลังที่มีอยู่ในตัวเรา
    และทำให้ได้รู้จักตัวตนของเราในต่างภพต่างมิติ

    ตั้งแต่เริ่มอ่านหนังสือของอาจารย์ มีสมาธิมากขึ้นในตอนหลับ
    แต่ก่อนหลับ ฝัน แต่ตื่นมาก็จำอะไรไม่ได้เลย
    ตอนนี้แม้ฝันก็ยังชัดเจน ออกไปที่ๆไกลขึ้น พบเรื่องราวที่ยาวขึ้นกว่าเดิม
    ทุกครั้งที่ตื่นก็จะรีบจดความฝันไว้ ว่าไปทำอะไรที่ไหนเจอใครบ้าง
    จนในบางเหตุการณ์ที่ได้พบในตอนตื่นก็เหมือนเกี่ยวข้องกันอย่างน่าแปลกใจ
     

แชร์หน้านี้

Loading...